ปัจจเวกขณญาณนิทเทส
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 772
ปัจจเวกขณญาณนิทเทส
๑๔. อรรถกถาปัจจเวกขณญาณนิทเทส
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 772
ปัจจเวกขณญาณนิทเทส
[๑๕๓] อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ เป็นกิเลสอันสกทาคามิมรรคตัดขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส ๔ ประการนี้ พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส เป็นอันพ้นแล้วด้วยดี ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุตติญาณ.
[๑๕๔] อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ เป็นกิเลสอันอนาคามิมรรคตัดขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส ๔ ประการนี้ พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส เป็นอันพ้นแล้วด้วยดี. ชื่อว่าญาณ เพราะ อรรถว่ารู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุตติญาณ.
[๑๕๕] อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัยเป็นกิเลสอันอรหัตตมรรคตัดขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส ๘ ประการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 773
นี้ พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส เป็นอันพ้นแล้วด้วย ชื่อว่าญาณ เพราะ อรรถว่ารู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุตติญาณ.
[๑๕๖] ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น เป็นปัจเวกขณญาณอย่างไร?
ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถว่าดำริออก ชื่อว่า สัมมาวาจา เพราะอรรถว่ากำหนดเอา ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะอรรถว่าขาวผ่อง ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเลือกเฟ้น ชื่อว่าวีริยสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าแผ่ซ่านไป ชื่อว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าสงบระงับ ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอุเบขาสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าพิจารณาหาทาง ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว เพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าวีริยพละ เพราะอรรถว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 774
ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าสติพละ. เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่าน ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าวีริยินทรีย์ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ชื่อว่าสตินทรีย์ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าสมาธินทรีย์ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า ปัญญินทรีย์ เพราะอรรถว่าเห็น ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ชื่อว่าพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว ชื่อว่าสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่านำออก ชื่อว่ามรรค เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมัปธาน เพราะอรรถว่าตั้งไว้ ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะอรรถว่าสำเร็จ ชื่อว่าสัจจะ เพราะอรรถว่าจริงแท้ ชื่อว่าสมถะ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น ชื่อว่าสมถวิปัสสนา เพราะอรรถว่ามีกิจอย่างเดียวกัน ชื่อว่าเป็นคู่ เพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าสำรวม ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเห็น ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่าหลุดพ้น ชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่าแทงตลอด ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่าปล่อย ชื่อขยญาณ เพราะอรรถว่าตัดขาด ชื่อว่าฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็นมูล ชื่อว่ามนสิภาร เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่าผัสสะ เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 775
อรรถว่าเป็นที่รวม ชื่อว่าเวทนา เพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม ชื่อว่า สมาธิ เพราะอรรถว่าเป็นประธาน ชื่อว่าสติ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ายิ่งกว่าธรรมนั้นๆ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่าเป็นแก่นสาร ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เพราะอรรถว่าเป็นแก่นสาร ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น พระโยคาวจร ออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น.
[๑๕๗] ในขณะแห่งโสดาปัตติผล ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถว่าดาริออก ฯลฯ ชื่อว่าอนุปปาทญาณ คือญาณในความไม่เกิดขึ้น เพราะอรรถว่าระงับ ชื่อว่าฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็นมูล ชื่อว่ามนสิการ เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน... ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่าเป็นแก่นสาร ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ธรรมเหล่านี้เข้ามา ประชุมกันในขณะนั้น พระโยคาวจรออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่า ธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น.
[๑๕๘] ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งสกทาคามิผล ฯลฯ ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งอนาคามิผล ฯลฯ ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 776
เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าขยญาณ เพราะอรรถว่าตัดขาด ชื่อว่า ฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น พระโยคาวจรออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่า ธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น.
[๑๕๙] ในขณะแห่งอรหัตตผล ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะอรรถว่าระงับ ชื่อว่า ฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น พระโยคาวจรออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่า ธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่ประชุมกันในขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ.
๑๔. อรรถกถาปัจจเวกขณญาณนิทเทส
๑๕๓ - ๑๕๙] พึงทราบวินิจฉัยในปัจจเวกขณญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้ พระสารีบุตรเถระครั้นกล่าวองค์แห่งมรรคไว้แผนกหนึ่งๆ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 777
ก่อน เพราะอรรถว่าเป็นเหตุในขณะแห่งมรรคนั่นเอง แล้วจึงแสดงถึงโพชฌงค์ไว้แผนกหนึ่งโดยความเป็นองค์แห่งอริยะ อันได้ชื่อว่า โพธิ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ธรรมอันเป็นองค์แห่งมรรค และมิใช่องค์แห่งมรรคอีก. จริงอยู่ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วีริยสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นองค์แห่งมรรคอย่างเดียว, ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มิใช่องค์แห่งมรรค.
บรรดาธรรมทั้งหลายที่แสดงไว้ต่างหาก โดยเป็นพละและอินทรีย์ ศรัทธาเท่านั้นมิใช่เป็นองค์แห่งมรรค. พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงธรรมที่เกิดในขณะแห่งมรรคอีก ด้วยสามารถเป็นหมวดหมู่ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อาธิปเตยฺยฏฺเน - ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อุปฏฺานฏฺเน สติปฏฺานา - ชื่อว่า สติปัฏฐาน เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ความว่า สติเป็นไปในกาย เวทนา จิต ธรรม มีนิพพานเป็นอารมณ์อย่างเดียวเท่านั้น ทั้ง ๔ อย่างนั้น ชื่อว่า สติปัฏฐาน ด้วยสามารถให้สำเร็จกิจในการละความสำคัญว่า งาม เป็น สุข เที่ยง เป็นตัวตน, วีริยะอย่างเดียวเท่านั้น มีนิพพานเป็นอารมณ์ ชื่อว่าสัมมัปธาน ๔ ด้วยให้สำเร็จกิจ คือ ละอกุศลที่เกิดแล้วและอกุศล ที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ให้สำเร็จกิจ คือ ความเกิดขึ้นแห่งกุศลที่ยังไม่เกิด และความตั้งอยู่แห่งกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 778
บทว่า ตถฏฺเน สจฺจา - ชื่อว่าสัจจะ เพราะอรรถว่าจริงแท้ ความว่า ชื่อว่าอริยสัจ ๔ เพราะอรรถว่าไม่ผิด ในความเป็นสัจจะมีทุกข์เป็นต้น. อนึ่ง ในบทนี้ อริยสัจ ๔ นั่นแหละ ชื่อว่าประชุมกันในครั้งนั้น เพราะอรรถว่าเป็นการรู้แจ้งแทงตลอด. และท่านกล่าวถึงนิพพานไว้ต่างหากว่า อมโตคธํ นิพฺพานํ - หยั่งลงสู่อมตะ คือ พระนิพพาน. ส่วนธรรมที่เหลือชื่อว่าประชุมกันในครั้งนั้น เพราะอรรถว่า ได้รับเฉพาะ. ในบทนี้ควรตัดสินว่า พระโยคาวจรย่อมพิจารณาสัจจะ ๔ อย่างแน่นอนในที่สุดแห่งมรรคผล เพราะคำว่า ตถฏฺเน สจฺจา ตทา สมุทณคตา - ชื่อว่าสัจจะประชุมกันในครั้งนั้น เพราะอรรถว่าเป็นสภาวะจริงแท้. และเพราะคำว่า กตํ กรณียํ นาปรํ อิตฺถตฺ ตายาติ ปชานาติ (๑) - ย่อมรู้ว่ากิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นที่ควรทำเพื่ออย่างนี้อีก จึงเป็นอันกล่าวถึงการพิจารณาว่า ทุกข์อันเรากำหนดรู้แล้ว สมุทัยอันเราละแล้ว นิโรธอันเราทำให้แจ้งแล้ว มรรคอันเราเจริญแล้ว. การพิจารณาอย่างนั้นสมควร.
อนึ่ง ในบทว่า สมุทโย นี้ พึงทราบถึงกิเลสที่ทำลายด้วยมรรคนั้นๆ นั่นแล. ด้วยการพิจารณาสมุทัยที่ท่านกล่าวไว้ในบทนี้ ในอรรถกถา ท่านจึงกล่าวว่า การพิจารณากิเลส ๒ อย่าง การพิจารณามรรค
๑. วิ. มหา. ๔/๒๓.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 779
ผล นิพพานมาแล้วโดยสรุปในที่นี้. ท่านมิได้กล่าวถึงการพิจารณาทุกข์อย่างเดียวเท่านั้น. ถึงท่านไม่กล่าวไว้ก็จริง ที่แท้แล้วควรถือเอาตามที่ปรากฏในบาลีและตามความเหมาะสม. จริงอยู่เมื่อการรู้แจ้งแทงตลอดสัจจะ สำเร็จแก่ผู้ปฏิบัติเพื่อรู้แจ้งแทงตลอดสัจจะ การพิจารณาถึงกิจที่ทำเสร็จแล้วด้วยตนเอง เป็นความสมควรทีเดียว.
บทมีอาทิว่า อวิกฺเขปฏฺเน สมโถ - ชื่อว่าสมถะ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ความว่า พระสารีบุตรเถระกล่าวธรรม คือ สมถะและวิปัสสนาอันสัมปยุตด้วยมรรค เพื่อแสดงโดยอรรถมีรสอย่างเดียวกัน และโดยอรรถอันไม่ล่วงล้ำกัน.
บทว่า สํวรฏฺเน สีลวิสุทฺธิ - ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าสำรวม ได้แก่ มีวาจาชอบ มีการงานชอบ มีการเลี้ยงชีพชอบ.
บทว่า อวิกฺเขปฏฺเน จิตฺตวิสุทฺธิ - ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ได้แก่ มีความตั้งมั่นชอบนั่นเอง.
บทว่า ทสฺสนฏฺเน ทิฏฺิวิสุทฺธิ - ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเห็น ได้แก่ เห็นชอบนั่นเอง.
บทว่า วิมุตฺตฏฺเน เพราะอรรถว่าหลุดพ้น คือ หลุดพ้นจากกิเลส ทำลายด้วยมรรค ด้วยความเด็ดขาด หรือน้อมไปในอารมณ์ คือ นิพพาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 780
บทว่า วิโมกฺโข - ความหลุดพ้น ได้แก่ ความหลุดพ้นโดยเด็ดขาด คือ อริยมรรคนั่นเอง.
บทว่า ปฏิเวธนฏฺเน วิชฺชา - ชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่าแทงตลอด คือ แทงตลอดสัจจะ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ - เห็นชอบนั่นเอง.
บทว่า ปริจฺจาคฏฺเน วิมุตฺติ - ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่าปล่อย มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่าวิมุตติ เพราะพ้นจากกิเลสนั้นด้วยการละกิเลสอันมรรคฆ่าแล้ว. ได้แก่ อริยมรรคนั่นเอง.
บทว่า สมุจฺเฉทฏฺเน ขเย าณํ - ชื่อว่าขยญาณ เพราะอรรถว่าตัดขาด ความว่า ชื่อว่าอริยมรรคญาณทำความสิ้นไปแห่งกิเลส ด้วยการตัดกิเลสได้เด็ดขาด. ได้แก่ เห็นชอบนั่นเอง.
พึงทราบฉันทะเป็นต้น โดยนัยดังได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. จริงอยู่ ในบทนี้พระสารีบุตรเถระแสดงโดยอาการเป็นเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งมรรคในขณะมรรคนั่นแหละ.
อนึ่ง ในบทว่า วิมุตฺติ นี้ ได้แก่ มรรควิมุตตินั่นเอง.
อนึ่ง นิพพานแม้ท่านถือเอาในบทว่า ตถฏฺเน สจฺจา - ชื่อว่าสัจจะ เพราะอรรถว่าจริงแท้ ก็พึงทราบว่าท่านกล่าวอีก เพื่อแสดงถึงความเป็นที่สุดในบทนี้. แม้ในขณะแห่งผลก็มีนัยนี้เหมือนกัน. แต่ในบทนี้ว่า เหตฏฺเน มคฺโค ชื่อว่ามรรค เพราะอรรถว่าเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 781
เหตุ พึงทราบในความเป็นเหตุแห่งผลนั่นเอง.
บทว่า สมฺมปฺปธานา ความเพียรชอบ พึงทราบว่าท่านกล่าวเพราะความที่ผลอันเป็นกิจของความเพียรยังกิจ ๔ อย่างให้สำเร็จแล้วในขณะเกิด. เพราะสัมมัปธาน ย่อมไม่ได้ในขณะผลโดยประการอื่น. พระเถระผู้ยกโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ขึ้นในขณะแห่งมรรคกล่าวไว้ว่า ธรรม ๓๗ ประการที่เหลือ เว้นสัมมัปธาน ๔ ย่อมได้ในขณะแห่งผล. พึงทราบแม้สัจจะเป็นต้น ตามที่ประกอบด้วยสามารถสำเร็จกิจมีกิจ คือ การแทงตลอดเป็นต้น อย่างนั้นเหมือนกัน.
อนึ่ง บทว่า วิโมกฺโข ได้แก่ ผลวิโมกข์.
บทว่า วิมุตฺติ ได้แก่ ผลวิมุตติ.
ชื่อ อนุปฺปาทญาณ - ญาณในความไม่เกิด เพราะอรรถว่าระงับ มีความดังได้กล่าวแล้วนั่นแล.
บทว่า วุฏฺหิตฺวา - ออกแล้ว ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ด้วยอำนาจแห่งผล เพราะไม่มีการออกในระหว่าง.
บทว่า อิเม ธมฺนา ตทา สมุทาคตา - ธรรมเหล่านี้เริ่มเกิดในครั้งนั้น พึงทราบการเชื่อมใส่ อิติ ศัพท์ อันเป็นบาลีที่เหลือว่า พระโยคาวจรย่อมพิจารณาว่า ธรรมมีประการดังกล่าวแล้วเหล่านี้ เริ่ เกิดในขณะแห่งมรรค และในขณะแห่งผล ดังนี้.
จบ อรรถกถาปัจจเวกขณญาณนิทเทส