พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สีลมยญาณนิทเทส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40901
อ่าน  515

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 541

สีลมยญาณนิทเทส

๒ อรรถกถาสีลมยญาณนิทเทส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 541

สีลมยญาณนิทเทส

[๘๖] ปัญญาในการฟังธรรมแล้วสำรวมไว้ ชื่อว่าสีลมยญาณ อย่างไร?

ศีล ๕ ประเภท คือ ปริยันตปาริสุทธิศีล - ศีลคือความบริสุทธิ์มีส่วนสุด ๑. อปริยันตปาริสุทธิศีล - ศีลคือความบริสุทธิ์ไม่มีส่วนสุด ๑. ปริปุณณปาริสุทธิศีล - ศีลคือความบริสุทธิ์เต็มรอบ ๑. อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล - ศีลคือความบริสุทธิ์อันทิฏฐิไม่จับต้อง ๑. ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล - ศีลคือความบริสุทธิ์โดยระงับ ๑.

ในศีล ๕ ประการนี้ ปริยันตปาริสุทธิศีลเป็นไฉน ปริยันตปาริสุทธิศีลนี้ ของอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบทมีที่สุด.

อปริยันตปาริสุทธิศีลเป็นไฉน อปริยันตปาริสุทธิศีลนี้ ของอุปสัมบันผู้มีสิกขาบทไม่มีที่สุด.

ปริปุณณปาริสุทธิศีลเป็นไฉน ปริปุณณปาริสุทธิศีลนี้ ของกัลยาณปุถุชนผู้ประกอบในกุศลธรรม ผู้กระทำให้บริบูรณ์ในธรรมอันเป็นที่สุดของพระอเสขะ ผู้ไม่อาลัยในร่างกายและชีวิต ผู้สละชีวิตแล้ว

อปรามัฏฐปาริสุทธิศีลเป็นไฉน อปรามัฏฐปาริสุทธิศีลนี้ ของพระเสขะ ๗ จำพวก.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 542

ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีลเป็นไฉน ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีลนี้ ของพระขีณาสพสาวกพระตถาคตเจ้า ของพระปัจเจกพุทธเจ้า และของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

[๗๘] ศีลมีที่สุดก็มี ศีลไม่มีที่สุดก็มี ในศีล ๒ อย่างนั้น ศีลมีที่สุดนั้นเป็นไฉน ศีลมีที่สุดเพราะลาภก็มี ศีลมีที่สุดเพราะยศก็มี ศีลมีที่สุดเพราะญาติก็มี ศีลมีที่สุดเพราะอวัยวะก็มี ศีลมีที่สุดเพราะชีวิตก็มี.

ศีลมีที่สุดเพราะลาภนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมล่วงสิกขาบทตามที่ตนสมาทานไว้เพราะเหตุแห่งลาภ เพราะปัจจัยแห่งลาภ เพราะการณ์แห่งลาภ ศีลนี้เป็นลาภปริยันตศีล.

ศีลมีที่สุดเพราะยศเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้... เพราะ เหตุแห่งยศ... ศีลนี้เป็นยสปริยันตศีล.

ศีลมีที่สุดเพราะญาตินั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้... เพราะเหตุแห่งญาติ... ศีลนี้เป็นญาติปริยันตศีล.

ศีลมีที่สุดเพราะอวัยวะนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้... เพราะเหตุแห่งอวัยวะ... ศีลนี้เป็นอังคปริยันตศีล.

ศีลมีที่สุดเพราะชีวิตนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมล่วงสิกขาบทตามที่ตนสมาทานไว้เพราะเหตุแห่งชีวิต เพราะปัจจัยแห่งชีวิต เพราะการณ์แห่งชีวิต ศีลนี้เป็นชีวิตปริยันตศีล ศีลเห็นปานนี้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 543

เป็นศีลขาด เป็นศีลทะลุ ด่าง พร้อย ไม่เป็นไทย วิญญูชนไม่สรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิจับต้องแล้ว ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปีติ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความระงับ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสุข ไม่เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัศนะ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว ศีลนี้เป็นปริยันตศีล.

[๘๘] ศีลไม่มีที่สุดนั้นเป็นไฉน ศีลไม่มีที่สุดเพราะลาภก็มี ศีลไม่มีที่สุดเพราะยศก็มี ศีลไม่มีที่สุดเพราะญาติก็มี ศีลไม่มีที่สุดเพราะอวัยวะก็มี ศีลไม่มีที่สุดเพราะชีวิตก็มี.

ศีลไม่มีที่สุดเพราะลาภเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดก็ไม่ให้เกิดขึ้นเพื่อจะล่วงสิกขาบทตามที่ตนสมาทานไว้ เพราะเหตุแห่งลาภ เพราะปัจจัยแห่งลาภ เพราะการณ์แห่งลาภ อย่างไรเขาจักล่วงสิกขาบทเล่า ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะลาภ.

ศีลไม่มีที่สุดเพราะยศนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้... เพราะเหตุแห่งยศ... ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะยศ.

ศีลไม่มีที่สุดเพราะญาตินั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้... เพราะเหตุแห่งญาติ... ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะญาติ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 544

ศีลไม่มีที่สุดเพราะอวัยวะนั้นเป็นไฉนบุคคลบางคนในโลกนี้... เพราะเหตุแห่งอวัยวะ... ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะอวัยวะ.

ศีลไม่มีที่สุดเพราะชีวิตนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดก็ไม่ให้เกิดขึ้นเพื่อล่วงสิกขาบทตามที่ตนสมาทานไว้ เพราะเหตุแห่งชีวิต เพราะปัจจัยแห่งชีวิต เพราะการณ์แห่งชีวิต อย่างไรเขาจักล่วงสิกขาบทเล่า ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะชีวิต ศีลเห็นปานนี้เป็นศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย วิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่จับต้อง เป็นไปเพื่อสมาธิ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ เดือดร้อน เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์ เป็นที่ตั้งแห่งปีติ เป็นที่ตั้งแห่งความระงับ เป็นที่ตั้งแห่งความสุข เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัศนะ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว ศีลนี้เป็นอปริยันตศีล.

[๘๙] อะไรเป็นศีล ศีลมีเท่าไร ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน ศีลเป็นที่ประชุมแห่งธรรมอะไร?

อะไรเป็นศีล ? เจตนาเป็นศีล เจตสิกเป็นศีล ความสำรวมเป็นศีล ความไม่ล่วงเป็นศีล.

ศีลมีเท่าไร? ศีลมี ๓ คือ กุศลศีล อกุศลศีล อัพยากตศีล.

ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน? กุศลศีลมีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 545

อกุศลศีลมีอกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน อัพยากตศีลมีอัพยากตจิตเป็นสมุฏฐาน.

ศีลเป็นที่ประชุมแห่งธรรมอะไร ศีลเป็นที่ประชุมแห่งสังวร เป็นที่ประชุมแห่งการไม่ก้าวล่วง เป็นที่ประชุมแห่งเจตนาอันเกิดในความเป็นอย่างนั้น ชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ... ความพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท... ถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา... อุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน... วิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรม... อวิชชาด้วยญาณ... อรติด้วยความปราโมทย์... นิวรณ์ด้วยปฐมฌาน... วิตกวิจารด้วยทุติยฌาน... ปีติด้วยตติยฌาน... สุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน... รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ... อากาสานัญจายตนสสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ... วิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ... อากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ... นิจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสนา... สุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสนา... อัตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสนา... นันทิด้วยนิพพิทานุปัสนา... ราคะด้วยวิราคานุปัสนา... สมุทัยด้วยนิโรธานุปัสนา... อาทานด้วยปฏินิสสัคคานุปัสนา... ฆนสัญญาด้วยขยา

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 546

นุปัสนา... อายุหนะด้วยวยานุปัสนา... ธุวสัญญาด้วยวิปริณามานุปัสนา... นิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสนา... ปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสนา... อภินิเวสด้วยสุญญตานุปัสนา... สาราทานาภินิเวสด้วยอธิปัญญาธรรมวิปัสนา... สัมโมหาภินิเวสด้วยถาภูตญาณทัศนะ... อาลยาภินิเวสด้วยอาทีนวานุปัสนา... อัปปฏิสังขาด้วยปฏิสังขานุปัสนา... สังโยคาภินิเวศด้วยวิวัฏฏนานุปัสนา... กิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรค... กิเลสหยาบๆ ด้วยสกทาคามิมรรค กิเลสละเอียดด้วยอนาคามิมรรค ชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วงกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค.

[๙๐] ศีล ๕ คือ การละปาณาติบาตเป็นศีล เวรมณี การงดเว้นเป็นศีล เจตนาเป็นศีล สังวรเป็นศีล การไม่ล่วงเป็นศีล ศีลเห็นปานนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เดือดร้อนแห่งจิต เพื่อความปราโมทย์ เพื่อปีติ เพื่อปัสสัทธิ เพื่อโสมนัส เพื่อการเสพโดยเอื้อเฟื้อ เพื่อความเจริญ เพื่อทำให้มาก เพื่อเป็นเครื่องประดับ เพื่อเป็นบริขาร เพื่อเป็นบริวาร เพื่อความบริบูรณ์ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว.

บรรดาศีลเห็นปานนี้ สังวรปาริสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวมเป็นอธิศีล จิตตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวม ย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่าน อวิกเขปปาริสุทธิ ความบริสุทธิ์คือความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 547

เป็นอธิจิต พระโยคาวจรย่อมเห็นสังวรปาริสุทธิโดยชอบ ย่อมเห็นอวิกเขปปาริสุทธิโดยชอบ ทัสนปาริสุทธิความบริสุทธิ์แห่งทัสนะ เป็นอธิปัญญา.

ในความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและทัสนะนั้น ความสำรวมเป็นอธิศีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นอธิจิตสิกขา ความเห็นแจ้งเป็นอธิปัญญาสิกขา พระโยคาวจรเมื่อนึกถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าย่อมศึกษา เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียรไว้ เมื่อตั้งสติมั่น เมื่อตั้งจิตไว้ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควร กำหนดรู้ เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าย่อมศึกษาทุกอย่าง.

[๙๑] ศีล ๕ คือ การละปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ การละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ การละความพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท การละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา การละอุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน การละวิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรม การละอวิชชาด้วยญาณ การละอรติด้วยความปราโมทย์ การละนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน การละวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน การละปีติด้วยตติยฌาน การละสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน การละรูปสัญญา, ปฏิฆสัญญา, นานัตตสัญญาด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ การละอากาสานัญยายตน

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 548

สัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ การละวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ การละอากิญจัญจญยตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ การละนิจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสนา การละสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสนา การละอัตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสนา การละนันทิด้วยนิพพิทานุปัสนา การละราคะด้วยวิราคานุปัสนา การละสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสนา การละอาทานะด้วยปฏินิสสัคคานุปัสนา การละฆนสัญญาด้วยขยานุปัสนา การละอายุหนะด้วยวยานุปัสนา การละธุวสัญญาด้วยวิปริณาตานุปัสนา การละนิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสนา การละปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสนา การละอภินิเวสด้วยสุญญตานุปัสนา การละสาราทานาภินิเวสด้วยอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา การละสัมโมหาภินิเวสด้วยยถาภูตญาณทัสนะ การละอาลยาภินิเวสด้วยอาทีนวานุปัสนา การละอัปปฏิสังขาดัวยปฏิสังขานุปัสสนา การละสังโยคาภินิเวสด้วยวิวัฏฏนานุปัสนา การละกิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรค การละกิเลสที่หยาบๆ ด้วยสกทาคามิมรรค การละกิเลสที่ละเอียดด้วยอนาคามิมรรค การละกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค การละนั้นๆ เป็นศีล เวรมณีเป็นศีล... เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่า ย่อมศึกษา.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการฟังธรรมแล้ว สำรวมไว้เป็นสีลมยญาณ.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 549

๒ อรรถกถาสีลมยญาณนิทเทส

๘๖] พึงทราบวินิจฉัยในสีลมยญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.

บทว่า ปญฺจ คือการกำหนดจำนวน.

บทว่า สีลานิ เป็นการแสดงธรรมที่กำหนดไว้. บทมีอาทิว่า ปริยนฺตปาริสทฺธิสีลํ - ศีลคือความบริสุทธิ์มีส่วนสุด ได้แก่ แสดงศีล ๕ โดยสรุป.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า ปริยนฺตปาริสุทฺธิ ดังต่อไปนี้

ความบริสุทธิ์ชื่อว่า ปริยันตะ เพราะความบริสุทธิ์มีส่วนสุด คือมีกำหนดด้วยการนับเหมือนผ้า เพราะย้อมด้วยสีเขียว จึงเรียกว่า นีลํ เพราะมีสีเขียว, อีกอย่างหนึ่ง เมื่อศีลสมบูรณ์แล้ว ความบริสุทธิ์ชื่อว่า ปริยันตะ เพราะมีที่สุดคืออวสาน เพราะผู้มีศีลยังไม่สมบูรณ์ ปรากฏอวสานแล้ว.

อีกอย่างหนึ่งควรกล่าวว่า สปริยนฺตา พึงทราบว่าท่านลบ อักษรเสีย ดุจลบ อุ อักษรในบทนี้ว่า ทกํ ทกาสยา ปวิสนฺติ (๑) - กระแสน้ำย่อมไหลไปสู่แม่น้ำ. ความบริสุทธิ์ชื่อว่า ปาริสุทธิ, ความบริสุทธิ์นั้นมีส่วน จึงชื่อว่า ปรยันตปาริสุทธิ, ศีล คือ ปริยันตปาริสุทธิ ชื่อ ปริยันตปาริสุทธิศีล.


๑. สํ. ขนฺธ. ๑๗/๑๕๕.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 550

โดยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว ความบริสุทธิ์ไม่มีส่วนสุด ชื่อว่า อปริยันตะ, ชื่อว่า อปริยันตะ เพราะส่วนสุดของความบริสุทธิ์นั้นไม่มีบ้าง, ส่วนสุดของความบริสุทธิ์นั้นเจริญแล้วบ้าง.

ชื่อว่า ปริปุณฺณา - เต็มรอบ ด้วยอรรถว่าไม่หย่อนเป็นปทัฏฐานแห่งอริยมรรค เพราะไม่ขาดจำเดิมแต่สมาทาน เพราะแม้ขาดก็ทำคืนได้ และเพราะเว้นจากมลทินแม้เพียงจิตตุปบาท. และเพราะบริสุทธิ์ดุจแก้วมณีอันบริสุทธิ์ และดุจทองคำที่ขัดเป็นอย่างดี ฉะนั้น.

ชื่อว่า อปรามัฏฐะ เพราะไว้ด้วยทิฏฐิ เพราะทิฏฐิไม่จับต้อง, อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า อปรามัฏฐะ เพราะโจทก์ไม่สามารถจะกล่าวหาได้ว่า นี้เป็นโทษในเพราะศีลของท่าน ชื่อว่า ปฏิปปัสสัทธิ เพราะสงบความกระวนกระวายทั้งปวงในขณะอรหัตตผล.

บทว่า อนุปฺปสมฺปนฺนานํ. ชื่อว่า อุปสัมปันนา เพราะถึงพร้อมแล้วเป็นอันมากด้วยศีลสัมปทา โดยที่สมาทานไม่มีส่วนเหลือ. ไม่ใช่อุปสัมบัน จึงชื่อว่า อนุปสัมบัน. ของอนุปสัมบันเหล่านั้น. ในบทว่า ปริยนฺตสิกฺขาปทานํ - ผู้มีสิกขาบทมีที่สุดนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ ชื่อว่า สิกฺขา ด้วยอรรถว่าควรศึกษา. ชื่อว่า ปทานิ ด้วยอรรถว่า ส่วน, อธิบายว่า ส่วนที่ควรศึกษา. อีกอย่างหนึ่ง กุศลธรรมทั้งหมด ชื่อว่า สิกฺขา เพราะควรปฏิบัติให้ยิ่งด้วยการตั้งอยู่ในศีล, ศีลทั้งหลาย ชื่อว่า ปทานิ ด้วยอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งสิกขาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 551

จึงชื่อว่า สิกขาบท เพราะเป็นส่วนแห่งสิกขาทั้งหลาย, ชื่อว่า ปริยันตสิกขาบท เพราะสิกขาบทมีที่สุด แห่งอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบทมีที่สุดเหล่านั้น.

อนึ่ง ในบทนี้ ที่สุดมี ๒ อย่าง คือ สิกขาบทมีที่สุด ๑ กาลมีที่สุด ๑.

สิกขาบทมีที่สุดเป็นอย่างไร? อุบาสกอุบาสิกามีสิกขาบท ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๘, หรือ ๑๐ ตามที่สมาทาน, สิกขมานา สามเณร สามเณรี มีสิกขาบท ๑๐ นี้ชื่อว่า สิกฺขาปทปริยนฺโต - มีสิกขาบทเป็นที่สุด

กาลมีที่สุดเป็นอย่างไร? อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายให้ทาน ย่อมสมาทานศีลมีการจัดอาหารเลี้ยงดูกันเป็นที่สุด, ไปวิหารแล้ว ย่อมสมาทานศีล มีวิหารเป็นที่สุด, กำหนดคืนวัน ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ หรือยิ่งกว่านั้นแล้วสมาทานศีล นี้ชื่อว่า มีกาลเป็นที่สุด.

