โคจรนานัตตญาณนิทเทส
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 788
โคจรนานัตตญาณนิทเทส
อรรถกถา โคจรนานัตตญาณนิทเทส
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 788
โคจรนานัตตญาณนิทเทส
[๑๖๓] ปัญญาในการกำหนดธรรมเป็นภายนอก เป็นโคจรนานัตตญาณอย่างไร พระโยคาวจรย่อมกำหนดธรรมทั้งหลายเป็นภายนอกอย่างไร?
พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นภายนอก.
พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปเป็นภายนอกอย่างไร?
ย่อมกำหนดว่า รูปเกิดเพราะอวิชชา เกิดเพราะตัณหา เกิดเพราะกรรม เกิดเพราะอาหาร อาศัยมหาภูตรูป ๔ เกิดแล้ว เข้ามาประชุมแล้ว รูปไม่มีแล้วมี มีแล้วจักไม่มี ย่อมกำหนดรูป โดยความเป็นของมีที่สุด กำหนดว่ารูปไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา รูปไม่เที่ยงอันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มี ความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา ย่อมกำหนดรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเป็นของเที่ยง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมยังราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อกำหนดโดยความเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 789
ของไม่เที่ยง ย่อมละความสำคัญว่าเป็นของเที่ยงได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละความสำคัญว่าเป็นตัวตนได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมือคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อยังราคะให้ดับ ย่อมละเหตุให้เกิดได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปเป็นภายนอกอย่างนี้.
[๑๖๔] พระโยคาวจรย่อมกำหนดเสียงเป็นภายนอกอย่างไร?
ย่อมกำหนดว่า เสียงเกิดเพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดเนียงเป็นภายนอกอย่างนี้,
พระโยคาวจรย่อมกำหนดกลิ่นเป็นภายนอกอย่างไร?
ย่อมกำหนดว่า กลิ่นเกิดเพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดกลิ่นเป็นภายนอกอย่างนี้.
พระโยคาวจรย่อมกำหนดรสเป็นภายนอกอย่างไร?
ย่อมกำหนดว่า รสเกิดเพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจร ย่อมกำหนดรสเป็นภายนอกอย่างนี้.
พระโยคาวจรย่อมกำหนดโผฏฐัพพะเป็นภายนอกอย่างไร?
ย่อมกำหนดว่า โผฏฐัพพะเกิดเพราะอวิชชา เกิดเพราะตัณหา ย่อมกำหนดโผฏฐัพพะเป็นภายนอกอย่างนี้.
พระโยคาวจรย่อมกำหนดธรรมารมณ์เป็นภายนอกอย่างไร?
ย่อมกำหนดว่า ธรรมมารมณ์เกิดเพราะตัณหา เกิดเพราะกรรม เกิดเพราะอาหาร เกิดแล้ว เข้าประชุมพร้อมแล้วว่า ธรรมารมณ์ไม่มีแล้วมี มีแล้วจักไม่มี ย่อมกำหนดธรรมารมณ์โดยความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 790
เป็นของมีที่สุด กำหนดว่า ธรรมารมณ์ไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา ย่อมกำหนดธรรมารมณ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเป็นของเที่ยง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมยังราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อกำหนดโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละความสำคัญว่าเป็นของเที่ยงได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละความสำคัญว่าเป็นสุขได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละความสำคัญว่าเป็นตัวตนได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อยังราคะให้ดับ ย่อมละเหตุให้เกิดได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ พระโยคาวจรย่อมกำหนดธรรมารมณ์เป็นภายนอกอย่างนี้.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรมเป็นภายนอก เป็นโคจรนานัตตญาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 791
อรรถกถา โคจรนานัตตญาณนิทเทส
๑๖๓ - ๑๖๔] พึงทราบวินิจฉัยในโคจรนานัตตญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้.
บทว่า รูเป พหิทฺธา ววตฺเถติ พระโยคาวจรย่อมกำหนดรูปเป็นภายนอก ความว่า ย่อมกำหนดรูปายตนธรรมอันเป็นภายนอกจากภายใน.
บทมีอาทิว่า อวิชฺชาสมฺภูตา - เกิดเพราะอวิชชา ท่านกล่าวไว้แล้ว เพราะกัมมชรูปนับเนื่องด้วยอัตภาพ. จริงอยู่ แม้อาหารก็เป็นปัจจัยอุปถัมภ์กัมมชรูป. แต่เพราะเสียงเป็นสมุฏฐานแห่งอุตุและจิต ท่านจึงไม่กล่าวถึงธรรมหมวด ๔ มีเกิดเพราะอวิชชาเป็นต้น. เพราะโผฏฐัพพะเป็นมหาภูตรูปเอง ท่านจึงไม่กล่าวว่าอาศัยมหาภูตรูป ๔.
อนึ่ง ในบทว่า ธมฺมา นี้ ได้แก่ ขันธ์ไม่มีรูป ๓ อันประกอบด้วยใจอันเป็นภวังค์. สุขุมรูปอื่นนับเนื่องในธรรมายตนะ แม้มีกรรมเป็นสมุฏฐานและรูปเป็นต้น แม้ทั้งหมด. อีกอย่างหนึ่ง รูปใดๆ ย่อมเกิดขึ้นด้วยกรรมใดๆ. พึงทราบรูปนั้นๆ ด้วยกรรมนั้น.
จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น แม้นับเนื่องในสันดานของตนก็ไม่พึงสงเคราะห์เข้าไปทั้งหมด. เพราะแม้รูปอันเนื่องด้วยอนินทรีย์เป็นต้น ก็เข้าถึงวิปัสสนาได้. ฉะนั้นพึงทราบการสงเคราะห์ธรรมเหล่านั้นด้วยบทว่า กมฺมสมฺภูตํ - เกิดเพราะกรรม. เพราะแม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 792
ธรรมเหล่านั้นก็มีอุตุตั้งขึ้นเพราะกรรม เป็นปัจจัยทั่วไปแก่สรรพสัตว์. ก็อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า รูปเป็นต้นอันเนื่องด้วยอนินทรีย์ไม่เข้าถึงวิปัสสนาได้.
แต่คำนั้นผิด เพราะในบาลีมีคำอาทิว่า
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา. (๑)
เมื่อใดบุคคลย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง, เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งวิสุทธิ - ความหมดจด.
อนึ่ง ในวิสุทธิมรรคท่านกล่าวว่า บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นแจ้งสังขารภายในแต่ต้น. แต่เพราะการออกไปจากมรรค ย่อมมีไม่ได้ด้วยเพียงเห็นภายในบริสุทธิ์เท่านั้น แม้ภายนอกก็พึงเห็นด้วย. เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรย่อมเห็นแจ้ง แม้ขันธ์ของผู้อื่น แม้สังขารอันเป็นอนุปาทินนกะว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. ดังนั้นจึงควรปรารถนาแม้การกำหนดจักษุเป็นต้น ของผู้อื่น แม้การ
๑. ขุ. ธ. ๒๕/๓๐.