บุพเพนิวาสานุสติญาณนิทเทส
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 980
บุพเพนิวาสานุสติญาณนิทเทส
๕๓. อรรถกถาบุพเพนิวาสานุสติญาณนิทเทส
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 980
บุพเพนิวาสานุสติญาณนิทเทส
[๒๕๖] ปัญญาในการกำหนดธรรมทั้งหลาย อันเป็นไปตามปัจจัยด้วยสามารถความแผ่ไปแห่งกรรมหลายอย่างหรืออย่างเดียว เป็นบุพเพนิวาสานุสติญาณอย่างไร?
ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยสมาธิยิ่ง ด้วยฉันทะและสังขารอันเป็นประธาน ฯลฯ ครั้นแล้วย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็ย่อมมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุนั้นมีจิตอบรมแล้วอย่างนั้น บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสติญาณ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติ บ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 981
บ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่าในชาติโน้นเราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ได้เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากชาตินั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ ได้เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนี้ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านี้ ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทส ด้วยประการฉะนี้.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรมอันเป็นไปตามปัจจัย ด้วยสามารถการแผ่ไปแห่งกรรมหลายอย่างหรืออย่างเดียว เป็นบุพเพนิวาสานุสติญาณ.
๕๓. อรรถกถาบุพเพนิวาสานุสติญาณนิทเทส
๒๕๖] พึงทราบวินิจฉัยในบุพเพนิวาสานุสติญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้.
บทมีอาทิว่า เอวํ ปชานาติ - ภิกษุรู้ชัดอย่างนี้ พระสารี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 982
บุตรเถระกล่าวเพื่อแสดงวิธีให้เกิดอิทธิบาทนั้น แก่ผู้ใคร่เพื่อยังบุพเพนิวาสานุสติญาณให้เกิดแก่จิตที่อบรมแล้วในอิทธิบาท ๔.
จริงอยู่ ภิกษุครั้นเห็นปฏิจจสมุปบาทโดยลำดับแล้ว ย่อมเห็นความสังเขปแห่งผลอันเกิดขึ้นแล้ว กล่าวคือ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา.
ย่อมเห็นความสังเขปแห่งเหตุ กล่าวคือ กรรม กิเลสในภพก่อน อันเป็นปัจจัยแห่งความสังเขปของผลนั้น.
ย่อมเห็นความสังเขปแห่งผลในภพก่อนอันเป็นปัจจัยแห่งความสังเขปแห่งเหตุนั้น.
ย่อมเห็นความสังเขปแห่งเหตุในภพที่ ๓ อันเป็นปัจจัยแห่งความสังเขปแห่งผลนั้น.
ย่อมเห็นเบื้องหน้าของชาติ ด้วยการเห็นปฏิจจสมุปบาทอย่างนี้. การมนสิการปฏิจจสมุปบาท มีอุปการะมากแก่บุพเพนิวาสานุสติญาณ ด้วยประการฉะนี้.
ในบทเหล่านั้นบทนี้ว่า อิมสฺมึ สติ อทํ โหติ, อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ - เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เป็นคำยกขึ้นขยายความของปฏิจจสมุปบาท. หากถามว่า เมื่อสำเร็จความด้วยคำอย่างใดอย่างหนึ่งแห่งบทเหล่านั้น. เพราะเหตุไร จึงกล่าวเป็น ๒ อย่าง. ตอบว่า เพราะมีความต่างกันโดยอรรถ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 983
บทว่า อิมสฺมึ สติ - เมื่อสิ่งนี้มี คือ เมื่อปัจจัยนี้มีอยู่. บทนี้กล่าวทั่วไปของปัจจัยทั้งหมด.
บทนี้ว่า อิทํ โหติ - สิ่งนี้ย่อมมี คือ สิ่งนี้ย่อมเกิดขึ้นเพราะปัจจัย. บทนี้กล่าวทั่วไปของสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยทั้งหมด. ด้วยคำทั้งสิ้นนี้ อเหตุกวาทะเป็นอันท่านปฏิเสธแล้ว เพราะธรรมเหล่าใดเกิดเพราะปัจจัย ไม่เกิดเพราะไม่มีปัจจัย ธรรมเหล่านั้นไม่ชื่อว่าอเหตุกะ.
บทว่า อิมสฺสุปฺปาท - เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น คือ เพราะเหตุปัจจัยเกิดขึ้น. บทนี้เป็นคำกล่าวแสดงความต่างแห่งความเกิดขึ้นของปัจจัยทั้งหมด.
บทนี้ว่า อิทํ อุปฺปชฺชติ - สิ่งนี้ย่อมเกิดขึ้น คือ สิ่งนี้มีปัจจัยเกิดขึ้นจึงเกิด. บทนี้กล่าวแสดงถึงความที่ปัจจัยทั้งหมดเกิดขึ้นจึงเกิดขึ้นต่อแต่นั้นไป. ด้วยคำทั้งสิ้นนี้ สัสสตวาทะและอเหตุกวาทะเป็นอันท่านปฏิเสธแล้ว เพราะธรรมเหล่าใดมีเกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้นไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น ท่านจึงอธิบายไว้ว่า เมื่อความที่ธรรมทั้งหลายมีเหตุมีอยู่ ธรรมเหล่านั้นมีความไม่เที่ยงเป็นเหตุ มิใช่มีบุรุษเป็นปกติเป็นต้นซึ่ง สมมติว่าเที่ยงในโลกเป็นเหตุ.
บทว่า ยทิทํ เป็นคำชี้แจงอรรถที่ควรชี้แจง.
ในบทนี้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา - เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 984
จึงมีสังขาร มีอธิบายดังต่อไปนี้ ผลเกิดขึ้นเพราะอาศัยสิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็นปัจจัย.
บทว่า ปฏิจฺจ - อาศัย คือ ไม่พราก. อธิบายว่า ไม่บอกคืน.
บทว่า เอติ คือ ย่อมเกิดขึ้นและย่อมเป็นไป. อีกอย่างหนึ่ง มีอรรถว่า เป็นอุปการะ เป็นปัจจัย. อวิชชานั้นด้วยเป็นปัจจัยด้วย เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าอวิชชาเป็นปัจจัย. เพราะฉะนั้น ควรประกอบว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สมฺภวนฺติ - เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร. พึงทำการประกอบ สมฺภวนฺติ ศัพท์ แม้ด้วยบทที่เหลือ.
อนึ่ง ในบทว่าโสกะเป็นต้น มีความดังต่อไปนี้. ความแห้งใจ ชื่อว่า โสกะ. ความคร่ำครวญ ชื่อว่า ปริเทวะ. สิ่งที่สิ้นไปได้ยาก ชื่อว่า ทุกขะ หรือสิ่งน่ากลัว ๒ อย่าง คือ ด้วยสามารถแห่งความเกิดและความตั้งอยู่ ชื่อว่า ทุกข์. ความเสียใจ ชื่อว่า โทมนัส. ความแค้นใจยิ่ง ชื่อว่า อุปายาส.
ในบทนี้ว่า สมฺภวนฺติ - ย่อมมี คือ ย่อมเกิด.
บทว่า เอวํ เป็นบทแสดงนัยที่แสดงแล้ว. ด้วยบทนั้น พระสารีบุตรเถระแสดงว่า ด้วยเหตุมีอวิชชาเป็นต้น. มิใช่ด้วยลัทธิทั้งหลาย มีพระเจ้าสร้างขึ้นเป็นต้น.
บทว่า เอตสฺส คือ ตามที่กล่าวแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 985
บทว่า เกวลสฺส - ทั้งสิ้น คือ ไม่มีปน หรือสิ้นเชิง.
บทว่า ทุกฺขกฺขนฺธสฺส คือ กองทุกข์. มิใช่แห่งสัตว์ มิใช่แห่งสุข และความงามเป็นต้น.
บทว่า สมุทโย คือ เกิด.
บทว่า โหติ คือมี
ในบทเหล่านั้น อวิชชาเป็นอย่างไร? คือ ความไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้ทุกขสมุทัย ไม่รู้ทุกขนิโวธ ไม่รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ไม่รู้ที่สุดเบื้องต้น ไม่รู้ที่สุดเบื้องปลาย ไม่รู้ทั้งที่สุดเบื้องต้นทั้งที่สุดเบื้องปลาย ไม่รู้ในธรรมอันอาศัยกันเกิดขึ้น คือ อิทัปปัจจยตา - สิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนี้.
สังขารเป็นอย่างไร? คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร, กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร, กามาวจรกุศลเจตนา ๘ รูปาวจรกุศลเจตนา ๕ ชื่อว่าปุญญาภิสังขาร, อกุศลเจตนา ๑๒ ชื่อว่าอปุญญาภิสังขาร, อรูปาวจรกุศลเจตนา ๕ ชื่อว่า อาเนญชาภิสังขาร. กายสัญเจตนา ชื่อว่ากายสังขาร. วจีสัญเจตนา ชื่อว่าวจีสังขาร. มโนสัญเจตนา ชื่อว่าจิตตสังขาร.
ในข้อนั้นพึงมีคำถามว่า จะพึงรู้ข้อนั้นได้อย่างไรว่าสังขารเหล่านั้นย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย. รู้ได้เพราะความมีอวิชชา. จริงอยู่ ความไม่รู้ กล่าวคือ อวิชชาในทุกข์เป็นต้น อันภิกษุใดละไม่ได้แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 986
ภิกษุนั้นยึดถือสังขารทุกข์ด้วยสำคัญว่าเป็นสุขด้วยไม่รู้ในทุกข์ และในที่สุดเบื้องต้นเป็นต้นมาก่อน แล้วปรารภสังขาร ๓ อย่างอันเป็นเขตุแห่งทุกข์นั้น. ภิกษุสำคัญโดยเป็นเหตุแห่งสุขปรารภสังขารทั้งหลาย อันเป็นบริขารของตัณหา แม้เป็นเหตุแห่งทุกข์ด้วยไม่รู้ในสมุทัย.
อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีความสำคัญในการดับทุกข์ อันเป็นคติวิเศษ แม้มิใช่เป็นความดับทุกข์ด้วยไม่รู้ในนิโรธและมรรค และเป็นผู้มีความสำคัญในนิโรธและมรรคในยัญและตบะเพื่อความไม่ตายเป็นต้น แม้มิใช่เป็นมรรคแห่งนิโรธ ปรารถนาความดับทุกข์ ย่อมปรารภสังขารทั้งหลายแม้ ๓ อย่าง โดยมียัญและตบะเพื่อความไม่ตายเป็นต้นเป็นประธาน.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุนั้นไม่รู้ทุกข์ กล่าวคือ ผลบุญแม้เกลือกกลั้วด้วยโทษไม่น้อยมีชาติ ชรา โรค มรณะเป็นต้น โดยวิเศษเพราะไม่รู้การไม่ละในสัจจะ ๔ ด้วยอวิชชานั้น โดยความเป็นทุกข์ย่อมปรารภปุญญาภิสังขารอันมีประเภทเป็นกายสังขาร วจีสังขารและจิตสังขาร เพื่อบรรลุทุกข์นั้น ดุจผู้ใคร่นางเทพอัปสรปรารภการเกิดเป็นเทวดา ฉะนั้น. แม้ไม่เห็นความเป็นทุกข์ คือ ความแปรปรวนและความเป็นสิ่งมีความชื่นชมน้อย อันเกิดจากความเร่าร้อนใหญ่หลวงในที่สุดแห่งผลบุญนั้น แม้สมมติว่าเป็นความสุข ย่อมปรารภปุญญาภิสังขารมีประการดังกล่าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 987
แล้วอันมีทุกข์นั้นเป็นปัจจัย ดุจตั๊กแตนปรารภถึงการตกไปในเปลวไฟ ฉะนั้น. และดุจบุคคลอยากหยาดน้ำผึ้ง ปรารภการเลียคมศัสตราอันฉาบไว้ด้วยน้ำผึ้ง ฉะนั้น. ไม่เห็นโทษในทุกข์พร้อมวิบาก มีการเสพกามเป็นต้น ปรารภอปุญญาภิสังขารแม้เป็นไปในทวาร ๓ ด้วยความสำคัญว่าเป็นสุข และเพราะถูกกิเลสครอบงำ ดุจเด็กอ่อนปรารภการเล่นคูถ ฉะนั้น. และดุจคนอยากตายปรารภการกินยาพิษ ฉะนั้น. ไม่รู้ความที่สังขารเป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวนในวิบากอันไม่มีรูป ปรารภอาเนญชาภิสังขาร อันเป็นจิตตสังขารด้วยความเห็นผิดว่าเที่ยง เป็นต้น ดุจคนหลงทิศปรารภการเดินทางมุ่งหน้าไปเมืองปีศาจฉะนั้น เพราะความเป็นสังขารโดยมีอวิชชา มิใช่เพราะความไม่มี. ฉะนั้น ควรรู้บทนี้ว่า อิเม สงฺขารา อวิชฺชาปจฺจยา โหนติ - สังขารเหล่านี้มีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.
ในบทนี้พระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ว่า เราจะถือเอาบทนี้ก่อนว่า อวิชฺชา สงฺขารานํ ปจฺจโย - อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารทั้งหลาย. ก็อวิชชานี้อย่างเดียวเท่านั้นหรือเป็นปัจจัยแห่งสังขาร หรือว่าแม้อย่างอื่นเป็นปัจจัยก็มี. อนึ่ง ผิว่า ในบทนี้ อวิชชาอย่างเดียวเท่านั้นเป็นปัจจัย วาทะอันเป็นเหตุอย่างเดียว ย่อมมีหรือ. เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้อย่างอื่นก็ย่อมมี. การชี้แจงเหตุเดียวว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารดังนี้จะไม่เกิดขึ้นได้. ไม่เกิด เพราะเหตุไร? เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 988
เอกํ น เอกโต อิธ นาเนกมเนกโตปิ โน เอกํ
ผลมตฺถิ อตฺถิ ปน เอกเหตุผลทีปเน อตฺโถ.
ในโลกนี้ ผลอย่างเดียว ย่อมมีเพราะเหตุอย่างเดียวก็หาไม่ ผลหลายอย่าง ย่อมมีเพราะเหตุอย่างเดียวก็หาไม่ ผลอย่างเดียวย่อมมีเหตุหลายอย่างก็หาไม่ แต่ประโยชน์ในการแสดงเหตุและผลแต่ละอย่างมีอยู่.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเหตุและผลอย่างเดียวเท่านั้น โดยความสมควรแก่ความเหมาะสมแห่งเทศนา และแก่เวไนยสัตว์ เพราะเป็นประธานในที่ทุกแห่ง เพราะปรากฏในที่ทุกแห่ง. เพราะทั่วไปในที่ทุกแห่ง. ฉะนั้น พึงทราบว่า อวิชชาในที่นี้ แม้เมื่อเป็นเหตุแห่งสังขารอันมีวัตถุเป็นอารมณ์ และธรรมเกิดร่วมกันเป็นต้นเหล่าอื่น ท่านก็แสดงโดยความเป็นเหตุแห่งสังขารทั้งหลาย เพราะความเป็น ประธานในบทว่า อวิชชาเป็นเหตุแห่งเหตุของสังขารมีตัณหาเป็นต้น แม้เหล่าอื่นเพราะบาลีว่า อสฺสาทานุปสฺสิโน ตณฺหา ปวฑฺฒติ (๑) ตัณหาย่อมเจริญแก่ผู้เห็นความชื่นชม และว่า อวิชฺชา สมุทยา อาสวสมุทโย (๒) - เพราะอวิชชาเป็นสมุทัย อาสวะจึงเกิด. เพราะ
๑. สํ. นิ. ๑๖/๑๙๗.
๒. ม. มู. ๑๒/๑๓๐.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 989
ปรากฏในพระบาลีว่า อวิทฺวา ภิกฺขเว อวิชฺชาคโต ปุญฺาภิสงฺขารมฺปิ อภิสงฺขโรติ - ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ไม่รู้ไปสู่อวิชชา ย่อมปรุงแต่ง แม้ปุญญาภิสังขาร และเพราะความไม่ทั่วไป. อนึ่ง พึงทราบประโยชน์ในการแสดงเหตุผลอย่างหนึ่งๆ ในที่ทั้งปวงด้วย การปกป้องการแสดงเหตุผลอย่างหนึ่งๆ นั้นนั่นแหละ.
ในบทนี้พระสารีบุตรเถระกล่าวว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ความที่อวิชชามีโทษเป็นผลไม่น่าปรารถณาโดยส่วนเดียวเป็นปัจจัยแห่งปุญญาภิสังขารและอาเนญชาภิสังขารจะถูกต้องได้อย่างไร. เพราะอ้อยย่อมไม่เกิดขึ้นจากพืชสะเดาได้. จักไม่ถูกต้องได้อย่างไร. เพราะในโลก
วิรุทฺโธ จาวิรุทฺโธ จ สทิสาสทิโส ตถา
ธมฺมานํ ปจฺจโย สิทฺโธ วิปากา เอว เต จ น.
ธรรมทั้งหลายที่สำเร็จเป็นปัจจัยแล้ว ผิดฐานะกันก็มี เหมือนกันก็มี อนึ่ง เป็นเช่นเดียวกันและไม่เป็นเช่นเดียวกันก็มี ธรรมเหล่านั้นหาใช่วิบากอย่างเดียวไม่.
ด้วยประการฉะนี้พึงทราบว่า อวิชชานี้จึงเป็นผลไม่น่าปรารถนาโดยส่วนเดียวด้วยสามารถวิบาก. อวิชชาแม้มีโทษด้วยสามารถสภาวะ ก็ยังเป็นปัจจัยด้วยสามารถเป็นปัจจัยแห่งความผิดและไม่ผิดโดยฐานะ กิจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 990
และสภาวะตามสมควรแก่ปุญญาภิสังขารเป็นต้นเหล่านั้นทั้งหมด และด้วยสามารถเป็นปัจจัยเหมือนกันและไม่เหมือนกัน.
อีกอย่างหนึ่ง
บุคคลใดหลงไปในสงสารอันมีจุติและอุปบัติ ในลักษณะแห่งสังขารทั้งหลาย และในธรรมอันอาศัยกันเกิดขึ้น.
บุคคลนั้นย่อมตกแต่งสังขาร ๓ อย่างเหล่านั้น เพราะอวิชชานี้เป็นปัจจัยแห่งสังขาร ๓ เหล่านั้น.
เหมือนคนตาบอดแต่กำเนิดไม่มีผู้นำไป บางครั้งก็ไปถูกทาง บางครั้งก็ไปนอกทางฉันใด.
คนพาล เมื่อท่องเที่ยวไปในสงสารไม่มีผู้แนะนำ ก็ฉันนั้น. บางครั้งก็ทำบุญ บางครั้งก็ทำบาป.
เมื่อใดคนนั้นรู้ธรรมแล้วตรัสรู้อริยสัจ เมื่อนั้นจัดเที่ยวไปอย่างผู้สงบ เพราะอวิชชาสงบ.
บทว่า สงฺขารปจฺจยา วิญฺาณํ - เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ความว่า กองวิญญาณมี ๖ คือ จักขุวิญญาณ ๑ โสตวิญญาณ ๑ ฆานวิญญาณ ๖ ชิวหาวิญญาณ ๑ กายวิญญาณ ๑ มโนวิญญาณ ๑ ในวิญญาณเหล่านั้น จักขุวิญญาณมี ๒ อย่าง คือ กุศล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 991
วิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑. โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณก็เหมือนกัน. มโนวิญญาณมี ๒๒ คือ วิบากมโนธาตุ ๒. อเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ๓. สเหตุกวิบากจิต ๘. รูปาวจรวิบากจิต ๕. อรูปาวจรวิบากจิต ๔. วิญญาณทั้งหมดเป็นโลกิยวิบากวิญญาณ ๓๒ ด้วย ประการฉะนี้.
ในข้อนั้นพึงมีคำถามว่า จะพึงรู้ได้อย่างไรว่าวิญญาณมีประการดังกล่าวนี้ มีเพราะสังขารเป็นปัจจัย. เพราะไม่มีวิบากในความที่ไม่ได้สะสมกรรมไว้. จริงอยู่ วิบากนี้ย่อมไม่เกิดในเพราะความไม่มีกรรมที่สะสมไว้. ผิว่า พึงเกิด. วิบากทั้งหมดของกรรมทั้งปวงพึงเกิด. แต่วิบากทั้งปวงไม่เกิด เพราะฉะนั้น พึงรู้ข้อนี้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี.
จริงอยู่ วิญญาณนี้ทั้งหมดย่อมเป็นไป ๒ ส่วน ด้วยสามารถปฏิสนธิที่เป็นไป. ในวิญญาณนั้น วิญญาณ ๑๓ เหล่านี้ คือ วิญญาณ ๕ อย่างละ ๒ มโนธาตุ ๒ เหตุกมโนวิญญาณธาตุ สหรคตด้วยโสมนัส ๑. ย่อมเป็นไปในความเป็นไปในปัญจโวการภพ. วิญญาณ ๑๙ ที่เหลือย่อมเป็นไปในปวัตติกาลบ้าง ในปฏิสนธิบ้างตามสมควรในภพ ๓.
ลทฺธปฺปจฺจยมิติ ธมฺม - มตฺตเมตํ ภวนฺตรมุเปติ นาสฺส ตโต สงฺกนฺติ น ตโต เหตุ วินา โหติ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 992
วิญาณนี้เป็นเพียงธรรมได้ปัจจัยแล้ว ย่อมเข้าถึงภพอื่นด้วยประการฉะนี้ ความเคลื่อนไปจากภพ ย่อมไม่มีแก่วิญญาณนั้น วิญญาณเว้นเหตุจากภพนั้นก็มีไม่ได้.
ท่านอธิบายว่า วิญญาณนี้เกิดขึ้นเพียงอาศัยรูปธรรมและอรูปธรรมเป็นปัจจัยอันได้แล้ว ย่อมเข้าถึงภพอื่น มิใช่สัตว์ มิใช่ชีวะด้วยประการฉะนี้ อนึ่ง ความเคลื่อนจากภพในอดีตมาในภพนี้ของวิญญาณนั้นก็ไม่มี ความปรากฏของวิญญาณในโลกนี้ เว้นเหตุจากภพอดีตก็มีไม่ได้. อนึ่ง ในบทนี้ท่านกล่าวว่า การจุติโดยการเคลื่อนไปมีก่อน. การปฏิสนธิโดยการสืบต่อระหว่างภพเป็นต้น มีภายหลัง.
ในบทนี้พระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ว่า เมื่อมีความไม่เคลื่อนไปปรากฏอย่างนี้ จะพึงมีผลของสิ่งอื่นโดยความเป็นอื่น เพราะขันธ์ในอัตภาพมนุษย์นี้ดับไป เพราะกรรมอันเป็นปัจจัยของผลไม่ไปในวิญญาณนั้น มิใช่หรือ. อนึ่ง เมื่อไม่มีผู้เสพ ผลจะพึงมีแก่ใครเล่า. เพราะฉะนั้น วิธีนี้จึงไม่งาม.
ท่านกล่าวไว้ในบทนี้ว่า
สนฺตาเน ยํ ผลํ เอตํ นาญฺสฺส น จ อญฺโต
พีชานํ อภิสงฺขาโร เอตสฺสตฺถสฺส สาธโก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 993
ผลใดในสันดาน ผลนี้มิใช่ของกรรมอื่น และไม่มีแต่กรรมอันการปรุงแต่งพืชทั้งหลายเป็นข้อพิสูจน์เนื้อความนี้.
ผลสฺสุปฺปติยา เอว สิทฺธา ภุญฺชกสมฺมติ
ผลุปฺปาเทน รุกฺขสฺส ยถา ผลติสมฺมติ.
สมมติว่า บุคคลผู้เสวยสำเร็จ เพราะความเกิดขึ้นแห่งผล ก็เหมือนกับสมมติว่า ต้นไม้ย่อมผลิผล เพราะความเกิดขึ้นแห่งผล.
แม้ผู้ใดพึงกล่าวว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ สังขารเหล่านี้มีอยู่ก็ตาม ไม่มีอยู่ก็ตาม พึงเป็นปัจจัยแก่ผล. อนึ่ง ผิว่า มีอยู่ในขณะเป็นไปนั่นแหละ ก็พึงเป็นวิบากแห่งสังขารเหล่านั้น. ครั้นไม่มีอยู่ สังขารทั้งหลายพึงนำมาซึ่งผลเป็นนิจทั้งก่อนและหลังจากความเป็นไป. ปัญหากรรมนั้นพึงตอบกะผู้นั้นอย่างนี้ว่า
กฏตฺตา ปจฺจยา เอเต น จ นิจฺจผลาวหา
ปาฏิโภคาทิกํ ตตฺถ เวทิตพฺพํ นิทสฺสนํ.
สังขารเหล่านี้เป็นปัจจัยเพราะกระทำ มิใช่นำมาซึ่งผลเป็นนิจเลย ในเรื่องนั้น พึงทราบเรื่องนายประกันเป็นต้น เป็นตัวอย่าง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 994
บทว่า วิญฺาณปจฺจยา นามรูปํ - เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ความว่า เวทนา สัญญา สังขาร เป็นนาม. มหาภูตรูป ๔ และรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูป. ธรรม ๒๓ เหล่านี้ได้รูป ๒๐ คือ วัตถุทสกะ กายทสกะ ในขณะแห่งปฏิสนธิของสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ผู้ไม่มีภาวะ กับสัตว์ผู้เกิดในไข่ และอรูปขันธ์ ๓๑ พึงทราบว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป. เพิ่มภาวทสกะแห่งสัตว์ผู้มีภาวรูป จึงเป็นธรรม ๓๓.
ธรรม ๔๒ เหล่านี้ คือ รูป ๓๙ คือ จักขุทสกะ โสตทสกะ วัตถุทสกะ และชีวิตินทริยนวกะ ในขณะแห่งปฏิสนธิของพรหมกายิกา คือเทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหมเป็นต้น ในบรรดาสัตว์ผู้เป็นโอปปาติกะทั้งหลาย และอรูปขันธ์ ๓. พึงทราบว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป.
อนึ่ง ในกามภพธรรม ๗๓ เหลานี้ คือ รูป ๗๐ ได้แก่ จักขุทสกะ โสตทสกะ ฆานทสกะ ชิวหาทสกะ กายทสกะ วัตถุทสกะ ภาวทสกะ ในขณะปฏิสนธิของโอปปาติกะก็ดี สังเสทชะก็ดี ซึ่งมีอายตนะบริบูรณ์ตามสภาพ. และอรูปขันธ์ ๓. ชื่อว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป. นี้เป็นความยอดเยี่ยม. แต่โดยความย่อหย่อน
๑. อรูปขันธ์ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 995
พึงทราบกำหนดนามรูป เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยในปฏิสนธิ เพราะลดลงๆ ด้วยสามารถแห่งความไม่ปกติของทสกะนั้นๆ แห่งนามรูปนั้นๆ. อรูปขันธ์ ๓ ของธรรมไม่มีรูป. ชีวิตินทริยนวกะนั่นแหละ โดยเป็นรูปของธรรมไม่มีสัญญา. ในปฏิสนธิก็มีนัยนี้.
ในบทนั้น พึงมีคำถามว่า ข้อนั้นจะพึงรู้ได้อย่างไร? ปฏิสนธินามรูปมีวิญาณเป็นปัจจัยหรือ. ตอบว่า รู้ได้โดยสูตรและโดยยุกติ - ความชอบด้วยเหตุผล. เพราะในสูตร ความที่เวทนาเป็นต้น มีวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นที่รับรองกันโดยส่วนมากตามนัยมีอาทิว่า ธรรมทั้งหลายหมุนเวียนไปตามจิต (๑) แต่โดยยุกติว่า
จิตฺตเชน หิ รูเปน อิธ ทิฏฺเน สิชฺฌติ
อทิฏฺสฺสาปิ รูปสิส วิญฺาณํ ปจฺจโย อิติ.
ความจริง วิญญาณย่อมสำเร็จด้วยรูป อันเกิดแต่จิตเห็นแล้ว ในที่นี้ วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูปแม้ที่ไม่เห็น.
บทว่า นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ - เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ นามได้กล่าวแล้ว. แต่รูปในที่นี้โดยนิยมมี ๑๑ อย่าง คือ มหาภูตรูป ๔ วัตถุ ๖ ชีวิตินทรีย์ ๑. อายตนะ ๖ คือ จักขา
๑. อภิ. สํ. ๓๔/๙๕๙.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 996
ยตนะ ๑ โสตายตนะ ๑ ฆานายตนะ ๑ ชิวหายตนะ ๑ กายายตนะ ๑ มนายตนะ ๑.
ในบทนั้น พึงมีคำถามว่า ข้อนั้นจะพึงรู้ได้อย่างไรว่า นามรูปเป็นปัจจัยแก่สฬายตนะ. ตอบว่า รู้ได้เพราะมีในความเป็นนามรูป. จริงอยู่ อายตนะนั้นๆ ย่อมมีในความเป็นแห่งนามและรูปนั้นๆ. มิใช่มีในที่อื่น.
บทว่า สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส - เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ความว่า
ผัสสะอย่างสังเขปมี ๖ อย่าง มีจักขุสัมผัส เป็นต้น. โดยพิสดารมี ๓๒ อย่าง ดุจวิญญาณ.
บทว่า ผสฺสปจฺจยา เวทนา - เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ความว่า
ท่านกล่าวเวทนา มีจักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นต้นโดยทวาร เวทนาเหล่านั้นโดยประเภทมี ๖ แต่ในที่นี้เวทนา มี ๓๒.
บทว่า เวทนาปจฺจยา ตณฺหา - เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ความว่า
ในที่นี้ ท่านแสดงตัณหา ๖ อย่าง โดยประเภท มีรูปตัณหาเป็นต้น ตัณหาอย่างหนึ่งๆ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 997
รู้กันว่ามี ๓ อย่าง โดยอาการที่เป็นไปในเวทนานั้น.
ผู้มีทุกข์ย่อมปรารถนาสุข ผู้มีสุขย่อมปรารถนาให้ยิ่งๆ ไป แต่อุเบกขาเป็นสุขอย่างเดียว เพราะสงบ.
เพราะฉะนั้น เวทนา ๓ อย่าง เป็นปัจจัยแก่ตัณหา พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสวงคุณใหญ่ จึงตรัสว่า เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา.
บทว่า ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ความว่า อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ๑ ทิฏฐุปาทาน ๑ สีลัพพตุปาทาน ๑ อัตตวาทุปาทาน ๑.
บทว่า อุปาทานปจฺจยา ภโว - เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ. ในที่นี้ท่านประสงค์เอากรรมภพ. แต่ท่านกล่าวอุปปัตติภพด้วยการมุ่งถึงศัพท์.
บทว่า ภวปจฺจย ชาติ - เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ คือ ความปรากฏแห่งปฏิสนธิขันธ์ เพราะมีกรรมภพเป็นปัจจัย.
ในบทนั้น หากจะพึงมีคำถามว่า ข้อนั้นจะพึงรู้ได้อย่างไรเล่าว่า ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติ. ตอบว่า รู้ได้ เพราะแสดงถึงความต่างกัน มีเลวและประณีตเป็นต้น แม้ในความเสมอกันโดยปัจจัยภายนอก ท่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 998
ก็แสดงความต่างกันมีเลวและประณีตเป็นต้นของสัตว์ทั้งหลายตั้ง ๑๐๐ คู่ แม้ในความเสมอกันแห่งปัจจัยภายนอก มีบิดามารดา เลือดขาว และอาหารเป็นต้น. ความต่างกันนั้นมิใช่เป็นอเหตุกะ เพราะไม่มีในกาลทั้งปวงและแก่สัตว์ทั้งปวง. มิใช่เหตุอื่นจากกรรมภพ เพราะไม่มีเหตุอื่นในสันดานภายในของสัตว์ผู้เกิดในกรรมภพนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มีกรรมภพเป็นเหตุ. จริงอยู่ กรรมเป็นเหตุแห่งความแปลกกัน มีความเลวและประณีตเป็นต้นของสัตว์ทั้งหลาย.
ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย (๑) - กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลาย คือ เพราะความเลวและประณีต.
ในบทมีอาทิว่า ชาติปจฺจยา ชรามรณํ - เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ มีอธิบายดังต่อไปนี้ พึงทราบว่า เพราะเมื่อไม่มีชาติ ชรามรณะ หรือว่าธรรมมีโสกะเป็นต้น ก็ไม่มี. แต่เมื่อมีชาติ ชรามรณะและธรรมทั้งหลายมีโสกะเป็นต้น อันเกี่ยวเนื่องกับชรามรณะของคนพาลผู้ถูกทุกขธรรม กล่าวคือ ชรามรณะถูกต้องแล้ว หรือไม่เกี่ยวเนื่องของคนพาลผู้ถูกทุกขธรรมนั้นๆ ถูกต้องแล้ว ก็มี. ฉะนั้น ชาติ นี้จึงเป็นปัจจัยแห่งชรามรณะแห่งโสกะเป็นต้น.
๑. ม. อุ. ๑๔/๕๙๖.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 999
ในบทมีอาทิว่า โส ตถา ภาวิเตน จิตฺเตน - ภิกษุนั้นมีจิตอบรมแล้วอย่างนั้น พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้
บทว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติาณาย ท่านอธิบายว่า เพื่อบรรลุญาณนั้น คือ ถึง.
บทว่า อเนกวิหิตํ คือ หลายอย่าง. หลายประการ. หรือเป็นไปแล้ว พรรณนาแล้ว โดยประการไม่น้อย.
บทว่า ปุพฺพนิวาสํ - ชาติก่อน คือ สันดานที่อยู่ในชาตินั้นๆ ทำภพในอดีตที่ใกล้ที่สุดให้เป็นเบื้องต้น.
บทว่า อนุสฺสรติ - ย่อมระลึกตามไปๆ ด้วยสามารถลำดับขันธ์ หรือด้วยสามารถจุติปฏิสนธิ. จริงอยู่ ชนทั้ง ๖ คือ เดียรถีย์ ๑. สาวกธรรมดา ๑. มหาสาวก ๑. อัครสาวก ๑. พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑. พระพุทธเจ้า ๑ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนนี้ได้.
ในชนเหล่านั้น เดียรถีย์ทั้งหลายย่อมระลึกได้ ๔๐ กัป. ไม่ยิ่งไปกว่านั้น. เพราะเหตุไร เพราะเดียรถีย์มีปัญญาอ่อน. จริงอยู่ ปัญญาของเดียรถีย์เหล่านั้นอ่อนเพราะไม่มีการกำหนดนามรูป.
สาวกธรรมดา ย่อมระลึกได้ ๑๐๐ กัปบ้าง ๑,๐๐๐ กัปบ้าง เพราะมีปัญญาแก่กล้า. มหาสาวก ๘๐ รูป ระลึกได้แสนกัป. อัครสาวกทั้งสองระลึกได้อสงไขยหนึ่ง กับแสนกัป. พระปัจเจกพุทธเจ้า ระลึกได้สองอสงไขยกับแสนกัป. เพราะอภินิหารของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1000
พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น มีประมาณเพียงนี้. แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ระลึกได้ไม่มีกำหนด.
อนึ่ง เดียรถีย์ทั้งหลาย ระลึกได้ลำดับขันธ์เท่านั้น พ้นลำดับไปแล้วไม่สามารถระลึกถึงจุติและปฏิสนธิได้. เดียรถีย์เหล่านั้นระลึกได้ไม่พ้นลำดับขันธ์ เหมือนคนตาบอดไม่ปล่อยไม้เท้าเดินไปฉะนั้น.
สาวกธรรมดา ระลึกได้แม้ตามลำดับขันธ์ ย่อมก้าวไปถึงจุติปฏิสนธิ. มหาสาวก ๘๐ รูป ก็อย่างนั้น. ส่วน อัครสาวกทั้งสอง ไม่มีกิจต้องระลึกตามลำดับขันธ์ คือ เห็นจุติของอัตภาพหนึ่งแล้ว แล้วย่อมเห็นปฏิสนธิด้วย ย่อมก้าวเลยไปถึงจุติและปฏิสนธิอย่างนี้ คือ ครั้นเห็นจุติของคนอื่นอีก ก็ย่อมเห็นปฏิสนธิด้วย.
พระปัจเจกพุทธเจ้า ก็เหมือนกัน. ส่วน พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มีกิจต้องระลึก ตามลำดับขันธ์ ไม่มีกิจต้องระลึกก้าวไปถึงจุติปฏิสนธิ เพราะว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงปรารถนาฐานะใดๆ ข้างล่าง คือ ล่วงแล้วก็ดี ข้างบน คือ อนาคตก็ดี ในโกฏิกัปป์ไม่น้อยฐานะนั้นๆ ย่อมปรากฏได้ทีเดียว. เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงย่อโกฏิกัปป์แม้ไม่น้อย แล้วปรารถนาฐานะใดๆ ทรงก้าวเข้าไปในฐานะนั้นๆ ด้วย สามารถแห่งการก้าวไปของพระพุทธเจ้าผู้สีหะ. ญาณของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นไปอยู่อย่างนี้ ไม่ติดขัดในชาติในระหว่างๆ ย่อมถือเอาฐานะที่ปรารถนาแล้วๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1001
ก็บรรดาชนทั้ง ๖ เหล่านี้ระลึกถึงชาติก่อนอยู่ การเห็นชาติก่อนของพวกเดียรถีย์ ย่อมปรากฏเช่นกับแสงหิ่งห้อย. ของสาวกธรรมดาเช่นกับแสงประทีป. ของมหาสาวกเช่นกับแสงคบเพลิง. ของพระอัครสาวกเช่นกับรัศมีดาวประกายพรึก. ของพระปัจเจกพุทธเจ้าเช่นกับรัศมีพระจันทร์. ของพระพุทธเจ้าย่อมปรากฏเช่นกับมณฑลพระอาทิตย์ในสรทกาล (๑) ประดับด้วยรัศมีพันดวง.
การระลึกถึงชาติก่อนของเดียรถีย์ ดุจคนตาบอดเดินไปด้วยปลายไม้เท้า. ของสาวกธรรมดา ดุจเดินไปตามสะพานด้วยไม้เท้า. ของพระมหาสาวก ดุจเดินไปตามสะพานด้วยลำแข้ง. ของพระอัครสาวก ดุจเดินไปตามสะพานเกวียน. ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ดุจเดินไปตามทางด้วยกำลังแข้ง. ของพระพุทธเจ้า ดุจเดินไปตามทางเกวียนใหญ่. ก็ในอธิการนี้ ท่านประสงค์เอาการระลึกถึงชาติก่อนของพระสาวก ทั้งหลาย.
เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้เป็นอาทิกรรมิกะประสงค์ระลึกถึงอย่างนี้ กลับจากบิณฑบาตฉันอาหารแล้ว ไปในที่ลับหลีกเร้นอยู่ เข้าฌาน ๔ ตามลำดับ ครั้นออกจากจตุตถฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา พิจารณาปฏิจจสมุปบาทโดยนัยดังกล่าวแล้ว ควรนั่งพิจารณาข้างหลังภิกษุทั้งหมด. จากนั้นควรคำนึงถึงกิจที่ทำตลอดคืนวันทั้งสิ้นตามลำดับ โดย
๑. ฤดูใบไม้ร่วง หรือฤดูสารท คือเทศกาลทำบุญเดือนสิบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1002
ทบทวนอย่างนี้ คือ ปูอาสนะเข้าไปยังเสนาสนะ เก็บบาตรจีวรเวลาฉัน เวลามาจากบ้าน เวลาเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้าน เวลาเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต เวลาออกจากวัด เวลาไหว้พระเจดีย์และต้นโพธิ เวลาล้างบาตร เวลารับบาตร กระทำกิจตั้งแต่รับบาตรจนถึงล้างบาตร ทำกิจในเวลาใกล้รุ่ง ทำกิจในมัชฌิมยาม ในปฐมยามะ กิจประมาณเท่านี้ ย่อมปรากฏแม้แก่จิตปกติ.
