วัตถุนานัตตญาณนิทเทส
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 782
วัตถุนานัตตญาณนิทเทส
๑๕. อรรถกถาวัตถุนานัตตญาณนิทเทส
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 782
วัตถุนานัตตญาณนิทเทส
[๑๖๐] ปัญญาในการกำหนดธรรมเป็นภายใน เป็นวัตถุนานัตตญาณอย่างไร?
พระโยคาวจรย่อมกำหนดธรรมทั้งหลายเป็นภายในอย่างไร? ย่อมกำหนด ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นภายใน.
[๑๖๑] พระโยคาวจรย่อมกำหนดจักษุเป็นภายในอย่างไร?
ย่อมกำหนดว่า จักษุเกิดเพราะอวิชชา เกิดเพราะตัณหา เกิดเพราะกรรม เกิดเพราะอาหาร (๑) อาศัยมหาภูตรูป ๔ เกิดแล้ว เข้ามาประชุมแล้ว ว่า จักษุไม่มีแล้วมี มีแล้วจักไม่มี ย่อมกำหนดจักษุโดยความเป็นของมีที่สุด กำหนดว่าจักษุไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักษุไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย ปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลาย
๑. วิสุทธิมรรคบาลี หน้า ๒๒๐ - ๒๒๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๐๓) แสดงการเกิดของรูปธรรมไว้ว่า
อวิชฺชา ตณฺหา อุปาทานํ กมฺมนฺติ อิเม จตฺตาโร ฯเปฯ ปจฺจยปริคฺคหํ กโรติ=รูปธรรมนี้ มีเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น ๕ อย่าง คือ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นเหมือนมารดาผู้เป็นเหตุให้บุตรเกิด กรรม เป็นเหมือนบิดาผู้ทำให้เกิด ส่วนอาหาร เป็นปัจจัยอุปการะรูปนั้นให้ดำรงอยู่เป็นเหมือนพี่เลี้ยงคอยอุ้มชู ตามที่กล่าวมานี้แสดงถึงการเกิดของรูปธรรม เพราะธรรม ๕ คือ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม และอาหาร. ส่วนในปฏิสัมภิทานี้ ท่านแสดงนัยอีกแบบหนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 783
ไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา กำหนดจักษุโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเป็นของเที่ยง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมให้ราคะดับไป ไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อกำหนดโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละความสำคัญว่าเป็นของ เที่ยงได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละความสำคัญว่าเป็นสุขได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละความสำคัญว่าเป็นตัวตนได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้ราคะดับ ย่อมละเหตุให้เกิดได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ พระโยคาวจรย่อมกำหนดจักษุเป็นภายในอย่างนี้.
[๑๖๒] พระโยคาวจรย่อมกำหนดหูเป็นภายในอย่างไร?
ย่อมกำหนดว่า หูเกิดเพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดหูเป็นภายในอย่างนี้.
พระโยคาวจรย่อมกำหนดจมูกเป็นภายในอย่างไร?
ย่อมกำหนดว่า จมูกเกิดเพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดจมูกเป็นภายในอย่างนี้.
พระโยคาวจรย่อมกำหนดลิ้นเป็นภายในอย่างไร?
ย่อมกำหนดว่า ลิ้นเกิดเพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 784
ย่อมกำหนดลิ้นเป็นภายในอย่างนี้.
พระโยคาวจรย่อมกำหนดกายเป็นภายในอย่างไร?
ย่อมกำหนดว่า กายเกิดเพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดกายเป็นภายในอย่างนี้.
พระโยคาวจรย่อมกำหนดใจเป็นภายในอย่างไร?
ย่อมกำหนดว่า ใจเกิดเพราะอวิชชา เกิดเพราะตัณหา เกิดเพราะกรรม เกิดเพราะอาหาร อาศัยมหาภูตรูป ๔ เกิดแล้ว เข้าประชุมกันแล้วว่า ใจไม่มีแล้วมี มีแล้วจักไม่มี ย่อมกำหนดใจโดยความเป็นของมีที่สุด กำหนดว่า ใจไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ใจไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา กำหนดใจโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเป็นของเที่ยง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมยังราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อกำหนดโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละความสำคัญว่าเป็นของเที่ยงได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละความสำคัญว่าเป็นสุขได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นอนัตตาย่อม ละความสำคัญว่าเป็นตัวตนได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 785
คลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อยังราคะให้ดับ ย่อมละเหตุให้เกิดได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ พระโยคาวจรย่อมกำหนดใจเป็นภายในอย่างนี้ ย่อมกำหนดธรรมเป็นภายในอย่างนี้.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรมเป็นภายใน เป็นวัตถุนานัตตญาณ.
๑๕. อรรถกถาวัตถุนานัตตญาณนิทเทส
๑๖๐ - ๑๖๒] พึงทราบวินิจฉัยในวัตถุนานัตตญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้.
