พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

เจโตปริยญาณนิทเทส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40937
อ่าน  435

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 974

เจโตปริยญาณนิทเทส

๕๒. อรรถกถาเจโตปริยญาณนิทเทส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 974

เจโตปริยญาณนิทเทส

[๒๕๕] ปัญญาในการกำหนดจริยา คือ วิญญาณหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต ๓ ประเภท และด้วยสามารถความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นเจโตปริยญาณอย่างไร?

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 975

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยสมาธิยิ่งด้วยฉันทะ และสังขารอันเป็นประธาน... ครั้นแล้วย่อมรู้อย่างนี้ว่า รูปนี้เกิดขึ้นด้วยโสมนัสสินทรีย์ รูปนี้เกิดขึ้นด้วยโทมนัสสินทรีย์ รูปนี้เกิดขึ้นด้วยอุเบกขินทรีย์ ภิกษุนั้นมีจิตอื่นอบรมแล้วอย่างนั้น บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่า จิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่า จิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่า จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่า จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่า จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคตก็รู้ว่า จิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคตก็รู้ว่า จิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่า จิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่า จิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า จิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า จิตไม่หลุดพ้น จิตน้อมไปก็รู้ว่า จิตน้อมไป หรือจิตไม่น้อมไปก็รู้ว่า จิตไม่น้อมไป.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดจริยาวิญญาณหลายอย่าง หรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต ๓ ประเภท

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 976

และด้วยสามารถความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นเจโตปริยญาณ.

๕๒. อรรถกถาเจโตปริยญาณนิทเทส

๒๕๕] พึงทราบวินิจฉัยในเจโตปริยญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้

บทว่า โส เอวํ ปชานาติ - ภิกษุนั้นย่อมรู้อย่างนี้ ความว่า บัดนี้พระสารีบุตรเถระจะยกวิธีที่ควรกล่าวขึ้นแสดง.

บทมีอาทิว่า อิทํ รูปํ โสมนสฺสินฺทฺริยสมุฏฺิตํ - รูปนี้เกิดขึ้นด้วยโสมนัสสินทรีย์เป็นวิธีอันภิกษุผู้เพ่ง เป็นอาที่กรรมิกควรปฏิบัติอย่างไร? อันภิกษุผู้เพ่งประสงค์จะยังญาณนั้นให้เกิดขึ้น ควรให้ทิพจักษุญาณเกิดก่อน. เพราะเจโตปริยญาณนั้นย่อมสำเร็จด้วยสามารถแห่งทิพจักษุ. ญาณนั้นเป็นบริกรรมของทิพจักษุนั้น. เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นเจริญอาโลกกสิณเห็นสีของโลหิตอันเป็นไปอยู่ เพราะอาศัยหทัยรูปของคนอื่นด้วยทิพจักษุจึงควรแสวงหาจิต. เพราะโลหิตนั้นเมื่อกุศลโสนมนัสยังเป็นไปอยู่ ย่อมมีสีแดงคล้ายสีของลูกไทรสุก. เมื่ออกุศลโสมนัสยังเป็นไปอยู่ โลหิตนั้นย่อมมีสีขุ่นมัว. เมื่อโทมนัสยังเป็นอยู่ ย่อมมีสีดำขุ่นมัวเหมือนสีลูกหว้าสุก. เมื่อกุศลอุเบกขายังเป็นไปอยู่ ย่อมมีสีใสเหมือนน้ำมันงา. เมื่ออกุศลอุเบกขายังเป็นไปอยู่ โลหิตนั้นย่อมขุ่นมัว. เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นเห็นสีโลหิตหทัยของคนอื่นว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 977

รูปนี้เกิดขึ้นด้วยโสมนัสสินทรีย์. รูปนี้เกิดขึ้นด้วยโทมนัสสินทรีย์ รูปนี้เกิดขึ้นด้วยอุเบกขินทรีย์ดังนี้ แล้วแสวงหาจิตควรทำเจโตปริยญาณให้มีกำลัง. เพราะเมื่อเจโตปริยญาณนั้นมีกำลังอย่างนี้ ภิกษุย่อมรู้จิตอันมีประเภทเป็นกามาวจรเป็นต้น แม้ทั้งหมดโดยลำดับ ก้าวไปจากจิตสู่จิต เว้นการเห็นรูป (สี) ของหทัย. แม้ในอรรถกถาท่านก็กล่าวไว้ว่า

ถามว่า ผู้ประสงค์จะรู้จิตของผู้อื่นในอรูปภพ ย่อมเห็นหทัยรูปของใคร? ย่อมแลดูความวิการแห่งอันทรีย์ของใคร? ตอบว่า ไม่แลดูของใครๆ นี้เป็นวิสัยของผู้มีฤทธิ์ คือ ภิกษุคำนึงถึงจิตในที่ไหนๆ ย่อมรู้จิต ๑๖ ประเภท. ก็นี้เป็นกถาด้วย อำนาจแห่งการไม่ทำความยึดมั่น (๑) .

บทว่า ปรสตฺตานํ - แห่งสัตว์อื่น คือ แห่งสัตว์ที่เหลือเว้นตน.

บทว่า ปรปุคฺคลานํ แห่งบุคคลอื่น แม้บทนี้ก็มีความอย่างเดียวกับบทว่า ปรสตฺตานํ นี้ แต่ท่านกล่าวความต่างกันด้วยความไพเราะแห่งเทศนา และด้วยพยัญชนะ ด้วยสามารถเวไนยสัตว์.

บทว่า เจตสา เจโต ปริจฺจ ปชานาติ - กำหนดรู้ใจด้วยใจ คือ กำหนดรู้ใจของสัตว์เหล่านั้น ด้วยใจของตนโดยประการต่างๆ


๑. วิสุทธิมรรค เล่ม ๒ หน้า ๒๔๗ - ๘.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 978

ด้วยอำนาจจิตมีราคะเป็นต้น. วา ศัพท์ ในบทมีอาทิว่า สราคํ วา เป็น สมุจจยัตถะ คือ อรรถว่ารวบรวม.

ในบทนั้น จิตสหรคตด้วยโลภะ ๘ อย่าง ชื่อว่าจิตมีราคะ. กุศลจิตและอัพยากตจิตเป็นไปในภูมิที่เหลือชื่อว่าจิตปราศจากราคะ.

ส่วนจิต ๔ ดวงเหล่านี้ คือ จิตที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ ดวง จิตที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ ๒ ดวง ไม่สงเคราะห์เข้าในทุกะนี้. แต่พระเถระบางพวกสงเคราะห์จิตแม้เหล่านี้ ด้วยบทว่า วีตราค - ปราศจากราคะ.

ส่วนจิตสหรคตด้วยโทมนัส ๒ อย่าง ชื่อว่าจิตมีโทสะ. กุศลจิตและอัพยากตจิต เป็นไปในภูมิ ๔ แม้ทั้งหมด ชื่อว่าจิตปราศจากโทสะ. อกุศลจิต ๑๐ ที่เหลือไม่สงเคราะห์เข้าในทุกะนี้. แต่พระเถระบางพวก สงเคราะห์อกุศลจิตแม้เหล่านั้นด้วยบทว่า วีตโทสํ - ปราศจากโทสะ.

แต่ในบทนี้ว่า สโมหํ วีตโมหํ - จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ สองบทนี้สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ ด้วยสามารถเป็นเอกเหตุกะของโมหะ ชื่อว่าจิตมีโมหะ. อกุศลจิตแม้ ๑๒ อย่าง พึงทราบว่า ชื่อว่าจิตมีโมหะ เพราะโมหะเกิดในอกุศลทั้งหมด. กุศลและอัพยากฤตที่เหลือเป็นจิตปราศจากโมหะ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 979

ส่วนจิตที่เนื่องด้วยถีนมิทธะเป็นจิตหดหู่ จิตที่เนื่องด้วยอุทธัจจะเป็นจิตฟุ้งซ่าน.

รูปาวจรจิตและอรูปาวจรจิต เป็นจิตมหรคต. จิตเป็นไปในภูมิ ๓ แม้ทั้งหมดเป็นจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า. โลกุตตรจิตเป็นจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า

จิตที่ถึงอุปจาระและจิตถึงอัปปนา เป็นจิตมีสมาธิ. จิตที่ไม่ถึงทั้งสองอย่างนั้นเป็นจิตไม่มีสมาธิ.

จิตที่ถึงตทังควิมุตติ วิกขัมภนวิมุตติ สมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ เป็นจิตพ้นแล้ว. จิตที่ไม่ถึงวิมุตติ ๕ นี้ พึงทราบว่า เป็นจิตยังไม่พ้นแล้ว.

ภิกษุผู้ได้เจโตปริยญาณ ย่อมรู้จิตแม้มีประเภท ๑๖ อย่าง

ปุถุชนทั้งหลายย่อมไม่รู้มรรคจิตและผลจิตของพระอริยะทั้งหลาย. แม้พระอริยะชั้นต่ำก็ไม่รู้มรรคจิตและผลจิตของพระอริยะชั้นสูงๆ แต่พระอริยะชั้นสูงๆ ย่อมรู้จิตของพระอริยะชั้นต่ำๆ ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาเจโตปริยญาณนิทเทส