พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

มหากรุณาสมาปัตติญาณนิทเทส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  24 พ.ย. 2564
หมายเลข  40946
อ่าน  666

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1099

มหากรุณาสมาปัตติญาณนิทเทส

๗๑. อรรถกถามหากรุณาสมาปัตติญาณนิทเทส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1099

มหากรุณาสมาปัตติญาณนิทเทส

[๒๘๕] มหากรุณาสมาปัตติญาณของพระตถาคตเป็นไฉน?

พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาเห็นอยู่ด้วยอาการเป็นอันมาก จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์ คือพระ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1100

ผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงเห็นอยู่ว่า โลกสันนิวาสอันไฟติดโชนแล้ว จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงเห็นอยู่ว่า โลกสันนิวาสยกพลแล้ว... โลกสันนิวาสเคลื่อนพลแล้ว... โลกสันนิวาสเดินผิดแล้ว... โลกอันชรานำเข้าไป มิได้ยั่งยืน... โลกไม่มีที่ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่... โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป... โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา... โลกสันนิวาสไม่มีที่ต้านทาน... โลกสันนิวาสไม่มีที่เร้น... โลกสันนิวาสไม่มีที่พึ่ง... โลกสันนิวาสไม่เป็นที่พึ่งของใคร... โลกสันนิวาสฟุ้งซ่าน ไม่สงบ... โลกสันนิวาสมีลูกศร ถูกลูกศรเป็นจำนวนมากเสียบแทงแล้ว ใครอื่นนอกจากเราผู้จะถอนลูกศรทั้งหลายของโลกสันนิวาสนั้น เป็นไม่มี... โลกสันนิวาสมีความมืดตื้อคืออวิชชาปิดกั้นไว้ ถูกใส่เข้าไปยังกรงกิเลส ใครอื่นนอกจากเราซึ่งจะแสดงธรรม เป็นแสงสว่างแก่โลกสันนิวาสนั้น เป็นไม่มี... โลกสันนิวาสตกอยู่ใน อำนาจอวิชชา เป็นผู้มืด อันอวิชชาหุ้มห่อไว้ ยุ่งดังเส้นด้ายพันกันเป็นกลุ่มก้อน นุงนังดังหญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย ไม่ล่วงพ้นสงสาร คือ อบายทุคติและวินิบาต... โลกสันนิวาสถูกอวิชชามีโทษเป็นพิษแทงติดอยู่แล้ว มีกิเลสเป็นโทษ... โลกสันนิวาสรกชัฏด้วยราคะโทสะและโมหะ ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยสางรกชัฏให้แก่โลกสันนิวาสนั้น เป็นไม่มี... โลกสันนิวาสถูกกองตัณหาสวมไว้... โลกสันนิวาสถูกข่ายตัณหาครอบไว้... โลกสันนิวาสถูกกระแสตัณหาพัดไป... โลกสันนิวาสถูกตัณหา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1101

เป็นเครื่องคล้อง คล้องไว้... โลกสันนิวาสซ่านไปเพราะตัณหานุสัย... โลกสันนิวาสเดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนเพราะตัณหา.. โลกสันนิวาสเร่าร้อนด้วยความเร่าร้อนเพราะตัณหา... โลกสันนิวาสถูกกองทิฏฐิสวมไว้... โลกสันนิวาสถูกข่ายทิฏฐิครอบไว้... โลกสันนิวาสถูกกระแสทิฏฐิพัดไป... โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิเป็นเครื่องคล้อง คล้องไว้.. โลกสันนิวาสซ่านไปเพราะทิฏฐานุสัย... โลกสันนิวาสเดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนเพราะทิฏฐิ... โลกสันนิวาสเร่าร้อนด้วยความเร่าร้อนเพราะทิฏฐิ... โลกสันนิวาสไปตามชาติ... โลกสันนิวาสซมซานไปเพราะชรา... โลกสันนิวาสถูกพยาธิครอบงำ... โลกสันนิวาสถูกมรณะห้ำหั่น... โลกสันนิวาสตกอยู่ในกองทุกข์... โลกสันนิวาสถูกตัณหาซัดไป โลกสันนิวาสถูกกำแพงคือชราแวดล้อมไว้... โลกสันนิวาสถูกบ่วงมัจจุคล้องไว้... โลกสันนิวาสถูกผูกไว้ด้วยเครื่องผูกเป็นอันมาก คือเครื่องผูกคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยแก้เครื่องผูกให้แก่โลกสันนิวาสนั้น เป็นไม่มี....โลกสันนิวาสเดินไปตาม ทางแคบมาก ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยชี้ทางสว่างให้แก่โลกสันนิวาสนั้น เป็นไม่มี... โลกสันนิวาสถูกความกังวลเป็นอันมากพันไว้ ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยตัดความกังวลให้แก่โลกสันนิวาสนั้น เป็นไม่มี... โลกสันนิวาสตกลงไปในเหวใหญ่ ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยฉุดโลกสันนิวาสนั้นให้ขึ้นพ้นจากเหวเป็นไม่มี... โลกสันนิวาสเดินทางกันดาร

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1102

มาก ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยให้โลกสันนิวาสนั้นข้ามพ้นทางกันดารได้ เป็นไม่มี... โลกสันนิวาสเดินทางไปในสังสารวัฏฏ์ใหญ่ ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยให้โลกสันนิวาสนั้นพ้นจากสังขารวัฏได้ เป็นไม่มี... โลกสันนิวาสกลิ้งเกลือกอยูในหล่มใหญ่ ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยฉุดโลกสันนิวาสนั้นให้พ้นจากหล่มได้ เป็นไม่มี... โลกสันนิวาสติดอยู่ในเปือกตมใหญ่ ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยฉุดโลกสันนิวาสนั้นให้พ้นจากเปือกตมใหญ่ เป็นไม่มี... โลกสันนิวาสร้อนอยู่บนเครื่องร้อนเป็นอันมาก ถูกไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปยาสครอบงำไว้ ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยดับไฟเหล่านั้นให้แก่โลกสันนิวาสนั้นได้ เป็นไม่มี... โลกสันนิวาสทุรนทุราย เดือดร้อนเป็นนิตย์ ไม่มีอะไรต้านทาน ต้องรับอาชญา ต้องทำตามอาชญา... โลกสันนิวาสถูกผูกด้วยเครื่องผูกในวัฏฏะปรากฏอยู่ที่ตะแลงแกง ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยโลกสันนิวาสนั้นให้หลุดพ้นได้ เป็นไม่มี... โลกสันนิวาสไม่มีที่พึ่ง ควรได้รับความกรุณาอย่างยิ่ง ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยต้านทานให้แก่โลกสันนิวาสนั้น เป็นไม่มี... โลกสันนิวาสถูกทุกข์เสียบแทงบีบคั้นมานาน... โลกสันนิวาสติดใจกระหายอยู่เป็นนิตย์... โลกสันนิวาสเป็น โลกบอด ไม่มีจักษุ... โลกสันนิวาสมีนัยน์ตาเสื่อมไป ไม่มีผู้นำ... โลกสันนิวาสแล่นไปสู่ทางผิด หลงทางแล้ว ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยพา โลกสันนิวาสนั้นมาสู่ทางอริยะ เป็นไม่มี... โลกสันนิวาสแล่นไปสู่ห้วง โมหะ. ใครอื่นนอกจากเราผู้ฉะช่วยฉุดโลกสันนิวาสนั้นให้ขึ้นจากห้วงโมหะ เป็นไม่มี... โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิ ๒ อย่างกลุ้มรุม... โลก

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1103

สันนิวาสปฏิบัติผิดด้วยทุจริต ๓ อย่าง... โลกสันนิวาสเต็มไปด้วยกิเลส เครื่องประกอบ ถูกกิเลสเครื่องประกอบ ๔ อย่างประกอบไว้... โลกสันนิวาสถูกกิเลสผูกไว้ด้วยเครื่องผูก ๔ อย่าง... โลกสันนิวาสถือมั่นด้วยอุปาทาน ๔... โลกสันนิวาสขึ้นสู่คติ ๕... โลกสันนิวาสกำหนัดอยู่ด้วยกามคุณ ๕... โลกสันนิวาสถูกนิวรณ์ ๕ ทับไว้... โลกสันนิวาสวิวาทกันอยู่ด้วยมูลเหตุวิวาท ๖ อย่าง... โลกสันนิวาสกำหนัดอยู่ด้วยกองตัณหา ๖... โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิ ๖ กลุ้มรุมแล้ว... โลกสันนิวาสซ่านไปเพราะอนุสัย ๗... โลกสันนิวาสถูกสังโยชน์ ๗ เกี่ยวคล้องไว้... โลกสันนิวาสฟูขึ้นเพราะมานะ ๗.. โลกสันนิวาสเวียนอยู่เพราะโลกธรรม ๘ โลกสันนิวาสเป็นผู้ดิ่งลงเพราะมิจฉัตตะ ๘... โลกสันนิวาสประทุษร้ายกันเพราะบุรุษโทษ ๘... โลกสันนิวาสมุ่งร้ายกันเพราะอาฆาตวัตถุ ๙... โลกสันนิวาสพองขึ้นเพราะมานะ ๙ อย่าง... โลก สันนิวาสกำหนัดอยู่เพราะธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล ๙... โลกสันนิวาสย่อมเศร้าหมองเพราะกิเลสวัตถุ ๑๐... โลกสันนิวาสมุ่งร้ายกันเพราะอาฆาตวัตถุ ๑๐... โลกสันนิวาสประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐... โลกสันนิวาสถูกสังโยชน์ ๑๐ เกี่ยวคล้องไว้... โลกสันนิวาสเป็นผู้ดิ่งลงเพราะมิจฉัตตะ ๑๐... โลกสันนิวาสประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐... โลกสันนิวาสประกอบด้วยสักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐... โลกสันนิวาสต้องเนิ่นช้าเพราะตัณหาเครื่องให้เนิ่นช้า ๑๐๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1104

ผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาเห็นว่า โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิ ๖๒ กลุ้มรุม จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปหมู่สัตว์ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาเห็นว่า ก็เราแลเป็นผู้ข้ามได้แล้ว แต่สัตว์โลกยังข้ามไม่ได้ เราเป็นผู้พ้นไปแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่พ้นไป เราทรมานได้แล้ว แต่สัตว์โลกยังทรมานไม่ได้ เราสงบแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่สงบ เราเป็นผู้เบาใจแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่เบาใจ เราเป็นผู้ดับรอบแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่ดับรอบ ก็เราเป็นผู้ข้ามได้แล้ว จะช่วยให้สัตว์โลกข้ามได้ด้วย เราเป็นผู้พ้นไปแล้ว จะช่วยให้สัตว์โลกพ้นไปด้วย เราทรมานได้แล้ว จะช่วยให้สัตว์โลก ทรมานได้ด้วย เราเป็นผู้สงบแล้ว จะช่วยให้สัตว์โลกสงบด้วย เราเป็นผู้เบาใจแล้ว จะช่วยให้สัตว์โลกเบาใจด้วย เราเป็นผู้ดับรอบแล้ว จะช่วยให้สัตว์โลกดับรอบด้วย พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาเห็นดังนี้ จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์ นี้เป็นมหากรุณาสมาปัตติญาณของพระตถาคต.

๗๑. อรรถกถามหากรุณาญาณนิทเทส

๒๘๕] พึงทราบวินิจฉัยในมหากรุณาญาณนิทเทสดังต่อไปนี้

บทว่า พหุเกหิ อากาเรหิ - ด้วยอาการเป็นอันมาก คือ ด้วยประการ ๘๙ อย่างซึ่งจะกล่าวในบัดนี้

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1105

บทว่า ปสฺสนฺตานํ - ทรงพิจารณาเห็นอยู่ คือ ทรงตรวจตราอยู่ ด้วยญาณจักษุและด้วยพุทธจักษุ.

บทว่า โอกฺกมติ - ทรงแผ่ คือ ทรงหยั่งลง ทรงเข้าไป.

บทว่า อาทิตฺโต คือ อันไฟติดโชนแล้ว ด้วยสภาพความเร่าร้อนจากการถูกเบียดเบียนด้วยทุกขลักษณะ. พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า อาทิตฺโต ด้วยสามารถทุกขลักษณะแห่งสังขธรรมทั้งปวง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ยทนิจฺจํ ตํ ทุกขํ (๑) - สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ และด้วยสามารถทุกขลักษณะครั้งแรก เพราะถูกทุกข์บีบคั้น และเพราะพระกรุณาเป็นรากฐาน. จักกล่าวความเป็นของร้อนด้วยราคะเป็นต้นข้างหน้า.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อาทิตฺโต คือ ร้อนด้วยราคะเป็นต้นนั่นแหละ, ส่วนข้างหน้า พึงทราบว่า ท่านกล่าวอีกด้วยสามารถการเพ่งเล็งถึงอรรถว่าไม่มีอะไรๆ อื่นดับความร้อนคือราคะนั้นได้.

บทว่า โลกสนฺนิวาโส - โลกสันนิวาส ได้แก่ เบญจขันธ์ ชื่อว่า โลก ด้วยอรรถว่าสลายไป. ชื่อว่า สันนิวาส เพราะเป็นที่อาศัยของสัตว์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ. ที่อาศัยคือโลกนั่นแหละ ชื่อว่า โลกสันนิวาส. แม้หมู่สัตว์ก็ชื่อว่า โลกสันนิวาส เพราะ


๑. สํ. ขนฺธ. ๑๗/๔๒.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1106

เป็นที่อาศัยของสัตว์โลก ที่เรียกกันว่า สัตว์ เพราะอาศัยขันธสันดานอันเป็นทุกข์. แม้โลกสันนิวาสนั้นก็เป็นไปกับด้วยขันธ์เหมือนกัน.