ในที่สุด ๒ อย่างนี้ ศีลที่สมาทานแล้วทำสิกขาบทให้มีที่สุด ด้วยการก้าวล่วงกาลหรือด้วยความตายย่อมสงบ, ศีลที่สมาทานแล้วทำกาลมีที่สุด ด้วยการก้าวล่วงกาลนั้นย่อมสงบ.

บทว่า อปริยนฺตสิกฺขาปทานํ - สิกขาบทไม่มีที่สุด ท่านกล่าวว่า

นว โกฏิสหสฺสานิ อสีติ สตโกฏิโย ปญฺญาส สตสหสฺสานิ ฉตฺตึส จ ปุนาปเร,

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 552

เอเต สํวรวินยา สมฺพุทฺเธน ปกาสิตา เปยฺยาลมุเขน นิทฺทิทิฏฺา สิกฺขา วินยสํวเร.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศสังวรวินัยเหล่านี้ไว้ เก้าพันแปดร้อยโกฏิและห้าล้านสามสิบหกโกฏิ กับอื่นๆ อีก ทรงชี้แจงสิกขาในสังวรวินัยด้วยหัวข้อไปยาล.

ชื่อว่า อปริยนฺตานิ - ไม่มีที่สุด เพราะสิกขาบทเหล่านั้นไม่มีที่สุด ด้วยการสมาทานสิกขาบทแม้มีที่สุดไม่มีเหลือด้วยการคำนวณอย่างนี้ ด้วยความมีที่สุดที่ยังไม่เห็นเพราะเหตุลาภ ยศ ญาติ อวัยวะ และชีวิต และด้วยความไม่มีกำหนดศีลที่ควรรักษาต่อไปข้างหน้า, ชื่อว่า อปริยนฺตสิกฺขาปทา - สิกขาบทไม่มีที่สุด เพราะอนุปสัมบันมีสิกขาบทไม่มีที่สุด แห่งอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบทไม่มีที่สุดเหล่านั้น อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า วุทฺธปริยนฺตสิกฺขาปทานํ - แห่งอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบทมีที่สุดเจริญแล้ว.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า ปุถุชฺชนกลฺยาณกานํ ดังต่อไปนี้ ท่านกล่าวว่า

ปุถูนํ ชนนาทีหิ การเณหิ ปุถุชฺชโน ปุถุชฺชนนฺโตคธตฺตา ปุถุวายํ ชโนอิติ.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 553

ชื่อว่า ปุถุชน ด้วยเหตุมีกิเลสหนาเกิดขึ้น เป็นต้น, เพราะกิเลสหนาหยั่งลงภายในของปุถุชน ฉะนั้น ชนนี้จึงเป็นผู้มีกิเลสหนา.

แม้ในการก้าวลงสู่ฌานอันเป็นลักษณะของปุถุชนดังกล่าวแล้ว ท่านก็กล่าวว่า

ทุเว ปุถุชฺชน วุตฺตา พทฺเธนฺทิจฺจพนฺธุนา อนฺโธ ปุถุชฺชโน เอโก กลฺยาเณโก ปุถุชฺชโน.

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ตรัสถึงปุถุชนไว้ ๒ ประเภท คือ อันธปุถุชน - ปุถุชนคนโง่เขลา และกัลยาณปุถุชน - ปุถุชนคนดี.

ในปุถุชนสองประเภทดังกล่าวแล้ว ท่านอธิบายไว้ว่า ศีลของกัลยาณปุถุชน ผู้เป็นปุถุชนมีกัลยาณธรรมตั้งอยู่ในความเป็นกัลยาณปุถุชน ล่วงเลยความเป็นอันธปุถุชนด้วยการประพฤติกัลยาณธรรม อีกอย่างหนึ่ง ผู้มีกัลยาณธรรมในหมู่ปุถุชน ชื่อว่า ปุถุชฺชนกลฺยาณ กานํ.

กุสล ศัพท์ในบทนี้ว่า กุสลธมฺเม ยุตฺตานํ ย่อมปรากฏในความไม่มีโรค ความไม่มีโทษ ความฉลาด และผลของความสุข. กุสล ศัพท์ ปรากฏในความไม่มีโรค ในบทมีอาทิว่า กจฺจิ นุ โภโต กุสลํ,

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 554

กจฺจิ โภโต อนามยํ (๑) - ท่านผู้เจริญสบายดีหรือ, มีอนามัยดีหรือ. ปรากฏในความไม่มีโทษ

ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า กตโม ปน ภนฺเต กายสมาจาโร กุสโล, โย โข มหาราช กายสมาจาโร อนวชฺโช (๒) - ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กายสมาจารเป็นกุศล เป็นไฉน? มหาราช กายสมาจารที่ไม่มีโทษ เป็นกายสมาจารเป็นกุศล

และในบทมีอาทิว่า ปุน จปรํ ภนฺเต เอตทานุตฺตริยํ ยถา ภควา ธมฺมํ เทเสติ กุสเลสุ ธมฺเมสุ (๓) - ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ยังมีข้ออื่นอีก ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมในกุศลธรรมทั้งหลาย นั้นเป็นธรรมไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า. ปรากฏในความฉลาด

ในบทมีอาทิว่า กุสโล ตฺวํ รถสฺส องฺคปจฺจงฺคานํ (๔) - ท่านเป็นผู้ฉลาดในส่วนใหญ่น้อยของรถ, และหญิงคล่องแคล่วมีกุศล คือ ความฉลาดการฟ้อนรำขับร้องที่ศึกษาแล้ว. (๕) ปรากฏในวิบากของความสุขในประโยคมีอาทิว่า กุสลานํ ภิกฺขเว ธมฺมานํ สมาทาน เหตุ, (๖) กุสลสฺส กมฺมสฺส กตตฺตา อุปจิตตฺตา (๗) - ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะกุศลธรรมที่ท่านทำแล้ว สะสมแล้ว เพราะเหตุสมาทานกุศลกรรม. กุสล ศัพท์ ในที่นี้สมควร ในความไม่มีโรคบ้าง ในความไม่มีโทษบ้าง ในวิบากของสุขบ้าง.


๑.ขุ. ชา. ๒๗/๒๑๓๓.

๒.ม. ม. ๑๓/๕๕๔.

๓.ที. ปา. ๑๑/๗๕.

๔. ม. ม. ๑๓/๙๕.

๕. ขุ. ชา. ๒๘/๔๓๖.

๖. ที. ปา. ๑๑/๓๓.

๗. อภิ. สงฺ. ๓๔/๓๓๘.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 555

ส่วนอธิบายคำใน กุสล ศัพท์ มีดังต่อไปนี้ กุจฺฉิเต ปาปเก ธมฺเม สลยนฺติ จลยนฺติ กมฺเปนฺติ วิทฺธํเสนฺตีติ กุสลา - ชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่าทำลาย ทำให้ไหว ทำให้หวั่นไหว กำจัดธรรมอันลามกน่าเกลียด.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กุสา เพราะอรรถว่าย่อมอยู่ คือ ย่อมเป็นไปโดยอาการอันน่าเกลียด, ชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่าทำลาย คือ ตัดอาการน่าเกลียดเหล่านั้น, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กุสะ เพราะทำให้เบาบาง โดยทำให้สิ้นสุดซึ่งอาการน่าเกลียดทั้งหลาย ได้แก่ ญาณ. ชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่าควรทำลาย ควรถือเอา ควรให้เป็นไป ด้วยกุสญาณนั้น, อีกอย่างหนึ่งเหมือนอย่างว่า หญ้าคาย่อมบาดมือที่ถึงส่วนทั้งสอง ฉันใด, แม้กุศลธรรมเหล่านี้ก็ย่อมตัดฝ่ายเศร้าหมองที่ถึงส่วนทั้งสอง โดยความที่เกิดแล้วและยังไม่เกิด ฉันนั้น, เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่า ย่อมตัดดุจหญ้าคา ฉะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กุศล ด้วยอรรถว่าไม่มีโรค ด้วยอรรถว่าไม่มีโทษ หรือด้วยอรรถว่าเกิดเพราะความเป็นผู้ฉลาด แต่ในที่นี้เพราะท่านประสงค์เอาวิปัสสนากุศลเท่านั้น, ฉะนั้น เพื่อละธรรมที่เหลือ แล้วแสดงวิปัสสนากุศลเท่านั้น พึงทราบว่า ท่านจึงทำเป็นเอกวจนะในบทว่า กุสลธมฺเม - ในกุศลธรรม. อธิบายว่า ประกอบ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 556

แล้วในกุศลธรรมคือวิปัสสนา เพราะทำติดต่อกัน และเพราะทำด้วยความเคารพ.

ในบทนี้ว่า เสกฺขปริยนฺเต ปริปูรการีนํ - ผู้กระทำให้บริบูรณ์ ในธรรมอันเป็นที่สุดของพระเสกขะ มีความดังต่อไปนี้,

ชื่อว่า เสกฺขา เพราะเกิดในสิกขา ๓ บ้าง, เพราะธรรมเหล่านี้ของพระเสกขะ ๗ จำพวกบ้าง, เพราะพระเสกขะทั้งหลายย่อมศึกษาด้วยตนเองบ้าง. ได้แก่ ธรรม คือ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล และอรหัตตมรรค.

ชื่อว่า เสกฺขปริยนฺโต เพราะอรรถว่ามีเสกขธรรมในที่สุดคือในอวสาน, หรือมีเสกขธรรมอันเป็นที่สุด คือมีกำหนด. พึงเชื่อมความว่า ในธรรมอันเป็นที่สุดของพระเสกขะนั้น.

ชื่อว่า ปริปูรการิโน เพราะอรรถว่ากัลยาณปุถุชนย่อมทำกุศลธรรมให้เต็มรอบ คือให้บริบูรณ์. หรือกัลยาณปุถุชนมีการบริบูรณ์เต็มรอบ คือทำให้บริบูรณ์, ของกัลยาณปุถุชนเหล่านั้นผู้ทำให้บริบูรณ์ในปฏิปทาธรรมอันเป็นที่สุดของพระเสกขะ อันเป็นส่วนเบื้องต้นของโสดาปัตติมรรค ด้วยความบริบูรณ์แห่งวิปัสสนา.

ในบทนี้ว่า กาเย จ ชีวิเต จ อนเปกฺขานํ - ผู้ไม่อาลัยในร่างกายและชีวิต มีความดังต่อไปนี้

บทว่า กาเย คือสรีระ จริงอยู่ สรีระ ท่านกล่าวว่า กาย เพราะเป็นที่สะสมความไม่สะอาดของร่างกาย

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 557

มีผมเป็นต้นอันน่าเกลียด และเพราะเป็นที่มาหลายร้อยโรคมีจักขุโรคเป็นต้น.

บทว่า ชีวิเต ได้แก่ ชีวิตินทรีย์. เพราะว่า ชีวิตินทรีย์ นั้น ท่านกล่าวว่า ชีวิต เพราะอรรถว่าเป็นเหตุให้เป็นอยู่. ชื่อว่า อนเปกฺขา เพราะอรรถว่าไม่มีอาลัยในชีวิต อธิบายว่า หมดความเยื่อใย. กัลยาณปุถุชนเหล่านั้นผู้ไม่อาลัยในร่างกายและในชีวิตนั้น.

บัดนี้ พระสารีบุตรเมื่อจะแสดงเหตุของความเป็นผู้ไม่อาลัยในร่างกายและชีวิตของกัลยาณปุถุชนเหล่านั้น จึงกล่าวว่า ปริจฺจตฺตชีวิตานํ - ผู้สละชีวิตแล้ว. จริงอยู่ กัลยาณปุถุชนเหล่านั้นเป็นผู้ไม่อาลัยในร่างกาย แม้ลำบากในชีวิต แม้อับเฉา ด้วยการสละชีวิตของตนแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า หรือแต่อาจารย์.

บทว่า สตฺตนฺนํ เสกฺขานํ - พระเสกขะ ๗ จำพวก ได้แก่ พระอริยบุคคล ๗ จำพวก มีท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ได้ชื่อว่า เสกขะ เพราะยังต้องศึกษา.

บทว่า ตถาคตสาวกานํ ได้แก่ สาวกของพระตถาคต. จริงอยู่ พระอริยบุคคล ๘ จำพวก ชื่อว่า สาวก เพราะอรรถว่าฟังเทศนา การพร่ำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยความเคารพ ด้วยตั้งปสาทะอันไม่หวั่นไหว เพราะเกิดในชาติอันเป็นอริยะในที่สุดของการฟัง. แม้ในพระอริยบุคคลเหล่านั้น พระสารีบุตรเมื่อจะแสดงให้วิเศษในผู้ตั้งอยู่

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 558

ในอรหัตตผลเท่านั้น จึงกล่าวว่า ขีณาสวานํ ดังนี้, อธิบายว่า พระขีณาสพผู้สิ้นอาสวะทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรคญาณ.

บทว่า ปจฺเจกพุทฺธานํ ชื่อว่า ปัจเจกพุทธะ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เดียวเท่านั้น ไม่มีอาจารย์ อาศัยเหตุนั้นๆ ตรัสรู้อริยสัจ ๔. ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเช่นนั้น.

ในบทนี้ว่า ตถาคตานํ มีความดังต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคตด้วยเหตุ ๘ ประการ. พระนามว่า ตถาคโต เพราะอรรถว่าเสด็จมาแล้วเหมือนอย่างนั้น, เสด็จไปแล้วเหมือนอย่างนั้น, ตรัสรู้ลักษณะที่เป็นของจริงแท้, ตรัสรู้ธรรมที่จริงแท้โดยความเป็นจริง, เพราะทรงแสดงสิ่งที่จริงแท้, เพราะทรงกล่าวแต่ความจริงแท้, เพราะเป็นผู้กระทำเหมือนอย่างนั้น, เพราะอรรถว่าครอบงำ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า เสด็จมาแล้วเหมือนอย่างนั้น เป็นอย่างไร? เหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย แต่ก่อนผู้ถึงความขวนขวายเสด็จมาแล้วเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งมวล. ท่านอธิบายไว้อย่างไร? อธิบายไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย แต่ก่อนเสด็จมาแล้วด้วยอภินิหารใด, แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายก็เสด็จมาแล้ว โดยอภินิหารนั้นเหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 559

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าแต่ก่อนทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ถ้วน คือ บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ได้แก่ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วีริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐานะ เมตตา อุเบกขา, ทรงบริจาคมหาบริจาค ๕ เหล่านี้ คือ บริจาค อวัยวะ ๑ นัยน์ตา ๑ ทรัพย์ ๑ ราชสมบัติ ๑ บุตรภรรยา ๑, ทรงบำเพ็ญญาตัตถจริยาด้วยการทรงบอกธรรมอันควรประกอบในเบื้องต้น และควรประพฤติในเบื้องต้น แล้วถึงที่สุดแห่งพุทธจริยาเสด็จมาแล้ว, แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายก็เสด็จทรงบำเพ็ญมาแล้วเหมือนอย่างนั้น.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าแต่ก่อนทรงเจริญเพิ่มพูนสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ฉันใด, แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายก็เสด็จมาแล้ว ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคโต. บัณฑิตกล่าวว่า

ยเถว ทีปงฺกรพุทฺธอาทโย

สพฺพญฺญุภาวํ มุนโย อิธาคตา.

ตถา อยํ สกฺยมุนีปิ อาคโต

ตถาคโต วุจฺจติ เตน จกฺขุมา.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 560

พระมุนีทั้งหลาย มีพระทีปังกรพุทธเจ้า เป็นต้น ถึงความเป็นพระสัพพัญญูเสด็จมาแล้วในโลกนี้อย่างใด, แม้พระศากยมุนีผู้มีจักขุนี้ก็เสด็จมาแล้วเหมือนอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น บัณฑิตจึงขนานพระนามว่า ตถาคต.

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ตถาคต เพราะอรรถว่าเสด็จไปแล้วเหมือนอย่างนั้น เป็นอย่างไร? พระผู้มีพระภาคเจ้าแต่ก่อนที่ประสูติแล้ว ในบัดนี้ ชื่อว่า เสด็จไปแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น ชื่อว่า เสด็จไปแล้วอย่างไร? เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้นประสูติแล้วในบัดนี้ ประดิษฐานพระบาททั้งสองเสมอกันบนแผ่นดิน หันพระพักตร์ไปทางทิศอุดรเสด็จดำเนินไปด้วยอย่างพระบาท ๗ ก้าว. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์ที่ประสูติในบัดนี้ ประดิษฐานพระบาททั้งสองเสมอกันบนแผ่นดิน หันพระพักตร์ไปทางทิศอุดร เสด็จไปด้วยย่างพระบาท ๗ ก้าว เมื่อเทพบุตรกั้นเศวตรฉัตรตามเสด็จพระโพธิสัตว์จะเหลียวดูทิศทั้งปวง, และ ทรงเปล่งพระวาจาอย่างผู้องอาจว่า อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส, เชฏฺโหมสฺมิ โลกสฺส เสฏฺโหมสฺมิ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 561

โลกสฺส, อยมนฺติมา ชาติ นตฺถิทานิ ปุนพฺภโวติ. (๑) แปลว่า เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่จะไม่มีอีก.