ส่วนจิตในบริกรรมสมาธิ ย่อมปรากฏยิ่งขึ้นไป หากไม่มีอะไรๆ ปรากฏในจิตนี้ ควรเข้าฌานเป็นบาทอีก ครั้นออกแล้วจึงควรคำนึงถึง ด้วยเหตุนี้ จิตจะปรากฏดุจในประทีปที่สว่างไสว. ควรคำนึงถึงกิจที่ทำในวันที่สองบ้าง ในวันที่สาม ที่สี่ ที่ห้าบ้าง ในสิบวันบ้าง ในกึ่งเดือนบ้าง ในเดือนหนึ่งบ้าง ในปีหนึ่งบ้าง ตามลำดับ การทบทวนอย่างนี้นั่นแหละ. โดยอุบายนี้ คำนึงถึงตลอดปฏิสนธิของตนในภพนี้ คือ สิบปี ยี่สิบปี พึงคำนึงถึงนามรูปอันเป็นไปในขณะจุติในภพก่อน
จริงอยู่ ภิกษุผู้ฉลาด ครั้นเพิกถอนปฏิสนธิในวาระที่หนึ่งได้แล้ว ย่อมพอที่จะทำนามรูปให้เป็นอารมณ์. เพราะนามรูปในภพก่อนดับไม่เหลือ. ในภพนี้นามรูปอื่นเกิด. ฉะนั้น ฐานะนั้นจึงเป็นดุจทางปิดมืดสนิท ที่คนปัญญาทรามเห็นได้ยาก. แม้ด้วยเหตุนั้นก็ไม่ควรทอดธุระว่า เราไม่อาจจะเพิกถอนปฏิสนธิ แล้วทำนามรูปให้เป็นอารมณ์ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1003
ขณะจุติได้. ควรเข้าฌานอันเป็นบาทนั้นแหละบ่อยๆ ครั้นออกจากฌานแล้ว ควรคำนึงถึงฐานะนั้นๆ.
เพราะเมื่อภิกษุทำอยู่อย่างนี้ ครั้นออกจากฌานอันเป็นบาทแล้ว ไม่คำนึงถึงฐานะที่คำนึงถึงในกาลก่อน คำนึงถึงปฏิสนธิเท่านั้น เพิกถอนปฏิสนธิโดยไม่ชักช้าเพื่อทำนามรูปในขณะจุติให้เป็นอารมณ์. เหมือนอย่างบุรุษผู้มีกำลังตัดต้นไม้ใหญ่ เพื่อประโยชน์แก่ช่อฟ้าเรือนยอด แม้ไม่สามารถจะตัดต้นไม้ใหญ่ด้วยคมขวานอันทื่อ โดยเพียงตัดกิ่งและใบเท่านั้น อย่าทอดธุระควรไปโรงช่างเหล็กให้ลับขวานให้คม แล้วกลับมาตัดใหม่. เมื่อขวานไม่คมอีก ก็ควรให้ช่างเหล็กลับอีกแล้วพึงตัด. บุรุษนั้นเมื่อตัดอยู่อย่างนี้ ในไม่ช้าก็จะโคนต้นไม้ใหญ่ลงได้ เพราะเมื่อตัดได้แล้วๆ ก็ไม่มีต้นไม้ควรตัดอีก และเพราะต้นไม้ที่จะตัดไม่มีแล้ว ฉะนั้น. ญาณที่เป็นไปเพราะทำนามรูปให้เป็นอารมณ์ตั้งแต่การนั่งลงครั้งสุดท้ายจนถึงปฏิสนธิ ไม่ชื่อว่าบุพเพนิวาสญาณ แต่ญาณนั้นชื่อว่า บริกรรมสมาธิญาณ. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ญาณนี้เป็นอตีตังสญาณบ้าง. คำนั้นหมายถึงรูปาวจร เพราะอตีตังสญาณเป็นรูปาวจร จึงไม่ถูก. ก็ในกาลใดมโนทวาราวัชชนะก้าวล่วงปฏิสนธิของภิกษุนั้นแล้ว ทำนามรูปอันเป็นไปแล้วในขณะจุติให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้ว อัปปนาจิตย่อมเกิดขึ้นโดยนัยดังกล่าวแล้วในตอนก่อน. ในกาลนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1004
ญาณอันสัมปยุตด้วยจิตนั้นของภิกษุนั้น ชื่อว่า บุพเพนิวาสานุสติญาณ. ภิกษุย่อมระลึกถึงชาติก่อน ด้วยสติอันสัมปยุตด้วยญาณนั้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เสยฺยถีทํ เป็นนิบาตลงในอรรถแสดงถึงชนิดที่ปรารภแล้ว. พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงประเภทแห่งชนิดของบุพเพนิวาสนั้น จึงกล่าวบทมีอาทิว่า เอกมฺปิ ชาตึ - ชาติหนึ่งบ้าง คือ ขันธสันดานอันเนื่องในภพหนึ่ง มีปฏิสนธิเป็นมูล มีจุติเป็นปริโยสาน.
ในบทมีอาทิว่า เทฺวปิ ชาติโย - สองชาติบ้าง มีนัยนี้.
ในบทมีอาทิว่า อเนเกปิ สํวฏฏฺกปฺเป - ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมาก มีอธิบายดังต่อไปนี้. กัปเสื่อม ชื่อว่า สังวัฏฏกัป เพราะในครั้งนั้นสัตว์ทั้งปวงประชุมกันในพรหมโลก. กัปเจริญ ชื่อว่า วิวัฏฏกัป เพราะในครั้งนั้นสัตว์ทั้งหลายออกจากพรหมโลก เป็นอันท่านถือเอาการตั้งอยู่ในสังวัฏฏะ ด้วยสังวัฏฏะ และการตั้งอยู่ในวิวัฏฏะ ด้วยวิวัฏฏะในพรหมโลกนั้น เพราะมีพรหมโลกนั้นเป็นมูล. จริงอยู่. เมื่อเป็นอย่างนี้ ย่อมเป็นอันท่านกำหนดอสงไขย ๔ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัปหนึ่งมี ๔ อสงไขย ๔ อสงไขยเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด กัปเสื่อม. ตลอดกาลนั้นไม่ง่ายเพื่อจะนับ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1005
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด สังวัฏฏกัปตั้งอยู่ ฯลฯ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด กัปเจริญ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด วิวัฏฏกัปตั้งอยู่. ตลอดกาลนั้น ไม่ง่ายนักที่จะนับ. (๑)
ในกัปเหล่านั้น สังวัฎฏกัป มี ๓ คือ เตโชสังวัฏฏะ ๑ อาโปสังวัฏฏะ ๑ วาโยสังวัฏฏะ ๑. สังวัฏฏสีมา - เขตของสังวัฏฏะ มี ๓ คือ อาภัสสรา ๑ สุภกิณหา ๑ เวหัปผลา ๑. เมื่อใดกัปเสื่อมเพราะไฟ ถูกไฟไหม้ถึงในเบื้องล่างแห่งอาภัสสรา. เมื่อใดกัปเสื่อมเพราะน้ำ ถูกน้ำท่วมละลายไปถึงเบื้องล่างแห่งสุภกิณหา. เมื่อใดกัปเสื่อม เพราะลม ถูกลมพัดกระหน่ำถึงในเบื้องล่างแห่งเวหัปผลา. ก็โดยส่วนกว้างในกาลนั้น พุทธเขตหนึ่งก็ย่อมพินาศไปด้วย.
พุทธเขตมี ๓ คือ
ชาติเขต ๑.
อาณาเขต ๑.
วิสัยเขต ๑.
ในเขต ๓ เหล่านั้น เขตที่หวั่นไหวในการถือปฏิสนธิเป็นต้น ของพระตถาคตมีหมื่นจักรวาลเป็นที่สุด ชื่อว่า ชาติเขต.
๑. องฺ. จตุกกฺ ๒๑/๑๕๖.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1006
อานุภาพของพระปริตรเหล่านี้ คือ รตนปริตร ขันธปริตร ธชัคคปริตร อาฏานาฏิยปริตร โมรปริตร ย่อมเป็นไปในเขตที่มีแสนโกฏิจักรวาลเป็นที่สุด ชื่อว่า อาณาเขต.
เขตที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ยาวตา วา ปน อากงฺเขยฺย (๑) หรือว่าพระตถาคตพึงหวังโดยประมาณเพียงใดอันหาประมาณที่สุดมิได้ ชื่อว่า วิสัยเขต. พระตถาคตย่อมทรงทราบเขตที่ทรงหวัง. ในพุทธเขต ๓ อย่างเหล่านี้ อาณาเขตหนึ่งย่อมพินาศไป. เมื่ออาณาเขตนั้นพินาศไป ชาติเขตก็พินาศไปด้วย. เมื่อเขตนั้นพินาศ ย่อมพินาศไปด้วยกัน. เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ด้วยกัน.
ความพินาศและการตั้งอยู่ของเขตนั้น พึงทราบอย่างนี้ สมัยใดกัปพินาศเพราะไฟ. มหาเมฆที่ยังกัปให้พินาศแต่ต้นตั้งขึ้น ยังฝนหาใหญ่อย่างหนึ่งให้ตกในแสนโกฏิจักรวาล. มนุษย์ทั้งหลายพากันยินดี นำพืชทั้งปวงออกหว่าน. ก็เมื่อข้าวกล้าเกิดพอโคเคี้ยวกินได้ มหาเมฆร้องเหมือนลาร้อง. ฝนแม้หยาดหนึ่งก็ไม่ตก. เมื่อนั้นเป็นอันว่า ฝนขาดเม็ดเลยทีเดียว. สัตว์ผู้อาศัยฝนเลี้ยงชีพย่อมเกิดในพรหมโลกตาม ลำดับ. และเทวดาผู้อาศัยผลบุญเลี้ยงชีพก็ไปเกิดในพรหมโลกด้วย. เมื่อกาลผ่านไปนานอย่างนี้ น้ำในแม่น้ำนั้นๆ ก็แห้งไป. แม้ปลาและ
๑. องฺ. ติก. ๒๐/๕๒๐.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1007
เต่าก็ตายไปตามลำดับ แล้วเกิดในพรหมโลก. แม้สัตว์นรกก็ไปเกิดด้วย.
ในข้อนี้ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า สัตว์นรกย่อมพินาศไปในความปรากฏแห่งพระอาทิตย์ดวงที่ ๗. บุคคลไม่เว้นจากฌานย่อมเกิดในพรหมโลก. บางพวกถูกทุพภิกขภัยบีบคั้น. บางพวกไม่ควรเพื่อบรรลุฌาน. สัตว์เหล่านั้นเกิดขึ้นพรหมโลกได้อย่างไร?
ตอบว่า ด้วยอำนาจฌานที่ได้ในเทวโลก.
จริงอยู่ ในกาลนั้น โดยล่วงไปแสนปีจักสิ้นกัป. ฉะนั้น กามาวจรเทพทั้งหลาย ชื่อว่า โลกพยูหะ เป็นชาวโลก ปล่อยศีรษะผมเผ้ารุงรัง ร้องไห้ เอามือเช็ดน้ำตา นุ่งผ้าแดง มีเพศผิดรูปยิ่งนัก เที่ยวไปในทางของมนุษย์ พากันบอกกล่าวอย่างนี้ว่า
ผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ล่วงไปแสนปีจากนี้จักสิ้นกัป. โลกนี้จักพินาศ. แม้มหาสมุทรก็จักเหือดแห้ง. และมหาปฐพีพระยาภูเขาสิเนรุจักถล่มทลายพังพินาศไป. โลกจักพินาศตลอดถึงพรหมโลก. ผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พวกท่านจงเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขากันเถิด. จงบำรุงมารดาบิดา จงเป็นผู้อ่อนน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1008
พวกมนุษย์และภุมมเทวดาโดยมาก ครั้นสดับคำของกามาวจรเทพเหล่านั้น แล้วพากันเกิดสังเวช มีจิตอ่อนต่อกันและกัน ทำบุญมีเมตตาเป็นต้น แล้วไปบังเกิดในเทวโลก. ณ เทวโลกนั้น ทวยเทพบริโภคอาหารทิพย์ ทำบริกรรมในวาโยกสิณแล้วได้ฌาน. ส่วนมนุษย์พวกอื่นบังเกิดในเทวโลกด้วยอปราปริยเวทนียกรรม - กรรมให้ผลในภพต่อๆ ไป. สัตว์ ชื่อว่า ท่องเที่ยวไปในสงสาร เว้นอปราปริยเวทนียกรรมไม่มี. แม้สัตว์เหล่านั้นก็ย่อมได้ฌานอย่างนั้นในภพนั้น. สัตว์ทั้งปวงย่อมบังเกิดในพรหมโลก ด้วยอำนาจฌานที่ได้แล้วในเทวโลกอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
โดยกาลยาวนานขึ้นไปโดยการกำหนดปี พระอาทิตย์ดวงที่สองย่อมปรากฏ. เมื่อพระอาทิตย์นั้นปรากฏการกำหนดคืนวันไม่ปรากฏ. พระอาทิตย์ดวงหนึ่งขึ้น. ดวงหนึ่งตก. โลกไม่ขาดความร้อนจากดวงอาทิตย์. ในพระอาทิตย์ที่ยังกัปให้พินาศไม่มีสุริยเทพบุตร. เหมือนในพระอาทิตย์ปกติ เมื่อพระอาทิตย์ปกติยังเป็นไปอยู่วลาหกบ้าง เปลวไฟบ้าง ย่อมไปในอากาศ. เมื่อพระอาทิตย์ยังกัปให้พินาศกำลังเป็นไป ท้องฟ้าปราศจากควันและวลาหก ดุจบานกระจกไม่มีฝ้า ฉะนั้น. น้ำในลำธารเป็นต้นแห้ง เว้นมหานทีทั้ง ๕ จากนั้นโดยล่วงกาลยาวนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ. เพราะอาทิตย์ดวงที่ ๓ นั้นปรากฏ แม้มหานทีก็แห้ง. จากนั้นโดยล่วงกาลยาวนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1009
ปรากฏ. เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ มหาสระ ๗ เหล่านี้ คือ สีหปาตนะ ๑ หังสปาตนะ ๑ กัณณมุณฑกะ ๑ รถการทหะ ๑ อโนตัตตทหะ ๑ ฉัททันตทหะ ๑ กุณาลวาหะ ๑ แห้ง เพราะเป็นแหล่งเกิดมหานทีในป่าหิมพานต์. จากนั้นโดยล่วงกาลยาวนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ. เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๕ นั้นปรากฏ น้ำแม้เพียงเปียกข้อนิ้วมือก็ไม่เหลืออยู่ในมหาสมุทรโดยลำดับ. จากนั้นโดยล่วง กาลยาวนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ. เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๖ นั้นปรากฏ จักรวาลทั้งสิ้นมีควันพวยพุ่งเป็นอันเดียวกัน ติดแน่นไปด้วยควัน. แม้แสนโกฏิจักรวาลก็เหมือนอย่างจักรวาลนั้น. จากนั้นโดยล่วงกาลยาวนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ. เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๗ นั้นปรากฏ จักรวาลทั้งสิ้นพร้อมด้วยแสนโกฏิจักรวาล ก็มีเปลวไฟโชติช่วงเป็นอันเดียวกัน. แม้ยอดภูเขาสิเนรุสูงประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ก็ทำลายหายไปในอากาศนั่นเอง. เปลวไฟนั้นลุกโพงลงจดสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกา. เปลวไฟเผากนกวิมาน รัตนวิมาน และมณีวิมาน จดดาวดึงสพิภพ. โดยอุบายนี้แหละ เปลวไฟจดจนถึงปฐมฌานภูมิ. ไหม้พรหมโลกทั้ง ๓ จดอาภัสสรพรหมตั้งอยู่. เปลวไฟนั้นยังไม่ดับ ตราบเท่าสังขารแม้เพียงอณูหนึ่งยังมีอยู่. แต่เพราะสิ้นสังขารทั้งปวง แม้เถ้าก็ไม่ให้เหลือเปลวไฟจึงดับ ดุจเปลวไฟเผาเนยใสและน้ำมัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1010
ฉะนั้น. อากาศเบื้องบนพร้อมด้วยอากาศเบื้องล่าง มืดตื้อเป็นอันเดียวกัน.
ครั้นแล้ว โดยกาลล่วงยาวนาน มหาเมฆตั้งขึ้นยังฝนละเอียดๆ ให้ตกเป็นครั้งแรก. มหาเมฆยังสายฝนประมาณเท่าก้านบัว ไม้เท้า สาก และต้นตาลเป็นต้นให้ตกโดยลำดับ ทำที่ที่ถูกไหม้ทั้งหมดให้เต็ม แล้วหายไป. ตั้งขึ้นทำน้ำนั้นทั้งเบื้องล่างและเบื้องขวางให้เป็นก้อน เป็นทางโดยรอบเช่นกับหยาดน้ำในใบบัว.
หากถามว่า ทำห้วงน้ำใหญ่ถึงเพียงนั้นให้เป็นก้อนได้อย่างไร?
ตอบว่า เพราะเปิดเป็นช่องไว้. ให้ช่องในที่นั้นๆ แก่ห้วงน้ำนั้น. น้ำนั้นถูกลมพัดรวมทำให้เป็นก้อนสิ้นไป ย่อมไหลลงเบื้องล่างตามลำดับ. เมื่อน้ำไหลลงๆ พรหมโลกย่อมปรากฏในที่ของพรหมโลก. อนึ่ง เทวโลกย่อมปรากฏในที่แห่งกามาวจรเทวโลกในเบื้องบน. เมื่อน้ำไหลลงสู่พื้นดินดังก่อน ลมแรงย่อมเกิดขึ้น. ลมแรงเหล่านั้นปิดกั้นทำให้น้ำไม่ไหลออก ดุจน้ำที่ขังอยู่ในธมกรกที่ปิดปากไว้. เมื่อน้ำหวาน หมดไปยังง้วนดิน (รสปวึ) ให้ตั้งขึ้นเบื้องบน. ง้วนดินนั้นมีสี มีกลิ่นและรสดุจลาดไว้เบื้องบนข้าวปายาสที่ไม่มีน้ำ. ในกาลนั้น สัตว์ทั้งหลายที่เกิดก่อนในอาภัสสรพรหมโลก เคลื่อนจากนั้นเพราะสิ้นอายุก็ดี เพราะหมดบุญก็ดี ย่อมเกิด ณ ที่นี้. สัตว์เหล่านั้นมีรัศมีที่ตัว เหาะไปในอากาศได้. สัตว์เหล่านั้น ครั้นลิ้มแผ่นดินมีรสนั้น ตามนัยดังกล่าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1011
แล้ว ในอัคคัญญสูตร (๑) ถูกตัณหาครอบงำ พยายามจะบริโภคสิ่งที่ทำให้เกิดความโลภ.
ครั้งนั้น รัศมีที่ตัวของสัตว์เหล่านั้นก็หายไป. มีความมืด. สัตว์เหล่านั้นเห็นความมืดก็กลัว. แต่นั้นสุริยมณฑลเต็ม ๕๐ โยชน์ปรากฏขึ้นยังความกลัวของสัตว์เหล่านั้นให้หายไป ให้เกิดความกล้า. สัตว์เหล่านั้น ครั้นเห็นสุริยมณฑลนั้นต่างร่าเริงยินดีว่า เราได้แสงสว่างแล้ว จึงตั้งชื่อสุริยมณฑลนั้นว่า สุริยะ เพราะตั้งขึ้นทำให้พวกเราหายกลัวเกิดความกล้าขึ้น เพราะฉะนั้น ขอจงเป็นสุริยะเถิด.
ครั้นเมื่อพระสุริยะทำแสงสว่างตลอดวันแล้วดับไป สัตว์ทั้งหลายมีความกลัวอีกว่า แสงสว่างที่เราได้ หายไปเสียแล้ว. สัตว์เหล่านั้นจึงคิดอย่างนี้ว่า จะเป็นการดีหากพวกเราได้แสงสว่างอื่น. จันทมณฑลประมาณ ๔๙ โยชน์ปรากฏขึ้นเหมือนรู้จิตของสัตว์เหล่านั้น. สัตว์เหล่านั้นครั้นเห็นจันทมณฑลนั้น พากันร่าเริงยินดีอย่างยิ่ง จึงตั้งชื่อ จันทมณฑลนั้นว่า จันทะ เพราะตั้งขึ้นคล้ายรู้ความพอใจของพวกเรา เพราะฉะนั้น ขอจงเป็นจันทะเถิด.
เมื่อพระจันทร์ พระอาทิตย์ปรากฏอย่างนี้ นักษัตรทั้งหลายก็ปรากฏเป็นรูปดาว. จำเดิมแต่นั้น กลางคืน กลางวัน และกึ่งเดือน
๑. ที. ปา. ๑๑/๕๖.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1012
เดือนหนึ่ง ฤดู ปี ก็ปรากฏ ตามลำดับ. ในวันปรากฏพระจันทร์ พระอาทิตย์นั่นเอง ภูเขาสิเนรุ จักรวาล ป่าหิมพานต์ และภูเขาก็ปรากฏ. ทั้งหมดนั้นปรากฏในวันเพ็ญเดือน ๔ ไม่ก่อน ไม่หลัง. ปรากฏอย่างไร? เหมือนอย่างว่า เมื่อข้าวฟ่างเดือดเกิดฟอง ด้วยการคนครั้งเดียวเท่านั้น. บางฟองก็เป็นเนินๆ คล้ายสถูป. บางฟองก็เป็น ลุ่มๆ. บางฟองก็เสมอๆ ฉันใด. ในที่เป็นเนินๆ คล้ายสถูปก็เป็นภูเขา. ในที่ลุ่มๆ ก็เป็นมหาสมุทร. ในที่เสมอๆ ก็เป็นเกาะ.
ครั้นเมื่อสัตว์เหล่านั้นบริโภคง้วนดิน บางพวกก็มีผิวงาม บางพวกก็มีผิวไม่งาม ตามลำดับ. ในสองพวกนั้น พวกที่มีผิวงามก็ดี หมิ่นพวกมีผิวไม่งาม เพราะการดูหมิ่นของสัตว์เหล่านั้นเป็นปัจจัย ง้วนดินก็หายไป. ปรากฏเป็นกะปิดิน.
ครั้นแล้ว กะปิดินของสัตว์ทั้งหลายนั้นหายไป โดยนัยนั้นก็ปรากฏเป็นเครือดิน. แม้เครือดินนั้นก็หายไป โดยนัยนั้น. ก็ปรากฏเป็นข้าวสาลี ไม่ใช้ฟืนหุง ไม่มีรำ ไม่มีแกลบ บริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม มีผลเป็นข้าวสาร. แต่นั้นภาชนะย่อมเกิดแก่สัตว์เหล่านั้น. สัตว์เหล่านั้นวางข้าวสาลีบนภาชนะ แล้วตั้งไว้บนแผ่นหิน. เปลวไฟเกิดขึ้นเอง หุงข้าวสาลีนั้น. ข้าวสุกนั้นเหมือนดอกมะลิตูม. ไม่ต้องทำแกงหรือผักแห่งข้าวสาลีนั้น. ปรารถนาจะบริโภครสใดๆ ก็มีรสนั้นๆ ให้บริโภค.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1013
เมื่อสัตว์เหล่านั้นนบริโภคอาหารหยาบ ตั้งแต่นั้นมูตรและกรีสก็เกิด
ครั้นสัตว์เหล่านั้นต้องการให้มูตรและกรีสออก ก็แยกเป็นปากแผล. ความเป็นชายก็ปรากฏแก่ชาย. ความเป็นหญิงก็ปรากฏแก่หญิง เล่ากันว่าในครั้งนั้น หญิงเพ่งชาย และชายเพ่งหญิงเกินเวลา. เพราะสัตว์เหล่านั้นเพ่งกันเกินเวลาเป็นปัจจัย จึงเกิดความเร่าร้อนทางกาม. แต่นั้นก็เสพเมถุนกัน. สัตว์เหล่านั้นถูกวิญญูชนติเตียนทำให้ลำบาก เพราะการเสพอสัทธรรม จึงสร้างเรือนเพื่อปกปิดอสัทธรรมนั้น. สัตว์เหล่านั้น เมื่อครองเรือนก็ดำเนินตามทิฏฐานุคติของสัตว์ผู้ไม่เกียจคร้านคนใดคนหนึ่งตามลำดับ ทำการสะสม.
จำเดิมแต่นั้น รำบ้าง แกลบบ้าง ก็หุ้มห่อข้าวสาร. แม้ที่เกี่ยวแล้ว ก็ไม่งอก. สัตว์เหล่านั้นประชุมกัน ทอดถอนใจว่า ผู้เจริญทั้งหลาย ธรรมลามกปรากฏแล้วในสัตว์ทั้งหลาย เพราะพวกเราเมื่อก่อนได้เป็นผู้สำเร็จแล้วแต่ใจ ดังนี้ พึงให้พิสดารโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในอัคคัญญสูตร (๑). แต่นั้นสัตว์ทั้งหลายจึงได้ตั้งระเบียบปฏิบัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้.
หากสัตว์ผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาส่วนของคนอื่นที่เขาไม่ให้. ว่ากล่าวสองครั้ง ในครั้งที่สามประหารด้วยฝ่ามือ ก้อนดิน และท่อนไม้. สัตว์เหล่านั้น เมื่อเกิดมีการลักทรัพย์ พูดติเตียน พูดเท็จ ทำร้ายร่างกายขึ้น จึงประชุมกันคิดว่า ถ้ากระไรพวกเราควรยกย่องสัตว์ผู้หนึ่ง. เรา
๑. ที. ปา. ๑๑/๖๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1014
จักเพิ่มส่วนแห่งข้าวสาลีให้แก่ผู้ที่พึงข่มผู้ที่ควรข่ม พึงติเตียนผู้ที่ควรติเตียน พึงขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ โดยชอบของพวกเรา.
ก็เมื่อสัตว์ทั้งหลายทำความตกลงกันอย่างนี้แล้ว ในกัปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านี้แหละยังเป็นพระโพธิสัตว์ มีรูปงามกว่า น่าดูกว่า มีศักดิ์ใหญ่กว่าสัตว์เหล่านั้นในสมัยนั้น สมบูรณ์ด้วยปัญญา มีกำลัง สามารถเพื่อจะทำการข่มและยกย่องได้. สัตว์เหล่านั้น จึงพากันเข้าไปหาพระโพธิสัตว์นั้น วิงวอนยกย่อง. พระโพธิสัตว์นั้น ปรากฏด้วยนาม ๓ คือ ชื่อว่ามหาสมมต เพราะมหาชนสมมต ๑. ชื่อว่าขัตติยะ เพราะเป็นอธิบดีแห่งเขตทั้งหลาย ๑. ชื่อว่าราชา เพราะให้สัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่นยินดีโดยธรรมเสมอ ๑. พระโพธิสัตว์เป็นบุรุษคนแรก ในฐานะเป็นอัจฉริยบุรุษในโลก. เมื่อทำพระโพธิสัตว์ให้เป็นอาทิบุรุษ ดำรงในขัตติยมณฑล แล้ววรรณะทั้งหลายมีพราหมณ์เป็นต้น ก็ตั้งขึ้นตามลำดับ.
การทำลายด้วยเปลวไฟ ตั้งแต่มหาเมฆยังกัปให้พินาศ อสงไขยหนึ่งนี้ ท่านเรียกว่า สังวัฏฏะ.
มหาเมฆสมบูรณ์ยังแสนโกฏิจักรวาลให้เต็มเปี่ยม ตั้งแต่การทำลายด้วยเปลวไฟอันยังกัปให้พินาศ อสงไขยที่สองนี้ ท่านเรียกว่า สังวัฏฏัฏฐายี.
ความปรากฏแห่งพระจันทร์ พระอาทิตย์ ตั้งแต่มหาเมฆสมบูรณ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1015
อสงไขยที่ ๓ นี้ ท่านเรียกว่า วิวัฏฏะ.
มหาเมฆยังกัปให้พินาศอีก ตั้งแต่ความปรากฏแห่งพระจันทร์ พระอาทิตย์ อสงไขยที่ ๔ นี้ ท่านเรียกว่า วิวัฏฏัฏฐายี.
อสงไขย ๔ เหล่านี้ เป็นมหากัปหนึ่ง. พึงทราบความพินาศด้วยไฟและความตั้งอยู่ ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง สมัยใดกัปพินาศไปด้วยน้ำ มหาเมฆยังกัปให้พินาศแต่ต้น ตั้งขึ้น พึงให้พิสดารโดยนัยดังกล่าวแล้วในตอนก่อนนั่นแหละ. แต่ความแปลกกกันมีดังต่อไปนี้.
มหาเมฆมีน้ำกรดยังกัปให้พินาศ ตั้งขึ้นในที่นี้. เหมือนพระอาทิตย์ดวงที่สองตั้งขึ้นในอากาศนั้น ฉะนั้น. มหาเมฆนั้นเมื่อยังฝนละเอียดให้ตกแต่ต้น ย่อมให้ตกเต็มแสนโกฏิจักรวาล ด้วยสายฝนใหญ่ตามลำดับ แผ่นดินและภูเขาเป็นต้น ถูกน้ำกรด ถูกต้องแล้วๆ ย่อมละลาย น้ำถูกลมพัดไปโดยรอบ น้ำท่วมตั้งแต่แผ่นดินถึงทุติยฌานภูมิ น้ำนั้นยังพรหมโลกแม้ ๓ ให้ย่อยยับไปในที่นั้น แล้วจดถึงสุภกิณหาตั้งอยู่. น้ำนั้นยังไม่สงบตราบเท่าสังขารประมาณอณูยังมีอยู่.
อนึ่ง น้ำนั้นครอบงำสังขารทั้งปวงที่ไปตามน้ำแล้ว สงบทันที หายไป อากาศเบื้องบนมืดมิดเป็นอันเดียว พร้อมกับอากาศเบื้องล่าง. บททั้งปวงคล้ายกับที่กล่าวแล้ว แต่ในที่นี้ โลกทำ (สร้าง) อาภัสสรพรหมโลกทั้งสิ้นให้ปรากฏเป็นเบื้องต้น. สัตว์ทั้งหลายเคลื่อนจาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1016
สุภกิณหาแล้ว ย่อมเกิดในอาภัสสรพรหมเป็นต้น. การทำลายด้วยน้ำกรดอันยังกัปให้พินาศ ตั้งแต่มหาเมฆยังกัปให้พินาศ นี้เป็นอสงไขยหนึ่ง มหาเมฆสมบูรณ์ ตั้งแต่การทำลายด้วยน้ำ นี้เป็นอสงไขยที่สอง... ๔ อสงไขยเหล่านี้ ตั้งแต่มหาเมฆสมบูรณ์ ฯลฯ เป็นมหากัปหนึ่ง พึงทราบความพินาศด้วยน้ำและการตั้งอยู่ ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง สมัยใด กัปพินาศไปด้วยลมนั้น. มหาเมฆยังกัปให้พินาศไปแต่ต้นตั้งขึ้นแล้ว พึงให้พิสดารตามนัยดังกล่าวแล้วในตอนก่อนนั่นแหละ. แต่ความต่างกันมีดังต่อไปนี้.
ลมตั้งขึ้นเพื่อยังกัปให้พินาศในโลกนี้ เหมือนพระอาทิตย์ดวงที่สองในอากาศนั้น ฉะนั้น. ลมนั้นยังธุลีหยาบให้ตั้งขึ้นก่อน. แต่นั้นยังธุลีละเอียด ทรายละเอียด ทราย หยาบ ก้อนกรวดและหินเป็นต้น ให้ตั้งขึ้นที่แผ่นหินประมาณเรือนยอด และที่ต้นไม้ใหญ่ที่ตั้งขึ้นในที่ไม่เสมอ. ธุลีเหล่านั้นไม่ตกจากแผ่นดินอีก เพราะจมอยู่ในท้องฟ้า. ธุลีเหล่านั้นแหลกละเอียดไปในที่นั้น. ถึงความไม่มี.
ครั้นแล้ว ลมตั้งขึ้นที่ภายใต้แผ่นดินใหญ่ตามลำดับ แล้วพลิกแผ่นดินทำรากดินไว้เบื้องบน แล้วซัดไปในอากาศ. ผืนแผ่นดินมี ๑๐๐ โยชน์เป็นประมาณ แตกไปประมาณสองโยชน์ สามโยชน์ สี่โยชน์ ห้าโยชน์ ถูกกำลังลมซัดไป แหลกละเอียดบนอากาศนั่นเอง ถึงความไม่มี. ลมยกภูเขาจักรวาลบ้าง ภูเขาสิเนรุบ้าง ขึ้นแล้วซัดไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1017
ในอากาศ. ผืนแผ่นดินเหล่านั้นกระทบกันและกัน แล้วแหลกละเอียดพินาศไป. ด้วยอุบายนี้แหละ ลมยังภุมมัฏฐกวิมานและอากาสัฏฐกวิมานให้พินาศ ยังกามาวจรเทวโลก ๖ ให้พินาศ แล้วยังจักรวาลแสนโกฏิให้พินาศ.
จักรวาลกระทบกับจักรวาล. หิมวันตะกระทบกับหิมวันตะ. สิเนรุกระทบกับสิเนรุ แล้วแหลกละเอียดพินาศไป. ลมพัดตั้งแต่แผ่นดินจนถึงตติยฌานภูมิ. ลมยังพรหมโลก ๓ ให้พินาศ จดถึงเวหัปผลาตั้งอยู่. ครั้นยังสังขารทั้งปวงให้พินาศไปอย่างนี้ แม้ตนเองก็พินาศไปด้วย. อากาศเบื้องบนกับอากาศเบื้องล่างมืดมิดเป็นอันเดียวกันทั้งหมด คล้ายกับที่กล่าวแล้ว. แต่ในที่นี้ โลกทำคือสร้างสุภกิณหพรหมโลก ในเบื้องต้นให้ปรากฏ.
อนึ่ง สัตว์ทั้งหลายเคลื่อนจากเวหัปผลาแล้ว ย่อมเกิดในสุภกิณหพรหมโลกเป็นต้น. การทำลายด้วยลมยังกัปให้พินาศตั้งแต่มหาเมฆยังกัปให้พินาศ นี้เป็นอสงไขยหนึ่ง. มหาเมฆสมบูรณ์ ตั้งแต่การทำลายด้วยลม นี้เป็นอสงไขยที่สอง ฯลฯ อสงไขย ๔ เหล่านี้ เป็นมหากัปหนึ่ง. พึงทราบความพินาศด้วยลมและการตั้งอยู่ ด้วยประการฉะนี้.
เพราะเหตุไร โลกจึงพินาศไปอย่างนี้. เพราะอกุศลมูลเป็นเหตุ. เพราะเมื่ออกุศลมูลหนาขึ้นแล้ว โลกจึงพินาศไปอย่างนี้. อนึ่ง โลก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1018
นั้นแล เมื่อราคะหนาขึ้นในลำดับ ย่อมพินาศไปด้วยไฟ. เมื่อโทสะหนา ย่อมพินาศไปด้วยน้ำ.
แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เมื่อโทสะหนา โลกพินาศไปด้วยไฟ. เมื่อราคะหนาพินาศไปด้วยน้ำ. เมื่อโมหะหนาพินาศไปด้วยลม. แม้เมื่อพินาศไปอย่างนี้ ย่อมพินาศไปด้วยไฟ ๗ ครั้ง เป็นลำดับ. ในครั้งที่ ๘ พินาศไปด้วยน้ำ. พินาศไปด้วยไฟ ๗ ครั้งอีก. ในครั้งที่ ๘ พินาศไปด้วยน้ำ. เพราะเหตุนั้น เมื่อพินาศไป ๘ ครั้งๆ อย่างนี้ พินาศไปด้วยน้ำ ๗ ครั้ง แล้วพินาศไปด้วยไฟอีก ๗ ครั้งๆ ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ ๖๓ กัป เป็นอันล่วงไปแล้ว. ในระหว่างนี้ ลมได้โอกาสห้ามวาระอันพินาศไปด้วยน้ำ แม้ถึงพร้อมแล้ว กำจัดสุภกิณหพรหมโลกซึ่งมี อายุ ๖๔ กัปบริบูรณ์ ยังโลกให้พินาศ.
ภิกษุผู้ระลึกถึงกัป แม้ระลึกถึงชาติก่อน ย่อมระลึกถึงสังวัฏฏกัป วิวัฏฏกัป สังวัฏฏวิวัฏฏกัป ไม่น้อยในกัปเหล่านั้น.
บทว่า สํวฏฺฏกปฺเป วิวฏฺฏกปฺเป ท่านกล่าวกำหนดครึ่งหนึ่งของกัป.
บทว่า สํวฏฺฏวิวฏฺฏกปฺเป ท่านกล่าวกำหนดเอากัปทั้งสิ้น. หากถามว่า ระลึกถึงอย่างไร. ตอบว่า ระลึกถึงโดยนัยมีอาทิว่า อนุตฺราสึ - ในชาติโน้นเราได้เป็นแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1019
ในบทเหล่านั้น บทว่า อมุตฺราสึ คือ เราได้เป็นแล้วในสังวัฏฏกัปโน้น ความว่า เราได้เป็นแล้ว ในภพ ในกำเนิด ในคติ ในวิญญาณฐิติ ในสัตตาวาส หรือในสัตตนิกาย.
บทว่า เอวํนาโม มีชื่ออย่างนี้ คือ ชื่อติสสะ หรือปุสสะ.
บทว่า เอวํโคตฺโต มีโคตรอย่างนี้ คือ กัจจานโคตร หรือ กัสสปโคตร. บทนี้ ท่านกล่าวด้วยสามารถการระลึกถึงชื่อและโคตรของตนในอดีตภพของภิกษุนั้น. ก็หากว่า ในกาลนั้น ภิกษุนั้นประสงค์จะระลึกถึงวรรณสมบัติ ความเป็นอยู่ประณีตและเศร้าหมอง ความเป็นผู้มากด้วยสุขและทุกข์ หรือความมีอายุน้อย อายุยืนของตน. ระลึกถึงได้. ด้วยเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า เอวํวณฺโณ ฯลฯ เอวมายุปริยนฺโต.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เอวํวณฺโณ มีผิวพรรณอย่างนี้ คือ ผิวขาว หรือผิวดำ.
บทว่า เอวมาหาโร - มีอาหารอย่างนี้ คือ มีข้าวสาลี เนื้อ ข้าวสุก เป็นอาหาร หรือมีผลไม้สดเป็นอาหาร.
บทว่า เอวํสุขทุกฺขปฏิสํเวที - ได้เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนี้ คือ เสวยสุขและทุกข์ อันเป็นไปทางกาย ทางใจ หรือมีประเภท เป็นต้นว่า มีอามิส หรือไม่มีอามิส.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1020
บทว่า เอวมายุปริยนฺโต - มีกำหนดอายุเพียงเท่านี้ คือ มี กำหนดอายุ ๑๐๐ ปี หรือ ๘ โกฏิ ๔ แสนกัป.
บทว่า โส ตโต จุโตฺ อมุตฺร อุทปาทึ - ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ คือ เราครั้นจุติจากภพ กำเนิด คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาส หรือสัตตนิกายนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพ กำเนิด คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาส หรือสัตตนิกายโน้น.
บทว่า ตตฺราปาสึ - ได้มีแล้วในภพนั้น ได้มีแล้วอีกในภพ กำเนิด คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาส หรือสัตตนิกาย แม้นั้น. บทมีอาทิว่า เอวํนาโม มีนัยดังได้กล่าวแล้ว.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะบทว่า อมุตฺราสึ นี้ เป็นการระลึกถึงของผู้ปรารถนาขึ้นไป ตามลำดับ.
บทว่า โส ตโต จุโต เป็นการพิจารณาของผู้กลับ. ฉะนั้น บทว่า อิธูปปนฺโน พึงทราบว่า ท่านกล่าวบทนี้ว่า อมุตฺรอุทปาทึ หมายถึงที่เกิดของภิกษุนั้น ในลำดับแห่งการเกิดในโลกนี้.
บทมีอาทิอย่างนี้ว่า ตตฺราปาสึ ท่านกล่าวเพื่อแสดงการระลึกถึงชื่อและโคตรเป็นต้น ในที่เกิดในลำดับแห่งการเกิดนี้ ในภพนั้นของภิกษุนั้น.
บทว่า โส ตโต จุโต อิธูปปนฺโน ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วมาเกิดในภพนี้ ความว่า เราครั้นจุติจากที่เกิดในลำดับนั้นแล้ว มาเกิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1021
ในตระกูลกษัตริย์ หรือในตระกูลพราหมณ์โน้น ในภพนี้.
บทว่า อิติ คือ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า สาการํ สอุทเทสํ - พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทส คือ พร้อมทั้งอุทเทส ด้วยชื่อและโคตร. พร้อมทั้งอาการด้วยผิวเป็นต้น. เพราะท่านแสดงถึงสัตว์โดยชื่อและโคตรว่า ติสสะ ผุสสะ กัสสปโคตร. ปรากฏโดยความต่างด้วยผิวพรรณเป็นต้นว่า ขาว ดำ. เพราะฉะนั้น ชื่อและโคตรเป็นอุทเทส. นอกนั้นเป็นอาการ ด้วยประการ ฉะนี้.
จบ อรรถกถาบุพเพนิวาสานุสติญาณนิทเทส