พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ญาณัตตยานิทเทส และ อรรถกถาญาณัตตยานิทเทส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40922
อ่าน  386

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 849

ญาณัตตยานิทเทส

อรรถกถาญาณัตตยานิทเทส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 849

ญาณัตตยานิทเทส

[๒๐๒] ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม เป็นวิหารัฐญาณ ปัญญาในความต่างแห่งสมาบัติ เป็นสมาปัตตัฏฐญาณ ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณอย่างไร?

พระโยคาวจรพิจารณาเห็นสังขารนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิต ถูกต้องแล้วซึ่งสังขารนิมิตด้วยญาณ ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนั้นชื่อว่า อนิมิตวิหาร พิจารณาเห็นตัณหาอันเห็นอันโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง ถูกต้องแล้วซึ่งตัณหาด้วยญาณ ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนั้นชื่อว่า อัปปณิหิตวิหาร พิจารณาเห็นความถือมั่นว่าตนโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างจากตน ถูกต้องแล้วซึ่งความถือมั่นว่าตนด้วยญาณ ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนั้นชื่อว่า สุญญตวิหาร.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 850

[๒๐๓] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นสังขารนิมิตโดยความเป็นภัย มิจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิต เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีสังขารนิมิตแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตสมบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่าตนโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างจากตน เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างจากตน แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตสมาบัติ.

[๒๐๔] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นสังขารนิมิต โดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีสังขารนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไป ในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่าตนโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพาน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 851

อันว่างจากตน ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างจากตน แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมาบัติ.

[๒๐๕] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูปนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีรูปนิมิตถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรม นี้ชื่อว่า อนิมิตวิหาร พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้งถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหาร พิจารณาเห็นความถือมั่นว่ารูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ ชื่อว่า สุญญตวิหาร.

[๒๐๖] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูปนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่ที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตสมาบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่ารูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 852

นิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างเปล่าแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตสมาบัติ.

[๒๐๗] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูปนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่ารูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับว่างเปล่าแล้วย่อมเข้าสมาบัติ. นี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมาบัติ.

[๒๐๘] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นเวทนานิมิต ฯลฯ สัญญานิมิต สังขารนิมิต วิญญาณนิมิต จักษุ ฯลฯ

พระโยคาวจรพิจารณาเห็นชราและมรณะนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิตถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ ชื่อว่า อนิมิตวิหาร พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันเป็น

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 853

มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหาร พิจารณาเห็นความถือมั่นชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ ชื่อว่า สุญญตวิหาร.

[๒๐๙] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นชราและมรณะนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตสมาบัติ พิจารณาความถือมั่นชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างเปล่า แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตสมาบัติ.

[๒๑๐] พระโยคาวจรพิจารณาเห็นชราและมรณะนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิตถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและมรณะโดยความเป็นภัย มี

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 854

จิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นความยึดมั่นชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างเปล่า แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมบัติ อนิมิตตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง สุญญตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง อนิมิตสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง วิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง สุญญตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม เป็นวิหารรัฏฐญาณ ปัญญาในความแตกต่างแห่งสมาบัติเป็นสมาปัตตัฏฐญาณ ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติเป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 855

อรรถกถาญาณัตตยานิทเทส

๒๐๒ - ๒๑๐] พึงทราบวินิจฉัยในญาณัตตยานิทเทส ดังต่อไปนี้.

บทว่า นิมิตฺตํ ได้แก่ สังขารนิมิต.

บทว่า อนิมิตฺเต ได้แก่ นิพพานอันเป็นปฏิปักษ์กับสังขารนิมิต.

บทว่า อธิมุตฺตตฺตา.เพราะจิตน้อมไป คือ เพราะปล่อยจิตไปด้วยความน้อมไปในนิพพานนั้น.