บทว่า อุยฺยุตฺโต-โลกสันนิวาสยกพลแล้ว คือ ทำความพยายาม ทำความอุตสาหะ เพราะขวนขวายเป็นนิจในกิจหลายอย่าง. อธิบายว่า มีความขวนขวายในสรรพกิจทั้งหลาย. หรือประกอบด้วยความพยายาม คือ ขวนขวาย.

บทว่า ปยาโต - โลกสันนิวาสเคลื่อนพลแล้ว คือ เริ่มจะไปตายด้วยถึงความไม่มั่นคงดุจแม่น้ำซึ่งเกิดจากภูเขา.

บทว่า กุมฺมคฺคํ ปฏิปนฺโน โลกสันนิวาสเดินผิดแล้ว คือ เดินทางผิดอย่างเลวร้าย. ส่วนข้างหน้าท่านกล่าวต่างกันด้วยบทต่างๆ ว่า วปถปกฺขนฺโต - แล่นไปผิดทาง

บทว่า อุปนียติ - โลกอันชรานำเข้าไป คือ อันชรานำเข้าไปหามรณะ. เพราะท่านกล่าวชราว่า อายุโน สํหานิ (๑) -ความเสื่อมแห่งอายุ.

บทว่า อทฺธุโว - มิได้ยั่งยืน คือไม่มั่นคง ไม่เป็นอย่างนั้นตลอดกาลเพราะไม่ยั่งยืน ฉะนั้น บทว่า อทฺธุโว นี้ กล่าวถึงเหตุของบทก่อนว่า อุปนียติ - อันชรานำเข้าไป. ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวถึง


๑. สํ. นิ. ๑๖/๖.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1107

ชราทุกข์พร้อมด้วยเหตุ. วิญญูชนทั้งหลาย ครั้นเห็นชราทุกข์นั้นแล้ว แม้จะไม่มีความเสื่อมเพราะชราก็ออกบวช.

บทว่า อตาโณ - โลกไม่มีที่ต้านทาน คือ ไม่มีความสามารถที่จะต้านทาน คือรักษาไว้ได้ อธิบายว่า ไม่มีเครื่องป้องกัน.

บทว่า อนภิสฺสโร - ไม่เป็นใหญ่ คือ ไม่มีความสามารถที่จะปลอบใจ เพราะขาดผู้ช่วยเหลือ อธิบายว่า ไม่มีเพื่อน เพราะไม่เป็นใหญ่ ฉะนั้น บทว่า อนภิสฺสโร นี้ เป็นคำกล่าวถึงเหตุของบทก่อนว่า อตาโณ. ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวถึงทุกข์เกิดจากความพลัดพรากจากของที่รัก พร้อมด้วยเหตุ. วิญญูชนทั้งหลาย ครั้นเห็นทุกข์เกิดจากความพลัดพรากจากของที่รักนั้น แม้จะยังไม่มีการเสื่อมจากญาติก็ออกบวช.

บทว่า อสฺสโก - ไม่มีอะไรเป็นของตน คือ ไม่มีสิ่งของเป็นของตน.

บทว่า สพฺพํ ปหาย คมนียํ - จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป คือ สัตวโลกจำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงที่กำหนดว่าเป็นสิ่งของของตนไป. เพราะจำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป, ฉะนั้น บทนี้เป็นบทกล่าวถึงเหตุของบทก่อนว่า อสฺสโก. ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวถึงมรณทุกข์พร้อมด้วยเหตุ. วิญญูชนทั้งหลาย ครั้นเห็นมรณทุกข์นั้นแล้ว แม้จะยังไม่มีความเสื่อม

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1108

จากโภคะก็ออกบวช. ในที่อื่นท่านกล่าวว่า กมฺมสฺสกา มาณว สตฺตา (๑) - ดูก่อนมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน. ส่วนในที่นี้ และในรัฏฐปาลสูตร ท่านกล่าวว่า อสฺสโก โลโก (๒) - โลกไม่เป็นของตน หากถามว่า บทนั้นถูกอย่างไร? ตอบว่า ท่านกล่าวว่า อสฺสโก - ไม่เป็นของตน หมายถึงละไป. ส่วนกรรมไม่ละไป. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า กมฺมสฺสกา - สัตว์มีกรรมเป็นของตน. อนึ่ง ในรัฏฐปาลสูตรนั่นแหละ ท่านกล่าวบทนี้ไว้อย่างนี้ว่า ตฺวํ ปน ยถากมฺมํ คมิสฺสสิ (๓) - ท่านจักไปตามกรรม.

บทว่า อูโน - โลกพร่อง คือ ไม่มีเต็ม.

บทว่า อติตฺโต - โลกไม่รู้จักอิ่ม คือ ไม่พอใจด้วยปรารถนายิ่งๆ ขึ้น. บทนี้เป็นบทกล่าวถึงเหตุแห่งความพร่อง.

บทว่า ตณฺหาทาโส - เป็นทาสแห่งตัณหา คือ เป็นทาสแห่งตัณหา เพราะเป็นไปในอำนาจของตัณหา. บทนี้เป็นคำกล่าวถึงเหตุแห่งความไม่อิ่ม. ด้วยบทนี้ ท่านกล่าวถึงพยาธิทุกข์ พร้อมด้วยเหตุด้วยอ้างถึงโรค คือความอยาก. วิญญูชนทั้งหลาย ครั้นเห็นพยาธิทุกข์นั้นแล้ว แม้จะยังไม่มีความเสื่อมจากพยาธิก็ออกบวช.

บทว่า อตายโน - โลกสันนิวาสไม่มีที่ต้านทาน คือ ไม่มีการป้องกัน เพราะไม่มีที่ต้านทานแม้จากมูลเป็นต้น หรือไม่พึงได้ความปลอดภัย.


๑. ม. อุ. ๑๔/๕๘๑.

๒. ม. ม. ๑๓/๔๔๖.

๓. ม.ม. ๑๓/๔๔๙.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1109

บทว่า อเลโณ - โลกสันนิวาสไม่มีที่เร้น คือ ไม่มีที่ลับเพื่อจะเกี่ยวข้อง คืออาศัยอยู่ได้ และไม่ทำกิจคือความเร้น แม้ของผู้ที่ติดแน่น.

บทว่า อสรโณ - โลกสันนิวาสไม่มีที่พึ่ง คือ ไม่นำภัยของผู้อาศัยออกไป ไม่ทำให้หมดภัย.

บทว่า อสรณีภูโต - โลกสันนิวาสไม่เป็นที่พึ่งของใคร อธิบายว่า ชื่อว่า อสรโณ เพราะไม่มีการเกิดในเมืองของตน. ชื่อว่า อสรณีภูโต เพราะไม่เป็นที่พึ่งได้ตลอดกาลที่เกิดนั่นเอง.

บทว่า อุทฺธโต - โลกฟุ้งซ่าน คือ โลกมีความพร้อมด้วยอกุศล เพราะเกิดความฟุ้งซ่านในอกุศลทั้งปวง และเพราะมากไปด้วยอกุศลเกิดในสันดานสัตว์ ชื่อว่า ฟุ้งซ่าน ด้วยอุทธัจจะนั้น.

บทว่า อวูปสนฺโต - โลกไม่สงบ คือ ไม่สงบ เพราะประกอบด้วยอุทธัจจะอันมีลักษณะไม่สงบ เปรียบเหมือนมฤคหมุนเคว้ง.

บทว่า โลโก มาแล้วในฐานะ ๔ มีอาทิว่า อุปนียติ โลโก และในฐานะ ๕ ว่า อุทธโต โลโก, มาแล้วในบทที่เหลือว่า โลกสนฺนิวาโส. แม้ในบททั้งสองนั้น ก็เป็นโลกอย่างเดียวกัน.

บทว่า สสลฺโล - โลกสันนิวาสมีลูกศร คือ เป็นไปกับด้วยลูกศรมีราคะเป็นต้น ที่ชื่อว่า ลูกศร เพราะให้เกิดความบีบคั้น เพราะเจาะเข้าไปในภายใน และเพราะนำออกยาก.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1110

บทว่า วิทฺโธ - ถูกลูกศรเสียบแทงแล้ว คือ มฤคเป็นต้น บางครั้งถูกผู้อื่นแทง, แต่โลกคือหมู่สัตว์นี้ ตนเองเท่านั้นถูกแทงตลอดเวลา.

บทว่า ปุถุสลฺเลหิ - ลูกศรจำนวนมาก คือ ถูกลูกศร ๗ ลูก ที่ท่านกล่าวไว้ว่า ลูกศร ๗ ลูก คือ ลูกศรคือราคะ ๑ ลูกศรคือโทสะ ๑ ลูกศรคือโมหะ ๑ ลูกศรคือมานะ ๑ ลูกศรคือทิฏฐิ ๑ ลูกศรคือกิเลส ๑ ลูกศรคือทุจริต ๑.

บทว่า ตสฺส คือ ของโลกสันนิวาสนั้น.

บทว่า สลฺลานํ อุทฺธตา - ผู้จะถอนลูกศรทั้งหลาย คือ บุคคลผู้จะถอนลูกศรเหล่านั้นจากสันดานสัตว์.

บทว่า อญฺตฺร มยา คือ เว้นเรา. สาวกเหล่าใดของพระผู้มีพระภาคเจ้าถอนลูกศรได้, เพราะสาวกเหล่านั้นถอนได้ตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเอง จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้นถอนได้.

บทว่า อวิชฺชนฺธาการาวรโณ - โลกสันนิวาสมีความมืดตื้อ คือ อวิชชาปิดกั้นไว้ ชื่อว่า ความมืดตื้อคืออวิชชา เพราะอวิชชานั่นแหละทำ ดุจความมืดด้วยปกปิดความเห็นสภาวธรรม, อวิชชานั้นนั่นแหละ ชื่อว่า ความมืดตื้อคืออวิชชา ปิดกั้นไว้ เพราะมีเครื่องปกปิดด้วยห้ามการหยั่งลงสู่ภาวธรรม.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1111

บทว่า กิเลสปญฺชรปกฺขิตฺโต - ถูกใส่เข้าไปยังกรงกิเลส คือ ชื่อว่า กรงกิเลส เพราะกิเลสสนั่นแหละเป็นกรง ด้วยปิดการเข้าถึงกุศล, ถูกใส่ คือ ให้ตกไปในกรงกิเลส อันมีอวิชชาเป็นแดนเกิด.

บทว่า อาโลกํ ทสฺเสตา - จะแสดงเป็นแสงสว่าง คือ มีปกติเห็นแสงสว่าง คือปัญญา ชื่อว่า จะแสดงการเห็นแสงสว่างด้วยปัญญา

บทว่า อวิชฺชาคโต - โลกสันนิวาสตกอยู่ในอำนาจอวิชชา คือ เข้าไปสู่อวิชชา, มิใช่เพียงปิดกั้นด้วยอวิชชาอย่างเดียว, ที่แท้เข้าไปภายในฝักของอวิชชา ดุจไปในที่รกชัฏ. เพราะเหตุนั้น จึงแปลกจากบทก่อน.

บทว่า อณฺฑภูโต คือ เกิดในฟองเหมือนอย่างว่า สัตว์บางพวกเกิดในฟอง ท่านเรียกว่า อณฺฑภูตา ฉันใด. โลกนี้ ท่านเรียกว่า อณฺฑภูโต เพราะเกิดในฟองและฝัก ของอวิชชา

บทว่า ปริโยนทฺโธ - อันอวิชชาหุ้มห่อไว้ คือ ถูกหุ้มห่อผูกพันไว้ด้วยฟองและฝัก คือ อวิชชาโดยรอบ.

บทว่า ตนฺตากุลชาโต คือ ยุ่งดุจเส้นด้าย เหมือนอย่างว่า เส้นด้ายของช่างหูกเก็บไว้ไม่ดีถูกหนูกัด ย่อมยุ่งเหยิงในที่นั้นๆ เป็นการยากที่จะตีราคาให้สมค่า หรือสมราคาว่า นี้มีราคาเท่านี้ มีค่าเท่านี้ ฉันใด. สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นผู้พลาดพลั้ง ยุ่งยากวุ่นวายในปัจจยาการ ย่อมไม่อาจทำปัจจยาการให้ตรงได้. ช่างหูกผู้ตั้งอยู่ใน ความชำนาญเฉพาะตน ก็สามารถทำเส้นด้ายให้ตรงได้. แต่สัตว์อื่น

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1112

เว้นพระโพธิสัตว์ ชื่อว่า สามารถจะทำปัจจยาการให้ตรงได้ โดยธรรมดาของตนย่อมไม่มี. อนึ่ง เหมือนอย่างว่า เส้นด้ายที่ยุ่งช่างหูกเอาไปคลุกน้ำข้าวแล้วขยำก็จะเกิดติดเนื่องกัน และพันกันเป็นปม ฉันใด. โลกนี้ ก็ฉันนั้น ครั้นพลาดในปัจจัยทั้งหลาย ไม่อาจทำปัจจัยทั้งหลายให้ตรงได้ ย่อมเกิดดำพันเป็นปมด้วยอำนาจทิฏฐิ ๖๒. สัตว์บางจำพวกเหล่าใดอาศัยทิฏฐิทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นไม่อาจทำปัจจัยให้ ตรงได้.

บทว่า คุลาคุณฺิกชาโต - พันกันเป็นกลุ่มก้อน คือ เป็นดุจกลุ่มก้อน. ด้ายคลุกน้ำข้าวของช่างหูก ท่านกล่าวว่า เป็นกลุ่มก้อน. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า รังนก ชื่อว่า คุลา ความยุ่งยากแม้ทั้งสองนั้น ยากที่จะทำค่าหรือราคาให้เท่ากันได้.

