พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

โสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40936
อ่าน  361

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 969

โสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส

๕๑. อรรถกถาโสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 969

โสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส

[๒๕๔] ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่าง หรืออย่างเดียว ด้วยสามารถการแผ่วิตกไป เป็นโสตธาตุวิสุทธิญาณอย่างไร?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยสมาธิยิ่งด้วยฉันทะและสังขารอันเป็นประธาน... ภิกษุนั้นย่อมอบรมข่มจิต ทำจิตให้อ่อน ควรแก่การงาน ในอิทธิบาท ๔ ประการนี้ ครั้นแล้วย่อม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 970

มนสิการถึงเสียงเป็นนิมิตแห่งเสียงทั้งหลาย แม้ในที่ไกล แม้ในที่ใกล้ แม้เป็นเสียงหยาบ แม้เป็นเสียงละเอียด แม้เป็นเสียงละเอียดยิ่งนัก ย่อมมนสิการถึงเสียงเป็นนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายในทิศตะวันออก ในทิศตะวันตก ในทิศเหนือ ในทิศใต้ แม้ในทิศอาคเนย์ แม้ในทิศพายัพ แม้ในทิศอีสาน แม้ในทิศหรดี แม้ในทิศเบื้องต่ำ แม้ในทิศเบื้องบน ภิกษุนั้นมีจิตอันอบรมแล้วอย่างนั้น บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณอันหมดจดแห่งโสตธาตุ เธอย่อมฟังเสียงได้ทั้ง ๒ อย่าง คือ ทั้งเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งในที่ไกลและในที่ใกล้ ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่าง หรืออย่างเดียว ด้วยสามารถการแผ่วิตกไป เป็นโสตธาตุวิสุทธิญาณ.

๕๑. อรรถกถาโสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส

๒๕๔] พึงทราบวินิจฉัยในโสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้.

ท่านกล่าวบทมีอาทิว่า ทูเรปิ สทฺทานํ - แห่งเสียงทั้งหลาย แม้ในที่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 971

ไกล เพื่อชี้แจงถึงอุบายของภิกษุผู้เป็นอาทิกรรมิก - ผู้ทำกรรมครั้งแรก ประสงค์จะยังทิพโสตให้เกิด.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ทูเรปี สทฺทานํ สทฺทนิมิตฺตํ - เสียงเป็นนิมิตแห่งเสียงทั้งหลาย แม้ในที่ไกล คือ เสียงในระหว่างแห่งเสียงทั้งหลายในที่ไกล. จริงอยู่ เสียงนั่นแหละ เป็นสัททนิมิตด้วยสามารถทำเป็นนิมิต. แม้เมื่อท่านกล่าวว่า ทูเร ก็ได้แก่ในที่เป็นคลองแห่งเสียงตามปกตินั่นเอง.

บทว่า โอฬาริกานํ คือ เสียงหยาบ.

บทว่า สุขุมานํ คือ เสียงละเอียด.

บทว่า สณฺหสณฺหานํ คือ เสียงละเอียดยิ่ง. ด้วยบทนี้เป็นอันท่านกล่าวถึงเสียงละเอียดยิ่ง. ภิกษุผู้เพ่งเป็นอาทิกรรมิกประสงค์จะยังญาณนี้ให้เกิด เข้าฌานอันมีอภิญญาเป็นบาท ครั้นออกแล้วมีจิตเป็นบริกรรมสมาธิ ก่อนอื่นควรคำนึงถึงเสียงหยาบของสีหะเป็นต้น ในที่ไกลเป็นคลองแห่งหูตามปกติ. ควรคำนึงถึงเสียงละเอียดยิ่งโดยตามลำดับ ตั้งแต่เสียงหยาบทั้งปวงอย่างนี้ คือ เสียงระฆังในวัด เสียงกลอง เสียงสังข์ เสียงสาธยายของสามเณร และภิกษุหนุ่มผู้สาธยาย ด้วย กำลังทั้งหมด เสียงมีอาทิว่า... อะไรพระคุณเจ้า. อะไรอาวุโส. ของภิกษุผู้กล่าวกถาตามปกติ เสียงนก เสียงลม เสียงเท้า เสียงน้ำเดือดดังจิจิ เสียงใบตาลแห้งเพราะแดด เสียงมดดำมดแดงเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 972

อนึ่ง ภิกษุกระทำอยู่อย่างนี้ควรมนสิการถึงสัททนิมิตในทิศ ๑๐ มีทิศตะวันออกเป็นต้น ทิศหนึ่งๆ โดยลำดับ. ตามนัยดังได้กล่าวแล้ว. อันภิกษุผู้มนสิการ ควรมนสิการด้วยจิตเป็นไปในมโนทวาร ด้วยการเงี่ยหูตามปกติ ในเสียงที่หูได้ยินตามปกติ. เสียงเหล่านั้นย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้มีจิตปกติ. แต่ปรากฏอย่างยิ่งแก่ภิกษุผู้มีจิตบริกรรมสมาธิ. เมื่อภิกษุมนสิการสัททนิมิตอยู่อย่างนี้ มโนทวาราวัชชนะย่อมเกิดเพราะทำอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในเสียงเหล่านั้นว่า บัดนี้ทิพโสตธาตุจักเกิด. เมื่อมโนทวาราวัชชนะนั้นดับแล้วชวนจิต ๔ หรือ ๕ ดวง ย่อมแล่นไป. กามาวจรจิตอันมีชื่อว่า บริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู ๓ หรือ ๔ ดวง ย่อมแล่นไป. อัปปนาจิตที่ ๔ ที่ ๕ อันเป็นไปในจตุตถฌานอันเป็นรูปาวจร ย่อมแล่นไป.

ญาณอันเกิดขึ้นด้วยอัปปนาจิตนั้น ชื่อว่าทิพโสตธาตุญาณ. ภิกษุทำญาณนั้นให้มีกำลังกำหนดเพียงองคุลีหนึ่งว่า ในระหว่างนี้เราจะฟังเสียง แล้วพึงเจริญ. แต่นั้นพึงเจริญตราบเท่าถึงจักรวาลด้วยสามารถมีอาทิ ๒ องคุลี ๔ องคุลี ๘ องคุลี คืบ ศอก ภายในห้อง หน้ามุข บริเวณปราสาท สังฆาราม โคจรคามและชนบท หรือกำหนดแล้วๆ พึงเจริญให้ยิ่งไปกว่านั้น. ภิกษุนั้นบรรลุอภิญญาอย่างนี้ แม้ไม่เข้าฌาน อันเป็นบาทอีก ย่อมได้ยินเสียงที่ไปในภายในของโอกาสที่ถูกต้องด้วยอารมณ์แห่งฌานเป็นบาท ด้วยอภิญญาญาณ. เมื่อได้ยินอย่างนี้หากว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 973

ได้มีโกลาหลเป็นอันเดียวกันด้วยเสียงสังข์ กลองและบัณเฑาะว์เป็นต้น ตลอดถึงพรหมโลก. เพราะความเป็นผู้ใคร่เพื่อให้กำหนดเฉพาะอย่างเดียว ย่อมสามารถให้กำหนดว่า นี้เสียงสังข์. นี้เสียงกลอง. เมื่อได้ยินเสียงมีประโยชน์ด้วยอภิญญาญาณ ภิกษุย่อมรู้อรรถด้วยกามาวจรจิตในภายหลัง. ทิพโสตย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้มีหูเป็นปกติ. มิได้เกิดแก่ภิกษุหูหนวก. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ในภายหลังเมื่อหูปกติ แม้เสื่อมไป ทิพโสตก็ไม่เสื่อมไปด้วยดังนี้.

ในบทนี้ว่า โส ทิพฺพาย โสตธาตุยา - โสตธาตุอันเป็นทิพย์ มีความดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า ทิพย์ เพราะเช่นกับทิพย์. ปสาทโสตธาตุเป็นทิพย์สามารถรับอารมณ์แม้ในที่ไกล เพราะพ้นจากอุปกิเลส ไม่พัวพันด้วยดี เสมหะและเลือดเป็นต้น เพราะเทวดาทั้งหลายเกิดด้วยกรรมอันสุจริต. ญาณโสตธาตุก็เช่นกัน. เกิดด้วยกำลังแห่งการเจริญ ความเพียรของภิกษุนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าทิพย์ เพราะเป็นเช่นกับทิพย์.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าทิพย์ เพราะได้ด้วยสามารถแห่งทิพวิหารธรรม. และเพราะอาศัยทิพวิหารธรรมด้วยตน. ชื่อว่าโสตธาตุ เพราะ อรรถว่าฟัง และเพราะอรรถว่าไม่มีชีวะ. อนึ่ง เป็นดุจโสตธาตุด้วยทำกิจของโสตธาตุ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าโสตธาตุ. ด้วยโสตธาตุอันเป็นทิพย์นั้น.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 974

บทว่า วิสุทฺธาย คือ บริสุทธิ์ไม่มีอุปกิเลส.

บทว่า อติกฺกนฺตมานุสิกาย - ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ คือ ด้วยทิพโสตอันล่วงอุปจารของมนุษย์ก้าวล่วงมังสโสตธาตุของมนุษย์ด้วยการฟังเสียง.

บทว่า อุโภ สทฺเท สุณาติ คือ ฟังเสียงสองอย่าง. เสียงสองอย่าง คือ อะไร? คือ ทั้งเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์. ท่านอธิบายว่า เสียงของเทวดา และของมนุษย์. ด้วยบทนี้พึงทราบการถือเอาที่อยู่.

บทว่า เย ทูเร สนฺติเก จ - ทั้งในที่ไกลและในที่ใกล้ ท่านอธิบายว่า ย่อมได้ยินเสียงในที่ใกล้ แม้ในจักรวาลอื่น และในที่ใกล้โดยที่สุด แม้เสียงสัตว์ที่อยู่ในกายของตน. ด้วยบทนี้พึงทราบการถือเอาไม่มีที่อยู่ ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาโสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส