พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

นิโรธสัจนิทเทส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40899
อ่าน  428

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 451

นิโรธสัจนิทเทส

อรรถกถานิโรธสัจนิทเทส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 451

นิโรธสัจนิทเทส

[๘๔] ในจตุราริยสัจนั้น ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน การดับตัณหานั้นด้วยความคลายกำหนัดโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่อาลัย ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อละย่อมละได้ที่ไหน เมื่อดับย่อมดับได้ที่ไหน สิ่งใดเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อละก็ละได้ในสิ่งนั้น เมื่อดับก็ดับได้ในสิ่งนั้น จักษุเป็นที่รักที่ยินดี ในโลก ตัณหานี้เมื่อละย่อมละได้ที่จักษุนั้น เมื่อดับย่อมดับได้ที่จักษุนั้น โสตะ ฯลฯ ธรรมวิจารเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อละย่อมละได้ที่ธรรมวิจารนั้น เมื่อดับก็ดับได้ที่ธรรมวิจารนั้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 452

อรรถกถานิโรธสัจนิทเทส

๘๔] พึงทราบวินิจฉัยในนิโรธสัจนิทเทส ดังต่อไปนี้

ในบทนี้ว่า โย ตสฺสาเยว ตณฺหาย - การดับตัณหานั้นด้วยความคลายกำหนัดโดยไม่เหลือ ควรกล่าวว่า โย ตสฺเสว ทุกฺขสฺส - การดับทุกข์นั้นด้วยความคลายกำหนัดโดยไม่เหลือ เพราะทุกข์ดับด้วยความดับสมุทัย. มิใช่ดับด้วยประการอื่น. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ยถาปิ มูเล อนุปทฺทเว ทฬฺเห ฉินฺโนปิ รุกฺโข ปุนเรว รูหติ, เอวมฺปิ ตณฺหานุสเย อนูหเต นิพฺพตฺตี ทุกฺขมิทํ ปุนปฺปุน.ํ (๑)

เมื่อยังถอนตัณหานุสัยไม่ได้ ทุกข์นี้ย่อมเกิดบ่อยๆ เหมือนเมื่อรากไม้ยังแข็งแรง ไม่มีอันตราย ต้นไม้แม้ตัดแล้ว ก็ยังงอกอีกได้.

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงทุกขนิโรธนั้น จึงตรัสอย่างนี้เพื่อแสดงสมุทยนิโรธ. จริงอยู่ พระตถาคตทั้งหลายผู้มีความประพฤติเสมอด้วยสีหะ, พระตถาคตเหล่านั้น เมื่อจะทรงดับทุกข์และเมื่อจะทรงแสดงการดับทุกข์ จึงทรงดำเนินไปในเหตุ, ไม่ทรงดำเนิน


๑. ขุ. ธ. ๒๕/๓๔.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 453

ไปในผล. ส่วนพวกอัญญเดียรถีย์มีความประพฤติเยี่ยงสุนัข. พวกนั้นเมื่อจะดับทุกข์และเมื่อจะแสดงถึงการดับทุกข์ จึงดำเนินไปในผลแห่งเทศนาของ ทุกขนิโรข นั้นด้วย อัตกิลมถามุโยค - การประกอบความเพียรโดยทำตนให้ลำบาก ไม่ดำเนินไปในเหตุ เพราะฉะนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงดำเนินไปในเหตุ จึงตรัสพระพุทธวจนะมีอาทิว่า โย ตสฺสาเยว ตณฺหาย ดังนี้. แม้พระธรรมเสนาบดีก็กล่าวตามลำดับที่พระศาสดาตรัสนั่นแล.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺสาเยว ตณฺหาย ความว่า แห่งตัณหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โปโนพฺภวิกา - ตัณหาทำให้เกิดภพใหม่ แล้วทรงจำแนกเป็นกามตัณหาเป็นต้น และทรงประกาศในภายหลังด้วยการเกิดและการตั้งอยู่.

บทว่า อเสสวิราคนิโรโธ - การดับตัณหาด้วยความสำรอกโดยไม่เหลือ ความว่า มรรคท่านกล่าวว่า วิราคะ - ความคลายกำหนัด ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า วิราคา - วิมุจฺจติ (๑) - เพราะความคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น. การดับด้วยความคลายกำหนัด ชื่อว่า วิราคนิโรธ. การดับด้วยคลายกำหนัดโดยไม่เหลือ โดยถอนอนุสัย ชื่อว่า อเสสวิราคนิโรธ.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะท่านกล่าวการละว่า วิราคะ ฉะนั้น พึงเห็นการประกอบในบทนี้อย่างนี้ว่า วิราโค อเสโส นิโรโธ การดับ


๑. วิ. มหา. ๔/๒๓.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 454

ไม่มีเหลือ ชื่อว่า วิราคะ. แต่โดยอรรถ บททั้งหมดมีอาทิว่า อเสสวิราคนิโรโธ นี้เป็นไวพจน์ของนิพพานนั่นแล. เพราะว่าโดยปรมัตถ์ท่านกล่าว นิพพาน ว่า ทุกขนิโรธํ อริยสจฺจํ - ทุกขนิโรธเป็นอริยสัจ.

เพราะตัณหาอาศัยนิพพานนั้น ย่อมคลายกำหนัดคือย่อมดับโดยไม่มีเหลือ, ฉะนั้น นิพพานนั้นท่านจึงกล่าว ตสฺสาเยว ตณฺหาย อเสสฺราคนิโรโธ - การดับตัณหานั้นด้วยความคลายกำหนัดโดยไม่เหลือ.

อนึ่ง ตัณหาอาศัยนิพพานย่อมสละ ย่อมสละคืน ย่อมพ้น ย่อมไม่ติด, ในนิพพานนี้ไม่มีความอาลัยแม้สักอย่างเดียวในความอาลัยในกามคุณทั้งหลาย, เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวนิพพานว่า จาโค ปฏินิสฺสคฺโค มุตฺติ อนาลโย - ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่อาลัย.

เพราะนิพพานเป็นอย่างเดียวเท่านั้น, แต่ชื่อของนิพพานนั้นมีอยู่ไม่น้อย ด้วยสามารถเป็นปฏิปักษ์ต่อชื่อของสังขตธรรมทั้งปวง. คือมีอาทิว่า อเสสวิราโค - คลายกำหนัดโดยไม่มีเหลือ.

อเสสนิโรโธ - ดับโดยไม่มีเหลือ.

จาโค - ความสละ.

ปฏินิสฺสคฺโค - ความสละคืน.

มุตฺติ - ความหลุดพ้น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 455

อนาลโย - ความไม่อาลัย.

ราคกฺขโย - ความสิ้นราคะ.

โทสกฺขโย - ความสิ้นโทสะ.

โมหกฺขโย - ความสิ้นโมหะ.

ตณฺหกฺขโย - ความสิ้นตัณหา.

อนุปฺปาโท - ความไม่เกิด.

อปฺปวตฺตํ - ความไม่เป็นไป.

อนิมิตฺตํ - ความไม่มีเครื่องหมาย

อปฺปณิหิตํ - ความไม่มีที่ตั้ง.

อนายูหนํ - ความไม่มีกรรมเป็นเหตุปฏิสนธิ.

อปฺปฏิสนฺธิ - ความไม่สืบต่อ.

อนุปปตฺติ - ความไม่อุบัติ.

อคติ - ความไม่มีคติ.

อชาตํ - ความไม่เกิด.

อชรํ - ความไม่แก่.

อพฺยาธิ - ความไม่เจ็บ.

อมตํ - ความไม่ตาย.

อโสกํ - ความไม่โศก.

อปริเทวํ - ความไม่ร้องไห้คร่ำครวญ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 456

อนุปายาสํ - ความไม่เหือดแห้งใจ.

อสงฺกิลิฏฺํ - ความไม่เศร้าหมอง.

บัดนี้ ท่านแสดงถึงความเกิดแห่งตัณหาแม้ที่ถึงความเป็นไปไม่ได้ ถูกตัดด้วยมรรคเพราะอาศัยนิพพานในวัตถุใด เพื่อแสดงความไม่มีในวัตถุนั้น พระสารีบุตรจึงกล่าวว่า สา ปเนสา เป็นอาทิ.

ในบทนั้น มีความว่า เหมือนบุรุษเห็นเถากระดอมและน้ำเต้าเกิดในพื้นที่ จึงค้นหารากตั้งแต่ยอดแล้วตัดทิ้ง, เถากระดอมและเถาน้ำเต้านั้นเหี่ยวแห้งไปโดยลำดับแล้วก็หมดไป, แต่นั้นควรพูดว่า กระดอมและน้ำเต้าในพื้นที่นั้นก็หมดหายไป ฉันใด ตัณหาในจักษุ เป็นต้นก็ดุจกระดอมและน้ำเต้าในพื้นที่นั้น ฉันนั้น. ตัณหานั้นถูกตัดด้วยอริยมรรคเสียแล้วก็ถึงความหมดสิ้นไป เพราะอาศัยนิพพาน. ครั้น ตัณหาถึงความหมดไปอย่างนี้แล้วก็ไม่ปรากฏในวัตถุเหล่านั้น ดุจกระดอมและน้ำเต้าในพื้นที่ ฉะนั้น.

อนึ่ง เหมือนอย่างว่า ราชบุรุษนำโจรมาจากดงแล้วฆ่าที่ประตูทักษิณของนคร แต่นั้นควรกล่าวได้ว่า โจรตายเสียแล้วหรือถูกฆ่าตายเสียแล้วในดง ฉันใด ตัณหาในจักษุเป็นต้น ดุจโจรในดง ฉันนั้น, ตัณหานั้นดับไปแล้วในนิพพาน เพราะอาศัยนิพพานจึงได้ดับไป ดุจโจรที่ประตูทักษิณ. ตัณหาดับไปอย่างนี้ ไม่ปรากฏในวัตถุเหล่านั้น ดุจโจรในดง, ด้วยเหตุนั้นพระสารีบุตรเมื่อจะแสดงถึงความดับตัณหา

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 457

นั้นในจักษุเป็นต้นนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า จกฺขุํ โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ เอตฺเถสา ตณฺหา ปหียมานา ปหียติ - จักษุเป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อละย่อมละได้ในจักษุนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า เพราะกำหนดรู้วัตถุที่ตัณหาเกิด ตัณหาจึงดับไปในวัตถุที่ตัณหาเกิดด้วยดับไปโดยไม่ให้เกิด เพราะไม่เกิดอีกต่อไปในวัตถุที่กำหนดรู้. อนึ่ง ในบทนี้ ท่านกล่าวว่า ตัณหาย่อมละได้ด้วยเป็นปฏิปักษ์ต่อความเกิด ย่อมดับไปด้วยเป็นปฏิปักษ์ต่อความตั้งอยู่ ดังนั้น.

จบ อรรถกถานิโรธสัจนิทเทส