การดำเนินไปของพระโพธิสัตว์นั้นได้ชื่อว่า เป็นความจริงแท้แน่นอน โดยเป็นบุพนิมิตแห่งการตรัสรู้ธรรมวิเศษมิใช่น้อย. ข้อที่พระโพธิสัตว์นั้นประสูติในบัดนี้ ประดิษฐานพระบาทเสมอกัน นี้เป็นบุพนิมิตแห่งการได้อิทธิบาท ๔ ของพระโพธิสัตว์นั้น, การหันพระพักตร์ไปทางทิศอุดร เป็นบุพนิมิตแห่งความเป็นโลกุตระทั้งหมดของพระโพธิสัตว์, การย่างพระบาท ๗ ก้าวเป็นบุพนิมิตแห่งการได้ โพชฌังครัตนะ ๗, ส่วนการยกแส้จามรขึ้นดังกล่าวไว้ ในบทนี้ว่า สุวณฺณทณฺฑา วีติปตนฺติ จามรา (๒) - จามรด้ามทองตกอยู่ ดังนี้ เป็นบุพนิมิตแห่งการย่ำยีเดียรถีย์ทั้งหมด. การกั้นเศวตรฉัตรเป็นบุพนิมิตแห่งการได้เศวตรฉัตรอันประเสริฐปราศจากมลทินด้วยการหลุดพ้นด้วยอรหัตตมรรค การเหลียวดูทิศทั้งหมดเป็นบุพนิมิตแห่งการให้อนาวรณญาณ คือความเป็นพระสัพพัญญู, การเปล่งวาจาอันองอาจเป็นบุพนิมิตแห่งการเป็นไปแห่งธรรมจักรอันประเสริฐที่ยังไม่เคยเป็นไป. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ก็เสด็จไปเหมือนอย่างนั้น. อนึ่ง


๑.ม. อุ. ๑๔/๓๗๗.

๒.ขุ. สุ. ๒๕/๓๘๘.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 562

การเสด็จดำเนินของพระโพธิสัตว์นั้นได้เป็นความจริงแท้แน่นอน ด้วยความเป็นบุพนิมิตแห่งการบรรลุธรรมวิเศษเหล่านี้นั่นแล. ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า

มุหุตฺตชาโตว ควมฺปตี ยถา สเมหิ ปาเทหิ ผุสี วสุนฺธรํ, โส วิกฺกมิ สตฺต ปาทานิ โคตโม เสตญฺจ ฉตฺตํ อนุธารยุํ มรู.

คนฺตฺวาน โส สตฺต ปทานิ โคตโม ทิสา วิโลเกสิ สมา สมนฺตโต, อฏฺงฺคุเปตํ คิรมพฺภุทีรยิ สีโห ยถา ปพฺพตมุทฺธนิฏฺิโต.

พระควัมบดีประสูติได้ครู่เดียวเท่านั้น ทรงสัมผัสแผ่นดินด้วยพระบาทเสมอกัน, พระโพธิสัตว์เหล่ากอแต่งพระโคดมนั้น ทรงย่างพระบาท ๗ ก้าว และเหล่าเทพเจ้าพากันกั้นเศวตฉัตร.

พระโคดมนั้นเสด็จดำเนินไป ๗ ก้าว ทรงเหลียวแลดูทิศอย่างสม่ำเสมอโดยรอบ, ทรงเปล่งพระวาจาประกอบด้วยองค์ ๘ ดุจสีหะยืนอยู่บนยอดเขาบันลือสีหนาท ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 563

ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปแล้วเหมือนอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าแต่ก่อนฉันใด, แม้พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เสด็จไปแล้วเพื่อละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ. ฯลฯ ละนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ละนิจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนา ฯลฯ ละกิเลสทั้งหมดด้วยอรหัตตมรรค, พระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปแล้วอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้.

พระนามว่า ตถาคโต เพราะตรัสรู้ลักษณะที่จริงแท้ เป็นอย่างไร? ลักษณะที่จริงแท้ คือ ความเป็นของแข็ง เป็นลักษณะแห่ง ปฐวีธาตุ, การไหลไป เป็นลักษณะแห่ง อาโปธาตุ, ความเป็นของร้อน เป็นลักษณะแห่ง เตโชธาตุ, การขยายตัวไปมา เป็นลักษณะแห่ง วาโยธาตุ การสัมผัสไม่ได้ เป็นลักษณะแห่ง อากาศธาตุ, การรู้แจ้งเป็นลักษณะแห่ง วิญญาณธาตุ.

การสลายไป เป็นลักษณะแห่ง รูป, การเสวยอารมณ์ เป็นลักษณะแห่ง เวทนา, การรู้พร้อม เป็นลักษณะแห่ง สัญญา การปรุงแต่ง เป็นลักษณะแห่ง สังขาร, การรู้แจ้ง เป็นลักษณะแห่ง วิญญาณ.

การยกขึ้น เป็นลักษณะแห่ง วิตก, การเคล้าคลึง เป็นลักษณะแห่ง วิจาร, การซ่านไป เป็นลักษณะแห่ง ปีติ, การยินดี

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 564

เป็นลักษณะแห่ง ความสุข, การไม่ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะแห่ง ความที่จิตมีอารมณ์เดียว, ความถูกต้อง เป็นลักษณะแห่ง ผัสสะ.

การน้อมใจเชื่อ เป็นลักษณะแห่ง สัทธินทรีย์, การประคองไว้ เป็นลักษณะแห่ง วิริยินทรีย์, การตั้งมั่น เป็นลักษณะแห่ง สตินทรีย์, การไม่ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะแห่ง สมาธินทรีย์, การรู้ทั่ว เป็นลักษณะแห่ง ปัญญินทรีย์.

ความไม่หวั่นไหวในความไม่เชื่อ เป็นลักษณะแห่ง สัทธาพละ, ความไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน เป็นลักษณะแห่ง วีริยพละ, ความไม่หวั่นไหวในความลุ่มหลง เป็นลักษณะแห่ง สติพละ, ความไม่หวั่นไหวในความฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะแห่ง สมาธิพละ, ความไม่หวั่นไหวในอวิชชา เป็นลักษณะแห่ง ปัญญาพละ.

ความตั้งมั่น เป็นลักษณะแห่ง สติสัมโพชฌงค์, ความค้นคว้า เป็นลักษณะแห่ง ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์, ความประคองไว้ เป็นลักษณะแห่ง วีริยสัมโพชฌงค์, ความซ่านไป เป็นลักษณะแห่ง ปีติสัมโพชฌงค์, ความสงบ เป็นลักษณะแห่ง ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์, ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะแห่ง สมาธิสัมโพชฌงค์, ความพิจารณา เป็นลักษณะแห่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 565

ความเห็น เป็นลักษณะ สัมมาทิฏฐิ, ความยกขึ้น เป็นลักษณะของ สัมมาสังกัปปะ, การกำหนด เป็นลักษณะของ สัมมาวาจา, การตั้งขึ้น เป็นลักษณะของ สัมมากัมมันตะ, ความบริสุทธิ์ เป็นลักษณะของ สัมมาอาชีวะ, การประคองไว้ เป็นลักษณะของ สัมมาวายามะ, การเข้าไปตั้งไว้ เป็นลักษณะของ สัมมาสติ, ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะของ สัมมาสมาธิ.

ความไม่รู้ เป็นลักษณะของ อวิชชา, ความคิด - เจตนา เป็นลักษณะของสังขาร, ความรู้แจ้ง เป็นลักษณะของ วิญญาณ, ความน้อมไป เป็นลักษณะของ นาม, ความสลายไป เป็นลักษณะของ รูป, ความติดต่อกัน เป็นลักษณะแห่ง สฬายตนะ, ความถูกต้อง เป็นลักษณะแห่ง ผัสสะ, ความเสวยอารมณ์ เป็นลักษณะแห่ง เวทนา, เหตุ เป็นลักษณะแห่ง ตัณหา, ความยึดถือ เป็นลักษณะแห่ง อุปาทาน, การประมวล- อายูหนะ เป็นลักษณะแห่ง ภพ, ความเกิด เป็นลักษณะแห่ง ชาติ ความทรุดโทรม เป็นลักษณะแห่ง ชรา, จุติ - การเคลื่อนไป เป็นลักษณะแห่ง ความ ตาย.

ความเป็นของสูญ เป็นลักษณะแห่ง ธาตุ, ความติดต่อกัน เป็นลักษณะแห่ง อายตนะ, การเข้าไปตั้งไว้ เป็นลักษณะแห่ง สติปัฏฐาน, ความเริ่มตั้ง - การทำความเพียร เป็นลักษณะแห่ง

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 566

สัมมัปธาน, ความสำเร็จ เป็นลักษณะแห่ง อิทธิบาท, ความเป็นใหญ่ เป็นลักษณะแห่ง อินทรีย์, ความไม่หวั่นไหว เป็นลักษณะแห่ง พละ, ความนำออก เป็นลักษณะแห่ง โพชฌงค์, เหตุ เป็นลักษณะแห่ง มรรค.

ความจริงแท้ เป็นลักษณะแห่ง สัจจะ ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะแห่ง สมถะ, ความพิจารณาเห็นตาม เป็นลักษณะแห่ง วิปัสสนา, เอกรส - ธรรมรสอันเลิศ เป็นลักษณะแห่ง สมถะและวิปัสสนา, ความไม่เปลี่ยนแปลง เป็นลักษณะแห่ง ธรรมคู่กัน.

สังวร เป็นลักษณะแห่ง สีลวิสุทธิ.

ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะแห่ง จิตตวิสุทธิ

ความเห็น เป็นลักษณะแห่ง ทิฏฐิวิสุทธิ.

ความตัดขาด เป็นลักษณะแห่ง ญาณในความสิ้นไป,

ความสงบ เป็นลักษณะแห่ง ญาณในความไม่เกิด.

มูละ เป็นลักษณะแห่ง ฉันทะ, สมุฏฐานะ เป็นลักษณะแห่ง มนสิการะ, สโมธานะ เป็นลักษณะแห่ง ผัสสะ, สโมสรณะ เป็นลักษณะแห่ง เวทนา, ปมุขะ เป็นลักษณะแห่ง สมาธิ, อาธิปเตยยะ เป็นลักษณะแห่ง สติ, ตทุตตริ - ความรู้ยิ่งกว่านั้น เป็น ลักษณะแห่ง ปัญญา, สาระ เป็นลักษณะแห่ง วิมุตติ, ปริโยสานะ เป็นลักษณะแห่ง นิพพานอันหยั่งลงสู่อมตะ, นี้ คือ ความจริงแท้

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 567

พระนามว่า ตถาคโต เพราะตรัสรู้ลักษณะที่จริงแท้นั้นด้วย ญาณคติ คือทรงบรรลุ บรรลุถึงไม่ผิดพลาด, ตรัสรู้ลักษณะที่จริงแท้ด้วย ประการฉะนี้ จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.

พระนามว่า ตถาคโต เพราะตรัสรู้ธรรมที่จริงแท้ตามความเป็นจริงนั้น เป็นอย่างไร? อริยสัจ ๔ ชื่อว่า ธรรมที่จริงแท้. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ อย่างเหล่านี้ เป็นธรรมที่จริงแท้แน่นอน ไม่เป็นอย่างอื่น. อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์ เป็นของจริงแท้แน่นอน ไม่เป็นอย่างอื่น ดังนี้ พึงให้พิสดาร (๑) .

อนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้อริยสัจเหล่านั้น บัณฑิตจึงขนานพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้สิ่งจริงแท้. คต ศัพท์ ในที่นี้มีเนื้อความว่าตรัสรู้.

อนึ่ง ความจริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น มีความบ่งถึงความเป็นจริงว่า ชาติ เป็นปัจจัยของ ชรา และ มรณะ ฯลฯ มีความบ่งถึงความเป็นจริงว่า อวิชชา เป็นปัจจัยของ สังขาร ฯลฯ.


๑. สํ. มหา. ๑๙/๑๖๙๗.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 568

อนึ่ง ความจริงแท่แน่นอน ไม่เป็นอย่างอื่นของ อวิชชา มีอรรถว่า เป็นปัจจัยแห่ง สังขาร ฯลฯ ความจริงแท้แน่นอน ไม่เป็นอย่างอื่นของ ชาติ มีอรรถว่า เป็นปัจจัยของ ชรา และ มรณะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้สิ่งปวงนั้น เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ความจริงแท้.

พระนามว่า ตถาคโต เพราะทรงเห็นความจริงแท้นั้น เป็นอย่างไร? ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ทรงเห็นรูปารมณ์อันมาสู่คลองจักษุ ในจักขุทวารของสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ในโลกธาตุอันหาประมาณมิได้ ในโลกพร้อมด้วยเทวโลก ฯลฯ เป็นไปกับด้วยเทวดาและมนุษย์มีอยู่โดยอาการทั้งปวง. อนึ่ง รูปารมณ์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ทรงเห็นทรงจำแนกไว้โดยนัย ๕๒ โดยวาระ ๑๓ โดย ชื่อมากมาย โดยนัยมีอาทิว่า รูปที่เรียกว่า รูปายตนะ เป็นไฉน? รูปใดนี้แสงสว่างอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นไปกับการเห็นได้และมีความกระทบได้ มีสีเขียวคราม สีเหลือง (๑) เป็นต้น เป็นความจริงแท้ ไม่มีความเหลวไหล.

ในเสียงเป็นต้น อันมาสู่คลองในโสตทวารเป็นต้นก็มีนัยนี้. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า


๑. อภิ. สงฺ. ๓๔/๕๒๑.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 569

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปารมณ์ที่เห็นด้วยจักษุ สัททารมณ์ที่ฟังด้วยหู คันธารมณ์ รสารมณ์ และโผฏฐัพพารมณ์ที่รู้ได้ด้วยทวารนั้นๆ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ ของโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ของหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เราได้บรรลุแล้ว เสาะแสวงหาแล้ว ค้นคว้าแล้วด้วยใจ เราย้อมรู้รูปารมณ์ที่เห็นได้ด้วยจักษุเป็นต้นนั้น รู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ตถาคตรู้รูปารมณ์เป็นต้นนั้นแจ้งชัด รูปารมณ์เป็นต้นนั้นไม่ปรากฏในตถาคต (๑) .

พระนามว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นความจริงแท้ด้วยประการฉะนี้. พึงทราบการเพิ่มบทว่า ตถาคโต ลงในอรรถว่าเห็นความจริงแท้นั้น.

พระนามว่า คถาคโต เพราะทรงตรัสแต่ความจริงแท้ เป็นอย่างไร ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนปราชิตบัลลังก์ใต้โพธิมณฑล ในเวลากลางคืนทรงย่ำยียอดมารทั้ง ๔ แล้วตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอย่างยอดเยี่ยม, และข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพ


๑. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๒๔.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 570

พานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในระหว่างต้นสาละคู่ในเวลากลางคืน, และข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละในปฐมโพธิกาลบ้าง ในมัชฌิมโพธิกาลบ้าง ในปัจฉิมโพธิกาลบ้าง ในเวลาประมาณ ๔๕ ปีในระหว่างนี้, ทั้งหมดนั้น ทั้งโดยอรรถ ทั้งโดยพยัญชนะ ไม่มีโทษ ไม่ควรติเตียน ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง บริบูรณ์ ด้วยอาการทั้งปวง ถอนความมัวเมา ราคะ โทสะ โมหะ, ไม่มีความผิดพลาดแม้เพียงปลายขนสัตว์ในคำสอนนั้น, ทั้งหมดนั้นเป็นความจริงแท้ ดุจประทับด้วยดวงตราดวงเดียว, ดุจตวงด้วยทะนานเดียว และดุจชั่งด้วยตราชั่งอันเดียว. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนจุนทะ ข้อที่ตถาคตตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ในเวลากลางคืน, และข้อที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานในเวลากลางคืน, ข้อที่ตถาคตกล่าวชี้แจงแสดงในระหว่างนี้ ทั้งหมดนั้นเป็นความจริงแท้ทีเดียว, ไม่ เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงขนานพระนามว่า ตถาคต (๑) .

คต ศัพท์ในบทนี้ มีอรรถว่าคำพูดพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสอย่างนั้นด้วยประการฉะนี้.


๑. ที. ปา. ๑๑/๑๒๐.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 571

อีกอย่างหนึ่ง คำพูด ชื่อว่า อาคท, อธิบายว่า การกล่าว. คำกล่าวของพระตถาคตเป็นความจริงไม่เปลี่ยนแปลง เพราะแผลง ท เป็น จึงเป็น ตถาคโต ฉะนั้น พึงทราบสำเร็จในอรรถนี้ด้วยประการฉะนี้.

พระนามว่า ตถาคโต เพราะกระทำเหมือนอย่างนั้น เป็นอย่างไร? จริงอยู่ กายของพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมคล้อยตามวาจา, วาจาย่อมคล้อยตามกาย, เพราะฉะนั้น จึงมีว่า พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น, และทำอย่างใด พูดอย่างนั้น. อธิบายว่า วาจาของพระผู้มีพระภาคนั้นเป็นอย่างนี้ ฉันใด, แม้กายก็เป็นไปฉันนั้น. อนึ่ง พระนามว่า ตถาคโต เพราะกายเป็นอย่างใด, แม้วาจาก็เป็นไปอย่างนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตพูดอย่างใด ทำอย่างนั้น, ทำอย่างใด พูดอย่างนั้น. ด้วยเหตุที่ตถาคตพูดอย่างใด ทำอย่างนั้น, ทำอย่างใด พูดอย่างนั้น บัณฑิตจึงขนานพระนามว่า ตถาคต (๑) .

พระนามว่า ตถาคต เพราะทำอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้.

พระนามว่า ตถาคโต ด้วยอรรถว่าครอบงำนั้น เป็นอย่างไร? พระตถาคตทรงทำที่สุด เบื้องบนถึงภวัคคพรหม เบื้องล่างถึงอเวจีแล้ว


๑. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๒๓.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 572

ทรงครอบงำสรรพสัตว์ในโลกธาตุอันหาประมาณมิได้ ในเบื้องขวาง ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสนะ. พระตถาคตนั้นไม่มีการชั่งหรือการคาดคะเน, พระตถาคตไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีผู้ควรเทียบได้ เป็นผู้ยอดเยี่ยม เป็นราชายิ่งกว่าราชา เป็นเทวดายิ่งกว่าเทวดา เป็นสักกะยิ่งกว่าสักกะ เป็นพรหมยิ่งกว่าพรหม. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ฯลฯ ผู้ครอบงำ เป็นผู้เห็นโดยถ่องแท้ เป็นผู้ยังสัตว์ให้อยู่ในอำนาจ เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงขนานพระนามว่า ตถาคต๑.

ในบทนั้นพึงทราบบทสำเร็จดังต่อไปนี้, พระตถาคตพระนามว่า อคโท เป็นดุจหมอยาผู้วิเศษ. ในบาลีว่า นั่นเป็นใคร? มีความงดงามด้วยเทศนาและเป็นผู้สำเร็จแล้วด้วยบุญ. ด้วยเหตุนั้นพระตถาคตจึงมีอานุภาพมาก ย่อมครอบงำลัทธิของผู้อื่นทั้งหมด และโลกกับทั้งเทวโลกได้ดุจหมองูย่อมปราบงูได้ด้วยยาวิเศษฉะนั้น. ด้วยเหตุนี้ พระตถาคตเป็น อคโท สำเร็จด้วยความงามแห่งเทศนา และสำเร็จด้วยบุญเป็นความจริงแท้ ไม่เปลี่ยนแปลงในการครอบงำโลกทั้งปวง


๑. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๒๓.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 573

เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า พระนามว่า ตถาโต เพราะแผลง เป็น . พระนามว่า ตถาคต ด้วยอรรถว่า ครอบงำ ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พระนามว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า ดำเนินไปแล้วด้วยความจริงแท้บ้าง. พระนามว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า ดำเนินไปสู่ความจริงแท้บ้าง. บทว่า คโต มีความว่า ก้าวลงแล้ว ล่วงไปแล้ว บรรลุแล้ว ดำเนินไปแล้ว.

ในบทเหล่านั้น พระตถาคต พระนามว่า ตถาคโต เพราะ รรถว่า ก้าวลงสู่โลกทั้งสิ้นด้วยความจริงแท้ คือ ตีรณปริญญา, พระนามว่า ตถาคโต เพราะอรรถว่า ล่วงไปแล้วซึ่งเหตุให้เกิดโลกด้วยความจริงแท้ คือ ปหานปริญญา, พระนามว่า ตถาคโต เพราะอรรถว่า บรรลุความดับโลกด้วยความจริงแท้ คือ สัจฉิกิริยา, พระนามว่า ตถาคโต เพราะอรรถว่า ดำเนินไปแล้วสู่ความจริงแท้ คือ โลกนิโรธคามินีปฏิปทา - ปฏิปทาให้ถึงความดับโลก.

ด้วยเหตุนั้นคำใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกอันตถาคตตรัสรู้แล้ว, ตถาคตพรากจากโลกแล้ว. เหตุให้เกิดโลก ตถาคตตรัสรู้แล้ว ตถาคตได้ละเหตุให้เกิดโลกแล้ว. ความดับโลกตถาคตตรัสรู้แล้ว, ตถาคตทำให้แจ้งการดับโลกแล้ว. ปฏิปทาให้ถึงความดับ

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 574

โลก ตถาคตตรัสรู้แล้ว, ตถาคตทำให้เกิดปฏิปทาให้ถึงความดับโลกแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เห็นด้วยจักษุ ฯลฯ ธรรมที่รู้ด้วยใจ ของโลกพร้อมด้วยเทวโลกทั้งหมดนั้น ตถาคตตรัสรู้แล้ว. เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงขนานนามว่า ตถาคต. (๑)

พึงทราบความของคำนั้นแม้อย่างนี้.

อนึ่ง บทนี้ก็เป็นเพียงมุขในการแสดงความเป็นตถาคตของพระตถาคตนั่นเอง. อนึ่ง พระตถาคตท่านนั้น พึงพรรณนาความเป็นตถาคตของพระตถาคตได้โดยอาการทั้งปวง. ก็เพราะพระพุทธเจ้าทั้งปวงเป็นผู้เหมาะสมแม้ด้วยคุณของพระตถาคต, ฉะนั้นพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า ตถาคตานํ ด้วยสามารถของพระพุทธเจ้าทั้งหมด.

บทว่า อรหนฺตานํ ความว่า พระตถาคตเป็น พระอรหันต์ เพราะทรงไกลจากกิเลสทั้งหลาย, เพราะขจัดข้าศึกและซี่ล้อแห่งจักรทั้งหลาย. เพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น, เพราะไม่มีความลับในการทำบาป. จริงอยู่ พระตถาคตนั้นเป็นผู้ไกล คือตั้งอยู่ไกลแสนไกล


๑. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๒๓.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 575

จากกิเลสทั้งปวง พระนามว่า อรหํ เพราะทรงละกิเลส พร้อมด้วยวาสนาด้วยมรรค บัณฑิตกล่าวคำว่า อรหํ ไว้ ๕ นัย นัยที่ ๑ ว่า

โส ตโต อารกา นาม ยสฺส เยนาสมงฺคิตา อสมงฺคี จ โทเสหิ นาโถ เตนารหํ มโต.

พระตถาคตเจ้าผู้เป็นนาถะ ไม่ถูกกิเลสกลุ้มรุม และไม่ประกอบด้วยโทษ คือ วาสนาทั้งหลาย ชื่อว่าทรงไกลจากกิเลสและโทษเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า อรหํ เป็นพระอรหันต์.

อนึ่ง พระตถาคตเจ้าทรงกำจัดข้าศึก คือกิเลสเหล่านั้น ด้วยมรรค เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงขนานพระนามว่า อรหํ เพราะทรงกำจัดข้าศึก คือกิเลสทั้งหลายบ้าง.

ยสฺม ราคาทิสงฺขาตา สพฺเพปิ อรโย หตา ปญฺญาสตฺเถน นาเถน ตสฺมาปิ อรหํ มโต.

เพราะพระนาถะทรงกำจัดข้าศึก คือ กิเลส มีราคะเป็นต้น แม้ทั้งหมดด้วยศัสตรา คือ ปัญญา เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงทราบว่า อรหํ เป็นพระอรหันต์.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 576

อนึ่ง สังสารจักร - ล้อ คือ สงสารมีดุมสำเร็จด้วยอวิชชาและภวตัณหา มีเครื่องตกแต่ง คือ บุญเป็นต้น เป็นซี่ล้อ มีชราและมรณะ เป็นกงเจาะสอดไว้ด้วยเพลา คือ เหตุเกิดอาสวะ ประกอบในรถ คือ ภพ ๓ เป็นไปโดยกาลอันไม่มีเบื้องต้น, พระตถาคตประดิษฐานบนแผ่นดิน คือ ศีล ด้วยพระบาท คือ วีริยะ ณ โพธิมณฑล ทรงถือขวาน คือ ญาณ กระทำกรรมให้สิ้นไปด้วยพระหัตถ์ คือ ศรัทธา แล้วทรงกำจัดซี่ล้อทั้งหมดแห่งสังขารจักรนั้น เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า อรหํ เป็น พระอรหันต์ เพราะกำจัดซี่ล้อทั้งหลายนี้เป็นนัยที่ ๒. บัณฑิตกล่าวนัยที่ ๓ ว่า

อรา สํสารจกฺกสฺส หตา าณาสินา ยโต โลกนาเถน เตเนส อรหนฺติ ปวุจฺจติ.

เพราะพระโลกนาถทรงกำจัดซี่ล้อแห่งสังสารจักรด้วยดาบ คือ ญาณ, เพราะเหตุนั้น พระโลกนาถนั้น บัณฑิตจึงขนานพระนามว่า อรหํ เป็น พระอรหันต์.

อนึ่ง พระตถาคต เพราะเป็นผู้ควรของทำบุญอย่างเลิศ จึงควรรับปัจจัยมีจีวรเป็นต้น และการบูชาวิเศษ. ก็ด้วยเหตุนั้นแล เมื่อพระตถาคตอุบัติแล้ว เทวดาและมนุษย์ผู้มีมีศักดิ์ใหญ่พวกใดพวกหนึ่ง จะ

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 577

ไม่ทำการบูชาในที่อื่นเลย. เป็นความจริงดังนั้น สหัมบดีพรหมย่อมบูชาพระตถาคตด้วยพวงแก้วประมาณเท่าภูเขาสิเนรุ. เทวดาเหล่าอื่นและมนุษย์ทั้งหลาย มีพระเจ้าพิมพิสารและพระเจ้าโกศลเป็นต้น ย่อมบูชาตามกำลัง.

อนึ่ง พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสละทรัพย์ ๙๖ โกฏิ อุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เสด็จปรินิพพานแล้ว และสร้างวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลังไว้ในชมพูทวีปทั้งสิ้น. จะพูดไปทำไมถึงการบูชาวิเศษอย่างอื่น. เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงทรงพระนามว่า อรหํ เป็นพระอรหันต์ เพราะสมควรแก่ปัจจัยเป็นต้น. บัณฑิตกล่าวนัยที่ ๔ ว่า

ปูชาวิเสสํ สห ปจฺจเยหิ

ยสฺมา อยํ อรหติ โลกนาโถ,

อตฺถานุรูปํ อรหนฺติ โลเก

ตสฺมา ชิโน อรหติ นามเมตํ.

เพราพระโลกนาถนี้สมควรรับการบูชาวิเศษพร้อมด้วยปัจจัยทั้งหลาย, ฉะนั้นพระชินะจึงสมควรทรงพระนามว่า อรหํ เป็นพระอรหันต์ อันเหมาะสมแก่อรรถะ.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 578

อนึ่ง พระตถาคตนั้นไม่ว่าในกาลไหนๆ ไม่ทรงทำเหมือนอย่างที่คนพาลทั้งหลายพวกใดพวกหนึ่งสำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต ทำบาปในที่ลับด้วยเกรงว่าจะไม่ได้รับการสรรเสริญ เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงเป็นพระอรหันต์ เพราะไม่มีความลับในการทำบาป. บัณฑิตกล่าวนัยที่ ๕ ว่า

ยสฺมา นตฺถิ รโห นามปาปกมฺเมสุ ตาทิโน

รหาภาเวน เตเนส อรหํ อิติ วิสฺสุโต.

ขึ้นชื่อว่าความลับในบาปกรรมมิได้มีแก่พระตถาคตผู้มั่นคง เพราะเหตุนั้น พระตถาคตนั้นจึงปรากฏพระนามว่า อรหํ เป็นพระอรหันต์ เพราะไม่มีความลับ.

ท่านกล่าวสรุปความทั้งหมดไว้อย่างนี้ว่า

อารกตฺตา หตตฺตา จ กิเลสารีน โส มุนิ

หตสํสารจกฺกาโร ปจฺจยาทีน จารโห,

น รโห กโรติ ป ปานิ อรหํ เตน วุจฺจติ.

พระมุนีนั้น เพราะทรงเป็นผู้ไกลจากกิเลส ๑ เพราะกำจัดข้าศึก คือกิเลส ๑ เพราะหักซี่ล้อ คือ สังสารจักร ๑ ทรงสมควรแก่ปัจจัยเป็นต้น ๑

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 579

เพราะไม่ทรงทำบาปในที่ลับ ๑ เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงขนานพระนามว่า อรหํ เป็นพระอรหันต์.

ก็เพราะพระพุทธเจ้าทั้งปวงเป็นผู้เหมาะสม แม้ด้วยคุณของพระอรหันต์ ฉะนั้น พระสารีบุตรจึงกล่าวว่า อรหนฺตานํ ด้วยสามารถแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง.

บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธานํ ความว่า ชื่อว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วยพระองค์เอง. เป็นความจริงอย่างนั้น พระสัมมาสัมพุทธะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบด้วยพระองค์เอง คือที่ทรงพระนามว่า พุทธะ เพราะทรงรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้, เพราะทรงกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้, เพราะทรงละธรรมที่ควรละ, เพราะทรงทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง, เพราะเจริญธรรมที่ควรเจริญ. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

อภิญฺเยฺยํ อภิญฺาตํ ภาเวตพฺพญฺจ ภาวิตํ

ปาหาตพฺพํ ปหีนํ เม ตสฺมา พุทฺโธสฺมิ พฺราหฺมณ. (๑)

ดูก่อนพราหมณ์ สิ่งที่ควรรู้ยิ่ง เราได้รู้ยิ่งแล้ว สิ่งที่ควรเจริญ เราได้เจริญแล้ว และสิ่งที่ควรละ เราได้ละแล้ว, เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นพุทธะ.


๑. ม. ม. ๑๓/๖๐๙.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 580

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า พระสัมมาสัมพุทธะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบ และด้วยพระองค์เอง แม้ด้วยการยกบทหนึ่งๆ ขี้นอย่างนี้ว่า จักษุ เป็น ทุกขสัจจะ, ปุริมตัณหาอันทำจักษุนั้นให้เกิดขึ้นโดยเป็นเหตุ เป็น สมุทยสัจจะ, ความที่ทุกขสัจจะและสมุทยสัจจะทั้ง ๒ เป็นไปไม่ได้ เป็น นิโรธสัจจะ, ปฏิปทาอันรู้ทั่วถึงการดับ เป็น มรรคสัจจะ. ในโสตะ ฆานะ ชิวหา และกาย ก็มีนัยนี้.

โดยนัยนี้แล พึงประกอบอายตนะ ๖ มีรูปเป็นต้น, กองวิญฌาณ ๖ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น, ผัสสะ ๖ มีจักขุสัมผัสสะเป็นต้น, เวทนา ๖ มีจักขุสัมผัสสชาเวทนาเป็นต้น, สัญญา ๖ มีรูปสัญญาเป็นต้น, เจตนา ๖ มีรูปสัญเจตนาเป็นต้น, กองตัณหา ๖ มีรูปตัณหาเป็นต้น, วิตก ๖ มีรูปวิตกเป็นต้น, วิจาร ๖ มีรูปวิจารเป็นต้น, ขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์เป็นต้น. กสิณ ๑๐, อนุสสติ ๑๐, สัญญา ๑๐ ด้วยสามารถอุทธุมาตกสัญญา - ความสำคัญศพที่ขึ้นอืดเป็นต้น, อาการ ๓๒ มีผม เป็นต้น, อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘, ภพ ๙ มีกามภพเป็นต้น, ฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น, อัปปมัญญา ๔ มีเมตตาภาวนาเป็นต้น, อรูปสมาบัติ ๔, และองค์ปฏิจจสมุปบาทมีชรามรณะเป็นต้น โดยปฏิโลม, มีอวิชชาเป็นต้น โดยอนุโลมเข้าด้วยกัน.

พึงทราบการประกอบบทๆ หนึ่งดังต่อไปนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ตรัสรู้ยิ่ง แทงตลอดธรรมทั้งปวงโดยชอบด้วยพระองค์เอง

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 581

ด้วยการยกบทหนึ่งๆ ขึ้นอย่างนี้ว่า ชรามรณะเป็นทุกขสัจจะ, ชาติ เป็น สมุทยสัจจะ, การออกไปทั้งสองอย่างนั้นเป็น นิโรธสัจจะ, ปฏิปทาอันรู้ทั่วถึงการดับเป็น มรรคสัจจะ.

