พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สัจฉิกาตัพพนิทเทส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40895
อ่าน  388

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 391

สัจฉิกาตัพพนิทเทส

อรรถกถาสัจฉิกาตัพพนิทเทส

อรรถกถาหานภาคิยจตุกนิทเทส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 391

สัจฉิกาตัพพนิทเทส

[๗๗] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดซึ่งธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่า สุตมยญาณอย่างไร?

ธรรมอย่างหนึ่งควรทำให้แจ้ง คือ เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ, ธรรม ๒ ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชา ๑. วิมุตติ ๑, ธรรม ๓ ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชา ๓, ธรรม ๔ ควรทำให้แจ้ง คือ สามัญญผล ๔, ธรรม ๕ ควรทำให้แจ้ง คือ ธรรมขันธ์ ๕, ธรรม ๖ ควรทำให้แจ้ง คือ อภิญญา ๖, ธรรม ๗ ควรทำให้แจ้ง คือ กำลังของพระขีณาสพ ๗, ธรรม ๘ ควรทำให้แจ้ง คือ วิโมกข์ ๘, ธรรม ๙ ควรทำให้แจ้ง คือ อนุปุพพนิโรธ ๙, ธรรม ๑๐ ควรทำให้แจ้ง คือ อเสกขธรรม ๑๐.

[๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง คืออะไร? คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ควรทำให้แจ้งทุกอย่าง หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ควรทำให้แจ้งทุกอย่าง.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 392

พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นรูป ย่อมทำให้แจ้งโดยทำให้เป็นอารมณ์ เมื่อพิจารณาเห็นเวทนา... เมื่อพิจารณาเห็นสัญญา... เมื่อพิจารณาเห็นสังขาร... เมื่อพิจารณาเห็นวิญญาณ... เมื่อพิจารณาเห็นจักษุ... เมื่อพิจารณาเห็นชราและมรณะ... เมื่อพิจารณาเห็นนิพพานอันหยั่งลงในอมตะด้วยอรรถว่าเป็นที่สุด ย่อมทำให้แจ้งโดยทำให้เป็นอารมณ์ ธรรมใดๆ เป็นธรรมอันทำให้แจ้งแล้ว ธรรมนั้นๆ ย่อมเป็นธรรมอันถูกต้องแล้ว.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าสุตมยญาณ.

ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ธรรมเหล่านี้ไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนชำแรกกิเลส ชื่อว่าสุตมยญาณ.

สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยกามของพระโยคาวจรผู้ได้ปฐมฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่ปฐมฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไป

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 393

ในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการอันไม่ประกอบด้วยวิตกเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยวิตกของพระโยคาวจรผู้ได้ทุติยฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่ทุติยฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยอุเบกขาและสุขเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยปีติและสุขของพระโยคาวจรผู้ได้ตติยฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่ตติยฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยอุเบกขาและสุขของพระโยคาวจรผู้ได้จตุตถฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปใน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 394

ส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่จตุตถฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยรูปของ พระโยคาวจรผู้ได้อากาสานัญจายตนฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่อากาสานัญจายตนฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานของพระโยคาวจรผู้ได้วิญญาณัญจายตนฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่วิญญญาณัญจายตนฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 395

ประกอบด้วยวิราคะเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานของพระโยคาวจรผู้ได้อากิญจัญญายตนฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่อากิญจัญญายตนฌานนั้นยังตั้งอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ สัญญาและมนการอันสหรคตด้วยความเบื่อหน่าย ประกอบด้วยวิราคะเป็นไปอยู่ นี้เป็นธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส ชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา ด้วยอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส ชื่อว่าสุตมยญาณ.

อรรถกถาสัจฉิกาตัพพนิทเทส

๗๗] พึงทราบวินิจฉัยในสัจฉิกาตัพพนิทเทสดังต่อไปนี้

พระสารีบุตรกล่าววิสัชนาเอกุตตรธรรม ๑๐ ข้อ ด้วยการทำให้แจ้งถึงการได้เฉพาะ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 396

ในบทเหล่านั้นบทว่า อกุปฺปา เจโตวิมุตฺติ - เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ ได้แก่ อรหัตตผลวิมุตติ. เจโตวิมุตตินั้น ชื่อว่า อกุปฺปา เพราะอรรถว่า ไม่กำเริบ ไม่หวั่นไหว ไม่เสื่อม, ท่านกล่าวว่า เจโตวิมุตฺติ เพราะจิตพ้นจากกิเลสทั้งปวง.

บทว่า วิชฺชา ได้แก่ วิชชา ๓. บทว่า วิมุตฺติ ท่านกล่าว ถึงอรหัตตผล โดยปริยายในทสุตตรสูตร, แต่ท่านกล่าวด้วยปริยายในสังคีติสูตรว่า บทว่า วิมุตฺติ ได้แก่ วิมุตติ ๒ คือ การน้อมจิตไป - จิตฺตสฺส จ อธิมุตฺติ และนิพพาน.

อนึ่ง ในนิทเทสนี้ สมาบัติ ๘ ชื่อว่า วิมุตติ เพราะพ้นด้วยดีจากนิวรณ์เป็นต้น, นิพพาน ชื่อว่า วิมุตติ เพราะพ้นจากสังขตธรรมทั้งปวง.

บทว่า ติสฺโส วิชฺชา - วิชชา ๓ คือ ญาณกำหนดระลึกชาติหนหลังได้ ๑ ญาณกำหนดรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย ๑ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้น ๑. ชื่อว่า วิชชา ด้วยอรรถว่า ทำลายความมืดได้, ชื่อว่า วิชชา ด้วยอรรถว่า ทำความรู้ให้แจ้งบ้าง, บุพเพนิวาสานุสติญาณ ชื่อว่า วิชชา เพราะทำลายความมืดอันปกปิดความ ระลึกชาติที่เกิดขึ้นเสียได้, และทำความรู้แจ้งถึงการระลึกชาติได้. จุตูปปาตญาณ ชื่อว่า วิชชา เพราะทำลายความมืดอันปกปิดจุติและปฏิสนธิเสียได้, และทำให้รู้แจ้งถึงจุติและอุปบัติได้. อาสวักขยญาณ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 397

ชื่อว่า วิชฺชา เพราะทำลายความมืดอันปกปิดอริยสัจ ๔, และทำให้รู้แจ้งถึงสัจธรรม ๔.

บทว่า จตฺตาริ สามญฺผลานิ - สามัญญผล ๔ คือ โสดาปัตติผล ๑ สกทาคามิผล ๑ อนาคามิผล ๑ อรหัตตผล ๑. ชื่อว่า สมณะ เพราะอรรถว่า ยังธรรมลามกให้สงบ คือ ให้พินาศ. ความเป็นสมณะ ชื่อว่า สามัญญะ. สามัญญะ นี้ เป็นชื่อของอริยมรรค ๔. ผลแห่งสามัญญะ ชื่อว่า สามัญญผล.

บทว่า ปญฺจ ธมฺมกฺขนฺธา ธรรมขันธ์ ๕ คือ สีลขันธ์ ๑ สมาธิขันธ์ ๑ ปัญญาขันธ์ ๑ วิมุตติขันธ์ ๑ วิมุตติญาณทัสนขันธ์ ๑.

บทว่า ธมฺมกฺขนฺธา คือ การจำแนกธรรม ส่วนของธรรม. แม้ในสีลขันธ์เป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้งที่เป็นโลกิยะทั้งที่เป็นโลกุตระนั่นแล ชื่อว่า ศีลสมาธิปัญญาขันธ์. สมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติและนิสสรณวิมุตตินั่นแล ชื่อว่า วิมุตติขันธ์. การพิจารณาวิมุตติ ๓ อย่างนั่นแล ชื่อว่า วิมุตติญาณทัสนขันธ์ ขันธ์เป็นโลกิยะ ชื่อว่า ญาณ เพราะอรรถว่ารู้, ชื่อว่า ทัสนะ เพราะอรรถว่า เห็น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ญาณทัสนะ, ญาณทัสนะแห่งวิมุตติทั้งหลาย ท่านกล่าวว่า วิมุตติญาณทัสนะ. ส่วนวิกขัมภนวิมุตติและตทังควิมุตติ ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยสมาธิขันธ์และปัญญาขันธ์. ธรรมขันธ์ ๕ เหล่านี้ท่านกล่าวว่า เป็นเสกขธรรมของ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 398

ผู้ยังต้องศึกษา เป็นอเสกขธรรมของผู้ไม่ต้องศึกษา. ในธรรมขันธ์ เหล่านี้ ธรรมขันธ์ที่เป็นโลกิยะและเป็นนิสสรณวิมุตติ เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม - ธรรมของผู้ยังต้องศึกษาก็ไม่ใช่ ไม่ต้องศึกษาก็ไม่ใช่. แม้เสกขธรรมมีอยู่ ท่านก็กล่าวเสกขธรรมว่า เหล่านี้ของผู้ยังต้องศึกษา, กล่าวอเสกขธรรมว่า เหล่านี้ของผู้ไม่ต้องศึกษา. ในบทนี้ว่า พระโยคาวจรเป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นเสกขธรรม แต่ก็พึงทราบว่า พระโยคาวจรเป็นผู้ประกอบด้วยการทำนิสสรณวิมุตติให้เป็นอารมณ์

บทว่า ฉ อภิญฺา ได้แก่ ญาณอันยิ่ง ๖. ญาณอันยิ่ง ๖ เป็นไฉน? ญาณ ๖ เหล่านี้ คือ อิทธิวิธญาณทิพโสดธาตุญาณบุพเพนิวาสานุสติญาณเจโตปริยญาณทิพจักขุญาณอาสวักขยญาณ ๑.

บทว่า สตฺต ขีณาสวพลานิ - กำลังของพระขีณาสพ ๗ ชื่อว่า ขีณาสวะ เพราะมีอาสวะสิ้นแล้ว กำลังของพระขีณาสพ ชื่อว่า ขีณาสวพละ ขีณาสวะ ๗ เป็นไฉน? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพในธรรมวินัยนี้เห็นดีแล้วซึ่งสังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง, ข้อที่ภิกษุขีณาสพเห็นดีแล้วซึ่งสังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบตามความ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 399

เป็นจริง นี้เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ, กำลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ว่าอาสวะของเราสิ้นแล้ว นี้เป็นข้อที่ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุขีณาสพเห็นดีแล้วซึ่งกามทั้งหลาย เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิงด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง, ข้อที่ภิกษุขีณาสพเห็นดีแล้วซึ่งกามทั้งหลายเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ, กำลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสาวะของเราสิ้นแล้ว นี้เป็นข้อที่ ๒.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก จิตของภิกษุขีณาสพน้อมไปในวิเวก โอนไปในวิเวก เงื้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ สิ้นสุดจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง ฯลฯ แม้นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ฯลฯ. นี้เป็นข้อที่ ๓.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุขีณาสพอบรมแล้ว อบรมดี

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 400

แล้ว ฯลฯ นี้เป็นข้อที่ ๔. อินทรีย์ ๕ อันภิกษุขีณาสพอบรมแล้ว อบรมดีแล้ว ฯลฯ นี้เป็นข้อที่ ๕. โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุขีณาสพอบรมแล้ว อบรมดีแล้ว ฯลฯ นี้เป็นข้อที่ ๖. อริยมรรคมีองค์ ๘ อันภิกษุขีณาสพอบรมแล้ว อบรมดีแล้ว ๑ ฯลฯ นี้เป็นข้อที่ ๗.

ในกำลังเหล่านั้น ท่านประกาศการแทงตลอดทุกขสัจด้วยกำลังที่ ๑, การแทงตลอดสมุทยสัจด้วยกำลังที่ ๒. การแทงตลอดนิโรธสัจ ด้วยกำลังที่ ๓, การแทงตลอดมรรคสัจด้วยกำลังที่ ๔.

บทว่า อฏฺ วิโมกฺขา - วิโมกข์ ๘ ชื่อว่า วิโมกข์ ด้วยอรรถว่า น้อมไปในอารมณ์ และด้วยอรรถว่า พ้นด้วยดีจากกรรมเป็นข้าศึก. วิโมกข์ ๘ เป็นไฉน? วิโมกข์ ๘ คือ ภิกษุมีรูปย่อมเห็นรูป นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๑ ภิกษุมีความสำคัญในอรูปภายใน ย่อมเห็นรูปภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๒. ภิกษุน้อมใจไปว่า นี้งาม เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๓. ภิกษุเข้าถึงอากาสานัญจายตนะว่า อนนฺโต อากาโส - อากาศไม่มีที่สุดอยู่ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๔. ภิกษุเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะว่า อนนฺตํ วิญฺาณํ - วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่ เพราะล่วงอากาสานัญจายตะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๕. ภิกษุเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ


๑. ที. ปา. ๑๑/๔๔๒.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 401

ว่า นตฺถิ กิญฺจิ - อะไรๆ ไม่มีอยู่ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๖. ภิกษุเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๗. ภิกษุเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘. (๑)

บทว่า นว อนุปุพฺพนิโรธา - อนุปุพพนิโรธ ๙ คือ การดับตามลำดับ ๙ อย่าง. นิโรธ ๙ อย่าง เป็นไฉน? กามสัญญาของผู้เข้าปฐมฌาน ย่อมดับไป ๑ วิตกวิจารของผู้เข้าถึงทุติยฌาน ย่อมดับไป ๑ ปีติของผู้เข้าถึงตติยฌาน ย่อมดับไป ๑ ลมอัสสาสะปัสสาสะของผู้เข้าถึงจตุตถฌาน ย่อมดับไป ๑ รูปสัญญาของผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ย่อมดับไป ๑ อากาสานัญจายตนสัญญาของผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ย่อมดับไป ๑ วิญญาณัญจายตนสัญญาของผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ย่อมดับไป ๑ อากิญจัญญายตนสัญญาของผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ย่อมดับไป ๑ สัญญาและเวทนาของผู้เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ ย่อมดับไป (๒) ๑.

บทว่า ทส อเสกฺขา ธมฺมา - อเสกขธรรม ๑๐ ชื่อว่า อเสกฺขา เพราะไม่มีสิ่งที่ควรศึกษาต่อไป. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เสกฺขา เพราะยังต้องศึกษาในไตรสิกขา, ชื่อว่า อเสกฺขา เพราะเสกขธรรมหมดสิ้นแล้ว, ได้แก่ พระอรหันต์. ชื่อว่า อเสกฺขา เพราะธรรมเหล่านี้


๑. ที. มหา.๑๐/๑๐๑. ๒. ที. ปา. ๑๑/๓๕๖.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 402

ของพระอเสกขะ. อเสกขธรรม ๑๐ เป็นไฉน? อเสกขธรรม ๑๐ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑ สัมมาญาณะ ๑ สัมมาวิมุตติ ๑ (๑) ที่เป็นของพระอเสกขะ.

บทว่า อเสกฺขํ สมฺมาาณํ - สัมมาญาณที่เป็นของพระอเสกขะ ได้แก่ โลกิยปัญญาที่เหลือเว้นอรหัตตผลปัญญา.

บทว่า สมฺมาวิมุตฺติ ได้แก่ อรหัตตผลวิมุตติ. ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า

ธรรมสัมปยุตด้วยผลแม้ทั้งหมดมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นนั่นแล เป็นอเสกขธรรม. อนึ่งในบทนี้ ท่านกล่าวปัญญาไว้ในฐานะ ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาญาณะ สงเคราะห์ธรรมอันเป็นผลสมาบัติเหลือจากที่ท่านกล่าวไว้ด้วยบทนี้ว่า สัมมาวิมุตติ. (๒)

๗๘] ในบทมีอาทิว่า สพฺพํ ภิกฺขเว สจฺฉิกาตพฺพํ - ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง พึงทราบว่า ได้แก่ การท่าให้แจ้งด้วยอารมณ์. ในบทมีอาทิว่า รูปํ ปสฺสนฺโต สจิฉิกโรติ - เมื่อเห็น


๑. ที.ปา. ๑๑/๓๖๒. ๒. สุมังคลวิลาสินี ๓/๓๑๘.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 403

รูปย่อมทำให้แจ้ง ความว่า พระโยคาวจรเมื่อเห็นรูปเป็นต้น อันเป็นโลกิยะโดยอาการอันควรเห็น ย่อมทำให้แจ้งซึ่งรูปเป็นต้นเหล่านั้นด้วย ทำให้แจ้งด้วยอารมณ์, หรือเมื่อเห็นรูปเป็นต้น โดยอาการอันควรเห็น ย่อมทำให้แจ้งซึ่งนิพพานอันควรทำให้แจ้งด้วยเหตุนั้น. นักคิดอักขระทั้งหลายต้องการบทว่า ปสฺสนฺโต ลงในอรรถแห่งเหตุ พระโยคาวจรเมื่อเห็นโลกุตรธรรม มีอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์เป็นต้น ด้วยการพิจารณา ย่อมทำให้แจ้งซึ่งโลกุตรธรรมนั้นด้วยอารมณ์. บทนี้ว่า พระโยคาวจรย่อมทำให้แจ้งซึ่งนิพพานอันหยั่งลงสู่อมตะ ด้วยอรรถว่า หยั่งลงคือทำให้ตรงทีเดียว เพราะทำให้แจ้งใน ปริญเญยยะ - ทุกข์ควรกำหนดรู้ ปหาตัพพะ - สมุทัยควรละ สัจฉิกาตัพพะ - นิโรธควรทำให้แจ้ง ภาเวตัพพะ - มรรคควรเจริญ.

บทว่า เย เย ธมฺมา สจฺฉิกตา โหนฺติ, เต เต ธมฺมา ผุสิตา โหนฺติ - ธรรมใดๆ เป็นธรรมอันทำให้แจ้งแล้ว, ธรรมนั้นๆ ย่อมเป็นธรรมอันถูกต้องแล้ว ได้แก่ ธรรมอันทำให้แจ้งแล้ว ด้วยการทำให้แจ้งด้วยอารมณ์ ย่อมเป็นธรรมอันถูกต้องแล้วด้วยความถูกต้องอารมณ์, ธรรมอันทำให้แจ้งแล้วด้วยการทำให้แจ้งซึ่งการได้เฉพาะ ย่อมเป็นธรรมอันถูกต้องแล้วด้วยความถูกต้องการได้เฉพาะ ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาสัจฉิกาตัพพนิทเทส

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 404

อรรถกถาหานภาคิยจตุกนิทเทส (๑)

บัดนี้ เพราะความที่ธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ย่อมมีโดยประเภทที่ว่างจากสมาธิอย่างหนึ่งๆ , ฉะนั้น พระสารีบุตรจึงได้ชี้แจงหานภาคิยจตุกกะโดยเป็นอันเดียวกัน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปมสฺส ฌานสฺส ลาภึ คือ ของพระโยคาวจรผู้ได้ปฐมฌาน. บทว่า ลาภึ เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ. ลาโภ ท่านกล่าวเป็น ลาภี เพราะอรรถว่า มีการทำให้แจ้ง.

ศัพท์ว่า สหคต ในบทว่า กามสหคตา นี้ท่านประสงค์เอาความว่า อารมณ์, อธิบายว่า มีวัตถุกามและกิเลสกามเป็นอารมณ์.

บทว่า สญฺามนสิการา - สัญญาและมนสิการ ได้แก่ ชวนสัญญา และมนสิการด้วยความคำนึงถึงสัญญานั้น. มนสิการสัมปยุตด้วยญาณก็ควร.

บทว่า สมุทาจรนฺติ ย่อมปรากฏ คือ ย่อมเป็นไป.

บทว่า ธมฺโม ได้แก่ ธรรม คือ ปฐมฌาน. พระโยคาวจรเมื่อเสื่อมจากฌาน ชื่อว่า เสื่อมด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ ด้วยกิเลสกำเริบ ๑ ด้วยอสัปปายกิริยา ๑ ด้วยการไม่ประกอบความเพียร ๑. เมื่อเสื่อมด้วยกิเลสกำเริบ ชื่อว่า เสื่อมเร็ว. เมื่อเสื่อมด้วยอสัปปายกิริยา


๑. อยู่ในข้อ ๗๘.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 405

ด้วยอำนาจการประกอบความเป็นผู้ยินดีในการงาน ความเป็นผู้ยินดีในการพูดเหลวไหล ความเป็นผู้ยินดีในการนอน ความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลี ชื่อว่า เสื่อมช้า, เมื่อไม่เข้าถึงเนืองๆ ด้วยปลิโพธ - ความกังวล มีความเจ็บไข้และความวิบัติด้วยปัจจัยเป็นต้น แม้เมื่อเสื่อมด้วยการไม่ประกอบความเพียร ก็ชื่อว่า เสื่อมช้า. แต่ในนิทเทสนี้ พระสารีบุตรเมื่อจะแสดงเหตุอันมีกำลังเท่านั้น จึงกล่าวถึงกิเลสกำเริบอย่างเดียว.

ก็เมื่อพระโยคาวจรเสื่อมจากทุติยฌานเป็นต้น ชื่อว่า เสื่อม แม้ด้วยความพอใจในฌานชั้นต่ำๆ กำเริบ. ถามว่า เป็นอันเสื่อมด้วยเหตุประมาณเท่าไร? ตอบว่า เป็นอันเสื่อมด้วยเหตุเท่าที่ไม่สามารถจะเข้าถึงได้.

บทว่า ตทนุธมฺมตา - ความพอใจอันเป็นธรรมสมควรแก่ปฐมฌานนั้น คือ ธรรมอันเป็นไปสมควร ชื่อว่า อนุธมฺโม. บทนี้เป็นชื่อของธรรม คือ ความพอใจอันเป็นไปเพราะทำฌานให้ยิ่ง. ธรรมอันสมควรนั่นแล ชื่อว่า อนุธมฺมตา. ความเป็นธรรมสมควรแก่ฌานนั้น ชื่อว่า ตทนุธมฺมุตา.

บทว่า สติ คือ พอใจ. บทว่า สนฺติฏฺติ คือ ตั้งอยู่. ท่านอธิบายว่า ความพอใจอันเป็นไปตามปฐมฌานนั้นยังเป็นไปอยู่.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 406

บทว่า อวิตกฺกสหคตา - ไม่สหรคตด้วยวิตก ได้แก่ มีทุติยฌานเป็นอารมณ์. บทนั้นท่านกล่าวว่า อวิตกฺกํ เพราะในทุติยฌานนี้ไม่มีวิตก.

บทว่า นิพฺพิทาสหคตา - สหรคตด้วยนิพพิทา ได้แก่ มีวิปัสสนาเป็นอารมณ์. วิปัสสนานั้นท่านกล่าวว่า นิพฺพิทา เพราะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลาย, สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ (๑) เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด.

บทว่า วิราคูปสญฺหิตา ประกอบด้วย วิราคะ ได้แก่ วิปัสสนาประกอบด้วยอริยมรรค. วิปัสสนานั้นถึงยอดแล้ว ให้บรรลุความตั้งขึ้นของมรรค. เพราะฉะนั้น สัญญาและมนสิการมีวิปัสสนาเป็นอารมณ์ ท่านจึงกล่าวว่า วิราคูปสญฺหิตา - ประกอบด้วยวิราคะ, สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า วิราคา วิมุจฺจติ (๒) เพราะคลายความกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น.

บทว่า วิตกฺกสหคตา - สหรคตด้วยวิตก ได้แก่ มีปฐมฌานเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจวิตก.

บทว่า อุเปกฺขาสุขสหคตา - สหรคตด้วยอุเบกขาและสุข ได้ แก่ มีตติยฌานเป็นอารมณ์ด้วยอำนาจอุเบกขา คือ เป็นกลางในฌาน


๑. วิ. มหา. ๔/๒๓. ๒. สํ. ขนฺธ. ๑๗/๑๐๙.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 407

นั้นและด้วยสุขเวทนา.

บทว่า ปีติสุขสหคตา - สหรคตด้วยปีติและสุข ได้แก่ มีทุติยฌานเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจปีติและสุขเวทนา.

บทว่า อทุกฺขมสุขสหคตา - สหรคตด้วยอทุกขมสุข ได้แก่ มีจตุตถฌานเป็นอารมณ์ด้วยอำนาจอุเบกขาเวทนา. เวทนานั้นไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อทุกฺขมสุขเวทนา. ม อักษรในบทนี้ท่านกล่าวด้วยบทสนธิ.

บทว่า รูปสหคตา - สหรคตด้วยรูป ได้แก่ แม้เมื่อมีธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ และธรรมเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลสของพระโยคาวจรผู้ตั้งอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะมีรูปฌานเป็นอารมณ์ ท่านก็มิได้ชี้แจงถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะไม่มีธรรมเป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ. ท่านกล่าวว่า สมาธิอันเป็นโลกิยะนี้แม้ทั้งหมดเป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อมแก่พระโยคีผู้มีอินทรีย์อย่างอ่อน มีปกติอยู่ด้วยความประมาท, เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่แก่พระโยคีผู้มีอินทรีย์อย่างอ่อน มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท. เป็นไปในส่วนแห่งความพิเศษแก่พระโยคีผู้มีอินทรีย์แก่กล้าอันมีตัณหาเป็นจริต, เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลสแก่พระโยคีผู้มีอินทรีย์แก่กล้ามีทิฏฐิเป็นจริต.

จบ อรรถกถาหานภาคิยจตุกนิทเทส