พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

วิวัฏฏญาณฉักกนิทเทส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40934
อ่าน  417

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 936

วิวัฏฏญาณฉักกนิทเทส

๔๔ - ๔๙. อรรถกถาวิวัฏฏญาณฉักกนิทเทส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 936

วิวัฏฏญาณฉักกนิทเทส

[๒๔๖] ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี เป็นสัญญาวิวัฏฏญาณอย่างไร?

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 937

ปัญญาในความมีเนกขัมมะเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากกามฉันทะด้วยปัญญาเครื่องรู้ดี เพราะฉะนั้น ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี จึงเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาในความมีความไม่พยาบาทเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากพยาบาทด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี เพราะฉะนั้น ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี จึงเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาในความมีอาโลกสัญญาเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากถีนมิทธะ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี... ปัญญาในความมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากอุทธัจจะด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี... ปัญญาในความมีการกำหนดธรรมเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากวิจิกิจฉาด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี... ปัญญาในความมีญาณเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากอวิชชา ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี... ปัญญาในความมีปราโมทย์เป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากอรติด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี... ปัญญาในความมีปฐมฌานเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากนิวรณ์ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี ฯลฯ ปัญญาในความมีอรหัตตมรรคเป็นอธิบดี ย่อมหลีกออกจากกิเลสทั้งปวง ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ดี เพราะฉะนั้น ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี จึงเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดี เป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 938

[๒๔๗] ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความเป็นต่างๆ เป็นเจโตวิวัฏฏญาณอย่างไร?

กามฉันทะเป็นความเป็นต่างๆ เนกขัมมะเป็นอย่างเดียว เมื่อพระโยคาวจรคิดถึงความที่เนกขัมมะเป็นธรรมอย่างเดียว จิตย่อมหลีกออกจากกามฉันทะ เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความเป็นต่างๆ จึงเป็นเจโตวิวัฏฏญาณ พยาบาทเป็นความเป็นต่างๆ ความไม่พยาบาทเป็นอย่างเดียว เมื่อพระโยคาวจรคิดถึงความที่ความไม่พยาบาทเป็นธรรมอย่างเดียว จิตย่อมหลีกออกจากพยาบาท เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความเป็นต่างๆ จึงเป็น เจโตวิวัฏฏญาน ถีนมิทธะเป็นความเป็นต่างๆ อาโลกสัญญาเป็นอย่างเดียว เมื่อพระโยคาวจรคิดถึงความที่อาโลกสัญญาเป็นธรรมอย่างเดียว จิตย่อมหลีกออกจากถีนมิทธะ เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความเป็นต่างๆ จึงเป็นเจโตวิวัฏฏญาณ ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นความเป็นต่างๆ อรหัตตมรรคเป็นอย่างเดียว เมื่อพระโยคาวจรคิดถึงความที่อรหัตตมรรคเป็นธรรมอย่างเดียว จิตย่อมหลีกออกจากกิเลสทั้งปวง เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความเป็น ต่างๆ จึงเป็นเจโตวิวัฏฏญาณ.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากความเป็นต่างๆ เป็นเจโตวิวัฏฏญาณ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 939

[๒๔๘] ปัญญาในการอธิษฐาน เป็นจิตตวิวัฏฏญาณอย่างไร?

พระโยคาวจรละกามฉันทะ ย่อมอธิษฐานด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถแห่งความไม่พยาบาท เมื่อละถีนมิทธะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถแห่งอาโลกสัญญา ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถแห่งอรหัตตมรรค เพราะฉะนั้น ปัญญาในการอธิษฐานแต่ละอย่าง จึงเป็นจิตตวิวัฏฏญาณแต่ละอย่าง.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการอธิษฐานเป็นจิตตวิวัฏฏญาณ.

[๒๔๙] ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็นญาณวิวัฏฏญาณอย่างไร?

