พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

นิโรธสมาปัตติญาณนิเทส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40925
อ่าน  485

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 875

นิโรธสมาปัตติญาณนิเทส

๓๔. อรรถกถานิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 875

นิโรธสมาปัตติญาณนิเทส

[๒๑๗] ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ ด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖ และ ด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นนิโรธสมาปัตติญาณอย่างไร?

คำว่า ด้วยพละ ๒ ความว่า พละ ๒ คือสมถพละ ๑ วิปัสสนาพละ ๑.

[๒๑๘] สมถพละเป็นไฉน? ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ ด้วยสามารถแห่งความไม่พยาบาท ด้วยสามารถแห่งอาโลกสัญญา ด้วยสามารถแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก เป็นสมถพละแต่ละอย่างๆ.

[๒๑๙] คำว่า สมถพลํ ความว่า ชื่อว่าสมถพละ เพราะอรรถว่ากระไร?

ชื่อว่าสมถพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวเพราะนิวรณ์ ด้วยปฐมฌาน ไม่หวั่นไหวเพราะวิตกวิจาร ด้วยทุติยฌาน ไม่หวั่นไหวเพราะปีติ ด้วยตติยฌาน ไม่หวั่นไหวเพราะสุขและทุกข์ ด้วยจตุตถฌาน ไม่หวั่นไหวเพราะรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 876

นัญจายตนสมาบัติ ไม่หวั่นไหวเพราะอากาสานัญจายตนสัญญา ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ไม่หวั่นไหวเพราะอากิญจัญญายตนสัญญา ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ไม่หวั่นไหว ไม่กวัดแกว่ง ไม่คลอนแคลน เพราะอุทธัจจะ เพราะกิเลสอันสหรคตด้วยอุทธัจจะ และเพราะขันธ์ นี้ชื่อว่าสมถพละ.

[๒๒๐] วิปัสสนาพละเป็นไฉน? อนิจจานุปัสนา ทุกขานุปัสนา อนัตตานุปัสนา นิพพิทานุปัสนา วิราคานุปัสนา นิโรธานุปัสนา ปฏินิสสัคคานุปัสนา การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูป ฯลฯ ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะ เป็นวิปัสสนาพละแต่ละอย่างๆ.

[๒๒๑] คำว่า วิปสฺสนาพลํ ความว่า ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะอรรถว่ากระไร?

ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวเพราะนิจสัญญา ด้วยอนิจจานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะสุขสัญญา ด้วยทุกขานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะอัตสัญญา ด้วยอนัตตานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพระความเพลิดเพลิน ด้วยนิพพิทานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะความกำหนัด ด้วยวิราคานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะสมุทัย ด้วย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 877

นิโรธานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะความถือมั่น ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสนา ไม่หวั่นไหว ไม่กวัดแกว่ง ไม่คลอนแคลน เพราะอวิชชา เพราะกิเลสอันสหรคตด้วยอวิชชา และเพราะขันธ์ นี้ชื่อว่าวิปัสสนาพละ.

[๒๒๒] คำว่า ด้วยการระงับสังขาร ๓ ความว่า ด้วยการระงับสังขาร ๓ เป็นไฉน? วิตกวิจารเป็นวจีสังขารของท่านผู้เข้าทุติยฌานระงับไป ลมอัสสาสะปัสสาสะเป็นกายสังขารของท่านผู้เข้าจตุตถฌานระงับไป สัญญาและเวทนาเป็นจิตตสังขารของท่านผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ระงับไปด้วยการระงับสังขาร ๓ เหล่านี้.

[๒๒๓] คำว่า ด้วยญาณจริยา ๑๖ ความว่า ด้วยญาณจริยา ๑๖ เป็นไฉน? อนิจจานุปัสนา ทุกขานุปัสนา อนัตตานุปัสนา นิพพิทานุปัสนา วิราคานุปัสนา นิโรธานุปัสนา ปฏินิสสัคคานุปัสนา วิวัฏฏนานุปัสนา โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลสมาบัติ สกทาคามิมรรค สกทาคามิผลสมาบัติ อนาคามิมรรค อนาคามิผลสมาบัติ อรหัตตมรรค อรหัตตผลสมาบัติ เป็นญาณจริยาแต่ละอย่างๆ ด้วยญาณจริยา ๑๖ นี้.

[๒๒๔] คำว่า ด้วยสมาธิจริยา ๙ ความว่า ด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นไฉน? ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นสมาธิจริยาแต่ละอย่างๆ วิตกวิจาร

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 878

ปีติ สุข และเอกัคตาจิต เพื่อประโยชน์แก่การได้ปฐมฌาน ฯลฯ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกกัคตาจิต เพื่อประโยชน์แก่การได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ด้วยสมาธิจริยา ๙ นี้.

[๒๒๕] คำว่า วสี ความว่า วสี ๕ ประการ คือ อาวัชชนาวสี ๑ สมาปัชชนาวสี ๑ อธิษฐานวสี ๑ วุฏฐานวสี ๑ ปัจจเวกขณวสี ๑.

สมาปัตติลาภีบุคคลคำนึงถึงปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการคำนึงถึง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าอาวัชชนาวสี สมาปัตติลาภีบุคคลเข้าปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการเข้า เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสมาปัชชนาวสี สมาปัตติลาภีบุคคล อธิษฐานปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการอธิษฐาน เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าอธิษฐานวสี สมาปัตติลาภีบุคคลออกปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นข้าในการออก เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าวุฏฐานวสี สมาปัตติลาภีบุคคลพิจารณาปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าปัจจเวกขณวสี สมาปัตติลาภีบุคคลคำนึงถึงทุติยฌาน ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการคำนึงถึง เพราะเหตุนั้นจึง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 879

ชื่อว่าอาวัชชนาวสี สมาปัตติลาภีบุคคลเข้า ฯลฯ อธิษฐานออก พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ปัจจเวกขณวสี วสี ๕ ประการนี้.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ ด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖ และด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นนิโรธสมาปัตติญาณ.

๓๔. อรรถกถานิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส

๒๑๗ - ๒๒๕] พึงทราบวินิจฉัยในนิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้.

บทว่า สมถพลํ - สมถพละ ความว่า ชื่อว่า สมถะ เพราะอรรถว่า สงบธรรมเป็นข้าศึกมีกามฉันทะเป็นต้น. สมถะนั่นแหละ ชื่อว่าเป็นพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว. เพราะพระอนาคามีและพระอรหันต์นั่นแหละเป็นผู้ถึงความเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ ด้วยการละกามฉันทะอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสมาธิ ท่านจึงทำสมาธิของพระ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 880

อนาคามีและพระอรหันต์เหล่านั้นว่า พลปฺปตฺโต - ผู้ถึงซึ่งกำลัง แล้วจึงกล่าวว่า สมถพลํ มิใช่ของคนอื่น. ปาฐะว่า สมาธิพลํ บ้าง.

บทว่า วิปสฺสนาพลํ - วิปัสสนาพละ ความว่า ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะอรรถว่าเห็นธรรม ด้วยอาการหลายอย่างโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. วิปัสสนานั่นแหละ ชื่อว่าเป็นพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว. วิปัสสนาญาณถึงซึ่งกำลังของพระอริยเจ้าทั้งสองเหล่านั้น.

สมถพละเพื่อสงบจิตตสันดานโดยลำดับ และเพื่อดำเนินไปในนิโรธ. ส่วนวิปัสสนาพละเพื่อแสดงโทษในวัฏฏะ และเพื่อแสดงอานิสงส์ในนิโรธ.

บทว่า นีวรเณ - เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งนิมิตตสัตตมี แปลว่า ในเพราะนิวรณ์. อธิบายว่า มีนิวรณ์เป็นนิมิต มีนิวรณ์เป็นปัจจัย. หรือเป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ แปลว่า เพราะนิวรณ์.

บทว่า น กมฺปติ - -ไม่หวั่นไหว ได้แก่ บุคคลผู้มีความพร้อมในฌาน. อีกอย่างหนึ่ง สมาธิสัมปยุตด้วยฌานนั้นไม่หวั่นไหว ในเพราะนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน เพราะท่านประสงค์องค์แห่งฌานในบทว่า ฌานํ. พึงถือการประกอบนี้แหละในนิทเทสนี้.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 881

บทว่า อุทฺธจฺเจ จ - ในเพราะอุทธัจจะ คือ ในเพราะอุทธัจจะอันเป็นจิตตุปบาทสหรคตด้วยอุทธัจจะ. อนึ่งบทว่า อุทฺธจฺจํ ได้แก่ ความฟุ้งซ่าน. อุทธัจจะนั้นมีความไม่สงบเป็นลักษณะ.

บทว่า อุทฺธจฺจสหคตกิเลเส จ - ในเพราะกิเลสสหรคตด้วยอุทธัจจะ ได้แก่ ในเพราะกิเลส คือ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อันสัมปยุตด้วยอุทธัจจะ ถึงความเป็นกิเลสเกิดขึ้นร่วมกัน สหรคตด้วยอุทธัจจะ.

บทว่า ขนฺเธ จ ในเพราะขันธ์ คือ ในเพราะขันธ์ ๔ อันสัมปยุตด้วยอุทธัจจะ.

บทว่า น กมฺปติ น จลติ น เวธติ - ไม่หวั่นไหว ไม่กวัดแกว่ง ไม่คลอนแคลน เป็นไวพจน์ของกันและกัน. พึงประกอบว่า ไม่หวั่นไหวในเพราะอุทธัจจะ. ไม่กวัดแกว่ง ในเพราะกิเลส สหรคตด้วยอุทธัจจะ. ไม่คลอนแคลนในเพราะขันธ์สหรคตด้วยอุทธัจจะ. พึงทราบวิปัสสนาพละว่า เพราะท่านกล่าวอนุปัสนา ๗ วิปัสสนาพละจึงเป็นอันบริบูรณ์ด้วยอำนาจแห่งอนุปัสนานั้นนั่นเอง.

บทว่า อวิชฺชาย จ - ในเพราะอวิชชา ได้แก่ ในเพราะอวิชชาในจิตตุปบาทอันเป็นอกุศล ๑๒ อย่าง.

บทว่า อวิชฺชาสหคตกิเลเส จ - ในเพราะกิเลสสหรคตด้วยอวิชชา ได้แก่ กิเลส คือ โลภะ โทสะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อันสัมปยุตด้วยอวิชชาตามที่ประกอบไว้.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 882

บทว่า วจีสงฺขารา - วจีสังขาร ได้แก่ วิตก วิจาร. ชื่อว่า วจีสงฺขารา เพราะอรรถว่าปรุงแต่งให้เกิดวาจา เพราะบาลีว่า ดูก่อนอาวุโสวิสาขะ บุคคลตรึกตรองก่อนแล้วจึงเปล่งวาจาในภายหลัง. เพราะฉะนั้นวิตกวิจารจึงเป็นวจีสังขาร.

บทว่า กายสงฺขารา - กายสังขาร ได้แก่ ลมอัสสาสะปัสสาสะ. ชื่อว่า กายสงฺขารา (๑) เพราะอรรถว่า อันกายปรุงแต่ง เพราะบาลีว่า ดูก่อนอาวุโสวิสาขะ ธรรมเหล่านี้ คือ ลมอัสสาสะ ลมปัสสาสะอยู่ในกาย เนื่องด้วยกาย. เพราะฉะนั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ จึงเป็นกายสังขาร.

บทว่า สญฺาเวทยิตนิโรธํ - สัญญาเวทยิตนิโรธ คือ ดับสัญญาและเวทนา.

บทว่า จิตฺตสงฺขารา - จิตตสังขาร ได้แก่ สัญญาและเวทนา. ชื่อว่า จิตฺตสงฺขารา (๒) เพราะอรรถว่า อันจิตปรุงแต่ง เพราะบาลีว่า เจตสิกธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต. เพราะฉะนั้น สัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร.

ในญาณจริยาทั้งหลาย พึงทราบว่า จริยากถาอันเป็นเบื้องต้นแห่งอนุปัสนานั้น ท่านกล่าวว่าญาณจริยาด้วยสามารถแห่งอนุปัสนา หรือด้วยวิวัฏฏนานุปัสนา แม้อนุปัสนาที่เหลือก็เป็นอันถือเอาไว้.


๑. บาลีว่า กาเยน สํขริยนฺตีติ กายสงฺขารา (โดยมาก แปลว่า ปรุงแต่งกาย)

๒. จิตฺเตน สํขริยนฺตีติ จิตฺตสงฺขารา (โดยมาก แปลว่า ปรุงแต่งจิต)

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 883

บทว่า โสฬสหิ ญาณจริยาหิ - ด้วยญาณจริยา ๑๖ เป็นกำหนดอย่างอุกกฤษฏ์ เพราะพระอนาคามีเป็นผู้มีกำลังบริบูรณ์ด้วยจริยาแม้ ๑๔ จะได้บรรลุอรหัตตมรรคและอรหัตตผลต่อไป.

ในบทว่า นวหิ สมาธิจริยาหิ - ด้วยสมาธิจริยา ๙ นี้ พึงทราบความดังต่อไปนี้ จริยา ๘ ด้วยปฐมฌานเป็นต้น. จริยา ๑ ด้วยสามารถแห่งอุปจารฌานในธรรมทั้งปวงเพื่อได้ปฐมฌานเป็นต้น รวมเป็นสมาธิจริยา ๙. ถามว่า เพื่อความต่างกันแห่งพลจริยาเป็นอย่างไร? ตอบว่า แม้ในสมถพละท่านกล่าวถึงอุปจารสมาธิไว้โดยปริยาย ๗ มีอาทิว่า เนกฺขมฺมวเสน. - ด้วยอำนาจแหงเนกขัมมะ โดยความพิสดาร แห่งไปยาล คือ ละความไว้ ท่านกล่าวถึงอัปปนาสมาธิและอุปจารสมาธิตามควรด้วยวาระ ๗๐ บริบูรณ์ มีอาทิว่า ปมชฺฌานวเสน ด้วยสามารถแห่งปฐมฌาน. แม้ในสมาธิจริยาท่านก็กล่าวถึงอัปปนาสมาธิไว้โดยปริยาย ๘ มีอาทิว่า ปมํ ฌานํ.

ท่านกล่าวอุปจารสมาธิไว้โดยปริยาย ๘ มีอาทิว่า ปมํ ฌานํ ปฏิลาภตฺถาย - เพื่อประโยชน์แก่การได้ปฐมฌาน เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวอัปปนาสมาธิและอุปจารสมาธิไว้ในที่ทั้งสอง. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้นก็พึงทราบว่า ชื่อว่าพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว ชื่อว่าจริยา เพราะอรรถว่ามีความชำนาญ. อนึ่ง ในวิปัสสนาพละ ท่านกล่าวอนุปัสนา ๗ ว่าวิปัสสนาพละ. และกล่าวอนุปัสนา ๗ ไว้ในญาณจริยา.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 884

ทั้งท่านยังกล่าวอนุปัสนา ๙ มีวิวัฏฏนานุปัสนาเป็นต้น ให้แปลกออกไป. นี้เป็นความต่างกันแห่งอนุปัสนาเหล่านั้น. ส่วนอนุปัสนา ๗ พึงทราบว่า ชื่อว่าพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว ชื่อว่าจริยา เพราะอรรถว่า มีความชำนาญ. เพื่อแก้วสีที่ท่านกล่าวไว้ในบทนี้ว่า วสีภาวตา (๑) ปฺา - ปัญญาในคุวามเป็นผู้มีความชำนาญ ท่านจึงกล่าวเป็นอิตถีลิงค์ วสีติ ปญฺจ วสิโย คำว่า - วสี ๕. ท่านอธิบายว่า ความชำนาญ นั่นแหละ ชื่อว่า วสี.

พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแก้ซึ่งวสีเหล่านั้น ด้วยแสดงเป็นบุคลาธิฏฐานอีก จึงกล่าวบทมีอาทิว่า อาวชฺชนาวสี - ชำนาญในการนึก ชื่อว่า อาวชฺชนาวสี เพราะมีความชำนาญในการนึก. ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า ปมํ ฌานํ ยตฺถิจฺฉกํ - คำนึงถึงปฐมฌานได้ในที่ที่ปรารถนา ความว่า สมาปัตติลาภีบุคคลคำนึงในประเทศที่ตนปรารถนา เป็นบ้านก็ตาม ป่าก็ตาม.

บทว่า ยทิจฺฉกํ - ปรารถนาในกาลใด ความว่า คำนึงในเวลาหนาวก็ตาม ร้อนก็ตาม. อีกอย่างหนึ่ง คำนึงถึงปฐมฌานที่ปรารถนามีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ก็ตาม มีกสิณที่เหลือเป็น


๑. ขุ. ป. ๓๑/มาติกายํ.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 885

อารมณ์ก็ตาม. แก้อย่างก่อนดึกว่า เพราะท่านกล่าวถึงความเป็นผู้ชำนาญฌาน แม้มีกสิณอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ไว้แล้ว.

บทว่า ยาวติจฺฉกํ - ปรารถนาเพียงใด คือ คำนึงถึงกาลที่ปรารถนาเพียงลัดนิ้วมือเดียวหรือ ๗ วัน.

บทว่า อาวชฺชนาย - ใน การคำนึง ได้แก่ มโนทวาราวัชชนะ.

บทว่า ทนฺธายิตตฺตํ - ความเนิ่นช้า คือ ความไม่เป็นไปในอำนาจ. หรือความเกียจคร้าน.

บทว่า สมาปชฺชติ - ย่อมเข้า คือ ย่อมปฏิบัติ. อธิบายว่า ย่อมแนบแน่น.

บทว่า อธิฏฺาติ - ย่อมอธิษฐาน คือ ตั้งใจทำให้ยิ่งในภายในสมาบัติ.

บทว่า ปมํ ฌานํ ในวุฏฐานวสี เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งปัญจมีวัตติ แปลว่า จากปฐมฌาน.

บทว่า ปจฺจเวกขติ - ย่อมพิจารณา คือ เห็นทันทีด้วยการแล่นไปแห่งการพิจารณา. นี้เป็นการพรรณนาบาลีในบทนี้.

ต่อไปนี้เป็นการชี้แจงความ เมื่อพระโยคาวจรออกจากปฐมฌาน แล้วคำนึงถึงวิตกชวนจิต ๔ หรือ ๕ ดวง มีวิตกเป็นอารมณ์ ย่อมแล่นไปในลำดับแห่งอาวัชชนจิตอันตัดภวังค์เป็นไป. แต่นั้นภวังคจิต ๒ ดวงแล่นไป. แต่นั้นอาวัชชนจิตมีวิจารเป็นอารมณ์แล่นไปโดยนัยดังกล่าว

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 886

แล้วอีก. พระโยคาวจรสามารถตั้งจิตไปในลำดับในองค์ฌาน ๕ ด้วยประการฉะนี้. คราวนี้อาวัชชนวสีของพระโยคาวจรนั้นเป็นอันสำเร็จ.

ส่วนวสีอันถึงที่สุดนี้ ย่อมได้ในยมกปาฏิหาริย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น. นอกจากนี้ไม่มีอาวัชชนวสีที่เร็วกว่า. การคำนวณในภวังควาระในลำดับๆ ไม่มีแก่ผู้อื่น. ความเป็นผู้สามารถในการเข้าสมาบัติได้เร็ว ดุจในการทรมานนันโทปนันทนาคของพระมหาโมคคัลลานเถระ ชื่อว่าสมาปัชชนวสี. ความเป็นผู้สามารถเพื่อดำรงสมาบัติตลอดขณะเพียงนิ้วมือเดียว หรือเพียง ๑๐ นิ้วมือ ชื่อว่าอธิษฐานวสี.

อนึ่ง ความเป็นผู้สามารถออกได้เร็วกว่านั้น ชื่อว่า วุฏฺานวสี. ส่วนปัจจเวกขณวสี ท่านกล่าวไว้แล้วในอาวัชชนวสีนั่นแหละ. เพราะว่าปัจจเวกขณชวนะเป็นลำดับของอาวัชชนะในอาวัชชนวสีนั้น. เป็นอันว่าปัจจเวกขณวสีสำเร็จด้วยความสำเร็จแห่งอาวัชชนวสี ด้วยประการฉะนี้. และวุฏฐานวสีเป็นอันสำเร็จด้วยความสำเร็จแห่งอธิษฐานวสี.

แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ ความเป็นผู้สามารถในการยังอาวัชชนะให้เป็นไปโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในกสิณนั้นเร็วตามชอบใจของผู้ประสงค์เพื่อจะเข้าฌานมีกสิณนั้นๆ เป็นอารมณ์ เพราะความสำเร็จด้วยสามารถกสิณต่างๆ ของผู้นิรมิตมีเพศหลายอย่างเป็นต้น เพราะไม่มีปัจจเวกขณะอันเป็นองค์ฌานในเวลาแสดงปาฏิหาริย์ เพราะท่านกล่าวไว้แล้ว

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 887

ว่า วสีอันถึงที่สุดนี้ย่อมได้ในยมกปาฏิหาริย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น ชื่อว่าอาวัชชนวสี.

ความเป็นผู้สามารถในอัปปนา และความเป็นผู้สามารถเข้าฌานนั้นๆ ในวิถีแห่งอาวัชชนะในกาลนั้น ชื่อว่าสมาปัชชนวสี. ก็เมื่อกล่าวอย่างนี้เป็นอันยุติและไม่ผิด. อนึ่งลำดับแห่งวสีย่อมควรตามลำดับนั่นเอง. อนึ่ง ในการพิจารณาองค์แห่งฌาน เพราะท่านกล่าวไว้ว่า ชวนจิต ๕ ดวงถึงที่สุดแล้ว แม้เมื่อชวนจิต ๗ ดวง แล่นไปโดยนัยดังกล่าวแล้ว ก็ย่อมเป็นปัจจเวกขณวสีเหมือนกัน.

เมื่อเป็นอย่างนั้นหากกล่าวว่า คำว่า คำนึงถึงปฐมฌาน ย่อมไม่ถูก. ท่านกล่าวฌานเป็นไปในกสิณ ว่าเป็นกสิณโดยเป็นอุปจารของเหตุ ฉันใด. ท่านกล่าวกสิณมีฌานเป็นปัจจัย ก็ฉันนั้น ว่าเป็นฌาน โดยเป็นอุปจารแห่งผล ดุจในคำมีอาทิว่า สุโข พุทธานมุปฺปาโท (๑) - การเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นความสุข. แม้เมื่อมีการก้าวลงสู่ฌานอีก ดุจในการที่บุคคลตื่นจากหลับตามกาลที่กำหนดไว้แล้วก้าวลงสู่ความหลับอีก ชื่อว่าอธิษฐานวสี. แม้เมื่อมีการอธิษฐานในการลุกขึ้นของผู้ที่ลุกขึ้นตามกาลที่กำหนด ก็ชื่อว่าวุฏฐานวาสี. นี้เป็นความต่างกันของวสีเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

เพื่อชี้แจงนิโรธสมาบัติจึงมีปัญหาดังต่อไปนี้ นิโรธสมาบัติเป็นอย่างไร. ใครเข้านิโรธสมาบัตินั้น. ใครไม่เข้า. เข้าในที่ไหน


๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๔.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 888

เพราะเหตุไรจึงเข้า. อย่างไรจึงเป็นอันเข้านิโรธสมาบัตินั้น. ตั้งอยู่อย่างไร. ออกอย่างไร. ผู้ออกมีจิตน้อมไปสู่อะไร. คนตายและคนเข้าต่างกันอย่างไร. นิโรธสมาบัติ เป็นสังขตะ หรืออสังขตะ เป็นโลกิยะ หรือโลกุตระ เป็นนิปผันนะ - สำเร็จ หรืออนิปผันนะ - ไม่สำเร็จ.

ในปัญหากรรมเหล่านั้น บทว่า กา นิโรธสมาปตฺติ - นิโรธสมาบัติเป็นอย่างไร คือ จิตเจตสิกธรรมทั้งหลายไม่เป็นไปด้วยสามารถแห่งอนุปุพพนิโรธ คือ นิโรธตามลำดับ. ชื่อว่านิโรธสมาบัติ.

บทว่า เก ตํ สมฺปชฺชนฺติ, เก น สมาปชฺชนฺติ - ใครเข้านิโรธสมาบัตินั้น ใครไม่เข้า คือ ปุถุชนแม้ทั้งหมด พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี พระอรหันต์ผู้เป็นสุกขวิปปัสสก ไม่เข้า. ส่วนพระอนาคามีผู้ได้สมาบัติ ๘ และพระขีณาสพ เข้า.

บทว่า กตฺถ สปชฺชนฺติ - เข้าในที่ไหน? คือ ในภพที่มีขันธ์ ๕. เพราะเหตุไร? เพราะมีสมาบัติตามลำดับ. ส่วนในภพ คือ ขันธ์ ๔ ปฐมฌานเป็นต้น ไม่มีการเกิดเลย. เพราะฉะนั้น จึงไม่สามารถเข้าในภพนั้นได้.

บทว่า กสฺมา สมาปชฺชนฺติ - เพราะเหตุไรจึงเข้า? คือ เป็นผู้เบื่อหน่ายในความเป็นไปของสังขารไม่คิดจะอยู่ในทิฏฐธรรม จึงเข้า ด้วยคิดว่า เราถึงนิพพานอันเป็นความดับแล้ว จักอยู่เป็นสุข.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 889

บทว่า กถญฺจสฺสา สมาปชฺชนํ โหติ - อย่างไรจึงเป็นอันเข้านิโรธสมาบัตินั้น? คือ เมื่อขวนขวายด้วยสามารถแห่งสมถวิปัสสนาแล้วทำกิจเบื้องต้น ยังเนวสัญญานาสัญญายตนะให้ดับ เป็นอันเข้านิโรธสมาบัติด้วยอาการอย่างนี้. เพราะผู้ใดขวนขวายด้วยสามารถแห่งสมถะเท่านั้น ผู้นั้นบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้วตั้งอยู่. ส่วนผู้ใดขวนขวายด้วยสามารถแห่งวิปัสสนาเท่านั้น. ผู้นั้นบรรลุผลสมาบัติแล้วตั้งอยู่. อนึ่ง ผู้ใดขวนขวายด้วยสามารถทั้งสองอย่าง ย่อมยังเนวสัญญานาสัญญายตนะให้ดับ. ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเข้าถึงนิโรธสมาบัติ นี้เป็นความสังเขปในบทนี้.

ส่วนความพิสดารพึงทราบดังต่อไปนี้ ภิกษุในศาสนานี้ประสงค์จะเข้านิโรธ ฉันอาหารเสร็จแล้ว ล้างมือและเท้า นั่งขัดสมาธิบนอาสนะที่ปูไว้อย่างดีในโอกาสอันสงัด ตั้งกายตรงดำรงสติไว้เฉพาะหน้า. ภิกษุนั้นเข้าปฐมฌาน ครั้นออกแล้วพิจารณาเห็นแจ้งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ณ ที่นั้น.

ก็วิปัสสนานั้นมี ๓ อย่าง คือ สังขารปริคคัณหนกวิปัสสนา - วิปัสสนากำหนดสังขาร ๑ ผลสมาปัตติวิปัสสนา - วิปัสสนาอันเป็นผลสมาบัติ ๑ นิโรธสมาปัตติวิปัสสนา - วิปัสนาอันเป็นนิโรธสมาบัติ ๑.

ในวิปัสสนา ๓ อย่างนั้น สังขารปริคคัณหนกวิปัสสนา จะอ่อน หรือกล้าแข็งก็ตาม ย่อมเป็นปทัฏฐานแห่งมรรคนั่นแหละ. ผลสมาปัตติ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 890

วิปัสสนากล้าแข็งเช่นกับมรรคภาวนาจึงควร. ส่วนนิโรธสมาปัตติวิปัสสนา ไม่อ่อนเกินไป ไม่กล้าแข็งเกินไปนั่นแหละจึงควร. เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงพิจารณาเห็นแจ้งสังขารเหล่านั้น ด้วยวิปัสสนาอันไม่อ่อนเกินไป ไม่กล้าแข็งเกินไป. แต่นั้นจึงเข้าตติยฌาน ฯลฯ วิญญาณัญจายตนะครั้นออกแล้วกระทำกิจเบื้องต้น ๔ อย่าง คือ.

นานาพัทธอวิโกปนะ ๑

สังฆปฏิมานนะ ๑

สัตถุปักโกสนะ ๑

อัทธานปริจเฉทะ ๑.

ในกิจ ๔ อย่างนั้น บทว่า นานาพทฺธอวิโกปนํ - ไม่ให้ของใช้ต่างๆ เสียหาย. ความว่า สิ่งใดที่ไม่เป็นของใช้เนื่องเป็นอันเดียว กันกับภิกษุนี้ เป็นของใช้ต่างๆ ที่ตั้งไว้ เช่น บาตร จีวร เตียง ตั่ง ที่อยู่อาศัย หรือแม้บริขารไรๆ อย่างอื่น, ไม่ให้ทำลายสิ่งนั้น. ไม่ให้เสียหายไปด้วย ไฟ น้ำ ลม โจร และหนูเป็นต้น โดยประการใด พึงอธิษฐานโดยประการนี้. วิธีอธิษฐานมีว่าดังนี้ ในภายใน ๗ วันนี้ ขอสิ่งนี้ๆ จงอย่าถูกไฟไหม้, อย่าถูกน้ำพัดไป. อย่าถูกลมกำจัด, อย่าถูกโจรลัก, อย่าถูกหนูกัดเป็นต้น. เมื่ออธิษฐานอย่างนี้ตลอด ๗ วันนั้นจะไม่มีอันตรายใดๆ แก่สิ่งเหล่านั้น. แต่เมื่อไม่อธิษฐาน จะเสียหายด้วยไฟเป็นต้น. นี้ชื่อว่านานาพัทธอวิโกปนะ. แต่สิ่งใดที่ใช้เนื่องเป็น

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 891

อันเดียวกัน เช่น ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ที่นั่ง ในสิ่งนั้นไม่มีกิจที่จะอธิษฐานต่างหาก. สมาบัตินั่นแลย่อมคุ้มครองสิ่งนั้นนั่นแล.

บทว่า สงฺฆปฏิมานนํ - การรอท่าสงฆ์ ได้แก่ การรอท่า คือ การเห็นภิกษุสงฆ์. อธิบายว่า ไม่ทำสังฆกรรม จนกว่าภิกษุรูปนั้นจะมา. อนึ่ง ในบทนี้การรอท่ามิใช่เป็นบุพกิจของภิกษุนี้. แต่การนึกถึง การรอท่าเป็นบุพกิจ เพราะฉะนั้นควรนึกถึงอย่างนี้ว่า หากตลอด ๗ วัน เมื่อนั่งเข้านิโรธ สงฆ์ประสงค์จะทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ในอปโลกนกรรมเป็นต้น. เราจักออกโดยภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่มาเรียกเรา. ก็ภิกษุ ทำอย่างนี้แล้วเข้าสมาบัติ ย่อมออกได้ในสมัยนั้นนั่นเอง. แต่ภิกษุใดไม่ทำอย่างนี้. ทั้งสงฆ์ก็ประชุมกันแล้ว เมื่อไม่เห็นภิกษุนั้น จึงถามว่า ภิกษุรูปโน้นไปไหน เมื่อตอบว่า กำลังเข้าสมาบัติ จึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปว่า ท่านจงไปเรียกภิกษุนั้นตามคำของสงฆ์. ลำดับนั้น เพียงคำอันภิกษุนั้นยืนอยู่ในที่ใกล้พอจะได้ยินกล่าวว่า อาวุโส สงฆ์รอท่านเท่านั้น ดังนี้ ภิกษุนั้นเป็นอันออกจากนิโรธ. เพราะว่า ชื่อว่า อาณา คืออำนาจของสงฆ์หนักถึงอย่างนี้. ฉะนั้นพึงเข้านิโรธโดยอาการที่ภิกษุนั้นนึกถึงแล้วออกจากนิโรธก่อน.

บทว่า สตฺถุ ปกิโกสนํ - พระศาสดาตรัสเรียกหา แม้ในบทนี้ การนึกถึงการเรียกหาของพระศาสดาก็เป็นบุพกิจของภิกษุนี้. เพราะฉะนั้นควรนึกถึงบุพกิจนั้นอย่างนี้ว่า หากว่า เมื่อเรานั่งเข้านิโรธตลอด

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 892

๗ วัน. พระศาสดาทรงบัญญัติสิกขาบท ในเพราะเรื่องที่ละเมิด. หรือทรงแสดงธรรมในเพราะเหตุเกิดเรื่องเห็นปานนั้น. เราจักออก โดยที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยังไม่มาเรียกเรา. ภิกษุนั่งทำอย่างนี้ย่อมออกในสมัยนั้นนั่นแหละ. อนึ่ง ภิกษุใดไม่ทำอย่างนั้น. ทั้งพระศาสดา เมื่อสงฆ์ประชุมกัน ไม่ทรงเห็นภิกษุนั้นตรัสถามว่า ภิกษุรูปนั้นไปไหน เมื่อกราบทูลว่า เข้านิโรธ จึงทรงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปว่า เธอจงไปเรียกภิกษุนั้นตามคำของเรา. ครั้นเพียงภิกษุนั้นยืนอยู่ในที่ใกล้พอได้ยินกล่าวว่า พระศาสดาตรัสเรียกหาท่านดังนี้เท่านั้น ภิกษุนั้นก็เป็นอันออกจากนิโรธ. เพราะว่าการตรัสเรียกหาของพระศาสดาถือเป็นเรื่องหนักอย่างนี้. ฉะนั้นพึงเข้านิโรธโดยอาการที่ภิกษุนั้นนึกถึง แล้วออกก่อนนั่นเทียว.

