พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40942
อ่าน  378

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1054

สุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส

๖๔ -๖๗. อรรถกถาสุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1054

สุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส

[๒๖๘] อรรถปฏิสัมภิทาญาณ ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ อย่างไร?

ญาณในอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทา ญาณในธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทา ญาณในนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทา ญาณในปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

ปัญญาในความต่างกันแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างกันแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างกันแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่างกันแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

ปัญญาในความกำหนดอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความกำหนดธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความกำหนดนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความกำหนดปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

ปัญญาในความหมายอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความหมายธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความหมายนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความหมายปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1055

ปัญญาในความเข้าไปหมายอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความเข้าไปหมายธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความเข้าไปหมายนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความเข้าไปหมายปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

ปัญญาในประเภทแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในประเภทแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในประเภทแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในประเภทแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

ปัญญาในความปรากฏแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความปรากฏแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความปรากฏแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความปรากฏแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

ปัญญาในความกระจ่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความกระจ่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความกระจ่างแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความกระจ่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

ปัญญาในความรุ่งเรืองแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความรุ่งเรืองแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1056

ในความรุ่งเรืองแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความรุ่งเรืองแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

ปัญญาในความประกาศอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความประกาศธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความประกาศนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความประกาศปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ.

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ว่าธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อรรถปฏิสัมภิทาญาณ ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ.

๖๔ - ๖๗. อรรถกถาสุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส

๒๖๘] พึงทราบวินิจฉัยในสุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้.

พระสารีบุตรเถระมิได้แสดงถึงประเภทของญาณเหล่านี้ ดุจหนหลังเพราะญาณเหล่านี้ไม่มีความต่างกันจึงกล่าวบทมีอาทิว่า อตฺเถสุ าณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา - ญาณในอรรถ ชื่อว่า อรรถปฏิสัมภิทา แม้ในความไม่มีความต่างกันแห่งปัญญา ท่านจึงกล่าวว่า อตฺถนานตฺเต ปญฺา อตฺถปฏิสมฺภิเท าณํ - ปัญญาในความต่างกันแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ เพราะมีความต่างกันด้วยสามารถเพียงแทงตลอดจตุสัจธรรม.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1057

ในบทเหล่านั้น บทว่า นานตฺเต - ในความต่างกัน คือในภาวะไม่น้อยแห่งอรรถเป็นต้น.

บทว่า ววตฺถาเน - ในความกำหนด คือในการตัดสินอรรถ เป็นต้น.

บทว่า สลฺลกฺขเณ - ในความหมาย คือในการเห็นอรรถเป็นต้นโดยชอบ.

บทว่า อุปลกฺขเณ - ในความเข้าไปหมาย คือในการเห็นอรรถเป็นต้นมากขึ้นไป.

บทว่า ปเภเท - ในประเภท คือในความต่างกันแห่งอรรถเป็นต้น.

บทว่า ปภาวเน - ในความปรากฏ คือในความเกิดแห่งอรรถเป็นต้นด้วยทำให้ปรากฏ.

บทว่า โชตเน - ในความกระจ่าง คือในการแสดงอรรถเป็นต้น.

บทว่า วิโรจเน - ในความรุ่งเรือง คือในการแสดงอรรถเป็นต้นหลายอย่าง.

บทว่า ปกาสเน - ในความประกาศ คือในความประกาศอรรถเป็นต้น.

ท่านกล่าวทำ บทว่า นานตฺเต ให้เป็นมูลบทด้วยสามารถทั่วไปแห่งบททั้งหมด. กล่าวบทว่า ววตฺถาเน ด้วยสามารถแห่งพระโสดาบัน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1058

กล่าวบทว่า สลฺลกฺขเณ อุปลกฺขเณ ด้วยสามารถแห่งพระสกทาคามี. กล่าวบทว่า ปเภเท ปภาวเน ด้วยสามารถแห่งพระอนาคามี. กล่าวบทว่า โชตเน วิโรจเน ปกาสเน ด้วยสามารถแห่งพระอรหันต์ พึงทำการประกอบในบทเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาสุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส