พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40923
อ่าน  590

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 858

อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส

อรรถกถาอานันตริกสมาธิญาณนิทเทส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 858

อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส

[๒๑๑] ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณอย่างไร?

เอกัคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ ญาณเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธินั้น อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิ อันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ.

[๒๑๒] คำว่า อาสวา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่านั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ.

อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ แต่ละอย่าง อันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งโสดา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 859

ปัตติมรรคนี้ กามาสวะส่วนหยาบ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้นย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้ กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้ ภวาสวะ อวิชชาทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคนี้.

[๒๑๓] เอกัคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งความไม่พยาบาท ฯลฯ ด้วยสามารถแห่งอาโลกสัญญา ด้วยสามารถแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งการกำหนดธรรม ด้วยสามารถแห่งญาณ ด้วยสามารถแห่งความปราโมทย์

ด้วยสามารถแห่งปฐมฌาน ด้วยสามารถแห่งทุติยฌาน ด้วยสามารถแห่งตติยฌาน ด้วยสามารถแห่งจตุตถฌาน ด้วยสามารถแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ ด้วยสามารถแห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ด้วยสามารถแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ ด้วยสามารถแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ.

ด้วยสามารถแห่งปฐวีกสิณ ด้วยสามารถแห่งอาโปกสิณ ด้วยสามารถแห่งเตโชกสิณ ด้วยสามารถแห่งวาโยกสิณ ด้วยสามารถแห่งนีลกสิณ ด้วยสามารถแห่งปีตกสิณ ด้วยสามารถแห่งโลหิตกสิณ ด้วย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 860

สามารถแห่งโอทาตกสิณ ด้วยสามารถแห่งอากาสกสิณ ด้วยสามารถแห่งวิญญาณกสิณ

ด้วยสามารถแห่งพุทธานุสติ ด้วยสามารถแห่งธรรมานุสติ ด้วยสามารถแห่งสังฆานุสติ ด้วยสามารถแห่งสีลานุสติ ด้วยสามารถแห่งจาคานุสติ ด้วยสามารถแห่งเทวตานุสติ ด้วยสามารถแห่งอานาปานสติ ด้วยสามารถแห่งมรณสติ ด้วยสามารถแห่งกายคตาสติ ด้วยสามารถแห่งอุปสมานุสติ

ด้วยสามารถแห่งอุทธุมาตกสัญญา ด้วยสามารถแห่งวินีลกสัญญา ด้วยสามารถแห่งวิปุพพกสัญญา ด้วยสามารถแห่งวิฉิททกสัญญา ด้วยสามารถแห่งวิกขายิตกสัญญา ด้วยสามารถแห่งวิกขิตตกสัญญา ด้วยด้วยสามารถแห่งหตวิกขิตตกสัญญา ด้วยสามารถแห่งโลหิตกสัญญา ด้วยสามารถแห่งปุฬุวกสัญญา ด้วยสามารถแห่วอัฏฐิกสัญญา

ด้วยสามารถแห่งการหายใจเข้ายาว

ด้วยสามารถแห่งการหายใจออกยาว

ด้วยสามารถแห่งการหายใจเข้าสั้น

ด้วยสามารถแห่งการหายใจออกสั้น

ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก

ด้วยสามารถแห่งความระงับกายสังขารหายใจเข้า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 861

ด้วยสามารถแห่งความระงับกายสังขารหายใจออก

ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งปีติหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งปีติหายใจออก

ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งสุขหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งสุขหายใจออก

ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจออก

ด้วยสามารถแห่งความระงับจิตสังขารหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งความระงับจิตตสังขารหายใจออก

ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งจิตหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งความรู้แจ้งจิตหายใจออก

ด้วยสามารถแห่งความทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งความทำจิตให้บันเทิงหายใจออก

ด้วยสามารถแห่งความตั้งจิตไว้หายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งความตั้งจิตไว้หายใจออก

ด้วยสามารถแห่งความเปลื้องจิตหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งความเปลื้องจิตหายใจออก

ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจออก

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 862

ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจออก

ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความดับหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความดับหายใจออก

ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า

ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก

เป็นสมาธิแต่ละอย่างๆ ญาณย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธินั้น อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาดเพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ.

[๒๑๔] คำว่า อาสวา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่านั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ.

อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันเป็นเหตุให้ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งโสดาปัตติมรรคนี้.

กามาสวะส่วนหยาบ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 863

กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้.

ภวาสวะ อวิชชาสวะ ย่อมในรูปไม่มีส่วนเหลือด้วยอรหัตตมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคนี้.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ.

อรรถกถาอานันตริกสมาธิญาณนิทเทส

๒๑๑ - ๒๑๔] พึงทราบวินิจฉัยในอานันตริกสมาธิญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้.

ในบทมีอาทิว่า เนกฺขมฺมวเสน - ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะมีอธิบายดังต่อไปนี้ ธรรมทั้งหลาย คือ เนกขัมมะ อัพยาบาท อาโลกสัญญา การกำหนดธรรมที่ไม่ฟุ้งซ่าน ญาณและปราโมทย์ประกอบด้วยอุปจารฌาน ของพระสุกขวิปัสสก เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสนั้นๆ สัมปยุตด้วยจิตดวงเดียวเท่านั้น.

บทว่า จิตฺตสฺส เอกคฺคตา อวิกฺเขโป - เอกัคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่าน คือ ความเป็นจิตเลิศดวงเดียว ชื่อว่า เอกัคตา. ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 864

อวิกเขปะ เพราะจิตไม่ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ด้วยเอกัคตานั้น. อธิบายว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน กล่าวคือ ความที่จิตเป็นเอกัคตา.

บทว่า สมาธิ ความว่า ชื่อว่าสมาธิ เพราะจิตตั้งอยู่เสมอในอารมณ์เดียว.

บทว่า ตสฺส สมาธิสฺส วเสน - ด้วยอำนาจแห่งสมาธินั้น คือ ด้วยอำนาจแห่งสมาธิมีประการดังกล่าวแล้ว เพราะรู้ตามความเป็นจริงแห่งจิตตั้งมั่นแล้ว ด้วยอุปจารสมาธิ.

บทว่า อุปฺปชฺชติ าณํ - ญาณย่อมเกิดขึ้น คือ มรรคญาณย่อมเกิดขึ้นตามลำดับ.

บทว่า ขียนฺติ - ย่อมสิ้นไป ด้วยสามารถการตัดขาด.

บทว่า อิติ เป็นบทสรุปอรรถมีประการดังกล่าวแล้ว.

บทว่า ปมํ สมโถ - สมถะมีก่อน คือ สมาธิย่อมมีในส่วนเบื้องต้น.

บทว่า ปจฺฉา ฌาณํ - ญาณมีภายหลัง คือ ญาณย่อมมีในขณะมรรค ในส่วนหลัง.

บทว่า กามาสโว - กามาสวะ คือ ราคะประกอบด้วยกามคุณ.

บทว่า ภวาสโว - ภวาสวะ คือ ฉันทราคะในรูปภพ อรูปภพ ความใคร่ในฌาน ราคะเกิดร่วมกับสัสสตทิฏฐิ ความปรารถนาด้วยสามารถแห่งภพ.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 865

บทว่า ทิฏฺาสโว - ทิฏฐาสวะ คือ ทิฏฐิ ๖๒.

บทว่า อวิชฺชาสโว - อวิชฺชาสวะ คือ ความไม่รู้ในฐานะ ๘ มีทุกข์เป็นต้น. ท่านทำคำถามตามโอกาสด้วยสัตตมีวิภัตติ แล้วแสดงความสิ้นอาสวะด้วยมรรค ทำความสิ้นอาสวะด้วยบทมีอาทิว่า โสตาปตฺติมคฺเตน - ด้วยโสดาปัตติมรรค แล้วจึงทำคำตอบตามโอกาสด้วย

บทว่า เอตฺถ. ท่านอธิบายว่า ในขณะแห่งมรรค.

บทว่า อนวเสโส - ไม่มีส่วนเหลือ คือ อาสวะไม่มีส่วนเหลือ ชื่อว่า อนวเสสะ.

บทว่า อปายคมนีโย - อันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ได้แก่ นรก กำเนิดเดียรัจฉาน เปรตวิสัยและอสุรกายทั้ง ๔ นี้ ชื่อว่า อบาย เพราะปราศจากความเจริญ คือความสุข.

ชื่อว่า อปายคมนีโย เพราะอรรถว่ายังบุคคลที่มีอาสวะให้ไปสู่อบาย. ท่านกล่าวอาสวักขยกถาไว้แล้วในทุภโตวุฏฐานกถา.

บทว่า อวิกฺเขปวเสน - ด้วยสามารถแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน คือ ด้วยสามารถแห่งสมาธิเป็นอุปนิสัยแห่งสมาธิอันเป็นไปอยู่.

ในบทว่า ปฐวีกสิณวเสน - ด้วยสามารถแห่งปฐวีกสิณ เป็นอาทิมีความดังต่อไปนี้ ท่านกล่าวถึงกสิณ ๑๐ ด้วยสามารถแห่งอัปปนาสมาธิอันมีกสิณเป็นอารมณ์. ท่านกล่าวพุทธานุสติเป็นต้น มรณสติ และอุปสมานุสติ ด้วยสามารถแห่งอุปจารฌาน. ท่านกล่าวอานาปาน

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 866

สติ และกายคตาสติ ด้วยสามารถแห่งอัปปนาสมาธิ. ท่านกล่าวอสุภะ ๑๐ ด้วยสามารถแห่งปฐมฌาน.

การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภพระพุทธเจ้า ชื่อว่า พุทธานุสติ. พุทธานุสตินี้เป็นชื่อของสติมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์มีอาทิว่า อิติปิ โส ภควา อรหํ. (๑) ด้วยสามารถแห่งพุทธานุสตินั้น.

อนึ่ง การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภพระธรรม ชื่อว่า ธรรมานุสติ. ธรรมนานุสตินี้ เป็นชื่อของสติมีพระธรรมคุณเป็นอารมณ์มีอาทิว่า สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม (๑) . การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภพระสงฆ์ ชื่อว่า สังฆานุสติ. สังฆานุสตินี้เป็นชื่อของสติมีพระสังฆคุณเป็นอารมณ์มีอาทิว่า สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ (๑) .

การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภศีล ชื่อว่า สีลานุสติ. สีลานุสตินี้เป็นชื่อของสติมีคุณของศีล คือ ความที่ศีลไม่ขาดเป็นต้นเป็นอารมณ์.

การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภจาคะ ชื่อว่า จาคานุสติ. จาคานุสตินี้เป็นชื่อของสติมีคุณของการบริจาค คือ ความเป็นผู้เสียสละเป็นต้น เป็นอารมณ์.

การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภเทวดาทั้งหลาย ชื่อว่า เทวตานุสติ. เทวตานุสตินี้เป็นชื่อของสติมีคุณคือศรัทธาเป็นต้นของตนเป็นอารมณ์


๑. ม. มู. ๑๒/๙๕.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 867

ตั้งเทวดาไว้ในที่เผชิญหน้า.

สติเกิดขึ้นปรารภอานาปานะ - หายใจเข้าหายใจออก ชื่อว่า อานาปานสติ. อานาปานสตินี้เป็นชื่อของสติมีอานาปานนิมิตเป็นอารมณ์.

สติเกิดขึ้นปรารภความตาย ชื่อว่า มรณสติ. มรณสตินี้เป็นชื่อของสติมีมรณะ กล่าวคือ การตัดชีวิตินทรีย์อันนับเนื่องในภพหนึ่งเป็นอารมณ์.

สติเป็นไปในสรีระที่เรียกว่า กาย เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งสิ่งปฏิกูลทั้งหลายมีผมเป็นต้นอันน่าเกลียด. หรือไปสู่กายเช่นนั้น ชื่อว่า กายคตาสติ. เมื่อควรจะกล่าวว่า กายคตาสติ ท่านไม่ทำเป็นรัสสะ กล่าวว่า กายคตสติ. แม้ในที่นี้ก็เหมือนกัน ท่านกล่าวว่า กายคตาสติวเสน กายคตาสตินี้เป็นชื่อของสติมีปฏิกูลนิมิต ในส่วนของกายมีผมเป็นต้น เป็นอารมณ์.

การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภอุปสมะ - ความสงบ ชื่อว่า อุปสมานุสติ. อุปสมานุสตินี้เป็นชื่อของสติมีการสงบทุกข์ทั้งปวงเป็นอารมณ์.

อสุภะ ๑๐ มีอรรถได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง.

เพื่อแสดงถึงประเภทของอัปปนาสมาธิและอุปจารสมาธิ ท่านจึงกล่าว ทีฆํ อสฺสาสวเสน ด้วยสามารถแห่งการหายใจเข้ายาว คือ ด้วยสามารถแห่งการหายใจเข้า ที่ท่านกล่าวแล้วว่า ทีฆํ - ยาว.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 868

ดังที่ท่านกล่าวว่า ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต ทีฆํ อสฺสสามีติ ปชานาติ- เมื่อหายใจเข้ายาวย่อมรู้ว่า เราหายใจเข้ายาว. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้.

บทว่า ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ - การระงับกายสังขาร คือ ระงับ คือ สงบกายสังขาร อันได้แก่การหายใจเข้าและการหายใจออกอย่างหยาบ. ท่านกล่าวอัปปนาสมาธิ ด้วยหมวด ๔ นี้ คือ ทีฆํ - ยาว ๑ รสฺสํ - สั้น ๑ รู้แจ้งกายทั้งปวง ๑ ระงับกายสังขาร ๑.

บทว่า ปีติปฏิสํเวที - รู้แจ้งปีติ คือ ทำปีติให้ปรากฏ.

บทว่า จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที - รู้เจ้าจิตตสังขาร คือ ทำจิตตสังขาร อันได้แก่ สัญญา เวทนา ให้ปรากฏ.

บทว่า อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ - ทำจิตให้บันเทิง.

บทว่า สมาทหํ จิตฺตํ - ความตั้งจิตไว้ คือ ตั้งจิตไว้เสมอในอารมณ์.

บทว่า วิโมจยํ จิตฺตํ - ความเปลื้องจิต คือ เปลื้องจิตจากนิวรณ์เป็นต้น.

ท่านกล่าวหมวด ๔ คือ ปีติปฏิสํเวที - รู้แจ้งปีติ ๑ สุขปฏิสํเวที - รู้แจ้งสุข ๑ จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที - รู้แจ้งจิตตสังขาร ๑ ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ ระงับจิตสังขาร ๑.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 869

และหมวด ๔ คือ จิตฺตปฏิสํเวที - รู้แจ้งจิต ๑ อภิปฺปุโมทยํ จิตฺตํ - ทำจิตให้บันเทิง ๑ สมาทหํ จิตฺตํ - ความตั้งจิตไว้ ๑ วิโมจยํ จิตฺตํ - ความเปลื้องจิต ๑ ด้วยอัปปนาสมาธิ และด้วยสมาธิสัมปยุตด้วยวิปัสสนา.

บทว่า อนิจฺจานุปสฺสี - การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง คือ ท่านกล่าวด้วยสามารถการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง.

บทว่า วิราคานุปสฺสี - การพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด คือ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย.

บทว่า นิโรธานุปสิสี - การพิจารณาเห็นความดับ คือ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งการทำลาย.

บทว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี - การพิจารณาเห็นความสละคืน ท่านกล่าวด้วยสามารถวุฏฐานคามินีวิปัสสนา - เห็นแจ้งการออกไป.

จริงอยู่ การพิจารณาเห็นความสละคืนนั้น ย่อมสละกิเลสกับด้วยขันธาภิสังขาร ด้วยสามารถตทังคะ อนึ่ง ย่อมแล่นไปเพราะน้อมจิตไปในนิพพาน อันตรงกันข้ามกับกิเลสนั้น ด้วยเห็นโทษในสังขตธรรม. ท่านกล่าวหมวด ๔ นี้ ด้วยสามารถแห่งสมาธิอันสัมปยุตด้วยวิปัสสนา.

อนึ่ง ในบทนี้ว่า อสฺสาสวเสน ปสฺสาสวเสน - ด้วยสามารถแห่งการหายใจเข้า ด้วยสามารถแห่งการหายใจออก ท่านกล่าวถือเอา

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 870

เพียงความเป็นไปแห่งการหายใจเข้าและการหายใจออก มิใช่กล่าวถึงด้วยสามารถการทำหายใจเข้าหายใจออกเป็นอารมณ์. ส่วนความพิสดารในบทนี้จักมีแจ้งในอานาปานกถา.

จบ อรรถกถาอานันตริกสมาธิญาณนิทเทส