ขันติญาณปริโยคาหณญาณนิทเทส
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 925
ขันติญาณปริโยคาหณญาณนิทเทส
๔๑ - ๔๒. อรรถกถาขันติญาณปริโยคาหณญาณนิทเทส
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 925
ขันติญาณปริโยคาหณญาณนิทเทส
[๒๔๓] ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏ เป็นขันติญาณอย่างไร?
รูปปรากฏโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา รูปใดๆ ปรากฏ รูปนั้นๆ ย่อมคงที่ ฉะนั้น ปัญญาในความที่ธรรม ปรากฏจึงเป็นขันติญาณ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯชราะและมรณะ ปรากฏโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 926
อนัตตา ชราและมรณะใดๆ ปรากฏ ชราและมรณะนั้นๆ ย่อมคงที่ ฉะนั้น ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏจึงเป็นขันติญาณ.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏเป็นขันติญาณ.
[๒๔๔] ปัญญาในความถูกต้องธรรม เป็นปริโยคาหนญาณอย่างไร?
ปัญญาย่อมถูกต้องรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมถูกต้องรูปใดๆ ก็เข้าไปสู่รูปนั้นๆ ฉะนั้น ปัญญาในความถูกต้องธรรม จึงเป็นปริโยคาหนญาณ ปัญญาย่อมถูกต้องเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมถูกต้องชราและมรณะใดๆ ก็เข้าสู่ชราและมรณะนั้นๆ ฉะนั้น ปัญญาในความถูกต้องธรรมจึงเป็นปริโยคาหนญาณ.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความถูกต้องธรรม เป็นปริโยคาหนญาณ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 927
๔๑ - ๔๒. อรรถกถาขันติญาณปริโยคาหณญาณนิทเทส
๒๔๓ - ๒๔๔] พึงทราบวินิจฉัยในขันติญาณปริโยคาหณญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้.
บทว่า รูปํ อนิจฺจโต วิทิตํ - รูปปรากฏโดยความเป็นของไม่เที่ยง คือ ปรากฏด้วยอนิจจานุปัสนาญาณว่า เป็นของไม่เที่ยง.
บทว่า รูปํ ทุกฺขโต วิทิตํ - รูปปรากฏโดยความเป็นทุกข์ คือ ปรากฏด้วยทุกขานุปัสนาว่า เป็นทุกข์.
บทว่า รูปํ อนตฺตโต วิทิตํ - รูปปรากฏโดยความเป็นอนัตตา คือ ปรากฏด้วยอนัตตานุปัสนาญาณว่า เป็นอนัตตา.
บทว่า ยํ ยํ วิทิตํ ตํ ตํ ขมติ - รูปใดๆ ที่ปรากฏ รูปนั้นๆ ย่อมคงที่ คือ รูปใดๆ ที่ปรากฏโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. รูปนั้นๆ ย่อมคงที่ คือ ชอบใจโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. ท่านทำไว้เป็นแผนกๆ แล้วเขียนไว้ในคัมภีร์บางคัมภีร์ว่า รูปปรากฏโดยความเป็นของไม่เที่ยง. รูปใดๆ ปรากฏแล้ว. รูปนั้นๆ ย่อมคงที่. พึง เปลี่ยนลิงค์แล้วประกอบด้วยบทมีอาทิว่า เวทนา สญฺา สงฺขารา อนิจฺจโต วิทิตา - เวทนา สัญญา สังขาร ปรากฏแล้วโดยความเป็นของไม่เที่ยง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 928
บทว่า ผุสติ ย่อมถูกต้อง คือ ย่อมถูกต้อง ย่อมแผ่ไปด้วยการถูกต้องวิปัสสนาญาณ.
บทว่า ปริโยคหติ - ย่อมเข้าไป คือ เข้าไปด้วยวิปัสสนาญาณ. ปาฐะว่า ปริโยคาหติ บ้าง.
จบ อรรถกถาขันติญาณปริโยคาหณญาณนิทเทส