พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

วีริยารัมภญาณนิทเทส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40929
อ่าน  395

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 913

วีริยารัมภญาณนิทเทส

๓๘. อรรถกถาวีริยารัมภญาณนิทเทส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 913

วีริยารัมภญาณนิทเทส

[๒๓๗] ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เป็นวีริยารัมภญาณอย่างไร?

ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไปเพื่อจะยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลอะเลือน เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นวีริยารัมภญาณแต่ละอย่างๆ.

[๒๓๘] ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อยังกามฉันทะที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เพื่อละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อยังเนกขัมมะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลอะเลือน ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งเนกขัมมะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อยังกิเลสทั้งปวงที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เพื่อละกิเลสทั้งปวงที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อยังอรหัตตมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลอะเลือน เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งอรหัตตมรรคที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นวีริยารัมภญาณแต่ละอย่างๆ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 914

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตส่งไป เป็นวีริยารัมภญาณ.

๓๘. อรรถกถาวีริยารัมภญาณนิทเทส

๒๓๗ - ๒๓๘] พึงทราบวินิจฉัยในวีริยารัมภญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.

บทว่า อนุปฺปนฺนานํ - ที่ยังไม่เกิด คือ ยังไม่เกิดในอัตภาพหนึ่ง หรือในอารมณ์หนึ่ง. เพราะชื่อว่าอกุศลอันไม่เกิดในสงสารอันไม่รู้เบื้องต้นและที่สุด ย่อมไม่มี แต่กุศลมี.

บทว่า ปาปกานํ คือ ลามก.

บทว่า อกุสลานํ ธมฺมานํ คือ ธรรมอันเป็นความไม่ดี.

บทว่า อนุปฺปาทาย - เพื่อมิให้เกิดขึ้น คือ เพื่อความที่จะไม่ให้เกิดขึ้น.

บทว่า อุปฺปนฺนานํ คือ ที่เกิดแล้วในอัตภาพนี้.

บทว่า ปหานาย คือ เพื่อต้องการละ.

บทว่า อนุปฺปนฺนานํ กุสลานํ ธมฺมานํ - กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด คือ ธรรมอันเป็นความดีที่ยังไม่เคยเกิดในอัตภาพนี้.

บทว่า อุปฺปาทาย คือ เพื่อต้องการให้เกิด.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 915

บทว่า อุปฺปนฺนานํ - ที่เกิดขึ้นแล้ว คือ ที่เกิดแล้วในอัตภาพนี้.

บทว่า ฐิติยา คือ เพื่อความตั้งมั่น.

บทว่า อสมฺโมสาย - เพื่อความไม่เลอะเลือน คือ เพื่อความไม่สูญหาย.

บทว่า ภิยฺโยภาวาย - เพื่อความเจริญยิ่ง คือ เพื่อเกิดบ่อยๆ.

บทว่า เวปุลฺลาย คือ เพื่อความไพบูลย์.

บทว่า ภาวนาย คือ เพื่อความเจริญ.

บทว่า ปาริปูริยา คือ เพื่อความบริบูรณ์.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเพื่อแสดงถึงกามฉันทะในอกุศลและเนกขัมมะในกุศลให้แปลกออกไป จึงกล่าวบทมีอาทิว่า อนุปฺปนฺนสฺส กามจฺฉนฺทสฺส - กามฉันทะที่ยังไม่เกิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กามจฺฉนฺโท ได้แก่ กามราคะอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสมาธิ.

บทว่า เนกฺขมฺมํ ได้แก่ ปฐมฌานสมาธิ หรือปฐมฌาน หรือกุศลธรรมทั้งหมดนั่นแหละ เป็นเนกขัมมะ.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเพื่อแสดงประกอบด้วยสามารถแห่งกิเลสทั้งปวง และอรหัตตมรรคอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสทั้งปวง จึงกล่าวบทมีอาทิว่า อนุปฺปนฺนานํ สพฺพกิเลสานํ - ยังกิเลสทั้งปวงที่ยังไม่เกิดขึ้น.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 916

ในบทเหล่านั้น บทมีอาทิว่า อุปฺปนฺนสฺส อรหตฺตมคฺคสฺส ฐิติยา - เพื่อความตั้งมั่นแห่งอรหัตตมรรคที่เกิดขึ้นแล้ว พึงทราบการประกอบบทมีอาทิว่า ิติยา ด้วยสามารถแห่งฐีติขณะและภังคขณะของอรหัตตมรรคที่เกิดขึ้นแล้วในอุปาทขณะ. แม้ในอรรถกถาแห่งวิภังค์ ท่านก็กล่าวว่า ความเป็นไปแห่งอรหัตตมรรคชื่อว่า ิติ คือ ความตั้งมั่น. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พึงเห็นมรรคอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่ง อรหัตตมรรค.

จบ อรรถกถาวีริยารัมภญาณนิทเทส