พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทสฃ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40943
อ่าน  446

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1058

อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทสฃ

๖๘. อรรถกถาอินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1058

อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส

[๒๖๙] อินทริยปโรปริยัตตญาณของพระตถาคตเป็นไฉน?

ในอินทริยปโรปริยัตตญาณนี้ พระตถาคตย่อมทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน, มีอาการดี มีอาการชั่ว, พึงให้รู้แจ้งได้โดยง่าย พึงให้รู้แจ้งได้โดยยาก, บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกมิได้เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย.

[๒๗๐] คำว่า มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นคนมีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนมีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ, บุคคลผู้ปรารภความเพียร เป็นคนมีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้เกียจคร้าน เป็นคนมีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ, บุคคล

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1059

ผู้มีสติตั้งมั่น เป็นคนมีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีสติหลงลืม เป็นคนมีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ, บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น เป็นคนมีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นคนมีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ, บุคคลผู้มีปัญญา เป็นคนมีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นคนมีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ

[๒๗๑] คำว่า มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นคนมีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนมีอินทรีย์อ่อน... บุคคลผู้มีปัญญา เป็นคนมีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นคนมีอินทรีย์อ่อน.

[๒๗๒] คำว่า มีอาการดี มีอาการชั่ว ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นคนมีอาการดี บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนมีอาการชั่ว... บุคคลผู้มีปัญญา เป็นคนมีอาการดี บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นคนมีอาการชั่ว.

[๒๗๓] คำว่า พึงให้รู้แจ้งได้โดยง่าย พึงให้รู้แจงได้โดยยาก ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นคนพึงให้รู้แจ้งได้โดยง่าย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนพึงให้รู้แจ้งได้โดยยาก,... บุคคลผู้มีปัญญา เป็นคนพึงให้รู้จักได้โดยง่าย บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นคนพึงให้รู้แจ้งได้โดยยาก.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1060

[๒๗๔] คำว่า บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกมิได้เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นคนมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนมิได้เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย,... บุคคลผู้มีปัญญา เป็นคนมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นคนมิได้เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย.

[๒๗๕] คำว่า โลก ชื่อว่าโลก คือ ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก, โลกคือภพวิบัติ โลกคือสมภพวิบัติ, โลกคือภพสมบัติ โลกคือสมภพสมบัติ, โลก ๑ คือสัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร, โลก ๒ คือ นามและรูป, โลก ๓ คือเวทนา ๓, โลก ๔ คืออาหาร ๔, โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕, โลก ๖ คือ อายตนะภายใน ๖, โลก ๗ คือ ภูมิเป็นที่ตั้งวิญญาณ ๗, โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘, โลก ๙ คือ ภพเป็นที่อาศัยอยู่ของสัตว์ ๙, โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐, โลก ๑๒ คือ อายตนะ ๑๒. โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘.

[๒๗๖] คำว่า โทษ ชื่อว่าโทษ คือ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง กรรมอันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวง เป็นโทษ ความสำคัญในโลกนี้และโทษนี้เป็นภัยอันแรงกล้า ปรากฏแล้วด้วย

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1061

ประการดังนี้ เหมือนความสำคัญในศัตรูผู้เงื้อดาบเข้ามาจะฆ่าฉะนั้น พระตถาคตย่อมทรงรู้ ทรงเห็น ทรงทราบชัด ทรงแทงตลอดซึ่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ด้วยอาการ ๕๐ นี้ นี้เป็นอินทริยปโรปริยัตตญาณของพระตถาคต.

๖๘. อรรถกถาอินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส

๒๖๙] พึงทราบวินิจฉัยในอินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้.

เมื่อคำว่า ตถคตสฺส แม้ไม่มีโดยสรูปในอุทเทส ท่านกล่าวว่า ตถาคตสฺส เพราะท่านกล่าวไว้ว่า ญาณ ๖ ไม่ทั่วไปด้วยสาวกทั้งหลาย. เพราะฉะนั้น จึงถือเอาในนิทเทสแห่งคำว่า ตถาคต อันสำเร็จแล้วโดยอรรถในอุทเทส.

บทว่า สตฺเต ปสฺสติ - เห็นสัตว์ทั้งหลาย คือ ชื่อว่า สัตว์ เพราะข้อง คือ เพราะถูกคล้องด้วยฉันทราคะในรูปเป็นต้น. พระตถาคตทรงเห็นทรงตรวจดูสัตว์เหล่านั้น ด้วยจักษุอันเป็น อินทริยปโรปริยัตตญาณ - ญาณกำหนดรู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย.

บทว่า อปฺปรชฺกเข - ผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ นี้ มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า อปฺปรชกฺขา - เพราะอรรถว่าสัตว์มีธุลีมีราคะเป็นต้นน้อยในจักษุคือปัญญา. หรือว่า เพราะอรรถว่าสัตว์มีธุลี คือ ราคะเป็นต้นน้อย. ซึ่งสัตว์เหล่านั้นผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1062

บทว่า มเหสกฺเข - ผู้มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า มเหสกฺขา เพราะอรรถว่าสัตว์มีธุลีมีราคะเป็นต้นมากในจักษุ คือปัญญา. หรือว่าสัตว์มีธุลีมีราคะเป็นต้นมาก.

บทว่า ติกฺขินฺทฺริเย มุทินฺทฺริเย - มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน. มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า ติกฺขินฺทฺริยา คือ มีอินทรีย์แก่กล้า เพราะอรรถว่า สัตว์มีอินทรีย์ มีศรัทธาเป็นต้นแก่กล้า. ชื่อว่า มุทินฺทฺริยา มีอินทรีย์อ่อน เพราะอรรถว่าสัตว์มีอินทรีย์ มีศรัทธาเป็นต้นอ่อน.

บทว่า สฺวากาเร ทฺวาการา - มีอาการดี มีอาการชั่ว ความว่า ชื่อว่า สฺวาการา คือ มีอาการดี เพราะอรรถว่า สัตว์มีอาการ คือ มีส่วน มีศรัทธาเป็นต้นดี. ชื่อว่า ทฺวาการา คือ มีอาการชั่ว เพราะอรรถว่าสัตว์มีอาการ คือ มีส่วน มีศรัทธาเป็นต้น น่าเกลียด น่าติเตียน.

บทว่า สุวิญฺาปเย ทุวิญฺาปเย - พึงให้รู้แจ้งได้โดยง่าย พึงให้รู้แจ้งได้โดยยาก คือ สัตว์เหล่าใดกำหนดเหตุที่กล่าว เป็นผู้สามารถรู้แจ้งได้โดยง่าย สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า สุวิญฺญาปยา. ตรงกันข้ามกับรู้แจ้งชัดโดยง่ายนั้น ชื่อว่า ทุวิญฺาปยา.

บทว่า อปฺเปกจฺเจ ปรโลกฺวชฺชภยทสฺสาวิโน - บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย คือ ชื่อว่า ปรโลกวชฺช

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1063

ภยทสฺสาวิโน คือ มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย เพราะอรรถว่ามีปกติเห็นภัยอื่นหนัก ในโลกมีขันธโลกเป็นต้น และโทษมีราคะเป็นต้น เพราะเมื่อบางพวกเห็นปรโลกและโทษมีราคะเป็นต้น โดยเป็นภัยในนิทเทสแห่งบทนี้ ท่านจึงไม่กล่าวถึงปรโลกเท่านั้น. พึงถือเอาความอย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านั้นมีปกติเห็นภัยในปรโลก และในโทษมีราคะเป็นต้น.

บทว่า อปฺเปกจิเจ น ปรโลกวชฺชภยทสฺสาวิโน - บางพวกมิได้เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยนี้ มีความตรงกันข้ามกับบทที่กล่าวแล้วนั้น. อนึ่ง บทว่า โลโก เพราะอรรถว่าสลายไป. บทว่า วชฺชํ คือโทษ เพราะอรรถว่าควรติเตียน. ด้วยบทประมาณเท่านี้ เป็นอันท่านชี้แจงบทอุทเทสแล้ว.

๒๗๐] พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะทำปฏินิทเทส คือ การชี้แจงทวนนิทเทสอีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อปฺปรชกฺเข มหารชกฺเข- สัตว์มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ สัตว์มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สทฺโธ - บุคคลผู้มีศรัทธา เพราะบุคคลมีศรัทธา กล่าวคือ ความก้าวลงในพระรัตนตรัย. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธานั้น ชื่อว่า อปฺปรชกฺโข คือ มีธุลีน้อยในปัญญาจักษุ เพราะธุลี คือ ความไม่มีศรัทธาและธุลี คือ อกุศลที่เหลืออันเป็นมูลรากของ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1064

ความไม่มีศรัทธามีอยู่น้อย.

ชื่อว่า อสฺสทฺโธ คือ ผู้ไม่มีศรัทธา เพราะไม่มีศรัทธา บุคคลนั้น ชื่อว่า มหารชกฺโข คือ มีธุลีมากในปัญญาจักษุ เพราะธุลีมีประการดังกล่าวแล้วมาก.

ชื่อว่า อารทฺธวีริโย - ผู้ปรารภความเพียร เพราะมีใจปรารภความเพียร. บุคคลผู้ปรารภความเพียรนั้น ชื่อว่า อปฺปรชกฺโข เพราะธุลี คือ ความเกียจคร้านและธุลี คือ อกุศลที่เหลืออันเป็นมูลรากของความเกียจคร้านน้อย.

ชื่อว่า กุสีโท - ผู้เกียจคร้าน เพราะอรรถว่าจมอยู่โดยอาการน่าเกลียด เพราะมีความเพียรเลว. กุสีโท นั่นแหละ คือ กุสีโต. บุคคลผู้เกียจคร้านนั้น ชื่อว่า มหารชกฺโข เพราะธุลีที่จมมีประการ ดังกล่าวแล้วมาก.

ชื่อ อุปฏฺิตฺสสติ - ผู้มีสติตั้งมั่น เพราะมีสติเข้าไปตั้งอารมณ์ไว้มั่น. บุคคลนั้น ชื่อว่า อปฺปรชกฺโข เพราะธุลี คือ ความลุ่มหลง และธุลี คือ อกุศลที่เหลืออันเป็นมูลรากของความลุ่มหลงน้อย.

ชื่อว่า มุฏฺสฺสติ คือ ผู้มีสติหลงลืม เพราะมีสติหลงลืม. บุคคลนั้น ชื่อว่า มหารชกฺโข เพราะธุลีมีประการดังกล่าวแล้วมาก.

ชื่อว่า สมาหิโต คือ บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น เพราะตั้งไว้เสมอ หรือว่าโดยชอบในอารมณ์ด้วยอัปปนาสมาธิ หรือด้วยอุปจารสมาธิ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สมาหิโต เพราะอรรถว่ามีจิตตั้งมั่น. บุคคลนั้น

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1065

ชื่อว่า อปฺปรชกฺโข เพราะธุลี คือ ความฟุ้งซ่านและธุลี คือ อกุศล ที่เหลืออันเป็นมูลรากของความฟุ้งซ่านน้อย.

บุคคลมีจิตไม่ตั้งมั่น ชื่อว่า อสมาหิโต. บุคคลนั้น ชื่อว่า มหารชกฺโข เพราะธุลีมีประการดังกล่าวแล้วมาก.

ชื่อว่า ปญฺวา คือ บุคคลผู้มีปัญญา เพราะมีปัญญาเห็นความเกิดและความดับ. บุคคลผู้มีปัญญานั้น ชื่อว่า อปฺปรชกฺโข เพราะธุลี คือ โมหะและธุลี คือ อกุศลที่เหลืออันเป็นมูลรากของโมหะน้อย.

ชื่อว่า ทุปฺปญฺโ คือ บุคคลผู้มีปัญญาทราม เพราะมีปัญญาทราม เพราะลุ่มหลงด้วยโมหะ. บุคคลนั้น ชื่อว่า มหารชกฺโข เพราะมีธุลี มีประการดังกล่าวแล้วมาก.

๒๗๑] บทว่า สทฺโธ ปุคฺคโล ติกฺขินฺทฺริโย - บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นคนมีอินทรีย์แก่กล้า คือ มีศรัทธา ด้วยศรัทธามีกำลังอันเกิดขึ้นมาก. มีอินทรีย์แก่กล้าด้วยสัทธินทรีย์นั้นนั่นเอง.

บทว่า อสฺสทฺโธ ปุคฺคโล มุทินฺทฺริโย - บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนมีอินทรีย์อ่อน คือ ไม่มีศรัทธาด้วยความไม่เชื่อเกิดขึ้นมาก. เป็นผู้มีอินทรีย์อ่อนด้วยสัทธินทรีย์ มีกำลังน้อยอันเกิดขึ้นในระหว่างๆ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้.

๒๗๒] บทว่า สทฺโธ ปุคฺคโล สฺวากาโร - บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีอาการดี คือ มีอาการงดงามด้วยศรัทธานั้นนั่นเอง. บทว่า

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1066

อสฺสทฺโธ ปุคฺคโล ทฺวากาโร - บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้มีอาการชั่ว คือ มีอาการผิดรูปด้วยความเป็นผู้ไม่เชื่อนั้นนั่นเอง. แม้ในคำที่เหลือก็มีนัยนี้.

๒๗๓] บทว่า สุวิญฺาปโย คือ พึงสามารถให้รู้โดยง่าย. บทว่า ทุวิญฺญาปโย คือ พึงสามารถให้รู้โดยยาก.

๒๗๔] ในบทว่า ปรโลกวชฺชภยทสฺสาวี นี้ พึงทราบความดังต่อไปนี้.

เพราะศรัทธาเป็นต้นของผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นความบริสุทธิ์ด้วยดี. ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาอันบริสุทธิ์ด้วยดี เป็นต้น เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธานั้น จึงเป็นผู้มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย. หรือแม้ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาอันบริสุทธิ์ด้วยดีเป็นต้น ก็เป็นผู้มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยด้วยปัญญาอันมีศรัทธานั้นเป็นปัจจัย. เพราะฉะนั้นแหละ ท่านจึงกล่าวธรรม ๔ อย่าง มีศรัทธาเป็นต้นว่า ปรโลกวชฺชยทสฺสาวี - เป็นผู้มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย.

๒๗๕] บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ เพื่อจะแสดงโลกและโทษดังกล่าวแล้ว ในบทนี้ว่า ปรโลกวชฺชภยทสฺสาวี จึงกล่าวคำมีอาทิว่า โลโก ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น ขันธ์ทั้งหลายนั่นเอง ชื่อว่า ขันธโลก เพราะอรรถว่า มีอันต้องสลายไป. แม้ในสองบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1067

บทว่า วิปตฺติภวโลโก - โลกคือภพวิบัติ ได้แก่ อบายโลก. เพราะอบายโลกนั้น เป็นโลกเลว เพราะมีผลไม่น่าปรารถนา จึงชื่อว่า วิบัติ. ชื่อว่า ภพ เพราะเกิด. ภพคือความวิบัตินั่นเอง ชื่อว่า ภพวิบัติ. โลกคือภพวิบัตินั่นเอง ชื่อว่า โลกคือภพวิบัติ.

บทว่า วิปตฺติสมฺภวโลโก - โลกคือสมภพวิบัติ ได้แก่ กรรมอันเข้าถึงอบาย ชื่อว่า สมภพ เพราะเป็นแดนเกิดแห่งผลกรรม. แดนเกิดแห่งวิบัติ ชื่อว่า สมภพวิบัติ. โลกมีแดนเกิดวิบัตินั่นแหละ ชื่อว่า โลกคือสมภพวิบัติ.

บทว่า สมฺปตฺติสมฺภวโลโก - โลกคือภพสมบัติ ได้แก่ สุคติโลก. เพราะสุคติโลกนั้นเป็นโลกดี เพราะมีผลน่าปรารถนา จึงชื่อว่า สมบัติ. ชื่อว่า ภพ เพราะเกิด. ภพอันเป็นสมบัตินั่นแหละ ชื่อว่า ภพสมบัติ. โลกคือแดนเกิดแห่งสมบัตินั้นแหละ ชื่อว่า โลกคือภพสมบัติ

บทว่า สมฺปตฺติสมฺภวโลโก - โลกคือสมภพสมบัติ ได้แก่ กรรมอันเข้าถึงสุคติ. ชื่อว่า สมภพ เพราะเป็นแดนเกิดแห่งผลกรรม. แดนเกิดแห่งสมบัติ ชื่อว่า สมภพสมบัติ. โลกคือแดนเกิดแห่งสมบัตินั่นแล ชื่อว่า โลกคือสมภพสมบัติ.

บทมีอาทิว่า เอโก โลโก โลก ๑ มีอรรถดังได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1068

๒๗๖] บทว่า วชฺชํ - โทษ ท่านทำเป็นนปุงสกลิงค์ เพราะไม่ได้แสดงด้วยบทว่า อสุโภ.

บทว่า กิเลสา คือ กิเลสมีราคะเป็นต้น.

บทว่า ทุจฺจริตา คือ ทุจริตมีปาณาติบาตเป็นต้น.

บทว่า อภิสงฺขารา คือ สังขารมีปุญญาภิสังขารเป็นต้น.

บทว่า ภวคามิกมฺมา - กรรมอันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพ ชื่อว่า ภวคามิโน เพราะสัตว์ทั้งหลายไปสู่ภพด้วยอำนาจการให้วิบากของตน. ท่านกล่าวกรรมอันให้เกิดวิบากแม้ในอภิสังขารทั้งหลาย.

บทว่า อิติ เป็นบทแสดงประการดังกล่าวแล้ว.

บทว่า อิมสฺมิญฺจ โลเก อิมสฺมิญฺจ วชฺเช - ในโลกนี้และในโทษนี้ คือ ในโลกและในโทษดังกล่าวแล้ว.

บทว่า ติพฺพา ภยสญฺา - ความสำคัญว่าเป็นภัยอันแรงกล้า คือ ความสำคัญว่าเป็นภัยมีกำลัง แต่ท่านกล่าวอรรถแห่ง พล ศัพท์ว่า ติพฺพา. ท่านกล่าวอรรถแห่ง ภย ศัพท์ว่า ภยสญฺา. เพราะว่าโลกและโทษทั้งสอง ชื่อว่า ภัย เพราะเป็นวัตถุแห่งภัย และเพราะเป็นภัยเอง. ความสำคัญว่า ภัย ก็ชื่อว่า ภยสญฺญา.

บทว่า ปจฺจุปฏฺิตา โหติ - ปรากฏแล้ว คือ ปรากฏเพราะอาศัยภัยนั้นๆ.

บทว่า เสยฺยถาปิ อุกฺขิตฺตาสิเต วธเก - เหมือนความสำคัญในศัตรูผู้เงื้อดาบ คือ ความสำคัญว่าเป็นภัยกล้าแข็งปรากฏ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1069

ในโลกและในโทษ เหมือนความสำคัญว่าเป็นภัยปรากฏในศัตรูผู้เงื้อดาบเพื่อประหารฉะนั้น.

บทว่า อิเมหิ ปฺาสาย อากาเรหิ - ด้วยอาการ ๕๐ นี้ คือ ด้วยอาการ ๕๐ ด้วยสามารถแห่งอาการอย่างละ ๕ ในปัญจกะ ๑๐ มีอัปปรชักขปัญจกะเป็นต้นอย่างหนึ่งๆ.

บทว่า อิมานิ ปญฺจินฺทฺริยานิ ได้แก่ อินทรีย์ ๕ มีสัทธินทรีย์ เป็นต้น.

บทว่า ชานาติ คือ พระตถาคตย่อมทรงรู้ด้วยพระปัญญา.

บทว่า ปสฺสติ คือ ทรงกระทำดุจเห็นด้วยทิพจักษุ.

บทว่า อญฺาติ ทรงทราบชัด คือ ทรงทราบด้วยมารยาทแห่งอาการทั้งปวง.

บทว่า ปฏิวิชฺฌติ - ทรงแทงตลอด คือ ทรงทำลายด้วยพระปัญญาด้วยสามารถการเห็นหมดสิ้นมิได้เหลือเป็นเอกเทศ.

จบ อรรถกถาอินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส