พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

โคตรภูญาณนิทเทส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40909
อ่าน  437

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 743

โคตรภูญาณนิทเทส

อรรถกถาโคตรภูญาณนิทเทส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 743

โคตรภูญาณนิทเทส

[๑๓๖] ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอก เป็นโคตรภูญาณอย่างไร ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่าครอบงำความเกิดขึ้น ครอบงำความเป็นไป ครอบงำนิมิต ครอบงำกรรมเครื่องประมวลมา ครอบงำปฏิสนธิ ครอบงำคติ ครอบงำความบังเกิด ครอบงำอุบัติ ครอบงำชาติ ครอบงำชรา ครอบงำพยาธิ ครอบงำมรณะ ครอบงำความเศร้าโศก ครอบงำความรำพัน ครอบงำความคับแค้นใจ ครอบงำสังขารนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า แล่นไปสู่นิพพาน อันไม่มีความเกิดขึ้น ฯลฯ แล่นไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า ครอบงำความเกิดขึ้นแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น ครอบงำความเป็นไปแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเป็นไป ฯลฯ ครอบงำสังขารนิมิตภายนอกแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ.

[๑๓๗] ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า ออกจากความเกิดขึ้น ออกจากความเป็นไป... ออกจากสังขารนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่าแล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเป็นไป ฯลฯ แล่นไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า ออกจากความเกิดขึ้นแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มี

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 744

ความเกิดขึ้น ออกจากความเป็นไปแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเป็นไป ออกจากสังขารนิมิตภายนอกแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า หลีกออกจากความเกิดขึ้น หลีกออกจากความเป็นไป ฯลฯ หลีกออกจากสังขารนิมิตภายนอก ชื่อว่า โคตรภู เพราะอรรถว่า แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเป็นไป ฯลฯ แล่นไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า หลีกออกจากความเกิดขึ้นแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น ออกจากความเป็นไปแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันไม่มีความเป็นไป ฯลฯ หลีกออกจากสังขารนิมิตภายนอกแล้ว แล่นไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ.

[๑๓๘] โคตรภูธรรมเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมถะ โคตรภูธรรมเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา? โคตรภูธรรม ๘ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมถะ โคตรภูธรรม ๑๐ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา.

[๑๓๙] โคตรภูธรรม ๘ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมถะ?

ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า ครอบงำนิวรณ์เพื่อได้ปฐมฌาน ๑ ครอบงำวิตกและวิจารเพื่อได้ทุติยฌาน ๑ ครอบงำปีติเพื่อได้ตติยฌาน ๑ ครอบงำสุขและทุกข์เพื่อได้จตุตถฌาน ๑ ครอบงำรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 745

นานัตตสัญญาเพื่อได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ ๑ ครอบงำอากาสานัญจายตนสัญญาเพื่อได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ครอบงำวิญญานัญจายตนสัญญาเพื่อได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ ๑ ครอบงำอากิญจัญญายตนสัญญาเพื่อได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ๑ โคตรภูตธรรม ๘ นี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมถะ.

[๑๔๐] โคตรภูตธรรม ๑๐ เป็นไฉน ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา?

ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่า ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิตกรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ความเศร้าโศก ความร่ำไร ความคับแค้นใจ สังขารนิมิตภายนอกเพื่อได้โสดาปัตติมรรค ๑ ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ เพื่อโสดาปัตติผลสมาบัติ ๑ ฯลฯ เพื่อได้สกทาคามรรค ๑ เพื่อสกทาคามิผลสมาบัติ ๑ เพื่อได้อนาคามิมรรค ๑ เพื่ออนาคามิผลสมาบัติ ๑ ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ความเศร้าโศก ความร่ำไร ความคับแค้นใจ สังขารนิมิตภายนอก เพื่อได้อรหัตตมรรค ๑ ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 746

ปฏิสนธิ เพื่ออรหัตตผลสมาบัติ ๑ เพื่อสุญญตวิหารสมาบัติ ๑ และเพื่อสมาบัติ ๑ โคตรภูธรรม ๑๐ นี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา.

[๑๔๑] โคตรภูธรรมเป็นกุศลเท่าไร เป็นอกุศลเท่าไร เป็นอัพยากฤตเท่าไร? โคตรภูธรรมเป็นกุศล ๑๕ เป็นอัพยากฤต ๓ เป็นอกุศลไม่มี.

[๑๔๒] โคตรภูญาณ ๘ คือ โคตรภูญาณที่มีอามิส ๑ ไม่มีอามิส ๑ มีที่ตั้ง ๑ ไม่มีที่ตั้ง ๑ เป็นสุญญตะ ๑ เป็นวิสุญญตะ ๑ เป็นวุฏฐิตะ ๑ เป็นอวุฏฐิตะ ๑ เป็นปัจจัยแห่งสมาธิ โคตรภูญาณ ๑๐ เป็นโคตรแห่งวิปัสสนาญาณ โคตรภูธรรม ๑๘ เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓ โคตรภูธรรมมีอาการ ๑๘ นี้ พระโยคาวจรอบรมแล้วด้วยปัญญา พระโยคาวจรเป็นผู้ฉลาดในโคตรภูญาณ อันเป็นเครื่องหลีกไป และในโคตรภูญาณ อันเห็นเครื่องออกไป ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่างๆ ฉะนี้แล.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไป และหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอก เป็นโคตรภูญาณ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 747

อรรถกถาโคตรภูญาณนิทเทส

๑๓๖ - ๑๔๐] พึงทราบวินิจฉัยในโคตรภูญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.

บทว่า อภิภุยฺย - ครอบงำ คือ ย่อมครอบงำ ย่อมก้าวล่วง.

บทว่า พหิทฺธา สงฺขารนิมิตฺตํ - สังขารนิมิตภายนอก ได้แก่ สังขารนิมิตอันเป็นภายนอกจากกุศลขันธ์อันเป็นไปแล้วในสันดานของตน. จริงอยู่ สังขารอันเป็นโลกิยะท่านกล่าวว่า เป็นนิมิต เพราะเป็นเครื่องหมายแห่งกิเลสทั้งหลาย, หรือ เพราะตั้งขึ้นด้วยอาการของนิมิต.

บทว่า อภิภุยฺยตีติ โคตรภู - ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำ ท่านกล่าวถึงความเป็นโคตรภู เพราะครอบงำโคตรของปุถุชน.

บทว่า ปกฺขนฺทตีติ โคฺตรภู - ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่าแล่นไป คือ ท่านกล่าวถึงความเป็นโคตรภู เพราะความเกิดขึ้นแห่งโคตรพระอริยะ.

บทว่า อภิภุยฺยิตฺวา ปกฺขนฺทตีติ โคตรภู - ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำแล้วแล่นไป คือ ท่านกล่าวย่อความทั้งสอง.

บทว่า วุฏฺาตีติ โคตรภูติ จ วิวฏฺฏตีติ โคตรภู จ - ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่าออกไป และเพราะอรรถว่าหลีกไป คือ ท่านกล่าวถึงอรรถ คือ ความครอบงำโคตรปุถุชนโดยสมควรแก่บทว่า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 748

วุฏฐานะ - การออก วิวัฏฏนะ - การหลีกไปแห่งมาติกา. พึงทราบอรรถว่า ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำโคตรมีนิวรณ์เป็นต้น แห่งโคตรภู ดังกล่าวแล้วด้วยสมถะ, ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำโคตรมีความเกิด เป็นต้น ในสมาบัติวาร ๖ มีอาทิว่า โสตาปตฺติผลสมาปตฺตตฺถาย - เพื่อต้องการโสดาปัตติผลสมาบัติ, ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำโคตร มีโสดาบันเป็นต้น.

ในมรรควาร ๓ มีอาทิว่า สกทาคานิมคฺคปฏิลาภตฺถาย - เพื่อต้องการได้สกทาคามิมรรค.

อนึ่ง ในบทว่า โคตฺรภู นี้ มีอรรถว่าโคตร และมีอรรถว่า พืช. นัยว่าในอัตตนิปกรณ์ ท่านกล่าว นิพพาน ว่า โคตฺตํ - โคตร เพราะคุ้มครองจากอันตรายทั้งปวง ชื่อว่าโคตรภู เพราะดำเนินไปสู่นิพพานนั้น, แม้สมาบัติ ๘ ก็ชื่อว่า โคตฺตํ - โคตร เพราะคุ้มครองจากอันตรายของโคตรภู, โคตรนั้นท่านกล่าวว่า โคตรภู เพราะดำเนินไปสู่โคตร.

อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า โคตรภูแห่งมรรค ๔ มีนิพพานเป็นอารมณ์, โคตรภูแห่งผลสมาบัติ มีสังขารเป็นอารมณ์ เพราะน้อมไปในผลสมาบัติ. ดังที่ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า จิตของพระโยคาวจร ผู้เห็นแจ้งตามลำดับอันเป็นไปแล้วนั้น ย่อมเอิบอิ่มในนิโรธด้วยสามารถแห่งผลสมาบัติในระหว่างโคตรภูญาณมีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วย

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 749

เหตุนั้นแลในมรรควารนี้ พึงทราบว่า ท่านทำจิตที่ ๑๖ แล้วถือเอาจิตที่ ๖ ในสมาบัติวารแห่งบทสังขารนิมิตภายนอกที่ถือเอาแล้ว จึงไม่ถือเอา. โดยประการนอกนี้ พึงถือเอาการถือบทอันเป็นมูลเหตุ.

๑๔๑] ก็อาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า การผูกใจครั้งแรกในนิพพาน เป็นการรวบรวมครั้งแรก นี้ท่านกล่าวว่าโคตรภู. โคตรภูหมายถึงผลนั้นไม่ถูก.

ในบทนี้ว่า ปณฺณรส โคตรภูธมฺม กุสลา -โคตรภูธรรม เป็นกุศล ๑๕ พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ ชื่อว่าโคตรภูย่อมไม่สมควรแก่พระอรหันต์ เพราะไม่มีนิวรณ์อันควรครอบงำ เพราะวิตกวิจาร เป็นต้น พึงละได้ง่าย และเพราะอรรถว่าครอบงำ เพราะเหตุนั้นพึงทราบว่าท่านทำไว้แล้วไม่กล่าวถึง เพราะโคตรภูเป็นอัพยากฤต. อนึ่ง พระอรหันต์ผู้เข้าผลสมาบัติ ไม่สามารถครอบงำสังขารเข้าสมาบัติได้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า โคตรภูธรรมเป็นอัพยากฤตมี ๓. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สมาบัติ ๘ เป็นไปในส่วนแห่งการแทงตลอดด้วยสามารถอริยมรรคที่ท่านชี้แจงไว้แล้วในที่นี้, เพราะฉะนั้นโคตรภูแห่งสมาบัติ ๘ จึงเป็นกุศล. อนึ่ง พึงทราบแม้ในสังขารุเปกขาญาณอย่างนั้น.

๑๔๒] พึงทราบอธิบายความในคาถามีอาทิว่า สามิสญฺจ ดังต่อไปนี้. บรรดาวัฏฏามิส โลกามิส กิเลสามิสทั้งหลาย โคตรภูญาณ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 750

อามิสด้วยโลกามิส เพราะยังมีความอยาก. นั่นคืออะไร? คือ สมถโคตรภูญาณ ๘ อย่าง.

บทว่า วฏฺฏามิสํ ในที่นี้ ได้แก่ วัฏฏะเป็นไปในภูมิ ๓ นั่นเอง.

บทว่า โลกามิสํ ได้แก่ กามคุณ ๕.

บทว่า กิเลสามิสํ ได้แก่ กิเลสทั้งหลายนั่นเอง.

บทว่า นิรามิสํ ได้แก่ วิปัสสนาโคตรภูญาณ ๑๐ อย่าง เพราะไม่มีความอยาก. จริงอยู่ พระอริยะทั้งหลายไม่ทำความอยากในโคตรภู. ในคัมภีร์อาจารย์ทั้งหลาย เขียนไว้ว่า สามิสญฺเจ นั่นไม่ดีเลย.

พึงทราบ ปณิหิตะ อัปปณิหิตะ, สัญญุตตะ วิสัญญุตตะ, วุฏฐิตะ อวุฏฺฐิตะ ดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า ปณิหิตะ คือ ความปรารถนา เพราะตั้งอยู่ในความใคร่.

ชื่อว่า อัปปณิหิตะ เพราะไม่มีที่ตั้ง.

ชื่อว่า สัญญุตตะ เพราะประกอบด้วยความอยาก.

ชื่อว่า วิสัญญุตตะ เพราะไม่ประกอบด้วยความอยาก.

บทว่า วุฏฺิตํ ได้แก่ โคตรภูญาณอันเป็นวิปัสสนานั่นเอง. จริงอยู่ โคตรภูญาณนั้น ชื่อว่า วุฏิตะ เพราะตัดความอยาก. นอกนั้นเป็น อวุฏิตะ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วุฎิตะ เพราะออกไปภายนอก. พึงทราบว่า แม้ผลโคตรภูอันเป็นสังขารนิมิตภายนอกก็ชื่อว่า วุฏิตะ เพราะมุ่งหน้าสู่นิพพานด้วยอัธยาศัยในนิพพาน. พึงทราบว่า แม้ในวาระแห่งการครอบงำ การออก การหลีกไปในภายหลัง ก็พึง

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 751

ทราบว่า ผลโคตรภู ชื่อว่าย่อมครอบงำ ย่อมออกไป ย่อมหลีกไป เพราะมุ่งสู่นิพพาน ด้วยอัธยาศัย.

บทว่า ติณฺณํ วิโมกฺขานปจฺจยา - เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓ ได้แก่ สมถโคตรภูเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่โลกุตรวิโมกข์ ๓, วิปัสสนาโคตรภูเป็นอนันตระปัจจัย สมนันตรปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย.

บทว่า ปญฺา ยสฺส ปริจฺจิตา - พระโยคาวจรอบรมแล้วด้วยปัญญา คือ ปัญญาอันเป็นส่วนเบื้องต้นอันพระโยคาวจรอบรมแล้ว คือ สะสมแล้ว.

บทว่า กุสโล วิวฏฺเฏ วุฏฺาเน - พระโยคาวจรเป็นผู้ฉลาดในการออกไป ในการหลีกไป คือ เป็นผู้ฉลาด เป็นผู้เฉียบแหลมในโคตรภูญาณ อันได้แก่ วิวัฏฎะด้วยความไม่ลุ่มหลงนั่นแล หรือเป็นผู้ฉลาดด้วยญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้น.

บทว่า นานาทิฏฺิสุ น กมฺปติ- ย่อมไม่หวั่น เพราะทิฏฐิต่างๆ คือ ไม่หวั่นไหวในทิฏฐิมีประการๆ ที่ละได้แล้ว ด้วยสุจเฉท.

จบ อรรถกถาโคตรภูญาณนิทเทส