สัลเลขัฏฐญาณนิทเทส
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 905
สัลเลขัฏฐญาณนิทเทส
๓๗. อรรถกถาสัลเลขัฏฐญาณนิทเทส
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 905
สัลเลขัฏฐญาณนิทเทส
[๒๓๓] ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา สภาพต่างๆ และเดช เป็นสัลเลขัฏฐญาญอย่างไร?
คำว่า ปุถุ - หนา คือ ราคะหนา โทสะหนา โมหะหนา ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความเจ้าเล่ห์ ความโอ้อวด หัวดื้อ ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่นท่าน ความมัวเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวง เป็นกิเลสหนา.
[๒๓๔] คำว่า สภาพต่างๆ และสภาพเดียว ความว่า กามฉันทะเป็นสภาพต่างๆ เนกขัมมะเป็นสภาพเดียว พยาบาทเป็นสภาพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 906
ต่างๆ ความไม่พยาบาทเป็นสภาพเดียว ถีนมิทธะเป็นสภาพต่างๆ อาโลกสัญญาเป็นสภาพเดียว อุทธัจจะเป็นสภาพต่างๆ ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นสภาพเดียว วิจิกิจฉาเป็นสภาพต่างๆ การกำหนดธรรมเป็นสภาพเดียว อวิชชาเป็นสภาพต่างๆ ญาณเป็นสภาพเดียว อรติเป็นสภาพต่างๆ ความปราโมทย์เป็นสภาพเดียว นิวรณ์เป็นสภาพต่างๆ ปฐมฌานเป็นสภาพเดียว ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นสภาพต่างๆ อรหัตตมรรคเป็นสภาพเดียว.
[๒๓๕] คำว่า เตโช - เดช ความว่า เดชมี ๕ คือ จรณเดช คุณเดช ปัญญาเดช บุญญเดช ธรรมเดช บุคคลผู้มีจิตอันกล้าแข็ง ย่อมยังเดชคือความเป็นผู้ทุศีลให้สิ้นไปด้วยเดชคือศีล เครื่องดำเนินไป ย่อมยังเดชมิใช่คุณให้สิ้นไปด้วยเดชคือคุณ ย่อมยังเดชคือความเป็นผู้มีปัญญาทรามให้สิ้นไปด้วยเดชคือปัญญา ย่อมยังเดชมิใช่บุญให้สิ้นไปด้วยเดชคือบุญ ย่อมยังเดชมิใช่ธรรมให้สิ้นไปด้วยเดชอันเป็นธรรม.
[๒๓๖] คำว่า สลฺเลโข - ธรรมเครื่องขัดเกลา ความว่า กามฉันทะมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา เนกขัมมะเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา พยาบาทมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ความไม่พยาบาทเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ถีนมิทธะมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา อาโลกสัญญาเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา อุทธัจจะมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา วิจิกิจฉามิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา การกำหนด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 907
ธรรมเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา อวิชชามิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ญาณเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา อรตีมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ความปราโมทย์เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา นิวรณ์มิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ปฐมฌานเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ฯลฯ กิเลสทั้งปวงมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา อรหัตตมรรคเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรม ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา สภาพต่างๆ และเดช เป็นสัลเลขัฏฐญาณ.
๓๗. อรรถกถาสัลเลขัฏฐญาณนิทเทส
๒๓๓ - ๒๓๖] พึงทราบวินิจฉัยในสัลเลขัฏฐญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.
บทว่า ราโค ปุถุ ราคะหนา คือ ราคะต่างหาก ไม่ปนด้วยโลกุตระ ในบทที่เหลือมีนัยนี้.
ชื่อว่า ราคะ เพราะอรรถว่ากำหนัด.
ชื่อว่า โทสะ เพราะอรรถว่าประทุษร้าย.
ชื่อว่า โมหะ เพราะอรรถว่าลุ่มหลง.
พระสารีบุตรกล่าวกิเลสอันเป็นประธาน ๓ เหล่านี้ คือ ราคะมีลักษณะกำหนัด. โทสะมีลักษณะประทุษร้าย. โมหะมีลักษณะลุ่มหลง แล้วบัดนี้เมื่อจะแสดงโดยประเภท จึงกล่าวบทมีอาทิว่า โกโธ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 908
ในบทเหล่านั้น ในบทว่า โกโธ มีลักษณะโกรธนี้ ท่านประสงค์เอาวัตถุ ๗ อย่าง.
อุปนาหะ มีลักษณะผูกโกรธ คือความโกรธนั่นเองที่ถึงความมั่นคง.
