พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรณวิหารญาณนิทเทส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40924
อ่าน  391

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 870

อรณวิหารญาณนิทเทส

๓๓. อรรถกถาอรณวิหารญาณนิทเทส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 870

อรณวิหารญาณนิทเทส

[๒๑๕] ทัสนาธิปไตย วิหาราธิคมอันสงบ และปัญญาในความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีต เป็นอรณวิหารญาณอย่างไร?

คำว่า ทสฺสนาธิปเตยฺยํ ความว่า อนิจจานุปัสนา ทุกขานุปัสนา อนัตตานุปัสนา การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง การพิจารณาเห็นความทุกข์ การพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ เป็นทัสนาธิปไตยแต่ละอย่างๆ.

[๒๑๖] คำว่า สนฺโต จ วิหาราธิคโม ความว่า สุญญตวิหาร อนิมิตวิหาร อัปปณิหิตวิหาร เป็นวิหาราธิคมอันสงบแต่ละ อย่างๆ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 871

คำว่า ปณีตาธิมุตฺตตา ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในธรรมอันว่างเปล่า ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในธรรมอันไม่มีนิมิต ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในธรรมอันไม่มีที่ตั้ง และความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีตและอย่างๆ

คำว่า อรณวิหาโร ความว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญาตนสมาบัติ เป็นอรณวิหารแต่ละอย่างๆ.

คำว่า อรณวิหาโร ความว่า ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะอรรถว่ากระไร ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะอรรถว่า นำเสียซึ่งนิวรณด้วยปฐมฌาน นำเสียซึ่งวิตกวิจารด้วยททุติยฌาน นำเสียซึ่งปีติด้วยตติยฌาน นำเสียซึ่งสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน นำเสียซึ่งรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ นำเสียซึ่งอากาสานัญจายตนสัญญา ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ นำเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนสัญญา ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ นำเสียซึ่งอากิญจัญญายตนสัญญา ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าอรณวิหาร.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ทัสนาธิปไตย วิหาราธิคมอันสงบ และปัญญาในความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีต เป็นอรณวิหารญาณ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 872

๓๓. อรรถกถาอรณวิหารญาณนิทเทส

๒๑๕ - ๒๑๖] พึงทราบวินิจฉัยในอรณวิหารญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้. อนิจจานุปัสนาเป็นต้น มีเนื้อความได้กล่าวไว้แล้ว.

บทว่า สุฺโต วิหาโร - สุญญตวิหาร ได้แก่ อรหัตตผลสมาบัติอันเป็นไปแล้วโดยอาการแห่งสุญญตะคือความว่างเปล่าของผู้ตั้งอยู่ในอนัตตานุปัสนา.

บทว่า อนิมิตฺโต วิหาโร - อนิมิตวิหาร ได้แก่ อรหัตตผลสมาบัติอันเป็นไปแล้วโดยอาการแห่งอนิมิตตะ คือไม่มีนิมิตของผู้ตั้งอยู่ในอนิจจานุปัสนา.

บทว่า อปฺปณิหิโต วิหาโร - อัปปณิหิตวิหาร ได้แก่ อรหัตตผลสมาบัติโดยอาการแห่งอัปปณิหิตะ คือ ไม่ตั้งอยู่ของผู้ตั้งอยู่ในทุกขานุปัสนา.

บทว่า สุญฺเต อธิมุตฺตตา ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในธรรมอันว่างเปล่า ได้แก่ ความที่จิตน้อมไปในธรรมชาติอันว่างเปล่า ด้วยสามารถแห่งปัญญาอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งผลสมาบัติ. แม้ในสองบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ด้วยบทมีอาทิว่า ปมํ ฌานํ - ปฐมฌาน ท่านกล่าวถึงฌานสมาบัติอันเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาของผู้ใคร่เพื่อจะเข้าถึงอรหัตตผล

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 873

สมาบัติ. จริงอยู่ วิปัสสนาผลสมาบัติ และฌานสมาบัติอันน้อมไปเพื่อความประณีตของพระอรหันต์เท่านั้น ย่อมควรเพื่อกล่าวว่า อรณวิหาร คือความสงบ ความหมดทุกข์ เพราะละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว.

บทว่า ปเมน ฌาเนน นีวรเณ หรตีติ อรณวิหาโร - ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะนำออกเสียซึ่งนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน. อธิบายว่า ปฐมฌานนั้นชื่อว่าอรณวิหาร เพราะองค์ประกอบแห่งปฐมฌาน ย่อมนำออกเสียซึ่งนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. พึงทราบว่าท่านกล่าวถึงปฐมฌานนำออกเสียซึ่งนิวรณ์ เพราะปฐมฌานเป็นปฏิปักษ์ต่อนิวรณ์ แม้พระอรหันต์จะไม่มีนิวรณ์.

หากถามว่า เพราะเหตุไรท่านจึงยกอรณวิหารญาณขึ้นแสดง ๓ อย่างด้วยสามารถแห่งการน้อมไป เพื่อความประณีตแห่งวิปัสสนา ผล และสมาบัติแล้วชี้แจงว่าฌานสมาบัตินั่นแหละเป็นอรณวิหาร. ตอบว่า ๓ อย่างนั้นสำเร็จแล้ว เพราะอรณวิหาร ด้วยสามารถอุทเทส. ความที่ฌานสมาบัติอันเป็นภูมิของผลสมาบัติและวิปัสสนา เมื่อท่านไม่กล่าวไว้ ก็ย่อมไม่สำเร็จ. เพราะฉะนั้น เพื่อยังอรณวิหารที่ไม่สำเร็จนั่นแหละให้สำเร็จ พึงทราบว่า ท่านกล่าวบทมีอาทิว่า ปฐมฌานเป็นอรณวิหาร.

จริงอยู่ ความที่ฌานสมาบัติเหล่านั้นเป็นอรณวิหาร แม้ไม่สำเร็จด้วยสามารถแห่งอุทเทส ก็เป็นอันสำเร็จได้ เพราะท่านกล่าวไว้

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 874

แล้วในนิทเทส. อีกอย่างหนึ่ง โดยนัยที่ท่านประกอบอรณวิหารไว้แล้ว พึงประกอบแล้วถือเอาดังนี้ อนิจจานุปัสนา ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะนำออกเสียซึ่งนิจสัญญา. ทุกขานุปัสนา ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะนำออกเสียซึ่งสุขสัญญา. อนัตตานุปัสนา ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะนำออกเสียซึ่งอัตสัญญา. สุญญตวิหาร ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะนำออกเสียซึ่งความไม่ว่างเปล่า อนิมิตวิหาร ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะนำออกเสียซึ่งนิมิต. อัปปณิหิตวิหาร ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะนำออกเสียซึ่งความตั้งไว้. สุญฺาธิมุตฺตตา - ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในธรรมอันว่างเปล่า ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะนำออกเสียซึ่งความน้อมไปในธรรมอันไม่ว่างเปล่า. อนิมิตฺตาธิมุตฺตตา - ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในธรรมอันไม่มีนิมิต. ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะนำออกเสียซึ่งความน้อมไปในธรรมอันมีนิมิต. อปฺปณิหิตาธิมุตฺตตา - ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในธรรมอันไม่มีที่ตั้ง ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะนำออกเสียซึ่งความน้อมไปในธรรมอันมีที่ตั้ง.

จบ อรรถกถาอรณวิหารญาณนิทเทส