บทว่า จกฺขุํ อชฺฌตฺตํ ววตฺเถต - พระโยคาวจรย่อมกำหนดจักษุเป็นภายใน ความว่า พระสารีบุตรเถระประสงค์จะกล่าวโดยอาการที่พระโยคาวจรนั้นกำหนดจักษุ จึงถามว่า กำหนดจักษุเป็นภายในอย่างไร แล้วแสดงอาการกำหนดโดยคำมีอาทิว่า จกฺขุ อวิชฺชาสมฺภูตนฺติ ววตฺเถติ - ย่อมกำหนดว่า จักษุเกิดเพราะอวิชชา ดังนี้.
พึงทราบความในบทเหล่านั้นดังต่อไปนี้ อวิชชา ตัณหาที่เป็นอดีต เป็นเหตุอุปถัมภ์ กรรมที่เป็นอดีตเป็นเหตุให้เกิด อาหารเป็นเหตุอุปถัมภ์ในบัดนี้. ด้วยบทนั้น เป็นอันท่านถือเอาอุตุและจิต อุปถัมภ์จักษุด้วย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 786
บทว่า จตุนฺนํ มหาภูตานํ อุปาทาย - จักษุอาศัยมหาภูตรูป ๔. บทนี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ อธิบายว่า จักษุอาศัยมหาภูตรูป ๔ แล้วเป็นไป. ด้วยบทนั้น เป็นอันท่านแสดงถึงความเป็นปสาทจักษุ ปฏิเสธความเป็นสสัมภารจักษุ - เครื่องปรุงแต่งจักษุ.
บทว่า อุปฺปนฺนํ - เกิดขึ้นแล้ว คือ เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ด้วยอำนาจแห่งอัทธา - กาลอันยาวนาน หรือด้วยอำนาจแห่งขณะอันเป็นสันตติ - การสืบต่อ.
บทว่า สมุทาคตํ - เข้ามาประชุมแล้ว คือ ตั้งขึ้นแล้วจากเหตุ. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ท่านแสดงถึงการกำหนดจักษุในส่วนเบื้องต้นแห่งวิปัสสนา.
ท่านแสดงถึงอนิจจานุปัสนา ด้วยบทมีอาทิว่า อหุตฺวา สมฺภูตํ- ไม่มี แล้วมี ความว่า ชื่อว่า ไม่มี แล้วมี เพราะไม่มีอยู่จากความเกิดในกาลก่อน. ชื่อว่า มีแล้ว จักไม่มี เพราะความไม่มีจากความเสื่อมต่อไป.
บทว่า อนฺตวนฺตโต - โดยความเป็นของมีที่สุด ความว่า ชื่อว่า อนฺตวา เพราะมีที่สุด. มีที่สุดนั่นแหละ ชื่อว่า อนฺตวนฺโต เหมือนบทว่า สติมนฺโต คติมนฺโต ธิติมนฺโต จ โย อิส (๑) - ผู้แสวงหาคุณ เป็นผู้มีสติ มีคติ และมีธิติ. โดยความเป็นของมีที่สุดนั้น. อธิบายว่า โดยความมีการดับไป.
๑. ขุ. เถร. ๒๖/๓๙๗.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 787
บทว่า อทฺธุวํ - ไม่ยั่งยืน คือ ไม่มั่นคง เพราะตกไปในความตั้งอยู่ไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง และเพราะไม่มีความเป็นของมั่นคง.
บทว่า อสสฺสตํ - ความไม่เที่ยง คือ ไม่แน่นอน.
บทว่า วิปริณามธมฺมํ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา คือ มีความแปรปรวนไปเป็นปรกติด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ ด้วยความชรา และด้วยความมรณะ.
บทมีอาทิว่า จกฺขุํ อนีจฺจํ - จักษุไม่เที่ยง และบทมีอาทิว่า จกฺขุํ อนิจฺจโต - ย่อมกำหนดจักษุโดยความเป็นของไม่เที่ยง มีเนื้อความดังได้กล่าวไว้แล้ว.
บทมีอาทิว่า อวิชฺชาสมฺภูโต - เกิดเพราะอวิชชา ย่อมสมควรทีเดียว เพราะในบทว่า มโน นี้ ท่านประสงค์เอาใจอันเป็นภวังค์.
ในบทนี้ว่า อาหารสมฺภูโต - เกิดเพราะอาหาร พึงทราบด้วยสามารถผัสสาหารและมโนสัญเจตนาหารประกอบกัน.
บทว่า อุปฺปนฺโน - เกิดขึ้นแล้ว พึงทราบด้วยสามารถแห่งอัทธา - กาลอันยาวนานและสันตติ - การสืบต่อ.
จบ อรรถกถาวัตถุนานัตตญาณนิทเทส