บทว่า ผุสฺส ผุสฺส วยํ ปสฺสติ - ถูกต้องแล้ว ถูกต้องแล้ว ย่อมเห็นความเสื่อม คือ ถูกต้องแล้ว ถูกต้องแล้ว ซึ่งสังขารนิมิตด้วยญาณ ย่อมเห็นความเสื่อมไปแห่งสังขารนิมิตนั้น ด้วยวิปัสสนาญาณ. ด้วยบทนี้เป็นอันสำเร็จถึงภังคานุปัสนาญาณ. ภังคานุปัสนานั้น ยังอนิจจานุปัสนาให้สำเร็จ. อนิจจานุปัสนา ยังทุกขานุปัสนาให้สำเร็จ เพราะสิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์. ทุกขานุปัสนานั้น ยังอนัตตานุปัสนาให้สำเร็จ เพราะสิ่งที่เป็นทุกข์เป็นอนัตตา. เพราะเหตุนั้นเป็นอันท่านกล่าวถึงอนุปัสนา ๓ ในบทนี้ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อนิมิตฺโต วิหาโร - วิหารธรรมชื่อว่าอนิมิตวิหาร คือ วิหารธรรมอันเป็นหมวด ๓ แห่งวิปัสสนานั้น ชื่อว่าอนิมิตวิหาร

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 856

เพราะเหตุนิมิตโดยความเป็นภัย.

บทว่า ปณิธึ ได้แก่ ตัณหา.

บทว่า อปฺปณิหิเต - ในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง คือ ในนิพพานอันเป็นปฏิปักษ์ของตัณหา.

บทว่า อภินิเวสํ ได้แก่ การถือมั่นตัวตน.

บทว่า สุญฺเต ได้แก่ นิพพานอันว่างจากตัวตน.

บทว่า สุญฺโต คือ ความสูญนั่นแหละ ชื่อว่า สุญญตวิหาร.

บทว่า ปวตฺตํ อชฺฌุเปกฺขิตฺวา - เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คือ เพิกเฉยความเป็นไปอันเป็นวิบากด้วยความวางเฉยในสังขาร. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้พอใจความเป็นไปอันเป็นวิบากกล่าวคือ สุคติ. แต่พระโยคาวจรนี้ประสงค์จะเข้าผลสมาบัติ เห็นความเป็นไปแม้นั้นและสังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเพิกเฉยเสีย. เพราะว่าครั้นเห็นอย่างนี้แล้วย่อมสามารถเข้าผลสมาบัติได้. ไม่สามารถเข้าได้โดย ประการอื่น.

บทว่า อาวชฺชิตฺวา - พิจารณาแล้ว คือ พิจารณาด้วยอาวัชชนะ.

บทว่า สมาปชฺชติ - คือ ย่อมเข้าถึงผลสมาบัติ.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 857

บทว่า อนิมิตฺตา สมาปตฺติ - สมาบัติอันหานิมิตมิได้ คือ ชื่อว่าสมาบัติอันไม่มีนิมิต เพราะเห็นนิมิตโดยความเป็นภัยแล้วเข้าถึง.

บทว่า อนิมิตฺตวิหารสมาปตติ - วิหารสมาบัติอันหานิมิตมิได้ คือ มีเป็นสองอย่างด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาวิหาร และด้วยอำนาจแห่งผลมาบัติ.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะจำแนกสังขารนิมิตแล้วแสดงจึงกล่าวบทมีอาทิว่า รูปนิมิตฺตํ. ควรจะกล่าวในการถือเอาชราและมรณะ ท่านกล่าวไว้ก่อนแล้ว. เมื่อกล่าวด้วยบทมีอาทิว่า อญฺโ อนิมิตฺตวิหาโร อนิมิตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง พระสารีบุตรเถระแสดงสรุปไว้แล้ว. ญาณในความต่างวิปัสสนาวิหารของผู้ตั้งอยู่ในสังขารุเบกขาญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งผลสมาบัติ ชื่อว่าวิหารัฏฐญาณ ญาณในความต่างกันแห่งผลมาบัติ ชื่อว่าสมาปัตตัฏฐญาณ. ญาณในความต่างกันทั้งสองอย่างนั้น ชื่อว่าวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ

พระโยคาวจรผู้ประสงค์จะน้อมไปด้วยวิปัสสนาวิหาร ย่อมยังวิปัสสนาวิหารให้เป็นไป. ประสงค์ยังจะน้อมไปด้วยผลสมาบัติวิหารขวนขวายไปตามลำดับของวิปัสสนา ย่อมยังผลสมาบัติให้เป็นไป. ประสงค์จะน้อมไปด้วยทั้งสองอย่างนั้น ย่อมยังทั้งสองอย่างนั้นให้เป็นไป. มี ๓

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 858

อย่างด้วยประสงค์ถึงบุคคล ด้วยประการฉะนี้. บทที่เหลืออันควรกล่าวไว้ในที่นี้ท่านกล่าวไว้แล้วในการพรรณนาถึงสังขารุเบกขาญาณแล.

จบ อรรถกถาญาณัตตยนิทเทส