พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ภูมินานัตตญาณนิทเทส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40917
อ่าน  394

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 811

ภูมินานัตตญาณนิทเทส

๑๘. อรรถกถาภูมินานัตตญาณนิทเทส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 811

ภูมินานัตตญาณนิทเทส

[๑๗๑] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ เป็นภูมินานัตตญาณอย่างไร?

ภูมิ ๔ คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาจรภูมิ โลกุตรภูมิ.

[๑๗๒] กามาวจรภูมิเป็นไฉน? ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันท่องเที่ยว คือ นับเนื่องในโอกาสนี้ ข้างล่างตลอดไปถึงอเวจีนรกเป็นที่สุด ข้างบนขึ้นไปจนถึงเทวดาชาวปรนิมมิตวสวัตดีเป็นที่สุด นี้เป็นกามาวจรภูมิ.

[๑๗๓] รูปาวจรภูมิเป็นไฉน? ธรรม คือ จิตและเจตสิกของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลก หรือของท่านผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันท่องเที่ยว คือ นับเนื่องในโอกาสนี้ ข้างล่างตั้งแต่พรหมโลกขึ้นไปจนถึงเทวดาชั้นอกนิฏฐะ ข้างบนเป็นที่สุด นี้ชื่อว่ารูปาวจรภูมิ.

[๑๗๔] อรูปาวจรภูมิเป็นไฉน? ธรรม คือ จิตละเจตสิกของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลก หรือของท่านผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันนับเนื่องในโอกาสนี้ ข้างล่างตั้งแต่เทวดาผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพ ตลอดขึ้นไปจนถึง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 812

เทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้างบนเป็นที่สุด นี้ชื่อว่า อรูปาวจรภูมิ.

[๑๗๕] โลกุตรภูมิเป็นไฉน? มรรค ผล และนิพพานธาตุ อันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง อันเป็นโลกุตระ นี้ชื่อว่าโลกุตรภูมิ ภูมิ ๔ เหล่านี้.

[๑๗๖] ภูมิ ๔ อีกประการหนึ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมสัปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ ฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปาวจรสมาบัติ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ ปฏิปทา ๔ อารมณ์ ๔ อริยวงศ์ ๔ สังคหวัตถุ ๔ จักร ๔ ธรรมบท ๔ ภูมิเหล่านี้ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด.

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ เป็นภูมินานัตตญาณ.

๑๘. อรรถกถาภูมินานัตตญาณนิทเทส

๑๗๑ - ๑๗๒] พึงทราบวินิจฉัยในภูมินานัตตญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้.

บทว่า ภูมิโย - ภูมิทั้งหลาย ได้แก่ ภาคหรือปริจเฉท. ในบทว่า กามาวจรา นี้ ได้แก่ กาม ๒ อย่าง คือ กิเลสกาม ๑ วัตถุกาม ๑. ฉันทราคะเป็นกิเลสกาม. วัฏฏะเป็นไปในภูมิ ๓ เป็นวัตถุกาม.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 813

กิเลสกาม ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่าให้ใคร่. วัตถุกาม ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่าอันบุคคลใคร่. กาม ๒ อย่างนั้น เคลื่อนไปในประเทศใดด้วยความเป็นไป. ประเทศนั้นชื่อว่า กามาวจร เพราะอรรถว่าเป็นที่เคลื่อนไปแห่งกาม.

อนึ่ง ประเทศนั้นเป็นกามาวจร ๑๑ คือ อบาย ๔ มนุษยโลก ๑ และเทวโลก ๖. เหมือนอย่างว่า บุรุษพร้อมด้วยพ่อค้าเกวียนท่องเที่ยวไปในประเทศใด ประเทศนั้น แม้เมื่อมีสัตว์ ๒ เท้า ๔ เท้าเหล่าอื่น ท่องเที่ยวไป ท่านก็เรียกว่า สสัตถาวจร - เป็นที่เที่ยวไปของพ่อค้าเกวียน เพราะกำหนดพ่อค้าเกวียนเหล่านั้นไว้ฉันใด แม้เมื่อมีรูปาวจรเป็นต้นเหล่าอื่นเคลื่อนไปในประเทศนั้น ประเทศนั้นท่านก็เรียกว่า กามาวจรอยู่นั่นแหละ เพราะกำหนดรูปาวจรเป็นต้นเหล่านั้นไว้ฉันนั้น.

ท่านกล่าวว่า กาม เพราะลบบทหลังเหมือนรูปภพท่านกล่าวว่า รูป ฉะนั้น. ธรรมอย่างหนึ่งๆ อันเนื่องด้วยกามนั้น ชื่อว่า กามาวจร เพราะเคลื่อนไปในกามอันได้แก่ประเทศ ๑๑ อย่างนี้. แม้ว่าธรรมบางอย่างในกามาวจรนี้เคลื่อนไปในรูปภพและอรูปภพก็จริง ถึงดังนั้น แม้ธรรมเหล่านั้นเคลื่อนไปในที่อื่น ก็พึงทราบว่าเป็นกามาวจรโดยแท้ เหมือนอย่างว่า ช้างได้ชื่อว่า สังคามาวจร เพราะท่องเที่ยวไปในสงคราม แม้เที่ยวไปในนครท่านก็กล่าวว่าสังคามาวจร - ท่องเที่ยวไปในสงครามเหมือนกัน. สัตว์ทั้งหลายเที่ยวไปบนบกในน้ำ แม้อยู่

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 814

ในที่มิใช่บกและมิใช่น้ำ ท่านกล่าวว่า สัตว์บก สัตว์น้ำ เหมือนกันฉะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กามาวจร เพราะอรรถว่ากามเคลื่อนไปในธรรมทั้งหลายมีประการดังกล่าวแล้วเหล่านี้ ด้วยการทำเป็นอารมณ์.

อนึ่ง กามนั้นแม้เคลื่อนไปในรูปาวจรธรรม และอรูปาวจรธรรมก็จริง ถึงดังนั้น พึงทราบข้อเปรียบเทียบดังนี้เหมือนอย่างว่า เมื่อกล่าวว่า ชื่อว่าลูกวัว เพราะร้อง ชื่อว่าควาย เพราะนอนบนแผ่นดิน. สัตว์จำพวกไม่ร้อง หรือจำพวกนอนบนแผ่นดิน ชื่อนั้นย่อมมีแก่สัตว์ทั้งปวง ฉะนั้น.

๑๗๓] ในบทนี้ท่านเพ่งถึงภูมิศัพท์ กล่าวทำธรรมเหล่านั้นทั้งหมดให้เป็นหมวดเดียวกันแล้ว จึงทำให้เป็นอิตถีลิงค์ว่า กามาวจรา. รูปภพเป็นรูปในบทมีอาทิว่า รูปาวจรา. ชื่อว่ารูปาวจร เพราะท่องเที่ยวไปในรูปนั้น.

๑๗๔] อรูปภพเป็นอรูป. ชื่อว่า อรูปาวจรา เพราะท่องเที่ยวไปในอรูปภูมินั้น.

๑๗๕] ชื่อว่า ปริยาปนฺนา เพราะอรรถว่านับเนื่อง คือ หยั่งลงภายใน ในเตภูมิกวัฏ. ชื่อว่า อปริยาปนฺนา เพราะอรรถว่าไม่นับเนื่องในเตภูมิกวัฏนั้น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 815

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งภูมิ มีกามาวจรภูมิเป็นต้นดังต่อไปนี้.

บทว่า เหฏฺโต - ข้างล่าง คือ โดยส่วนล่าง.

บทว่า อวีจินิรยํ - อเวจีนรก ชื่ออวีจิ เพราะอรรถว่าคลื่นแห่งเปลวไฟ แห่งสัตว์ แห่งเวทนา คือ ช่องว่างในระหว่างไม่มีในอเวจีนี้. ชื่อว่า นิรยะ เพราะอรรถว่าความเจริญ คือ ความสุขไม่มีในนรกนี้. อนึ่ง ชื่อว่า นิรยะ เพราะอรรถว่าไม่มีความยินดี.

บทว่า ปริยนฺตํ กริตฺวา - กระทำเป็นที่สุด คือ กระทำนรก กล่าวคืออเวจีนั้นให้เป็นที่สุด. บทว่า อุปริโต - ข้างบน คือ โดยส่วนบน.

บทว่า ปรนิมฺมิตวสวตฺตี เทเว - เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี คือ เทวดาที่ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะยังอำนาจให้เป็นไปในกามที่ผู้อื่นเนรมิตให้.

บทว่า อนฺโต กริติวา -กระทำในภายใน คือ ใส่ไว้ในภายใน.

บทว่า ยํ เอตสฺมึ อนฺตเร - ในระหว่างนี้ คือ ในโอกาสนี้. อนึ่ง บทว่า ยํ เป็นลิงควิปลาส.

บทว่า เอตฺถาวจรา - ท่องเที่ยวไปในโอกาสนี้ ความว่า ด้วยบทนี้ เพราะแม้ขันธ์เป็นต้นเหล่าอื่นเที่ยวไปในโอกาสนี้บางครั้ง โดยเกิดขึ้นในที่บางแห่ง ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า อวจรา เพื่อไม่สงเคราะห์ขันธ์เป็นต้นเหล่านั้น. ด้วยเหตุนั้นขันธ์เป็นต้นเหล่าใด หยั่งลงในโอกาสนี้ เที่ยวไปโดยเกิดในที่ทุกหนทุกแห่ง และในกาลทุกเมื่อ. อนึ่ง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 816

เที่ยวไปในส่วนเบื้องล่าง โดยความเป็นไปหมายถึงเกิดภายใต้อเวจีรก. ย่อมเป็นอันทำการสงเคราะห์ขันธ์เป็นต้นเหล่านั้น. เพราะขันธ์เป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า อวจรา เพราะหยั่งลงเที่ยวไป. และเที่ยวไปในส่วนเบื้องล่าง.

บทว่า เอตฺถ ปริยาปนฺนา - อันนับเนื่องในโลกนี้ ก็ด้วยบทนี้ เพราะขันธ์เป็นต้นเหล่านี้ท่องเที่ยวไปในโอกาสนี้ ชื่อว่าย่อมท่องเที่ยวไปแม้ในโอกาสอื่น. แต่ไม่นับเนื่องในโอกาสนี้. ฉะนั้น เมื่อขันธ์เป็นต้นเหล่านั้นท่องเที่ยวไปแม้ในที่อื่น ย่อมเป็นอันท่านกำหนดเอา

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงธรรมอันนับเนื่องในโอกาสนี้ โดยความเป็นปัจจัยแห่งความว่างจากกอง และโดยความเป็นจริง จึงกล่าวว่า ขนฺธธาตุอายตนา เป็นอาทิ.

บทว่า พฺรหฺมโลกํ - พรหมโลก คือ ฐานของพรหมอันได้แก่ภูมิของปฐมฌาน.

บทว่า อกนิฏฺเ - เทพชั้นอกนิฏฐะ คือ มิใช่กนิฏฐะ เพราะอรรถว่าสูงสุด.

บทว่า สมาปนฺนสฺส คือ เข้าสมาบัติ. ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึงกุศลฌาน.

บทว่า อุปฺปนฺนสฺส คือ เกิดในพรหมโลกด้วยอำนาจวิบาก. ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึง วิปากฌาน.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 817

บทว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหาริสฺส - ของท่านผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ได้แก่ ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน คือ ในอัตภาพที่ประจักษ์ ชื่อว่า ทิฏธมฺมสุขวิหาโร. ชื่อว่า ทิฏฺฐธมฺมสุขวิหารี เพราะอรรถว่ามีทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรมนั้น. ได้แก่ พระอรหันต์. ของท่านผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันนั้น. ด้วยบทนั้นท่านกล่าวถึง กิริยาญาณ.

บทว่า เจตสิกา ได้แก่ ธรรมที่เกิดในจิต. อธิบายว่าธรรมสัมปยุตด้วยจิต. บทว่า อากาสานญฺจายตนูปเค ได้แก่ เทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ. แม้ในบทที่สองก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า มคฺคา ได้แก่ อริยมรรค ๔.

บทว่า มคฺคผลานิ ได้แก่ ผลของอริยมรรค ๔.

บทว่า อสงฺขตา จ ธาตุ - อสังขตธาตุ คือ นิพพานธาตุที่ปัจจัยมิได้ตกแต่ง.

๑๗๖] บทว่า อปราปิ จตสฺโส ภูมิโย - ภูมิ ๔ อีกประการหนึ่ง พึงทราบด้วยสามารถจตุกกะหนึ่งๆ.

บทว่า จตฺตาโร สติปฏฺานา - สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 818

มีอธิบายดังนี้ ชื่อว่า ปฏฺานํ เพราะอรรถว่าตั้งไว้ ความว่า เข้าไปตั้งไว้ คือ หลั่งไหลแล่นเป็นไป. สตินั่นแหละตั้งไว้ ชื่อว่าสติปัฏฐาน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สติ เพราะอรรถว่าความระลึก. ชื่อว่า ปฏฺานํ เพราะอรรถว่าเข้าไปตั้งไว้. สตินั้นด้วยเป็นปัฏฐาน คือ การเข้าไปตั้งไว้ด้วย ชื่อว่า สติปัฏฐาน. ชื่อว่า สติปัฏฐาน ทั้งหลาย เพราะสติเหล่านั้นมากด้วยอารมณ์.

บทว่า จตฺตาโร สมฺมดปฺปธานา - สัมมัปธาน ๔ คือ ทำความเพียรเพื่อไม่ให้อกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น ๑ ทำความเพียรเพื่อละอกุศลที่เกิดขึ้น ๑ ทำความเพียรเพื่อให้กุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๑ ทำความเพียรเพื่อความตั้งอยู่แห่งกุศลที่เกิดขึ้น ๑. ชื่อว่า ปธาน เพราะ อรรถว่าเป็นเหตุตั้งไว้ คือ พยายาม. บทนี้เป็นชื่อของความเพียร.

บทว่า สมฺมปฺปานํ คือ เพียรไม่วิปริต เพียรตามเหตุ เพียรด้วยอุบาย เพียรโดยแยบคาย, ความเพียรอย่างเดียวเท่านั้นท่านทำเป็น ๔ ส่วน ด้วยสามารถแห่งกิจจึงกล่าวว่า สมฺมปฺปธานา.

บทว่า จตฺตาโร อิทฺธิปาทา - อิทธิบาท ๔ ได้แก่ ฉันทะ วีริยะ จิตตะ วิมังสา. ความของบทนั้นได้กล่าวไว้แล้ว.

บทว่า จตฺตาริ ฌานานิ - ฌาน ๔ ได้แก่ ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา. ทุติยฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา. ตติยฌานมีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา. จตุตถฌาน

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 819

มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา. องค์เหล่านี้ท่านกล่าวว่า ฌาน เพราะอรรถว่าเข้าเพ่งอารมณ์

บทว่า จตสฺโส อปฺปมญฺาโย - อัปปมัญญา ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ชื่อว่าอัปปมัญญา ด้วยการแผ่ไปไม่มีประมาณ จริงอยู่ อัปปมัญญาเหล่านั้นย่อมแผ่ไปยังสัตว์ทั้งหลาย หาประมาณมิได้ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์. หรือว่าแผ่ไปด้วยอำนาจการแผ่ไปโดยไม่มีเหลือแม้สัตว์ผู้เดียว เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อปฺปมญฺาโย ด้วยอำนาจการแผ่ไปไม่มีประมาณ.

บทว่า จตสฺโส อรูปสมาปตฺโย - อรูปสมาบัติ ๔ ได้แก่ อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ.

บทว่า จตสฺโส ปฎสมฺภิทา - ปฏิสัมภิทา ๔ มีความดังได้กล่าวไว้แล้ว.

บทว่า จตสฺโส ปฏิปทา - ปฏิปทา ๔ ได้แก่ ปฏิปทา ๔ ที่พระผุ้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺา-ปฏิบัติลำบาก รู้ช้า.

ทุกฺขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺา-ปฏิบัติลำบาก รู้เร็ว.

สุขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺา-ปฏิบัติสบาย รู้ช้า.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 820

สุขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺา - ปฏิบัติสบาย รู้เร็ว. (๑)

บทว่า จตฺตาริ อารมฺมณานิ - อารมณ์ ๔ ได้แก่ อารมณ์ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ปริตฺตํ ปริตฺตารมฺมณํ - มีกำลังน้อย มีอารมณ์เล็กน้อย ๑

ปริตฺตํ อปฺปมาณารมฺมณํ - มีกำลังน้อย มีอารมณ์ไพบูลย์ ๑

อปฺปมาณํ ปริตฺตารมฺมณํ - มีกำลังมาก มีอารมณ์เล็กน้อย ๑

อปฺปมาณํ อปฺปมาณารมฺมณํ - มีกำลังมาก มีอารมณ์ไพบูลย์ ๑ (๒)

พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงฌานมีอารมณ์ด้วยอารมณ์ทั้งหลาย โดยไม่ตั้งใจแน่วแน่ กำหนดอารมณ์มีกสิณเป็นต้น.

บทว่า จตฺตาโร อริยวํสา - อริยวงศ์ ๔ ความว่า พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้า ท่านกล่าวว่า เป็นพระอริยะ. วงศ์เชื้อสาย ประเพณีของพระอริยะเหล่านั้น ชื่อว่า วงศ์ของพระอริยะ. วงศ์ของพระอริยะเหล่านั้นเป็นอย่างไร? ธรรม ๔


๑. ที. ปา ๑๑/๘๒.

๒. มีกำลังน้อย ได้แก่ฌานที่ไม่คล่องแคล่ว ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดฌานที่สูงขึ้นไป มีกำลังมาก ได้แก่ฌานที่คล่องแคล่ว เป็นปัจจัยให้เกิดฌานสูงขึ้นไป อารมณ์เล็กน้อย ได้แก่ฌานที่มีอารมณ์ที่ขยายไม่ได้ อารมณ์ไพบูลย์ ได้แก่ฌานที่มีอารมณ์ที่ขยายได้ ใน อภิ. สํ. ๓๔/๑๖๙ - ๑๗๑.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 821

เหล่านี้ คือ สันโดษด้วยจีวร ๑. สันโดษด้วยบิณฑบาต ๑. สันโดษด้วยเสนาสนะ ๑. ความยินดีในภาวนา ๑. เมื่อกล่าวถึงสันโดษด้วยบิณฑบาต ท่านกล่าวถึงสันโดษด้วยคิลานปัจจัย เพราะภิกษุใดสันโดษในบิณฑบาต ภิกษุนั้นจักไม่สันโดษในคิลานปัจจัยได้อย่างไร.

บทว่า จตฺตาริ สงฺคหวตฺถูนิ - สังคหวัตถุ ๔ ได้แก่ สังคหวัตถุ ๔ เหล่านี้ คือ ทาน ๑. เปยยวัชชะ ๑. อัตถจริยะ ๑. สมานัตตตา ๑. เป็นเหตุสงเคราะห์ชน ๔ เหล่านี้.

บทว่า ทานํ ได้แก่ การให้ตามสมควร.

บทว่า เปยฺยวชฺชํ ได้แก่ พูดน่ารักตามสมควร.

บทว่า อตฺถจริยา ได้แก่ การทำความเจริญ ด้วยทำกิจที่ควรทำในที่นั้นๆ และด้วยการสั่งสอนสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ.

บทว่า สมานตฺตตา - ความเป็นผู้มีตนเสมอ คือ มีความเสมอ ไม่ถือตัว. อธิบายว่า มีประมาณตน คิดประมาณตน. ชื่อว่า สมานตฺโต เพราะอรรถว่ามีตนเสมอคนอื่น. ความเป็นผู้มีตนเสมอ ชื่อว่า สมนัตตตา. อธิบายว่า การคิดประมาณตนว่า ผู้นี้เลวกว่าเรา ผู้นี้เสมอเรา. ผู้นี้ดีกว่าเราแล้วประพฤติ คือ ทำตามสมควรแก่บุคคลนั้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ความเป็นผู้ร่วมสุขร่วมทุกข์ ชื่อว่า สมานัตตตา.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 822

ในบทว่า จตฺตาริ จกฺกานิ - จักร ๔ นี้ ได้แก่ ชื่อว่าจักร มี ๕ อย่าง (๑) คือ จักรทำด้วยไม้ ๑ จักรทำด้วยแก้ว ๑ จักรคือธรรม ๑ จักรคืออิริยาบถ ๑ จักรคือสมบัติ ๑.

จักรทำด้วยไม้ในบทว่า ข้าแต่เทวะ จักรนั้นสำเร็จแล้ว ๖ เดือน หย่อน ๖ คืน. (๒) จักรทำด้วยแก้วในบทว่า กำหนดเอาโดยยังจักรให้หมุนไป. (๓) จักรคือธรรมในบทว่า จักรอันเราให้เป็นไปแล้ว. (๔) จักรคืออิริยาบถในบทว่า สรีรยนต์มีจักร ๔ มีทวาร ๙. (๕)

คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจักร ๔ อย่างเหล่านี้, จักร ๔ ย่อมเป็นไปแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้มาประชุมพร้อมกันแล้ว, จักร ๔ อย่างคืออะไร? คือ ปฏิรูปเทสวาสะ ๑ สัปปุริสาปัสสยะ ๑ อัตตสัมมาปณิธิ ๑ บุพเพกตปุญญตา ๑ (๖) นี้ ชื่อว่า จักรคือสมบัติ. ในที่นี้ท่านประสงค์เอาจักรคือสมบัตินั่นเอง.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปฏิรูปเทสวาโส - อยู่ในประเทศอันสมควร ได้แก่ บริษัท ๔ ปรากฏในประเทศใด. อยู่ในประเทศอันสมควรเห็นปานนั้น.

บทว่า สปฺปุริสาปสฺสโย - อาศัยสัตบุรุษ ได้แก่ พึงเสพ คบ สัตบุรุษมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น.


๑. องฺ. จตุกฺก ๒๑/๓๒.

๒. องฺ. ติก. ๒๐/๔๕๔.

๓. ขุ. ชา. ๒๗/๑๗๙๑.

๔. ขุ. สุ. ๒๕/๓๗๗.

๕. สํ. ส. ๑๕/๗๔.

๖. องฺ. จตฺตก. ๒๑/๓๑.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 823

บทว่า อตฺตสมฺมาปณิธิ - ตั้งตนไว้ชอบ การตั้งตนไว้ชอบ หากว่าครั้งก่อนเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น ละความไม่มีศรัทธาเป็นต้นนั้น แล้วตั้งอยู่ในศรัทธาเป็นต้น.

บทว่า ปุพฺเพ จ กตปุญฺตา - ความเป็นผู้ทำบุญไว้ในกาลก่อน ได้แก่ ความเป็นผู้สะสมกุศลไว้ในกาลก่อน. นี้เป็นข้อกำหนดในบทนี้. กุศลกรรมที่ทำด้วยจิตสัมปยุตด้วยญาณ กุศลนั้นนั่นแหละย่อมนำบุรุษนั้นเข้าไปในประเทศอันสมควร ให้คบสัตบุรุษ บุคคลนั้นนั่นแหละย่อมตั้งตนไว้ชอบ.

บทว่า จตฺตาริ ธมฺมปทานิ - ธรรมบท ๔ ได้แก่ ส่วนแห่งธรรม ๔. ธรรมบท ๔ คืออะไร? คือ อนภิชฌา ๑ อัพยาปาทะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑

ความไม่โลภก็ดี การบรรลุฌาน วิปัสสนา มรรค ผล นิพพาน ด้วยอำนาจแห่งอนภิชฌาก็ดี ชื่อว่าธรรมบท คือ อนภิชฌา.

ความไม่โกรธก็ดี การบรรลุฌานเป็นเป็นต้น ด้วยเมตตาเป็นหลักก็ดี ชื่อว่าธรรมบท คือ อัพยาปาทะ.

การตั้งสติไว้ชอบก็ดี การบรรลุฌานเป็นต้นด้วยสติเป็นหลักก็ดี ชื่อว่าธรรมบท คือ สัมมาสติ.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 824

สมาบัติ ๘ ก็ดี การบรรลุฌานเป็นต้น ด้วยสมาบัติ ๘ เป็นหลักก็ดี ชื่อว่าธรรมบท คือ สัมมาสมาธิ.

อีกอย่างหนึ่ง การบรรลุเป็นต้น ด้วยอำนาจอสุภะ ๑๐ ชื่อว่า ธรรมบท คือ อนภิชฌา. บรรลุฌานด้วยอำนาจพรหมวิหาร ๔ ชื่อว่า อัพยาปาทะ. บรรลุฌานด้วยอำนาจอนุสสติ ๑๐ และอาหาเรปฏิกูลสัญญา ชื่อว่าธรรมบท คือ สัมมาสติ. บรรลุฌานด้วยอำนาจกสิณ ๑๐ และ อานาปานาสติ ชื่อว่าธรรมบท คือ สัมมาสมาธิ. ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อิมา จตสฺโส ภูมิโย - ภูมิ ๔ เหล่านี้พึงประกอบบทหนึ่งๆ ด้วยสามารถจตุกกะนั่นแล.

จบ อรรถกถาภูมินานัตตญาณนิทเทส