เมื่อพระโยคาวจรรู้ชัดและเห็นแจ้งตามความเป็นจริงว่า ตาว่างเปล่าจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความคงที่ หรือจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา ญาณย่อมหลีกออกจากความยึดในกาม เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า จึงเป็นญาณวิวัฏฏญาณ เมื่อพระโยคาวจรรู้ชัดและเห็นแจ้งตามความเป็นจริงว่า หูว่างเปล่า ฯลฯ จมูกว่างเปล่า ลิ้นว่างเปล่า กายว่างเปล่า ใจว่างเปล่าจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 940

จากความยั่งยืน จากความคงที่ หรือจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา ญาณย่อมหลีกออกจากความยึดถือในกาม เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า จึงเป็นญาณวิวัฏฎญาณ.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็นญาณวิวัฏฏญาณ.

[๒๕๐] ปัญญาในความสลัดออก เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณอย่างไร?

พระโยคาวจรย่อมสลัดกามฉันทะออกด้วยเนกขัมมะ สลัดพยาบาทออกด้วยความไม่พยาบาท สลัดถีนมิทธะออกด้วยอาโลกสัญญา สลัดอุทธัจจะออกด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน สลัดวิจิกิจฉาออกด้วยการกำหนดธรรม ฯลฯ สลัดกิเลสทั้งปวงออกด้วยอรหัตตมรรค เพราะฉะนั้น ปัญญาในความสลัดออกแต่ละอย่าง จึงเป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณแต่ละอย่าง.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความสลัดออก เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ.

[๒๕๑] ปัญญาในความว่าธรรมจริง เป็นสัจวิวัฏฏญาณอย่างไร?

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 941

เมื่อพระโยคาวจรกำหนดรู้ความบีบคั้น ความปรุงแต่ง ความให้เดือดร้อน ความแปรปรวนแห่งทุกข์ ย่อมหลีกไป เมื่อละความประมวลมา ความเป็นเหตุ ความเกี่ยวข้อง ความกังวล แห่งสมุทัย ย่อมหลีกไป เมื่อกระทำให้แจ้งซึ่งความสลัดออก ความสงัด ความไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ความไม่ตาย แห่งนิโรธ ย่อมหลีกไป เมื่อเจริญ ความนำออก ความเป็นเหตุ ความเห็น ความเป็นอธิบดี แห่งมรรค ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น ปัญญาในความว่าธรรมจริงแต่ละอย่าง จึงเป็นสัจวิวัฏฏญาณแต่ละอย่าง ญาณเป็นสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ จิตตวิวัฏฏะ ญาณวิวัฏฏะ วิโมกขวิวัฏฏะ สัจวิวัฏฏะ พระโยคาวจรเมื่อรู้พร้อมย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงเป็นสัญญาวิวัฏฏะ เมื่อคิดถึงย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงเป็นเจโตวิวัฏฏะ เมื่อรู้แจ้งย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงเป็นจิตตวิวัฏฏะ เมื่อกระทำญาณย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงเป็นญาณวิวัฏฏะ เมื่อสลัดออกย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงเป็นวิโมกขวิวัฏฏะ ย่อมหลีกไปในความว่าธรรมจริง เพราะฉะนั้น จึงเป็นสัจวิวัฏฏะ.

[๒๕๒] ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้น ย่อมมีเจโตวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคใดมีเจโตวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีจิตตวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรค

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 942

ใดมีจิตตวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ จิตตวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีญาณวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคใดมีญาณวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ จิตวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ จิตตวิวัฏฏะ ญาณวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีวิโมกขวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคใดมีวิโมกขวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ จิตตวิวัฏฏะ ญาณวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ จิตตวิวัฏฏะ ญาณวิวัฏฏะ วิโมกขวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัจวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัจวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ จิตตวิวัฏฏะ ญาณวิวัฏฏะ วิโมกขวิวัฏฏะ.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความว่าธรรมจริง เป็นสัจวิวัฏฏญาณ.

๔๔ - ๔๙. อรรถกถาวิวัฏฏญาณฉักกนิทเทส

๒๔๖ - ๒๕๒] พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาวิวัฏฏญาณฉักกนิทเทส ดังต่อไปนี้. บทว่า เนกฺขมฺมาธิปตตฺตตา ปญฺา - ปัญญา

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 943

ในความมีเนกขัมมะเป็นอธิบดี คือ ปัญญาที่เป็นไปด้วยความยิ่งในเนกขัมมะทำเนกขัมมะให้ยวดยิ่ง.

บทว่า กามจฺฉนฺทโต สญฺญาย วิวฏฺฏติ - ย่อมหลีกออกจากกามฉันทะด้วยปัญญาเครื่องรู้ดี คือ ย่อมหลีก หมุนกลับจากกามฉันทะ อันเป็นเหตุเป็นการณะแห่งสัญญาสัมปยุตด้วยปัญญา ทำเนกขัมมะให้ยิ่งใหญ่. อธิบายว่า หันหลังให้กามฉันทะ ในบทที่เหลือมีนัยนี้.

บทว่า กามจฺฉนฺโท นานตฺตํ - กามฉันทะเป็นความเป็นต่างๆ คือกามฉันทะมิได้มีสภาพเป็นอันเดียวกัน เพราะไม่มีความประพฤติสงบ.

บทว่า เนกฺขมฺมํ เอกตฺตํ - เนกขัมมะเป็นธรรมอย่างเดียว คือ เนกขัมมะมีสภาพอย่างเดียวกัน เพราะมีความประพฤติสงบ.

บทว่า เนกฺขมฺเมกตฺตํ เจตยโต - เมื่อพระโยคาวจรคิดถึงความที่เนกขัมมะเป็นธรรมอย่างเดียวกัน คือ ยังเนกขัมมะให้เป็นไป ด้วยการเห็นโทษในกามฉันทะ.

บทว่า กามจฺฉนฺทโต จิตฺตํ วิวฏฺฏติ - จิตย่อมหลีกจากกามฉันทะ คือ จิตย่อมหลีกจากกามฉันทะ โดยความเป็นโทษที่เห็นแล้วในขณะแห่งเนกขัมมะ. ในบทที่เหลือมีนัยนี้.

บทว่า กามจฺฉนฺทํ ปชหนฺโต - พระโยคาวจรละกามฉันทะ คือ ละกามฉันทะในขณะปฏิบัติเนกขัมมะด้วยวิกขัมภนปหานะ.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 944

บทว่า เนกฺขมฺมวเสน จิตฺตํ อธิฏฺาติ - พระโยคาวจรย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ ได้แก่ ตั้งจิตสัมปยุตด้วยเนกขัมมะนั้นด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะที่ได้แล้ว คือ ทำให้ยวดยิ่งดำรงอยู่. อธิบายว่า ให้เป็นไป. ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้.

บทว่า จกฺขุ สุญฺํ อตฺเตน วา - จักษุว่างเปล่าจากตน คือ จักษุว่างเปล่าจากตน เพราะไม่มีตน กล่าวคือ ผู้ทำผู้เสวยที่คนพาลกำหนดไว้. เพราะจักษุ ชื่อว่าสูญ โดยที่จักษุไม่มีในตน.

บทว่า อตฺตนิเยน วา - จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน คือ สูญจากของของตน เพราะไม่มีแม้ของของตนโดยไม่มีตน. ท่านกล่าวความไม่มีตน และความไม่มีสิ่งที่เนื่องด้วยตน เพื่อปฏิเสธการถือทั้งสองอย่าง เพราะมีการยึดถือโดยอาการทั้งสองของชาวโลกว่า ตัวตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน.

บทว่า นิจฺเจน วา - จากความเที่ยง คือ ชื่อว่าสูญจากความเที่ยง เพราะไม่มีใครๆ ที่จะล่วงเลยการทำลายแล้วตั้งอยู่ได้.

บทว่า ธุเวน วา - จากความยั่งยืน คือ ชื่อว่าจากความยั่งยืน เพราะไม่มีใครๆ ที่จะมั่นคงอยู่ได้ แม้ในขณะที่เป็นไปอยู่.

บทว่า สสฺสเตน วา - จากความคงที่ คือ ชื่อว่าสูญจากความคงที่ เพราะไม่มีใครๆ ที่จะอยู่ได้ตลอดไป.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 945

บทว่า อวิปริณามธมฺเมน วา - จากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา คือ ชื่อว่าสูญจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่มีใครๆ ที่จะเป็นปกติไม่เปลี่ยนแปลงด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ชรา ความแก่ และภังคะ - ความสลายไป.

อีกอย่างหนึ่ง มีอธิบายว่าสูญจากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง และจากความไม่เปรปรวนเป็นธรรมดา.

บทว่า ยถาภูตํ ชานโต ปสฺสโต - พระโยคาวจรรู้เห็นตามความเป็นจริง คือ รู้ตามสภาวะด้วยอนัตตานุปัสนาญาณอย่างนี้ และเห็นดุจเห็นด้วยจักษุ.

บทว่า จกฺขาภินิเวสโต าณํ วิวฏฺฏฺติ - ญาณย่อมหลีกออกจากความยึดถือในจักษุ คือ ญาณย่อมหลีกออกจากความยึดถือที่เห็นแล้ว อันเป็นไปว่า จักษุเป็นตัวตน หรือเป็นสิ่งที่เนื่องด้วยตน. ในบทที่เหลือมีนัยนี้.

บทว่า เนกฺขมฺเมน กามจฺฉนฺทํ โวสฺสชฺชติ - พระโยคาวจรสละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ คือ บุคคลผู้ได้เนกขัมมะย่อมสละกามฉันทะอันเป็นปฏิปักษ์ต่อเนกขัมมะนั้นด้วยเนกขัมมะ.

บทว่า โวสฺสคฺเค ปญฺา - ปัญญาในความสลัดออก คือ ปัญญาสัมปยุตด้วยเนกขัมมะนั้น ในเนกขัมมะอันเป็นความสลัดออก

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 946

แห่งกามฉันทะ.

บทว่า ปีฬนฺฏฺา - ความบีบคั้นเป็นต้น มีอรรถดังได้กล่าวแล้วในหนหลัง.

บทว่า ปริชานนฺโต วิวฏฺฏติ เมื่อกำหนดรู้ย่อมหลีกไป เป็นเทศนาบุคลาธิฏฐาน ท่านกล่าวว่า บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรคกำหนดรู้อรรถ ๔ อย่างแห่งทุกข์ด้วยสามารถแห่งกิจ ย่อมหลีกไปด้วยการออกจากทุกข์. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยญาณ ย่อมหลีกไปแม้ในญาณวิวัฏฏะ.

บทว่า ตถฏฺเ ปญฺา - ปัญญาในความว่าธรรมจริง คือ วิวัฏฏนาปัญญา - ปัญญา คือ การหลีกไปในความว่าธรรมจริงของบุคคลนั้น. ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงวิวัฏฏญาณ ๖ โดยต่างกันแห่งอาการด้วยสามารถกิจ ในขณะแห่งมรรคนั่นเองตั้งมาติกา มีอาทิว่า สญฺา วิวฏฺโฏ แล้วเมื่อจะจำแนกมาติกานั้นโดยอรรถ จึงกล่าวบทมีอาทิว่า สญฺชานนฺโต วิวฏฺฏติ - พระโยคาวจร เมื่อรู้พร้อมย่อมหลีกไป.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สญฺชานนฺโต วิวฏฺฏตีติ สญฺาวิวฏฺโฏ - พระโยคาวจรเมื่อรู้พร้อม ย่อมหลีกไป เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสัญญาวิวัฏฏะ ความว่า เพราะพระโยคาวจรเมื่อรู้พร้อมเนกขัมมะเป็นต้น ในส่วนเบื้องต้นโดยความเป็นอธิบดี ภายหลังย่อมหลีกไปจากกามฉันทะ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 947

เป็นต้น ด้วยญาณสัมปยุตด้วยเนกขัมมะ. ฉะนั้น ญาณนั้นจึงชื่อว่า สัญญาวิวัฏฏะ.

บทว่า เจตยนฺโต วิวฏฺฏตีติ เจโตวิวฏฺโฏ - พระโยคาวจรเมื่อคิดย่อมหลีกไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เจโตวิวัฏฏะ ความว่า เพราะพระโยคาวจรเมื่อคิดธรรมอย่างเดียวกันมีเนกขัมมะเป็นต้น ย่อมหลีกไปจากกามฉันทะเป็นต้น ด้วยญาณอันสัมปยุตด้วยเนกขัมมะนั้น. ฉะนั้น ญาณนั้นจึงชื่อว่าเจโตวิวัฏฏะ.

บทว่า วิชานนฺโต วิวฏฺฏตีติ จิตฺตวิวฏฺโฏ - พระโยคาวจรเมื่อรู้แจ้งย่อมหลีก เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏะ ความว่า เพราะพระโยคาวจรเมื่อรู้แจ้งด้วยจิตอธิษฐาน ด้วยสามารถเนกขัมมะเป็นต้น ย่อมหลีกไปจากกามฉันทะเป็นต้น ด้วยญาณอันสัมปยุตด้วยเนกขัมมะนั้น. ฉะนั้น ญาณนั้นจึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏะ.

บทว่า าณํ กโรนฺโต วิวฏฺฏตีติ าณวิฏฺโฏฺ - เมื่อทำญาณหลีกไป เพราะเหตุนั้นจึงเป็นญาณวิวัฏฏะ ความว่า เพราะพระโยคาวจรเมื่อทำอายตนะภายใน ๖ อย่างให้รู้แจ้ง โดยความเป็นของสูญ ด้วยอนัตตานุปัสนาญาณ ย่อมหลีกไปจากความยึดมั่นด้วยความเห็นด้วยญาณนั่นเอง. ฉะนั้นญาณนั้นจึงชื่อว่าญาณวิวัฏฏะ

บทว่า โวสฺสชฺชนฺโต วิวฏฺฏตีติ วิโมกฺขวิวฏฺโฏ - เมื่อสลัดออกย่อมหลีกไป เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏะ ความว่า

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 948

เพราะพระโยคาวจรเมื่อสลัดกามฉันทะเป็นต้น ด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ย่อมหลีกไปจากกามฉันทะเป็นต้น ด้วยญาณอันสัมปยุตด้วยเนกขัมมะนั้น. ฉะนั้น ญาณนั้นจึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฎฏะ.

บทว่า ตถฏฺเ วิวฏฺฏตีติ สจฺจวิวฏฺโฏ - ย่อมหลีกไปในสภาพที่เป็นจริง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสัจวิวัฏฏะ ความว่า เพราะพระโยคาวจรย่อมหลีกไปจากทุกข์ในความว่า ธรรมจริง ๔ อย่าง ด้วยสามารถการออก. ฉะนั้น มรรคญาณจึงชื่อว่าสัจวิวัฏฏะ. หรือว่า มรรคญาณนั่นแหละ ย่อมหลีกไปจากทุกข์ในความว่า ธรรมจริง ด้วยความออกไป เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสัจวิวัฏฏะ.

บทมีอาทิว่า ยตฺถ สญฺาวิวฏฺโฏ - ในขณะแห่งมรรคใด มีสัญญาวิวัฏฏะ ท่านกล่าวหมายถึงขณะแห่งสัจวิวัฏฏะ เพราะท่านกล่าวไว้แล้วในสัจวิวัฏฏญาณนิทเทส. เพราะญาณทั้งหมดย่อมประกอบอยู่ในมรรคญาณนั่นเอง. ถามว่า อย่างไร? ตอบว่า เพราะอริยมรรคมาแล้วโดยสรุปในญาณที่เหลือ เว้นญาณในวิวัฏฏะ. แม้ญาณในญาณวิวัฏฏะย่อมประกอบในขณะแห่งมรรค ด้วยสามารถสำเร็จกิจแห่งวิปัสสา เพราะวิปัสสนากิจสำเร็จด้วยมรรคนั่นเอง. หรือว่าการกล่าวถึงญาณนั้นในมรรคญาณว่า บทมีอาทิว่า จกฺขุ สุญฺํ - จักษุว่างเปล่า เป็นอันแทงตลอดด้วยสามารถแห่งกิจดังนี้ ย่อมควรในขณะมรรคนั่นเอง.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 949

อนึ่ง ในบทนี้มีการประกอบความดังต่อไปนี้ ควรทำการประกอบในการเทียบเคียงทั้งหมด โดยนัยมีอาทิว่าในขณะแห่งมรรคใด มีสัญญาวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้น ย่อมมีเจโตวิวัฏฏะ. ในขณะแห่งมรรคใด มีเจโตวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้น มีสัญญาวิวัฏฏะ. อีกอย่างหนึ่ง สัจวิวัฏฏะมาแล้ว เพราะอริยมรรค ๔ มาถึงแล้ว ในสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฏฏะ จิตตวิวัฏฏะ และวิโมกขวิวัฏฏะ.

อนึ่ง ญาณวิวัฏฏะเป็นอันสำเร็จ ด้วยสามารถแห่งกิจ ด้วยสัจวิวัฏฏะนั่นเอง. เมื่อกล่าวไปยาลให้พิสดารในสัญญาวิวัฏฏะ เจโตวิวัฎฏะ จิตตวิวัฏฏะ และวิโมกขวิวัฏฏะ แม้ญาณในญาณวิวัฏฏะก็มาแล้วในญาณเหล่านั้น เพราะมีปาฐะว่า ปัญญามีอนัตตานุปัสนาเป็นอธิบดี ย่อมหลีกไปจากความถือมั่นด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้นปัญญาเป็นอธิบดีจึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ. ความยึดมั่นเป็นความเป็นต่างๆ อนัตตานุปัสนาเป็นธรรมอย่างเดียว. เมื่อคิดถึงความเป็นอย่างเดียวของอนัตตานุปัสนา จิตย่อมหลีกไปจากความยึดมั่น เพราะเหตุนั้นปัญญาในความเป็นต่างๆ จึงเป็นเจโตวิวัฏฏญาณ เมื่อละความยึดมั่นจิต ย่อมตั้งมั่นด้วยสามารถแห่งอนัตตานุปัสนา เพราะเหตุนั้นปัญญาในการอธิฏฐานจึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ. และสลัดความยึดมั่นด้วยอนัตตานุปัสนา เพราะเหตุนั้น ปัญญาในความสลัดออกจึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฎญาณ.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 950

อนึ่ง ในญาณวิวัฏฏะ ย่อมได้สัจวิวัฏฏะด้วย เพราะประกอบบทมีอาทิว่า จักษุว่างเปล่าจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ด้วยสามารถกิจของผู้ออกจากอนัตตานุปัสนาแล้วได้อริยมรรค. เพราะฉะนั้น ในวิวัฏฏะหนึ่งๆ ย่อมได้วิวัฏฏะ อย่างละ ๕ ที่เหลือ. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่าท่านกล่าวเทียบเคียงไว้มีอาทิว่า ในขณะแห่งมรรคใด มีสัญญาวิวัฏฏะ ในขณะแห่งมรรคนั้น ย่อมมีเจโตวิวัฏฏะด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาวิวัฏฏญาณฉักกนิทเทส