บทว่า อทฺธานปริจฺเฉโท - กำหนดกาล คือ กำหนดกาลของชีวิต. จริงอยู่ ภิกษุนี้ควรเป็นผู้ฉลาดในการกำหนดกาล. ควรนึกว่า อายุสังขารของตนจักเป็นไปได้ตลอด ๗ วัน. หรือจักเป็นไปไม่ได้แล้วเข้านิโรธ. เพราะว่าเมื่ออายุสังขารดับเสียในระหว่าง ๗ วัน. ภิกษุไม่ได้นึกถึงเข้านิโรธ. นิโรธสมาบัติของภิกษุนั้นไม่สามารถห้ามความตายได้. ภิกษุย่อมออกจากสมาบัติในระหว่างได้ เพราะในภายในนิโรธยัง ไม่มีความตาย. ฉะนั้นควรนึกถึงกาลนั้นแล้วจึงเข้านิโรธ. แม้ไม่นึกถึงกาลที่เหลือก็ควร. แต่ควรนึกถึงกาลนี้ทีเดียว. ท่านอธิบายไว้ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 893

ภิกษุนั้นเข้าอากิญจัญญายตนะอย่างนี้แล้ว ครั้นออกแล้วทำบุพกิจนี้ ย่อมเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้ ครั้นล่วงเลยวารจิตหนึ่ง หรือสองแล้วเป็นอจิตตกะ ย่อมถูกต้องนิโรธได้. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร จิตเหนือ คือเกินจิตสองดวงจึงเป็นไปไม่ได้เล่า. (๑) ตอบว่า เพราะเป็นปโยคะแห่งนิโรธ. จริงอยู่ การทำสมถะและวิปัสสนาทั้งสองของภิกษุนั้นให้เป็นยุคนัทธะคือธรรมที่เทียมคู่นี้ แล้วขึ้นสู่สมาบัติ ๘ เป็นความขวนขวายของนิโรธตามลำดับ. มิใช่เพราะเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เพราะเหตุนั้นจิตทั้งหลายจึงไม่เป็นไปเหนือจิตสองดวงเพราะเป็นปโยคะแห่งนิโรธ.

บทว่า กถํ านํ - ตั้งอยู่อย่างไร คือ ตั้งอยู่ด้วยสามารถกำหนดกาลแห่งสมาบัตินั้นที่เข้าถึงพร้อมแล้วอย่างนี้ และด้วยไม่มีอายุขัย การรอท่าของสงฆ์และการตรัสเรียกหาของพระศาสดาในระหว่าง.

บทว่า กถํ วุฏฺานํ - ออกอย่างไร ได้แก่ ออก ๒ อย่างนี้ คือ ด้วยอนาคามิผลสมาบัติ ๑ ด้วยอรหัตตผลสมาบัติของพระอรหันต์ ๑.

บทว่า วุฏฺิตสฺส กินฺนินฺนํ จิตฺตํ โหติ - จิตของผู้ออกแล้วน้อมไปสู่อะไร ความว่า น้อมไปสู่นิพพาน. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า


๑. หมายความว่า ในขณะที่จะเข้านิโรธสมาบัติ จตุตถอรูปสมาบัติเกิดขึ้น ๒ ครั้ง แล้วก็ถึงนิโรธ.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 894

ดูก่อนอาวุโสวิสาขะ จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ น้อมไปสู่วิเวก โอนไปสู่วิเวก โน้มไปสู่วิเวก. (๑)

บทว่า มตสฺส จ สมาปนฺนสฺส จ โก วิเสโส - ผู้ตายแล้วและผู้เข้านิโรธต่างกันอย่างไร ท่านกล่าวความนี้ไว้แล้วในพระสูตร. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนอาวุโส กายสังขารของผู้ตายแล้ว ถึงแต่กรรมแล้ว ดับ สงบ. วจีสังขาร จิตตสังขาร ดับ สงบ. อายุสิ้นไป. ไออุ่นสงบไป. อินทรีย์ทำลายไป. แม้กายสังขารของภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ก็ดับ สงบ. วจีสังขาร จิตตสังขาร ก็ดับ สงบ. อายุยังไม่สิ้นไป. ไออุ่นยังไม่สงบ. อินทรีย์ยังไม่ทำลาย. (๒)

ในคำถามมีอาทิว่า นิโรธสมาปตฺติ กึ สงฺขตา อสงฺขตา - นิโรธสมาบัติเป็นสังขตะหรืออสังขตะ? มีอธิบายดังต่อไปนี้ ไม่ควรกล่าวว่า เป็นสังขตะบ้าง อสังขตะบ้าง โลกิยะบ้าง โลกุตระบ้าง. เพราะเหตุไร? เพราะไม่มีโดยสภาพ. เพราะภิกษุชื่อว่าเป็นผู้เข้าถึง


๑. ม. ม. ๑๒/๕๑๐.

๒. ม. มู. ๑๒/๕๐๒.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 895

พร้อมแล้วด้วยอำนาจแห่งการเข้านิโรธ. ฉะนั้นควรกล่าวว่า เป็นนิปผันนะ คือ สำเร็จแล้ว ไม่ควรกล่าวว่า เป็นอนิปผันนะ คือ ยังไม่สำเร็จ.

สมาบัติอันสงบแล้ว อันพระอริยะเสพแล้ว มิได้ชื่อว่านิพพาน ในทิฏฐธรรมด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถานิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส