ยมกปาฏิหาริยญาณนิทเทส
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1091
ยมกปาฏิหาริยญาณนิทเทส
๗๐. อรรถกถายมกปาฏิหีรญาณนิทเทส
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1091
ยมกปาฏิหาริยญาณนิทเทส
[๒๘๔] ยมกปาฏิหาริยญาณของพระตถาคตเป็นไฉน?
ในญาณนี้ พระตถาคตย่อมทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ไม่สาธารณะ ด้วยหมู่พระสาวก คือ ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องบน สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องล่าง ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องล่าง สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องบน, ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องหลัง ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องหลัง สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า, ท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องซ้าย ท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องขวา, ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องขวา, ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องขวา, ท่อไฟพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย ท่อไฟพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากจะงอย พระอังสาเบื้องขวา, ท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องซ้าย ท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา, ท่อไฟพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องขวา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1092
สายน้ำพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้าย ท่อไฟพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องขวา. ท่อไฟพุ่งออกจากพระบาทเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทเบื้องซ้าย, ท่อไฟพุ่งออกจากพระบาทเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทเบื้องขวา. ท่อไฟพุ่งออกจากพระองคุลี สายน้ำพุ่งออกจากระหว่างพระองคุลี ท่อไฟพุ่งออกจากระหว่างพระองคุลี สายน้ำพุ่งออกจากพระองคุลี, ท่อไฟพุ่งออกจากพระโลมาเส้นหนึ่งๆ สายน้ำพุ่งออกจากพระโลมาเส้นหนึ่งๆ , ท่อไฟพุ่งออกจากขุมพระโลมา สายน้ำพุ่งออกจากขุมพระโลมา (พระรัศมี แผ่ซ่านออกจากพระสรีรกายด้วยสามารถ) แห่งวรรณะ ๖ คือ สีเขียว สีเหลือง แดง สีขาว สีแสด สีเลื่อมประภัสสร พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจงกรม พระพุทธนิมิตประทับยืน ประทับนั่ง หรือทรงไสยาสน์, พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืน พระพุทธนิมิตเสด็จจงกรม, ประทับนั่ง หรือทรงไสยาสน์, พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง พระพุทธนิมิตเสด็จจงกรม ประทับยืน หรือทรงไสยาสน์, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงไสยาสน์ พระพุทธนิมิตเสด็จจงกรม ประทับยืน หรือประทับนั่ง, พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจงกรม ประทับนั่ง หรือทรงไสยาสน์ พระพุทธนิมิตประทับยืน, พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจงกรม ประทับยืน หรือทรงไสยาสน์, พระพุทธนิมิตประทับนั่ง, พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืน ประทับนั่ง หรือเสด็จจงกรม พระพุทธนิมิตทรงไสยาสน์ นี้เป็นยมกปาฏิหาริยญาณของพระตถาคต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1093
๗๐. อรรถกถายมกปาฏิหีรญาณนิทเทส
๒๘๔] พึงทราบวินิจฉัยในยมกปาฏิหีรญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.
บทว่า อสาธารณํ สาวเกหิ - ยมกปาฏิหาริย์ไม่ทั่วไปด้วยสาวกทั้งหลาย ความว่า ในสาธารณญาณนิทเทสที่เหลือท่านไม่กล่าวไว้ เพราะไม่มีโอกาสด้วยคำอื่น แต่ในนิทเทสนี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้เพราะไม่มีคำอื่น.
บทว่า อุปริมกายโต - จากพระกายเบื้องบน คือ จากพระสรีระเบื้องบนแห่งพระนาภี.
บทว่า อคฺคิกฺขนฺโธ ปวตฺตติ - ท่อไฟพุ่งออก คือ เมื่อเข้าฌานเป็นบาทมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ ครั้นออกแล้วคำนึงว่า ขอเปลวไฟจงพุ่งออกจากกายเบื้องบน แล้วทำบริกรรม อฐิฏฐานว่า ขอเปลวไฟจงพุ่งจากกายเบื้องบน ด้วยอภิญญาญาณ เปลวไฟจะพุ่งขึ้นจากกายเบื้องบนพร้อมกับอฐิษฐาน. ในนิทเทสนี้ เปลวไฟนั้น ท่านกล่าวว่า ขันธ์ เพราะอรรถว่าเป็นกอง.
บทว่า เหฏฺิมกายโต - จากพระกายเบื้องล่าง คือ จากพระสรีระเบื้องล่างจากพระนาภี.
บทว่า อุทกธารา ปวตฺตติ - สายน้ำพุ่งออก คือ เมื่อเข้าฌานเป็นบาทมีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ครั้นออกแล้วคำนึงว่า ขอสายน้ำจงพุ่งออกจากกายเบื้องล่างแล้วทำบริกรรม อธิษฐานว่า ขอสายน้ำจงพุ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1094
ออกจากกายเบื้องล่าง ด้วยอภิญญาญาณ สายน้ำจะพุ่งออกจากกายเบื้องล่างพร้อมกับอธิษฐาน. แม้ในบททั้งสอง ท่านกล่าวว่า พุ่งออกโดยไม่ขาดสาย. ภวังคจิต ๒ ดวง ย่อมเป็นไปในระหว่างอธิษฐานและการคำนึง เพราะฉะนั้นแหละ กองไฟและสายน้ำจึงพุ่งออกเป็นคู่ ไม่ปรากฏระหว่าง. ก็การกำหนดภวังคจิตไม่มีแก่สาวกเหล่าอื่น.
บทว่า ปุรตฺถิมกายโต - จากพระกายเบื้องหน้า คือ จากข้างหน้า.
ปจฺฉิมกายโต - จากพระกายเบื้องหลัง คือ จากข้างหลัง.
บทมีอาทิว่า ทกฺขิณอกฺขิโต วามอกฺขิโต - จากพระเนตรเบื้องขวา จากพระเนตรเบื้องซ้าย เป็นปาฐะสมาส มิใช่ปาฐะอื่น. ปาฐะว่า ทกฺขิณนาสิกาโสตโต วามนาสิกาโสตโต - จากพระนาสิกเบื้องขวา จากพระนาสิกเบื้องซ้ายดังนี้ เป็นปาฐะดี. พระอาจารย์ทั้งหลายกล่าวทำเป็นรัสสะบ้าง.
ในบทว่า อํสกูฏโต - จากจะงอยพระอังสานี้ มีความดังนี้.
ชื่อว่า กูฏะ - จะงอย เพราะอรรถว่าสูงขึ้น ดุจยอด. จะงอย คือ อังสานั่นเอง ชื่อว่า อังกูฏะ.
บทว่า องฺคุลงฺคุเลหิ คือ จากพระองคุลีๆ
บทว่า องฺคุลนฺตริกาหิ คือ จากระหว่างองคุลี.
บทว่า เอเกกโลมโต อคฺคิกฺขนฺโธ ปวตฺตติ, เอเกกโลมโต อุทกธารา ปวตฺตติ - ท่อไฟพุ่งออกจากพระโลมาเส้นหนึ่งๆ. สายน้ำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1095
พุ่งออกจากพระโลมาเส้นหนึ่งๆ. ท่านอธิบายว่า ท่อไฟสายน้ำพุ่งออกเป็นคู่ๆ จากพระโลมาเส้นหนึ่งๆ เพราะถือเอาพระโลมาทั้งหมดด้วยคำพูดซ้ำๆ. ในบทแม้ทั้งสอง.
แม้ในบทว่า โลมกูปโต โลมภูปโต อคฺคิกฺขนฺโธ ปวตฺตติ, โลมกูปโต โลมกูปโต อุทกธารา ปวตฺตติ - ท่อไฟพุ่งออกจากขุมพระโลมาเส้นหนึ่งๆ. สายน้ำพุ่งออกจากขุมพระโลมาเส้นหนึ่งๆ ก็มี นัยนี้เหมือนกัน. ในหลายๆ คัมภีร์ ท่านเขียนไว้ว่า ท่อไฟพุ่งออกจากพระโลมาเส้นหนึ่งๆ. สายน้ำพุ่งออกจากขุมพระโลมาเส้นหนึ่งๆ. ท่อไฟพุ่งออกจากขุมพระโลมาเส้นหนึ่งๆ. สายน้ำพุ่งออกจากพระโลมาเส้นหนึ่งๆ. บทแม้นั้นก็ถูกต้อง. แต่ปาฐะก่อนดีกว่า เพราะแสดงความสุขุมยิ่งนักของปาฏิหาริย์.
บทว่า ฉนฺนํ วณฺณานํ - พระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระวรกาย ด้วยสามารถแห่งวรรณะ ๖. สัมพันธ์กันอย่างไร?
ท่านกล่าวถึงสรีราพยพ ด้วยบทไม่น้อยมีอาทิว่า อุปริมกาโต. ด้วยเหตุนั้น การสัมพันธ์ด้วยสรีราพยพ ย่อมเป็นไปได้. ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า รัศมีทั้งหลายแห่งวรรณะ ๖ อันเป็นสรีราพยพ ย่อมพุ่งออกเป็นคู่ๆ ด้วยความสัมพันธ์ถ้อยคำ และด้วยอธิการแห่งยมกปาฏิหาริย์. อนึ่ง ด้วยความสัมพันธ์แห่งฉัฏฐีวีภัตติ พึงปรารถนาปาฐะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1096
ที่เหลือว่า รสฺมิโย เป็นแน่แท้. (คือให้เพิ่มบทว่า ฉนฺนํ วณฺณานํ รสฺมิโย).
บทว่า นีลานํ - สีเขียว คือ มีสีเหมือนดอกผักตบ.
บทว่า ปิตกานํ - สีเหลือง คือ มีสีเหมือนดอกกรรณิการ์.
บทว่า โลหิตกานํ - สีแดง คือ มีสีเหมือนแมลงค่อมทอง.
บทว่า โอทาตานํ - สีขาว คือ มีสีเหมือนดาวประกายพรึก.
บทว่า มญฺชิฏฺานํ - สีแสด คือ มีสีแดงอ่อน.
บทว่า ปภสฺสรานํ - สีเลื่อมประภัสสร คือ มีสีเลื่อมประภัสสรตามปกติ. สีเลื่อมประภัสสรแม้ไม่มีต่างกัน. เมื่อกล่าวถึงวรรณะ ๕ รัศมีใดๆ รุ่งเรือง รัศมีนั้นๆ เป็นประภัสสร.
จริงอย่างนั้น เมื่อพระตถาคตทรงทำยมกปาฏิหาริย์ รัศมีสีเขียวย่อมซ่านออกจากที่สีเขียวแห่งพระเกสา พระมัสสุ และพระเนตร ด้วยกำลังแห่งยมกปาฏิหีรญาณนั่นแหละ, ด้วยอำนาจรัศมีสีเขียวท้องฟ้า ย่อมเป็นดุจกระจายไปด้วยผงดอกอัญชัญ ดุจดาดาษไปด้วยกลีบดอกผักตบ และดอกอุบลเขียว ดุจก้านตาลแก้วมณีล่วงลงมา และดุจแผ่นผ้าสีครามที่เขาขึงไว้.
รัศมีสีเหลือง ย่อมซ่านออกจากพระฉวี และจากที่สีเหลืองแห่งพระเนตร, ด้วยอำนาจแห่งรัศมีสีเหลือง ทิศาภาคย่อมรุ่งโรจน์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1097
ดุจหลั่งออกซึ่งน้ำสีทองคำ ดุจคลี่ออกซึ่งแผ่นผ้าทองคำ และดุจเกลื่อนกล่นไปด้วยผงหญ้าฝรั่น และดอกกรรณิการ์.
รัศมีสีแดง ย่อมซ่านออกจากพระมังสะแลพระโลหิต และจากที่สีแดงแห่งพระเนตร, ด้วยอำนาจแห่งรัศมีสีแดง ทิศาภาคย่อมรุ่งโรจน์ดุจย่อมด้วยผงชาด ดุจหลั่งออกซึ่งน้ำสีครั่งที่สุกปลั่ง ดุจวงด้วยผ้ากัมพลสีแดง และเกลื่อนกลาดไปด้วยดอกไม้สีแดง คือ ดอกชัยพฤกษ์ ดอกทองหลาง และดอกชะบา.
รัศมีสีขาว ย่อมซ่านออกจากพระอัฐิ พระทนต์ และจากที่สีแดงของพระเนตร, ด้วยอำนาจแห่งรัศมีสีขาว ทิศาภาคย่อมรุ่งโรจน์ดุจกระจัดกระจายด้วยสายน้ำมันอันไหลออกจากหม้อเงิน ดุจลาดเพดานด้วยแผ่นเงินไว้ ดุจก้านตาลเงินหล่นลงมา และดุจดาดาษด้วยดอกไม้ ดอกมะลิวัลย์ ดอกโกมุท ดอกไม้ยางทราย ดอกมะลิ และดอกมะลิซ้อน.
รัศมีสีแสด ย่อมซ่านออกจากที่สีแดงอ่อน มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทเป็นต้น, ด้วยอำนาจแห่งรัศมีสีแสด ทิศาภาคย่อมรุ่งโรจน์ดุจวงไว้ด้วยตาข่ายแก้วประพาฬ และดุจเกลื่อนกลาดด้วยจุณสำหรับอาบสีแดง และดอกคำ.
รัศมีสีเลื่อมประภัสสร ย่อมซ่านออกจากที่สีเลื่อมประภัสสร มีพระอุณาโลม พระทาฐะและพระนขาเป็นต้น, ด้วยอำนาจแห่งรัศมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1098
สีเลื่อมประภัสสร ทิศาภาคย่อมรุ่งโรจน์ดุจเต็มด้วยกลุ่มดาวประกายพรึก และเต็มด้วยเครื่องครอบด้วยสายฟ้าเป็นต้น.
ด้วยบทมีอาทิว่า ภควา จงฺกมติ - พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจงกรม ท่านกล่าวเพื่อแสดงว่า พระอิริยาบถต่างๆ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า และพระพุทธนิรมิตทั้งหลายย่อมมีด้วยยมกปาฏิหิรญาณเท่านั้น. เพราะพระอิริยาบถของพระพุทธนิรมิตเหล่านั้นย่อมเป็นไปเป็นคู่. ผิถามว่า พระพุทธนิรมิตมีมาก เพราะเหตุไร จึงทำเป็นเอกวจนะว่า นิมฺมิโต เป็นต้นเล่า. ตอบว่า เพื่อแสดงอิริยาบถต่างๆ ของพระพุทธนิรมิตองค์หนึ่งๆ ในบรรดาพระพุทธนิรมิตทั้งหลาย.
เมื่อกล่าวเป็นพหุวจนะ พระพุทธนิรมิต แม้ทั้งหมดก็เป็นเหมือนมีพระอิริยาบถต่างๆ กันในคราวเดียว. แต่เมื่อกล่าวเป็นเอกวจนะ ในบรรดาพระพุทธนิรมิตองค์หนึ่งๆ ย่อมปรากฏว่า มีพระอิริยาบถต่างๆ. เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงเป็นเอกวจนะ. แม้พระจูลบันถกเถระ ก็นิรมิตภิกษุมีอิริยาบถต่างๆ ตั้งพันรูป, การเว้นพระจูลบันถกเถระเสียแล้ว นิมิตรูปต่างๆ ของพระสาวกเหล่าอื่นมีอิริยาบถต่างๆ ด้วยการคำนึงครั้งเดียว ย่อมไม่สำเร็จ. เพราะพระพุทธนิรมิตทั้งหลาย ย่อมมีฤทธิ์เช่นเดียวกัน เพราะมิได้กำหนดไว้. พระพุทธนิรมิตทั้งหลายย่อมทำสิ่งที่ผู้มีฤทธิ์ทำได้ในการยืน การนั่งเป็นต้นก็ดี ในการพูด การนิ่งเป็นต้นก็ดี. การทำไม่เหมือนกัน และทำกิริยา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1099
ต่างๆ กัน ย่อมสำเร็จด้วยการคำนึงต่างๆ กัน แล้วอธิษฐานว่า พระพุทธนิรมิตประมาณเท่านี้จงเป็นเช่นนี้. พระพุทธนิรมิตประมาณเท่านี้จงทำสิ่งนี้. ส่วนการนิรมิตหลายๆ อย่าง ย่อมสำเร็จแก่พระตถาคต ด้วยการคำนึงอธิษฐานครั้งเดียวเท่านั้น. พึงทราบในการนิรมิตท่อไฟและสายน้ำ และในการนิรมิตวรรณะต่างๆ ด้วยประการฉะนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ภควา จงฺกมติ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจงกรมในอากาศหรือบนแผ่นดิน.
บทว่า นิมฺมิโต ได้แก่ รูปพระพุทธเจ้าที่นิรมิตด้วยฤทธิ์. แม้บทว่า ติฏฺติ วา- พระพุทธนิรมิตประทับยืน เป็นอาทิ ได้แก่ ประทับยินในอากาศหรือบนแผ่นดิน.
บทว่า กปฺเปติ - ย่อมสำเร็จ คือ กระทำ. แม้ในบทมีอาทิว่า ภควา ติฏฺติ - พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืน ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
จบ อรรถกถายมกปาฏิหีรญาณนิทเทส