ทุติยภาณวาร
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 267
ทุติยภาณวาร
อรรถกถาทุติยภาณวาร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 267
ทุติยภาณวาร
[๓๐] สภาพแห่งธรรมที่ควรกำหนดถือเอา สภาพแห่งธรรมที่เป็นบริวาร สภาพแห่งธรรมที่เต็มรอบ สภาพแห่งสมาธิที่มีอารมณ์อย่างเดียว สภาพแห่งสมาธิไม่มีความฟุ้งซ่าน สภาพแห่งธรรมที่ประคองไว้ สภาพแห่งธรรมที่ไม่กระจายไป สภาพแห่งจิตไม่ขุ่นมัว สภาพแห่งจิตไม่หวั่นไหว สภาพแห่งจิตตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งความปรากฏแห่งจิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพแห่งธรรมเป็นอารมณ์ สภาพแห่ง ธรรมเป็นโคจร สภาพแห่งธรรมที่ละ สภาพแห่งธรรมที่สละ สภาพแห่งธรรมที่ออก สภาพแห่งธรรมที่หลีกไป สภาพแห่งธรรมที่ละเอียด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 268
สภาพแห่งธรรมที่ประณีต สภาพแห่งธรรมที่หลุดพ้น สภาพแห่งธรรมที่ไม่มีอาสวะ สภาพแห่งธรรมเครื่องข้าม สภาพแห่งธรรมที่ไม่มีเครื่อ หมาย สภาพแห่งธรรมที่ไม่มีที่ตั้ง สภาพแห่งธรรมที่ว่างเปล่า สภาพแห่งธรรมที่มีกิจเสมอกัน สภาพแห่งธรรมที่ไม่ล่วงเลยกัน สภาพแห่งธรรมที่เป็นคู่ สภาพแห่งธรรมที่นำออก สภาพแห่งธรรมที่เป็นเหตุ สภาพแห่งธรรมที่เห็น สภาพแห่งธรรมที่เป็นอธิบดี ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๓๑] สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะ สภาพที่พิจารณาเห็นแห่งวิปัสสนา สภาพที่มีกิจเสมอกันแห่งสมถะและวิปัสสนา สภาพมิได้ล่วงกันแห่งธรรมที่เป็นคู่ สภาพที่สมาทานแห่งสิกขาบท สภาพที่โคจรแห่งอารมณ์ สภาพที่ประคองจิตที่ย่อท้อ สภาพที่ปราบจิตที่ฟุ้งซ่าน สภาพที่คุมจิตอันบริสุทธิ์จากความย่อท้อและฟุ้งซ่านทั้ง ๒ ประการ สภาพที่จิตบรรลุคุณวิเศษ สภาพที่แทงตลอดอริยมรรคอันประเสริฐ สภาพที่ตรัสรู้สัจจะ สภาพที่ให้จิตตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๓๒] สภาพที่น้อมไปแห่งสัทธินทรีย์ สภาพที่ประคองไว้แห่งวีริยินทรีย์ สภาพที่ตั้งมั่นแห่งสตินทรีย์ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธินทรีย์ สภาพที่เห็นแห่งปัญญินทรีย์ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๓๓] สภาพที่สัทธาพละมิได้หวั่นไหวในเพราะความไม่มีสัทธา สภาพที่วีริยพละมิได้หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน สภาพที่สติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 269
พละมิได้หวั่นไหวเพราะความประมาท สภาพที่สมาธิพละมิได้หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ สภาพที่ปัญญาพละมิได้หวั่นไหวเพราะอวิชชา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๓๔] สภาพที่ตั้งมั่นแห่งสติสัมโพชฌงค์ สภาพที่เลือกเฟ้นแห่งธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ สภาพที่ประคองแห่งวีริยสัมโพชฌงค์ สภาพที่แผ่ไปแห่งปีติสัมโพชฌงค์ สภาพที่สงบแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ สภาพที่พิจารณาหาทางแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๓๕] สภาพที่เห็นแห่งสัมมาทิฏฐิ สภาพที่ตรึกแห่งสัมมาสังกัปปะ สภาพที่กำหนดแห่งสัมมาวาจา สภาพที่ตั้งขึ้นแห่งสัมมากัมมันตะ สภาพที่ผ่องแผ้วแห่งสัมมาอาชีวะ สภาพที่ประคองไว้แห่งสัมมาวายามะ สภาพที่ตั้งมั่นแห่งสัมมาสติ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๓๖] สภาพที่เป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ สภาพที่ไม่หวั่นไหวแห่งพละ สภาพที่นำออกแห่งโพชฌงค์ สภาพที่เป็นเหตุแห่งมรรค สภาพที่ตั้งมั่นแห่งสติปัฏฐาน สภาพที่เริ่มตั้งแห่งสัมมัปธาน สภาพที่สำเร็จแห่งอิทธิบาท สภาพที่เที่ยงแท้แห่งสัจจะ สภาพที่ระงับแห่งประโยชน์ สภาพที่ทำให้แจ้งแห่งผล สภาพที่ตรึกแห่งวิตก สภาพที่ตรวจตราแห่งวิจาร สภาพที่แผ่ไปแห่งปีติ สภาพที่ไหลมาแห่งสุข สภาพที่มีอารมณ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 270
เดียวแห่งจิต สภาพที่คำนึง สภาพที่รู้แจ้ง สภาพที่รู้ชัด สภาพที่จำได้ สภาพที่สมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๓๗] สภาพที่รู้แห่งปัญญาที่รู้ยิ่ง สภาพที่พิจารณาแห่งปริญญา สภาพที่สละแห่งปหานะ สภาพแห่งภาวนามีกิจเป็นอย่างเดียว สภาพที่ถูกต้องแห่งสัจฉิกิริยา สภาพที่เป็นกองแห่งทุกข์ ภาพที่ทรงไว้แห่งธาตุ สภาพที่ต่อแห่งอายตนะ สภาพที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรม สภาพที่ปัจจัยไม่ได้ปรุงแต่แห่งอสังขตธรรม ควรรู้ยิ่งทุกอย่างที่เป็นปัจจัย.
[๓๘] สภาพที่คิด สภาพที่ไม่มีระหว่างแห่งจิต สภาพที่ออกแห่งจิต สภาพที่หลีกไปแห่งจิต สภาพที่เป็นเหตุแห่งจิต สภาพที่เป็นปัจจัยแห่งจิต สภาพที่เป็นที่ตั้งแห่งจิต สภาพที่เป็นภูมิแห่งจิต สภาพที่เป็นอารมณ์แห่งจิต สภาพที่เป็นโคจรแห่งจิต สภาพที่เที่ยวไปแห่งจิต สภาพที่ไปแห่งจิต สภาพที่นำไปยิ่งแห่งจิต สภาพที่นำออกแห่งจิต สภาพที่สลัดออกแห่งจิต ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๓๙] สภาพที่นึกในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่รู้แจ้ง... สภาพที่รู้ชัด... สภาพที่จำได้... สภาพที่จิตมั่นคง... สภาพที่เนื่อง... สภาพที่แล่นไป... สภาพที่ผ่องใส... สภาพที่ตั้งมั่น... สภาพที่หลุดพ้น... สภาพที่เห็นว่านี่ละเอียด... ภาพที่ ทำให้เป็นเช่นดังยาน... สภาพที่ทำให้เป็นที่ตั้ง... สภาพที่ตั้งขึ้นเนืองๆ... สภาพที่อบรม... สภาพที่ปรารภชอบด้วยดี... สภาพที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 271
กำหนดถือไว้... สภาพที่เป็นบริวาร... สภาพที่เต็มรอบ... สภาพที่ประชุม... สภาพที่อธิษฐาน... สภาพที่เสพ... สภาพที่เจริญ... สภาพที่ทำให้มาก... สภาพที่รวมดี... สภาพที่หลุดพ้นด้วยดี... สภาพที่ตรัสรู้... สภาพที่ตรัสรู้ตาม... สภาพที่ตรัสรู้เฉพาะ... สภาพที่ตรัสรู้พร้อม... สภาพที่ตื่น... สภาพที่ตื่นตาม... สภาพที่ตื่นเฉพาะ... สภาพที่ตื่นพร้อม... สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้... สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้ตาม... สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้เฉพาะ... สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้พร้อม... สภาพที่สว่าง... สภาพที่สว่างขึ้น... สภาพที่สว่างเนืองๆ... สภาพที่สว่างเฉพาะ... สภาพที่สว่างพร้อมในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๔๐] สภาพที่อริยมรรคให้สว่าง (๑) สภาพที่อริยมรรคให้รุ่งเรือง สภาพที่อริยมรรคให้กิเลสทั้งหลายเร่าร้อน สภาพที่อริยมรรคไม่มีมลทิน สภาพที่อริยมรรคปราศจากมลทิน สภาพที่อริยมรรคหมดมลทิน สภาพที่อริยมรรคสงบ สภาพที่อริยมรรคให้กิเลสระงับ สภาพแห่งวิเวก สภาพแห่งความประพฤติในวิเวก สภาพที่คลายกำหนัด สภาพแห่งความประพฤติในความคลายกำหนัด สภาพแห่งความประพฤติในความ
๑. พระบาลีว่า ปตาปนฏฺโ. ยุ. ปฺกาสนฏฺโ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 272
ดับ สภาพที่ปล่อย สภาพแห่งความประพฤติในความปล่อย สภาพที่พ้น สภาพแห่งความประพฤติในความพ้น ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๔๑] สภาพแห่งฉันทะ สภาพที่เป็นมูลแห่งฉันทะ สภาพที่เป็นบาทแห่งฉันทะ สภาพที่เป็นประธานแห่งฉันทะ สภาพที่สำเร็จแห่งฉันทะ สภาพที่น้อมไปแห่งฉันทะ สภาพที่ประคองไว้แห่งฉันทะ สภาพที่ตั้งมั่นแห่งฉันทะ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งฉันทะ สภาพที่เห็นแห่งฉันทะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๔๒] สภาพแห่งวีริยะ สภาพที่เป็นมูลแห่งวีริยะ สภาพที่เป็นบาทแห่งวีริยะ สภาพที่เป็นประธานแห่งวีริยะ สภาพที่สำเร็จแห่งวิริยะ สภาพที่น้อมไปแห่งวีริยะ สภาพที่ประคองไว้แห่งวีริยะ สภาพที่ตั้งมั่นแห่งวีริยะ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวีริยะ สภาพที่เห็นแห่งวิริยะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๔๓] สภาพแห่งจิต สภาพที่เป็นมูลแห่งจิต สภาพที่เป็นบาทแห่งจิต สภาพที่เป็นประธานแห่งจิต สภาพที่สำเร็จแห่งจิต สภาพที่น้อมไปแห่งจิต สภาพที่ประคองไว้แห่งจิต สภาพที่ตั้งมั่นแห่งจิต สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต สภาพที่เห็นแห่งจิต ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๔๔] สภาพแห่งวีมังสา สภาพที่เป็นมูลแห่งวีมังสา สภาพที่เป็นบาทแห่งวีมังสา สภาพที่เป็นประธานแห่งวีมังสา สภาพที่สำเร็จแห่งวีมังสา สภาพที่น้อมไปแห่งวีมังสา สภาพที่ประคองไว้แห่งวีมังสา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 273
สภาพที่ตั้งมั่นแห่งวีมังสา สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวีมังสา สภาพที่เห็นแห่งวีมังสา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๔๕] สภาพแห่งทุกข์ สภาพที่ทุกข์บีบคั้น สภาพที่ทุกข์อันปัจจัยปรุงแต่ง สภาพที่ทุกข์ให้เดือดร้อน สภาพที่ทุกข์แปรปรวน สภาพแห่งสมุทัย สภาพที่สมุทัยประมวลมา สภาพที่สมุทัยเป็นเหตุ สภาพที่สมุทัยเกี่ยวข้อง สภาพที่สมุทัยพัวพัน สภาพแห่งนิโรธ สภาพแห่งนิโรธสลัดออก สภาพที่นิโรธเป็นวิเวก สภาพที่นิโรธเป็นอสังขตะ สภาพที่นิโรธเป็นอมตะ สภาพแห่งมรรค สภาพที่มรรคนำออก สภาพที่มรรคเป็นเหตุ สภาพที่มรรคเห็น สภาพที่มรรคเป็นอธิบดี ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๔๖] สภาพที่ถ่องแท้ สภาพที่เป็นอนัตตา สภาพที่เป็นสัจจะ สภาพที่ควรแทงตลอด สภาพที่ควรรู้ยิ่ง สภาพที่ควรกำหนดรู้ สภาพที่ทรงรู้ สภาพที่เป็นธาตุ สภาพที่อาจรู้ได้ สภาพที่รู้ควรทำให้แจ้ง สภาพที่ควรถูกต้อง สภาพที่ควรตรัสรู้ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๔๗] เนกขัมมะ อัพยาบาท อาโลกสัญญา ความไม่ฟุ้งซ่าน ความกำหนดธรรม ญาณ ความปราโมทย์ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 274
[๔๘] การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง การพิจารณาเห็นความทุกข์ การพิจารณาเห็นอนัตตา การพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่าย การพิจารณาเห็นด้วยความคลายกำหนัด การพิจารณาเห็นด้วยความดับ การพิจารณาเห็นด้วยความสละคืน การพิจารณาเห็นความสิ้นไป การพิจารณาเห็นความเสื่อมไป การพิจารณาเห็นความแปรปรวน การพิจารณาเห็นความไม่มีเครื่องหมาย การพิจารณาเห็นธรรมไม่มีที่ตั้ง การพิจารณาเห็นความว่างเปล่า การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง การพิจารณาเห็นโทษ การพิจารณาหาทาง การพิจารณาเห็นอุบายที่จะหลีกไป ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๔๙] โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลสมาบัติ สกทาคามิมรรค สกทาคามิผลสมาบัติ อนาคามิมรรค อนาคามิผลสมาบัติ อรหัตตมรรค อรหัตตผลสมาบัติ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๕๐] สัทธินทรีย์ด้วยความว่าน้อมใจเชื่อ วีริยินทรีย์ด้วยความว่าประคองไว้ สตินทรีย์ด้วยความว่าตั้งมั่น สมาธินทรีย์ด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์ด้วยความว่าเห็น สัทธาพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีสัทธา วีริยพละด้วยความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน สติพละด้วยความไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท สมาธิพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่าน ปัญญาพละ ด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 275
[๕๑] สติสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าเลือกเฟ้น วีริยสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ปีติสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าแผ่ไป ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าสงบ สมาธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าพิจารณาหาทาง ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๕๒] สัมมาทิฏฐิด้วยความว่าเห็น สัมมาสังกัปปะด้วยความว่าตรึก สัมมาวาจาด้วยความว่ากำหนดเอา สัมมากัมมันตะด้วยความว่าให้กุศลธรรมเกิด สัมมาอาชีวะด้วยความว่าขาวผ่อง สัมมาวายามะด้วยความว่าประคองไว้ สัมมาสติด้วยความว่าตั้งมั่น สัมมาสมาธิด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๕๓] อินทรีย์ด้วยความว่าเป็นใหญ่ พละด้วยความว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์ด้วยความว่านำออก มรรคด้วยความว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานด้วยความว่าตั้งมั่น สัมมัปธานด้วยความว่าตั้งไว้ อิทธิบาทด้วยความว่าสำเร็จ สัจจะด้วยความว่าเที่ยงแท้ สมถะด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาด้วยความว่าพิจารณา สมถะและวิปัสสนาด้วยความว่ามีกิจเสมอกัน ธรรมชาติที่เป็นคู่ด้วยความว่าไม่ล่วงเกินกัน ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๕๔] สีลวิสุทธิด้วยความว่าสำรวม จิตตวิสุทธิด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิด้วยความว่าเห็น วิโมกข์ด้วยความว่าหลุดพ้น วิชชาด้วยความว่าแทงตลอด วิมุตติด้วยความว่าสละ ญาณในความสิ้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 276
ไปด้วยความว่าตัดขาด ญาณในความไม่เกิดขึ้นด้วยความว่าระงับ ฉันทะด้วยความว่าเป็นมูลฐาน มนสิการด้วยความว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะด้วยความว่าประมวลมา เวทนาด้วยความว่าประชุม สมาธิด้วยความว่าเป็นประธาน สติด้วยความว่าเป็นใหญ่ ปัญญาด้วยความว่าประเสริฐกว่ากุศลธรรมนั้นๆ วิมุตติด้วยความว่าเป็นแก่นสาร นิพพานอันหยั่งลงในอมตะด้วยความว่าเป็นที่สุด ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๕๕] ธรรมใดๆ ที่รู้ยิ่งแล้ว ธรรมนั้นๆ เป็นคุณที่รู้แล้ว ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ทั่ว เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมา คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง เป็นสุตมยญาณ.
จบ ทุติยภาณวารฯ
อรรถกถาทุติยภาณวาร
๓๐] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๓๑ ข้อ มี ปริคฺคหฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่ควรกำหนดถือเอา เป็นต้น ด้วยขณะแห่งอริยมรรค. จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายอันสัมปยุตด้วยอริยมรรค ย่อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 277
กำหนดถือเอาเพื่อเกิดขึ้นตั้งแต่ต้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ปริคฺคหา - กำหนดถือเอา.
สภาพแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ปริคฺคหฏโ - สภาพแห่งธรรมที่ควรกำหนดถือเอา.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า ปริวารฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่เป็นบริวาร เพราะธรรมเหล่านั้นเป็นบริวารของกันและกัน.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า ปริปูรฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่เต็มรอบ โดยบริบูรณ์ด้วยภาวนา.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า เอกคฺคฏฺโ - สภาพแห่งสมาธิที่มีอารมณ์อย่างเดียว เพราะเพ่งกำหนดถือเอาอารมณ์เดียว.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อวิกเขปฏฺโ - สภาพแห่งสมาธิ ไม่มีความฟุ้งซ่าน เพราะเพ่งถึงความไม่ฟุ้งซ่านในอารมณ์ต่างๆ
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า ปคฺคหฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่ประคองไว้ คือประคองไว้ด้วยความเพียร.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อวิสารฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่ไม่กระจายไป เพราะไม่กระจายไปด้วยอำนาจสมาธิ ดุจแป้งใช้ทาในการอาบน้ำ ไม่กระจายไปด้วยน้ำฉะนั้น.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อนาวิลฏฺโ - สภาพแห่งจิตไม่ขุ่นมัว เพราะไม่ขุ่นมัวด้วยการประกอบความเพียร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 278
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อนิญฺชนฏฺโ - สภาพแห่งจิตไม่หวั่นไหว เพราะไม่กำเริบ.
บทว่า เอกตฺตุปฏฺฐานวเสน - ด้วยสามารถแห่งความปรากฏแห่งจิตมีอารมณ์เดียว ได้แก่ ด้วยการประกอบสมาธิ และด้วยสามารถแห่งการตั้งอยู่ในอารมณ์เดียวอย่างมั่นคง.
บทว่า ิตฏฺโ - สภาพแห่งจิตตั้งอยู่ ได้แก่ ตั้งอยู่โดยไม่หวั่นในอารมณ์.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อารมฺมณฏฺโ - สภาพแห่งธรรมเป็นอารมณ์ เพราะยึดนิพพานเป็นอารมณ์.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า โคจรฏฺโ - สภาพแห่งธรรมเป็นโคจร เพราะเที่ยวไปในความอยาก.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า ปหานฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่ละ เพราะความที่นิพพานเป็นสรณะละ.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า ปริจฺจาคฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่สละ ด้วยสามารถสละกิเลสด้วยอริยมรรค.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า วุฏฺานฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่ออก ด้วยสามารถการออกจากความชั่วร้าย.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า วิวตฺตนฏฺโ - สภาพธรรมที่หลีกไป ด้วยสามารถหลีกไปจากนิมิตและความเป็นไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 279
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า สนฺตฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่ละเอียด เพราะดับสนิท.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า ปณีตฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่ ประณีต เพราะความเป็นธรรมไม่เดือดร้อน และเพราะความเป็นธรรม สูงสุด.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า วิมุตฺตกฺโ - สภาพแห่งธรรมที่หลุดพ้น เพราะหลุดพ้นจากกิเลส และน้อมไปในอารมณ์.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อนาสวฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่ไม่มีอาสวะ เพราะความที่บริสุทธิ์โดยไม่เป็นวิสัยแห่งอาสวะทั้งหลาย.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า ตรณฏฺโ - สภาพแห่งธรรมเป็นเครื่องข้าม เพราะก้าวล่วงจากกิเลสกันดาร และสังสารกันดาร.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อนิมิตฺตฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่ไม่มีเครื่องหมาย เพราะไม่มีสังขารนิมิต.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อปฺปณิหิตฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่ไม่มีที่ตั้ง เพราะไม่มีที่ตั้ง คือตัณหา.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า สุญฺตฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่ว่างเปล่า เพราะไม่มีสาระในตน.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า เอกรสฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่มีกิจอย่างเดียวกัน เพราะมีรสอย่างเดียวกันด้วยวิมุตติรส หรือเพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 280
ความที่สมถะและวิปัสสนามีรสอย่างเดียวกัน.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อนติวตฺตนฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่ไม่ล่วงเลยกัน เพราะสมถะและวิปัสสนาอาศัยซึ่งกันและกัน.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า ยุคนทฺธฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่เป็นคู่ เพราะสมถะและวิปัสสนานั่นแลเป็นคู่.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า นิยฺยานฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่นำออก เพราะออกไปจากสังขารด้วยอริยมรรค.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า เหตฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่เป็นเหตุ เพราะเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า ทสฺสนฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่เห็น เพราะทำนิพพานให้ประจักษ์.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อาธิปเตยฺยฏฺโ - สภาพแห่งธรรมที่เป็นอธิบดี เพราะความเป็นใหญ่ยิ่ง.
๓๑] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๔ ข้อ มีสมถะเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งสมถะและวิปัสสนา. สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อนุปสฺสนฏฺโ - สภาพที่พิจารณาเห็น เพราะพิจารณาเห็นด้วยอนิจลักษณะ เป็นต้น.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อนติวตฺตนฏฺโ - สภาพที่มิได้ล่วงกัน เพราะความที่สมถะและวิปัสสนาทั้งสองเป็นธรรมคู่กันโดยมีกิจอย่างเดียวกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 281
พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๙ ข้อ มีสิกขาเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งอริยมรรคเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด. ชื่อว่า สิกฺขา เพราะต้องศึกษา.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า สมาทานฏฺโ - สภาพที่สมาทาน เพราะต้องสมาทานสิกขานั้น.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า โคจรฏฺโ - สภาพที่โคจร เพราะเป็นที่ตั้งแห่งภาวนาและความเป็นไปของอารมณ์ที่ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ถือเอาด้วยกรรมฐานและเพราะเป็นที่ตั้งแห่งโคจร.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า ปคฺคหฏฺโ - สภาพที่ประคองจิต คือสภาพที่พยายามทำจิตที่หดหู่ด้วยความเกียจคร้านด้วยเจริญธรรม วิจยสัมโพชฌงค์ วีริยสัมโพชฌงค์และปีติสัมโพชฌงค์.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า วินิคฺคหฏฺโ - สภาพที่ปราบจิต คือ สภาพทำจิตที่ฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจะให้สงบ เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์.
บทว่า อุโภ วิสุทธานํ - จิตบริสุทธิ์จากทั้งสอง อธิบายว่า คุมจิตอันบริสุทธิ์จากความหดสู่และฟุ้งซ่าน. พึงทราบว่า ท่านทำเป็นพหุวจนะ ด้วยความสามารถแห่งจิตตั้งอยู่ในความเป็นกลาง เป็นไปด้วยอำนาจของสันตติ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 282
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อชฺฌุเปกฺขณฏฺโ - สภาพที่คุมจิต คือไม่มีความขวนขวายในความพยายามและในการทำให้สงบ.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า วิเสสาธิคมนฏฺโ - สภาพที่จิตบรรลุคุณวิเศษ คือการอบรมจิตให้เป็นไปสม่ำเสมอ.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า อุตฺตริปฏิเวธฏฺโ - สภาพที่แทงตลอดอริยมรรคอันประเสริฐ คือด้วยสามารถทำอริยมรรคให้ปรากฏ.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า สจฺจาภิสมยฏฺโ - สภาพที่ตรัสรู้สัจจะ คือด้วยสามารถแทงตลอดอริยสัจ ๔ สำเร็จด้วยอริยมรรค.
สภาพแห่งธรรม ชื่อว่า ปติฏาปกฏฺโ - สภาพที่ทำจิตให้ตั้งอยู่ คือให้ตั้งอยู่ในนิโรธด้วยอำนาจผลสมาบัติ. เพราะผลสมาบัตินั้น ยังบุคคลผู้มีความพร้อมให้ตั้งอยู่ในนิพพานอันได้แก่นิโรธ.
๓๒] พระสารีบุตรกล่าวถึงการวิสัชนา ๕ ข้อ มี สัทธินทรีย์ เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งสภาพธรรม คืออินทรีย์.
บทว่า อธิโมกฺขฏฺโ - สภาพที่น้อมไป.
บทว่า อุปฏฺานฏฺโ - สภาพที่ตั้งมั่น คือ สภาพที่เข้าไปตั้งมั่นซึ่งอารมณ์.
บทว่า ทสฺสนฏฺโ - สภาพที่เห็น คือ สภาพที่เพ่งถึงความเป็นจริง.
๓๓] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๕ ข้อ มี สัทธาพละ เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งสภาพธรรม คือ พละ ชื่อว่า สทฺธาพลํ เพราะสัทธานั่นแลเป็นกำลัง ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหว.
บทว่า อสฺ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 283
สทฺธิเย เพราะความไม่มีสัทธา.
อนึ่ง บทว่า อสฺสทฺธิยํ ได้แก่ จิตตุปบาทอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสัทธา.
บทว่า อกมฺปิยฏฺโ ได้แก่ สภาพที่ไม่ควรหวั่นไหว อธิบายว่า ไม่สามารถให้หวั่นไหวได้.
บทว่า โกสชฺเช- เพราะความเกียจคร้าน ได้แก่ เพราะถีนมิทธะอันเป็นความเกียจคร้าน.
บทว่า ปมาเท - เพราะความประมาท ได้แก่ เพราะจิตตุปบาทอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสติ.
บทว่า อุทฺธจฺเจ คือ เพราะความฟุ้งซ่าน กล่าวคือ ความไม่สงบ.
บทว่า อวิชฺชาย เพราะอวิชชา ได้แก่ เพราะโมหะ.
๓๔] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๗ ข้อ มีสติสัมโพชฌงค์เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งสภาพธรรมคือโพชฌงค์. องค์แห่งธรรมเครื่องตรัสรู้ ชื่อว่า โพชฌงค์. โพชฌงค์เป็นธรรมประเสริฐ และเป็นธรรมดี ชื่อว่า สัมโพชฌงค์. สตินั่นแลเป็นสัมโพชฌงค์ จึง ชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์. ชื่อว่า ธรรมวิจยะ เพราะเลือกเฟ้นธรรม. บทนี้เป็นชื่อของปัญญา.
บทว่า ปวิจยฏฺโ - สภาพที่เลือกเฟ้น ได้แก่ สภาพที่ไตร่ตรอง. ชื่อว่า ปีติ เพราะเอิบอิ่มใจ.
บทว่า ผรณฏฺโ- สภาพที่แผ่ไป ได้แก่ สภาพที่ซ่านไป. ความสงบ ชื่อว่า ปสฺสทฺธิ.
บทว่า อุปสมฏฺโ - สภาพที่สงบ ได้แก่ สภาพที่ไม่มีความกระวนกระวาย. ชื่อว่า อุเปกฺขา เพราะเห็นโดยอุบัติ. อธิบายว่า เพ่งสม่ำเสมอ คือ เพ่งไม่ตกไปในฝ่ายใด. อุเบกขานั้นในที่นี้ ได้แก่ ตตฺรมชฺฌตฺตุเปกฺขา คือ วางเฉยด้วยความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ. เรียกว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 284
โพชฺฌงฺคุเปกฺขา บ้าง. บทนี้เป็นชื่อของอุเบกขานั้น. ชื่อว่า ปฏีสงฺขานฏฺโ - สภาพที่พิจารณาหาทาง เพราะมีลักษณะนำไปเสมอ.
๓๕] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๘ ข้อ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น ด้วยมรรค. ชื่อว่า สมฺมาทิฏฺิ เพราะเห็นชอบ หรือเห็นชอบด้วยทิฏฐินั้น หรือการเห็นประเสริฐดี. แห่งสัมมาทิฏฐินั้น
ชื่อว่า สมฺมาสงฺกปฺโป เพราะดำริชอบ, หรือดำริชอบด้วยความดำรินั้น, หรือความดำริประเสริฐดี.
บทว่า อภิโรปนฏฺโ - สภาพที่ตรึก ได้แก่ สภาพที่ตรึกอารมณ์ของจิต. ปาฐะว่า อารมฺมณาภินิโรปนฏฺโ - สภาพที่ตรึกอารมณ์บ้าง.
ชื่อว่า สมฺมาวาจา เพราะพูดชอบ, หรือพูดด้วยวาจานั้นชอบ, หรือวาจาประเสริฐดี บทนี้เป็นชื่อของการเว้นจากมิจฉาวาจา.
บทว่า ปริคฺคหฏฺโ สภาพที่กำหนด ได้แก่ กำหนดสำรวมวาจา ๔ อย่าง.
ชื่อว่า สมฺมากมฺมํ เพราะทำชอบ, หรือทำชอบด้วยการงานนั้น หรือการงานประเสริฐดี, การงานชอบนั่นแล ชื่อว่า สมฺมากมฺมนฺโต. บทนี้เป็นชื่อการเว้นจากมิจฉากัมมันตะ.
บทว่า สมุฏฺานฏฺโ สภาพที่ตั้งขึ้น ได้แก่ สภาพที่ตั้งขึ้นด้วยการสำรวมกาย ๓ อย่าง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 285
ชื่อว่า สมฺมาอาชีโว เพราะเป็นอยู่ชอบ หรือเป็นอยู่ด้วยอาชีพนั้นชอบ, หรืออาชีพประเสริฐดี. บทนี้เป็นชื่อของการเว้นจากมิจฉาชีพ
บทว่า โวทานฏฺโ สภาพที่ผ่องแผ้ว ได้แก่ สภาพที่บริสุทธิ์.
ชื่อว่า สมฺมาวายาโม เพราะพยายามชอบ หรือพยายาม, หรือพยายามชอบด้วยความพยายามนั้น, หรือพยายามประเสริฐดี.
ชื่อว่า สมฺมาสติ เพราะระลึกชอบ, หรือระลึกด้วยสตินั้นชอบ, หรือระลึกประเสริฐดี.
ชื่อว่า สมฺมาสมาธิ เพราะตั้งมั่นชอบ, หรือตั้งมั่นชอบด้วยสมาธินั้น, หรือตั้งใจประเสริฐดี.
๓๖] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๑๐ ข้อ มี อินทรีย์ เป็นต้น ทำให้เป็นหมวดหมู่ตามลำดับ.
บทว่า อาธิปเตยฺยฏฺโ - สภาพที่เป็นใหญ่ ได้แก่ สภาพที่เป็นอธิบดี ด้วยสามารถทำความเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน.
บทว่า อกมฺปิยฏฺโ - สภาพที่ไม่หวั่นไหว ได้แก่ ปฏิปักษ์ ไม่สามารถทำให้หวั่นไหวได้.
บทว่า นิยฺยานฏฺโ - สภาพที่นำออก ได้แก่ การออกไปจากปฏิปักษ์ด้วยโลกิยะและโลกุตระ.
บทว่า เหตฏฺโ สภาพที่เป็นเหตุ. ชื่อว่า เหตฏฺโ เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 286
สัมมาทิฏฐิเป็นต้น เป็นเหตุเพื่อละมิจฉาทิฏฐิเป็นต้น หรือเพราะสัมมาทิฏฐิทั้งหมดเป็นเหตุให้เข้าถึงนิพพาน.
ชื่อว่า อุปัฏฐาน เพราะโลดแล่นไปในอารมณ์อันเป็นสติปัฏฐานแล้วตั้งมั่น, สตินั่นแลตั้งมั่น จึงชื่อว่า สติปัฏฐาน.
สตินั้นในกาย เวทนา จิต ธรรม ย่อมมีประเภท ๔ อย่าง ที่เป็นไปด้วยการยึดถืออาการ คือความไม่งาม ความทุกข์ ความไม่เที่ยง และความไม่เป็นตัวตน และด้วยสำเร็จกิจคือการละ ความสำคัญว่า เป็นของงาม เป็นความสุข เป็นของเที่ยง เป็นตัวตน.
จิตเหล่านี้ย่อมได้ในจิตต่างๆ ในส่วนเบื้องต้น, ส่วนสติอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมได้ชื่อ ๔ อย่างในขณะของมรรค.
ชื่อว่า ปธาน เพราะเป็นเหตุเริ่มตั้งในสัมมัปธาน, การเริ่มตั้งชอบ ชื่อว่า สัมมัปธาน, หรือเป็นเหตุเริ่มตั้งชอบ, อนึ่งการเริ่มตั้งนั้นชอบ ชื่อว่า ปธาน เพราะเว้นจากการผิดปกติของกิเลส, ชื่อว่า สัมมัปธาน เพราะนำมาซึ่งความเป็นสิ่งประเสริฐที่สุดด้วยให้สำเร็จ ประโยชน์และความสุข หรือเพราะทำความเริ่มตั้ง. บทนี้เป็นชื่อของวีริยะ. วีริยะนั้นมี ๔ ประเภทโดยให้สำเร็จ คือละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น ๑ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๑ กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งอยู่ ๑. ปธานเหล่านี้ย่อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 287
ได้ในจิตต่างๆ ในส่วนเบื้องต้น, ส่วนวีริยะอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมได้ ๔ ชื่อ ในขณะแห่งมรรค.
บทว่า ปทหนฏฺโ สภาพที่เริ่มตั้ง ได้แก่ สภาพที่อุตสาหะ. ปาฐะว่า ปธานฏฺโ ดังนี้ก็มี, ความอย่างเดียวกัน. ในบทว่า อิทฺธิปาทานํ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า อิทฺธิ เพราะบรรดาฉันทะ วีริยะ จิตตะ วีมังสา อย่างหนึ่งๆ ย่อมสำเร็จ, อธิบายว่า ย่อมสำเร็จเสมอ คือ ย่อมปรากฏชัด. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อิทฺธิ เพราะสัตว์ทั้งหลายย่อมสำเร็จด้วยอิทธินั้น คือว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้สำเร็จเจริญดียิ่ง. โดยอรรถที่ ๑ ปาท - ธรรมเครื่องให้ถึง คือ อิทฺธิ - ความสำเร็จ ชื่อว่า อิทธิบาท, ความว่า ส่วนแห่งความสำเร็จ. โดยอรรถที่สอง ชื่อว่า อิทธิบาท เพราะเป็นธรรมเครื่องให้ถึงความสำเร็จ.
บทว่า ปาโท - คือเป็นที่ตั้ง อธิบายว่า เป็นอุบายให้บรรลุ. เพราะสัตว์ทั้งหลายย่อมถึงคือย่อมบรรลุความสำเร็จยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยอิทธิบาทนั้น, ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ปาโท. อิทธิบาทมี ฉันทะ เป็นต้นเหล่านั้น ย่อมได้ในจิตต่างๆ ด้วยความเป็นใหญ่ในส่วนเบื้องต้น, แต่ในขณะแห่งมรรคย่อมได้ร่วมกันโดยแท้.
บทว่า อิชฺฌนฏฺโ - สภาพที่สำเร็จ คือ สภาพที่ปรากฏ หรือสภาพเป็นที่ตั้ง.
บทว่า สจฺจานํ ได้แก่ อริยสัจ ๔.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 288
บทว่า ตถฏฺโ - สภาพที่เที่ยงแท้ ได้แก่ สภาพตามที่เป็นจริง. การวิสัชนา ๘ เหล่านี้เจือด้วยโลกิยะและโลกุตระ.
บทว่า ปโยคานํ - ปโยคะทั้งหลาย ได้แก่ ปโยคะของอริยมรรค ๔.
บทว่า ปฏิปสฺสทฺธฏฺโ - สภาพที่ระงับ ได้แก่ ระงับด้วยอริยผล ๔. จริงอยู่มรรคปโยคะเป็นอันระงับในขณะแห่งผล เพราะหมดกิจแล้ว. หรือภาวะแห่งมรรคปโยคะระงับด้วยผลเกิดขึ้น.
บทว่า ผลานํ สจฺฉิกิริยฏฺโ - สภาพที่ทำให้แจ้งแห่งผล ได้แก่ สภาพที่ทำให้ประจักษ์ด้วยพิจารณาอริยผล. เป็นอันท่านกล่าวถึงการทำให้แจ้งซึ่งอารมณ์. หรือการทำให้แจ้งซึ่งการได้ในขณะแห่งผล.
พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๕ ข้อ มีวิตกเป็นต้น ด้วยองค์ฌาน. การตรึก ชื่อว่า วิตักกะ ท่านกล่าวว่า ได้แก่ การยกขึ้น การตรอง ชื่อว่า วิจาร ท่านกล่าวว่า ได้แก่ การตามตรวจตรา. บทว่า อุปวิจารฏฺโ - สภาพที่ตรวจตรา ได้แก่ สภาพที่ตามขัดสีชำระล้าง. บทว่า อภิสนฺทนฏฺโ - สภาพที่ไหลมา ได้แก่ สภาพที่ชุ่มชื่น คือ สภาพที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งด้วยอำนาจสมาธิ.
พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๕ ข้อ มี อาวัชชนะ - การคำนึงเป็นต้น โดยเป็นข้อเบ็ดเตล็ด. สภาพที่คำนึงของจิต ๒ ดวง น้อมไปสู่จิตสันดานในอารมณ์อื่นจากอารมณ์แห่งภวังคะในปัญจทวาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 289
และมโนทวาร, สภาพที่รู้แจ้งด้วยวิญญาณ สภาพที่รู้ชัดด้วยปัญญา สภาพที่จำได้แห่งสัญญา. สภาพที่สมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น. เพราะสมาธิในทุติยฌานเป็นเอกผุดขึ้น ท่านจึงกล่าวว่า เอโกทิ อธิบายว่า เป็นสมาธิเลิศประเสริฐ เกิดขึ้นเพราะวิตกวิจาร สงบเงียบ. เพราะสมาธิประเสริฐ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นธรรมเอกในโลก. อีกอย่างหนึ่ง. ท่านกล่าวว่า เป็นธรรมเอกไม่มีคู่ เว้นวิตกวิจารผุดขึ้นดังนี้บ้าง ย่อม ควร. อีกอย่างหนึ่ง กุศลสมาธิแม้ทั้งหมดเป็นธรรมสงบเงียบจากวิตกวิจารเหล่านั้น เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อนิวรณ์เป็นต้น หรือต่ออุทธัจจะเท่านั้น ฉะนั้นจึงเป็นธรรมอันเลิศผุดขึ้น หรือเว้นจากวิตกวิจารเหล่านั้น จึงเป็นธรรมไม่มีคู่ผุดขึ้น จึงชื่อว่า เอโกทิ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ย่อมถูกต้อง.
๓๗] บทว่า อภิาย าตฏฺโ - สภาพที่รู้แห่งปัญญา ได้แก่ สภาพที่รู้สภาวธรรมด้วย ญาตปริญญา - กำหนดรู้ด้วยการรู้.
บทว่า ปริฺาย ตีรณฏฺโ - สภาพทั้งหมดพิจารณาด้วยปริญญา ได้แก่ สภาพที่กำหนดพิจารณาโดยเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ด้วย ตีรณปริญญา - กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา.
บทว่า ปหานสฺส ปริจฺจาคฏฺโ สภาพที่สละแห่ง ปหาน ได้แก่ สภาพที่สละธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อ ปหานปริญญา - กำหนด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 290
รู้ด้วยการละเสีย. สภาพที่ภาวนาเป็นไปเสมอ มีกิจเป็นอย่างเดียวกัน - ชื่อว่า ภาวนาย เอกรสฏฺโ.
บทว่า ผสฺสนฏฺโ - สภาพที่ถูกต้อง ได้แก่ สภาพที่ประสบ ชื่อว่าสภาพที่เป็นขันธ์ - ขนฺธฏฺโ ด้วยการแบกภาระที่หนักตื้อเป็นต้นไป. ชื่อว่าสภาพที่ทรงไว้ - ธาตฏฺโ เพราะความว่างเปล่าเป็นต้น. ชื่อว่าสภาพที่ต่อ - อายตนฏฺโ เพราะการต่อเขตแดนอันเป็นส่วนของตนๆ. ชื่อว่าสภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง - อสงฺขตฏฺใ เพราะทำร่วมกับปัจจัยทั้งหลาย. ชื่อว่าสภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง - อสงฺขตฏฺโ เพราะตรงกันข้ามกับปัจจัยปรุงแต่งนั้น.
๓๘] พระสารีบุตรได้แจ้งถึงการวิสัชนา ๑๕ ข้อ มีบทว่า จิตฺตฏฺโ สภาพที่คิดเป็นต้น. พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จิตฺตฏฺโ ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า จิตฺตํ เพราะคิดถึงอารมณ์, ความว่า ย่อมรู้แจ้ง. ชวนจิต มีอยู่ในอารมณ์นี้ ย่อมสะสมสันดานของตน ด้วย ชวนวิถี จิตฺตํ แม้ดังนี้ ก็ชื่อว่า จิตฺตํ. แม้วิบากอันกรรมกิเลสสะสมไว้ดังนี้ ก็ชื่อว่า จิตฺตํ. ทั้งหมด ชื่อว่า จิตฺตํ. เพราะสะสมไว้ตามสมควร, ชื่อว่า จิตฺตํ เพราะทำให้วิจิตร, จิตอันเป็นปัจจัยแก่วัฏฏะ ย่อมสะสมสังสารทุกข์แม้ดังนี้ ก็ชื่อว่า จิตฺตํ. สภาพที่คิดโดยมีการสะสมอารมณ์เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้. ชื่อว่า อนนฺตรํ เพราะจิตนั้นไม่มีระหว่างในการเกิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 291
ของจิต ในการเกิดของผล. ความเป็น อนันตระ ชื่อว่า อนันตริยะ - ความไม่มีระหว่าง, ความที่จิตไม่มีระหว่าง ชื่อว่า จิตตานันตริยะ. จิตตานันตริยะ นั้น คือสภาพแห่งจิตไม่มีระหว่าง. อธิบายว่า สมรรถภาพในจิตตุปบาท ในระหว่างของจิตดวงใดดวงหนึ่งดับในระหว่างเสมอ เว้นจุติจิตของพระอรหันต์. สมรรถภาพในการเกิดผลในระหว่างของมรรคจิต.
บทว่า จิตฺตสฺส วุฏฺานฏฺโ - สภาพที่ออกแห่งจิต ได้แก่ สภาพที่ออกโดยเป็นนิมิตแห่งโคตรภูจิต โดยความเป็นไปแห่งนิมิตของมรรคจิต.
บทว่า จิตฺตสฺส วิวฏฺฏนฏฺโ - สภาพที่หลีกไปแห่งจิต คือสภาพที่หลีกไปในนิพพานของจิตสองดวงนั้นซึ่งตั้งขึ้นโดยที่กล่าวไว้แล้ว.
บทว่า จิตฺตสฺส เหตฏฺโ - สภาพที่เป็นเหตุแห่งจิต ได้แก่ สภาพที่เป็นเหตุของเหตุ ๙ อย่างที่เป็นปัจจัยของจิต.
บทว่า จิตฺตสฺส ปจฺจยฏฺโ - สภาพที่เป็นปัจจัยแห่งจิต ได้แก่ สภาพที่เป็นปัจจัย แห่งปัจจัยมากมายของจิต มีวัตถารัมมณะ เป็นต้น.
บทว่า จิตฺตสฺส วตฺถฏฺโ - สภาพเป็นที่ตั้งแห่งจิต ได้แก่ สภาพเป็นที่ตั้งแห่งตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ (หทัย) อันเป็นที่ตั้งของจิต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 292
บทว่า จิตฺตสฺส ภูมฏฺโ - สภาพที่เป็นภูมิแห่งจิต ได้แก่ สภาพที่เป็นภูมิมีกามาวจรภูมิเป็นต้น ด้วยเป็นถิ่นที่เกิดของจิต.
บทว่า จิตฺตสฺส อารมฺมณฏฺโ - สภาพเป็นอารมณ์ของจิต ได้แก่ อารมณ์มีรูปเป็นต้น.
ชื่อว่า โคจรฏฺโ - สภาพที่เป็นโคจร เพราะอรรถว่าเป็นที่สัญจรของอารมณ์ที่สะสมไว้.
ชื่อว่า จริยฏโ - สภาพที่เที่ยวไป เพราะเที่ยวไปในวิญญาณที่กล่าวไว้ในตอนต้น. อีกอย่างหนึ่ง สภาพที่ปรากฏแห่งปโยคะ ชื่อว่า จริยัฏฐะ.
ชื่อว่า คตฏฺโ - สภาพที่ไปด้วยการยึดถืออารมณ์ไกลและใกล้ แม้ในความที่จิตไม่ไป.
บทว่า อภินีหารฏฺโ - สภาพที่นำไปยิ่ง ได้แก่ สภาพที่นำไปยิ่งแห่งจิต เพื่อมนสิการถึงอารมณ์อื่นจากอารมณ์ที่ยึดถือไว้.
บทว่า จิตฺตสฺส นิสฺสยานฏฺโ - สภาพที่นำออกแห่งจิต ได้แก่ สภาพที่นำออกจากวัฏฏะแห่งมรรคจิต.
ชื่อว่า จิตฺตสฺส นิสฺสรณฏฺโ - สภาพที่สลัดออกแห่งจิต เพราะนัยมีอาทิว่า จิตของผู้ไม่เนกขัมมะเป็นอันสลัดออกจากกามฉันทะ (๑).
๑. ขุ. ป. ๓๑/๖๕.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 293
๓๙] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๔๒ ข้อ มี เอกตฺเต เป็นต้น. โดยเชื่อม เอกตฺต ศัพท์ทุกแห่ง.
บทว่า เอกตฺเต คือในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว, อธิบายว่า ได้แก่ เอการัมมณะ.
ชื่อว่า ปกฺขนฺทนฏฺโ - สภาพที่แล่นไป เพราะอำนาจปฐมฌาน.
ชื่อว่า ปสีทนฏฺโ - สภาพที่ผ่องใส เพราะอำนาจทุติยฌาน.
ชื่อว่า สนิติฏฺฐนฏฺโ - สภาพที่ตั้งมั่น เพราะอำนาจตติยฌาน.
ชื่อว่า มุจฺจนฏฺโ - สภาพที่หลุดพ้น เพราะอำนาจจตุตถฌาน.
ชื่อว่า ปสฺสนฏฺโ - สภาพที่เห็นนี้ ละเอียดด้วยอำนาจการพิจารณา.
การวิสัชนา ๕ มี ยานีกตฏฺโ - สภาพที่ทำให้เป็นเช่นดังยาน เป็นต้น เป็นความชำนาญอันวิเศษของสมาธิ.
บทว่า ยานีกตฏฺโ ได้แก่ สภาพที่ทำให้เป็นเช่นดังยานที่เทียมแล้ว.
บทว่า วตฺถุกตฏฺโ - สภาพที่ทำให้เป็นที่ตั้ง ได้แก่ ภาพที่ทำให้ตั้งไว้ดุจวัตถุ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 294
บทว่า อนุฏฺิตฏฺโ - สภาพที่ตั้งขึ้นเนืองๆ ได้แก่ สภาพที่เข้าไปตั้งไว้เฉพาะ.
บทว่า ปริจิตฏฺโ - สภาพที่อบรม ได้แก่ สภาพที่สะสมไว้โดยรอบ.
บทว่า สุสมารทฺธฏฺโ - สภาพที่ปรารภพร้อมด้วยดี ได้แก่ สภาพที่เริ่มด้วยดี อธิบาย สภาพที่ทำไว้ดี. อีกอย่างหนึ่งควรประกอบบท ๕ บท ตามลำดับด้วยความเป็นผู้ชำนาญในอาวัชชนะ สมาปัชนะ อธิฏฐานะ วุฏฐานะ ปัจจเวกขณะ.
สภาพที่กำหนดถือเอา - สภาพที่เป็นบริวาร สภาพที่บริบูรณ์แห่งจิตเจตสิกในเวลาที่ถึงยอดแห่งการภาวนาอารมณ์ มีกสิณเป็นต้น.
ชื่อว่า สโมธานฏฺโ - สภาพที่ประชุม เพราะเจตสิกเหล่านั้นตั้งไว้แล้วชอบ ด้วยการประชุมในอารมณ์เดียว.
ชื่อว่า อธิฏฺานฏฺโ - สภาพที่อธิษฐาน เพราะจิตเจตสิกเหล่านั้น ครอบงำอารมณ์ด้วยการปลูกกำลัง แล้วตั้งมั่น.
ชื่อว่า อาเสวนฏฺโ - สภาพที่เสพ เพราะเสพอย่างเอาใจใส่แห่งสมถะหรือวิปัสสนาตั้งแต่ต้น.
ชื่อว่า ภาวนฏฺโ - สภาพที่เจริญ เพราะสามารถทำให้เจริญ.
ชื่อว่า พหุลีกมฺมฏฺโ - สภาพที่ทำให้มาก เพราะการทำบ่อยๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 295
ชื่อว่า สุสมุคฺคตฏฺโ - สภาพที่รวมด้วยดี เพราะสามารถการรวมสิ่งที่ทำไว้มากแล้วด้วยดี.
ชื่อว่า สุวิมุตฺตฏฺโ - สภาพที่หลุดพันด้วยดี เพราะสามารถการหลุดพ้นด้วยดี จากธรรมเป็นข้าศึกของสภาพที่รวมไว้ดีแล้ว แล สามารถในการน้อมไปด้วยดีในอารมณ์.
พระสารีบุตรกล่าวถึงบท ๔ บท มีบทว่า พุชฺฌนฏฺโ - สภาพที่ตรัสรู้ด้วยโพชฌงค์เป็นต้น.
ชื่อว่า พุชฺฌนฏฺโ - สภาพที่ตรัสรู้โพชฌงค์ เพราะองค์แห่งโพชฌงค์ของโสดาปัตติมรรค.
ชื่อว่า อนุพุชฺฌนฏฺโ - สภาพที่ตรัสรู้ตามโพชฌงค์ เพราะองค์แห่งโพชฌงค์ของอนาคามิมรรค.
ชื่อว่า ปฏิพุชฺฌนฏฺโ - สภาพที่ตรัสรู้เฉพาะโพชฌงค์ เพราะ องค์แห่งโพชฌงค์ของอนาคามิมรรค.
ชื่อว่า สมฺพุชฺฌนฏฺโ - สภาพที่ตรัสรู้พร้อมโพชฌงค์ เพราะองค์แห่งโพชฌงค์ของอรหัตตมรรค. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า พุชฺฌนฏฺโ- สภาพที่ตรัสรู้โพชฌงค์ด้วยวิปัสสนา. ชื่อว่า อนุพุชฺฌนฏฺโ - สภาพที่ตรัสรู้ตามโพชฌงค์ด้วยทัสนมรรค. ชื่อว่า ปฏิพุชฺฌนฏฺโ - สภาพที่ตรัสรู้เฉพาะโพชฌงค์ด้วยภาวนามรรค. ชื่อว่า สมฺพุชฺฌนฏฺโ - สภาพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 296
ที่ตรัสรู้พร้อมโพชฌงค์ด้วยผล. พึงทราบอรรถ ๔ อย่าง มี โพธนัฏฐะ - สภาพที่ตื่นเป็นต้น แห่งโพชฌงค์ทั้งหลายด้วยกระทำการตื่นเป็นต้น ของบุคคลนั้นๆ. ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า โพธิปักขิยะ เพราะมีในฝักฝ่ายของบุคคลผู้ใด ชื่อว่า โพธะ เพราะอรรถว่าตรัสรู้โพชฌงค์ตามที่กล่าวแล้วนั่นแล. พึงทราบอรรถ ๔ อย่าง มี โพธิปักขิยัฏฐะ - สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้เป็นต้น แห่งโพชฌงค์ตามที่กล่าวแล้ว.
ชื่อว่า โชตนฏฺโ - สภาพที่สว่าง เพราะวิปัสสนาปัญญา.
ชื่อว่า อุชฺโชตนานุโชตนปฏิโชตนสญฺโชตนฏฺโ - สภาพที่สว่างขึ้น สภาพที่สว่างเนืองๆ สภาพที่สว่าง เฉพาะสภาพที่สว่างพร้อมด้วยมรรคปัญญา ๔ ตามลำดับ. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบ โชตนฏฺโ- สภาพที่สว่างเป็นต้น ด้วยมรรคปัญญา ๔, สญฺโชตนฏฺโ - สภาพที่สว่างพร้อมด้วยผลปัญญาตามลำดับ.
๔๐] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๑๘ ข้อ มี ปตาปนัฏฐะ - สภาพที่อริยมรรคให้สว่างเป็นต้น ด้วยอริยมรรค. จริงอยู่ อริยมรรคที่เกิดขึ้นแก่จิตใด ย่อมยังจิตนั้นให้สว่าง คือให้รุ่งเรือง ฉะนั้น จึงชื่อว่า ปตาปนะ - อริยมรรคให้สว่าง. ชื่อว่า ปตาปนัฏฐะ - สภาพที่อริยมรรคนั้นให้สว่าง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 297
ชื่อว่า วิโรจนฏฺโ - สภาพที่อริยมรรคให้รุ่งเรือง เพราะความที่อริยมรรคนั้นเองประภัสสรยิ่งนัก. ชื่อว่า สนฺตาปนฏฺโ - สภาพที่อริยมรรคให้กิเลสเร่าร้อน ด้วยให้กิเลสทั้งหลายเหือดแห้งไป ชื่อว่า อมลฏฺโ สภาพที่อริยมรรคไม่มีมลทิน เพราะอริยมรรคมีนิพพานอันไม่มีมลทินเป็นอารมณ์.
ชื่อว่า วิมลฏฺโ - สภาพที่อริยมรรคปราศจากมลทิน เพราะไม่มีมลทินเกลือกกลั้ว.
ชื่อว่า นิมฺมลฏฺโ - สภาพที่อริยมรรคหมดมลทิน เพราะไม่มีมลทินทำให้เป็นอารมณ์.
อีกอย่างหนึ่ง อมลฏฺโ - สภาพไม่มีมลทินด้วยโสดาปัตติมรรค. วิมลฏฺโ - สภาพที่อริยมรรคปราศจากมลทิน ด้วยสกทาคามิมรรคและอนาคามิมรรค. นิมฺมลฏฺโ - สภาพที่อริยมรรคหมดมลทินด้วยอรหัตตมรรค.
อีกอย่างหนึ่ง อมลฏฺโ - สภาพที่อริยมรรคไม่มีมลทิน ด้วยมรรคของพระสาวก. วิมลฏฺโ - สภาพที่อริยมรรคปราศจากมลทินด้วยมรรคของพระปัจเจกพุทธะ. นิมมลฏฺโ - สภาพที่อริยมรรคหมดมลทินด้วยมรรคของพระสัมมาสัมพุทธะ.
ชื่อว่า สมฏฺโ - สภาพที่อริยมรรคสงบ เพราะไม่มีความไม่สงบ คือ กิเลส.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 298
ชื่อว่า สมยฏฺโ - สภาพที่อริยมรรคให้กิเลสระงับ ในสภาพที่อริยมรรคละกิเลส ดุจในบาลีมีอาทิว่า สมฺมา นานาภิสมยา (๑) เพราะอริยมรรคให้กิเลสระงับต่างๆ โดยชอบ.
ชื่อว่า วิเวกฏฺโ - สภาพแห่งวิเวก เพราะสมุจเฉทวิเวก ในวิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวก ๑ ตทังควิเวก ๑ สมุจเฉทวิเวก ๒ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ๑ นิสสรณวิเวก ๑. ชื่อว่า วินาภาวฏฺโ - สภาพแห่งความพราก.
ชื่อว่า วิเวกจริยฏฺโ - สภาพแห่งความประพฤติในวิเวก เพราะประพฤติในนิพพานอันเป็นนิสสรณวิเวก.
ชื่อว่า วิราคฏฺโ - สภาพที่คลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดเป็นสมุจเฉทในวิราคะ ๕.
ชื่อว่า วิราคจริยฏฺโ - สภาพแห่งความประพฤติในความคลายกำหนัด เพราะเที่ยวไปในนิพพานอันเป็นนิสสรณวิเวก.
ชื่อว่า นิโรธฏฺโ - สภาพที่ดับ เพราะดับเป็นสมุจเฉทในนิโรธ ๕.
ชื่อว่า นิโรธจริยฏฺโ - สภาพแห่งความประพฤติเพื่อความดับ เพราะเที่ยวไปในนิพพานอันเป็นความดับทุกข์.
๑. ม. มู. ๑๒/๑๙.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 299
ชื่อว่า โวสฺสคฺคฏฺโ - สภาพที่ปล่อย เพราะปล่อยด้วยการบริจาค และการแล่นไป. อริยมรรค ชื่อว่า ปล่อยด้วยการบริจาค เพราะกิเลสด้วยอำนาจสมุจเฉทปหาน และ
ชื่อว่า ปล่อยด้วยการแล่นไป เพราะแล่นไปสู่นิพพานด้วยกระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ อนึ่งวิปัสสนา ชื่อว่าปล่อยด้วยการบริจาค เพราะละกิเลสด้วยตทังคปหาน. ชื่อว่าปล่อยด้วยการแล่นไป เพราะแล่นไปสู่นิพพาน ด้วยการเอียงไปสู่นิพพานนั้น. ในนิทเทสท่านหมายถึงอริยมรรคนั้น.
ชื่อว่า โวสฺสคฺคจริยฏฺโ - สภาพแห่งความประพฤติในความปล่อย เพราะละกิเลสด้วยสมุจเฉทปหาน.
ชื่อว่า วิมุตฺตฏฺโ - สภาพที่พ้น เพราะพันด้วยสมุจเฉทปหานในวิมุตติ ๕.
ชื่อว่า วิมุตฺติจริยฏฺโ สภาพแห่งความประพฤติในความพ้น เพราะประพฤติในนิสสรณวิมุตติ.
๔๑] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๔๐ ข้อ มี ฉนฺทฏฺโฐ สภาพแห่งฉันทะ เป็นต้น ด้วยสามารถอิทธิบาท ๔ อย่างละ ๑๐ ด้วยอิทธิบาทหนึ่งๆ ในอิทธิบาท ๔ คือ ฉันทะ วีริยะ จิตตะ วิมังสา.
ชื่อว่า ฉนฺทฏฺโ - สภาพแห่งฉันทะ คือสภาพที่ใคร่จะทำ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 300
ชื่อว่า มูลฏฺโ - สภาพที่เป็นมูลแห่งฉันทะในเวลาเริ่มภาวนา ตั้งฉันทะไว้เป็นหลัก.
ชื่อว่า ปาทฏฺโ - สภาพที่เป็นบาทแห่งฉันทะ เพราะความเป็นหลักแห่งสหชาตธรรม. ปาฐะว่า ปทฏฺโ ก็มี.
ชื่อว่า ปธานฏฺโ สภาพที่เป็นประธานแห่งฉันทะ เพราะความเป็นใหญ่ยิ่ง ให้ถึงความสำเร็จ.
ชื่อว่า อิชฺฌนฏฺโ - สภาพที่สำเร็จแห่งฉันทะ ในเวลาประกอบความเพียร.
ชื่อว่า อธิโมกฺขฏฺโ - สภาพที่น้อมไปแห่งฉันทะ. เพราะประกอบด้วยสัทธา. ชื่อว่า ปคฺคหฏฺโ - สภาพที่ประคองไว้แห่งฉันทะ เพราะประกอบความเพียร.
ชื่อว่า อุปฏฺฐานฏฺโ - สภาพที่ตั้งมั่นแห่งฉันทะ เพราะประกอบด้วยสติ.
ชื่อว่า อวิกฺเขปฏฺโ - สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งฉันทะ เพราะประกอบด้วยสมาธิ.
ชื่อว่า ทสฺสนฏฺโ - สภาพที่เห็นแห่งฉันทะ เพราะประกอบด้วยปัญญา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 301
๔๒] ชื่อว่า วีริยฏฺโ สภาพแห่งวีริยะ คือสภาพที่ประคองไว้.
ชื่อว่า มูลฏฺโ - สภาพที่เป็นมูลแห่งวีริยะ ในเวลาเริ่มภาวนา ตั้งวีริยะไว้เป็นหลัก.
ชื่อว่า ปคฺคหฏฺโ - สภาพที่ประคองไว้แห่งวีริยะ เพราะมีความเพียรด้วยตนเอง.
๔๓] ชื่อว่า จิตฺตฏฺโ - สภาพแห่งจิต คือมากด้วยความคิด.
ชื่อว่า มูลฏฺโ สภาพที่เป็นมูลแห่งจิต ในเวลาเริ่มภาวนาตั้งจิตไว้เป็นหลัก.
๔๔] ชื่อว่า วีมํสฏฺโ - สภาพแห่งวิมังสา คือสภาพที่เข้าไปสอบสวน.
ชื่อว่า มูลฏฺโ - สภาพที่เป็นมูลแห่งวิมังสา ในเวลาเริ่มภาวนาตั้งวิมังสาไว้เป็นหลัก.
ชื่อว่า ทสฺสนฏฺโ - มีสภาพที่เห็นแห่งวีมังสา เพราะพิจารณาด้วยตนเอง.
๔๕] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๑๖ ข้อ มีบทว่า ทุกฺขสฺส ปิฬนฏฺโ - สภาพที่ทุกข์บีบคั้นเป็นต้น ด้วยลักษณะอันถ่องแท้แห่งสัจจะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 302
ชื่อว่า ปิฬนฏฺโ - สภาพที่ทุกข์บีบคั้น เพราะการเห็นทุกข์นั่นเอง.
ชื่อว่า สงฺขตฏฺโ - สภาพที่ทุกข์ถูกปัจจัยปรุงแต่ง เพราะการเห็นสมุทัยอันประมวลมาซึ่งทุกข์.
ชื่อว่า สนฺตาปฏฺโ - สภาพที่ทุกข์ทำให้เดือดร้อน เพราะการเห็นมรรคอันเป็นความเย็น เพราะนำสภาพที่ทุกข์ทำให้เดือดร้อนออกไปเสีย.
ชื่อว่า วิปริณามฏฺโ - สภาพที่ทุกข์แปรปรวน เพราะการเห็นความดับสิ่งที่ไม่แปรปรวน.
ชื่อว่า อายุหนฏฺโ - สภาพที่สมุทัยประมวลมา เพราะเห็นสมุทัยนั่นเอง.
ชื่อว่า นิทานฏฺโ - สภาพที่สมุทัยเป็นเหตุ เพราะการเห็นทุกข์ที่ประมวลมาด้วยสมุทัย.
ชื่อว่า สญฺโคฏฺโ - สภาพที่สมุทัยเกี่ยวข้อง เพราะการเห็นนิโรธอันเป็นวิสัญโญคะ - สมุทัยไม่เกี่ยวข้อง.
ชื่อว่า ปลิโพธฏฺโ - สภาพที่สมุทัยพัวพัน เพราะการเห็นมรรคอันเป็นนิยยานะ - การนำออกไป.
ชื่อว่า นิสฺสรณฏฺโ - สภาพที่สลัดออก เพราะเห็นพระนิพพานนั่นเทียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 303
ชื่อว่า วิเวกฏฺโ - สภาพที่นิโรธเป็นวิเวก เพราะการเห็นสมุทัยอันไม่เป็นวิเวก.
ชื่อว่า อสงฺขตฏฺโ - สภาพที่นิโรธเป็นอสังขตะ เพราะการเห็นมรรคอันเป็นสังขตะ.
ชื่อว่า อมตฏฺโ - สภาพที่นิโรธเป็นอมตะ เพราะการเห็นทุกข์อันเป็นพิษ.
ชื่อว่า นิยฺยานฏฺโ - สภาพที่มรรคนำออก เพราะการเห็นมรรคนั่นเอง.
ชื่อว่า เหตฏฺโ - สภาพที่มรรคเป็นเหตุ เพราะการเห็นสมุทัย อันมิใช่เหตุแห่งการบรรลุนิพพาน.
ชื่อว่า ทสฺสนฏฺโ - สภาพที่มรรคเห็น เพราะการเห็นนิโรธที่เห็นได้แสนยาก.
ชื่อว่า อาธิปเตยฺยฏฺโ - สภาพที่มรรคเป็นอธิบดีเช่นกับตระกูลที่ใหญ่โต เพราะการเห็นทุกข์เช่นกับคนยากไร้. อธิบายว่า ย่อมปรากฏ.
พระสารีบุตรกล่าวถึงสัจจะหนึ่งๆ มีลักษณะอย่างละ ๔ ด้วยการเห็นสัจจะนั้นๆ และด้วยการเห็นสัจจะอื่นนอกจากสัจจะนั้น ด้วยประการฉะนี้.
๔๖] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๑๒ ข้อ มี ตถฏฺโ - สภาพที่ถ่องแท้เป็นต้น ด้วย ๑๒ บทอันสงเคราะห์ในธรรมทั้งหมด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 304
บทว่า ตถฏฺโ - สภาพที่ถ่องแท้ ได้แก่ สภาพตามความเป็นจริง.
บทว่า อนตฺตฏฺโ - สภาพที่เป็นอนัตตา ได้แก่ สภาพที่เว้นจากอัตตา.
บทว่า สจฺจฏฺโ - สภาพที่เป็นสัจจะ ได้แก่ การที่ไม่พูดหลอกลวง.
บทว่า ปฏิเวธฏฺโ - สภาพที่เป็นปฏิเวธะคือการแทงตลอด ได้แก่ สภาพที่ควรแทงตลอด.
บทว่า อภิชานนฏฺโ ได้แก่ สภาพที่ควรรู้ยิ่ง.
บทว่า ปริชานนฏฺโ ได้แก่ สภาพที่ควรกำหนดรู้ เพราะกำหนดรู้ด้วยความรู้.
บทว่า ธมฺมฏฺโ - สภาพที่เป็นธรรม คือ มีอรรถว่าทรงสภาพไว้เป็นต้น.
บทว่า ธาตฏฺโ - สภาพที่เป็นธาตุ มีอรรถว่าเป็นของสูญเป็นต้น.
บทว่า าตฏฺโ ได้แก่ สภาพที่รู้ คือ อาจรู้ได้.
บทว่า สจฺฉิกิริยฏฺโ คือ สภาพที่ควรทำให้แจ้ง.
บทว่า ผสฺสนฏฺโ คือ สภาพที่ควรสัมผัสด้วยญาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 305
บทว่า อภิสมยฏฺโ - สภาพที่ควรตรัสรู้ ได้แก่ สภาพที่ควรถึงโดยชอบอย่างยิ่ง ด้วยการพิจารณาหรือควรได้เฉพาะด้วยญาณ.
แม้การได้เฉพาะท่านก็กล่าวว่า การตรัสรู้ ดุจในบทมีอาทิว่า อตฺถาภิสมยา ธีโร (๑) คนมีปัญญาเพราะตรัสรู้ยิ่งซึ่งอรรถ.
๔๗] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๗ ข้อ มี เนกขัมมะ เป็นต้น ด้วย อุปจารฌาน.
บทว่า เนกฺขมฺมํ ได้แก่ ความไม่โลภอันเป็นปฏิปักษ์ต่อ กามฉันทะ.
บทว่า อาโลกสญฺา ได้แก่ สัญญาในอาโลกนิมิตอันเป็นปฏิปักษ์ต่อ ถีนมิทธะ.
บทว่า อวิกฺเขโป ได้แก่ ความไม่ฟุ้งซ่านอันเป็นปฏิปักษ์ต่อ อุทธัจจะ.
บทว่า ธมฺมววตฺถานํ - ความกำหนดธรรม ได้แก่ ญาณอันเป็นปฏิปักษ์ต่อ วิจิกิจฉา.
บทว่า าณํ ได้แก่ ญาณอันเป็นปฏิปักษ์ต่อ อวิชชา.
บทว่า ปามุชฺชํ ได้แก่ ปีติอันเป็นปฏิปักษ์ต่อ อรติ.
พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๘ ข้อ มีปฐมฌานเป็นต้น ด้วยรูปสมาบัติและอรูปสมาบัติ.
๑. สํ. ส. ๑๕/๓๘๕.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 306
อนึ่ง พระสารีบุตรได้ชี้แจงพรหมวิหาร ๔ โดยเชื่อมรูปฌานไว้ในลำดับรูปสมาบัติ.
๔๘] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงบทมี อนิจฺจานุปสฺสนา การพิจารนาเห็นความไม่เที่ยงเป็นต้น ด้วยมหาวิปัสสนา ๑๘ ในส่วนเบื้องต้นของโลกุตรมรรค. พระสารีบุตรได้กล่าวถึงอนุปัสนา ๗ เข้าไปประกอบด้วยรูปเป็นต้น ในหนหลัง, แต่ในนิทเทสนี้ท่านกล่าวไว้ทั้งหมด. หากถามว่า เพราะเหตุไรจึงไม่กล่าวถึงอุทยัพพยานุปัสนา - การ พิจารณาเห็นความเกิดและความดับ ด้วยการพิจารณาเป็นกลาปะ - กอง. ตอบว่า เมื่อท่านกล่าวถืงอนุปัสนาเหล่านี้ เป็นอันท่านกล่าวถึงอนุปัสนาแม้ทั้งสองเหล่านี้ด้วย เพราะอนิจจานุปัสนาเป็นต้น สำเร็จด้วยอำนาจวิปัสสนา ๒ เหล่านั้น, หรือเมื่อกล่าวถึงวิปัสสนาเหล่านี้เป็นอันกล่าวถึงวิปัสสนาเหล่านั้นด้วย เพราะวิปัสสนา ๒ เหล่านั้นเว้นอนิจจานุปัสนาเหล่านั้นด้วยเสียแล้วก็จะเป็นไปไม่ได้.
บทว่า ขยานุปสฺสนา - การพิจารณาเห็นความสิ้นไป ได้แก่ การเห็นและการรู้ ความดับแห่งรูปขันธ์เป็นต้น ที่เป็นปัจจุบัน และการเห็นและการรู้ความดับแห่งจิตและเจตสิกอันมีขันธ์เป็นอารมณ์ ในลำดับความดับแห่งขันธ์นั้นๆ.
บทว่า วยานุปสฺสนา - การเห็นความเสื่อมไป ได้แก่ การเห็นการรู้ความดับแห่งขันธ์ในอดีตอนาคตอันสืบเนื่องกันไปกับขันธ์นั้น ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 307
ลำดับแห่งการเห็นและการรู้ความดับแห่งขันธ์ในปัจจุบัน.
บทว่า วิปริณามานุปสฺสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งขันธ์ทั้งปวงว่า ขันธ์ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน แม้ทั้งหมดมีความแปรปรวน เพราะน้อมไปในนิโรธอันได้แก่ความดับนั้น.
บทว่า อนิมิตฺตานุปสฺสนา - การพิจารณาเห็นความไม่มีเครื่องหมาย ได้แก่ อนิจจานุปัสนา การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงของพระโยคาวจรผู้เห็นความแปรปรวนของสังขารทั้งปวงอย่างนี้แล้ว พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ชื่อว่า อนิมิตฺตานุปสฺสนา เพราะไม่มีเครื่องหมายอันเป็นความเที่ยง ด้วยการละเครื่องหมายอันเป็นความเที่ยงเสียได้.
บทว่า อปฺปณิหิตานุปสฺสนา - การเห็นธรรมไม่มีที่ตั้ง ได้แก่ การพิจารณาเห็นทุกข์อันเป็นไปในลำดับแห่งอนิจจานุปัสสนา. ชื่อว่า อปฺปณิหิตานุปสฺสนา เพราะไม่มีที่ตั้ง ด้วยการละความปรารถนาสุข.
บทว่า สุญฺตานุปสฺสนา - การพิจารณาเป็นความว่างเปล่า ได้แก่การพิจารณาเป็นอนัตตาอันเป็นไปในลำดับทุกขานุปัสนา. ชื่อว่า สุญฺญตานุปสฺสนา เพราะเห็นความเป็นของว่างเปล่าจากตน ด้วยการละความยึดมั่นตัวตน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 308
บทว่า อธิปญฺาธมฺมวีปสฺสนา - การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ได้แก่ วิปัสสนาเป็นไปเพราะถือความว่างเปล่าด้วยการดับว่า สังขารของพระโยคาวจรผู้เห็นแล้วๆ เล่าๆ ซึ่งความดับของสังขารอย่างนี้ แล้วพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมดับไป, นอกจากความดับของสังขาร ย่อมไม่มีอะไรอื่น.
วิปัสสนานั้นท่านกล่าวว่า อธิปญฺาธมฺมวิปสฺสนา เพราะทำเป็นรูปวิเคราะห์ว่า อธิปญฺา จ ธมฺเมสุ จ วิปสฺสน - อธิปัญญา และความเห็นแจ้งในธรรมทั้งหลาย.
บทว่า ยถาภูตาณทสฺสนํ - ความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง ได้แก่ ภยตูปัฏฐานญาณ - ปรีชาคำนึงเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว อันเป็นไปแล้วว่า สภยา สงฺขารา - สังขารทั้งหลายน่ากลัว เพราะเห็นความดับแล้วๆ เล่าๆ.
บทว่า อาทีนวานุปสฺสนา - การพิจารณาเห็นโทษ ได้แก่ การเห็นการรู้โทษ ด้วย ภยตูปัฏฐานญาณ อันเกิดขึ้นแล้วในภพทั้งปวง เป็นต้น.
เมื่อท่านกล่าวถึง อาทีนวานุปสฺสนา - การพิจารณาเห็นโทษ ด้วย ภยตูปัฏฐานญาณ เป็นอันท่านกล่าวถึง นิพพิทานุปัสนา การพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่าย ไว้ในนิทเทสนี้ด้วย เพราะบาลีว่า ธรรมเหล่านี้ คือ ภยตูปัฏฐานญาณ อาทีนวญาณ และ นิพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 309
พิทาญาณ มีอรรถอย่างเดียวกัน, พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน (๑). ในนิทเทสนี้ท่านไม่กล่าวไว้ เพราะท่านกล่าวทำบทที่ ๔ ไว้แต่ต้นแล้ว.
บทว่า ปฏิสงฺขานุปสฺสนา - การพิจารณาหาทาง ได้แก่ อนิจจานุปัสนาญาณ ทุกขานุปัสนาญาณ อนัตตานุปัสนาญาณ เกิดขึ้นด้วย มุญฺจิตุกัมยตาญาณ - ปรีชาคำนึงถึงด้วยความใคร่จะพ้นไปเสีย กระทำอุบายเพื่อพ้น กำหนดรู้ด้วย ปฏิสังขานุปัสนา. เมื่อท่านกล่าวถึง ปฏิสังขานุปัสนา เป็นอันท่านกล่าวถึง มุญจิตุกัมยตาญาณ และ สังขารุเบกขาญาณ - ปรีชาคำนึงด้วยความวางเฉยในสังขาร ด้วย เพราะบาลีว่า ธรรมเหล่านี้ คือมุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสนาญาน และสังขารุเบกขาญาณ มีอรรถอย่างเดียวกัน, พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน. (๒)
บทว่า วิวฏฺฏนานุปสฺสนา - การพิจารณาการเห็นอุบายที่จะหลีกไป ได้แก่ โคตรภูญาณ - ญาณซึ่งเป็นลำดับแห่งอริยมรรค เกิดขึ้นด้วย อนุโลมญาณ - ญาณอันสมควรแก่การกำหนดรู้ เมื่อท่านกล่าวถึงโคตรภูญาณเป็นอันกล่าวอนุโลมญาณด้วย เพราะโคตรภูญาณสำเร็จด้วยอนุโลมญาณ, ท่านกล่าวถึงลำดับแห่งมหาวิปัสสนา ๑๘ อย่างนี้ ย่อมรวมในบาลี ดังที่ท่านกล่าวไว้ในอินทริยกถาว่า
อินทรีย์ ๕ ด้วยสามารถปฐมฌานสลัดไปจากอินทรีย์ ๕ ในส่วนเบื้องต้น, อินทรีย์ ๕
๑. ขุ. ป. ๓๑/๕๐๗ ๒. ขุ. ป. ๓๑/๕๐๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 310
ด้วยสามารถทุติยฌานสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ในปฐมฌาน. (๑)
ท่านกล่าวถึงอินทรีย์ตามลำดับยิ่งๆ ขึ้นไปโดยนัยต้นตลอดถึงอรหัตตผล. เพราะฉะนั้นมหาวิปัสนา ๑๘ ย่อมสมควรในบาลีโดยลำดับดังที่กล่าวแล้ว.
ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า
บทว่า ขยานุปสฺสนา ได้แก่ ญาณของพระโยคาวจรผู้แยกฆนสัญญา - ก้อน ออกแล้วเห็นความสิ้นไปว่า ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะอรรถว่าสิ้นไป. บทว่า วิปริณามานุปสฺสนา ได้แก่ การก้าวล่วงขั้นตอนนั้นๆ ด้วยรูปสัตตกะ และอรูปสัตตกะ เป็นต้น แล้วเห็นความเป็นไปโดยประการอื่น. อีกอย่างหนึ่ง การเห็นความปรวนแปรด้วยอาการ ๒ คือ ด้วยชราและมรณะของสัตว์ผู้เกิดมาแล้ว. บทว่า ยถาภูตญาณทสฺสนํ - การรู้และการเห็นตามความเป็นจริง ได้แก่ การกำหนดนามรูปพร้อมด้วยปัจจัย.
๑. ขุ. ป. ๓๑/๔๓๕.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 311
บทนั้นในบาลีปรากฏเป็นเหมือนบทผิด บทว่า วิวฏฺฎนานุปสฺสนา - การพิจารณาเห็นอุบายที่จะออกไป ท่านกล่าวว่า ได้แก่ สังขารุเบกขาญาณและอนุโลมญาณ. อนึ่ง บทนั้นในบาลีดูเหมือนจะผิด. เพราะท่านกล่าวไว้ในจริยากถาว่า
อัพยากตธรรมอันเป็นกิริยาของอาวัชนะ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาเห็นความเป็นของไม่เที่ยง ชื่อว่า วิญญาณจริยา. การพิจารณาเห็นความเป็นของไม่เที่ยง ชื่อว่า ญาณจริยา ฯลฯ อัพยากตธรรมอันเป็นกิริยาของอาวัชนะ เพื่อ ประโยชน์ในการพิจารณาหาทาง ชื่อว่า วิญญาณจริยา. ปฏิสังขานุปัสนาญาณ เป็น ญาณจริยา. (๑)
ท่านกล่าวถึงอาวัชนะต่างหากกันของญาณที่ได้อาวัชนะต่างๆ กัน แต่ท่านไม่กล่าวถึงอาวัชนะเพื่อพิจารณาเห็นอุบายที่จะออกไปแล้วกล่าวว่า วิวัฏฏานุปัสนา เป็น ญาณจริยา. ผิว่า สังขารุเบกขาญาณและอนุโลมญาณ จะพึงเป็นวิวัฏฏานุปัสนาญาณได้, ก็ควรกล่าวถึงอาวัชนะเพื่อประโยชน์แก่ญาณนั้น เพราะอาวัชนะของญาณนั้นมีพร้อม, แต่ท่านไม่กล่าวถึงอาวัชนะเพื่อประโยชน์แก่ญาณนั้น. โคตรภูญาณ
๑. ขุ.ป. ๓๑/๑๖๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 312
ไม่มีอาวัชนะต่างๆ กัน เพราะเกิดขึ้นในอาวัชนวิถีแห่งอนุโลมญาณนั่นเอง. เพราะฉะนั้นโคตรภูญาณนั่นแลเป็นวิวัฏฏนานุปัสนา ถูกต้องเพราะท่านไม่กล่าวถึงอาวัชนะ เพื่อประโยชน์แก่วิวัฏฏนานุปัสนา.
๔๙] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๘ ข้อ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งมรรคและผลอันเป็นโลกุตระ.
การถึงกระแสแห่งมรรค ชื่อว่า โสตาปตฺติ, โสดาปตฺติ นั่นแล เป็นมรรค ชื่อว่า โสตาปัตติมรรค.
ผลแห่งการถึงกระแส ชื่อว่า โสดาปัตติผล, ชื่อว่า สมาปัตติ เพราะอรรถว่า เข้าถึง. โสดาปัตติผลนั่นและเป็นสมาบัติ ชื่อว่า โสดาปัตติผลสมาบัติ.
ชื่อว่า สกทาคามี เพราะอรรถว่า มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น ด้วยอำนาจปฏิสนธิ, มรรคแห่งสกทาคามีนั้น ชื่อว่า สกทาคามิมรรค.
ชื่อว่า อนาคามี เพราะอรรถว่า ไม่มาสู่กามภพด้วยอำนาจปฏิสนธินั่นแล, มรรคแห่งอนาคามีนั้น ชื่อว่า อนาคามิมรรค. ผลแห่งอนาคามี ชื่อว่า อนาคามิผล.
ชื่อว่า อรหํ เพราะไกลจากกิเลสทั้งหลาย, เพราะกำจัดข้าศึก คือกิเลส เพราะหักซี่ล้อของสังสารจักรเสียได้, เพราะไม่มีความลับในการทำบาป, เพราะควรแก่ปัจจัยเป็นต้น. ความเป็นอรหันต์ ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 313
อรหตฺตํ นั้นคืออะไร? คืออรหัตตผล. มรรคแห่งอรหัต ชื่อว่า อรหัตตมรรค. ผลแห่งอรหัตนั่นแล ชื่อว่า อรหัตตผล.
๕๐ - ๕๓] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๓๓ ข้อ มี บทว่า อธิโมกฺขฏฺเน สทฺธินฺทฺริยํ ได้แก่ สัทธินทรีย์ด้วยความว่า น้อมใจเชื่อเป็นต้น,
บทว่า ตถฏฺเน สจฺจา ได้แก่ สัจจะด้วยความว่าเที่ยงเป็นที่สุด ได้ชี้แจงการวิสัชนาเสมอกันด้วยการวิสัชนา ๓๓ ข้อ มีบทว่า อินฺทฺริยสฺส อธิโมกฺขฏฺโ - สภาพที่น้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ เป็นตันในภายหลัง. ได้ชี้แจงอรรถด้วยธรรมทั้งหลายในบทนั้นสิ้นเชิง. ในบทนี้ได้ชี้แจงธรรมทั้งหลายด้วยอรรถ นี้เป็นความต่างกัน. พึงทราบความต่างกันแห่งการวิสัชนา ๔ ข้อ มีบทว่า อวิกฺเขปฏฺเน สมโถ- สมถะด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่านเป็นต้น และการวิสัชนา ๔ ข้อ มีบทว่า สมถสฺส อวิกฺเขปฏฺโ - สภาพไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะเป็นต้น โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
๕๔] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๘ ข้อ มีบทว่า สํวรฏฺเน - ด้วยความว่าสำรวมเป็นต้น ด้วยอำนาจธรรมมีศีล เป็นต้น มีพละ เป็นที่สุด.
บทว่า สีลวิสุทฺธิ - ความหมดจดแห่งศีล ได้แก่ ศีล ๔ อย่าง มีปาติโมกขสังวรศีล อันบริสุทธิ์ด้วยดีเป็นต้น ชื่อว่า สีลวิสุทฺธิ เพราะชำระมลทิน คือความเป็นผู้ทุศีล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 314
บทว่า จิตฺตวิสุทฺธิ - ความหมดจดแห่งจิต ได้แก่ สมาบัติ ๘ พร้อมด้วย อุปจาร. ในบทนี้ท่านกล่าวสมาธิด้วยหัวข้อว่า จิตตะ สมาธิ นั้น ชื่อว่า จิตตวิสุทธิ เพราะชำระมลทินของจิต.
ชื่อว่า ทิฏฺิวิสุทธิ - ความบริสุทธิ์แห่งทิฏฐิ ได้แก่ การเห็นนามรูปตามที่เป็นจริง ชื่อว่า ทิฏิวิสุทธิ เพราะชำระมลทินของทิฏฐิ ๗.
บทว่า มุตฺตฏฺเน - ด้วยความว่าหลุดพ้น ได้แก่ หลุดพ้นจากอุปกิเลสด้วยอำนาจ ตทังควิมุตติ และน้อมไปในอารมณ์.
บทว่า วิโมกฺโข ได้แก่ ความหลุดพ้นด้วยตทังควิมุตติ.
บทว่า ปฏิเวธฏฺเน วิชฺช - วิชชา ด้วยความว่าแทงตลอด ได้แก่ บุพเพนิวาสานุสติญาณ ชื่อว่า วิชชา ด้วยความว่าแทงตลอดในภพก่อน.
บทว่า ปฏิเวธฏฺเน ได้แก่ ด้วยความว่ารู้แจ้ง.
บทว่า ปริจฺจาคฏฺเน วิมุตฺติ - ความหลุดพ้นด้วยการสละ ได้แก่ ชื่อว่า ผลวิมุตติ เพราะพ้นจากการสละ.
บทว่า สมุจฺเฉทฏฺเน ขเย าณํ - ญาณในความสิ้นไปด้วยความตัดขาด ได้แก่ ญาณในอริยมรรคกระทำความสิ้นกิเลสด้วยความตัดกิเลสได้ขาด.
บทว่า ปฏิปฺปสฺสทฺธฏฺเน อนุปฺปาทา าณํ - ญาณในความไม่เกิดขึ้นด้วยความว่าระงับ ได้แก่ ญาณในอริยผลอันเกิดขึ้นในที่สุด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 315
แห่งความไม่เกิดขึ้นแห่งกิเลสอันฆ่าด้วยมรรคนั้นๆ อันเป็นความไม่เกิดด้วยปฏิสนธิ เพราะระงับปโยคะคือมรรคกิจเสียได้.
พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๙ ข้อ มีบทว่า ฉนฺโท มูลฏฺเน - ฉันทะด้วยความว่าเป็นมูลฐานเป็นต้น ด้วยอำนาจอริยมรรคอันเป็นเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด.
บทว่า ฉนฺโท มูลฏฺเน ได้แก่ ฉันทะคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำกุศลธรรมทั้งหลาย ด้วยความว่าเป็นมูลฐาน เพราะเป็นมูลแห่งการปฏิบัติและแห่งความสำเร็จ
บทว่า มนสิกาโร สมุฏฺานฏฺเน - มนสิการด้วยความว่าเป็นสมุฏฐาน ได้แก่ โยนิโสมนสิการด้วยความว่าเป็นสมุฏฐาน เพราะยังกุศลธรรมทั้งหมดให้ตั้งขึ้น.
บทว่า ผสฺโส สโมธานฏฺเน - ผัสสะด้วยความว่าประมวลมา ได้แก่ เพราะเวทนาเป็นปธานเหตุแห่งตัณหาโดยเฉพาะ, อนึ่ง เมื่อจะละตัณหา ย่อมละด้วยเวทนาที่กำหนดรู้โดยเฉพาะ, และผัสสะเป็นปธานเหตุแห่งเวทนานั้น, เมื่อกำหนดรู้ผัสสะแล้วเป็นอันกำหนดรู้เวทนาด้วย, ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวผัสสะในวัตถุที่ควรรู้ยิ่ง ๗ ก่อน. ก็ผัสสะนั้น ชื่อว่า ควรรู้ยิ่งด้วยความว่าประมวลมา เพราะท่านกล่าวว่า ติกสนฺนิปาตปจฺจุปฏฺาโน - มีการประมวลมา รวมกันระหว่างวัตถุ อารมณ์และวิญญาณ ๓ อย่างเป็นอาการปรากฏ เพราะประกาศด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 316
อำนาจเหตุของตน กล่าวคือการประมวลมาแห่งธรรมทั้ง ๓ แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ผัสสะ คือ ญาณผัสสะ.
ก็เพราะเวทนายังจิตและเจตสิกให้เป็นไปในอำนาจของตน ย่อมประชุม คือ ย่อมเข้าไปในจิตเจตสิกนั้น, หรือเข้าไปสู่จิตสันดานนั่นเอง, ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า สโมสรณฏฺเน อภิญฺเยฺยา - เวทนาควรรู้ยิ่ง ด้วยความว่าประชุม.
ส่วนอาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า การกำหนดรู้แม้ทั้งหมด ย่อมประชุมลงในเวทนาทั้งหลาย, เมื่อกำหนดรู้เวทนาแล้วเป็นอันกำหนดรู้ที่ตั้งของตัณหาทั้งหมดได้. นั่นเพราะเหตุไร? เพราะตัณหาทั้งหมดมีเวทนาเป็นปัจจัย. ฉะนั้น เวทนาจึงควรรู้ยิ่งด้วยความว่าประชุม เพราะสมาธิชื่อว่าเป็นประมุข เป็นใหญ่ของกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะประมวลไว้ซึ่งจิตและเจตสิกทั้งหลาย ดุจช่อฟ้ากูฏาคารเป็นประมุข เพราะยึดไว้ด้วยไม้จันทัน, ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สมาธิ ปมุขฏฺเน สมาธิด้วยความว่าเป็นประธาน. ปาฐะว่า ปามุกฺขฏฺเน บ้าง.
เพราะสติเป็นใหญ่ในการกำหนดอารมณ์ของผู้เจริญสมถวิปัสสนา, เมื่ออารมณ์กำหนดไว้ได้ด้วยสติกุศลธรรมแม้ทั้งหมด ย่อมยังกิจของตนๆ ให้สำเร็จ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า สติ อาธิปเตยฺยฏฺเน - สติด้วยความว่าเป็นใหญ่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 317
บทว่า ปา ตทุตฺตรฏฺเน ปัญญาด้วยความว่าประเสริฐกว่ากุศลนั้นๆ ได้แก่ อริยมรรคปัญญา ชื่อว่าควรรู้ยิ่ง ด้วยความว่า ยิ่งคือประเสริฐกว่ากุศลธรรมนั้นๆ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ตทุตฺตรา เพราะอรรถว่า ก้าวล่วงยิ่งจากกิเลสทั้งหลาย หรือจากสังสารวัฏฏ์, อรรถแห่ง ตทุตฺตรา นั้น ชื่อว่า ตทุตฺตรฏฺโ ความว่าประเสริฐกว่ากุศลธรรมนั้นๆ. ด้วย ตทุตฺตรฏฺโ นั้น. ปาฐะว่า ตตุตฺตรฏฺเน บ้าง ความว่าด้วยความยิ่งกว่าธรรมนั้น.
บทว่า วิมุตฺติ สารฏฺเน - วิมุตติด้วยความว่าเป็นแก่นสาร ได้แก่ ผลวิมุตติ ชื่อว่าเป็นแก่นสาร เพราะความมั่นคงโดยไม่เสื่อม, แม้เพราะก้าวล่วงสิ่งนั้นแล้วไม่มีสิ่งอื่นที่พึงแสวงหา ก็ชื่อว่าเป็นแก่นสาร. วิมุตตินั้นควรรู้ยิ่ง ด้วยความว่าเป็นแก่นสารนั้น.
บทว่า อมโตคธํ นิพฺพานํ - นิพพานอันหยั่งลงในอมตะ ชื่อว่า อมตะ เพราะนิพพานไม่มี มตะ คือความตาย, ชื่อว่า อมตะ เพราะเป็นยาแก้พิษคือกิเลสบ้าง, ชื่อว่า โอคธํ เพราะเป็นหลักของสัตว์ทั้งหลายด้วยการทำให้แจ้ง. ชื่อว่า นิพพานํ คือดับเพราะสงบจากทุกข์ในสงสาร, ชื่อว่า นิพฺพานํ เพราะในนิพพานนี้ไม่มีเครื่องร้อยรัดคือ ตัณหา.
นิพพานนั้นควรรู้ยิ่งด้วยความว่าเป็นที่สุด เพราะคำสอนเสร็จสิ้นแล้ว. ในอภิญเญยยนิทเทสนี้รวมการวิสัชนา ได้ ๗,๗๔๐ บท ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 318
ประการฉะนี้.
๕๕] บัดนี้ สรุปธรรมเหล่านั้นที่พระสารีบุตรได้ชี้แจงไว้แล้วอย่างนี้ว่า ธรรมใดๆ ที่รู้ยิ่งแล้ว, ธรรมนั้นๆ เป็นคุณที่รู้แล้ว, อธิบายว่า เป็นคุณที่รู้แล้ว เพราะทำบทนั้นให้เป็นประธาน.
บทว่า ตําตฏฺเน าณํ - ชื่อว่า ญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ความว่า ชื่อว่า ญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมมีประการดังกล่าวแล้วนั้น.
บทว่า ปชานนฏฺเน ปญฺา - ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่า รู้ทั่ว คือรู้โดยอาการ.
คำถามที่ท่านถามไว้แต่ต้นว่า เตน วุจฺจติ ท่านแสดงสรุปไว้. ด้วยเหตุนั้นจึงมีความว่า ปัญญาเครื่องทรงจำที่ได้สดับมา คือเครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง เป็นสุตมยปัญญา ด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาทุติยภาณวาร