ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส และ ๒๕ - ๒๘. อรรถกถาปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 839
ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
๒๕ - ๒๘. อรรถกถาปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 839
ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
[๑๘๖] ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณอย่างไร?
สัทธินทรีย์เป็นธรรม วีริยินทรีย์เป็นธรรม สตินทรีย์เป็นธรรม สมาธินทรีย์เป็นธรรม ปัญญินทรีย์เป็นธรรม สัทธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง วีริยินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สตินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สมาธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ปัญญินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้ เฉพาะธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 840
[๑๘๗] สภาพว่าน้อมใจเชื่อเป็นอรรถ สภาพว่าประคองไว้เป็นอรรถ สภาพว่าเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถ สภาพว่าไม่ฟุ้งซ่านเป็นอรรถ สภาพว่าเห็นเป็นอรรถ สภาพว่าน้อมใจเชื่อเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพว่าประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพว่าเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพว่าฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพว่าเห็นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้อรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ อรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ.
[๑๘๘] การระบุพยัญชนะและนิรุตติ เพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณ เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ.
[๑๘๙] ญาณในธรรม ๕ ในอรรถ ๕ ญาณในนิรุตติ ๑๐ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใดเป็นอันรู้เฉพาะญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 841
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ.
[๑๙๐] สัทธาพละเป็นธรรม วีริยพละเป็นธรรม สติพละเป็นธรรม สมาธิพละเป็นธรรม ปัญญาพละเป็นธรรม สัทธาพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง วีริยพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สติพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สมาธิพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ปัญญาพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้ธรรม ต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ
[๑๙๑] สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นอรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านเป็นอรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความประมาทเป็นอรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่านเป็นอรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาเป็นอรรถ สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านเป็นอรรถอย่าง หนึ่ง สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความประมาทเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาพอันไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้อรรถ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 842
ต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ.
[๑๙๒] การระบุพยัญชนะและนิรุตติ เพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ.
[๑๙๓] ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ.
[๑๙๔] สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วีริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นธรรมแต่ละอย่างๆ สติสัมโพชฌงค์... อุเบกขา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 843
สัมโพชฌงค์ เป็นธรรมอย่างหนึ่งๆ พระโยคาวจรรู้ธรรมต่างๆ เหล่านี้ ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ.
[๑๙๕] สภาพที่ตั้งมั่น สภาพที่เลือกเฟ้น สภาพที่ประคองไว้ สภาพที่ผ่านซ่านไป สภาพที่สงบ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่าน สภาพที่พิจารณาหาทาง สภาพที่เข้าไปตั้งอยู่ เป็นอรรถ (แต่ละอย่าง) สภาพที่ตั้งมั่น... สภาพที่พิจารณาหาทางเป็นอรรถอย่างหนึ่งๆ พระโยคาวจรรู้อรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้ ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ.
[๑๙๖] การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๗ ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๗ ประการ ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ.
[๑๙๗] ญาณในธรรม ๗ ประการ ญาณในอรรถ ๗ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๔ ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 844
อรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ.
[๑๙๘] สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นธรรมแต่ละอย่างๆ สัมมาทิฏฐิ... สัมมาสมาธิเป็นธรรมอย่างหนึ่งๆ พระโยคาวจรรู้ธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ.
[๑๙๙] สภาพที่เห็น สภาพที่ดำริ สภาพที่กำหนดเอา สภาพที่เป็นสมุฏฐาน สภาพที่ขาวผ่อง สภาพที่ประคองไว้ สภาพที่ตั้งมั่น สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอรรถแต่ละอย่างๆ สภาพที่เห็น... สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่งๆ พระโยคาวจรรู้อรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ.
[๒๐๐] การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๘ ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๘ ประการ ธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 845
นิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ.
[๒๐๑] ญาณในธรรม ๘ ประการ ญาณในอรรถ ๘ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๖ ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแล เพราะเหตุดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 846
๒๕ - ๒๘. อรรถกถาปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
๑๘๖ - ๒๐๑] พึงทราบวินิจฉัยในปฏิสัมภิทาญาณนิทเทสดังต่อไปนี้. เพราะเมื่อท่านไม่กล่าวธรรมไว้ก็ไม่สามารถจะกล่าวถึงกิจของธรรมนั้นได้. ฉะนั้น จึงไม่สนใจลำดับที่ท่านยกขึ้นชี้แจงธรรมทั้งหลายก่อน. อรรถแห่งธรรมเป็นต้นท่านได้กล่าวไว้แล้ว.
พระสารีบุตรเถระกล่าวธรรมอันนับเนื่องด้วย ธมฺม ศัพท์ ด้วยบทมีอาทิว่า สทฺธินฺทฺริยํ ธมฺโม - สัทธินทรีย์เป็นธรรม เมื่อจะแสดงอรรถแห่ง นานตฺต ศัพท์ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อญฺโ สทฺธินฺทฺริยํ ธมฺโม - สัทธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง. จริงอยู่ เมื่อท่านกล่าวว่า อญฺโญ ธมฺโม เป็นธรรมอย่างหนึ่ง เป็นอันท่านแสดงถึงความต่างกันแห่งธรรมทั้งหลาย.
บทว่า ปฏิวิทิตา - รู้เฉพาะแล้ว คือ รู้โดยความเป็นธรรมเฉพาะหน้า ชื่อว่า ปรากฏแล้ว. ด้วยบทนั้น ท่านกล่าวอรรถแห่งบทปฏิสัมภิทา.
พระสารีบุตรเถระแสดงถึงกิจมีการน้อมใจเชื่อเป็นต้น เป็นอรรถแห่งศรัทธาเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยบทมีอาทิว่า อธิโมกฺขฏฺโ อตฺโถ - สภาพว่าน้อมใจเชื่อเป็นอรรถ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 847
บทว่า สนฺทสฺเสตุํ คือ เพื่อแสดงอย่างอื่นแก่ผู้ใคร่จะรู้ แต่เมื่อผู้อื่นฟังถ้อยคำก็ย่อมได้เหมือนกัน.
บทว่า พยญฺชนนิรุตฺตาภิลาปา - การระบุพยัญชนะและนิรุตติ คือ นามพยัญชนะ นามนิรุตติ นามาภิลาปะ. ชื่อที่ยังอรรถให้ปรากฏ ชื่อว่า พยัญชนะ. ชื่อว่า นิรุตติ เพราะเจาะจงอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งหลายย่อมปรุงแต่งสิ่งที่เป็นสังขตะ (๑) เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า สังขาร แล้วกล่าวทำให้มีเหตุ, ท่านกล่าวว่า อภิลาปะ เพราะเป็นเหตุระบุความ.
อนึ่ง ชื่อว่า นาม นี้ มี ๔ อย่าง คือ สามัญนาม ๑ คุณนาม ๑ กิตติมนาม ๑ โอปปาติกนาม ๑. ในนาม ๔ อย่างนั้น ในปฐมกัปพระนามของพระราชาว่า มหาสมมติราช เพราะมหาชนสมมติตั้งขึ้น ชื่อว่า สามัญนาม - นามโดยสามัญ.
ท่านกล่าวหมายถึง บทว่า ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุที่ผู้เป็นหัวหน้า อันมหาชนสมมติดังนี้แล อักขระว่า มหาชนสมมติ จึงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก. (๒)
ชื่อที่ได้มาโดยคุณความดีอย่างนี้ว่า พระธรรมกถึก ปังสุกูลิกภิกษุ วินัยธรภิกษุ ติปิฎกธรภิกษุ ผู้มีศรัทธา ผู้มีสติ ดังนี้ ชื่อว่า
๑. สํ. ขนฺธ. ๑๗/๑๕๙.
๒. ที. ปา. ๑๑/๖๓.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 848
คุณนาม - โดยคุณความดี. ชื่อโดยคุณความดีของพระตถาคตตั้งหลายร้อยชื่อ มีอาทิว่า ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ. ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า
อสงฺเขยฺยานิ นามานิ สคุเณน มหาสิโน
คุเณหิ นามํ อุทฺเธยฺย อปินาม สหสฺสโต.
พระนามของพระตถาคตผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พร้อมด้วยคุณความดีมีนับไม่ถ้วน. บัณฑิตควรยกพระนามด้วยพระคุณขึ้นแสดง แม้ตั้งพันพระนาม.
ในวันตั้งชื่อเด็กที่เกิด พวกญาติพากันทำสักการะแก่ทักขิไณยบุคคล แล้วอยู่ใกล้ๆ กำหนดตั้งชื่อว่า ทารกนี้ชื่อโน้น ดังนี้ นี้ชื่อว่า กิตติมนาม - นามโดยมีเกียรติ.
อนึ่ง การบัญญัติแต่ก่อนก็ยังตกทอดถึงการบัญญัติต่อมา. โวหารแต่ก่อนก็ยังตกทอดถึงโวหารภายหลัง. เหมือนอย่างว่า แม้ในปุริมกัป ดวงจันทร์ก็ชื่อว่าจันทร์. แม้เดี๋ยวนี้ก็ยังชื่อว่าดวงจันทร์นั่นเอง. ในอดีต ดวงอาทิตย์ สมุทร ปฐพี ก็ยังชื่อเหมือนเดิม ภูเขาก็ชื่อว่า ภูเขา. แม้เดี๋ยวนี้ก็ยังชื่อว่าภูเขานั่นเอง. ชื่อว่า โอปปาติกนาม คือ เป็นนามที่ผุดเกิด. ชื่อแม้ ๔ อย่างนี้ก็เป็นชื่อเดียวนั่นเอง. ชื่อนั้นใช้เพียง เป็นที่สังเกตของชาวโลกว่าโดยปรมัตถ์ไม่มีอยู่. ส่วนอาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า ชื่อว่า นาม เป็นเสียงส่องถึงเนื้อความ.