ยังมีสิ่งที่ควรแนะนำอย่างใดอย่างหนึ่งอีก, พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ เพราะตรัสรู้สิ่งทั้งปวงโดยชอบด้วยพระองค์เอง ด้วย วิโมกขันติกญาณ - ญาณอันเป็นที่สุดแห่งความหลุดพ้น. วิภาคญาณของสัมมาสัมพุทธะนั้นจักมีแจ้งข้างหน้า. ก็เพราะพระพุทธเจ้าทั้งปวงเหมาะสมแม้ด้วยคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนั้นพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า สมฺมาสมฺพุทฺธานํ ด้วยสามารถแห่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

๘๗ - ๘๘] บัดนี้ เพื่อแยกแสดงศีลอย่างหนึ่งๆ ออกเป็น ๕ ส่วนในศีล ๒ หมวด คือ ปริยันตปาริสุทธิศีล - ศีลบริสุทธิ์มีที่สุด ๑ อปริยันตปาริสุทธิศีล - ศีลบริสุทธิ์ไม่มีที่สุด ๑ พระสารีบุตรจึงกล่าวบทมีอาทิว่า อตฺถิ สีลํ ปริยนฺตํ, อตฺถิ สีลํ อปริยนฺตํ ศีลมีที่สุดก็มี, ศีลไม่มีที่สุดก็มี. ก็ในศีล ๒ อย่างนั้น ไม่มีความต่างกันอย่างนั้นในศีล ๓ อย่าง.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ลาภปริยนฺตํ - ศีลมีที่สุดเพราะลาภ คือ ชื่อว่า ลาภปริยนฺตํ เพราะศีลมีที่สุด คือขาดเพราะลาภ. แม้บทที่เหลือก็อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 582

ในบทว่า ยโส นี้ ได้แก่ บริวาร.

บทว่า อิธ คือ ในโลกนี้.

บทว่า เอกจฺโจ คือ คนหนึ่ง.

บทว่า ลาภเหตุ - เพราะเหตุแห่งลาภ คือ ลาภนั่นแลเป็นเหตุ, เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าว ลาภเหตุโต - เพราะเหตุแห่งลาภ. บทนี้เป็นปัญจมีวิภัตติลงในอรรถว่า เหตุ.

บทว่า ลาภปจฺจยา ลาภการณา เป็นไวพจน์ของบทว่า ลาภเหตุนั้นนั่นแล. ความจริงผลนั้นย่อมมาถึง เพราะอาศัยเหตุนั่นแล เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปจฺจโย, และเหตุทำให้เกิดผล เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า การณํ. บทว่า ยถาสมาทินฺนํ - ตามที่ตนสมาทาน ได้แก่ ล่วง คือประพฤติล่วงสิกขาบทที่ตนสมาทาน คือถือไว้แล้ว.

บทว่า เอวรูปานิ คือ มีสภาพอย่างนี้, อธิบายว่า มีประการดังกล่าวแล้ว.

บทว่า สีลานิ คือ จะเป็นศีลของคฤหัสถ์ก็ตาม ศีลของบรรพชิตก็ตาม, ศีลหนึ่งข้อในข้อต้นหรือข้อสุดท้ายขาด ชื่อว่า ขณฺฑานิ - ศีลขาด ดุจผ้าสาฎกขาดในที่สุด.

ศีลข้อหนึ่งขาดในท่ามกลาง ชื่อว่า ฉิทฺทานิ - ศีลทะลุดุจผ้าสาฎกลูกเจาะในท่ามกลาง.

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 583

ศีลข้อ ๒หรือข้อ ๓ ขาดไปตามลำดับ ชื่อว่า สพลานิ - ศีลด่าง ดุจแม่โคมีสีที่ตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง มีดำและแดงเป็นต้น โดยมีสีไม่เหมือนกันมีสัณฐานยาวและกลมเป็นต้น ตั้งขึ้นที่หลังหรือที่ท้อง.

ศีลข้อหนึ่งๆ ในระหว่างๆ ขาด ชื่อว่า กมฺมาสานิ - ศีลพร้อยดุจแม่โคมีสีเป็นจุดๆ ไม่เหมือนกันในระหว่างๆ.

ศีลแม้ทั้งหมด ชื่อว่าขาด ทะลุ ด่าง พร้อย เพราะเมถุนสังโยค - การประกอบพร้อมด้วยเมถุน ๗ อย่าง และเพราะถูกธรรมลามกมีโกรธและผูกโกรธไว้เป็นต้น ทำลายเสีย.

ศีลเหล่านั้น ชื่อว่า น ภุชิสฺสานานิ - ไม่เป็นไทย โดยไม่ปล่อยให้เป็นไทย เพราะเป็นทาสแห่งตัณหา.

ศีลทั้งหลาย ชื่อว่า น วิญฺญุปฺปสฏฺานิ - อันวิญญูชนไม่สรรเสริญ เพราะวิญญูชนมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ไม่สรรเสริญ.

ชื่อว่า ปรามฏฺานิ เพราะตัณหาและทิฏฐิจับต้องแล้ว, หรือเพราะใครๆ สามารถจะจับได้ว่า นี้เป็นโทษในศีลของท่าน.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อสมาธิสํวตฺตนิกานิ - ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เพราะไม่พึงทำให้มรรคสมาธิหรือผลสมาธิเป็นไปได้. ปาฐะว่า น สมาธิสํวตฺตนิกานิ ดังนี้บ้าง ความอย่างเดียวกัน.

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 584

ส่วนอาจารย์บางพวกพรรณนาความไว้อย่างนี้ว่า ชื่อว่า ขณฺฑานิ เพราะไม่เป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย, แม้ชื่อว่า ฉิทฺทานิ ก็อย่างนั้น. ชื่อว่า สพลานิ เพราะมีสีต่างๆ กัน, แม้ชื่อว่า กมฺมาสานิ ก็อย่างนั้น. ชื่อว่า น ภุชิสฺสานิ เพราะถึงความเป็นทาสของตัณหา. ชื่อว่า น วิญฺญุปฺปสฏฺานิ เพราะถูกผู้ฉลาดติเตียน. ชื่อว่า ปรามฏฺฐานิ เพราะถูกตัณหาจับต้อง. ชื่อว่า อสมาธิสํวตฺตนิกานิ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน.

บทว่า น อวิปฺปฏิสารวตฺถุกานิ - เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ความว่า เป็นที่ตั้งแห่งความไม่เดือดร้อนหามิได้ เพราะนำมาซึ่งความเดือดร้อน.

บทว่า น ปามุชฺชวตฺถุกานิ - ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์ ความว่า ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปีติอย่างอ่อนอันไม่เกิดความเดือดร้อน เพราะไม่นำปีติอย่างอ่อนนั้นมา. แม้ในบทที่เหลือก็พึงประกอบอย่างนี้.

บทว่า น ปีติวตฺถุกานิ - ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปีติ ความว่า ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปีติอย่างแรงอันเกิดแต่ปีติอย่างอ่อน.

บทว่า น ปสฺสทฺธิวตฺถุกานิ - ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความระงับ ความว่า ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความระงับกายและจิตอันเกิดแต่ปีติอย่างแรง

บทว่า น สุขวตฺถุกานิ - ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสุข ความว่า ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสุขทางกายและทางใจอันเกิดแต่ความสงบ.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 585

บทว่า น สมาธิวตฺถุกานิ - ไม่เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ ความว่า ไม่เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิอันเกิดแต่ความสุข.

บทว่า น ยถาภูตญาณทสฺสนวตฺถุกานิ - ไม่เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสนะ ความว่า ไม่เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสนะอันเป็นปทัฏฐานแห่งสมาธิ.

ในบทมีอาทิว่า น เอกนฺตนิพฺพิทาย - ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว พึงนำ อักษรมาประกอบแม้ในบทที่เหลือโดย นัยมีอาทิว่า น วิราคาย - ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด.

อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะมี อักษรในบทมีอาทิว่า น วิราคาย.

ในบทเหล่านั้นบทว่า เอภนฺตนิพฺพิทาย พึงทราบความเชื่อมว่า ศีลทั้งหลายย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายในวัฏฏะโดยส่วนเดียว. แม้ในบทที่เหลือก็พึงประกอบอย่างนี้.

บทว่า วิราคาย คือ เพื่อความคลายกำหนัดในวัฏฏะ.

บทว่า นิโรธาย คือ เพื่อความดับแห่งวัฏฏะ.

บทว่า อุปสมาย คือ เพื่อความสงบแห่งวัฏฏะด้วยความไม่เกิดอีกแห่งวัฏฏะที่ดับแล้ว.

บทว่า อภิญฺาย คือ เพื่อความรู้ยิ่งแห่งวัฏฏะ.

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 586

บทว่า สมฺโพธาย - เพื่อความตรัสรู้ คือ เพื่อความตื่นจากวัฏฏะ โดยปราศจากการหลับ คือกิเลส.

บทว่า นิพฺพานาย คือ เพื่อนิพพานอันเป็นอมตะ.

บทว่า ยถาสมาทินฺนํ สิกฺขาปทํ วีติกฺกมาย - เพื่อล่วงสิกขาบทตามที่ตนสมาทานไว้ ในบทนี้ท่านประกอบเป็นทุติยาวิภัตติด้วยวิภัตติวิปลาส.

บทว่า จิตฺตมฺปิ น อุปฺปาเทติ แม้ความคิดก็ใช่ให้เกิดขึ้น ท่านกล่าวเพื่อแสดงความที่ศีลบริสุทธิ์ออย่างยิ่ง ด้วยความบริสุทธิ์แห่งจิตตุปบาท. ศีลมิใช่ขาดไปด้วยเพียงจิตตุปบาท.

บทว่า กึ โส วีติกฺกมิสฺสติ เขาจักล่วงสิกขาบทได้อย่างไรเล่า คือเขาจักทำการล่วงเพื่ออะไร, อธิบายว่า เขาจักไม่ทำการล่วงนั่นเอง.

บทมีอาทิว่า อขณฺฑานิ พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามดังที่กล่าวแล้วในหนหลัง. ปาฐะว่า น ขณฺฑานิ บ้าง. ในบทมีอาทิว่า เอกนฺตนิพฺพิทาย พึงประกอบโดยนัยมีอาทิว่า เอกนฺเตน วฏฺเฏ นิพฺพินฺทนตฺถาย เพื่อความเบื่อหน่ายในวัฏฏะโดยส่วนเดียว.

อนึ่ง ในบทเหล่านี้ บทว่า นิพฺพิทาย ได้แก่ วิปัสสนา.

บทว่า วิราคาย ได้แก่ มรรค.

บทว่า นิโรธาย อุปสมาย ได้แก่ นิพพาน.

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 587

บทว่า อภิญฺาย สมฺโพธาย ได้แก่ มรรค.

บทว่า นิพฺพานาย ได้แก่ นิพพาน เท่านั้น. พึงทราบกถาที่ยังไม่ชัดอย่างนี้ว่า ท่านกล่าวว่า วิปัสสนาในฐานะ ๑, มรรคในฐานะ ๒, นิพพานในฐานะ ๓. แต่โดยปริยายบททั้งหมดเหล่านี้เป็นไวพจน์ของมรรคบ้าง เป็นไวพจน์ของนิพพานบ้าง.

๘๙] บัดนี้ พระสารีบุตรครั้นแสดงประเภทของศีลที่มีอยู่ด้วยมีที่สุดและไม่มีที่สุดแล้ว เพื่อแสดงประเภทของศีลโดยสัมปยุตด้วยธรรม ด้วยชาติ ด้วยปัจจัยต่อไป จึงกล่าวบทมีอาทิว่า กิ สีลํ - อะไรเป็นศีลดังนี้.

ในบทเหล่านั้น ชื่อว่า สมุฏานํ เพราะมีวิเคราะห์ว่าศีลเป็นเหตุตั้งขึ้น. บทนี้เป็นชื่อของปัจจัย. ชื่อว่า สมุฏานํ เพราะมีวิเคราะห์ว่าศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน. ชื่อว่า กติธมฺมสโมธานํ เพราะมีวิเคราะห์ว่าศีลเป็นที่ประชุมที่ประมวลแห่งธรรมอะไร.

บทว่า เจตนา สีลํ-เจตนาเป็นศีล ความว่า เจตนาของผู้เว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น หรือของผู้บำเพ็ญวัตรปฏิบัติ.

บทว่า เจตสิกํ สีลํ-เจตสิกเป็นศีล ความว่า การเว้นของผู้เว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง เจตนาชื่อว่าเป็นศีล ได้ แก่ เจตนาในกรรมบถ ๗ ของผู้เว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น. เจตสิก

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 588

ชื่อว่าเป็นศีล ได้แก่ ธรรม คือ อนภิชฌาอัพยาบาทและสัมมาทิฏฐิที่ท่านกล่าวไว้ โดยนัยมีอาทิว่า อภิชฺฌํ โลเก ปหาย วิคตาภิชฺเฌน เจตสา วิหรติ (๑) - ภิกษุละอภิชฌาในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่.

ในบทว่า สํวโร สีลํ ความสำรวมเป็นศีลนี้ พึงทราบความสำรวมมี ๕ อย่าง คือ ปาติโมกขสังวร - ความสำรวมในปาติโมกข์ ๑ สติสังวร - ความสำรวมในสติ ๑ ญาณสังวร - ความสำรวมในญาณ ๑ ขันติสังวร - ความสำรวมในขันติ ๑ วีริยสังวร - ความสำรวมในความเพียร ๑.

ในความสำรวม ๕ อย่างนั้นภิกษุเข้าถึง เข้าถึงเสมอด้วยความ สำรวมในปาติโมกข์นี้ นี้ชื่อว่า ปาติโมกขสังวร. (๒) ภิกษุรักษาจักขุนทรีย์, ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์นี้ ชื่อว่า สติสังวร. (๓)

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ยานิ โสตานิ โลกสฺมึ สติ เตสํ นิวารณํ

โสตานํ สํวรํ พฺรูมิ ปญฺาเยเต ปิถิยฺยเร. (๔)

ดูก่อนอชิตะ สติเป็นเครื่องห้ามกระแสในโลก เรากล่าวการสำรวมกระแสเหล่านั้น บัณฑิตพึงปิดกั้นกระแสเหล่านี้ด้วยปัญญา.


๑. ที. สี. ๙/๑๒๕.

๒. อภิ. วิ. ๓๕/๖๐๒.

๓. องฺ. ติก. ๒๐/๔๕๕.

๔. ขุ. สุ. ๒๕/๔๒๕.

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 589

นี้ชื่อว่า ญาณสังวร. แม้การเสพเฉพาะปัจจัย ก็ย่อมเข้าในบทนี้ด้วยเหมือนกัน. ความสำรวมมาแล้วโดยนัยมีอาทิว่า ขโม โหติ สีตสฺส อุณฺหสฺส (๑) - ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อความหนาวความร้อน นี้ชื่อว่า ขันติสังวร. ความสำรวมมาแล้วโดยนัยมีอาทิว่า อุปปนฺนํ กามวิตกฺกํ นาธิวาเสติ (๒) - ภิกษุอดกลั้นกามวิตกที่เกิดขึ้น นี้ชื่อว่า วีริยสังวร. แม้ว่าอาชีพบริสุทธิ์ก็รวมเข้าในบทนี้ด้วยเหมือนกัน. ความสำรวม ๕ อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้, อนึ่ง เจตนาเว้นจากวัตถุที่มาถึงของกุลบุตร แม้อาชีพบริสุทธิ์ก็รวมเข้าในบทนี้ด้วยเหมือนกัน. ความสำรวม ๕ อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้, อนึ่ง เจตนาเว้นจากวัตถุที่มาถึงของกุลบุตรผู้กลัวบาป, พึงทราบว่าทั้งหมดนั้นเป็น สังวรศีล.

บทว่า อวีติกฺกโม สีลํ-ความไม่ก้าวล่วงเป็นศีล ได้แก่ ความไม่ก้าวล่วงทางกายและทางวาจาของผู้สมาทานศีล. นี้เป็นการแก้ปัญหาว่า กึ สีลํ อะไรเป็นศีลไว้เพียงนี้ก่อน.

ในการแก้ปัญหาว่า กติ สีลานิ - ศีลมีเท่าไร เพราะปกติของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ ในโลก ท่านกล่าวว่า สีลํ ไว้ในบทนี้ว่า กุสลสีลํ - กุศลเป็นศีล อกุสลสีลํ - อกุศลเป็นศีล อพฺยากตสีลํ - อัพยากฤตเป็นศีล, อาจารย์ทั้งหลายกล่าวหมายถึงศีลว่า นี้เป็นสุขศีล - ความสุขเป็นศีล นี้เป็น ทุกขศีล - ความทุกข์เป็นศีล นี้เป็น กลหศีล - การทะเลาะกันเป็นศีล นี้เป็น มัณฑนศีล - การตบแต่งเป็นศีล. ฉะนั้นโดยปริยายนั้น แม้อกุสลศีล ท่านก็กล่าวว่าเป็นศีล


๑. ม. มู. ๑๒/๑๕.

๒. ม. มู. ๑๒/๑๗.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 590

ด้วยการยกเอาความขึ้น แต่ศีลที่ท่านประสงค์เอาในที่นี้ไม่มีเพราะบาลี ว่า สุตฺวาน สํวเร ปญฺา - ปัญญาในการฟังแล้วสำรวม ดังนี้.

อนึ่ง เพราะจิตที่สัมปยุต เป็นสมุฏฐานของศีลอันเป็นประเภทมีเจตนาเป็นต้น, ฉะนั้นพระสารีบุตรจึงกล่าวบทมีอาทิว่า กุสลจิตตสมุฏฺานํ กุสลสีลํ - กุศลศีลมีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน,

บทว่า สํวรสโมธานํ สีลํ - ศีลเป็นที่ประชุมแห่งสังวร ได้แก่ ขันธ์สัมปยุตด้วยความสำรวม. จริงอยู่ ขันธ์เหล่านั้นมาพร้อมกับด้วยความสำรวม ท่านจึงกล่าวว่า มิสฺสีภูตา - เป็นสิ่งปนกัน สํวรสโมธานํ- เป็นที่ประชุมแห่งสังวร. แม้ศีลเป็นที่ประชุมแห่งการไม่ก้าวล่วง ก็พึงทราบอย่างนี้.

บทว่า ตถาภาเว ชาตเจตนา สโมธานํ สีลํ - ศีลเป็นที่ประชุมแห่งเจตนาอันเกิดในความเป็นอย่างนั้น ได้แก่ ขันธ์อันสัมปยุตด้วยเจตนาอันเกิดในความสำรวม ในความไม่ก้าวล่วง. อนึ่ง ท่านประสงค์เอาธรรมสัมปยุตด้วยเจตนานั้น ในเจตนาแม้ทั้ง ๓, ฉะนั้น พึงทราบว่า ท่านไม่ชี้แจงศีลเป็นที่ประชุมแห่งเจตสิกไว้ต่างหากกัน เพราะแม้เจตสิกท่านก็วิเคราะห์ด้วยการประชุมแห่งเจตนา. ธรรมทั้งหลายมีเจตนาเป็นต้น ท่านกล่าวว่า สีลํ ไว้ในภายหลังแล้ว. พึงทราบว่า ท่านกล่าวติกะนี้เพื่อแสดงว่า ธรรมเหล่านั้นไม่ใช่ศีลอย่างเดียว, แม้ธรรมสัมปยุตด้วยศีลนั้นก็เป็นศีลเหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 591

บัดนี้ เพราะเจตนาและเจตสิกเป็นอันไม่ก้าวล่วงสังวรด้วยกัน, ฉะนั้นพระสารีบุตรเมื่อจะประกอบการไม่ก้าวล่วงสังวร โดยลำดับทั่วไป ตลอดถึงอรหัตตมรรค จึงกล่าวบทมีอาทิว่า ปาณาติปาตํ สํวรฏฺเน สีลํ, อวีติกฺกมฏฺเน สีลํ - ชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่าสำรวมและไม่ก้าวล่วงปาณาติบาตดังนี้. เพราะการเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ย่อมสำรวมสิ่งเป็นข้าศึกของตนๆ และย่อมไม่ก้าวล่วงสิ่งเป็นข้าศึกนั้น, ฉะนั้นชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่าสำรวม เพราะอรรถว่าไม่ก้าวล่วง เพราะ สำรวมและเพราะไม่ก้าวล่วง.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปาณาติปาตํ สํวรฏฺเน - ได้แก่ ชื่อว่า ศีล เพราะอรรถว่าปิดปาณาติบาต. ศีลข้อนั้นคืออะไร? คือ ปาณาติปาตา เวรมณี. อนึ่ง ปาณาติปาตา เวรมณี นั้นสำรวมศีลข้อนั้น ไม่ก้าวล่วงศีลนั้น เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า สีลํ เพราะอรรถว่าไม่ก้าวล่วง. ศีลข้อ อทินฺนาทาน เวรมณี เป็นต้น พึงประกอบอนภิชฌาอัพยาบาทและสัมมาทิฏฐิเข้าด้วยกัน.

ในบทมีอาทิว่า ปาณาติปาตํ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ การยังสัตว์ให้ตกไปในอกุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า ปาณาติบาต, ท่านอธิบายว่า การประหารสัตว์ การฆ่าสัตว์.

อนึ่ง ในบทว่า ปาโณ นี้ โดยโวหาร ได้แก่ สัตว์, โดย ปรมัตถ์ ได้แก่ ชีวิตินทรีย์. สัตว์มีชีวิตก็รู้ว่ามีชีวิต เจตนาที่จะฆ่า

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 592

เป็นไปในทวารใดทวารหนึ่ง แห่งกายทวารและวจีทวาร ตั้งความพยายามในอันที่จะตัดชีวิตินทรีย์ ชื่อว่า ปาณาติบาต. บรรดาสัตว์ทั้งหลาย มีสัตว์เดียรัจฉานเป็นต้นไม่มีคุณ ปาณาติบาตนั้นก็มีโทษน้อยในสัตว์เล็กๆ , มีโทษมากในสัตว์ใหญ่. เพราะเหตุไร? เพราะใช้ความพยายามมาก. เพราะแม้ในการพยายามก็ต้องใช้เครื่องมือใหญ่, ในมนุษย์เป็นต้น ผู้มีคุณพึงทราบว่า ปาณาติบาตมีคุณน้อยในมนุษย์ผู้มีคุณน้อย, มีโทษมากในมนุษย์ผู้มีคุณมาก. เมื่อร่างกายและคุณเสมอกัน ปาณาติบาตมีโทษน้อย เพราะกิเลสและความพยายามอ่อน, มีโทษมาก เพราะกิเลสและความพยายามกล้า.

ปาณาติบาตนั้น มีองค์ ๕ คือ

๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต

๒. ปาณสญฺิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต

๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า

๔. อุปกฺกโม พยายามที่จะฆ่า

๕. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น.

การถือเอาของที่เขาไม่ให้เป็น อทินนาทาน, ท่านอธิบายการนำของๆ คนอื่นไป มีจิตคิดจะลัก เป็นหัวขโมย.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 593

ในบทเหล่านั้นบทว่า อทินฺนํ - ของที่เขาไม่ให้ คือของที่คนอื่นหวงแหน. คนอื่นได้รับของที่ตนทำตามความประสงค์ เป็นผู้ไม่ควรได้รับอาชญา และไม่ควรติเตียนในวัตถุใด, เมื่อวัตถุนั้นคนอื่นหวงแหน ตนก็รู้ว่าคนอื่นหวงแหน เจตนาว่าจะลักเป็นไปในทวารใดทวารหนึ่งแห่งกายทวารและวจีทวาร อันตั้งขึ้นด้วยความพยายามที่จะถือเอาของนั้น ชื่อว่า อทินนาทาน. อทินนาทานนั้นมีโทษน้อยในของของคนอื่นที่เลว, มีโทษมากในของที่ประณีต. เพราะเหตุไร? เพราะวัตถุประณีต. เมื่อวัตถุเสมอกันมีโทษมากในวัตถุอันเป็นของของผู้ยิ่งด้วยคุณ, มีโทษน้อยในวัตถุอันเป็นของ ของผู้มีคุณเลวกว่าผู้ยิ่งด้วยคุณนั้นๆ หมายเอาวัตถุนั้นๆ มีคุณยิ่ง.

อทินนาทานนั้น มีองค์ ๕ คือ

๑. ปรปริคฺคหิตํ - ของอันคนอื่นหวงแหน

๒. ปรปริคฺคหิตสญฺิตา - รู้ว่าคนอื่นหวงแหน

๓. เถยฺยจิตฺตํ - จิตคิดจะลัก

๔. อุปกฺกโม - พยายามที่จะลัก

๕. เตน หรณํ - นำไปด้วยความพยายามนั้น.

บทว่า กาเมสุ ได้แก่ การประพฤติในเมถุน. บทว่า มิจฺฉาจาโร ได้แก่ ประพฤติลามกที่ถูกติเตียนโดยส่วนเดียว. แต่โดยลักษณะ

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 594

เจตนาที่จะก้าวล่วงฐานะหญิงที่ไม่ควร ถึงเป็นไปในกายทวารโดยประสงค์จะประพฤติชั่ว - อสัทธรรม ชื่อว่า กาเมสุ มิจฉาจาร.

ในบทนั้นหญิง ๒๐ จำพวก คือ หญิงอันมารดาคุ้มครองเป็นต้น ๑๐ จำพวก คือ มารดาคุ้มครอง ๑ บิดาคุ้มครอง ๑ มารดาบิดาคุ้มครอง ๑ พี่ชายคุ้มครอง ๑ พี่สาวคุ้มครอง ๑ ญาติคุ้มครอง ๑ โคตรคุ้มครอง ๑ ธรรมคุ้มครอง ๑ มีผู้อารักขา ๑ มีโทษทัณฑ์ ๑. หญิง ๑๐ จำพวก คือ หญิงที่ได้มาด้วยทรัพย์เป็นต้น ๑๐ จำพวก คือ หญิงได้มาด้วยทรัพย์ ๑ อยู่ด้วยความพอใจ ๑ อยู่ด้วยโภคะ ๑ อยู่ด้วยให้ผ้า ๑ หิ้วถังน้ำ ๑ เทินภาชนะบนศีรษะ ๑ ภริยาที่เป็นทาสี ๑ ภรรยาที่เป็นกรรมกร ๑ นำมาด้วยธง ๑ อยู่ชั่วคราว ๑ ชื่อว่า อคมนียาน คือ ฐานะหญิงที่บุรุษไม่ควรถึงของบุรุษทั้งหลาย. ก็ในบรรดาหญิงทั้งหลายบุรุษอื่น ชื่อว่าเป็นอคมนียฐานของหญิง ๑๒ จำพวก คือ หญิงที่มีผู้คุ้มครอง และหญิงถูกลงโทษทัณฑ์ ๒ และหญิงที่ไถ่มาด้วยทรัพย์เป็นต้น ๑๐ จำพวกนี้.

อนึ่ง มิจฉาจารนั้นมีโทษน้อยในหญิงที่เป็นอคมนียฐานผู้ไม่มีคุณธรรมมีศีลเป็นต้น, มีโทษมากในหญิงผู้สมบูรณ์ด้วยคุณธรรมมีศีลเป็นต้น.

มิจฉาจารนั้น มีองค์ ๔ คือ

๑. อคมนียวตฺถุ - วัตถุที่ไม่ควรถึง

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 595

๒. ตสฺมึ เสวนจิตฺตํ - จิตคิดจะเสพในวัตถุที่ไม่ควรถึงนั้น

๓. เสวนปฺปโยโค - พยายามที่จะเสพ

๔. มคฺเคน มคฺคปฏิปตฺติอธิวาสนํ - มรรคจดมรรค.

บทว่า มุสา ได้แก่ วจีปโยคะ หรือกายปโยคะ อันหักประโยชน์ของผู้ที่มุ่งจะพูดให้ผิด. เจตนาตั้งขึ้นด้วยกายปโยคะ และวจีปโยคะของผู้พูดให้ผู้อื่นเข้าใจผิด โดยประสงค์ให้เขาเข้าใจผิด ชื่อว่า มุสาวาท. อีกนัยหนึ่ง บทว่า มุสา ได้แก่ เรื่องไม่จริง ไม่แท้. บทว่า วาโท ได้แก่ พูดให้เขารู้โดยความจริง โดยความแท้. แต่โดยลักษณะ เจตนาตั้งขึ้นด้วยความบอกเล่าอย่างนั้นของผู้ประสงค์จะให้ผู้อื่นรู้เรื่องไม่จริงโดยความเป็นจริง ชื่อว่า มุสาวาท. มุสาวาทนั้นมีประโยชน์น้อย เพราะประโยชน์ที่หักน้อย, มีโทษมากเพราะประโยชน์มาก. อีกอย่างหนึ่ง มีโทษน้อยเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ของของตนไม่มี เพราะประสงค์จะไม่ให้แก่คฤหัสถ์, มีโทษมาก เป็นพยานพูดเพื่อหักล้างประโยชน์. มีโทษน้อยเป็นไปโดยนัยที่บรรพชิตได้น้ำมันหรือเนยใสน้อย แล้วพูดแดกดันด้วยประสงค์จะหัวเราะเล่นว่า วันนี้ในบ้านคงจะมีน้ำมันไหลมาดุจแม่น้ำซินะ, มีโทษมากแก่ผู้พูดโดยนัยมีอาทิว่า ไม่เห็นแล้ว ยังพูดว่าเห็นดังนี้.

มุสาวาท มีองค์ ๔ คือ

๑. อตถํ วตฺถุํ - เรื่องไม่จริง

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 596

๒. วิสํวาทนจิตฺตํ - จิตคิดจะพูดให้ผิด

๓. ตชฺโช วายาโม - พยายามเกิดจากจิตคิดจะพูดให้ผิดนั้น

๔. ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ - ผู้อื่นรู้ความประสงค์ของคำพูดนั้น.

วาจาที่พูดทำความน่ารักของตนในหัวใจของผู้นั้น และทำผู้อื่นให้เสียหาย ชื่อว่า ปีสุณา วาจา - วาจาส่อเสียด.

วาจาที่ทำตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง ให้หยาบ แม้วาจาเองก็หยาบ ไม่สบายหูหรือไม่สบายใจ ชื่อว่า ผรุสา วาจา - วาจาหยาบ.

วาจาที่พูดพร่ำเหลาะแหละไม่มีประโยชน์ ชื่อว่า สมฺผปฺปลาโป - พูดเพ้อเจ้อ.

แม้เจตนาอันเป็นมูลเหตุของมุสาวาทเหล่านั้น ก็ได้ชื่อมีปิสุณา วาจาเป็นต้น. ปิสุณา วาจา นั่นแล ท่านประสงค์เอาในที่นี้.

ในบทว่า ปิสุณา วาจา นั้น เจตนาของผู้มีจิตเศร้าหมองตั้งขึ้นด้วยกายปโยคะและวจีปโยคะ เพื่อทำลายผู้อื่นหรือเพื่อประสงค์ให้เป็นที่รักของตน ชื่อว่า ปิสุณา วาจา. ปิสุณา วาจา นั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย เพราะทำความทำลายแก่ผู้ที่มีคุณธรรมน้อย, ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะทำความทำลายแก่ผู้มีคุณธรรมมาก.

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 597

ปิสุณวาจานั้น มีองค์ ๔ คือ

๑. ผู้อื่นอันตนควรทำลาย,

๒. มุ่งความทำลายว่าคนเหล่านี้จักเป็นไปต่างๆ ประสงค์ให้เป็นที่รักว่า เราจักเป็นที่รัก จักเป็นที่คุ้นเคย,

๓. ความพยายามเกิดจากความประสงค์นั้น,

๔. ให้ผู้นั้นรู้ความประสงค์ของความพยายาม.

ก็เมื่อผู้อื่นยังไม่แตกกัน กรรมบถยังไม่แตก, เมื่อเขาแตกกันแล้วกรรมบถจึงแตก.

เจตนาหยาบโดยส่วนเดียวตั้งขึ้นด้วยกายปโยคะและวจีปโยคะ ตัดความรักของผู้อื่น เป็น ผุรสา วาจา. ปโยคะ แม้ตัดความรัก ก็ยังไม่เป็น ผุรสา วาจา เพราะจิตยังอ่อน. จริงอยู่ มารดาบิดาบางครั้งย่อมพูดกะบุตรน้อยอย่างนี้ว่า ขอให้โจรจับพวกเจ้าสับให้เป็นชิ้นๆ เถิด ดังนี้. อันที่จริงแล้วมารดาบิดาไม่ปรารถนาแม้จะให้ใบบัวตกลงบนศีรษะของบุตรน้อยเหล่านั้นเลย. อนึ่ง อาจารย์และอุปัชฌาย์บางครั้งยังกล่าวกล่าวกะนิสิตอย่างนี้ว่า อะไรพวกนี้ช่างไม่มีหิริโอตตัปปะกันเสียบ้างเลย, ไล่ออกไปให้หมด. แต่ที่แท้แล้วอาจารย์และอุปัชฌาย์ปรารถนาให้นิสิตเหล่านั้นถึงพร้อมด้วยการศึกษาเล่าเรียน และบรรลุด้วยกันทั้งนั้น. วาจาหยาบมีไม่ได้เพราะจิตอ่อนฉันใด, แม้วาจาไม่หยาบก็มีไม่ได้เพราะคำพูดอ่อนฉันนั้น. ผู้ประสงค์จะให้คนตายพูดว่า

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 598

พวกท่านจงให้คนนี้นอนให้สบายเถิดดังนี้เป็นวาจาหยาบ, วาจานี้เป็นวาจาหยาบเพราะจิตหยาบ, วาจาหยาบนั้นมีโทษน้อย เพราะผู้ที่กล่าวหมายถึงนั้นเป็นผู้มีคุณน้อย, ชื่อว่ามีโทษมากเพราะผู้ที่กล่าวหมายถึงนั้นมีคุณมาก.

ผรุสวาจานั้น มีองค์ ๓ คือ

๑. อกฺโกสิตพฺโพ ปโร - คนอื่นที่ควรด่า,

๒. กุปิตจิตฺตํ - มีจิตโกรธเคือง,

๓. อกฺโกสนา - การด่า.

เจตนาเป็นอกุศลตั้งขึ้นด้วยกายปโยคะและวจีปโยคะ เพื่อให้รู้ความฉิบหาย ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ. สัมผัปปลาปะนั้นมีโทษน้อย เพราะอาเสวนะน้อย, มีโทษมากเพราะอาเสวนะมาก.

สัมผัปปลาปะ มีองค์ ๒ คือ

๑. มุ่งพูดเรื่องไม่เป็นเรื่อง มีเรื่องภารตยุทธ์และเรื่องชิงนางสีดาเป็นต้น,

๒. การพูดเรื่องอย่างนั้น.

ก็เมื่อคนอื่นไม่เชื่อเรื่องนั้น กรรมบถยังไม่แตก. เมื่อคนอื่นเชื่อคำพูดเพ้อเจ้อนั้น กรรมบถจึงแตก.

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 599

ชื่อว่า อภิชฌา เพราะอรรถว่า เพ่ง, อธิบายว่า เป็นผู้มุ่งภัณฑะของผู้อื่น ย่อมเป็นไปเพราะจิตน้อมไปในภัณฑะนั้น. อภิชฌา นั้นมีลักษณะเพ่งภัณฑะของคนผู้อื่นอย่างนี้ว่า ทำอย่างไรหนอภัณฑะนี้จึงจะเป็นของเราได้, อภิชฌานั้นมีโทษน้อยและมีโทษมาก ดุจอทินนาทาน.

อภิชฌานั้น มีองค์ ๒ คือ

๑. ปรภณฺฑํ - ภัณฑะของผู้อื่น,

๒. อตฺตโน ปริณามญฺจ - น้อมไปเพื่อตน.

เมื่อความโลภในวัตถุอันเป็นของของผู้อื่น แม้เกิดขึ้นแล้ว กรรมบถก็ยังไม่แตก ตลอดเวลาที่ยังไม่น้อมไปเพื่อตนว่า ทำอย่างไรหนอภัณฑะนี้จึงจะเป็นของเราได้ดังนี้.

ชื่อว่า พยาบาท เพราะอรรถว่า ยังประโยชน์เกื้อกูลและความสุขให้ถึงความพินาศ. พยาบาทนั้นมีใจมุ่งความพินาศแก่ผู้อื่น มีลักษณะประทุษร้าย, มีโทษน้อยและมีโทษมากดุจผรุสวาจา.

พยาบาทนั้น มีองค์ ๒ คือ

๑. ปรสตฺโต - สัตว์อื่น,

๒. ตสฺส วินาสจินฺตา - คิดความพินาศแก่สัตว์อื่นนั้น.

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 600

เมื่อความโกรธในสัตว์อื่น แม้เกิดขึ้นแล้ว กรรมบถก็ยังไม่แตกก่อนตลอดเวลาที่ยังไม่คิดถึงความพินาศแก่สัตว์นั้นว่า ทำอย่างไรหนอ ผู้นี้จึงจะล่มจมพินาศไปเสียทีดังนี้.

ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เห็นผิดโดยไม่มีการถือความจริง. มิจฉาทิฏฐินั้นมีลักษณะเห็นวิปริตโดยนัยมีอาทิว่า นตฺถิ ทินฺนํ - ทานที่ให้แล้วไม่มีผล, มิจฉาทิฏฐิมีโทษน้อยและมีโทษมาก ดุจสัมผัปปลาปะ. อีกอย่างหนึ่ง มีโทษน้อยไม่แน่นอน, มีโทษมากแน่นอน.

มิจฉาทิฏฐินั้น มีองค์ ๒ คือ

๑. ความที่วัตถุวิปริตจากอาการที่ถือไว้,

๒. ความปรากฏแห่งวัตถุนั้นโดยความไม่เป็นอย่างที่ถือไว้.

ในมิจฉาทิฏฐินั้น กรรมบถแตก ย่อมมีได้ด้วย นัตถิกทิฏฐิ. - ความเห็นว่าไม่มี อเหตุกทิฏฐิ - ความเห็นว่าไม่เป็นเหตุ อกิริยทิฏฐิ - ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ, มิใช่ด้วยทิฏฐิอื่น. อกุศลกรรมบถ ๑๐ เหล่านี้พึงทราบวินิจฉัยโดยอาการ ๕ คือ โดยธรรม ๑ โดยโกฏฐาส คือ ส่วน ๑ โดยอารมณ์ ๑ โดยเวทนา ๑ โดยมูลเหตุ ๑.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ธมฺมโต - โดยธรรม ได้แก่ เจตนาธรรม ๗ อย่าง อกุศลกรรมบถ ๓ อย่าง มีอภิชฌาเป็นต้น สัมปยุตด้วยเจตนา ย่อมมีตามลำดับในอกุศลกรรมบถเหล่านั้น.

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 601

บทว่า โกฏฺาสโต - โดยส่วน ได้แก่ ธรรม ๘ เหล่านี้ คือ เจตนาธรรม ๗ ตามลำดับ และ มิจฉาทิฏฐิ เป็นกรรมบถแน่นอน, มิใช่เป็นมูลเหตุ. อภิชฌา และ พยาบาท เป็นทั้งกรรมบถ เป็นทั้งมูลเหตุ. จริงอยู่ อภิชฌา โลภะ เป็นอกุศลมูลเพราะถึงแล้วซึ่งมูล เหตุ, พยาบาท โทสะ เป็นอกุศลมูล.

บทว่า อารมฺมณโต - โดยอารมณ์ ได้แก่ ปาณาติบาต มีสังขารเป็นอารมณ์ โดยเป็นอารมณ์ของชีวิตินทรีย์. อทินนาทาน มีสัตว์เป็นอารมณ์หรือมีสังขารเป็นอารมณ์. มิจฉาจาร มีสังขารเป็นอารมณ์ด้วยอำนาจโผฏฐัพพะ, อาจารย์พวกหนึ่ง กล่าวว่ามีสัตว์เป็นอารมณ์ดังนี้บ้าง. มุสาวาท มีสัตว์เป็นอารมณ์หรือมีสังขารเป็นอารมณ์. ปิสุณา วาจา ก็อย่างนั้น. ผรุสวาจา มีสัตว์เป็นอารมณ์อย่างเดียว. สัมผัปปลาปะ มีสัตว์เป็นอารมณ์หรือมีสังขารเป็นอารมณ์โดยสามารถรูปที่เห็น เสียงที่ฟัง กลิ่นรสสัมผัสที่รู้ และธรรมที่ทราบ, อภิชฌาก็อย่างนั้น. พยาบาทมีสัตว์เป็นอารมณ์อย่างเดียว. มิจฉาทิฏฐิมีสังขารเป็นอารมณ์อย่างเดียว ด้วยอำนาจธรรมเป็นไปในภูมิ ๓

บทว่า เวทนาโต - โดยเวทนา ได้แก่ ปาณาติบาต เป็น ทุกขเวทนา. อันที่แท้จริง พระราชาทรงเห็นโจร แม้ทรงพระสรวล ก็ยังตรัสว่า ดูก่อนพนาย พวกเจ้าจงไปฆ่ามันเสียดังนี้, ถึงดังนั้นเจตนาที่ตกลงใจของพระราชาทั้งหลาย ก็สัมปยุตด้วยทุกข์. อทินนาทาน

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 602

เป็นเวทนา ๓. เพราะ อทินนาทาน นั้น เป็น สุขเวทนา แก่ผู้เห็นภัณฑะของผู้อื่นแล้วรื่นเริงดีใจฉวยเอาไป, เป็น ทุกขเวทนา แก่ผู้ฉวยเอาไป มีความหวาดกลัว, อนึ่งเมื่อพิจารณาวิบากและผลที่หลั่งไหลมาก็เป็น อทุกขมฺสุขเวทนา แก่ผู้ที่ถือเอาตั้งอยู่ในความเป็นกลางในเวลาฉวยเอาไป. มิจฉาจารมีเวทนา ๒ ด้วยสามารถแห่งสุขเวทนา และความเป็นกลาง, เวทนาในความเป็นกลาง ย่อมไม่มีในจิตที่ตกลงทำ.

มุสาวาท มีเวทนา ๓ โดยนัยดังกล่าวแล้วในอทินนาทานนั่นแล, ปิสุณา วาจา ก็อย่างนั้น. ผรุสา วาจา เป็นทุกขเวทนา.

สัมผัปปลาปะ มีเวทนา ๓. เมื่อผู้อื่นให้สาธุการยกผ้าเป็นต้น ขึ้นโบกผู้นั้นมีสุขเวทนาในเวลากล่าว มีเรื่องชิงนางสีดาและภารตยุทธ์ เป็นต้น ของผู้รื่นเริงยินดี, เมื่อคนหนึ่งผู้ให้สินจ้างไว้ก่อนแล้ว แต่มาภายหลังกล่าวว่า ท่านจงเล่าตั้งแต่ต้นเถิดเขาย่อมมีทุกขเวทนาในเวลากล่าวของผู้ที่เกิดโทมนัสว่า เราจักกล่าวเรื่องเบ็ดเตล็ดติดต่อกันไปไม่ให้มีเหลือหรือจักไม่กล่าวหนอ. ย่อมเป็นอทุกขมสุขเวทนาแก่ผู้กล่าวเป็นกลางๆ.

อภิชฌา มีเวทนา ๒ ด้วยสามารถแห่งสุขเวทนาและความเป็นกลาง, มิจฉาทิฏฐิ ก็อย่างนั้น, พยาบาท เป็น ทุกขเวทนา. บทว่า

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 603

มูลโต คือ ปาณาติบาต มี ๒ มูลเหตุด้วยสามารถแห่ง โทสะ และ โมหะ, อทินนาทาน มี ๒ มูลเหตุด้วยสามารถ โทสะ และ โมหะ หรือด้วยสามารถแห่ง โลภะ และ โมหะ มิจฉาจาร มี ๒ มูลเหตุ ด้วยสามารถแห่ง โลภะ และ โมหะ, มุสาวาท มี ๒ มูลเหตุด้วย โทสะและโมหะหรือด้วยสามารถแห่งโลภะและโมหะ, ปิสุณา วาจา และ สัมผัปปลาปะ ก็อย่างนั้น. ผรุสวาจา มี ๒ มูลเหตุด้วยสามารถแห่งโทสะและโมหะ, อภิชฌา มี ๑ มูลเหตุด้วยสามารถแห่งโมหะ, พยาบาท ก็อย่างนั้น. มิจฉาทิฏฐิ มี ๒ มูลเหตุด้วยสามารถแห่งโลภะและโมหะ ด้วยประการฉะนี้.

จบ อกุศลกรรมมถกถา

ชื่อว่า กุศลกรรมบถ มี ๑๐ อย่างเหล่านี้ คือ การเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น และอนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฏฐิ. ชื่อว่า วิรติ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น, หรือเว้นเอง, หรือเพียงเว้นเท่านั้น. การเว้นสัมปยุตด้วยกุศลจิตของผู้เว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น มี ๓ อย่าง คือ สัมปัตตวิรัติ ๑ สมาทานวิรัติ ๑ สมุจเฉทวิรัติ ๑.

ในวิรัติ ๓ อย่างนั้น วิรัติเกิดแก่ผู้ยังไม่สมาทานสิกขาบท ผู้พิจารณาถึงชาติ วัย พาหุสัจจะเป็นต้น ของตนแล้วไม่ก้าวล่วงสัมปัตตวัตถุ ด้วยคิดว่า การทำบาปเห็นปานนี้ไม่สมควรแก่เราดังนี้ ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 604

สัมปัตตวิรัติ. วิรัติเกิดแก่ผู้สมาทานสิกขาบท ผู้สละแม้ชีวิตของตนในการสมาทานสิกขาบท และยิ่งกว่านั้นแล้วไม่ก้าวล่วงวัตถุ ชื่อว่า สมาทานวิรัติ.

วิรัติสัมปยุตด้วยอริยมรรค ชื่อว่า สมุจเฉทวิรัติ. แม้จิตมีอาทิว่า เราจักฆ่าสัตว์เป็นต้น ก็มิได้เกิดแก่พระอริยบุคคลตั้งแต่เกิดสมุจเฉทวิรัติ. บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยกุศลกรรมบถเหล่านี้โดยอาการ ๕ อย่าง คือ โดยธรรม ๑ โดยโกฏฐาส ๑ โดยอารมณ์ ๑ โดยเวทนา ๑ โดย มูลเหตุ ๑ ดุจอกุศลกรรมบถ.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ธมฺมโต ได้แก่ แม่เจตนา ๗ อย่าง แม้วิรัติกุศลกรรมบถ ๓ ในที่สุดสัมปยุตด้วยเจตนา ย่อมสมควรตามลำดับในกุศลกรรมบถเหล่านั้น.

บทว่า โกฏฺาสโต ได้แก่ กรรมบถ ๗ อย่างนั้นแลตามลำดับ, มิใช่มูลเหตุ. กุศลกรรมบถ ๓ ในที่สุดเป็นทั้งกรรมบถเป็นทั้งมูลเหตุ. อนภิชฌา อโลภะ เป็นกุศลมูล เพราะถึงแล้วซึ่งมูลเหตุ. อัพยาบาท อโทสะ เป็นกุศลมูล, สัมมาทิฏฐิ คือ อโมหะ เป็นกุศลมูล.

บทว่า อารมฺมณโต ได้แก่ อารมณ์ของปาณาติบาตเป็นต้น นั่นแลเป็นอารมณ์ของกรรมบถเหล่านั้น. ชื่อว่าเวรมณี เพราะควรก้าวล่วงนั่นเอง. อริยมรรคมีนิพพานเป็นอารมณ์ ย่อมละกิเลสทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 605

ฉันใด, กรรมบถเหล่านั้นมีชีวิตินทรีย์เป็นต้นเป็นอารมณ์ ก็ฉันนั้น ย่อมละความเป็นผู้ทุศีลมีปาณาติบาตเป็นต้น.

บทว่า เวทนาโต ได้แก่ กุศลกรรมบถ ทั้งหมดเป็น สุขเวทนา หรือ มัชฌัตตเวทนา. จริงอยู่ กุศลกรรมบถไม่มีทุกขเวทนา เพราะถึงกุศลแล้ว.

บทว่า มูลโต ได้แก่ กุศลกรรมบถ ๗ ตามลำดับมีมูลเหตุ ๓ ด้วยสามารถแห่ง อโลภะ อโทสะ อโมหะ ของผู้เว้นด้วยจิตสัมปยุตด้วยญาณ, มีมูลเหตุ ๒ ด้วยสามารถ อโลภะ อโทสะ ของผู้เว้นด้วยจิตไม่ประกอบด้วยญาณ, อนภิชฌา มีมูลเหตุ ๒ ด้วยสามารถ อโทสะ อโมหะ ของผู้เว้นด้วยจิตสัมปยุตด้วยญาณ, มีมูลเหตุ ๑ ด้วยสามารถอโทสะของผู้เว้นด้วยจิตไม่ประกอบด้วยญาณ. ส่วน อโลภะ ไม่เป็นมูลเหตุของตนด้วยตนเอง. แม้ในอัพยาบาทก็มีนัยเหมือนกัน. สัมมาทิฏฐิมีมูลเหตุ ๒ ด้วยสามารถอโลภะ อโทสะแล.

จบ กุศลกรรมบถกถา

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 606

พระสารีบุตรครั้นแสดงศีล ด้วยสามารถแห่งกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะแสดงธรรม ๓๗ มีเนกขัมมะเป็นต้น มีอรหัตตมรรคเป็นปริโยสาน จึงกล่าวบทมีอาทิวา เนกฺขมฺเมน กามจฺฉนฺทํ สํวรฏเน สีลํ, อวีติกฺกมฏเน สีลํ-ชื่อว่าศีล ด้วยอรรถว่าสำรวม และไม่ก้าวล่วง กามฉันทะ ด้วย เนกขัมมะ. ในบทนั้นมีอธิบายว่า เพราะภิกษุสำรวมไม่ก้าวล่วงกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ, ฉะนั้น เนกขัมมะ จึง เป็นศีล. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เนกขัมมะ เป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถปฐมาวิภัตติ. ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้. แต่ในบาลีท่านแสดงเนกขัมมะและอัพยาบาทแล้วย่อบทที่เหลือ เพราะมีนัยดังได้กล่าวแล้วในหนหลัง แล้วจึงแสดงอรหัตตมรรคเท่านั้นไว้ในที่สุด.

๙๐] พระสารีบุตรครั้นแสดงศีลด้วยสามารถ การสำรวม และ การไม่ก้าวล่วง อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อแสดงทั้งสองอย่างนั้นจึงกล่าวบทมีอาทิว่า ปญฺจ สีลานิ ปาณาติปาตสฺส ปหานํ สีลํ - ศีล ๕ คือ การละปาณาติบาตเป็นศีล. อนึ่ง ในบทนี้พึงประกอบว่า การละปาณาติบาตเป็นศีล, การเว้นจากปาณาติบาตเป็นศีล, เจตนาเป็นปฏิปักษ์ต่อปาณาติบาตเป็นศีล, ความสำรวมปาณาติบาตเป็นศีล การไม่ก้าวล่วงปาณาติบาตเป็นศีล.

บทว่า ปหานํ - การละ ความว่า ชื่อว่าธรรมไรๆ เว้นจากเพียงไม่ให้เกิดปาณาติบาตเป็นต้น ดังกล่าวแล้วย่อมไม่มี, เพราะการละนั้นๆ

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 607

ชื่อว่าเป็นการรับรอง ด้วยอรรถว่า เป็นที่ตั้งของกุศลธรรมนั้นๆ , และชื่อว่าเป็นที่รวม เพราะไม่ทำสภาพที่กระจัดกระจาย, ฉะนั้น ท่านจึงกล่าว สีลํ เพราะอรรถว่า เป็นการปฏิบัติกล่าวคือ เป็นที่รับรองและเป็นที่รวม ดังกล่าวไว้แล้วในตอนต้นนั่นแล. ธรรม ๔ อย่างนอกนี้ ท่านกล่าวหมายถึงสภาพที่เป็นไปของจิตด้วยสามารถการเว้นจากปาณาติบาตนั้น ด้วยการสำรวมปาณาติบาตนั้น ด้วยเจตนาสัมปยุต ด้วยการเว้นและการสำรวมทั้งสองนั้น และด้วยการไม่ล่วงของผู้ไม่ล่วงปาณาติบาตนั้นๆ.

อีกอย่างหนึ่ง แม้การละก็ยังมีอยู่โดยธรรมดานั่นเอง. อย่างไร?

ชื่อว่า ปหานํ เพราะย่อมละสิ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อปาณาติบาต เป็นต้น ด้วยการเว้นและการสำรวมนั้น, หรือย่อมละสิ่งเป็นปฏิปักษ์นั้น. สิ่งเป็นปฏิปักษ์นั้น คืออะไร? กุศลธรรมแม้ทั้งหมด. แต่อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า แม้ในเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่าวิรัติเป็นอันเดียวกันกับความแน่นอนในกุศลทั้งหมด เพราะถือเพียงคำว่า เวรมณี สีลํ - การเว้นเป็นศีล ยังมีอยู่, ในที่นี้ไม่เป็นอย่างนั้น. ท่านกล่าวอปริยันตศีลเท่านั้น ในศีลสองอย่าง คือ ปริยันตศีล และอปริยันตศีล ทำให้พิเศษด้วยบท ๕ บท มี ปหานะ เป็นต้น. เพราะฉะนั้น พระสารีบุตรจึงกล่าวว่า เอวรูปานิ สีลานิ จิตฺตสฺส อวิปฺปฏิสาราย สํวตฺตนฺติ ฯเปฯ สจฺฉิกาตพฺพํ สจฺฉิกโรนฺโต สิกฺขติ - ศีลทั้งหลายเห็นปาน

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 608

นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เดือดร้อนแห่งจิต ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าย่อมศึกษาดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อวิปฺปฏิสาราย สํวตฺตนฺติ (๑) ความว่า ย่อมเป็นไปโดยชอบ เพื่อความไม่เดือดร้อน เพราะพระบาลีว่า ความสำรวม เพื่อความไม่เดือดร้อน และว่า ดูก่อนอานนท์ ศีลมีความไม่เดือดร้อนเป็นประโยชน์ มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์. (๒)

ย่อมเป็นไป เพื่อความปราโมทย์ เพราะบาลีว่า ความไม่ เดือดร้อน ย่อมเป็นไปเพื่อความปราโมทย์ และว่า ความปราโมทย์ ย่อมเกิดแต่ผู้ใส่ใจโดยแยบคาย.๓

ย่อมเป็นไป เพื่อปีติ เพราะบาลีว่า ความปราโมทย์ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ปีติ และว่า ปีติย่อมเกิดแก่ผู้ปราโมทย์. (๔)

ย่อมเป็นไปเพื่อ ปัสสัทธิ เพราะบาลีว่า ปีติย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ปัสสัทธิ และว่า กายย่อมสงบ แต่ผู้มีใจปีติ. (๕)

ย่อมเป็นไปเพื่อ โสมนัส เพราะบาลีว่า ปัสสัทธิย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ความสุข (๖) และว่า กายที่สงบย่อมเสวยความสุข. (๗) เพราะความสุขทางจิต ท่านกล่าวว่า เป็นโสมนัส.


๑. วิ. ป. ๘/๑๐๘๔.

๒. องฺ. เอกาทสก. ๒๔/๒๐๘.

๓. ขฺ. ป. ๓๑/๑๘๓.

๔. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๒๖.

๕. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๒๖.

๖. วิ. ป. ๘/๑๐๘๔.

๗. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๖๔.

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 609

บทว่า อาเสวนาย - เพื่อการเสพโดยเอื้อเฟื้อ ได้แก่ การเสพโดยเอื้อเฟื้ออย่างหนัก.

เสพอะไร? ความสุขที่แท้ เพราะความสุขท่านกล่าวด้วยคำว่าโสมนัสเป็นลำดับ.

สมาธิเป็นสุขที่แท้ เพราะบาลีว่า จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น (๑) . การเสพสมาธิที่แท้ ด้วยประการฉะนี้.

ศีลเป็นปานนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสพโดยเอื้อเฟื้อสมาธินั้น, อธิบายว่า ศีลทั้งหลายย่อมเป็นไปเพื่อความมีกำลังคล่องแคล่ว.

บทว่า ภาวนาย - เพื่อความเจริญ ได้แก่ เพื่อความเจริญของสมาธินั้นนั่นเอง.

บทว่า พหุลีกมฺมาย - เพื่อทำให้มาก ได้แก่ เพื่อทำสมาธินั้นบ่อยๆ.

ย่อมเป็นไป เพื่อเป็นเครื่องประดับ โดยให้สำเร็จเป็นเครื่องประดับมี สัทธินทรีย์ เป็นต้น ของสมาธิอันเป็นมูลเหตุแห่งความเป็นไปมีความไม่เดือดร้อนเป็นต้น.

ย่อมเป็นไป เพื่อเป็นบริขาร โดยให้สำเร็จสัมภาระของสมาธิ มีความไม่เดือดร้อนเป็นต้น.


๑. ที. ปา. ๑๑/๓๐๒.

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 610

ปริกฺขาร ศัพท์ในบทนี้มีความว่า ของใช้ ดุจในประโยคมีอาทิว่า เย จ โข อิเม ปพฺพชิเตน ชีวิตปริกฺขารา สมุทาเนตพฺพา (๑) - ของใช้สำหรับชีวิตเหล่านี้ อันบรรพชิตควรจัดหาไว้. มีความว่า เครื่องประดับ ดุจในประโยคมีอาทิว่า รโถ สีลปริกฺขาโร, ฌานกฺโข จกฺกวีริโย (๒) - รถ คือ กาย มีศีลเป็นเครื่องประดับ, เพลา คือ ฌาน มีความเพียรเป็นจักร. มีอรรถว่า บริวาร ดุจในบทมีอาทิว่า สตฺตหิ นครปริกฺขาเรหิ สุปริกฺขตํ โหติ (๓) - นครเป็นอันคุ้มกันด้วยดี ด้วยการแวดล้อมนคร ๗ ประการ. แต่ในที่นี้ ท่านกล่าว สมฺภารตฺโถ มีความว่า สัมภาระ เพราะอลังการและบริวารมาแยกกัน.

อนึ่ง อรรถแห่งสัมภาระมีความว่าปัจจัย. ศีลย่อมเป็นไปเพื่อเป็นบริวารด้วยให้สำเร็จธรรมสมบัติมีผัสสะ สัมปยุตด้วยสมาธิเป็นต้น โดยความเป็นมูลเหตุนั่นเอง, ย่อมเป็นไปเพื่อความบริบูรณ์ เพราะให้สำเร็จความบริบูรณ์ ด้วยให้ถึงความเป็นปทัฏฐานแห่งสมาธิและวิปัสสนา และด้วยให้ถึงความเป็นผู้ชำนาญ.

พระสารีบุตรครั้นแสดงสมาธิบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง โดยอุปนิสัยแห่งศีลอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงยถาภูตญาณทัสนะเป็นต้น อันเป็นปทัฏฐานของสมาธิ มีศีลเป็นมูล เพราะบาลีว่า สมาหิเต จิตฺเต ยถาภูตํ ปชานาติ, ยถาภูตํ ชานํ ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ,


๑. ม.มู. ๒/๒๓๗.

๒. สํ. มหา. ๑๙/๒๔.

๓. องฺ. สตฺตก. ๒๗/๖๔.

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 611

นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ, วิราคา วิมุจฺจติ. (๑) - เมื่อจิตตั้งมั่นย่อมรู้เห็นความความเป็นจริง, เมื่อรู้เมื่อเห็นตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย, เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด, เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้นดังนี้. จึงกล่าวบทมีอาทิว่า เอกนฺตนิพฺพิทาย - เพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว. เมื่อแสดงความเบื่อหน่ายแล้วก็เป็นอันแสดงยถาภูตญาณทัสนะ อันเป็นปทัฏฐานแห่งความเบื่อหน่ายนั้นนั่นแล. เมื่อยถาภูตญาณทัสนะนั้นยังไม่สำเร็จ ความเบื่อหน่ายก็ยังไม่สำเร็จ. ก็บทเหล่านั้นมีอรรถดังได้กล่าวไว้แล้วนั้นแล. แต่ในที่นี้ยถาภูตญาณทัสนะ กำหนดเอานามรูปพร้อมด้วยปัจจัย.

พระสารีบุตรครั้นแสดงถึงประโยชน์ของศีล อันมีอมตมหานิพพานเป็นที่สุด อย่างนี้แล้ว บัดนี้ประสงค์จะแสดงความที่ศีลนั้นเป็นอธิศีลสิกขา และอธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา อันมีอธิศีลสิกขาเป็นมูล จึงกล่าวบทมีอาทิว่า เอวรูปานํ สีลานํ สํวรปริสุทฺธิ อธิสีลํ - ความบริสุทธิ์แห่งความสำรวมศีลเห็นปานนี้เป็นอธิศีล.

ในบทเหล่านั้น ความบริสุทธิ์ คือ ความสำรวมนั่นเอง ชื่อว่า สังวรปาริสุทธิ. ความบริสุทธิ์แห่งความสำรวมศีลอาศัยวิวัฏฏะ อันเป็นศีลไม่มีที่สุดเห็นปานนี้ ท่านกล่าวว่า เป็นอธิศีล เพราะเป็นศีลยิ่งกว่าศีลที่เหลือ เพราะอาศัยวิวัฏฏะ.


๑. ขุ. ป. ๓๑/๑๘๒.

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 612

บทว่า สํวรปาริสุทฺธิยา ิตํ จิตฺตํ - จิตตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวม ความว่า จิตตั้งอยู่ด้วยความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวม ศีลเช่นนี้ย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่าน เพราะนำความไม่เดือดร้อนเป็นต้น มาด้วยดี, คือตั้งอยู่ในสมาธิ.

ความบริสุทธิ์ คือ ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอวิกเขปปาริสุทธิ. สมาธิอันเป็นส่วนแห่งการแทงตลอด เว้นจากมลทินทั้งปวง ท่านกล่าวว่า อธิจิตฺตํ เพราะเป็นสมาธิยิ่งกว่าสมาธิที่เหลือ. ในบทนี้ท่านชี้แจงถึงสมาธิ ด้วยหัวข้อว่า จิตฺตํ.

บทว่า สํวรปาริสุทฺธึ สมฺมา ปสฺสติ - พระโยคาวจรย่อมเห็นความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวมโดยชอบ ความว่า ย่อมเห็นความบริสุทธิ์ คือความสำรวมด้วยศีลโดยชอบ ด้วยสามารถแห่ง ญาตปริญญา และ ตีรณปริญญา, ย่อมเห็นสมาธิอันบริสุทธิ์ กล่าวคือ ความบริสุทธิ์ คือ ความที่จิตไม่ฟุ้งซ่านอย่างนั้นนั่นแลโดยชอบ. เมื่อพระโยคคาวจรเห็นอย่างนั้น ความบริสุทธิ์ กล่าวคือ ความเห็น ชื่อว่า ทสฺสนปาริสุทฺธิ - ความบริสุทธิ์แห่งทัสนะ.

ทัสนปาริสุทธินั่นแล ท่านกล่าวว่าเป็น อธิปญฺา เพราะยิ่งกว่าปัญญาที่เหลือ.

บทว่า โย ตตฺถ คือ ในความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและทัสนะนั้น. บทว่า สํวรฏฺโ คือ ความสำรวม.

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 613

พึงทราบความไม่ฟุ้งซ่านและความเห็น ก็อย่างนั้นเหมือนกัน, สิกขา คือ อธิศีลนั่นแล ชื่อว่าอธิสีลสิกขา. แม้นอกนั้นก็พึงทราบอย่างนี้.

พระสารีบุตรครั้นแสดงสิกขา ๓ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงถึงลำดับของสิกขาเหล่านั้นให้บริบูรณ์ จึงกล่าวบทมีอาทิว่า อิมา ติสฺโส สิกขาโย อาวชฺเชนฺโต สิกฺขติ- พระโยคาวจรเมื่อนึกถึงสิกขา ๓ เหล่านี้ ชื่อว่าย่อมศึกษา. บทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ พระโยคาวจรแม้เมื่อนึกถึงเพื่อยังสิกขาอย่างหนึ่งๆ ให้บริบูรณ์ ก็ชื่อว่าย่อมศึกษา, ครั้นรู้แล้วแม้เห็นอยู่บ่อยๆ ก็ชื่อว่าย่อมศึกษา, ครั้นเห็นแล้ว แม้พิจารณาตามที่เห็น ก็ชื่อว่าย่อมศึกษา ครั้นพิจารณาแล้ว แม้ตั้งมั่นทำจิตไม่ให้หวั่นไหวในสิกขานั้น ก็ชื่อว่าย่อมศึกษา, แม้ทำกิจของตนๆ ด้วยศรัทธา วีริยะ สติ สมาธิ และปัญญา อันสัมปยุตด้วยสิกขานั้นๆ ก็ ชื่อว่าย่อมศึกษา, เมื่อทำกิจนั้นๆ แม้ในกาลมีความรู้ยิ่งในสิ่งที่ควรรู้ยิ่งเป็นต้น ก็ชื่อว่าย่อมศึกษาสิกขา แม้ ๓ อย่าง. บทว่า ปญฺจ สีลานิ เป็นต้นอีกครั้ง มีความดังได้กล่าวแล้วนั่นแล.

๙๑] อนึ่ง พึงทราบความในบทมีอาทิว่า อรหตฺตมคฺเคน สพฺพกิเลสานํ ดังต่อไปนี้ บทเหล่านั้นถูกต้องทีเดียว เพราะความไม่

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 614

มีความเดือดร้อนเป็นต้น และเพราะความมีการเสพโดยเอื้อเฟื้อเป็นต้น ด้วยดีของพระอรหันต์ทั้งหลาย.

พึงประกอบบทมีอาทิว่า เอกนฺตนิพฺพิทานาย - เพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว ในขณะแห่งมรรค ดุจสติปัฏฐานและสัมมัปธาน.

พึงประกอบคำทั้งสองนี้ว่า สํวรปาริสุทฺธึ สมฺมา ปสฺสติ, อริกฺเขปปาริสุทฺธึ สมฺมา ปสฺสติ - พระโยคาวรย่อมเห็นความบริสุทธิ์ด้วยสังวรโดยชอบเป็นศีล, ย่อมเห็นความบริสุทธิ์ด้วยจิตไม่ฟุ้งซ่านโดยชอบเป็นศีล ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาเพื่อประโยชน์แก่ผลสมาบัติ. คำที่สองย่อมถูกต้อง แม้ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา เพื่อประโยชน์แก่นิโรธสมาบัติ. ในคำทั้ง ๕ มีอาทิว่า อาวชฺชนฺโต สิกฺขติ พึงทราบว่าท่านกล่าวว่า สิกฺขติ เพราะสภาพมีสีลขันธ์ของพระอเสกขะเป็นต้น แม้ในความไม่มีสิ่งที่ต้องศึกษาของพระอรหันต์,

บทมีอาทิว่า สทฺธาย อธิมุจฺจนฺโต สิกฺขติ - พระโยคาวจรน้อมไปด้วยศรัทธา ก็ชื่อว่าย่อมศึกษา ท่านกล่าวหมายถึงขณะแห่งมรรคนั่นเอง. พึงประกอบคำแม้อื่นที่ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งอุปจาระ อัปปนา วิปัสสนาและมรรคตามสมควร.

จบ อรรถกถาสีลมยญาณนิทเทส