บทว่า มุญฺชปพฺพชภูโต - นุงนังดังหญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย คือ เป็นดุจหญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย เกิดเป็นเช่นกับหญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย. ทุบหญ้าเหล่านั้นทำเชือก ในเวลาเชือกขาดถือเอาเชือกที่ตกไปในที่ใดที่หนึ่งแล้ว ยากที่จะตีราคาหญ้าเหล่านั้นให้มีค่าหรือมีราคาเหมาะสมว่า นี้มีคำเท่านี้ มีราคาเท่านี้. ช่างตั้งอยู่ในความเป็นผู้ชำนาญเฉพาะตน ก็พึงสามารถทำให้หญ้านั้นตรงได้. แต่สัตว์อื่นเว้นพระโพธิสัตว์ ชื่อว่า สามารถจะทำปัจจยาการให้ตรงได้ตามธรรมดาของตนย่อมไม่มี ฉันใด. โลกนี้ก็ฉันนั้น ไม่

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1113

สามารถจะทำปัจจยาการให้ตรงได้ เกิดเป็นเครื่องร้อยรัดด้วยอำนาจทิฏฐิ ๖๒ ย่อมไม่พ้นอบาย ทุคติ วินิบาต สงสารไปได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อปาโย ได้แก่ นรก กำเนิดเดียรฉาน เปตติวิสัย อสุรกาย. ทั้งหมดนั้น ท่านเรียกว่า อบาย เพราะไม่มีความเจริญ คือ ความรู้.

อนึ่ง ชื่อว่า ทุคติ เพราะเป็นทางไปของทุกข์.

ชื่อว่า วินิบาต เพราะความสุขตกไปจากกาย. ส่วนสงสารนอกนี้ ท่านกล่าวว่า

ขนฺธานญฺจ ปฏิปาฏิ ธาตุอายตนาน จ

อพฺโพจฺฉินฺนํ วตฺตมานํ สํสาโร ปวุจฺจติ.

ลำดับแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ ยังไม่ขาดสาย ยังเป็นไปอยู่ ท่านเรียก สงสาร ดังนี้.

ไม่ล่วงเลยสงสารนั้นแม้ทั้งหมดไปได้. ที่แท้เมื่อยังถือจุติและปฏิสนธิบ่อยๆ อย่างนี้ คือ จากจุติถือเอาปฏิสนธิ จากปฏิสนธิถือเอาจุติ ย่อมหมุนเวียนในภพ ๓ ในกำเนิด ๔ ในคติ ๕ ในวิญญาณฐิติ ๗ ในสัตตาวาส ๙ ดุจเรือที่ถูกลมพัดไปในมหาสมุทร และดุจโคที่ถูกเทียมด้วยยนต์ ฉะนั้น.

บทว่า อวิชฺชาวิสโทสสลฺลิตฺโต - โลกสันนิวาสถูกอวิชชา มีโทษเป็นพิษแทงติดอยู่ ชื่อว่าอวิชชามีโทษ เพราะอวิชชานั่นแหละ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1114

เป็นโทษ เพราะยังชีวิตที่เป็นกุศลให้พินาศไปด้วยความเกิดแห่งอกุศล. พิษคืออวิชชานั่นแหละ. ชื่อว่า อวิชชามีโทษเป็นพิษ เพราะประทุษร้ายสันดาน. ชื่อว่า อวิชชามีโทษเป็นพิษแทงติดอยู่ เพราะติดทาไว้ด้วยอนุสัยกิเลส ปริยุฏฐานกิเลสและทุจริตนั้นอย่างแรง.

บทว่า กิเลสกลลีภูโต - มีกิเลสเป็นโทษ ชื่อว่า กิเลสกลลํ เพราะกิเลสมีอวิชชาเป็นต้น เป็นมูล เป็นกลละ คือเปือกตม เพราะอรรถว่าจม. ชื่อว่า กิเลสฺกลลี เพราะมีกิเลสนั้นเป็นดังเปือกตม. เป็นอย่างนั้น.

บทว่า ราคโทสโมหชฏาชฏิโต - โลกสันนิวาสรกชัฏด้วยราคะ โทสะ โมหะ คือ ราคะ โทสะ โมหะ อันเป็นโลภะ ปฏิฆะ และอวิชชา ชื่อ ชฏา เพราะเกิดบ่อยๆ ทั้งเบื้องล่างเบื้องบนในอารมณ์มีรูปเป็นต้น ดุจรกชัฏ กล่าวคือ ข่ายกิ่งพุ่มไม้ไผ่เป็นต้น โดยสภาพที่เกี่ยวพันกัน. รกชัฏด้วยความรก คือ ราคะ โทสะ และโมหะนั้น. อธิบายว่า โลกนี้รกชัฏ คือ ผูก ร้อยรัด ด้วยความรกนั้นเหมือนไม้ไผ่เป็นต้น รกด้วยความรกของไม้ไผ่เป็นต้น.

บทว่า ชฎํ วิชเฏตา - สะสางรกชัฏ คือ สะสาง ตัด ทำลายรกชัฏนี้ สะสางโลกอันเป็นไตรธาตุ แล้วตั้งอยู่อย่างนี้ได้.

บทว่า ตณฺหาสงฺฆาฏปฺปฏิมุกฺโก - โลกสันนิวาถูกกองตัณหาสวมไว้ ชื่อว่า กองตัณหา เพราะตัณหานั่นแหละยังไม่ขาดสาย

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1115

ยังเป็นไปแล้ว ชื่อว่า กอง เพราะยังสืบต่ออยู่. ชื่อว่า กองตัณหาสวมไว้ เพราะสวมเข้าไปภายใน ในกองตัณหานั้น.

บทว่า ตณฺหาชาเลน โอตฺถโฏ - โลกสันนิวาสถูกข่ายตัณหาครอบไว้ ชื่อว่า ข่ายตัณหา เพราะตัณหานั่นแหละเป็นข่าย โดยร้อยรัดไว้ตามนัยดังกล่าวแล้ว ในก่อน. โลกสันนิวาสถูกข่าย คือ ตัณหาครอบปิดพันไว้โดยรอบ.

บทว่า ตณฺหาโสเตน วุยฺหติ - โลกสันนิวาสถูกกระแสตัณหาพัดไป ชื่อว่า กระแสตัณหา เพราะตัณหานั่นแหละเป็นกระแส โดยคร่าไปในสงสาร, โลกสันนิวาสถูกกระแสตัณหานั้นพัดไป คือ คร่าไป.

บทว่า ตณฺหาสญฺโชเนน สญฺญุตฺโต - โลกสันนิวาสถูกตัณหาเป็นเครื่องคล้อง คล้องไว้ ชื่อว่า ตัณหาเป็นเครื่องคล้อง เพราะตัณหานั่นแหละเป็นเครื่องคล้อง เพราะคล้อง คือ ผูกสัตวโลกไว้ในวัฏฏะ. โลกสันนิวาสถูกตัณหาเป็นเครื่องคล้องนั้น คล้องไว้ คือ ผูกไว้.

บทว่า ตณฺหานุสเยน อนุสโฏ - โลกสันนิวาสซ่านไปเพราะตัณหานุสัย ชื่อว่า ตัณหานุสัย เพราะตัณหานั่นแหละเป็นอนุสัย โดยนอนเนื่องในสันดาน. โลกสันนิวาสซ่านไป ตามไป ไปอย่างแรง ด้วยตัณหานุสัยนั้น.

บทว่า ตณฺหาสนฺตาเปน สนฺตปฺปติ - โลกสันนิวาสเดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนเพราะตัณหา ชื่อว่า เดือดร้อนเพราะตัณหานั่น

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1116

แหละ ยังโลกให้เดือดร้อน ในกาลเป็นไป และในกาลแห่งผล. โลกสันนิวาสเดือดร้อน ด้วยความเดือดร้อน เพราะตัณหานั้น.

บทว่า ตณฺหาปริฬาเหน ปริฑยฺหติ - โลกสันนิวาสเร่าร้อน ด้วยความเร่าร้อนเพราะตัณหา ชื่อว่า เร่าร้อนเพราะตัณหา เพราะตัณหานั่นแหละ มีกำลังเร่าร้อนมาก ด้วยความเร่าร้อนในกาลเป็นไป และในกาลแห่งผลโดยรอบ. โลกสันนิวาสเร่าร้อนด้วยความเร่าร้อน เพราะตัณหานั้นโดยรอบ.

พึงประกอบบทมี ทิฏฺิสงฺฆาฎาทโย - กองทิฏฐิเป็น ไว้ด้วยบทตัณหานี้แหละ.

บทว่า อนุคโต - โลกสันนิวาสไปตามชาติ คือ เข้าไป

บทว่า อนุสุโฏ - โลกสันนิวาสซมซานไปเพราะชรา คือ แล่นไป

บทว่า อภิภูโต - โลกสันนิวาสถูกพยาธิครอบงำ คือ ถูกบีบคั้น.

บทว่า อภิหโต - โลกสันนิวาสถูกมรณะห้ำหั่น คือ ถูกกำจัด ถูกทำลายอย่างหนักเฉพาะหน้า.

บทว่า ทุกฺเข ปติฏฺิโต - โลกสันนิวาสตั้งอยู่ในกองทุกข์ คือ ตั้งอยู่อาศัยขันธปัญจกอันเป็นทุกข์ ด้วยเข้าใจผิดว่าเป็นสุข.

บทว่า ตณฺหาย อุฑฺฑิโต - โลกสันนิวาสถูกตัณหามัดไว้ คือ ถูกตัณหาบุกรุก. ด้วยว่าจักษุถูกร้อยไว้ด้วยเชือกคือตัณหา แล้วมัดไว้ที่หลัก คือ รูป. หูเป็นต้นถูกร้อยไว้ด้วยเชือกคือตัณหา แล้วมัดไว้

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1117

ที่หลัก คือเสียงเป็นต้น. แม้โลกมีความพร้อมด้วยตัณหานั้น ก็ชื่อว่า ถูกมัดไว้นั่นแหละ.

บทว่า ชราปาการปริกฺขิตฺโต - โลกสันนิวาสถูกกำแพง คือ ชราล้อมไว้ คือ ถูกชราอันเป็นกำแพงล้อมไว้หลีกไปไม่ได้.

บทว่า มจฺจุปาเสน ปริกฺขิตฺโต - โลกสันนิวาสถูกบ่วงมัจจุคล้องไว้ ชื่อว่า ถูกมรณะอันเป็นบ่วงเพราะแก้ได้ยาก คล้องไว้.

บทว่า มหาพนฺธนพทฺโธ - โลกสันนิวาสถูกผูกไว้ด้วยเครื่องผูกเป็นอันมาก คือ ถูกผูกด้วยเครื่องผูกใหญ่เพราะแน่น และเพราะตัดยาก.

บทว่า ราคพนฺธเนน - ด้วยเครื่องผูกคือราคะ ชื่อว่า ราคพนฺธนํ เพราะราคะนั่นแหละ ผูกไว้ไม่ให้เคลื่อนไหวไปจากสงสารได้. ด้วยเครื่องผูกคือราคะนั้น. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า กิเลสพนฺธเนน คือ ด้วยเครื่องผูกคือกิเลสที่เหลือ ดังที่ได้กล่าวแล้ว.

บทว่า ทุจฺจริตพนฺธเนน คือ ด้วยเครื่องผูกคือทุจริต ๓ อย่าง ส่วนสุจริตเป็นเหตุแห่งการพ้นเครื่องผูก และเป็นเครื่องพ้นจากเครื่องผูก มีอยู่. เพราะฉะนั้น ไม่ควรถือเอาสุจริตนั้น.

บทว่า พนฺธนํ โมเจตา-แก้เครื่องผูกให้ คือ แก้เครื่องผูกให้แก่โลกสันนิวาสนั้น. ปาฐะว่า พนฺธนา โมเจตา บ้าง. ความว่า

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1118

แก้โลกสันนิวาสนั้นจากเครื่องผูก.

บทว่า มหาสมฺพาธปฺปฏิปนฺโน - โลกสันนิวาสเดินทางไปแคบมาก คือ เดินไปสู่ที่รก คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส และทุจริต อันได้แก่ที่แคบมาก ด้วยการเบียดเบียนการเดินทางของกุศล.

บทว่า โอภาสํ ทสฺเสตา - ชี้ทางสว่างให้ คือ ให้แสงสว่าง คือ สมาธิและปัญญาอันเป็นโลกิยะ โลกุตตระ.

บทว่า มหาปลิโพเธน ปลิพุทฺโธ - โลกสันนิวาสถูกความกังวลเป็นอันมากพัวพันไว้ คือ ถูกเครื่องกั้นใหญ่ปกปิดไว้. หรือฉาบไว้ด้วยเครื่องฉาบใหญ่.

อนึ่ง บทว่า ปลิโพโธ คือ ความกังวล ๗ อย่าง มีราคะ เป็นต้น. อาจารย์บางท่านกล่าวว่า ความกังวล คือ ตัณหาและทิฏฐิ.

บทว่า ปลิโพธํ เฉเทตา คือ ตัดความกังวลนั้น.

บทว่า มหาปปาเต- ในเหวใหญ่ ได้แก่ ในเหวคือคติ ๕. หรือในเหว คือ ชาติ ชรา และมรณะ. ทั้งหมดนั้นชื่อว่า ปปาตะ เพราะขึ้นได้ยาก.

บทว่า ปปตา อุทฺธตา คือ ขึ้นพ้นจากเหวนั้น.

บทว่า มหากนฺตารปฺปฏิปนฺโน - โลกสันนิวาสเดินทางกันดารมาก คือ เดินทางกันดาร เพราะชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส. ทั้งหมดนั้น ชื่อว่า กันดาร

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1119

เพราะก้าวให้พ้นไปได้ยาก. ช่วยให้ข้ามพ้นทางกันดารนั้น. ปาฐะว่า กนฺตารา ตเรตา บ้าง.

บทว่า มหาสํสารปฺปฏิปนฺโน - โลกสันนิวาสเดินทางไปสู่สังสารวัฏฏ์ใหญ่ คือ เดินทางไปสู่ขันธสันดานที่ยังไม่ขาด.

บทว่า สํสารา โมเจตา คือ ช่วยให้พ้นจากสังสารวัฏฏ์. ปาฐะว่า สํสารํ โมเจตา บ้าง.

บทว่า มหาวิทุคฺเค - ในหล่มใหญ่ ได้แก่ ในหล่ม คือ สังสารวัฏฏ์. สังสารวัฏฏ์นั่นแหละ ชื่อว่า หล่ม เพราะออกไปได้ยาก.

บทว่า สมฺปริวตฺตติ - กลิ้งเกลือก คือ กลับไปมาหนักขึ้น.

บทว่า มหาปลฺเลเป - ในเปือกตม คือ กามใหญ่. กามชื่อว่า เปือกตมเพราะทำให้จม.

บทว่า ปลิปนฺโน คือ ติด. ปาฐะว่า มหาปลฺเลปปลิปนฺโน บ้าง คือ ติดในเปือกตมใหญ่.

บทว่า อพฺภาหโต - ครอบงำ คือ ถูกอันตรายทั้งปวงครอบงำ.

บทว่า ราคคฺคินา คือ ราคะเป็นต้น ชื่อว่า อคฺคิ เพราะอรรถว่าเผาผลาญ. ด้วยไฟคือราคะเป็นตันนั้น. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อุนฺนีตโก - โลกสันนิวาสทุรนทุราย คือ ถูกจับนำไป. อธิบายว่า ถูกชาติจับแล้วนำไปเพื่ออันตราย มีชราเป็นต้น. พึงเห็นว่า อักษรในบทนี้ เพื่อเสริมความ.

บทว่า หญฺติ นิจฺจมตาโณ- เดือดร้อนเป็นนิจ ไม่มีอะไรต้านทาน คือ ไม่มีผู้ต้านทาน ถูกบีบคั้นเป็นนิจ.

บทว่า ปตฺตทณฺโฑ - ต้องรับอาชญา คือ ได้รับอาชญาจากพระราชาเป็นต้น.

บทว่า ตกฺกาโร - ต้องทำตามอาชญา คือ โจร.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1120

บทว่า วชฺชพนฺธนพนฺโธ คือโลกสันนิวาสถูกผูกด้วยเครื่องผูก คือ โทษมีราคะเป็นต้น. บทว่า อาฆาตนปจฺจุปฏฺิโต - ปรากฏอยู่ที่ ตะแลงแกง คือ เข้าไปปรากฏยังที่ผูก คือมรณะ. บทว่า โกจิ พนฺธนํ โมเจตา - ใครจะช่วยให้หลุดพ้นได้. ปาฐะว่า ใครจะช่วยให้พ้นจาก เครื่องผูกได้ก็มี. บทว่า อนาโถ - โลกสันนิวาสไม่มีที่พึ่ง ชื่อว่า อนาโถ เพราะไม่มีที่พึ่ง คืออิสระ. หรือที่พึ่งอันเป็นอิสระด้วยตนเองไม่มี. บทว่า ปรมการุญฺปฺปตฺโต - ควรได้รับความกรุณาอย่างยิ่ง คือ ถึงความควร สงสารอย่างยิ่ง เพราะไม่เพียงพอในการห้ามชราเป็นต้น. บทว่า ตาเยตา - จะเป็นผู้ช่วยต้านทาน คือ คุ้มกัน. ปาฐะว่า ตายิตา ดีกว่า.

บทว่า ทุกฺขาภิตุนฺโน - โลกสันนิวาสถูกทุกข์เสียบแทง คือ ถูกทุกข์ไม่น้อย มีชาติทุกข์เป็นต้นเสียบแทง เบียดเบียน หวั่นไหว ยิ่ง. บทว่า จิรรตฺตฺปีฬิโต - ถูกทุกข์บีบคั้นมานาน คือ ถูกทุกข์ เบียดเบียนเสียดสีมาตลอดกาลนาน.

บทว่า คธิโต - โลกสันนิวาลติดใจ คือ อยากด้วยความติดใจ หรือผูกด้วยเครื่องผูก คืออภิชฌากายคันถะ. บทว่า นิจฺจํ ปิปาสิโต- กระหายอยู่เป็นนิจ คือ อยาก กระหาย เพื่อจะดื่ม เพื่อจะบริโภค ความกระหายนั่นแหละ คือตัณหา. ความกระหายไม่มีระหว่าง ชื่อว่า ความกระหาย คือตัณหา.

บทว่า อนฺโธ - โลกสันนิวาสเป็นโลกบอด ชื่อว่า บอด เพราะ ไม่มีปัญญาที่ชื่อว่าเป็นจักษุเพราะอรรถว่าเห็น. ปัญญานั่นแหละ ย่อม

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1121

เห็นสภาวธรรม. บทว่า อจกฺขุโก - ไม่มีจักษุ ความเป็นผู้บอดนั้น ไม่มี ในภายหลัง. ความเป็นผู้บอดนั้นนั่นเอง คือ เป็นผู้มีตาเหมือนไม่มีตา ย่อมมีตามปกตินั่นแหละ.

บทว่า หตเนตฺโต - โลกสันนิวาสมีตาเสื่อม ชื่อว่า มีตาเสื่อม เพราะไม่มีปัญญา ที่เรียกว่า เนตร เพราะมีสภาพนำไป. ท่านเรียกว่า เนตร เพราะนำอัตตภาพให้เห็นที่เสมอและไม่เสมอ. นำไปสู่ทางดี และไม่มีด้วยปัญญา. พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะแสดงถึงความไม่มีเนตร ของผู้นั้น เพราะตาเสื่อม จึงกล่าว อปริณายโก ไม่มีผู้นำ. อธิบาย ว่า มีตาเหมือนไม่มี. ท่านอธิบายว่า ไม่มีผู้อื่นจะนำเขาไปได้.

บทว่า วิปถปกฺขนฺโต - โลกสันนิวาสแล่นไปสู่ทางผิด ชื่อว่า ทางผิด เพราะทางผิดหรือทางไม่เรียบ. ชื่อว่า แล่นไปสู่ทางผิด เพราะ แล่นไป คือ เข้าไป เดินไปผิดทาง. อธิบายว่า เดินไปสู่มิจฉาทิฏฐิ คือ ทางผิด.

บทว่า อญฺชสาปรทฺโธ - หลงทางแล้ว คือ หลง พลาดในทาง คือ ทางตรง อันได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา.

บทว่า อริยปถํ อาเนตา - มาสู่ทางอริยะ คือ นำเข้าไป ให้ถึงอัฏฐังคิกมรรค อันเป็นอริยะ.

บทว่า มโหฆปกฺขนฺโต - โลกสันนิวาสแล่นไปสู่ห้วงโมหะ ชื่อว่า โอฆา เพราะยังสัตว์ผู้มีกิเลสให้จมลงในวัฏฏะ. ชื่อว่า มโหฆา

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1122

เพราะโอฆะใหญ่กว่าโอฆะปกติ. โอฆะเหล่านั้น มี ๔ อย่าง คือ กาโมฆะ ๑ ภโวฆะ ๑ ทิฏโฐฆะ ๑ อวิชโชฆะ ๑. ชื่อว่า มโหฆปักขันโต เพราะและเข้าไปสู่โอฆะใหญ่เหล่านั้น. หรือว่า แล่นไปสู่โอฆะ ใหญ่ คือ สังสารวัฏฏ์.

บัดนี้ พึงทราบนัยที่แปลกจากนัยหนึ่ง. ในบทเหล่านั้น บทว่า ทฺวีหิ ทิฏฺิคเคหิ - ถูกทิฏฐิ ๒ คือ ถูกสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ กลุ้มรุม.

ทิฏฐิคตะ ในบทนั้น คือทิฏฐินั่นเอง ดุจบทมีอาทิว่า คูถคตํ มุตฺตคตํ๑ - คูถมูตร. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทิฏฺิคตํ เพราะเพียงไป ด้วยทิฏฐิ เพราะไม่มีสิ่งที่ควรไป. ความเห็นนี้เป็นไปในทิฏฐิทั้งหลาย ชื่อว่า ทิฏฺิคตํ เพราะทิฏฐิ ๖๒ หยั่งลงในภายในบ้าง. จริงอยู่ ทิฏฐิ ๖๒ และทิฏฐิ ๖๓ ก็เป็นทิฏฐิ ๒ นั่นเอง คือ สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ. เพราะฉะนั้น เมื่อจะทำทิฏฐิทั้งหมดโดยย่อไว้ภายใน ท่านจึงกล่าว ทฺวีหิ ทิฏฺิคเตหิ. บทว่า ปริยุฏฺิโต - ถูกทิฏฐิ ๒ กลุ้มรุม คือ ถึงความกลุ้มรุม ถึงความปรากฏ. อธิบายว่า ถึงความยึดอาจาระอัน เป็นกุศล โดยไม่ให้เกิดขึ้น. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ บางพวก ถูกทิฏฐิ ๒ กลุ้มรุม ย่อมติดอยู่ บาง พวกย่อมแล่นไป ผู้มีจักษุย่อมเห็น.๒


๑. อง. นวก. ๒๓/๒๑๕. ๒. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๒๗.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1123

บทว่า ตีหิ ทุจฺจริเตหิ คือ ด้วยกายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ และมโนทุจริต ๓.

บทว่า วิปฺปฏปนฺโน - โลกสันนิวาสปฏิบัติผิด ได้แก่ ปฏิบัติผิด คือ ปฏิบัติน่าเกลียด ชื่อว่า มิจฉาปฏิบัติ. บทว่า โยเคหิ ยุตฺโต- โลกสันนิวาสประกอบด้วยกิเลสเครื่องประกอบ ชื่อว่า โยคะ เพราะ อรรถว่าประกอบไว้ในวัฏฏะ. หรือ ชื่อว่า โยคะ ด้วยอรรถดังนี้คือ ประกอบเปี่ยมด้วยโยคะเหล่านั้น.

บทว่า จตุโยคโยชิโต - โลกสันนิวาสถูกกิเลสเครื่องประกอบ ๔ อย่างประกอบไว้ คือ ประกอบไว้ในวัฏฏะ ด้วยโยคะ ๔ เหล่านี้ คือ กามโยคะ ๑ ภวโยคะ ๑ ทิฏฐิโยคะ ๑ อวิชชาโยคะ ๑. ดุจโค ถูกผูกไว้ที่เกวียน. ราคะประกอบด้วยกามคุณ ๕ ชื่อว่า กามราคะ ฉันทราคะในรูปภพและอรูปภพ ความใคร่ในฌาน, ราคะสหรคตด้วย สัสสตทิฏฐิ ความปรารถนาด้วยอำนาจภพ ชื่อว่า ภวราคะ. ทิฏฐิ ๖๒ ชื่อว่า ทิฏฐิโยคะ. ความไม่รู้ในฐานะ ๘ ชื่อว่า อวิชชาโยคะ. โอฆะ ๔ เหล่านั้นมีกำลังกล้า, โยคะ ๔ มีกำลังอ่อน.

บทว่า จตูหิ คนฺเถหิ - กิเลสเครื่องร้อยรัด ๔ อย่าง ชื่อว่า คันถะ เพราะร้อย คือผูกผู้มีกิเลสไว้ในวัฏฏะด้วยจุติและปฏิสนธิ. คันถะมี ๔ อย่าง คือ อภิชฌากายคันถะ ๑ พยาปาทกายคันถะ ๑ สีลัพพตปรามาสกายคันถะ ๑ อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ คือการ ยึดถือสิ่งนี้ว่าเป็นสัจจะ ๑.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1124

ชื่อว่า อภิชฺฌา เพราะอรราว่าเป็นเหตุเพ่งเล็ง. หรือเพ่งเล็ง ด้วยตนเอ. หรือเป็นเพียงความเพ่งเล็งเท่านั้น. ได้แก่ โลภะนั่นเอง ชื่อว่า กายคันถะ เพราะอรรถว่าร้อยนามกาย คือ ผูกไว้ในวัฏฏะ ด้วยจุติและปฏิสนธิ. ชื่อว่า พยาปาทะ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุเบียดเบียน ปองร้ายให้ถึงความพินาศ. หรือยังความสุขอันเป็นประโยชน์แก่ความ ประพฤติวินัย และรูปสมบัติเป็นต้นให้ถึงความพินาศ.

การยึดมั่นเชื่อถือว่า ความบริสุทธิ์มีด้วยศีล พรต หรือศีล และพรตของสมณพราหมณ์ภายนอก มีด้วยประการฉะนี้ ชื่อว่า สีลัพพตปรามาส.

ชื่อว่า อิทังสัจจาภินิเวสะ เพราะอรรถว่าปฏิเสธแม้ภาษิตของ พระสัพพัญญู แล้วยึดถือโดยอาการมีอาทิว่า โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ. อธิบายว่า ร้อย คือ ผูกไว้ด้วยคันถะ ๔ เหล่านั้น. บทว่า จตูหิ อุปาทาเนหิ - ด้วยอุปาทาน ๔ ชื่อว่า อุปาทาน เพราะยึดถืออย่างแรง คือ จับมั่น. อุปาทานเหล่านั้น มี ๔ อย่าง คือ กามุปาทาน ๑ ทิฏฐุปาทาน ๑ สีรลัพพตุปาทาน ๑ อัตตวาทุ ปาทาน ๑. ชื่อว่า กามุปาทาน เพราะถือมั่นกาม คือวัตถุ. อนึ่ง ชื่อว่า กามุปาทาน เพราะกามนั้นเป็นอุปาทาน. ชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน เพราะทิฏฐินั้นเป็นอุปาทาน. ชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน เพราะยึดมั่นทิฏฐิ อุตตรทิฏฐิ - ทิฏฐิอันหลัง ยึดมั่นปุริมทิฏฐิ - ทิฏฐิมีในก่อน ในบทมีอาทิ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1125

ว่า สสฺสโต อตฺตา จ โลโก จ๑ - อัตตาและโลกเที่ยง. ชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน เพราะยึดถือศีลและพรต. อนึ่ง ชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน เพราะศีลและพรตนั้น เป็นอุปาทาน. ศีลของโคและพรตของโคเป็นต้น เป็นอุปาทาน เพราะยึดถือว่าความบริสุทธิ์ย่อมมีได้อย่างนี้. ชื่อว่า วาทะ เพราะเป็นเหตุกล่าว. ชื่อว่า อุปาทาน เพราะเป็นเหตุถือมั่น. กล่าว อะไร? ถือมั่นอะไร? กล่าวอัตตา. การถือมั่นวาทะของตน. ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน. หรือชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน เพราะเป็นเหตุถือมั่นว่า ตนเป็นเพียงวาทะว่าตนเท่านั้น. ทิฏฐิแม้ทั้งหมดเว้นทิฏฐิ ๒ อย่าง เหล่านี้ ชื่อว่า ทิฎฐุปาทาน. ด้วยอุปาทาน ๔ เหล่านั้น.

บทว่า อุปาทียติ - ถือมั่น คือ ถือจัด. ปาฐะว่า อุปาทิยติ ก็มี. ความว่า สัตวโลกย่อมถือจัด อารมณ์นั้นๆ ด้วยอุปาทาน.

บทว่า ปญฺจคติสมารุฬฺโห - โลกสันนิวาสขึ้นสู่คติ ๕ ชื่อว่า คติ เพราะไป คือ เข้ไปใกล้ด้วยเหตุทำดีและทำชั่ว คือ ขันธ์ทั้งหลาย พร้อมด้วยการปรากฏ. โลกสันนิวาสขึ้นสู่คติ ๕ เหล่านี้ คือ นรก ๑ กำเนิดเดียรัจฉาน ๑ เปตวิสัย ๑ มนุษย์ ๑ เทวดา ๑ อย่างแรง ด้วยความก้าวลง.

บทว่า ปญฺจหิกามคุเณหิ - ด้วยกามคุณ ๕ ด้วยส่วนแห่งวัตถุ กาม ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ.


๑. ขุ. ป. ๓๑/๓๕๔.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1126

บทว่า รชฺชติ - ย่อมกำหนัด คือ อาศัยอโยนิโสมนสิการ ย่อมกำหนัดด้วยกามคุณเหล่านั้น เพราะทำให้ราคะเกิด. อธิบายว่า ทำความกำหนัดยินดี.

บทว่า ปญฺจหิ นีวรเณหิ - ถูกนิวรณ์ ๕ ทับไว้ ชื่อว่า นิวรณ์ เพราะย่อมกั้น คือ ครอบงำจิต. ถูกนิวรณ์ ๕ คือ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ถีนมิทธะ ๑ อุทธัจจกุกกุจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑ ทับไว้.

บทว่า โอตฺถโต คือ ทับปิดไว้ข้างบน.

บทว่า ฉหิ วิวาทมูเลหิ คือ ด้วยมูลเหตุวิวาท ๖ อย่าง. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มูลเหตุแห่งวิวาท เหล่านี้ มี ๖ อย่าง. ๖ อย่าง เป็นไฉน?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธไว้. ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุใด เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้. ภิกษุนั้น ไม่เคารพ ไม่ยำเกรง แม้ในพระศาสดา. ไม่ทำให้บริบูรณ์ แม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์ แม้ในสิกขา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดไม่เคารพ ไม่ ยำเกรงในพระศาสดา ไม่ทำให้บริบูรณ์ในพระธรรม

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1127

ในพระสงฆ์ ในการศึกษา. ภิกษุนั้นย่อมยังวิวาท ให้เกิดในสงฆ์. วิวาทย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็น ประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความไม่เป็นสุข แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความพินาศแก่ชนเป็นอัน มาก เพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากพวกเธอพิจารณา เห็นวิวาท เห็นปานนั้น เป็นมูลเหตุแห่งวิวาท ในภายในก็ดี ในภายนอกก็ดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น พวกเธอพึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่ง วิวาทอันลามกนั้นเสีย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หาก พวกเธอไม่พิจารณาเห็นวิวาท เห็นปานนี้ เป็นมูล เหตุแห่งวิวาท ในภายในก็ดี ในภายนอกก็ดี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้นพวกเธอพึงปฏิบัติ เพื่อความไม่เกิดผลแห่งมูลเหตุแห่งวิวาทอันลามก นั้นต่อไปได้. การละมูลเหตุแห่งวิวาท อันลามก ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้. ความไม่เกิดผลแห่ง มูลเหตุแห่งวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีด้วยประการ ฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1128

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เป็นผู้มีความลบหลู่ มักตีเสมอ. เป็นผู้มีความริษยา มักตระหนี่. เป็นผู้โอ้อวด มักเจ้าเล่ห์. เป็นผู้มี ความปรารถนาลามก มักเป็นมิจฉาทิฏฐิ. เป็นผู้มี ทิฏฐิเป็นของตน มักมีความยึดมั่น มีความถือมั่น มีการสละได้ยาก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดมีความยึด มั่นทิฏฐิของตน เป็นผู้มีความถือมั่น มีการสละ ได้ยาก. ภิกษุนั้นไม่เคารพแม้ในพระศาสดา ฯลฯ ไม่เกิดผลต่อไป.๑

ในบทเหล่านั้น บทว่า โกธโน - มักโกรธ คือ ประกอบด้วย ความขัดเคือง อันมีอาการขุ่นเคืองเป็นลักษณะ.

บทว่า อุปนาหี - ผูกโกรธไว้ คือ ประกอบด้วยอุปนาหะ อันมีลักษณะไม่ปล่อยเวร.

บทว่า อหิตาย ทุกฺขาย เทวมนุสฺสานํ - เพื่อความไม่เป็น ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. วิวาทของภิกษุ ๒ รูป ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดาและ มนุษย์ทั้งหลายอย่างไร. เมื่อภิกษุ ๒ รูปวิวาทกัน ดุจในโกสัมพก


๑. องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๓๐๗.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1129

ขันธกะ๑ อันเตวาสิกของภิกษุ ๒ รูปเหล่านั้น ในวัดนั้นก็วิวาทกัน. ภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ผู้รับโอวาทของภิกษุ ๒ รูปนั้นก็วิวาทกัน. แต่นั้น อุปฐากของภิกษุ ๒ รูปเหล่านั้นก็วิวาทกัน. ครั้นแล้วเทวดาผู้อารักขา มนุษย์ทั้งหลายก็แบ่งเป็น ๒ ส่วน. เทวดาผู้อารักขาธรรมวาทีก็เป็น พวกธรรมวาที. ที่อารักขาอธรรมวาทีก็เป็นพวกอธรรมวาที. แต่นั้น ภุมมัฏฐเทวดาผู้เป็นมิตรของอารักขเทวดาก็แตกกัน. เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย เว้นพระอริยสาวก แบ่งเป็น ๒ ฝ่าย โดยสืบๆ กันอย่างนี้ จนถึงพรหมโลก. อธรรมวาทีมากว่าธรรมวาที. แต่นั้นสิ่งที่พวกมาก ถือจึงเป็นสัจจะ เพราะเหตุนั้น พวกมากกว่าจึงพากันสละธรรม ถือ เอาอธรรม. พวกอธรรมเหล่านั้น ยึดอธรรมเป็นหลัก ย่อมเกิดใน อบาย. การวิวาทของภิกษุ ๒ รูปอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็น ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

บทว่า อชฺฌตฺตํ วา - ในภายในก็ดี คือ ในบริษัทภายในของ พวกท่าน. บทว่า พหิทฺธา วา - ในภายนอกก็ดี คือ บริษัทของพวกอื่น. บทว่า มกฺขี คือ ประกอบด้วยความลบหลู่ อันมีลักษณะลบหลู่คุณ ท่าน. บทว่า ปลาสี คือ ประกอบด้วยตีเสมอ อันมีลักษณะแข่งดี. บทว่า อิสฺสุกี คือ ประกอบด้วยริษยา อันมีลักษณะ คือ ความริษยา มีสักการะเป็นต้นของผู้อื่น. บทว่า มจฺฉรี คือ ประกอบด้วยมัจฉริยะ ๕


๑. วิ. มหา. ๕/๒๓๘.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1130

มีอาวาสมัจฉริยะเป็นต้น. บทว่า สโ - โอ้อวด คือ เต็มไปด้วยความ หลอกลวง. บทว่า มายาวี - เจ้าเล่ห์ คือ ปกปิดความชั่วที่ตนทำ. บทว่า ปาปิจฺโฉ - มีความปรารถนาลามก คือ เป็นผู้ทุศีลปรารถนา ความยกย่องที่ไม่มี. บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิ ได้แก่ นัตถิกวาที - มิวาทะ ว่าไม่มี อเหตุกวาที - ทีวาทะว่าไม่มีเหตุ อกิริยวาที - มีวาทะว่าไม่เป็นอัน ทำ. บทว่า สนฺทิฏฺิปรามาสี คือ ลูบคลำทิฏฐิของตนเองเท่านั้น. บทว่า อาธานคฺคาหิ. คือ ถือมั่น.

บทว่า ทุปฺปฏินิสฺสคฺคี คือ ไม่สามารถสละสิ่งที่ตนถือได้. ส่วนในขุททกวิภังค์ ท่านกล่าวถึงธรรมอย่างหนึ่งๆ ด้วยสามารถเป็น ประธานว่า มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ เป็นไฉน? คือ โกธะ ๑ มักขะ ๑ อิสสา ๑ สาเถยยะ ๑ ปาปิจฉา ๑ สันทิฏฐิปรามาสี - การยึดถือทิฏฐิ ของตน ๑. นี้ คือ มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ อย่าง.๑

บทว่า ฉหิ ตณฺหากาเยหิ - ด้วยกองตัณหา ๖ คือ ด้วย ตัณหา ๖ ดังที่กล่าวแล้ว คือ รูปตัณหา ๑ สัททตัณหา ๑ คันธ ตัณหา ๑ รสตัณหา ๑ โผฏฐัพพตัณหา ๑ ธรรมตัณหา๒ ๑ ในตัณหา เหล่านั้น เพราะตัณหาอย่างหนึ่งๆ ย่อมมีไม่น้อย เพราะเกิดบ่อยๆ ในอารมณ์แม้อย่างหนึ่งๆ เพราะมีอารมณ์มาก. ฉะนั้น ท่านจึงกล่าว


๑. อภิ. วิ. ๓๕/ ๙๙๑. ๒. อภิ. วิ. ๓๕/๙๙๔.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1131

ว่า ตรฺหากายา - กองตัณหา เพราะประกอบ กาย ศัพท์ ด้วยอรรถ ว่าหมู่. แม้เมื่อกล่าวว่า ตัณหากายา ก็คือตัณหานั่นเอง.

บทว่า รชฺชติ - ย่อมกำหนัด คือ กำหนัดยินดีในอารมณ์ด้วย ตนเอง.

บทว่า ฉหิ ทิฏฺิคเตหิ - ด้วยทิฏฐิ ๖ ท่านกล่าวไว้แล้วใน สัพพาสวสูตร. ในสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

เมื่อภิกษุมนสิการ โดยไม่แยบคายอย่างนี้ ทิฏฐิ ๖ อย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น. คือทิฏฐิ โดยความจริง โดยความมั่นคง ย่อมเกิดแก่ภิกษุ นั้นว่า อตฺถิ เม อตฺตา - อัตตาของเรามีอยู่. ทิฏฐิ โดยความจริง โดยความเชื่อถือได้ ย่อมเกดแก่ ภิกษุนั้นว่า นตฺถิ เม อตฺตา - อัตตาของเราไม่มี. ทิฏฐิ ฯลฯ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นว่า อตฺตนาว อตฺตานํ สญฺชานามิ - เรารู้จักอัตตาด้วยตนเอง. ทิฏฐิ ฯลฯ ย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้นว่า อตฺตนาว อตฺตานํ สญฺชานามิ - เรารู้จักอัตตาด้วยอนัตตา. หรือทิกฏฐิ ฯลฯ ย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้นว่า อนตฺตนาว อตฺตานํ สญฺชานามิ - เรารู้จักอัตตาด้วยอนัตตา. ก็อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิย่อมมีแก่ภิกษุนั้น อย่างนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1132

อัตตาของเรานี้ใด เป็นอัตตาที่ผู้กล่าว ผู้รู้ ย่อมเสวย วิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งดีและชั่วในอารมณ์นั้นๆ ก็และอัตตาของเรานี้นั้น แน่นอน ยั่งยืน เที่ยง มีอันไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่ เป็นความเที่ยงเสมออย่างนั้นนั่นแหละ. (๑)

ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถิ เม อตฺตา คือ สัสสตทิฏฐิ ย่อมถือเอาความที่ตนมีอยู่ในกาลทั้งปวง.

บทว่า สจฺจโต เถตโต คือ โดยความจริง และโดยความมั่นคง. ท่านอธิบายว่า ด้วยความมั่นคงเป็นอย่างดีว่า อิทํ สจฺจํ - นี้เที่ยง.

บทว่า นตฺติ เม อตฺตา คือ ชื่อว่าอุจเฉททิฏฐิ เพราะถือความไม่มีไม่เป็นในอัตตานั้นๆ ของสัตว์ที่มีอยู่. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัสสตทิฏฐิ เพราะถือว่า แม้ทิฏฐิก่อนๆ ก็มีในกาล ๓, อุจเฉททิฏฐิ เพราะ ถือว่าปัจจุบันเท่านั้นมี, อุจเฉททิฏฐิ เพราะถือว่า แม้ทิฏฐิหลังในอดีตและในอนาคตก็ไม่มี ดุจทิฏฐิของเจ้าทิฏฐิที่ถือว่า "เถ้าถ่านเป็นเครื่องบูชา" สัสสตทิฏฐิ เพราะถือว่า ในอดีตเท่านั้นไม่มี ดุจของผู้มีความเห็นเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุผล.


๑. ม. มู. ๑๒/๑๒.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1133

บทว่า อตฺตนาว อตฺตานํ สญฺชานาติ คือ มีทิฏฐิว่า เราย่อมรู้จักอัตตานี้ ด้วยตนนี้ เพราะถือว่า อัตตาในขันธ์โดยปกติ คือ สัญญาขันธ์ แล้วรู้จักขันธ์ที่เหลือด้วยสัญญาขันธ์.

บทว่า อตฺตนาว อนฺตตานํ - มีทิฏฐิอย่างนี้ เพราะถือสัญญาขันธ์นั่นแหละ ว่าเป็นอัตตา. ถือขันธ์ที่เหลือ ๔ อย่าง ว่าเป็นอนัตตา แล้วรู้จักขันธ์เหล่านั้นด้วยสัญญาขันธ์.

บทว่า อนตฺตาว อตฺตานํ คือ มีทิฏฐิอย่างนี้ เพราะถือสัญญาขันธ์ ว่าเป็นอนัตตา. ถือขันธ์ ๔ พวกนี้ ว่าเป็นอัตตา แล้วรู้จักขันธ์เหล่านั้ ด้วยสัญญาขันธ์. ทิฏฐิแม้ทั้งหมดก็เป็นสัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐินั่นเอง.

ส่วนบทมีอาทิว่า วโท เวเทยฺโย - เป็นอาการของการยึดมั่นในสัสสตทิฏฐินั่นเอง ในบทเหล่านั้น ชื่อว่า วโท เพราะอรรถว่า กล่าว, ท่านอธิบายว่า ผู้ทำวจีกรรม ชื่อว่า เวเทยฺโย เพราะอรรถว่ารู้ ท่านอธิบายว่า รู้และเสวย รู้อะไร? รู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่ว ในอารมณ์นั้นๆ.

บทว่า ตตฺร ตตฺร คือ ในโยนิ คติ ฐิติ นิวาสและนิกายนั้นๆ หรือในอารมณ์. บทว่า นิจฺโจ คือ ไม่มีเกิดดับ. บทว่า ธุโว คือ มั่นคงเป็นสาระ.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1134

บทว่า สสฺสโต คือ เป็นไปตลอดกาลทั้งปวง.

บทว่า อวิปริณามธมฺโม คือ ไม่ละภาวะเดิมของตน ไม่ถึงความมีประการต่างๆ ดุจกิ้งก่า.

บท สสฺสติสมํ ท่านกล่าว สสฺสติโย โดยโวหารว่า พระจันทร์ พระอาทิตย์ สมุทร แผ่นดินใหญ่ ภูเขา แสงสว่าง. เสมอด้วยความเที่ยง ชื่อว่า สสฺสติสมํ. ทิฏฐิมีอย่างนี้ เพราะถือว่า จักตั้งอยู่ตราบเท่าที่ความเที่ยงยังปรากฏอยู่.

แต่ในขุททกวัตถุวิภังค์ ท่านกล่าว ทิฏฐิ ๖ แปลกออกไปอย่างนี้ว่า อัตตาเสวยวิบากของกรรมดีและชั่วตลอดกาลนาน ในอารมณ์นั้นๆ. อัตตานั้นไม่เกิด มิได้มี. อัตตานั้นไม่เกิดแล้ว จักไม่มี. อัตตาเป็นของแน่นอน ยั่งยืน เที่ยง มีอันไม่แปรปรวนไปเป็นธรรมดา. หรือว่าทิฏฐิย่อมเกิดโดยความจริง โดยความมั่นคงแก่ภิกษุนั้น (๑) ด้วยประการฉะนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า น โส ชาโต นาโหสิ คือ อัตตานั้นชื่อว่าไม่เกิด เพราะไม่เกิดเป็นธรรมดา. อธิบายว่า มีอยู่ทุกเมื่อ. ด้วยเหตุนั้น อัตตาไม่มีในอดีต. จักไม่มีในอนาคต. เพราะอัตตาใดเกิดแล้ว. อัตตานั้นได้มีแล้ว. และอัตตาใดจักเกิดอัตตานั้นก็จักมี ท่านกล่าวไว้ดังนี้.


๑. อภิ. วิ. ๓๕/๑,๐๐๔.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1135

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า น โส ชาโต นาโหสิ คือ อัตตานั้นไม่เกิด มิได้มีแล้วแม้ในอดีต เพราะเกิดทุกเมื่อ. แม้ในอนาคตไม่เกิด จักไม่มี. อนุสัยทั้งหลายมีอรรถดังได้กล่าวแล้ว.

บทว่า สตฺตหิ สญฺโชเนหิ - ถูกสังโยชน์ ๗ คล้องไว้ ท่านกล่าวไว้แล้วในสัตตกนิบาต. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๗ เหล่านี้. สังโยชน์ ๗ เป็นไฉน? อนุนยสังโยขน์ ๑ ปฏิฆสังโยชน์ ๑ ทิฏฐิสังโยชน์ ๑ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ๑ มานสังโยชน์ ๑ ภวราคสังโยชน์ ๑ อวิชชาสังโยชน์ ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๗ เหล่านี้แล. (๑)

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนุนยสญฺโชนํ ได้แก่ กามราคสังโยชน์. สังโยชน์เหล่านี้ทั้งหมดเรียกว่า สัญโญชน์ เพราะเป็นกิเลสเครื่องผูก.

บทว่า สตฺตหิ มาเนหิ โลกสันนิวาสฟูขึ้นเพราะมานะ ๗ ท่านกล่าวไว้แล้วในขุททกวัตถุวิภังค์. จริงอยู่ ในวิภังค์นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า


๑. องฺ. สตฺตก. ๒๓/๘.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1136

มานะ อติมานะ มานาติมานะ โอมานะ อธิมานะ อัสมิมานะ มิจฉามานะ. (๑)

ในบทเหล่านั้น บทว่า มาโน - ความถือตัว คือ ลูบคลำบุคคล ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้ดีกว่าเป็นต้น แล้วเย่อหยิ่งด้วยวัตถุในชาติเป็นต้น.

บทว่า อติมาโน - ดูหมิ่นท่าน คือ ผยองเลยไปถึงว่า ไม่มีใครเช่นกับเราโดยชาติเป็นต้น.

บทว่า นานาติมาโน - ดูหมิ่นด้วยความทะนงตัว คือ เกิดถือตัวว่า คนนี้เมื่อก่อนเช่นกับเรา เดี๋ยวนี้เราดีกว่า คนนี้เลวกว่าเรา.

บทว่า โอมาโน - ถือตัวว่าเลวกว่าเขา คือ ถือตนว่าต่ำโดยชาติเป็นต้น คือ ถือตัวว่า เราเป็นคนเลวนั่นแหละ.

บทว่า อธิมาโน - ถือตัวยิ่ง คือ มานะว่า เราบรรลุสัจธรรม ๔ ซึ่งไม่มีผู้บรรลุเลย. อธิมานะนี้เกิดแก่ปุถุชนผู้มีศีลบริสุทธิ์ไม่ประมาทในกรรมฐาน กำหนดนามรูปข้ามสงสัยโดยกำหนดปัจจัย ยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์พิจารณาสังขาร ปรารภวิปัสสนา, ไม่เกิดแก่ผู้อื่น.

บทว่า อสฺมิมาโน - ถือเรา คือ มานะว่าเรามีอยู่ในขันธ์มีรูป เป็นต้น. ท่านอธิบายว่า มีมานะเกิดขึ้นด้วยบทมีอาทิว่า อหํ รูปํ - รูปเป็นเรา เราคือรูป.


๑. อภิ. วิ. ๓๕/๑๐๑๐.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1137

บทว่า มิจฺฉามาโน - มานะผิด คือ มานะเกิดขึ้นด้วยบทมีอาทิว่า ปาปเกน กมฺมายตนา - กัมมายตนะเกิดด้วยความลามก.

บทว่า โลกธมฺมา มีอรรถได้กล่าวแล้ว.

บทว่า สมฺปริวตฺตติ - เวียนอยู่ คือ หมุนเวียนไปด้วยโลกธรรมอันเป็นเหตุ ด้วยความยินดี ในโลกธรรม ๔. มีลาภเป็นต้น ด้วยความไม่ยินดีในโลกธรรม ๔ มีเสื่อมลาภเป็นต้น. อธิบายว่า ละภาวะปกติ. แม้ มิจฺฉตฺตา ก็มีอรรถดังกล่าวแล้ว. บทว่า นิยฺยาโต - ดิ่งลงแล้ว คือ แล่นไป อธิบายว่า ครอบงำแล้ว.

บทว่า อฏฺหิ ปุริสโทเสหิ - เพราะบุรุษโทษ ๘ ในอัฏฐกนิบาต ท่านกล่าวพร้อมด้วยอุปมา. ในขุททกวัตถุวิภังค์ ท่านกล่าวเว้นอุปมา. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

บุรุษโทษ ๘ เป็นไฉน? ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้โจทภิกษุด้วยอาบัติ, ภิกษุนั้นถูกภิกษุทั้งหลายโจทด้วยอาบัติย่อมแก้ตัว ด้วยความไม่มีสติว่า ผมนึกไม่ได้ ผมนึกไม่ได้. นี้เป็นบุรุษโทษข้อที่ ๑.

ข้อต่อไป ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุนั้นถูกภิกษุทั้งหลายโจทด้วยอาบัติ ย่อมซัด

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1138

โจทก์ว่า ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะพูดกับท่านผู้โง่ ไม่ฉลาด, แม้ท่านก็สมควรที่จะพูดกับผมหรือ? นี้เป็นบุรุษโทษข้อที่ ๒.

ข้อต่อไป ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ. ภิกษุนั้นถูกภิกษุทั้งหลายโจทด้วยอาบัติ ก็ปรับอาบัติโจทก์ว่า แม้ท่านก็ต้องอาบัติข้อนี้ ท่านจงทำคืนก่อน. นี้เป็นบุรุษโทษข้อที่ ๓.

ข้อต่อไป ภิกษุ ฯลฯ พูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง ทำความโกรธโทสะและความไม่พอใจให้ปรากฏ. นี้เป็นบุรุษโทษข้อที่ ๔.

ข้อต่อไป ภิกษุ ฯลฯ พูดแกว่งแขนในท่ามกลางสงฆ์. นี้เป็นบุรุษโทษข้อที่ ๕.

ข้อต่อไป ภิกษุ ฯลฯ ไม่เชื่อสงฆ์ไม่เชื่อโจทก์เดินหลีกออกไปเสีย. นี้เป็นบุรุษโทษข้อที่ ๖

ข้อต่อไป ภิกษุ ฯลฯ คิดว่า เราไม่ได้ต้องอาบัติ, เราไม่ได้ต้องอาบัติก็หามิได้ แล้วนิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก. นี้เป็นบุรุษโทษข้อที่ ๗.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1139

ข้อต่อไป ภิกษุ ฯลฯ กล่าวอย่างนี้ว่า โธ่เอ๋ย พวกท่านจะมาวุ่นวายหนักหนาอะไรกะผม. บัดนี้ ผมจะบอกคืนสิกขาลาสึกอยู่แล้ว. ภิกษุนั้นก็สึก แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า บัดนี้พวกท่านจงดีใจเถิด. นี้เป็นบุรุษโทษข้อที่ ๘. (๑)

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปุริสโทสา คือ โทษของบุรุษ. ชื่อว่า โทษ เพราะประทุษร้ายสันดานบุรุษ.

บทว่า น สรามิ คือ ภิกษุนั้นแก้ตัวปลดเปลื้องด้วยไม่มีสติว่า ผมจำไม่ได้ ไม่สนใจถึงกรรมที่ผมทำไป.

บทว่า โจทกํเยว ปฏิปฺผรติ คือ ซัดโต้โจทก์. ตั้งอยู่โดยความเป็นลิ่มตอบ. (๒)

บทว่า กินฺนุ โข ตุยฺหํ คือ ท่านแสดงว่าประโยชน์อะไรที่จะพูดกับท่านผู้โง่ไม่ฉลาด, ท่านไม่รู้วัตถุ ไม่รู้อาบัติ ไม่รู้การโจท. ทับถมว่า แม้ท่านก็ไม่รู้อะไรๆ ยังอยากจะพูด.

บทว่า ปจฺจาโรเปติ - ยกโทษขึ้น คือ กล่าวบทมีอาทิว่า แม้ท่านแหละชื่อว่ายกโทษขึ้น คือ ปรับอาบัติ.

บทว่า ปฎิกโรหิ - ทำคืน ท่านแสดงไว้ว่า ท่านจงแสดงเทศนาคามินี คือ การแสดงอาบัติ ท่านจง


๑. อภิ. วิ. ๓๕/๑๐๑๗.

๒. ในสัมโมหะว่า ตั้งอยู่โดยความกล่าวอย่างฉับไว.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1140

ออกจากวุฏฐานคามินี คือ ออกจากอาบัติ. แต่นั้นท่านตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์แล้วจึงโจทผู้อื่น.

บทว่า อญฺเนญฺํ ปฏิจรติ - พูดจากลบเกลื่อน คือ ปกปิดเหตุอื่นด้วยเหตุอื่น หรือปกปิดคำพูดด้วยคำอื่น. โจทก์กล่าวว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว. ภิกษุนั้นกล่าวว่า ใครต้องอาบัติ ต้องอาบัติอะไรๆ ต้องอาบัติในข้อไหน ต้องอาบัติอย่างไร. ท่านกล่าวอะไรๆ เมื่อโจทก์กล่าวว่า อาบัติอะไร ท่านก็เห็นอยู่แล้ว. ภิกษุนั้นกล่าวว่า เราไม่ได้ยิน แล้วเอียงหูเข้าไป.

บทว่า พหิทฺธา กถํ อปนาเมติ - พูดนอกเรื่อง คือ เมื่อโจทก์ถามว่า ท่านต้องอาบัติข้อนี้หรือ. ภิกษุกล่าวว่า ผมจะไปเมืองปาตลิบุตร. เมื่อโจทก์พูดซ้ำว่า ผมไม่ได้ถามถึงการไปเมืองปาตลิบุตรของคุณ. ผมถามอาบัติ. ภิกษุนั้นกล่าวว่า ต่อแต่นั้นผมจะไปพระราชมนเทียร. เมื่อโจทก์กล่าวว่า คุณจะไปพระราชมนเทียร หรือจะไปเรือนพราหมณ์ก็ตาม. คุณต้องอาบัติแล้ว. ภิกษุนั้นกล่าวคำเป็นอาทิว่า ผมจะได้เนื้อสุกรในที่นั้น พูดนอกเรื่องไป.

บทว่า โกปํ คือ ความโกรธ.

บทว่า โทสํ คือ ความประทุษร้าย.

บทที่สองนี้เป็นชื่อของความโกรธนั่นแหละ.

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1141

บทว่า อปฺปจฺจยํ คือ อาการไม่พอใจ. บทนี้เป็นชื่อของโทมนัส.

บทว่า ปาตุกโรติ คือ แสดงประกาศ.

บทว่า พาหาวิกฺเขปกํ ภณติ คือ แกว่งแขนไปมาแล้วพูดคำไม่มียางอาย.

บทว่า อนาทิยิตฺวา ความว่า ไม่เชื่อถือด้วยความเคารพ ดูหมิ่น ไม่สนใจ.

บทว่า วิเหเสติ คือ ให้ลำบาก รำคาญ.

บทว่า อติพาฬฺหํ คือ หนักมาก เกินขนาด.

บทว่า มยิ พฺยาวฏา คือ ถึงความขวนขวายในเรา.

บทว่า หีนายาวตฺติตฺวา คือ เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว คือ เป็นคฤหัสถ์.

บทว่า อตฺตมนา โหถ คือ พวกท่านจงดีใจเถิด ภิกษุนั้นกล่าวโดยความประสงค์ว่า ท่านจงได้สิ่งที่ผมควรได้เถิด. ท่านจงอยู่ในที่ที่ผมควรอยู่เถิด. ผมทำความผาสุกให้แก่พวกท่านแล้ว.

บทว่า ทุสฺสติ คือ ประทุษร้าย.

บทว่า นวหิ อาฆาตวตฺถูหิ ด้วยอาฆาตวัตถุ ๙ ท่านกล่าวด้วยสามารถการเกิดในสัตว์ทั้งหลาย. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรั ไว้ว่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาฆาตวัตถุ - วัตถุเป็นเหตุอาฆาตกัน ๙ อย่างเหล่านี้. อาฆาตวัตถุ ๙ อย่าง เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1142

ภิกษุผูกอาฆาตว่า เขาได้ประพฤติความพินาศแก่เรา ๑

เขาย่อมประพฤติความพินาศแก่เรา ๑

เขาจักประพฤติความพินาศแก่เรา ๑.

เขาได้ประพฤติความพินาศแก่ผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของเรา ๑

เขาย่อมประพฤติความพินาศแก่ผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของเรา ๑

เขาจักประพฤติความพินาศแก่ผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของเรา ๑

เขาได้ประพฤติประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ๑

เขาย่อมประพฤติประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ๑

เขาจักประพฤติประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของเรา ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาฆาตวัตถุ ๙ อย่าง เหล่านี้แล. (๑)


๑. อง. นวก. ๒๓/๒๓๓.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1143

ในบทเหล่านั้นบทว่า อาฆาตวตถูนิ คือ เหตุแห่งความอาฆาต.

อนึ่ง ในบทว่า อาฆาตํ นี้ ได้แก่ ความโกรธ. ความโกรธนั่นแหละท่านเรียกว่า อาฆาตวัตถุ เพราะเป็นวัตถุแห่งความโกรธยิ่งๆ ขึ้น.

บทว่า อาฆาตํ พนฺธติ คือ ผูก กระทำ ให้ความโกรธเกิด

อาฆาตวัตถุ ๙ แม้เหล่าอื่นที่ท่านกล่าวไว้ในนิทเทสว่า

เขามิได้ประพฤติประโยชน์แก่เรา ๑ เขาย่อมไม่ประพฤติ ๑ เขาจักไม่ประพฤติ ๑. เขามิได้ประพฤติประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของเรา ๑ เขาย่อมไม่ประพฤติ ๑ เขาจักไม่ประพฤติ ๑. เขามิได้ประพฤติความพินาศแก่ผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ๑ เขาย่อมไม่ประพฤติ ๑ เขาจักไม่ประพฤติ ๑ (๑) ดังนี้ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยอาฆาตวัตถุ ๙ อย่างนี้เหมือนกัน.

บทว่า อาฆาติโต - มุ่งร้าย คือ เสียดสีกัน.

บทว่า นววิธมาเนหิ - เพราะมานะ ๙ อย่าง. มานะ ๙ อย่าง เป็นไฉน? มานะ ๙ อย่าง คือ มานะว่าเป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่า เลิศกว่าเขา ๑ เสมอเขา ๑ เลวกว่าเขา ๑ เป็นผู้เสมอเขาสำคัญตนว่า เลิศกว่าเขา ๑ เสมอเขา ๑ เลวกว่าเขา ๑ เป็นผู้เลวกว่าเขาสำคัญตนว่า เลิศกว่าเขา ๑ เสมอเขา ๑ เลวกว่าเขา ๑. มานะ ๙ (๒) อย่างเหล่านี้.


๑. ขุ. มหา. ๒๙/๓๘๔.

๒. อภิ. วิ. ๓๕/๑๐๒๒.

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1144

พึงทราบความในบทนี้ดังต่อไปนี้.

บทว่า เสยฺยสฺส เสยฺโยหมสฺมีติ มาโน - มานะว่า เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญว่าเลิศกว่าเขา ย่อมเกิดแก่พระราชาและบรรพชิตทั้งหลาย. เพราะพระราชาย่อมทรงทำมานะนี้ว่า ใครเช่นกับเราด้วยแว่นแคว้น ทรัพย์หรือพาหนะมีอยู่. แม้บรรพชิตก็ทำมานะว่า ใครเช่นกับเราด้วยศีลและธุดงค์มีอยู่.

บทว่า เสยฺยสฺส สทิโสหมสฺมีติ มาโนปิ - แม้มานะว่า เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญว่าเสมอเขา ก็ย่อมเกิดแก่พระราชาและบรรพชิตเหล่านั้นเหมือนกัน เพราะพระราชาย่อมทรงทำมานะนี้ว่า อะไรของเราทำให้ต่างกันกับพระราชาอื่นด้วยแว่นแคว้น ทรัพย์หรือพาหนะ. แม้บรรพชิตก็ทำมานะนี้ว่า อะไรของเราทำให้ต่างกันกับภิกษุอื่นด้วยศีลและธุดงค์เป็นต้น.

บทว่า เสยฺยสฺส หีโนหมสฺมีติ มาโนปิ - แม้มานะว่า เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญว่าเลวกว่าเขา ก็ย่อมเกิดแก่พระราชาและบรรพชิตทั้งหลายเหล่านั้นเหมือนกัน. เพราะแว่นแคว้น ทรัพย์หรือพาหนะ เป็นต้นของพระราชาใดยังไม่สมบูรณ์. พระราชานั้นยอมทรงทำมานะนี้ว่า เพียงเป็นความสุขของคำพูดว่า พระราชาของเราเท่านั้น. เราจะเป็นพระราชาได้อย่างไร. แม้พระบรรพชิตมีลาภสักการะน้อย ย่อมทำมานะนี้ว่า เพียงพูดกันเท่านั้นว่า เราเป็นธรรมกถึก เป็นพหูสต เป็นมหา

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1145

เถระ. เราเป็นธรรมกถึกได้อย่างไร เป็นพหูสูต เป็นมหาเถระได้อย่าง ไร. ลาภสักการะมิได้มีแก่เรา.

บทมีอาทิว่า สทิสสฺส เสยฺโยหมสฺมีติ มาโน - มานะว่าเป็นผู้เสมอเขา สำคัญว่าเลิศกว่าเขา ย่อมเกิดแก่พวกอำมาตย์เป็นต้น. เพรา อำมาตย์ก็ดี ข้าราชการก็ดี ย่อมทำมานะนี้ว่า ใครเป็นราชบุรุษอื่ เช่นกับเราด้วยโภคะ ยานและพาหนะเป็นต้นมีอยู่. อะไรของเราทำให้ต่างกันกับคนอื่น. หรือว่าชื่อว่า อำมาตย์เท่านั้นของเรา. แม้เพียงของกินและเครื่องนุ่งห่มของเราก็ไม่มี. เราเป็นอำมาตย์ได้อย่างไรกัน.

บทมีอาทิว่า หีนสฺส เสยฺโยหมสฺมีติ มาโน - มานะว่า เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญว่าเลิศกว่าเขา ย่อมเกิดแก่พวกทาสเป็นต้น. เพราะทาสย่อมทำมานะนี้ว่า ใครเป็นทาสอื่นเช่นกับเรา โดยฝ่ายมารดาหรือบิดามีอยู่. คนอื่นไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ เกิดเป็นทาสเพราะเหตุท้อง. แต่เราเป็นผู้เลิศกว่าเพราะมาโดยเชื้อสาย. อะไรของเราทำให้ ต่างกันกับทาสโน้น ด้วยความเป็นทาสแท้ทั้งสองฝ่าย เพราะมาโดยเชื้อสาย หรือเราถึงความเป็นทาสเพราะท้อง. แต่ฐานะเป็นทาสของเราในที่สุดมารดาบิดาไม่มี. เราจะเป็นทำได้อย่างไร. แม้คนขนหยากเยื่อและคนจัณฑาลเป็นต้น ก็ทำมานะนั้นเหมือนทาส ฉะนั้น.

อนึ่ง ในบทนี้ มานะที่เกิดขึ้นว่า เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญว่าเลิศกว่าเขา เป็นมานะแน่นอน. อึกสองพวกนอกนี้ เป็นมานะไม่

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1146

แน่นอน. อนึ่ง มานะที่เกิดขึ้นว่าเป็นผู้เสมอเขา สำคัญว่าเสมอเขา เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญว่าเลวกว่าเขา เป็นมานะแน่นอน. อีกสองพวกนี้ เป็นมานะไม่แน่นอน. การทำลายกิเลสด้วยอรหัตตมรรค เป็นมานะแน่นอน. การทำลายกิเลสด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นมานะไม่แน่นอน.

บทว่า ตณฺหามูลกา - มีตัณหาเป็นมูลได้กล่าวไว้แล้ว.

บทว่า รชฺชติ - กำหนัดอยู่ อธิบายว่า มิใช่กำหนดด้วยราคะอย่างเดียวเท่านั้น. ที่แท้กำหนัดประกอบผูกพันด้วยอกุศลธรรมทั้งหมด มีตัณหาเป็นมูล เพราะเกิดแม้การแสวงหาเป็นต้น มีตัณหาเป็นมูล.

บทว่า ทสหิ กิเลสวตฺถูหิ - โลกสันนิวาสเศร้าหมอง เพราะกิเลสวัตถุ ๑๐ ประการ กิเลสวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน? กิเลสวัตถุ ๑๐ เหล่านี้ คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ มานะ ๑ ทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ ถีนะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อหิริกะ ๑ อโนตัปปะ ๑. (๑)

พึงทราบในบทเหล่านั้นดังต่อไปนี้

กิเลสวัตถุ คือ กิเลสนั่นเอง ที่ชื่อว่า วัตถุ เพราะกิเลสเป็นที่อยู่ของสัตว์ผู้ไม่ใช่ขีณาสพ เพราะตั้งอยู่ในโลภะเป็นต้น. ชื่อว่า กิเลสวัตถุ เพราะกิเลสเหล่านั้นเป็นที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย. อนึ่ง เพราะกิเลสทั้งหลาย แม้เกิดโดย


๑.อภิ. วิ. ๓๕/๑๐๒๖.

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1147

ความเป็นอนันตรปัจจัยเป็นต้น ก็ชื่อว่า ย่อมอยู่เหมือนกัน. ฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสวัตถุ เพราะเป็นที่อยู่ของกิเลสทั้งหลาย.

ชื่อว่า โลภะ เพราะเป็นเหตุได้. หรือย่อมได้ด้วยตนเอง. หรือเพียงได้เท่านั้น.

ชื่อว่า โทสะ. เพราะเป็นเหตุประทุษร้าย. หรือประทุษร้ายด้วยตนเอง. หรือเพียงประทุษร้ายเท่านั้น.

ชื่อว่า โมหะ เพราะเป็นเหตุหลง. หรือหลงด้วยตนเอง. หรือเพียงความหลงเท่านั้น.

ชื่อว่า มานะ เพราะสำคัญ.

บทมี ทิฏฐิ เป็นต้น มีอรรถดังกล่าวแล้ว.

ชื่อว่า อหิริกะ เพราะไม่ละอาย. ความเป็นผู้ไม่ละอายนั้น. ชื่อว่า อหิริกะ.

ชื่อว่า อโนตตัปปะ เพราะไม่เกรงกลัว. ความเป็นผู้ไม่เกรงกลัวนั้น ชื่อว่า อโนตตัปปะ. ในสองบทนั้น อหิริกะมีลักษณะไม่รังเกียจด้วยกายทุจริตเป็นต้น. อโนตตัปปะมีลักษณะไม่ยินดีด้วยกายทุจริตเป็นต้น.

บทว่า กิลิสฺสติ ย่อมเศร้าหมอง คือ เผาผลาญ เบียดเบียน

บทว่า ทสหิ อาฆาตวตฺถูหิ - โลกสันนิวาสมุ่งร้ายกัน เพราะอาฆาตวัตถุ ๑๐. (๑) อาฆาตวัตถุ ๙ กล่าวไว้แล้วในตอนก่อน ด้วยอาฆาตวัตถุ ๑๐ ท่านกล่าวเพิ่มว่า อาฆาตย่อมเกิดในฐานะไม่สมควร. เพราะความอาฆาตย่อมเกิดในฐานะอันไม่สมควร มีตอและหนามเป็นต้น ไม่จัดเข้ากับบทมีอาทิว่า อนตฺถํ เม อจริ เขาได้ประพฤติความพินาศแก่เราแล้ว.


๑. อภิ. วิ. ๓๕/๑๐๒๗.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1148

บทว่า ทสหิ อกุสลกมฺมปเถหิ - โลกสันนิวาสประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ อกุสลกรรมบถ ๑๐ เป็นไฉน? อกุศลกรรมบถ ๑๐ (๑) เหล่านี้ คือ ปาณาติบาต ๑ อทินนาทาน ๑ กาเมสุมิจฉาจาร ๑ มุสาวาท ๑ ปิสุณาวาจา ๑ ผรุสวาจา ๑ สัมผัปปลาปะ ๑ อภิชฌา ๑ พยาบาท ๑ มิจฉาทิฏฐิ ๑.

ในบทนั้นมีความดังนี้

ชื่อว่า อกุสลกัมมบถ เพราะอกุศลกรรมเหล่านั้นเป็นทางแห่งทุคติ.

บทว่า สมนฺนาคโต คือ มีความพรั่งพร้อม.

บทว่า ทสหิ สญฺโชเนหิ - โลกสันนิวาสถูกสังโยชน์ ๑๐ คล้องไว้. สังโยชน์ ๑๐ เป็นไฉน? สังโยชน์ ๑๐ (๒) เหล่านี้ คือ กามราคะ ๑ ปฏิฆะ ๑ มานะ ๑ ทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ ภวราคะ ๑ อิสสา ๑ มัจฉริยะ ๑ อวิชชา ๑.

บทว่า มิจฺฉตฺตา - โลกสันนิวาสดิ่งลง เพราะมิจฉัตตะได้กล่าวไว้แล้ว.

บทว่า ทสวตฺถุกาย มจฺฉาทิฏิยา - โลกสันนิวาสประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีวัตถุ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน? มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ (๓) คือ ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ๑ การบวงสรวงไม่มีผล ๑ การบูชาไม่มีผล ๑ วิบากอันเป็นผลของกรรมที่ทำดีทำชั่ว


๑. ที. ปา. ๑๑/๔๗๐.

๒. อภิ. วิ.๓๕/๑๐๒๙.

๓. อภิ. วิ. ๓๕/๑๐๓๑.

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1149

ไม่มี ๑ โลกนี้ไม่มี ๑ โลกหน้าไม่มี ๑ มารดาไม่มี ๑ บิดาไม่มี ๑ โอปปาติกสัตว์ไม่มี ๑ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้ โลกหน้าด้วยอภิญญา แล้วรู้ด้วยตนเอง ไม่มีในโลก ๑.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทสวตฺถุกา ชื่อว่า วัตถุ ๑๐ เพราะมีวัตถุ ๑๐.

บทว่า นตฺถิ ทินฺนํ คือ รู้ว่า ชื่อว่า ทานที่ให้แล้ว ย่อมมีผล, สามารถให้อะไรๆ แก่ใครๆ ได้. แต่คนมิจฉาทิฏฐิ ถือว่า วิบากอันเป็นผลของทานที่ให้แล้วไม่มี.

บทว่า นตฺถิ ยิฏฺํ คือ มหายาโค (๑) - การบวงสรวงอย่างใหญ่ ท่านเรียกว่า ยิฏฺํ, รู้ว่าการบวงสรวงนั้นสามารถให้ผลได้. แต่คนมิจฉาทิฏฐิถือว่า วิบากอันเป็นผลของการบวงสรวงนั้นไม่มี.

บทว่า หุตํ คือการทำมงคลด้วยการบูชาต้อนรับ, รู้ว่าการทำนั้นให้ผล. แต่คนมิจฉาทิฏฐิถือว่า ผลอันเป็นของการบูชานั้นไม่มี.

ในบทว่า สุกฏทุกฺกฏานํ นี้ ได้แก่ กุศลกรรม ๑๐ ชื่อว่า กรรมดี, อกุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่ากรรมชั่ว. รู้ความที่กรรมเหล่านั้นมีผล. แต่คนมิจฉาทิฏฐิถือว่า วิบากอันเป็นผลไม่มี.

บทว่า นตฺถิ อยํ โลโก คือ คนมิจฉาทิฏฐิถือว่า ผู้ตั้งอยู่ในโลกอื่นไม่มีในโลกนี้.


๑. มหายาโค ๕ คือ อสฺสเมโธ ปุริสเมโธ นิรคฺโค สมฺมาปาโส วาขเปยฺโย

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1150

บทว่า นตฺถิ ปโร โลโก ถือว่า ผู้ตั้งอยู่ในโลกนี้ไม่มีในโลกอื่น.

บทว่า นตฺถิ มาตา นตฺถิ ปิตา คือรู้ว่ามารดาบิดามีอยู่ แต่คนมิจฉาทิฏฐิ ถือว่า วิบากไรๆ อันเป็นผลด้วยปัจจัยที่ทำให้มารดาบิดาเหล่านั้นไม่มี.

บทว่า นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา คือ ถือว่าสัตว์ (โอปปาติกะ) จุติและเกิดไม่มี.

บทว่า สมฺมคฺคตา สมฺมาปฏิปนฺนา คือ ถือว่าสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมปฏิบัติปฏิปทาอันสมควรไม่มีในโลก.

บทว่า เย อิมญฺจ โลกํ ปรญฺจ โลกํ สยํ อภิญฺาย สจฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺติ คือ ถือว่าพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระสัพพัญญู สามารถรู้โลกนี้และโลกหน้าด้วยพระญาณอันประเสริฐด้วยพระองค์เอง แล้วทรงประกาศไม่มี.

บทว่า อนฺตคฺคาหิกาย ทิฏฺฐฺยส - โลกสันนิวาสประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิคือทิฏฐิถือเอาที่สุด. ชื่อว่า อันตคาหิกะ เพราะถือเอาส่วนสุดอย่างหนึ่งๆ มีอาทิว่าโลกเที่ยง. อีกอย่างหนึ่ง การถือเอาที่สุด ชื่อว่า อันตคาหะ. ชื่อว่า อันตคาหิกะ เพราะทิฏฐิมีการถือเอาที่สุด. ด้วยการถือเอาที่สุดนั้น. อันตคาหิกทิฏฐินั้นท่านกล่าวไว้แล้ว.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1151

บทว่า อฏฺสตตณฺหาปปญฺจสเตหิ - โลกสันนิวาสต้องเนิ่นช้าเพราะตัณหาเครื่องให้เนิ่นช้า ๑๐๘. ชื่อว่า อฏฺสตํ. ชื่อว่า ปปญฺโจ เพราะให้เนิ่นช้าในสังสารวัฏฏ์ คือ ให้อยู่นาน. ตัณหานั่นแหละ เครื่องให้เนิ่นช้า จึงชื่อว่า ตณฺหาปปญฺโจ. ตัณหาเครื่องให้เนิ่นช้า หนึ่งร้อยท่านทำให้เป็นพหุวจนะ เพราะตัณหามีมากโดยประเภทแห่ง อารมณ์และด้วยการเกิดบ่อยๆ จึงชื่อว่า ตณฺหาปปญฺจสตํ. ด้วยเหตุนั้น เมื่อควรจะกล่าวว่า ตณฺหาปปญฺจสเตน ด้วยความคลาดเคลื่อนของวจนะ ท่านจึงทำนิทเทสเป็นพหุวจนว่า ตณฺหาปปญฺจสเตหิ. พึงเห็นอรรถแห่งบทว่า ตณฺหาปปญฺจสเตน ด้วยตัณหาเครื่องทำให้เนิ่นช้าร้อยหนึ่ง คือ อฏฺสตํ - ๑๐๘. พึงทราบว่า ท่านถือเอา ๑๐๐ เท่านั้น เพราะทำ ๘ เป็นอัพโพหาริก คือ มีเหมือนไม่มี.

บทว่า ตณฺหาวิจริตานิ มาในขุททกวัตถุวิภังค์. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ตัณหาวิจริต ภายใน ๑๘ ภายนอก ๑๘ รวมเป็นตัณหาวิจริต ๓๖ อดีต ๓๖ อนาคต ๓๖ ปัจจุบัน ๓๖ รวมเป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘. (๑)

อนึ่ง ในขุททกวัตถุวิภังค์นี้ท่านกล่าวตัณหาเป็นเครื่องให้เนิ่นช้าว่า ตัณหาวิจริต. อธิบายว่า ความเป็นไปแห่งตัณหา เพราะประพฤติอยู่ในตัณหา.


๑. อภิ. วิ. ๓๕/๑๐๗๑.

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1152

บทว่า อชฺฌตฺติกสฺส อุปาทาย คือ หมายถึงขันธปัญญจกภายใน. บทนี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. ส่วนความพิสดารของบทนั้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในนิทเทสแห่งขุททกวัตถุวิภังค์นั้น. แต่ในนิทเทสนี้ พึงทราบนัยอย่างอื่น. ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ๑ ภวตัณหา ๑ วิภวตัณหา ๑ มีรูปเป็นอารมณ์อย่างเดียว. อนึ่ง ตัณหา ๑๘ ในอารมณ์ ๖ มีเสียงเป็นต้นเป็นอารมณ์. ตัณหามีอารมณ์ภายใน ๑๘ ภายนอก ๑๘ รวมเป็นตัณหา ๓๖. ตัณหาเหล่านั้นมีอารมณ์ในอดีต ๓๖ อารมณ์ในอนาคต ๓๖ อารมณ์ในปัจจุบัน ๓๖ รวมเป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘.

บทว่า ปปญฺจิโต คือ ต้องเนิ่นช้าอยู่นานในอารมณ์หรือในสังสารวัฏฏ์.

บทว่า ทฺวาสฏฺิยา ทิฏฺิคเตหิ - โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิ ๖๒ กลุ้มรุม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทิฏฐิ ๖๒ ไว้ในเวยยากรณภาษิตในพรหมชาลสูตร เป็นไฉน? ทิฏฐิ ๖๒ (๑) ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในเวยยากรณภาษิต ในพรหมชาลสูตรมีดังนี้ คือ   สัสสตวาทะ - วาทะว่า เที่ยง ๔, เอกัจจสัสสตวาทะ - วาทะว่าเที่ยง ๔, อันตานันติกวาทะ - วาทะว่ามีที่สุดและไม่มีที่สุด ๔, อมราวิกเขปิกวาทะ - วาทะปฏิเสธสิ้นเชิง ๔, อธิจจสมุปปันนิกวาทะ - วาทะที่เชื่อถือไม่ได้ ๒, สัญญีวาทะ


๑. อภิ. วิ. ๓๕/๑๐๗๒.

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 1153

- วาทะมีสัญญา ๑๖, อสัญญีวาทะ - วาทะไม่มีสัญญา ๘, เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ - วาทะว่ามีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ ๘. อุจ- เฉทวาทะ - วาทะว่าสูญ ๗, ทิฏฐธรรมนิพพานวาทะ - วาทะว่านิพพานมีในปัจจุบัน ๕. ส่วนความพิสดารในนิทเทสนี้พึงทราบนัยดังกล่าวแล้วในพรหมชาลสูตรนั่นแหละ.

บทว่า อหญฺจมฺหิ ติณฺโณ - เราเป็นผู้ข้ามได้แล้ว. คือ เราเป็นผู้ข้ามโอฆะ ๔ หรือสมุทร คือ สังสารวัฏฏ์ได้แล้ว.

บทว่า มุตฺโต - เราเป็นผู้พ้นแล้ว คือ พ้นจากเครื่องผูกมีราคะเป็นต้น.

บทว่า ทนฺโต - เราทรมานได้แล้ว คือ หมดพยศไม่ดิ้นรนแล้ว.

บทว่า สนฺโต - เราเป็นผู้สงบแล้ว คือ มีความเยือกเย็น.

บทว่า อสฺสตฺโถ - เราเป็น ผู้เบาใจ คือ ได้ความปลอดโปร่งด้วยเห็นนิพพาน.

บทว่า ปรินิพฺพุโต - เราเป็นผู้ดับรอบแล้ว คือ ดับรอบด้วยการดับกิเลส.

บทว่า ปโหมิ คือ เราเป็นผู้สามารถ.

บทว่า โข เป็น นิบาตลงในอรรถแห่งเอกังสะ คือ ส่วนเดียว.

ปเร จ ศัพท์ในบทนี้ว่า ปเร จ ปรินิพฺพาเปตุํ เพื่อให้ผู้อื่นดับรอบด้วย พึงประกอบแม้ด้วยบทมีอาทิว่า ปเร จ ตาเรตุํ เพื่อให้ ผู้อื่นข้ามพ้นไปด้วย.

จบ อรรถกถามหากรุณาญาณนิทเทส