วิมุตติญาณนิทเทส
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 769
วิมุตติญาณนิทเทส
๑๓. อรรพกถาวิมุตติญาณนิทเทส
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 769
วิมุตติญาณนิทเทส
[๑๕๒] ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุตติญาณอย่างไร?
อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย เป็นกิเลสอันโสดาปัตติมรรคตัดขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส ๕ ประการนี้ พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส เป็นอันพ้นแล้วด้วยดี. ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุตติญาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 770
๑๓. อรรถกถาวิมุตติญาณนิทเทส
๑๕๒] พึงทราบวินิจฉัยในวิมุตติญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.
บทว่า สกฺกายทิฏฺิ - ความเห็นว่าเป็นตัวตน มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า สกฺกายทิฏฺิ เพราะอรรถว่าความเห็นในกาย กล่าวคือ ขันธปัญจกอันมีอยู่ หรือในกายนั้นอันมีอยู่เอง.
บทว่า วิจิกิจฺฉา - ความไม่แน่ใจ มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า วิจิกิจฺฉา เพราะอรรถว่าปราศจากความแน่ใจ หรือเมื่อค้นหาสภาวธรรมเป็นเหตุยากลำบาก.
บทว่า สีลพฺพตปรามาโส - ความลูบคลำศีลและพรต มีวิเคราะห์ว่า เป็นผู้ถือมั่นยึดมั่นว่า ความหมดจดมีด้วยศีลด้วยพรต. ชื่อว่า สีลพฺพตปรามาโส เพราะอรรถว่าผู้ถือมั่นยึดมั่นนั้น ละเลยสภาวธรรมลูบคลำแต่สิ่งอื่น. เมื่อทิฏฐิแม้มีอยู่ทั้งสองอย่าง ท่านก็ยังกล่าวถึงสักกายทิฏฐิ เพื่อแสดงถึงการละทิฏฐิทั้งหมด ด้วยการละสักกายทิฏฐิ มีวัตถุ ๒๐ อย่างอันเป็นปรกติ โดยยืดถือสักกายทิฏฐิตามปรกติ เว้นการคาดคะเน และการอ้างผู้อื่น. ส่วนสีลัพพตปรามาส พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้ต่างหากเพื่อแสดงถึงมิจฉาปฏิปทาของคนทั้งหลายผู้ปฏิบัติด้วยคิดว่า เราปฏิบัติปฏิปทาบริสุทธิ์. ท่านกล่าวถึงทิฏฐานุสัย - ความเห็นผิดอันนอนอยู่ในสันดาน วิจิกิจฉานุสัย - ความลังเลใจอันนอนอยู่ในสันดาน เพื่อแสดงถึงการละด้วยละอนุสัย แม้ ๓ อย่างนั่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 771
แหละ. มิใช่เพราะกิเลสต่างกัน.
บทว่า อุปกฺกิเลสา - อุปกิเลสทั้งหลาย มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า กิเลสา เพราะอรรถว่าทำให้เศร้าหมอง ทำให้เดือดร้อน ทำให้ลำบาก. ชื่อว่า อุปกฺกิเลสา เพราะอรรถว่า เป็นกิเลสร้ายมีกำลังแรง.
บทว่า สมฺมา สมุจฺฉินฺนา โหนฺติ - เป็นกิเลสอันพระโสดาปัตติมรรคตัดขาดดีแล้ว คือ ตัดขาดด้วยดี เพราะดับไม่เกิดขึ้นอีกด้วยสมุจเฉทประหาณ.
บทว่า สปริยุฏาเนหิ - พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส ได้แก่ กิเลสครอบงำ มีวิเคราะห์ว่า กิเลสทั้งหลาย ชื่อว่า ปริยุฎาน เพราะอรรถว่าหุ้มห่อจิตเกิดขึ้น. บทนี้เป็นชื่อของกิเลสทั้งหลาย อันเนื่องด้วยความประพฤติ. ชื่อว่า สปริยุฏาน เพราะอรรถว่าพร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส คือ อุปกิเลสอันนอนอยู่ในสันดาน.
บทว่า จิตฺตํ วิมุตฺตํ โหติ - จิตเป็นอันพ้นแล้ว ความว่า จิตเป็นไปด้วยอำนาจแห่งสันตติ เพราะกิเลสเหล่านั้นทำให้เกิดในที่ไม่สมควร ชื่อว่า เป็นอันพ้นแล้วจากกิเลสนั้น. จิตนั้นนั่นแล ชื่อว่า สุวิมุตฺตํ เพราะพ้นแล้วด้วยดี.
บทว่า ตํวิมุตฺติญาตฏฺเน คือ เพราะอรรถว่ารู้วิมุตตินั้น
จบ อรรถกถาวิมุตติญาณนิทเทส