ปัญญา ..คำนี้ในพระพุทธศาสนามีความหมายอย่างไร
มีคำหลายคำในการศึกษาพุทธที่เข้าใจไม่ชัดค่ะ คำว่า ปัญญาและคำว่า อวิชชา
คำว่า จินตามยปัญญา จิตในที่นี้หมายถึงจิตดวงไหนค่ะ (อย่างฟังธรรมท่านอาจารย์เรื่อง ปัฏฐาน ท่านก็แสดงละเอียดมาก ในเรื่องจิตในอิทธิบาท ๔ ซึ่งไม่เคยได้ยินจากอาจารย์รูปใด เลย ซึ่งทำให้สว่างในใจมากๆ เลย เพราะทั้งหมดจะอธิบายฉันทะ วิริยะ พอถีงจิตตะ ก็บอกว่าคือ จิต ไม่อธิบายต่อค่ะ) และภาวนามยปัญญา ภาวนาคืออย่างไรค่ะ ถ้าแปลว่า อบรม หรือทำให้เจริญ อบรม และทำให้เจริญนั้นคือ ทำอย่างไรค่ะ
จินตามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการพิจารณา เป็นโสภณเจตสิกคือ ปัญญาเจตสิก ภวนามยปัญญาคือปัญญาที่เกิดจาการอบรม หรือทำให้เจริญขึ้น ก็ต้องเริ่มจากการฟังธรรมก่อนคือ สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการฟัง เป็นขั้นแรกที่ละความไม่รู้จากที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง ต่อมาเมื่อฟังเข้าใจก็คิด พิจารณาธรรมที่ได้ยินได้ฟังตรงลักษณะสภาพธรรม เมื่อเราพิจารณา ทำให้ปัญญาเจริญขึ้นเหมือนจับด้ามมีด เป็นภาวนาค่ะ
อิทธิปาท เป็นศัพย์บาลี แปลว่า ธรรมอันยังผู้ปฏิบัติให้ถึงความสำเร็จ ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิต วิมังสา (ปัญญา) โดยมากจะใช้ในความหมายของการเจริญสม-
ถภาวนา
ถ้ากล่าวถึง ปัจจัย ๒๔ แล้ว องค์ธรรมทั้ง ๔ ประเภทนี้ กระทำกิจโดยความเป็น สหชาตาธิปติปัจจัย คือ เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า ในการชักนำให้สภาพธรรมอื่นเกิด
ขึ้น พร้อมกับกำลังของตน จิต จึงหมายถึง ชวนจิต ๕๒ ดวงเท่านั้น เป็นจิตที่มี
กำลัง เพราะประกอบด้วย ๒ เหตุ
ภาวนา แปลว่า คุณชาติเป็นเครื่องยังกุศลให้เกิด ให้เจริญ โดยมากหมายถึง การเจริญสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา แต่ภาวนาจะมีไม่ได้ ถ้าผู้นั้นขาดปัญญา
ซึ่งต้องอาศัยการอบรมด้วยการฟังและศึกษาพระธรรม