มักขะ มีลักษณะลบหลู่คุณผู้อื่น คือลบล้างคุณของผู้อื่น.
ปลาสะ มีลักษณะตีเสมอ คือ เห็นคุณผู้อื่นด้วยการตีเสมอ.
อิสสา มีลักษณะทำสมบัติของผู้อื่นให้สิ้นรูป คือริษยา.
มัจฉริยะ มีลักษณะซ่อนสมบัติของตน คือ สมบัติของเรา จงอย่าเป็นของผู้อื่น.
มายา มีลักษณะปกปิดความชั่วที่ตนทำ คือ ทำเป็นมายาด้วยความปกปิด.
สาเถยยะ มีลักษณะประกาศคุณที่ไม่มีในตน คือ ความเป็นผู้โอ้อวด.
ถัมภะ มีลักษณะพองจิต คือ ความเป็นผู้กระด้าง.
สารัมภะ มีลักษณะให้ยิ่งด้วยการทำ.
มานะ มีลักษณะถือตัว.
อติมานะ มีลักษณะดูหมิ่น.
มทะ มีลักษณะความเป็นผู้มัวเมา.
ปมาทะ มีลักษณะปล่อยจิตไปในกามคุณ ๕.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 909
พระสารีบุตรเถระ ครั้นแสดงความหมายด้วยอำนาจกิเลสไว้แผนกหนึ่งๆ แล้ว เพื่อจะแสดงถึงกิเลสที่กล่าวไว้แล้ว และกิเลสอื่นที่ยังมิได้กล่าวไว้ ด้วยสงเคราะห์เข้ากันทั้งหมด จึงกล่าวบทมีอาทิว่า สพฺเพ กิเลสา - กิเลสทั้งปวง.
ในบทเหล่านั้น ชื่อว่า กิเลส เพราะอรรถว่ายังสัตว์ให้เศร้าหมอง ให้เดือดร้อน ให้ลำบากในภพนี้และภพหน้า. ทั้งที่สงเคราะห์เข้าในอกุศลกรรมบถ ทั้งที่มิได้สงเคราะห์เข้า. ชื่อว่า ทุจริต เพราะอรรถว่าประพฤติด้วยความชั่ว หรือประพฤติชั่ว.
ทุจริตนั้นมี ๓ ประการ คือ กายทุจริต ๑ วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑. ชื่อว่า อภิสงฺขารา เพราะอรรถว่าปรุงแต่งวิบาก. อภิสังขารก็มี ๓ ประการ คือ
ปุญญาภิสังขาร - อภิสังขาร คือ บุญ ๑
อปุญญาภิสังขาร - อภิสังขาร คือ บาป ๑.
อาเนญชาภิสังขาร - อภิสังขาร คือ ความไม่หวั่นไหว ๑.
ชื่อว่า ภวคามิโน เพราะอรรถว่าสัตว์ไปสู่ภพด้วยอำนาจวิบาก. กรรมอันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพ ชื่อว่า ภวคามิกมฺมา. ด้วยบทนี้ แม้เมื่อความเป็นอภิสังขารมีอยู่ ก็เป็นอันห้ามกรรมที่ยังมิได้เสวย. นี้เป็นความต่างกันด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ทุจฺจริตา และ กมฺมา เป็นลิงควิปลาศ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 910
บทว่า นานตฺเตกตฺตํ - สภาพต่างๆ และสภาพเดียว ในอุทเทสหัวข้อนี้ คือ แม้ไม่มีศัพท์ว่า เอกตฺต ผู้ประสงค์จะชี้แจงแม้สภาพเดียว เพราะความที่เพ่งถึงกันและกันแห่งสภาพต่างๆ และสภาพเดียว จึงทำอุทเทสว่า นานตฺเตกตฺตํ. เมื่อแสดงสภาพเดียวในการขัดเกลาสภาพต่างๆ ท่านก็แสดงถึงญาณในการขัดเกลาได้โดยง่าย.
บทว่า นานตฺตํ คือ สภาพต่างๆ เพราะความไม่มั่นคง และเพราะมีความดิ้นรน.
บทว่า เอกตฺตํ คือ สภาพเดียว เพราะความมั่นคง และเพราะไม่ดิ้นรน.
บทว่า จรณเตโช - จรณเดช ชื่อว่า จรณะ เพราะอรรถว่า เที่ยวไปสู่ทิศที่ยังมิได้ไป คือ นิพพานด้วยจรณเดชนั้น. จรณะนั้นคืออะไร? คือ ศีล. จรณะนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า เป็นเดช เพราะ อรรถว่าเผาสิ่งเป็นข้าศึก.
บทว่า คุณเตโช - คุณเดช คือ สมาธิเดช อันเป็นที่ตั้งได้ด้วยศีล.
บทว่า ปญฺาเตโช - ปัญญาเดช คือ วิปัสสนาเดช อันเป็นที่ตั้งได้ด้วยสมาธิ.
บทว่า ปุญฺเตโช - ปุญญเดช คือ อริยมรรคกุสลเดช อันเป็นที่ตั้งได้ด้วยวิปัสสนา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 911
บทว่า ธมฺนเตโช - ธรรมเดช คือ พุทธวจนเดชอันเป็นหลักแห่งเดช ๔.
บทว่า จรณเตเชน เตชิตตฺตา ได้แก่ ผู้มีจิตกล้าแข็ง ย่อมยังเดชคือความเป็นผู้ทุศีลให้สิ้นไป ด้วยจรณเดช คือ ศีลเดช.
บทว่า ทุสฺสีลฺยเตชํ ได้แก่ เดช คือ ความเป็นผู้ทุศีล. ชื่อว่า เตโช เพราะเผาสันดานแม้นั้น.
บทว่า ปริยาทิยติ คือ ให้สิ้นไป.
บทว่า อคุณเตชํ - ยังเดชมิใช่คุณ ได้แก่ เดช คือ ความฟุ้งซ่านอันเป็นปฏิปักษ์ของสมาธิ.
บทว่า ทุปฺปญฺเตชํ - เดช คือ ความเป็นผู้มีปัญญาทราม ได้แก่ เดช คือ โมหะ อันเป็นปฏิปักษ์ ต่อวิปัสสนาญาณ.
บทว่า อุปญฺเตชํ - เดชมิใช่บุญ ได้แก่ เดช คือ อกุศลกรรมอันเป็นสหายของกิเลส ด้วยการไม่ละกิเลสอันทำลายมรรคนั้นๆ มิใช่ให้เดช มิใช่ให้บุญสิ้นไปอย่างเดียวเท่านั้น ยังกุศลธรรมให้สิ้นไปด้วย เพราะพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมไม่ดำ ไม่ขาว มีอยู่ กรรมอันเป็นวิบากของกรรมไม่ดำ ไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งกรรมดังนี้ (๑) ท่านกล่าวเดชอันมิใช่บุญเท่านั้น ด้วยสามารถเป็นปฏิปักษ์ต่อเดชอันเป็นบุญ.
๑. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๒๓๓.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 912
บทว่า อธมฺมเตชํ - เดชมิใช่ธรรม ได้แก่ เดชอันเป็นถ้อยคำ แสดงลัทธิของพวกเดียรถีย์ต่างๆ. เมื่อท่านกล่าวอรรถวิกัปที่สองในการพรรณนาอุทเทสแห่งญาณนี้ เดช คือ ความเป็นผู้ทุศีลมาก มี ๑๙ อย่าง มีราคะเป็นต้น. ในบทนี้ว่า อภิสงฺขารา ภวคามิกมฺมา ได้แก่ อปุญญาภิสังขารและอกุศลกรรมเป็นเดชมิใช่บุญ. อาเนญชาภิสังขารเป็นกุศลกรรมฝ่ายโลกิยะ ชื่อว่า ย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อเดชมิใช่บุญ เพราะยังบุญเดชให้สิ้นไป. สภาพต่างๆ ๑๕ มีกามฉันทะ เป็นต้น ย่อมเป็นเดชมิใช่คุณ. สภาพต่างๆ ๑๘ มีนิจสัญญาเป็นต้น ย่อมเป็นเดชแห่งความเป็นผู้มีปัญญาทราม. สภาพต่างๆ ๔ อันทำลาย มรรค ๔ ย่อมเป็นเดชมิใช่บุญ. พึงสงเคราะห์เดชมิใช่ธรรม ด้วย สภาพต่างๆ อันทำลายโสดาปัตติมรรค.
พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงธรรมเครื่องขัดเกลา ด้วยธรรมมิใช่เครื่องขัดเกลา อันเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมเครื่องขัดเกลาไว้ในนิทเทส จึงแสดงธรรมเครื่องขัดเกลาไว้ก่อนธรรมมิใช่เครื่องขัดเกลา. ธรรมสภาพเดียว ๓๗ มีเนกขัมมะเป็นต้น ท่านกล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา เพราะขัดเกลาธรรมเป็นข้าศึก. ญาณในธรรมเครื่องขัดเกลา ๓๗ ประเภท มีเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่า สัลเลขัฏฐญาณ.
จบ อรรถกถาสัลเลขัฏฐญาณนิทเทส