พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. วิโมกขกถา ว่าด้วยวิโมกข์ ๓

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 พ.ย. 2564
หมายเลข  40954
อ่าน  773

[เล่มที่ 69] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 320

มหาวรรค

๕. วิโมกขกถา

ว่าด้วยวิโมกข ์๓ หน้า 320

อรรถกถาวิโมกขกถา

อรรถกถาวิโมกขุเทศ หน้า 364

อรรถกถาวิโมกขนิเทศ หน้า 370


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 69]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 320

มหาวรรค วิโมกขกถา

บริบูรณ์นิทาน

ว่าด้วยวิโมกข์ ๓

[๔๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๓ ประการนี้ ๓ ประการ เป็นไฉน คือสุญญตวิโมกข์ ๑ อนิมิตตวิโมกข์ ๑ อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๓ ประการนี้.

อีกประการหนึ่ง วิโมกข์ ๖๘ คือ สุญญตวิโมกข์ ๑ อนิมิตตวิโมกข์ ๑ อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑ อัชฌัตตาวุฏฐานวิโมกข์ (วิโมกข์มีการออกในภายใน) ๑ พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ (วิโมกข์มีการออกในภายนอก) ๑ ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ (วิโมกข์มีการออกแต่ส่วนทั้งสอง) ๑ วิโมกข์ ๔ แต่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ แต่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ แต่ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ อนุโลมแก่ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ ระงับ จากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ ระงับจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้มีรูป เห็นรูปทั้งหลาย เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้ไม่มีความสำคัญ ว่ารูปในภายใน เห็นรูป ทั้งหลายในภายนอก เพราะอรรถว่า ภิกษุน้อมใจไปในธรรมส่วนงามเท่านั้น อากาสานัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ วิญญาณณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ อากิญจัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ สัญญา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 321

เวทยิตนิโรธสมาบัติวิโมกข์ สมยวิโมกข์ อสมยวิโมกข์ สามายิกวิโมกข์ อามายิกวิโมกข์ กุปปวิโมกข์ (วิโมกข์ที่กำเริบได้) อกุปปวิโมกข์ (วิโมกข์ ที่ไม่กำเริบ) โลกิยวิโมกข์ โลกุตรวิโมกข์ สาสววิโมกข์ อนาสววิโมกข์ สามิสวิโมกข์ นิรามิสวิโมกข์ นิรามิสตรวิโมกข์ ปณิหิตวิโมกข์ อัปปณิหิต วิโมกข์ ปณิหิตปัสสัทธิวิโมกข์ สัญญุตวิโมกข์ วิสัญญุตวิโมกข์ เอกัตตวิโมกข์ มานัตตวิโมกข์ สัญญาวิโมกข์ ญาณวิโมกข์ สีติสิยาวิโมกข์ ฌานวิโมกข์ อนุปาทาจิตวิโมกข์.

[๔๗๐] สุญญตวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี พิจารณาเห็นดังนี้ว่า นามรูปนี้ว่างจากความ เป็นตัวตน และจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน เธอย่อมไม่ทำความยึดมั่นในนามรูปนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ว่างเปล่า นี้เป็นสุญญตวิโมกข์.

อนิมิตตวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่ โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า นามรูปนี้ว่างจาก ความเป็นรูปนั้น และจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน เธอย่อมไม่ทำเครื่องกำหนดหมาย ในนามรูปนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้น จึงเป็นวิโมกข์ไม่มีเครื่อง กำหนดหมาย นี้เป็นอนิมิตตวิโมกข์.

อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่ โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า นามรูปนี้ว่างจาก ความเป็นตัวตน และจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน เธอย่อมไม่ทำความปรารถนาใน นามรูปนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้น จึงเป็นวิโมกข์ไม่มีความปรารถนา นี้เป็นอัปปณิหิตวิโมกข์.

อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน ฌาน ๔ เป็นอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 322

พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน อรูปสมาบัติ ๔ เป็นพหิทธาวุฏฐาน. วิโมกข์.

ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน อริยมรรค ๔ เป็นทุภโตวุฏฐานวิโมกข์.

[๔๗๑] วิโมกข์ ๔ แต่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน ปฐมฌาน ออกจากนิวรณ์ ทุติยฌานออกจากวิตกวิจาร ตติยฌานออกจากปีติ จตุตถฌาน ออกจากสุขและทุกข์ นี้เป็นวิโมกข์ ๔ แต่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์.

วิโมกข์ ๔ แต่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน อากาสานัญจายตน สมาบัติออกจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา. วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ออกจากอากาสานัญจายตนสัญญา อากิญจัญญายตนสมาบัติ ออกจากวิญญาณัญจายตนสัญญา อากิญจัญญายตนสมาบัติ ออกจากวิญญาณัญจายตนสัญญา เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ออกจากอากิญจัญญายตนสัญญา นี้เป็น วิโมกข์ ๔ แต่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์.

วิโมกข์ ๔ แต่ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน โสดาปัตติมรรคออกจาก สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฏฐิอนุสัย วิจิกิจฉานุสัย ออกจาก เหล่ากิเลสที่เป็นไปตามสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก สรรพนิมิตภายนอก สกทาคามิมรรคออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตาม กามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก อนาคามิมรรคออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก อรหัตตมรรคออกจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุนัย ภวราคานุสัย

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 323

อวิชชานุสัย ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามรูปราคะเป็นต้นนั้น จากขันธ์ ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ ๔ แต่ทุภโตวุฏฐาน วิโมกข์.

[๔๗๒] วิโมกข์ อนุโลมแก่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิตเพื่อประโยชน์แก่การได้ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน นี้เป็นวิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์.

วิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต เพื่อประโยชน์แก่การได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้เป็นวิโมกข์ อนุโลมแก่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์.

วิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา เพื่อประโยชน์แก่การได้โสดาปัตติมรรค. สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค นี้เป็นวิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่ ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์.

[๔๗๓] วิโมกข์ ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน การ ได้หรือวิบากแห่งปฐมฌาน แห่งทุติยฌาน แห่งตติยฌาน แห่งจตุตถฌาน มีอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ ๔ ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์.

วิโมกข์ ๔ ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน? การได้หรือ วิบากแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ แห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ แห่ง อากิญจัญญายตนสมาบัติ แห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ มีอยู่ นี้เป็น วิโมกข์ ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 324

วิโมกข์ ๔ ระงับจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน? โสดาปัตติผล แห่งโสดาปัตติมรรค สกทาคามิผลแห่งสกทาคามิมรรค อนาคามิผลแห่ง อนาคามิมรรค อรหัตตผลแห่งอรหัตตมรรค นี้เป็นวิโมกข์ ๔ ระงับจาก ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์.

[๔๗๔] ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้มีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลาย อย่างไร?

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มนสิการถึงเฉพาะนิมิตสีเขียวในภายใน ย่อมได้เฉพาะนีลสัญญา เธอทำนิมิตนั้น ให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วย่อมน้อมจิตไปในนิมิตสีเขียวภายนอก ย่อมได้ เฉพาะนีลสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก เธอมีความคิคอย่างนี้ว่า นิมิตสีเขียวทั้งสองทั้งภายในและภายนอกนี้เป็นในรูป เธอเป็นผู้มีความสำคัญว่า เป็นรูป ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มนสิการถึงเฉพาะนิมิตสีเหลือง ฯลฯ นิมิตสีแดง ... นิมิตสีขาวในภายใน ย่อมได้เฉพาะโอทาตสัญญา เธอทำนิมิต นั้น ให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วย่อม น้อมจิตไปในนิมิตสีขาวในภายนอก ย่อมได้เฉพาะโอทาตสัญญา เธอทำนิมิต นั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วย่อม เสพ เจริญ ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า นิมิตสีขาวทั้งสองทั้งภายใน และภายนอกนี้ เป็นรูป เธอย่อมมีความสำคัญว่าเป็นรูป ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะ อรรถว่า ภิกษุผู้มีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลายอย่างนี้.

[๔๗๕] ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้ไม่มีความสำคัญว่าเป็น รูปในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอก อย่างไร?

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 325

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่มนสิการถึงเฉพาะนิมิตสีเขียวในภายใน ไม่ได้นีลสัญญา ย่อมน้อมจิตไปในนิมิตสีเขียวภายนอก ย่อมได้นีลสัญญา เธอ ทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้ว เธอย่อมเสพ เจริญทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราไม่มีความสำคัญว่า เป็นรูปในภายใน นิมิตสีเขียวภายนอกนี้เป็นรูป เธอก็มีรูปสัญญา ภิกษุบาง รูปในธรรมวินัยนี้ ไม่มนสิการถึงเฉพาะนิมิตสีเหลือง ... นิมิตสีแดง ... นิมิตสีขาวในภายใน ไม่ได้โอทาตสัญญา ย่อมน้อมจิตไปในนิมิตสีขาวภาย นอกย่อมได้โอทาตสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วเธอย่อมเสพ เจริญทำให้มาก เธอมีความคิดอย่าง นี้ว่า เราไม่มีความสำคัญว่าเป็นรูปในภายนอกนี้เป็นรูป เธอก็มีรูปสัญญา ชื่อ ว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้ไม่มีความสำคัญว่าเป็นรูปในภายในเห็นรูป ทั้งหลายในภายนอก อย่างนี้.

[๔๗๖] ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุน้อมใจไปในธรรมส่วน งามเท่านั้น อย่างไร?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวางแผ่ ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอัน ไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อยู่เพราะเป็นผู้เจริญเมตตา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่เกลียดชัง มีใจประกอบด้วย กรุณา ฯลฯ เพราะเป็นผู้เจริญมุทิตา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่เกลียดชัง มีใจ ประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ฯลฯ เพราะเป็นผู้เจริญอุเบกขา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่เกลียดชัง ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุน้อมใจ ไปในธรรมส่วนงามเท่านั้น อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 326

[๔๗๗] อากาสานัญจายตนสมาบัติวิโมกข์เป็นไฉน? ภิกษุในธรรม วินัยนี้เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง เข้าอากาสานัญจายตนสมาบัติ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ นี้เป็นอากาสานัญจายตนสมาบัติวิโมกข์.

วิญญาณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนสมาบัติโดยประการทั้งปวง เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติโดยประการทั้งปวง เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ นี้เป็นวิญญาณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์.

อากิญจัญญายตนสมาบัติวิโมกข์เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะ ล่วงวิญญาณัญจายตนสมาบัติโดยประการทั้งปวง เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ โดยประการทั้งปวง เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ ด้วยมนสิการว่า สิ่งน้อยหนึ่ง ไม่มี นี้เป็นอากิญจัญญายตนสมาบัติวิโมกข์.

เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติวิโมกข์เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัย นี้ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนสมาบัติโดยประการทั้งปวง เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติวิโมกข์.

สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติวิโมกข์เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติโดยประการทั้งปวง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ นี้เป็นสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติวิโมกข์.

[๔๗๘] สมยวิโมกข์เป็นไฉน? ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็น สมยวิโมกข์.

อสมยวิโมกข์เป็นไฉน? อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้เป็นอสมยวิโมกข์.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 327

สามยิกวิโมกข์เป็นไฉน? ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นสามยิกวิโมกข์.

อสามยิกวิโมกข์เป็นไฉน? อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้เป็นอสามยิกวิโมกข์.

กุปปวิโมกข์เป็นไฉน? ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นกุปปวิโมกข์.

อกุปปวิโมกข์เป็นไฉน? อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้เป็นอกุปปวิโมกข์.

โลกิยวิโมกข์เป็นไฉน? ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นโลกิยวิโมกข์.

โลกุตรวิโมกข์เป็นไฉน? อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และ นิพพาน นี้เป็นโลกุตรวิโมกข์.

สาสววิโมกข์เป็นไฉน? ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นสาสววิโมกข์.

อนาสววิโมกข์เป็นไฉน? อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้เป็นอนาสววิโมกข์.

[๔๗๙] สามิสวิโมกข์เป็นไฉน วิโมกข์ที่ปฏิสังยุตด้วยรูป นี้เป็น สามิสวิโมกข์.

นิรามิสวิโมกข์เป็นไฉน? วิโมกข์ที่ไม่ปฏิสังยุตด้วยรูป นี้เป็นนิรานิสวิโมกข์.

นิรามิสตรวิโมกข์เป็นไฉน? อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และ นิพพาน นี้เป็นนิรามิสตรวิโมกข์.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 328

ปณิหิตวิโมกข์เป็นไฉน? ฌาน ๔ อรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นปณิหิตวิโมกข์.

อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นไฉน? อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และ นิพพาน นี้เป็นอัปปณิหิตวิโมกข์.

ปณิหิตปฏิปัสสัทธิวิโมกข์เป็นไฉน? การได้หรือวิบากแห่งปฐมฌาน ฯลฯ แห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้เป็นปณิหิตปฏิปัสสัทธิวิโมกข์.

สัญญุตวิโมกข์เป็นไฉน? ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นสัญญุตวิโมกข์.

วิสัญญุตวิโมกข์เป็นไฉน? อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และ นิพพาน นี้เป็นวิสัญญุตวิโมกข์.

เอกัตตวิโมกข์เป็นไฉน? อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้เป็นเอกัตตวิโมกข์

นานัตตวิโมกข์เป็นไฉน? ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็น นานัตตวิโมกข์.

[๔๘๐] สัญญาวิโมกข์เป็นไฉน? สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญา วิโมกข์ ๑๐ สัญญาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยายพึงมีได้.

คำว่า พึงมีได้ ความว่า ก็พึงมีได้อย่างไร?

อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากนิจจสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงเป็นสัญญาวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจากสุขสัญญา ... อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจาก. อัตตสัญญา ... นิพพิทานุปัสสนาญาณพ้นจากนันทิสัญญา (ความสำคัญโดย ความเพลิดเพลิน) ... วิราคานุปัสสนาญาณพ้นจากราคสัญญา ... นิโรธานุ-

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 329

ปัสสนาญาณพ้นจากสมุทยสัญญา ... ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ พ้นจากอาทานสัญญา (ความสำคัญโดยความถือมั่น) ... อนิมิตตานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตตสัญญา ... อัปปณิหิตานุปัสสนาญานพ้นจากปณิธิสัญญา ... สุญญตานุปัสสนาญานพ้นจากอภินิเวสสัญญา (ความสำคัญโดยความยึดมั่น) ... เพราะเหตุนั้น จึงเป็นสัญญาวิโมกข์ สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ สัญญาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้.

ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป พ้นจากนิจจสัญญา เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสัญญาวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่าง เปล่าในรูปพ้นจากอภินิเวสสัญญา เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสัญญาวิโมกข์ สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ สัญญาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้.

ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะพ้น จากนิจจสัญญา เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสัญญาวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การ พิจารณาเห็นความว่างเปล่า ในชราและมรณะ พ้นจากอภินิเวสสัญญา เพราะ เหตุนั้นจึงเป็นสัญญาวิโมกข์ สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ สัญญาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้ อย่างนี้ นี้เป็นสัญญาวิโมกข์.

[๔๘๑] ญาณวิโมกข์เป็นไฉน? ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐ ญาณวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 330

คำว่า พึงมีได้ ความว่า ก็พึงมีได้อย่างไร? อนิจจานุปัสสนายถาภูตญาณพ้นจากความหลงโดยความเป็นสภาพเที่ยง จากความไม่รู้ เพราะเหตุนั้น จึงเป็นญาณวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนายถาภูตญาณ พ้นจากความหลงโดยความเป็น สุข จากความไม่รู้ ... อนัตตานุปัสสนายถาภูตญาณ พ้นจากความหลงโดย ความเป็นตัวตนจากความไม่รู้ ... นิพพิทานุปัสสนายถาภูตญาณ พ้นจากความ หลงโดยความเพลิดเพลิน จากความไม่รู้ ... วิราคานุปัสสนายถาภูตญาณ พ้น จากความหลงโดยความกำหนัด จากความไม่รู้ ... นิโรธานุปัสสนายถาภูตญาณ พ้นจากความหลงโดยเป็นเหตุให้เกิด จากความไม่รู้ ... ปฏินิสสัคคานุปัสสนายถาภูตญาณ พ้นจากความหลงโดยความถือมั่น จากความไม่รู้ ... อนิมิตตานุ- ปัสสนายถาภูตญาณพ้นจากความหลงโดยความเป็นนิมิต จากความไม่รู้ ... อัปปณิหิตานุปัสสนายถาภูตญาณ พ้นจากความหลงโดยความเป็นที่ตั้ง จาก ความไม่รู้ ... สุญญตานุปัสสนายถาภูตญาณ พ้นจากความหลงโดยความยึดมั่น จากความไม่รู้ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นญาณวิโมกข์ ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณ วิโมกข์ ๑๐ ญาณวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้.

ยถาภูตญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป พ้นจากความ หลงโดยความเป็นสภาพเที่ยง จากความไม่รู้ เพราะเหตุนั้น จึงเป็นญาณวิโมกข์ ฯลฯ ยถาภูตญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในรูป พ้นจากความหลง โดยความยึดมั่น จากความรู้ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นญาณวิโมกข์ ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐ ญาณวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถ แห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 331

ยถาภูตญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ พ้นจากความหลงโดย ความเป็นสภาพเที่ยง จากความไม่รู้ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นญาณวิโมกข์ ฯลฯ ยถาภูตญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในชราและมรณะ พ้นจาก ความยึดมั่น จากความไม่รู้ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นญาณวิโมกข์ ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐ ญาณวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่ง วัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ นี้เป็นญาณวิโมกข์.

[๔๘๒] สีติสิยาวิโมกข์เป็นไฉน? สีติสิยาวิโมกข์ ๑ เป็นสีติสิยา วิโมกข์ ๑๐ สีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้.

คำว่า พึงมีได้ ความว่า ก็พึงได้อย่างไร?

อนิจจานุปัสสนา เป็นญาณอันมีความเย็นใจอย่างเยี่ยม พ้นจากความ เดือดร้อน ความเร่าร้อนและความกระวนกระวายโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสีติสิยาวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนา ... โดยความเป็นสุข ... อนัตตานุปัสสนา ... โดยความเป็นตน ... นิพพิทานุปัสสนา ... โดยความ เพลิดเพลิน ... วิราคานุปัสสนา ... โดยความกำหนัด ... นิโรธานุปัสสนา ... โดยความเป็นเหตุเกิด ... ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ... โดยความถือมั่น ... อนิมิตตานุปัสสนา ... โดยมีนิมิตเครื่องหมาย ... อัปปณิหิตานุปัสสนา ... โดยเป็นที่ตั้ง ... สุญญตานุปัสสนา เป็นญาณอันมีความเย็นใจอย่างเยี่ยม พ้นจากความ เดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายโดยความยึดมั่น เพราะ เหตุนั้นจึงเป็น สิติสิยาวิโมกข์ สีติสิยาวิโมกข์ ๑ เป็นสีติยาวิโมกข์ ๑๐ สีติสิยา-

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 332

วิโมกข์ ๑๐ เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้ อย่างนี้.

การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป เป็นญาณอันมีความเย็นอย่าง เยี่ยมพ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อนและความกระวนกระวายโดยความ เป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสีติสิยาวิโมกข์ ฯลฯ ด้วยสามารถแห่ง วัตถุ โดยปริยายพึงมีได้อย่างนี้.

การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ เป็นญาณอันมีความเย็นอย่าง เยี่ยม พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อนและความกระวนกระวายโดยความ เป็นสภาพไม่เที่ยง เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสีติสิยาวิโมกข์ ฯลฯ สีติสิยาวิโมกข์ ๑ เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ สีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถ แห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ นี้เป็นสีติสิยาวิโมกข์.

[๔๘๓] ฌานวิโมกข์เป็นไฉน? เนกขัมมะเกิด เผากามฉันทะ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌาน เนกขัมมะเกิดพ้นไป เผาพ้นไป เพราะเหตุนั้นจึง เป็นฌานวิโมกข์ ธรรมเกิด ย่อมเผา ฌายีบุคคลย่อมรู้กิเลสที่เกิดและถูกเผา เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌานวิโมกข์ ความไม่พยาบาทเกิด เผาความพยาบาท เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌาน ความไม่พยาบาทเกิดพ้นไป เผาพ้นไป ... อาโลกสัญญาเกิด เผาถีนมิทธะ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌาน ความไม่ฟุ้งซ่านเกิด เผาอุทธัจจะ ... การกำหนดธรรมเกิด เผาวิจิกิจฉา ... ญาณเกิด เผาอวิชชา ... ความปราโมทย์เกิด เผาอรติ ... ปฐมฌานเกิด เผานิวรณ์ เพราะเหตุนั้น จึงเป็นฌาน ฯลฯ อรหัตตมรรคเกิด เผากิเลสทั้งปวง เพราะเหตุนั้นจึงเป็น ฌาน เกิดพ้นไป เผาพ้นไป เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌานวิโมกข์ ธรรมเกิด

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 333

ย่อมเผา ฌายีบุคคลย่อมรู้กิเลสที่เกิดและที่ถูกเผา เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌานวิโมกข์ นี้เป็นฌานวิโมกข์.

[๔๘๔] อนุปาทาจิตวิโมกข์เป็นไฉน? อนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑ เป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑๐ เป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้.

คำว่า พึงมีได้ ความว่า ก็พึงมีได้อย่างไร?

อนิจจานุปัสสนาญาน ย่อมพ้นจากดวามถือมั่นโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณ พ้นจากความ ถือมั่นโดยความเป็นสุข ... อนัตตานุปัสสนาญาณ พ้นจากดวามถือมั่นโดยความ เป็นตัวตน ... นิพพิทานุปัสสนาญาณ พ้นจากดวามถือมั่นโดยความเพลิดเพลิน ... วิราคานุปัสสนาญาณ พ้นจากความถือมั่นโดยความกำหนัด ... นิโรธานุปัสสนาญาณ พ้นจากความถือมั่นโดยความเป็นเหตุเกิด ... ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ พ้นจากความถือมั่นโดยความถือผิด ... อนิมิตตานุปัสสนาญาณ พ้นจากความถือมั่นโดยนิมิต ... อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ พ้นจากความถือมั่น โดยเป็นที่ตั้ง ... สุญญตานุปัสสนาญาณ พ้นจากความถือมั่น โดยความยึดมั่น เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ อนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑ เป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑๐ เป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑ ด้วย สามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้.

ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป พ้นจากความถือมั่น โดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในรูป พ้นจากความถือมั่นโดยความยึดมั่น เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ อนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑ เป็นอนุปาทา-

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 334

จิตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑๐ เป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑ ด้วย สามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้.

ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะพ้นจากความถือมั่น โดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่า ในชราและมรณะ พ้นจากความถือมั่นโดย ความยึดมั่น เพราะเหตุนั้น จึงเป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑ เป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑๐ เป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้.

[๔๘๕] อนิจจานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทานเท่าไร? ทุกขานุปัสสนาญาณ อนัตตานุปัสสนาญาณ นิพพิทานุปัสสนาญาณ วิราคานุปัสสนาญาณ นิโรธานุปัสสนาญาณ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ อนิมิตตานุปัสสนาญาณ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ สุญญตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทานเท่าไร?

อนิจจานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ ทุกขานุปัสลนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ อนัตตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ นิพพิทา นุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ วิราคานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจาก อุปาทาน ๑ นิโรธานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔ อนิมิตตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ สุญญตานุปัสสนาญาณ ย่อม พ้นจากอุปาทาน ๓.

[๔๘๖] อนิจจานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เป็นไฉน? อนิจจานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ คือ ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน อนิจจานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เหล่านี้.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 335

ทุกขานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ เป็นไฉน? ทุกขานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ คือ กามุปาทาน ทุกขานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้.

อนัตตานุปัสสนาญาณย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เป็นไฉน? อนัตตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ คือ ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน อนัตตานุปัสสนาญาณย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เหล่านี้.

นิพพิทานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ เป็นไฉน? นิพพิทานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ คือ กามุปาทาน นิพพิทานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้.

วิราคานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ เป็นไฉน? วิราคานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ คือ กามุปาทาน วิราคานุปัสสนาญาน ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้.

นิโรธานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔ เป็นไฉน? นิโรธานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นิโรธานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔ เหล่านี้.

ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔ เป็นไฉน? ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔ คือกามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจาก อุปาทาน ๔ เหล่านี้.

อนิมิตตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เป็นไฉน? อนิมิตตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ คือ ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน อนิมิตตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เหล่านี้.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 336

อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ เป็นไฉน? อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ คือ กามุปาทาน อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้.

สุญญตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เป็นไฉน? สุญญตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ คือ ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาท สุญญตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เหล่านี้.

ญาณ ๔ เหล่านี้ คือ อนิจจานุปัสสนาญาณ ๑ อนัตตานุปัสสนาญาณ ๑ อนิมิตตานุปัสสนาญาณ ๑ สุญญตานุปัสสนาญาณ ๑ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ คือ ทิฏฐิปาทาน ๑ สีลัพพตุปาทาน ๑ อัตตวาทุปาทาน ๑ ญาณ ๔ เหล่านี้ คือ ทุกขานุปัสสนาญาณ ๑ นิพพิทานุปัสสนาญาณ ๑ วิราคานุปัสสนาญาณ ๑ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ ๑ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ คือ กามุปาทาน ญาณ ๒ เหล่านี้ คือ นิโรธานุปัสสนาญาณ ๑ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ ๑ ย่อมพ้นจาก อุปาทานทั้ง ๔ คือ กามุปาทาน ๑ ทิฏฐุปาทาน ๑ สีลัพพตุปาทาน ๑ อัตตวาทุปาทาน ๑ นี้เป็นอนุปาทาจิตวิโมกข์.

จบวิโมกขกถา ปฐมภาณวาร

[๔๘๗] ก็วิโมกข์อันเป็นประธาน ๓ นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความ นำออกไปจากโลก ด้วยความที่จิตแล่นไปในอนิมิตตธาตุ โดยความพิจารณา เห็นสรรพสังขาร โดยความหมุนเวียนไปตามกำหนด ด้วยความที่จิตแล่นไปใน อัปปณิหิตธาตุ โดยความองอาจแห่งใจในสรรพสังขาร และด้วยความที่จิต แล่นไปในสุญญตาธาตุ โดยความพิจารณาเห็นธรรมทั้งปวงโดยแปรเป็นอย่างอื่น วิโมกข์อันเป็นประธาน ๓ นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความนำออกไปจากโลก.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 337

[๔๘๘] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น อนัตตา สังขารย่อมปรากฏอย่างไร?

เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สังขารย่อมปรากฏโดยความ สิ้นไป เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สังขารย่อมปรากฏโดยความเป็นของ น่ากลัว เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สังขารย่อมปรากฏโดยความเป็น ของสูญ.

เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จิต มากด้วยธรรมอะไร?

เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง จิตมากด้วยความน้อมไป เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตมากด้วยความสงบ เมื่อมนสิการโดยความ เป็นอนัตตา จิตมากด้วยความรู้.

บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจไป เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ เมื่อมนสิการโดยความเป็น อนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้อินทรีย์เป็นไฉน?

บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจไป ย่อมได้สัทธินทรีย์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ ย่อมได้ สมาธินทรีย์ ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้ ปัญญินทรีย์.

[๔๘๙] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากด้วยความ น้อมใจเชื่อ อินทรีย์ที่เป็นใหญ่เป็นไฉน อินทรีย์ในภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์ นั้นมีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย (ปัจจัยเกิดร่วมกัน) เป็นอัญญมัญญปัจจัย (เป็นปัจจัยของกันและกัน) เป็นนิสสยปัจจัย (ปัจจัยที่อาศัยกัน) เป็นสัมป-

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 338

ยุตตปัจจัย (ปัจจัยที่ประกอบกัน) เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ากระไร ใครย่อมเจริญ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากไป ด้วยความสงบ อินทรีย์ที่เป็นใหญ่เป็นไฉน ... เมื่อมนสิการโดยความเป็น อนัตตามากไปด้วยความรู้ อินทรีย์ที่เป็นใหญ่เป็นไฉน อินทรีย์แห่งภาวนาที่ เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะ อรรถว่ากระไร ใครย่อมเจริญ?

เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากไปด้วยความน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้ง เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถ ว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ผู้ใดปฏิบัติชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญอินทรีย์ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ปฏิบัติผิด เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากไปด้วย ความสงบ สมาธินทรีย์เป็นใหญ่ ... เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตามากไป ด้วยความรู้ ปัญญินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์ นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียว กัน ผู้ใดปฏิบัติชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญอินทรีย์ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ ปฏิบัติผิด.

[๔๙๐] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากไปด้วยความ น้อมใจเชื่อ อินทรีย์ที่เป็นใหญ่เป็นไฉน อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตาม อินทรีย์นั้นมีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัยในเวลาแทงตลอด มีอินทรีย์อะไรเป็นใหญ่ อินทรีย์

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 339

แห่งปฏิเวธที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่า ภาวนา เพราะอรรถว่ากระไร ชื่อว่าปฏิเวธ เพราะอรรถว่ากระไร? เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากไปด้วยความสงบ อินทรีย์ที่เป็น ใหญ่เป็นไฉน?

เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากไปด้วยความรู้ อินทรีย์ที่เป็น ใหญ่เป็นไฉน?

เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากไปด้วยความน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้ง เป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย ในเวลา แทงตลอด ปัญญินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งปฏิเวธที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์ นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าปฏิเวธ เพราะอรรถว่าเห็น ด้วยอาการอย่างนี้ แม้บุคคลผู้แทงตลอด ก็ย่อมเจริญ แม้ผู้เจริญก็ย่อมแทงตลอด.

เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากไปด้วยความสงบ สมาธินทรีย์ เป็นใหญ่ ...

เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากไปด้วยความรู้ ปัญญินทรีย์ เป็นใหญ่ ...

[๔๙๑] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง อินทรีย์อะไรมี ประมาณยิ่ง เพราะอินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อ มนสิการโดยความเป็นทุกข์ อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะอินทรีย์อะไร

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 340

มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา อินทรีย์ อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะอินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ?

เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความ เป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคล จึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ.

[๔๙๒] บุคคลผู้เชื่อน้อมใจไป เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสัทธาธิมุต บุคคลทำให้แจ้งเพราะเป็นผู้ถูกต้องธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ากายสักขี บุคคลบรรลุแล้วเพราะเป็นผู้เห็นธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าทิฏฐิปัตตะ บุคคลเชื่ออยู่ย่อมน้อมใจไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัทธาธิมุต บุคคลถูกต้อง ฌานก่อน ภายหลังจึงการทำให้แจ้งซึ่งนิพพานอันเป็นที่ดับ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ากายสักขี ญาณความรู้ว่า สังขารเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข เป็นญาณ อันบุคคลเห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะ เหตุนั้น จึงชื่อว่าทิฏฐิปัตตะ บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุตบุคคล กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ พึงเป็นสัทธาธิมุตก็ได้ เป็นกายสักขี ก็ได้ เป็นทิฏฐิปัตตะก็ได้ ด้วยสามารถแห่งวัตถุโดยปริยาย.

คำว่า พึงเป็น คือ พึงเป็นอย่างไรเล่า?

เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลพึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความ เป็นทุกข์ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง ... เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต บุคคล ๓ จำพวกนี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 341

เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์ประมาณยิ่ง เพราะ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็น อนัตตา สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง ... เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็น กายสักขี บุคคล ๓ จำพวกนี้ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์อย่างนี้.

เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ เมื่อมนสิการโดยความ เป็นสภาพไม่เที่ยง ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง ... เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็น ทิฏฐิปัตตะ บุคคล ๓ จำพวกนี้ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ อย่างนี้ คือ สัทธาธิมุตบุคคล ๑ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ พึง เป็นสัทธาธิมุตก็ได้ เป็นกายสักก็ได้ เป็นทิฏฐิปัตตะก็ได้อย่างนี้.

บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ สัทธาวิมุตบุคคล ๑ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ เป็นสัทธาธิมุตอย่างหนึ่ง เป็นกายสักขีอย่างหนึ่ง เป็น ทิฏฐิปัตตะอย่างหนึ่ง เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มี ประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง จึงเป็นสัทธาธิมุตบุคคล เมื่อ มนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มี ประมาณยิ่ง จึงเป็นกายสักขีบุคคล เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง จึงเป็นทิฏฐิปัตตบุคคล บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุตบุคคล ๑ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ เป็นสัทธาธิมุตอย่างหนึ่ง เป็นกายสักขีอย่างหนึ่ง เป็น ทิฏฐิปัตตะอย่างหนึ่ง อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 342

[๔๙๓] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มี ประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นสัทธานุสารีบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตาม สัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย การเจริญอินทรีย์ ๔ ย่อมมีด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ก็ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้โสดาปัตติมรรคด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ บุคคล ทั้งหมดนั้นเป็นสัทธานุสารีบุคคล เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้ง โสดาปัตติผล เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นสัทธาธิมุตบุคคล อินทรีย์ ที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นสัทธาธิมุตบุคคล เมื่อ มนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้สกทาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งสกทาคามิผล ได้อนาคามิมรรคทำให้แจ้งอนาคามิผล ได้อรหัตตมรรคทำให้แจ้งอรหัตตผล เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นสัทธาธิมุตบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตาม สัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ฯลฯ สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทำให้ แจ้งอรหัตตผลด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นสัทธาธิมุต.

[๔๙๔] เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้น

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 343

ท่านจึงกล่าวว่า เป็นกายสักขีบุคคล อินทรีย์ที่ไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย ... สัมปยุตตปัจจัย การเจริญอินทรีย์ ๔ ย่อมมีด้วย สามารถแห่งสมาธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้โสดาปัตติมรรคด้วย สามารถแห่งสมาธินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความ เป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคล จึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ฯลฯ ได้สกทาคามิมรรค ทำให้แจ้งสกทาคามิผล ได้อนาคามิมรรค ทำให้แจ้งอนาคามิผล ได้อรหัตตมรรค ทำให้แจ้งอรหัตตผล เพราะเหตุนั้นจึงกล่าวว่า เป็นกายสักขีบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์ นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย ... สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคล เจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้งอรหัตตผลด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นกายสักขี.

[๔๙๕] เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์ มีประมาณ ยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุ นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นธรรมานุสารีบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์ นั้นมี ๔ ฯลฯ สัมปยุตตปัจจัย การเจริญอินทรีย์ ๔ ย่อมมีได้ด้วยสามารถแห่ง ปัญญินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้โสดาปัตติมรรคด้วยสามารถแห่ง ปัญญินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นธรรมานุสารี เมื่อมนสิการโดยความเป็น อนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึง ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นทิฏฐิปัตตบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ ฯลฯ สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ก็บุคคล เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ บุคคล

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 344

ทั้งหมดนั้นเป็นทิฏฐิปัตตะ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์ มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้สกทาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งสกทาคามิผล ได้อนาคามิมรรค ทำให้แจ้งอนาคามิผล ได้ อรหัตตมรรค ทำให้แจ้งอรหัตตผล เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นทิฏฐิปัตตบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคล เจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้งอรหัตตผลด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็น ทิฏฐิปัตตะ.

[๔๙๖] ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญ ซึ่งเนกขัมมะ บรรลุแล้ว ย่อมบรรลุ หรือจักบรรลุ ถึงแล้ว ย่อมถึง หรือ จักถึง ได้แล้ว ย่อมได้ หรือจักได้ แทงตลอดแล้ว ย่อมแทงตลอด หรือจัก แทงตลอด ทำให้แจ้งแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้ว ย่อมถูกต้อง หรือจักถูกต้อง ถึงความชำนาญแล้ว ย่อมถึงความชำนาญ หรือ จักถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จแล้ว ย่อมถึงความสำเร็จ หรือจักถึงความ สำเร็จ ถึงความแกล้วกล้าแล้ว ย่อมถึงความแกล้วกล้า หรือจักถึงความแกล้ว กล้า บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขี ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์.

[๔๙๗] บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญ ซึ่งความไม่พยาบาท ฯลฯ อาโลกสัญญา ความไม่ฟุ้งซ่าน การกำหนดธรรม ญาณความปราโมทย์ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาญัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญา-

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 345

นาสัญญายตนสมาบัติ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา นิพพิทานุปัสสนา วิราคานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนา ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ขยานุปัสสนา วิปริณามานุปัสสนา อนิมิตตานุปัสสนา อัปปณิหิตานุปัสสนา สุญญตานุปัสสนาอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา ยถาภูตญาณทัสนะอาทีนวานุปัสสนา ปฏิสังขานุปัสสนา วิวัฏฏนานุปัสสนา โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค.

ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญ ซึ่ง สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญ ซึ่งวิโมกข์ ๘ บรรลุแล้ว ย่อมบรรลุ หรือจักบรรลุ ถึงแล้ว ย่อมถึงหรือจัก ถึง ได้แล้ว ย่อมได้ หรือจักได้ แทงตลอดแล้ว ย่อมแทงตลอด หรือ จักแทงตลอด ทำให้แจ้งแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้ว ย่อมถูกต้อง หรือจักถูกต้อง ถึงความชำนาญแล้ว ย่อมถึงความชำนาญ หรือ จักถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จแล้ว ย่อมถึงความสำเร็จ หรือจักถึงความ สำเร็จ ถึงความแกล้วกล้าแล้ว ย่อมถึงความแกล้วกล้า หรือจักถึงความ แกล้วกล้า บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์.

[๔๙๘] ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง บรรลุแล้ว ย่อมบรรลุ หรือ จักบรรลุซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ ฯลฯ บุคคลทั้งหมดนั้น เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถ แห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะแล้ว ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์.

ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งแทงตลอดแล้ว ย่อมแทงตลอด หรือจัก แทงตลอดซึ่งวิชชา ๓ ฯลฯ บุคคลทั้งหมดนั้น เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่ง

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 346

สัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งสมาธินทริย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วย สามารถแห่งปัญญินทรีย์.

ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งศึกษาแล้ว ย่อมศึกษา หรือจักศึกษาซึ่ง สิกขา ๓ ทำให้แจ้งแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้ว ย่อม ถูกต้อง หรือจักถูกต้อง ถึงความชำนาญแล้ว ย่อมถึงความชำนาญ หรือจัก ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จแล้ว ย่อมถึงความสำเร็จ หรือจักถึงความสำเร็จ ถึงความแกล้วกล้าแล้ว ย่อมถึงความแกล้วกล้า หรือจักถึงความแกล้วกล้า บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วย สามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์.

ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรค บุคคลทั้งหมดนั้น เป็นสัทธาธิมุต ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยสามารถแห่ง ปัญญินทรีย์.

[๔๙๙] การแทงตลอดสัจจะ ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อม แทงตลอดสัจจะด้วยอาการเท่าไร.

การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๔ บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะ ด้วยอาการ ๔ คือ บุคคลย่อมแทงตลอดทุกขสัจเป็นการแทงตลอดด้วยปริญญา แทงตลอดสมุทยสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยปหานะ แทงตลอดนิโรธสัจ เป็น การแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา แทงตลอดมรรคสัจ เป็นการแทงตลอดด้วย ภาวนา การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๔ นี้ บุคคลแทงตลอดสัจจะ ด้วยอาการ ๔ นี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขี ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 347

การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมแทงตลอด สัจจะด้วยอาการเท่าไร.

การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๙ บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะ ด้วยอาการ ๙ คือ ย่อมแทงตลอดทุกขสัจ เป็นการแทนตลอดด้วยปริญญา แทงตลอดสมุทยสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา แทงตลอดมรรคสัจ เป็นการแทงตลอดสมุทยสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา แทงตลอด มรรคสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยภาวนา การแทงตลอดด้วยการเจริญมรรคสัจ การแทงตลอดด้วยอาการกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง การแทงตลอดด้วยการละสังขาร ทั้งปวง การแทงตลอดด้วยการเจริญกุศลทั้งปวง และการแทงตลอดด้วยการ ทำให้แจ้งมรรค ๔ แห่ง นิโรธ การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๙ นี้ บุคคลแทงตลอดสัจจะด้วยอาการ ๙ นี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่ง สัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยสามารถ แห่งปัญญินทรีย์.

จบทุติยภาณวาร

[๕๐๐] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา สังขารย่อมปรากฏอย่างไร.

เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สังขารย่อมปรากฏโดยความ สิ้นไป เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สังขารย่อมปรากฏโดยความเป็นของ น่ากลัว เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สังขารย่อมปรากฏโดยความเป็น ของว่างเปล่า.

เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดย ความเป็นอนัตตา จิตย่อมมากด้วยอะไร.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 348

เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง จิตย่อมมากด้วยความน้อมใจ เชื่อ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตย่อมมากด้วยความสงบ เมื่อมนสิการ โดยความเป็นอนัตตา จิตย่อมมากด้วยความรู้.

บุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยความน้อมใจ เชื่อ มนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยความสงบ มนสิการโดยความ เป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วยความรู้ ย่อมโดยวิโมกข์เป็นไฉน.

บุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยความน้อมใจ เชื่อ ย่อมได้อนิมิตตวิโมกข์ มนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยความ สงบ ย่อมได้อัปปณิหิตวิโมกข์ มนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วย ความรู้ ย่อมได้สุญญตวิโมกข์.

[๕๐๑] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยความ น้อมใจเชื่อ วิโมกข์อะไรเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้น มีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย มีกิจอันเดียวกันชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ากระไร ใครเจริญ.

เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยความสงบ วิโมกข์อะไร เป็นใหญ่ ... ใครเจริญ.

เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วยความรู้ วิโมกข์อะไร เป็นใหญ่ ... ใครเจริญ.

เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยความน้อมใจ เชื่อ อนิมิตตวิโมกขเป็นใหญ่วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอนิมิตตวิโมกข์นั้น มี ๒ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย ... มีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถ

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 349

ว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ผู้ใดปฏิบัติชอบ ผู้นั้นเจริญ การเจริญวิโมกข์ย่อม ไม่มีแก่บุคคลผู้ปฏิบัติผิด.

เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์เป็นผู้มากด้วยความสงบ อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอัปปณิหิตวิโมกข์นั้นมี ๒ ทั้ง เป็นสหชาตปัจจัย ... การเจริญวิโมกข์ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด.

เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วยความรู้ สุญญตวิโมกข์ เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสุญญตวิโมกข์นั้นมี ๒ ทั้งเป็นสหชาต ปัจจัย ... การเจริญวิโมกข์ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด.

[๕๐๒] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นผู้มากด้วยความ น้อมใจเธอ วิโมกข์อะไรเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้น มีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย มิกิจเป็นอันเดียวกันชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ในเวลา แทงตลอด วิโมกข์ไหนเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการแทงตลอดที่เป็นไปตามวิโมกข์ นั้นมีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย มีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ากระไร ชื่อว่าปฏิเวธ เพราะอรรถว่ากระไร.

เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยความสงบ วิโมกข์อะไร เป็นใหญ่ ... ชื่อว่าปฏิเวธ เพราะอรรถว่ากระไร.

เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วยความรู้ วิโมกข์อะไร เป็นใหญ่ ... ชื่อว่าปฏิเวธ เพราะอรรถว่ากระไร.

เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยความน้อมใจ เชื่อ อนิมิตตวิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนา ที่เป็นไปตามอนิมิตตวิโมกข์

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 350

นั้น มี ๒ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตปัจจัย มีกิจเป็นอันเดียวกัน แม้ในเวลาแทงตลอด อนิมิตตวิโมกข์ก็เป็นใหญ่ วิโมกข์ แห่งการแทงตลอดที่เป็นไปตามอนิมิตตวิโมกข์นั้นก็มี ๒ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย มีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่า ภาวนา เพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าปฏิเวธ เพราะอรรถว่าเห็น แม้บุคคลผู้แทงตลอดอย่างนี้ก็ชื่อว่าเจริญ แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าแทงตลอด.

เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยความสงบ อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอัปปณิหิตวิโมกข์นั้น มี ๒ ทั้ง เป็นสหชาตปัจจัย ... มีกิจเป็นอันเดียวกัน แม้ในเวลาแทงตลอด อัปปณิหิตวิโมกข์ก็เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการแทงตลอดที่เป็นไปตามอัปปณิหิตวิโมกข์นั้น ก็มี ๒ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าแทงตลอด.

เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วยความรู้ สุญญตวิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสุญญตวิโมกข์นั้น มี ๒ ทั้งเป็น สหชาตปัจจัย ... มีกิจเป็นอันเดียวกัน แม้ในเวลาแทงตลอด สุญญตวิโมกข์ ก็เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการแทงตลอดที่เป็นไปตามสุญญตวิโมกข์นั้นก็มี ๒ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย ... แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าแทงตลอด.

[๕๐๓] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง วิโมกข์อะไรมี ประมาณยิ่ง เพราะวิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อ มนสิการโดยความเป็นทุกข์ วิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะวิโมกข์อะไร มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา วิโมกข์ อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะวิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 351

เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง อนิมิตตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง เพราะอนิมิตตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดย ความเป็นทุกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง เพราะอัปปณิหิตวิโมกข์มี ประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สุญญตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง เพราะสุญญตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ.

[๕๐๔] บุคคลเชื่อน้อมใจไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัทธาธิมุตบุคคล บุคคลทำให้แจ้ง เพราะเป็นผู้ถูกต้องธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ากายสักขีบุคคล บุคคลถึงแล้วเพราะเป็นผู้เห็นธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าทิฏฐิปัตตบุคคล บุคคลเชื่อย่อมน้อมใจไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัทธาธิมุตบุคคล บุคคลถูกต้องฌานก่อน ภายหลังจึงทำให้แจ้งนิพพานอันเป็นที่ดับ เพราะเหตุ นั้น จึงชื่อว่ากายสักขีบุคคล ญาณความรู้ว่า สังขารเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข เป็นญาณอันบุคคลเห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว ด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าทิฏฐิปัตตบุคคล.

ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้วหรือจักเจริญซึ่งเนกขัมมะ ฯลฯ บุคคลทั้งหมดนั้น เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งอนิมิตวิโมกข์ เป็นกายสักขี ด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญซึ่งความไม่พยาบาท อาโลกสัญญา ฯลฯ ความไม่ฟุ้งซ่าน.

ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรค บุคคลทั้งหมดนั้น เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยสามารถแห่ง สุญญตวิโมกข์.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 352

[๕๐๕] การแทงตลอดสัจจะ ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อม แทงตลอดสัจจะได้ด้วยอาการเท่าไร.

การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๔ บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะ ได้ด้วยอาการ ๔ คือ ย่อมแทงตลอดทุกขสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยปริญญา แทงตลอดสมุทยสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยปหานะ แทงตลอดนิโรธสัจเป็น การแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา แทงตลอดมรรคสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยภาวนา การแทงตลอดสัจจะย่อมมีด้วยอาการ ๔ นี้ บุคคลแทงตลอดสัจจะ ด้วยอาการ ๔ นี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถ แห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์. การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมแทงตลอด สัจจะได้ด้วยอาการเท่าไร.

การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๙ บุคคลย่อมแทงตลอด สัจจะได้ด้วยอาการ ๙ คือ ย่อมแทงตลอดทุกขสัจ เป็นการแทงตลอดด้วย ปริญญา ฯลฯ และการแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งซึ่งมรรค ๔ แห่งนิโรธ

การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๙ นี้ บุคคลแทงตลอดสัจจะด้วยอาการ ๙ นี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถ แห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์.

[๕๐๖] เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมรู้ย่อม เห็นธรรมเหล่าไหนตามความเป็นจริง สัมมาทัศนะ ความเห็นชอบย่อมมีได้ อย่างไร สังขารทั้งปวงเป็นสภาพอันบุคคลเห็นดีแล้ว โดยความเป็นสภาพ ไม่เที่ยง ด้วยความเป็นไปตามสัมมาทัศนะนั้น อย่างไร บุคคลย่อมละความ สงสัยได้ที่ไหน.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 353

เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมรู้ย่อมเห็นธรรมเหล่าไหน ตามความเป็นจริง ความเห็นชอบย่อมมีได้อย่างไร สังขารทั้งปวงเป็นสภาพ อันบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นทุกข์ ...

เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมรู้ย่อมเห็นธรรมเหล่าไหน ตามความเป็นจริง ความเห็นชอบย่อมมีได้อย่างไร ธรรมทั้งปวงเป็นธรรมอัน บุคคลเห็นดีแล้ว โดยความเป็นอนัตตา ด้วยความเป็นไปตามสัมมาทัศนะนั้น อย่างไร บุคคลย่อมละความสงสัยได้ในที่ไหน.

เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมรู้ ย่อมเห็นนิมิต ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า สัมมาทัศนะ สังขารทั้งปวง เป็นสภาพอันบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ด้วยความเป็นไปตาม สัมมาทัศนะนั้นอย่างนี้ บุคคลย่อมละความสงสัยได้ในสัมมาทัศนะนี้.

เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมรู้ย่อมเห็นความเป็นไป ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าสัมมาทัศนะ สังขารทั้งปวงเป็น สภาพอันบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นทุกข์ ด้วยความเป็นไปตามสัมมาทัศนะ นั้นอย่างนี้ บุคคลย่อมละความสงสัยได้ในสัมมาทัศนะนี้.

เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมรู้ย่อมเห็นนิมิตและ ความเป็นไป ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า สัมมาทัศนะ ธรรมทั้งปวงเป็นธรรมอันบุคคลเห็นดีแล้ว โดยความเป็นอนัตตา ด้วยความ เป็นไปตามสัมมาทัศนะนั้น อย่างนี้ บุคคลย่อมละความสงสัยได้ในสัมมาทัศนะนี้.

ธรรมเหล่านี้ คือ ยถาภูตญาณ สัมมาทัศนะ และกังขาวิตรณะ (ปัญญา เครื่องข้ามความสงสัย) มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถ อย่างเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 354

ธรรมเหล่านี้ คือ ยถาภูตญาณ สัมมาทัศนะ และกังขาวิตรณะ มี อรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.

[๕๐๗] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา อะไรย่อมปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว.

เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง นิมิตย่อมปรากฏโดยความ เป็นของน่ากลัว เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเป็นไปย่อมปรากฏโดย ความเป็นของน่ากลัว เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ทั้งนิมิตและความ เป็นไป ย่อมปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว.

ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว อาทีนวญาณ และนิพพิทา มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน หรือมี อรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.

ธรรมเหล่านั้น คือ ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว อาทีนวญาณ และนิพพิทา มีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.

ธรรมเหล่านี้ คือ อนัตตานุปัสสนา และสุญญตานุปัสสนา มีอรรถต่าง กันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.

ธรรมเหล่านี้ คือ อนัตตานุปัสสนา และสุญญตานุปัสสนา มีอรรถ อย่างเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.

[๕๐๘] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ญาณ คือ การพิจารณาอะไรย่อมเกิดขึ้น.

เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ญาณ คือ การพิจารณานิมิต ย่อมเกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ญาณ คือ การพิจารณาความ

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 355

เป็นไปย่อมเกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ญาณ คือ การพิจารณา ทั้งนิมิตและความเป็นไปย่อมเกิดขึ้น.

ธรรมเหล่านี้ คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ และ สังขารุเปกขาญาณ มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่าง เดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.

ธรรมเหล่านี้ คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ และ สังขารุเปกขาญาณ มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.

เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดย ความเป็นอนัตตา จิตย่อมออกไปจากอะไร ย่อมแล่นไปในที่ไหน.

เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง จิตย่อมออกไปจากนิมิต ย่อมแล่นไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตย่อม ออกไปจากความเป็นไป ย่อมแล่นไปในนิพพานอันไม่มีความเป็นไป เมื่อ มนสิการโดยความเป็นอนัตตา จิตย่อมออกไปจากนิมิตและความเป็นไป ย่อม แล่นไปในนิพพานธาตุอันเป็นที่ดับ ซึ่งไม่มีนิมิต ไม่มีความเป็นไป.

ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในความออกไปและความหลีกไปภายนอก และโครตภูธรรม มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียว กันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.

ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในความออกไปและความหลีกไปภายนอก และโคตรภูธรรม มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.

เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ย่อมหลุดพ้นไปด้วยวิโมกข์อะไร.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 356

เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมหลุดพ้นไปด้วย อนิมิตตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมหลุดพ้นไปด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมหลุดพ้นไปด้วยสุญญตวิโมกข์.

ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในความออกไปและความหลีกไปจากส่วน ทั้งสองและมรรคญาณ มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่าง เดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.

ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในความออกไปและความหลีกไปจากส่วน ทั้งสอง และมรรคญาณมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.

[๕๐๙] วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการเท่าไร ย่อมมีใน ขณะเดียวกันด้วยอาการเท่าไร.

วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ ย่อมมีในขณะเดียวกัน ด้วยอาการ ๗.

วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ เป็นไฉน.

วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ คือ ด้วยความเป็นใหญ่ ๑ ด้วยความตั้งมั่น ๑ ด้วยความน้อมจิตไป ๑ ด้วยความนำออกไป ๑.

วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความเป็นใหญ่อย่างไร.

เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง อนิมิตตวิโมกข์ ย่อมเป็นใหญ่ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ ย่อมเป็นใหญ่ เมื่อมนสิการ โดยความเป็นอนัตตา สุญญตวิโมกข์ ย่อมเป็นใหญ่ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีใน ขณะต่างกันด้วยความเป็นใหญ่อย่างนี้.

วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความตั้งมั่นอย่างไร.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 357

บุคคลเมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วย สามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมตั้งจิตไว้มั่น ด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อม ตั้งจิตไว้มั่นด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกัน ด้วยความตั้งมั่นอย่างนี้.

วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความน้อมจิตไปอย่างไร.

บุคคลเมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมน้อมจิตไปด้วย สามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมน้อมจิตไป ด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อม น้อมจิตไปด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วย ความน้อมจิตไปอย่างนี้.

วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความนำออกไปอย่างไร.

บุคคลเมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมนำจิตออกไปสู่ นิพพานอันเป็นที่ดับ ด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความ เป็นทุกข์ ย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ด้วยสามารถแห่งอัปปณิ- หิตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานอัน เป็นที่ดับด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วย ความนำออกไปอย่างนี้ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ นี้.

[๕๑๐] วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ ๗ เป็นไฉน.

วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ ๗ คือ ด้วยความประชุม ลง ๑ ด้วยความบรรลุ ๑ ด้วยความได้ ๑ ด้วยความแทงตลอด ๑ ด้วยความ ทำให้แจ้ง ๑ ด้วยความถูกต้อง ๑ ด้วยความตรัสรู้ ๑.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 358

วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกัน ด้วยความประชุมลง ด้วยความ บรรลุ ด้วยความได้ ด้วยความแทงตลอด ด้วยความทำให้แจ้ง ด้วยความ ถูกต้อง ด้วยความตรัสรู้ อย่างไร.

บุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมพ้นจากนิมิต เพราะ เหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลย่อมพ้นจากอารมณ์ใด ย่อม ไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ บุคคลไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์ใด เป็นผู้ว่างเปล่าจากอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิตเพราะนิมิตว่างเปล่าด้วยวิโมกข์ ใด เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีใน ขณะเดียวกัน ด้วยความประชุมลง ... ด้วยความตรัสรู้อย่างนี้ บุคคลมนสิการ โดยความเป็นทุกข์ ย่อมพ้นจากความปรารถนาอันเป็นที่ตั้ง เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ บุคคลไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์ใด เป็นผู้ว่างเปล่า จากอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์ บุคคลไม่มี นิมิตเพราะนิมิตว่างเปล่าด้วยวิโมกข์ใด เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็น อนิมิตตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิตเพราะนิมิตใดไม่ตั้งอยู่ในนิมิตนั้น เพราะ เหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกัน ด้วยความประชุมลง ... ด้วยความตรัสรู้อย่างนี้ บุคคลมนสิการโดยความเป็น อนัตตา ย่อมพ้นจากความยึดมั่น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิตเพราะนิมิตว่างเปล่าด้วยวิโมกข์ใด เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิต เพราะนิมิตใด ไม่ตั้งอยู่ ในนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ บุคคลไม่ตั้ง อยู่ในอารมณ์ใด เป็นผู้ว่างเปล่าจากอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึง

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 359

เป็นสุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกัน ด้วยความประชุมลง ... ด้วยความตรัสรู้อย่างนี้ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ ๗ นี้.

[๕๑๑] วิโมกข์มีอยู่ ธรรมอันเป็นประธานมีอยู่ ธรรมอันเป็น ประธานแห่งวิโมกข์มีอยู่ ธรรมอันเป็นข้าศึกแก่วิโมกข์มีอยู่ ธรรมอันอนุโลม ต่อวิโมกข์มีอยู่ วิโมกข์วิวัฏมีอยู่ การเจริญวิโมกข์มีอยู่ ความสงบระงับแห่ง วิโมกข์มีอยู่.

วิโมกข์เป็นไฉน คือ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์.

สุญญตวิโมกข์เป็นไฉน อนิจจานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่น โดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สุญญตวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่น โดยความเป็นสุข ... อนัตตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความเป็นตัวตน ... นิพพิทานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้น จากความยึดมั่นโดยความเพลิดเพลิน ... วิราคานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากความ ยึดมั่นโดยความกำหนัด ... นิโรธานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดย เป็นเหตุเกิด ... ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความ ถือมั่น ... อนิมิตตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความเป็นนิมิต ... อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความเป็นที่ตั้ง ... สุญญตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นทุกอย่าง ... ญาณ คือ การ พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความเป็นสภาพ เที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณา เห็นความว่างเปล่าในรูป ย่อมพ้นจากความยึดมั่นทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 360

ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ ย่อมพ้น จากความยึดมั่นโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในชราและมรณะ. ย่อมพ้น จากความยึดมั่นทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ นี้เป็นสุญญตวิโมกข์.

[๕๑๒] อนิมิตตวิโมกข์เป็นไฉน อนิจจานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจาก เครื่องหมายโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็นสุข ... อนัตตานุ- ปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็นตัวตน ... นิพพิทานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเพลิดเพลิน ... วิราคานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความกำหนัด ... นิโรธานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจาก เครื่องหมายโดยความเป็นเหตุเกิด ... ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจาก เครื่องหมายโดยความถือมั่น ... อนิมิตตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมาย ทุกอย่าง ... อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็น ที่ตั้ง ... สุญญตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความยึดมั่น ... ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดย ความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความมีนิมิตในรูป ย่อมพ้นจากนิมิตทุกอย่าง ... ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้งในรูป ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็น ที่ตั้ง ... ญาณ คือ ก็พิจารณาเห็นความว่าเปล่าในรูป ย่อมพ้นจากเครื่อง หมายโดยความยึดมั่น ... ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 361

ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ ย่อม พ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่มีนิมิตในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากนิมิตทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้งในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดย ความเป็นที่ตั้ง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณา เห็นความว่างเปล่าในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความยึดมั่น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ นี้เป็นอนิมิตตวิโมกข์.

[๕๑๓] อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นไฉน อนิจจานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้น จากที่ตั้งโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความเป็นสุข ... อนัตตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความเป็นตัวตน ... นิพพิทานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจาก ที่ตั้งโดยความเพลิดเพลิน ... วิราคานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความ กำหนัด ... นิโรธานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความเป็นเหตุเกิด ... ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งไว้โดยความถือมั่น ... อนิมิตตานุ- ปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความเป็นเครื่องหมาย ... อัปปณิหิตานุปัสสนา-. ญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งทุกอย่าง ... สุญญตานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้ง โดยความยึดมั่น ... ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ย่อมพ้น จากที่ตั้งโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้งในรูป ย่อมพ้นจากที่ตั้ง ทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณา เห็นความว่างเปล่าในรูป ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความยึดมั่น เพราะเหตุนั้น

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 362

จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ ย่อมพ้น จากที่ตั้งโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้งในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากที่ตั้ง ทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณา เห็นความว่างเปล่าในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความยึดมั่น เพราะ เหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ นี้เป็นอัปปณิหิตวิโมกข์.

[๕๑๔] ธรรมอันเป็นประธานเป็นไฉน ธรรมอันเป็นไปในฝักฝ่าย ความตรัสรู้ เป็นกุศล ไม่มีโทษ เกิดในมรรควิโมกข์นั้น นี้ธรรมอันเป็น ประธาน.

ธรรมอันเป็นประธานแห่งวิโมกข์เป็นไฉน นิพพานอันเป็นที่ดับ เป็น อารมณ์ของธรรมเหล่านั้น นี้เป็นธรรมอันเป็นประธานแห่งวิโมกข์.

ธรรมอันเป็นข้าศึกแก่วิโมกข์เป็นไฉน อกุศลมูล ๓ ทุจริต ๓ อกุศลธรรมแม้ทุกอย่าง เป็นข้าศึกแก่วิโมกข์ นี้ธรรมอันเป็นข้าศึกแก่วิโมกข์.

ธรรมอันอนุโลมต่อวิโมกข์เป็นไฉน กุศลมูล ๓ สุจริต ๓ กุศลธรรม แม้ทุกอย่าง เป็นธรรมอันอนุโลมต่อวิโมกข์ นี้ธรรมอันอนุโลมต่อวิโมกข์.

[๕๑๕] วิโมกขวิวัฏเป็นไฉน สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ สัจจวิวัฏ บุคคลหมายรู้หลีกออกไป เพราะเหตุนั้น จึงเป็นสัญญาวิวัฏ บุคคลคิดอยู่หลีกออกไป เพราะเหตุนั้น จึงเป็นเจโตวิวัฏ บุคคลรู้แจ้งหลีกออกไป เพราะเหตุนั้น จึงเป็นจิตตวิวัฏ บุคคลทำความรู้ หลีกออกไป เพราะเหตุนั้น จึงเป็นญาณวิวัฏ บุคคลปล่อยวางหลีกออกไป เพราะเหตุนั้น จึงเป็นวิโมกขวิวัฏ บุคคลหลีกออกไปในธรรมอันมีความถ่องแท้ เพราะเหตุนั้น จึงเป็นสัจจวิวัฏ สัญญาวิวัฏมีในที่ใด เจโตวิวัฏก็มีในที่นั้น

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 363

เจโตวิวัฏมีในที่ใด สัญญาวิวัฏก็มีในที่นั้น สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏมีในที่ใด จิตตวิวัฏก็มีในที่นั้น จิตตวิวัฏมีในที่ใด สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏก็มีในที่นั้น สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฎมีในที่ใด ญาณวิวัฏก็มีในที่นั้น ญาณวิวัฏมี ในที่ใด สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏก็มีในที่นั้น สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏมีในที่ใด วิโมกขวิวัฏก็มีในที่นั้น วิโมกขวิวัฏมีในที่ใด สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏก็มีในที่นั้น สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏมีในที่ใด สัจจวิวัฏมีในที่นั้น สัจจวิวัฏมี ในที่ใด สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏก็มีในที่นั้น นี้เป็นวิโมกขวิวัฏ.

[๕๑๖] การเจริญวิโมกข์เป็นไฉน การเสพ การเจริญ การทำให้มาก ซึ่งปฐมฌาน ... ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... อากาสานัญจายตนสมาบัติ ... วิญญานัญจายตนสมาบัติ ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ ... เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ... โสดาปัตติมรรค ... สกทาคามิมรรค ... อนาคามิมรรค ... การเสพ การเจริญ การทำให้มากซึ่งอรหัตตมรรค นี้เป็นการ เจริญวิโมกข์.

ความสงบระงับแห่งวิโมกข์เป็นไฉน การได้หรือวิบากแห่งปฐมฌาน ... ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญนาสัญญายตนสมาบัติ โสดาปัตติผลแห่งโสดาปัตติมรรค สกทาคามิผลแห่งสกทาคามิมรรค อนาคามิผล แห่งอนาคามิมรรค อรหัตตผลแห่งอรหัตตมรรค นี้เป็นความสงบระงับแห่ง วิโมกข์.

จบตติยภาณวาร

จบวิโมกขกถา

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 364

วิโมกขกถา

อรรถกถาวิโมกขุเทศ

บัดนี้ ถึงคราวที่จะพรรณนาไปตามลำดับ ความที่ยังไม่เคยพรรณนา แห่งวิโมกขกถา ซึ่งท่านกล่าวในลำดับอินทริยกถา. จริงอยู่ วิโมกขกถานี้ ท่านกล่าวในลำดับอินทริยกถา เพราะผู้ประกอบอินทริยภาวนาเป็นผู้ได้วิโมกข์- ก็พระสารีบุตรเถระเมื่อกล่าววิโมกขกถานั้น ทำสุตตันตเทศนาให้เป็นหัวหน้า แล้วกล่าวเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้น ดังต่อไปนี้. ในบทมีอาทิว่า สุญฺโต วิโมกฺโข ได้แก่ อริยมรรคอันเป็นไป เพราะทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ โดยอาการแห่งความเป็นของสูญ ชื่อว่า สุญญตวิโมกข์. สุญญตวิโมกข์นั้น ชื่อว่า สุญญตะ เพราะเกิดธาตุสูญ. ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะพ้นจากกิเลส ทั้งหลาย.

โดยนัยนี้นั่นแหละพึงทราบว่า วิโมกข์เป็นไปเพราะทำนิพพานให้เป็น อารมณ์ โดยอาการหานิมิตมิได้ ชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์. วิโมกข์เป็นไป เพราะทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ โดยอาการไม่มีที่ตั้ง ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์.

ภิกษุรูปหนึ่งพิจารณาสังขารทั้งหลาย โดยความไม่เที่ยงแต่ต้นนั่นเอง อนึ่ง เพราะเพียงพิจารณาด้วยความไม่เที่ยงเท่านั้น ยังไม่เป็นการออกไปแห่ง มรรค ควรพิจารณาโดยความเป็นทุกข์บ้าง โดยความเป็นอนัตตาบ้าง. หาก เมื่อภิกษุนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นการออกไปแห่งมรรค ในกาลที่ พิจารณาโดยความไม่เที่ยง ภิกษุนี้ชื่อว่าอยู่โดยความไม่เที่ยง แล้วออกไปโดย

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 365

ความไม่เที่ยง. อนึ่ง หากว่าการออกไปแห่งมรรค ในกาลที่ภิกษุนั้นพิจารณา โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ภิกษุนี้ชื่อว่า อยู่โดยความไม่เที่ยง แล้วออกไปโดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา. แม้ในการอยู่โดยความ เป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตาแล้วออกไป ก็มีนัยนี้.

อนึ่ง ในอุเทศนี้ แม้ภิกษุใดอยู่โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา หากในเวลาออกย่อมออกโดยความไม่เที่ยง แม้ทั้ง ๓ นี้ ก็เป็นผู้มากไปด้วยอธิโมกข์ ย่อมได้สัทธินทรีย์ ย่อมพ้นด้วยอนิมิตตวิโมกข์ เป็นผู้ระลึกศรัทธาในขณะปฐมมรรค เป็นผู้พ้นจากศรัทธาในฐานะ ๗. อนึ่ง หากออกไปโดยความเป็นทุกข์ แม้ชนทั้ง ๓ ก็เป็นผู้มากด้วยปัสสัทธิ ย่อมได้ สมาธินทรีย์ ย่อมพ้นด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นกายสักขี (พยานเห็นกับตา ทางกาย) ในที่ทั้งปวง. อนึ่ง อรูปฌานในกายสักขีนี้ เป็นบาทของภิกษุใด ภิกษุนั้นเป็นอุภโตภาควิมุตในผลอันเลิศ แต่นั้นเป็นการออกโดยความเป็น อนัตตาของชนเหล่านั้น. ชนแม้ทั้ง ๓ ก็เป็นผู้มากด้วยความรู้ ย่อมได้ ปัญญินทรีย์ ย่อมพ้นด้วยสุญญตวิโมกข์ เป็นผู้ระลึกถึงธรรมในขณะปฐมมรรค เป็นผู้ถึงทิฏฐิในฐานะ ๖ เป็นผู้พ้นด้วยปัญญาในผลอันเลิศ.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ามรรคย่อมได้ชื่อด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ ด้วย เป็นไปกับหน้าที่ ๑ ด้วยเป็นข้าศึก ๑ ด้วยมีคุณ ๑ ด้วยอารมณ์ ๑ ด้วย การมา ๑. หากภิกษุพิจารณาสังขารโดยความไม่เที่ยง แล้วออกจากความวางเฉย ในสังขาร ย่อมพ้นด้วยอนิมิตตวิโมกข์ หากพิจารณาโดยความเป็นทุกข์แล้ว ออก ย่อมพ้นด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ หากพิจารณาโดยความเป็นอนัตตาแล้ว ออก ย่อมพ้นด้วยสุญญตวิโมกข์ นี้ชื่อว่าเป็นชื่อโดยความเป็นไปกับหน้าที่.

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 366

อนึ่ง วิโมกข์ชื่อว่า อนิมิตตะ เพราะทำการแยกความเป็นฆนะ (ก้อน) ของสังขารทั้งหลายด้วยอนิจจานุปัสสนา แล้วละนิมิตว่าเที่ยง นิมิต ว่ายั่งยืน นิมิตว่าคงที่ออกไปเสีย. ชื่อว่า อัปปณิหิตะ เพราะละสุขสัญญาด้วยทุกขานุ- ปัสสนา แล้วยังความปรารถนาที่ตั้งไว้ให้แห้งไป. ชื่อว่า สุญญตะ เพราะ ละความสำคัญว่าตน สัตว์ บุคคลด้วยอนัตตานุปัสสนา แล้วเห็นสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นของสูญ นี้ชื่อว่าเป็นชื่อโดยความเป็นข้าศึก.

อนึ่ง ชื่อว่า สุญญตะ เพราะความเป็นของสูญจากราคะเป็นต้น ชื่อว่า อนิมิตตะ เพราะไม่มีรูปนิมิตเป็นต้น หรือราคะนิมิตเป็นต้น. ชื่อว่า อัปปณิหิตะ เพราะไม่มีที่ตั้งของราคะเป็นต้น นี้ชื่อว่าเป็นชื่อโดยความมีคุณ ของมรรคนั้น.

มรรคนี้นั้น ย่อมทำนิพพานอันเป็นของสูญ ไม่มีนิมิต ไม่มีที่ตั้ง ให้เป็นอารมณ์ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สุญญตะ อนิมิตตะ อัปปณิหิตะ นี้ชื่อว่าเป็นชื่อโดยความเป็นอารมณ์.

อนึ่ง การมามี ๒ อย่าง คือ วิปัสสนาคมนะ (การมาแห่งวิปัสสนา) ๑ มัคคาคมนะ (การมาแห่งมรรค) ๑.

การมาแห่งวิปัสสนาย่อมได้ในมรรค การมาแห่งมรรคย่อมได้ในผล. เพราะอนัตตานุปัสสนา ชื่อว่า สุญญตะ มรรคแห่งสัญญตวิปัสสนา ชื่อว่า สุญญตะ. ผลแห่งสุญญตมรรค ชื่อว่า สุญญตะ. อนิจจานุปัสสนา ชื่อว่า อนิมิตตะ มรรคแห่งอนิมิตตานุปัสสนา ชื่อว่า อนิมิตตะ. ก็ชื่อนี้ย่อมได้ ด้วยอภิธรรมปริยาย แต่ในสุตตันตปริยายก็ได้ด้วย. จริงอยู่ อาจารย์ทั้งหลาย กล่าวไว้ในสุตตันตปริยายนั้นว่า พระโยคาวจรทำนิพพานอันเป็นโคตรภูญาณ หานิมิตมิได้ให้เป็นอารมณ์ เป็นชื่อที่ไม่มีนิมิตตั้งอยู่ในอาคมนียฐาน (ที่เป็นที่

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 367

มาถึง) เองแล้วให้ชื่อแก่มรรค ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่ามรรคเป็นอนิมิตตะ ควรกล่าวว่า ผลเป็นอนิมิตตะด้วยการมาแห่งมรรค. ทุกขานุปัสสนาชื่อว่า อัปปณิหิตะ เพราะยังการตั้งไว้ในสังขารทั้งหลายให้แห้งไป มรรคแห่งอัปปณิ- หิตวิปัสสนา ชื่อว่า อัปปณิหิตะ. ผลแห่งอัปปณิหิตมรรค ชื่อว่า อัปปณิหิตะ เพราะเหตุนั้น วิปัสสนาย่อมให้ชื่อแห่งมรรคของตนอย่างนี้. มรรคย่อมให้ชื่อ แห่งผล นี้ชื่อว่าเป็นชื่อโดยการมาถึง. พระโยคาวจรย่อมกำหนดคุณวิเศษแห่ง วิโมกข์ จากความวางเฉยในสังขารด้วยประการฉะนี้.

พระสารีบุตรเถระครั้นยกวิโมกข์อันเป็นมหาวัตถุ ๓ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ขึ้นแสดงอย่างนี้ประสงค์จะชี้แจงถึงวิโมกข์ แม้อื่นอีก ด้วยสามารถการชี้แจงวิโมกข์นั้นจึงกล่าวคำมีอาทิว่า อปิจ อฏฺสฏฺี วิโมกฺขา อีกอย่างหนึ่ง วิโมกข์ ๖๘ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อปิจ เป็นบทแสดงถึงปริยายอื่น. วิโมกข์ เหล่านั้นมี ๖๘ ได้อย่างไร มี ๗๕ มิใช่หรือ. มี ๗๕ ตามเสียงเรียกร้องจริงหรือ ไม่ควรนับวิโมกข์ ๓ เหล่านี้ เพราะชี้แจงวิโมกข์อื่นเว้นวิโมกข์ ๓ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วและเพราะกั้นวิโมกข์เหล่านั้น แม้วิโมกข์ ๓ มี อัชฌัตตวิโมกข์เป็นต้นก็ไม่ควรนับ เพราะหยั่งลงภายในด้วยกล่าวโดยพิสดาร ๔ ส่วน อัปปณิหิตวิโมกข์ ในบทนี้ว่า ปณิหิโต วิโมกฺโข อปฺปณิหิโต วิโมกฺโข ปณิหิตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ ก็ไม่ควรนับ เพราะมีชื่ออย่างเดียว กันด้วยการยกขึ้นแสดงเป็นครั้งแรก เมื่อนำวิโมกข์ ๗ อย่างเหล่านี้ออกอย่างนี้ แล้วก็เหลือวิโมกข์ ๖๘. หากถามว่าเมื่อเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุไรจึงยกวิโมกข์ ๓ มีสุญญตวิโมกข์เป็นต้นขึ้นแสดงเล่า. ตอบว่า เพื่อหยิบยกขึ้นโดยอุเทศ แล้วทำการชี้แจงวิโมกข์เหล่านั้น. อนึ่ง วิโมกข์ ๓ มี อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 368

(วิโมกข์มีการออกจากภายใน) เป็นต้น ท่านยกขึ้นแสดงด้วยอำนาจแห่งหมู่ อันเป็นมูลเหตุเว้นประเภทเสีย. พึงทราบแม้อัปปณิหิตวิโมกข์ ท่านก็ยกขึ้น แสดงอีกด้วยอำนาจเป็นปฏิปักษ์ของปณิหิตวิโมกข์.

พึงทราบวินิจฉัยในอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์เป็นต้นดังต่อไปนี้. ชื่อว่า อชฺฌตฺตวุฏฺาโน เพราะออกจากภายใน. ชื่อว่า อนุโลมาเพราะคล้อยตาม ชื่อว่า อชฺฌตฺตวุฏฺานปฏิปฺปสฺสทฺธิ เพราะระงับออกไปแห่งการออกจาก ภายใน. บทว่า รูปี คือ รูปอันเป็นรูปฌานให้เกิดขึ้นในอวัยวะมีผมเป็นต้น ในภายใน ชื่อว่า รูปี เพราะภิกษุมีรูป. บทว่า รูปานิ ปสฺสติ ภิกษุเห็นรูป คือ เห็นรูปมีนีลกสิณเป็นต้นในภายนอกด้วยญาณจักษุ ด้วยบทนี้ท่านแสดงถึง การได้ฌานในกสิณทั้งหลายอันมีวัตถุในภายในและภายนอก. บทว่า อชฺฌตฺตํ อรูปสญฺี คือ ภิกษุไม่มีความสำคัญว่า รูปในภายใน ความว่า มีรูปาวจร ฌานยังไม่เกิดในผมเป็นต้นของตน ด้วยบทนี้ท่านทำบริกรรมในภายนอกแล้ว จึงแสดงฌานที่ได้แล้วในภายนอกนั่นเอง. บทว่า สุภนฺเตว อธิมุตฺโต น้อมใจไปในธรรมส่วนงามเท่านั้น คือ น้อมไปในอารมณ์ ว่างามเท่านั้น. ในบทนั้นความผูกใจว่างามไม่มีในอัปปนาภายในแม้โดยแท้ แต่ภิกษุใดแผ่ สัตตารมณ์ไปโดยอาการเป็นของไม่น่าเกลียดอยู่ เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้น้อมใจ ไปว่างามเท่านั้น ฉะนั้นท่านจึงยกขึ้นแสดงอย่างนี้. ชื่อว่า สมยวิโมกฺโข เพราะมีวิกขัมภนวิมุตติในสมัยที่ยังไม่อิ่มเอิบๆ. ชื่อว่า สามยิโก เพราะ วิโมกข์นั้นประกอบแล้วในสมัยที่ยังไม่อิ่มเอิบด้วยสามารถทำกิจของตน. ปาฐะ ว่า สามายิโก บ้าง. ชื่อว่า กุปฺโป เพราะสามารถกำเริบได้ คือ ทำลายได้. ชื่อว่า โลกิโก เพื่อประกอบไว้ในโลกโดยไม่ก้าวล่วงโลก ปาฐะว่า โลกิโย บ้าง. ชื่อว่า โลกุตฺตโร เพราะข้ามโลก หรือข้ามโลกได้แล้ว. ชื่อว่า สาสโว

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 369

เพราะมีอาสวะด้วยการทำอารมณ์. ชื่อว่า อนาสโว เพราะไม่มีอาลวะด้วยการ ทำอารมณ์และด้วยการประกอบร่วม. ชื่อว่า สามิโส เพราะมีอามิสกล่าวคือรูป. ชื่อว่า นิรามิสา นิรามิสตโร เพราะไม่มีอามิส ยิ่งกว่าไม่มีอามิส เพราะ ละรูปและอรูปได้โดยประการทั้งปวง.

บทว่า ปณิหิโต คือ ตั้งไว้แล้ว ปรารถนาแล้วด้วยอำนาจแห่งตัณหา. ชื่อว่า สญฺุตฺโต เพราะประกอบแล้วด้วยสังโยชน์ด้วยการทำอารมณ์. บทว่า เอกตฺตวิโมกฺโข ได้แก่ วิโมกข์มีสภาพอย่างเดียวกัน เพราะไม่งอกงามด้วย กิเลสทั้งหลาย. บทว่า สญฺาวิโมกฺโข คือ วิปัสสนาญาณนั้นแหละ ชื่อว่า สัญญาวิโมกข์ เพราะพ้นจากสัญญาวิปริต. วิปัสสนาญาณนั้นแหละ ชื่อว่า ญาณวิโมกข์ เพราะวิโมกข์ คือ ญาณนั้นแหละด้วยอำนาจพ้นจากความลุ่มหลง. บทว่า สีติสิยาวิโมกฺโข คือ ความพ้นเป็นไปแล้วว่า วิปัสสนาญาณนั้น แหละพึงเป็นความเย็น ชื่อว่า สีติสิยาวิโมกข์ ปาฐะว่า สีติสิกาวิโมกฺโข บ้าง. อาจารย์ทั้งหลายพรรณนาความแห่งบทนั้นว่า ความพ้นเพราะความเป็น ของเย็น. บทว่า ฌานวิโมกฺโข ได้แก่ วิโมกข์ คือฌานนั้นเองอันมี ประเภทเป็นอุปจาระและอัปปนา และมีประเภทเป็นโลกิยะและโลกุตระ. บทว่า อนุปาทา จิตฺตสฺส วิโมกฺโข ได้แก่ ความพ้นแห่งจิต เพราะไม่ยึดมั่น คือ ไม่ทำการถือ. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาวิโมกขุเทศ

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 370

อรรถกถาวิโมกขนิเทศ

พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งอุเทศ มีอาทิว่า กตโม ดังต่อไปนี้. บทว่า อิติปฏิสญฺจิกฺขติ คือพิจารณาเห็นอย่างนี้. บทว่า สุญฺมิทํ นามรูปนี้ว่าง คือ ขันธบัญจกนี้ว่าง. ว่างจากอะไร ว่างจากความเป็นตัวตน หรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺเตน วา จากความเป็นตัวตน คือ ว่าง จากความเป็นตัวตน เพราะไม่มีตัวตนที่กำหนดว่าเป็นคนพาล. บทว่า อตฺตนิเยน วา จากสิ่งทีเนื่องด้วยตน คือ ว่างจากสิ่งที่เป็นของของตนที่กำหนด ไว้นั้น ความไม่มีสิ่งที่เนื่องด้วยตน เพราะไม่มีของตนนั้นเอง. อนึ่ง ชื่อว่า สิ่งที่เนื่องด้วยตนจะพึงเป็นของเที่ยงหรือพึงเป็นความสุข. แม้ทั้งสองอย่างนั้น ก็ไม่มี. ท่านอธิบายไว้ว่า อนิจจานุปัสสนา ด้วยปฏิเสธสิ่งที่เป็นของเที่ยง ทุกขานุปัสสนา ด้วยปฏิเสธความสุข. บทว่า สุญฺมิทํ อตฺเตนวา นามรูป นี้ว่างจากความเป็นตัวตน ท่านกล่าวถึงอนัตตานุปัสสนานั่นเอง. บทว่า โส คือ ภิกษุนั้นเห็นแจ้งด้วยอนุปัสสนา ๓ อย่างนี้. บทว่า อภินิเวสํ น กโรติ ไม่ทำความยึดมั่น คือ ไม่ทำความยึดมั่นตนด้วยอำนาจแห่งอนัตตานุปัสสนา. บทว่า นิมิตฺตํ น กโรติ ไม่ทำเครื่องกำหนดหมาย คือ ไม่ทำเครื่องกำหนด หมายว่าเที่ยงด้วยอำนาจแห่ง อนิจจานุปัสสนา. บทว่า ปณิธึ น กโรติ ไม่ทำความปรารถนาคือ ไม่ทำความปรารถนาด้วยอำนาจแห่งทุกขานุปัสสนา.

วิโมกข์ ๓ เหล่านี้ย่อมได้ด้วยอำนาจแห่งตทังคะ ในขณะแห่งวิปัสสนา โดยปริยาย แต่ย่อมได้ด้วยอำนาจแห่งสมุจเฉท ในขณะแห่งมรรคโดยตรง. ฌาน ๔ เป็นอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ เพราะออกจากนิวรณ์เป็นต้นในภายใน.

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 371

อรูปสมาบัติ ๔ ชื่อว่า พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ เพราะออกจากอารมณ์ทั้งหลาย แม้อารมณ์ท่านก็กล่าวว่า ภายนอกในบทนี้เหมือนอายตนะภายนอก. วิกขัมภนวิโมกข์สองเหล่านี้ สมุจเฉทวิโมกข์เป็นทุภโตวุฏฐานวิโมกข์.

ท่านกล่าวการออกจากภายในโดยสรุป ด้วยบทมีอาทิว่า นีวรเณหิ วุฏฺา ออกจากนิวรณ์ทั้งหลาย. ด้วยบทมีอาทิว่า รูปสญฺาย จากรูปสัญญา ท่านไม่กล่าวถึงสมาบัตินั้น เพราะการก้าวล่วงอารมณ์มีกสิณเป็นต้น ปรากฏแล้ว จึงกล่าวถึงการก้าวล่วงรูปสัญญาเป็นต้นดังที่ท่านกล่าวแล้วในพระสูตรทั้งหลาย.

บทว่า สกฺกายทิฏฺิ วิจิกิจฺฉา สีลพฺพตปรามาสา เป็นบทสมาส. ตัดบทว่า สกฺกายทิฏฺิกา (จากสักกายทิฏฐิ) วิจิกิจฺฉาย (จากวิจิกิจฉา) สีลพฺพตปรามาสา (จากสีลัพพตปรามาส). นี้แลเป็นปาฐะ.

ด้วยบทว่า วิตกฺโก จ เป็นอาทิ ท่านกล่าวถึงอุปจารภูมิแห่งฌาน และสมาบัติ. ด้วยบทว่า อนิจฺจานุปสฺสนา เป็นอาทิท่านกล่าวถึงวิปัสสนา อันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งมรรค ๔.

บทว่า ปฏิลาโภ วา การได้ ชื่อว่า ปฏิลาโภ เพราะขวนขวาย ปรารถนาได้ด้วยถึงความชำนาญ ๕ อย่าง เพราะความขวนขวายในฌานและ ความขวนขวายในสมาบัติทั้งปวงเป็นความระงับด้วยถึงความชำนาญ ฉะนั้น การได้ท่านจึงกล่าวว่าวิโมกข์เป็นความระงับ. ส่วนวิบากเป็นความระงับฌาน และสมาบัติ เพราะเหตุนั้น จึงตรงทีเดียว. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า การได้ ฌานและสมาบัติเพราะความขวนขวายในอุปจารสงบ เพราะฉะนั้นการได้ฌาน และสมาบัติท่านจึงกล่าวว่า ปฏิปัสสัทธิวิโมกข์ ความพ้นเป็นความระงับ.

บทว่า อชฺฌตฺตํ ในภายใน คือ เป็นไปเพราะเนื่องกับตน. บทว่า ปจฺจตฺตํ เฉพาะตน คือ เป็นไปเฉพาะตน. ท่านแสดงภายในเนื่องด้วยตน

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 372

แม้ด้วยบททั้งสองนั้น. บทว่า นีลนิมิตฺตํ นิมิตสีเขียว คือ สีเขียวนั่นเอง. บทว่า นีลสญฺํ ปฏิลภิ ได้นีลสัญญา คือ ได้สัญญาว่าสีเขียวในนีลนิมิตนั้น. บทว่า สุคฺคหิตํ กโรติ ทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว คือ ทำให้เป็น อันถือไว้ด้วยดีในบริกรรมภูมิ. บทว่า สูปธาริตํ อุปธาเรติ ทรงจำไว้ดีแล้ว คือ ทรงจำทำไว้ด้วยดีในอุปจารภูมิ. บทว่า สฺวาตฺถิตํ อวตฺถาเปติ กำหนด ไว้ดีแล้ว คือ ตัดสินด้วยดีในอัปปนาภูมิ. ปาฐะว่า ววตฺถาเปติ บ้าง. จริงอยู่ ภิกษุเมื่อทำนีลบริกรรมในภายในย่อมทำผมดีหรือดวงตา. บทว่า พหิทฺธา นีลมิตฺเต ในนิมิตสีเขียวภายนอก คือ ในนีลกสิณอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดา ดอกไม้สีเขียว ผ้าสีเขียว ธาตุสีเขียว. บทว่า จิตฺตํ อุปสํหรติ คือน้อมจิต เข้าไป. แม้ในสีเหลืองเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อาเสวติ ย่อมเสพ คือ เสพสัญญานั้นแหละแต่ต้น. บทว่า ภาเวติ คือย่อมเจริญ. บทว่า พหุลีกโรติ ทำให้มากๆ คือทำบ่อยๆ. บทว่า รูปํ ได้แก่ รูปมีนิมิตสีเขียว. บทว่า รูปสญฺี คือ มีความสำคัญว่าเป็นรูป ความสำคัญในรูปนั้น ชื่อว่า รูปสญฺา ชื่อว่า รูปสญฺี เพราะมีรูปเป็นสัญญา.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่ามีนิมิตสีเหลืองในภายในภิกษุเมื่อกระทำ ปีตบริกรรม ย่อมทำในที่มันข้น หรือที่ผิวหรือในที่ตาสีเหลือง เมื่อกระทำโลหิต บริกรรมย่อมทำที่เนื้อ เลือด ลิ้น ฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือในที่ตาสีแดง เมื่อทำ โอทาตบริกรรมย่อมทำที่กระดูก ฟัน เล็บ หรือในที่ตาสีขาว. บทว่า อชฺฌตฺตํ อรูปํ ไม่มีรูปในภายใน ความว่า ไม่มีรูปนิมิตในภายใน.

บทว่า เมตฺตาสหคเตน ประกอบด้วยเมตตา คือประกอบด้วยเมตตา ด้วยอำนาจแห่งปฐมฌานทุติยฌานตติยฌานและจตุตถฌาน. บทว่า เจตสา คือ มีใจ. บทว่า เอกํ ทิสํ ตลอดทิศหนึ่ง ท่านกล่าวหมายถึงสัตว์หนึ่งที่กำหนด

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 373

ครั้งแรกแห่งทิศหนึ่ง ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปยังสัตว์อันไม่เนื่องด้วยทิศ หนึ่ง. บทว่า ผริตฺวา แผ่ไปแล้ว คือถูกต้องทำให้เป็นอารมณ์. บทว่า วิหรติ อยู่ คือยังการอยู่ด้วยอิริยาบถอันตั้งมั่นด้วยพรหมวิหารให้เป็นไป. บทว่า ตถา ทุติยํ ทิศที่สองก็เหมือนกัน คือ แผ่ไปตลอดทิศใดทิศหนึ่งใน บรรดาทิศทั้งหลายมีทิศตะวันออกเป็นต้น ฉันใด ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ อัน เป็นลำดับนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า อิติ อุทฺธํ ทั้งเบื้องบนท่านอธิบาย ว่า ทิศเบื้องบนโดยนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อโธ ติริยํ ทิศเบื้องล่าง เบื้อง ขวาง คือ แม้ทิศเบื้องล่าง แม้ทิศเบื้องขวางก็อย่างนั้นเหมือนกัน.

อนึ่ง ในบทเหล่านั้น บทว่า อโธ คือเบื้องล่าง. บทว่า ติริยํ คือ ทิศน้อย ความว่า ยังจิตสหรคต ด้วยเมตตาให้แล่นไปบ้าง ให้แล่นกลับบ้าง ในทิศทั้งปวง ดุจให้ม้าวิ่งไปวิ่งกลับในบริเวณของม้าฉะนั้น.

ด้วยเหตุเพียงนี้ ท่านกำหนดถือเอาทิศหนึ่งๆ แล้วแสดงการแผ่เมตตา ไปโดยจำกัด. ส่วนบทมีอาทิว่า สพฺพธิ ในที่ทุกสถานท่านกล่าวเพื่อแสดง โดยไม่จำกัด. บทว่า สพฺพธิ คือในที่ทั้งปวง. บทว่า สพฺพตฺตาย ทั่ว สัตว์ทุกเหล่า คือทุกตัวตนในประเภทสัตว์มีเลว ปานกลาง เลิศ มิตร ศัตรู และความเป็นกลางเป็นต้นทั้งปวง อธิบายว่า เพราะไม่ทำการแบ่งแยกว่านี้เป็น สัตว์อื่น เป็นผู้เสมอกับตน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สพฺพตฺตตาย คือโดยความ เป็นผู้มีจิตรวมอยู่ทั้งหมด อธิบายว่า ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกแม้เล็กน้อย. บทว่า สพฺพาวนฺตํ ตลอดโลกคือสัตว์ทุกเหล่า อธิบายว่าประกอบด้วยสัตว์ ทั้งปวง. ปาฐะว่า สพฺพวนฺตํ บ้าง. บทว่า โลกํ ได้แก่ สัตว์โลก อนึ่งใน นิเทศนี้ท่านกล่าวว่า เมตฺตาสหคเตน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอีกเพราะ แสดงปริยายด้วยบทมีอาทิอย่างนี้ว่า วิปุเลน อันไพบูลย์ หรือเพราะในบทนี้

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 374

ท่านไม่กล่าว ตถาศัพท์ หรือ อิติศัพท์ อีก ดุจในการแผ่ไปโดยจำกัด ฉะนั้น ท่านจึงกล่าว บทว่า เมตฺตาสหคเตน เจตสา ด้วยใจประกอบด้วยเมตตา อีก หรือท่านกล่าวบทนี้โดยการสรุป. ในบทว่า วิปุเลน นี้พึงเห็นความ ไพบูลย์ด้วยการแผ่ไป พึงเห็นจิตนั้นถึงความเป็นใหญ่ ด้วยภูมิ. จริงอยู่ จิตนั้น ถึงความเป็นไปใหญ่ เพราะสามารถข่มกิเลสได้ เพราะมีผลไพบูลย์และเพราะ การสืบต่อยาว. อีกอย่างหนึ่ง จิตชื่อว่า มหคฺคตํ เพราะถึง คือ ดำเนินไปด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะและปัญญาอันยิ่งใหญ่. ชื่อว่า อปฺปมาณํ หาประมาณมิ ได้ด้วยสามารถแห่งความคล่องแคล่วและด้วยสามารถแห่งสัตตารมณ์อันประมาณ มิได้. ชื่อว่า อเวรํ ไม่มีเวร เพราะละข้าศึกคือความพยาบาท. ชื่อว่า อพฺยาปชฺฌํ ไม่มีความเบียดเบียนเพราะละโทมนัสเสียได้ ท่านอธิบายว่า ไม่มีทุกข์. บทว่า อปฺปฏิกูลา โหนฺติ สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่เกลียดชัง คือสัตว์ทั้งหลาย ไม่เป็นที่เกลียดชังจิตของภิกษุแล้วย่อมอุปัฏฐาก แม้ในบทที่เหลือพึงประกอบ ด้วย กรุณา มุทิตา และอุเบกขาโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ชื่อว่า ไม่มีเวร เพราะละข้าศึกคือความเบียดเบียนด้วยกรุณา เพราะละข้าศึกคือความริษยาด้วย มุทิตา.

บทว่า อุเปกฺขาสหคเตน คือมีจิตประกอบด้วยอุเบกขาด้วยอำนาจ แห่งจตุตถฌาน. ชื่อว่า ไม่มีเวร เพราะละข้าศึกคือราคะ. ชื่อว่า ไม่เบียดเบียน เพราะละโสมนัสเกี่ยวกับเคหสิต (กามคุณ) อกุศลแม้ทั้งหมดชื่อว่า มีความ เบียดเบียน เพราะประกอบด้วยความเร่าร้อน คือกิเลส นี้เป็นความพิเศษของ บทเหล่านั้น.

บทว่า สพฺพโส คือโดยอาการทั้งปวง หรือแห่งสัญญาทั้งปวง ความ ว่า แห่งสัญญาไม่มีเหลือ. บทว่า รูปสญฺานํ รูปสัญญา คือ รูปาวจรฌาน

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 375

ดังที่กล่าวมาแล้วโดยหัวข้อว่า สัญญา และอารมณ์ของรูปาวจรฌานนั้น. จริงอยู่ แม้รูปาวจรฌานท่านกล่าวว่า รูป ในบทมีอาทิว่า รูปี รูปานิ ปสฺสติ ภิกษุมีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลาย แม้อารมณ์ของรูปาวจรฌานท่าน ก็กล่าวว่ารูป ในบทมีอาทิว่า พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ สุวณฺณทุพฺพณฺ- ณานิ ภิกษุเห็นรูปทั้งหลายในภายนอกมีผิวงามและผิวทราม เพราะฉะนั้น ในที่นี้ บทว่า รูปสญฺานํ นี้ เป็นชื่อของรูปาวจรฌานดังที่ท่านกล่าว แล้วโดยหัวข้อว่า สัญญา อย่างนี้ว่า รูเป สญฺา รูปสญฺา ความสำคัญ ในรูปชื่อว่ารูปสัญญา. ชื่อว่า รูปสญฺํ เพราะมีรูปเป็นสัญญาท่านอธิบายว่า รูป เป็นชื่อของภิกษุนั้น พึงทราบว่าบทนี้เป็นชื่อของอารมณ์ อันเป็นประเภท มีปฐวีกสิณเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า สมติกฺกมา เพราะล่วงคือเพราะคลายกำหนัดและเพราะดับ ตัณหา ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ท่านอธิบายไว้ว่า ภิกษุเพราะคลายกำหนัดเพราะ ดับ เพราะเหตุคลายกำหนัดเพราะดับ รูปสัญญากล่าวคือฌาน ๑๕ ด้วยอำนาจ แห่งกุศลวิบากกิริยาเหล่านี้ และรูปสัญญากล่าวคืออารมณ์ ด้วยอำนาจปฐวีกสิณเป็นต้นเหล่านี้ หรือรูปสัญญาไม่มีส่วนเหลือ โดยอาการทั้งปวง เข้าถึง อากาสานัญจายตนะอยู่ เพราะไม่สามารถเข้าถึงรูปสัญญานั้นเพราะยังไม่ก้าวล่วง รูปสัญญาได้โดยประการทั้งปวง.

อนึ่ง เพราะสมาบัตินั้นควรบรรลุด้วยการก้าวล่วงอารมณ์ มิใช่เหมือน ปฐมฌานเป็นต้นในอารมณ์เดียวเท่านั้น. การก้าวล่วงสัญญาย่อมไม่มีก็ผู้ยังไม่ คลายกำหนัดในอารมณ์ ฉะนั้นพึงทราบว่าท่านทำการพรรณนาความนี้ แม้ด้วย สามารถแห่งการก้าวล่วงอารมณ์. บทว่า ปฏิฆสญฺานํ อตฺถงฺคมา เพราะ ดับปฏิฆสัญญา คือ สัญญา เกิดความกระทบวัตถุมีจักษุเป็นต้น ชื่อว่า ปฏิฆ-

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 376

สัญญา. บทนี้เป็นชื่อของรูปสัญญาเป็นต้น. เพราะดับ เพราะละ เพราะไม่ ให้เกิดปฏิฆสัญญา ๑๐ โดยประการทั้งปวง คือ กุสลวิบากแห่งสัญญาเหล่านั้น ๕ อกุสลวิบาก ๕ ท่านอธิบายว่าทำไม่ให้เป็นไปได้ อนึ่ง สัญญาเหล่านี้ ย่อม ไม่มีแม้แก่ผู้เข้าถึงปฐมฌานเป็นต้นโดยแท้ เพราะในสมัยนั้นจิตยังไม่เป็นไป ด้วยอำนาจแห่งทวาร ๕ แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น เพื่อให้เกิดอุตสาหะในฌานนี้ ดุจในจตุตถฌานแห่งสุขและทุกข์ที่ละได้แล้วในที่อื่นและดุจในตติยมรรคแห่ง สักกายทิฏฐิเป็นต้น พึงทราบคำแห่งสัญญา เหล่านั้น ในที่นี้ด้วยอำนาจแห่ง การสรรเสริญฌานนี้.

อีกอย่างหนึ่ง สัญญาเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ผู้เข้าถึงรูปาวจรโดยแท้ถึงดัง นั้น ย่อมไม่มีเพราะละได้แล้วก็หามิได้ เพราะการเจริญรูปาวจร ย่อมไม่เป็น ไปเพื่อคลายกำหนัดในรูป และเพราะยังเนื่องในรูป สัญญาเหล่านั้นจึงยังเป็น ไปอยู่ ส่วนภาวนานี้ยังเป็นไปเพื่อคลายกำหนัดในรูป เพราะฉะนั้นจึงควรกล่าวว่า สัญญาเหล่านั้นละได้แล้วในบทนี้ ไม่ใช่กล่าวแต่อย่างเดียว ควรแม้เพื่อทรง ไว้อย่างนี้โดยส่วนเดียวด้วย เพราะยังละสัญญา เหล่านั้น ไม่ได้ก่อนจากนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เสียงของผู้เข้าถึงปฐมฌานเป็นดุจหนาม. อนึ่ง เพราะละได้แล้วในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถึงความที่อรูปสมาบัติไม่หวั่น ไหวและความที่พ้นไปอย่างสงบ.

บทว่า นานตฺตสญฺานํ อมนสิการา เพราะไม่มนสิการถึง นานัตตสัญญา คือ สัญญาเป็นไปในโคตรมีความต่างๆ กันหรือสัญญามีความ ต่างๆ กัน เพราะสัญญาเหล่านั้นเป็นไปในโคจรมีสภาพต่างๆ กัน อันเป็น ความต่างกัน มีรูปสัญญาเป็นต้น และเพราะสัญญา ๔๔ อย่างนี้คือ กามาวจร กุสลสัญญา ๘ อกุสลสัญญา ๑๒ กามาวจรกุสลวิปากสัญญา ๑๑ อกุสลวิปาก

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 377

สัญญา ๒ กามาวจรกิริยาสัญญา ๑ มีความต่างกัน มีสภาพต่างกันไม่เหมือน กันและกัน ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า นานตฺตสญฺา เพราะไม่มนสิการ ไม่ คำนึงและไม่ให้เกิดในจิตแห่งมานัตตสัญญาเหล่านั้น โดยประกอบทั้งปวง เพราะไม่คำนึงถึงสัญญาเหล่านั้นไม่ให้เกิดในจิต ไม่มนสิการ ไม่พิจารณา ท่านจึงกล่าวว่า ตสฺมา อนึ่ง เพราะรูปสัญญาและปฏิฆสัญญาก่อนไม่มี แม้ใน ภพอันเกิดด้วยฌานนี้ ไม่ต้องกล่าวถึงในกาลเข้าถึงฌานนี้ในภพนั้นอยู่ละ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวความไม่มี แม้โดยส่วนทั้งสอง คือ เพราะก้าวล่วง เพราะดับสัญญา เหล่านั้น.

จริงอยู่ แม้ในนิเทศนั้นภิกษุเมื่อเข้าถึงฌานนี้อยู่ย่อมเข้าถึง เพราะ มนสิการสัญญาเหล่านั้นอยู่. แต่เมื่อมนสิการสัญญาเหล่านั้นก็ยังเป็นผู้ไม่เข้า ถึง. อนึ่ง ในนิเทศนี้ท่านกล่าวถึงการละรูปาวจรธรรมทั้งปวง ด้วยบทนี้ว่า รูปสญฺานํ สมติกฺกมา เพราะล่วงรูปสัญญา ดังนี้โดยสังเขป. ด้วยบทนี้ว่า ปฏิฆสญฺานํ อตฺถงฺคมา นานตฺตสญฺานํ อมนสิการา เพราะดับ ปฏิฆสัญญา เพราะไม่มีมนสิการนานัตตสัญญา พึงทราบว่าท่านกล่าวการละ และการไม่มนสิการจิตเจตสิกอันเป็นกามาวจรทั้งปวง.

ในบทว่า อนนฺโต อากาโส อากาศไม่มีที่สุดนี้พึงทราบความดังนี้ ชื่อว่า อนนฺโต เพราะอากาศนั้นไม่ปรากฏว่าเกิดหรือเสื่อมเพราะเป็นเพียง บัญญัติ ชื่อว่า อนนฺโต แม้ด้วยสามารถการแผ่ไปไม่มีที่สุด. จริงอยู่ พระโยคาวจรนั้น ย่อมไม่แผ่ไปโดยเอกเทศ ย่อมแผ่ทั่วไป. บทว่า อากาโส คือ อากาศที่เพิกกสิณขึ้น. บทมีอาทิว่า อากาสานญฺจายตนํ มีความดังได้กล่าว แล้ว. บทว่า อุปสมฺปชฺช วิหรติ เข้าถึงอยู่ คือถึงอายตนะนั้นแล้วให้สำเร็จ อยู่ด้วยอิริยาบถอันสมควรนั้น. ชื่อว่า สมาปตฺติ เพราะควรเข้าถึงอายตนะ นั้นนั่นแหละ.

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 378

บทว่า อากาสานญฺจายตนํ สมติกฺกมฺม เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะ แม้ฌาน แม้อารมณ์ ก็ชื่อว่าอากาสานัญจายตนะโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในก่อน. จริงอยู่ แม้อารมณ์ ก็ชื่อว่าอากาสานัญจายตนะโดยนัยที่กล่าวแล้วใน ก่อน เพราะอากาสานัญจะ (ความว่างเปล่าแห่งอากาศ) นั้นเป็นอายตนะด้วย อรรถว่าเป็นที่ตั้ง เพราะเป็นอารมณ์ของอรูปฌานที่หนึ่ง ดุจที่อยู่ของทวยเทพ ฉะนั้น. อนึ่ง ชื่อว่าอากาสานัญจายตนะ เพราะอากาสานัญจะ (ความ ว่างเปล่าของอากาศ) นั้นเป็นอายตนะด้วยอรรถว่าเป็นถิ่นที่เกิด เพราะเป็น เหตุเกิดของฌานนั้น ดุจบทมีอาทิว่า กมฺโพชา อสฺสานํ อายตนํ กัมโพชนครเป็นถิ่นเกิดของม้าทั้งหลาย.

พระโยคาวจรควรล่วงแม้ทั้งสองอย่าง คือ ฌานและอารมณ์ ด้วยทำไม่ ให้เป็นไปและด้วยไม่มนสิการแล้วเข้าถึงวิญญานัญจายตนะนี้อยู่ ฉะนั้นพึงทราบ ว่าท่านทำแม้ทั้งสองอย่างนี้รวมกันแล้วกล่าวบทนี้ว่า อากาสานญฺจายตนํ สมติกฺกมฺม. บทว่า อนนฺตํ วิญฺาณํ วิญญาณไม่มีที่สุด วิญญาณนั่นแหละ ท่านกล่าวว่า ภิกษุมนสิการวิญญาณที่แผ่ไปว่า อนนฺโต อากาโส อากาศไม่ มีที่สุดว่า อนนฺตํ วิญฺาณํ วิญญาณไม่มีที่สุด หรือชื่อว่า อนนฺตํ ด้วยอำนาจ มนสิการ. จริงอยู่ พระโยคาวจรนั้น เมื่อมนสิการ อากาศ อารมณ์และวิญญาณ นั้น โดยไม่มีส่วนเหลือ ย่อมทำความไม่มีที่สุดไว้ในใจ. บทว่า วิญฺาณญฺ- จายตนํ สมติกฺกมฺม เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะ แม้ฌาน แม้อารมณ์ ก็เป็นวิญญาณัญจายตนะตามนัยดังกล่าวแล้วแม้ในบทนี้และในบทก่อน. จริงอยู่ แม้อารมณ์ก็เป็นวิญญาณณัญจายตนะ ตามนัยดังกล่าวแล้วในก่อนเพราะวิญญาณัญจะ (วิญญาณว่างเปล่า) นั้นเป็นอายตนะด้วยอรรถว่าเป็นที่ตั้ง เพราะเป็น อารมณ์แห่งอรูปฌานที่ ๒. อนึ่ง ชื่อว่า วิญญาณัญจายตนะ เพราะวิญญา-

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 379

ณัญจะนั้นเป็นอายตนะด้วยอรรถว่าเป็นถิ่นเกิด เพราะเป็นเหตุเกิดของฌานนั้น. พระโยคาวจรควรล่วงแม้ทั้งสอง คือ ฌานและอารมณ์ ด้วยทำไม่ให้เป็นไป และไม่ทำไว้ในใจแล้วพึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะนี้. เพราะฉะนั้นพึงทราบว่า ท่านทำแม้ทั้งสองอย่างนั้นรวมกันแล้วกล่าวบทนี้ว่า วิญฺาณญฺจายตนํ สมติกมฺมม ดังนี้. บทว่า นตฺถิ กิญฺจิ ไม่มีอะไร ท่านอธิบายว่า พระโยคาวจรมนสิการอยู่อย่างนี้ว่า นตฺถิ นตฺถิ ไม่มี ไม่มี สุญฺํ สุฺํ ว่างเปล่า ว่างเปล่า วิวิตฺตํ วิวิตฺตํ สงัด สงัด.

บทว่า อากิญฺจญฺายตนํ สมติกฺกมฺม เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ (ไม่มีอะไรเหลือสักน้อยหนึ่งเป็นอารมณ์) แม้ฌาน แม้อารมณ์ก็เป็น อากิญจัญายตนะตามนัยดังกล่าวแล้วแม้ในบทนี้ และในบทก่อนนั่นแหละ. จริงอยู่ แม้อารมณ์ก็เป็นอากิญจัญญายตนะ เพราะอากิญจัญญะ (ไม่มีอะไร เหลือ) นั้นเป็นอายตนะด้วยอรรถว่าเป็นที่ตั้ง เพราะเป็นอารมณ์แห่งอรูปฌาน ที่ ๓ ตามนัยดังกล่าวแล้วในบทก่อน. อนึ่ง ชื่อว่าอากิญจัญญายตนะ เพราะ อากิญจัญญะนั้นเป็นอายตนะด้วยอรรถว่าเป็นถิ่นให้เกิด เพราะเป็นเหตุเกิดของ ฌานนั้นนั่นแล เพราะล่วงแม้ทั้งสองอย่างนั้น คือ ฌานและอารมณ์ ด้วยทำ ไม่ให้เป็นไปและด้วยไม่ทำไว้ในใจแล้วพึงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ (มี สัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่) นี้อยู่ เพราะฉะนั้นพึงทราบว่า ท่านทำ แม้ทั้งสองอย่างนั้นรวมกันแล้วกล่าวบทนี้ว่า อากิญฺจญฺายตนํ สมติกฺกมฺม ดังนี้. สัญญาเวทยิตนิโรธกถา (การดับสัญญาเวทนา) ท่านกล่าวไว้แล้วใน หนหลัง.

วิโมกข์ ๗ มีอาทิว่า รูปี รูปานิ ปสฺสติ (ภิกษุมีรูป ย่อมเห็นรูป ทั้งหลาย) ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่าพ้นด้วยดีจากธรรมเป็นข้าศึกทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 380

และเพราะอรรถว่าพ้นด้วยดี ด้วยอำนาจความยินดียิ่งในอารมณ์. ส่วนนิโรธสมาบัติ ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่าพ้นแล้ว จากจิตและเจตสิกทั้งหลาย. ชื่อว่า สมยวิโมกข์ เพราะพ้นในสมัยเข้าถึงสมาบัติ ไม่พ้นในสมัยออกแล้ว.

ชื่อว่า อริยมรรค เพราะพ้นสิ้นเชิงด้วยอำนาจแห่งสมุจเฉทวิมุตติ. ชื่อว่า สามัญผล เพราะพ้นสิ้นเชิงด้วยอำนาจแห่งปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ชื่อว่า นิพพาน เพราะพ้นสิ้นเชิงด้วยอำนาจแห่งนิสสรณวิมุตติ นี่เป็นอสมยวิโมกข์ สามยิกาสามยิกวิโมกข์ (พ้นชั่วคราวและไม่ชั่วคราว) ก็เหมือนอย่างนั้น.

ชื่อว่า กุปฺโป เพราะอาศัยความประมาทจึงเสื่อม. ชื่อว่า อกุปฺโป เพราะไม่เสื่อมอย่างนั้น. ชื่อว่า โลกิโย เพราะย่อมเป็นไปตามโลก. ชื่อว่า โลกุตฺตรา เพราะอริยมรรคทั้งหลายย่อมข้ามโลก ชื่อว่า โลกุตฺตรา เพราะ สามัญผลและนิพพานข้ามไปแล้วจากโลก. ชื่อว่า อนาสโว เพราะอาสวะ ทั้งหลายไม่หน่วงเหนี่ยวโลกุตรธรรมอันสูงด้วยเดชไว้ได้ ดุจแมลงวันไม่เกาะ ก้อนเหล็กที่ร้อนฉะนั้น.

บทว่า รูปปฺปฏิสญฺญุตฺโต วิโมกข์ปฏิสังยุตด้วยรูป คือ รูปฌาน. บทว่า อรูปปฺปฏิสญฺญุตฺโต วิโมกข์ที่ไม่ปฏิสังยุตด้วยรูป คือ อรูปสมาบัติ. วิโมกข์ที่ถูกตัณหาหน่วงเหนี่ยวไว้ ชื่อว่าปณิหิตวิโมกข์ วิโมกข์ที่ไม่ถูกตัณหา หน่วงเหนี่ยวไว้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์. มรรคผลชื่อว่าเอกัตตวิโมกข์ เพราะ มีอารมณ์อยู่เดียวกันและเพราะสำเร็จอย่างเดียวกัน นิพพาน ชื่อว่า เอกัตตวิโมกข์ เพราะไม่มีที่สอง ชื่อว่า นานัตตวิโมกข์ เพราะมีอารมณ์ต่างกัน และเพราะมีวิบากต่างกัน.

บทว่า สิยา แปลว่า พึงมี ความว่า พึงมี คือ มี ๑๐ และมี ๑. อนึ่ง บทว่า สิยา เป็นคำแสดงวิธี มิใช่เป็นคำถาม. บทว่า วตฺถุวเสน

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 381

ด้วยอำนาจแห่งวัตถุ คือ มี ๑๐ ด้วยอำนาจแห่งวัตถุ ๑๐ มีนิจจสัญญาเป็นต้น. บทว่า ปริยาเยน โดยปริยาย คือมี ๑ โดยปริยายแห่งการพ้น. บทว่า สิยาติ กถญฺจ สิยา บทว่า พึงมีได้ คือ พึงมีได้อย่างไร ได้แก่ ถามว่า สิ่งใดตั้งไว้ว่า พึงมี สิ่งนั้นพึงมีได้อย่างไร. บทว่า อนิจฺจานุปสฺสนาณํ เป็นบทสมาส. บาลีว่า อนิจฺจานุปสฺสนาาณํ ดังนี้บ้าง. แม้ในบทที่เหลือ ก็เหมือนกัน.

บทว่า นิจฺจโต สญฺาย จากนิจจสัญญา คือ จากสัญญาอันเป็น ไปแล้วโดยความเป็นของเที่ยง ความว่า จากสัญญาอันเป็นไปแล้วว่า เป็น ของเที่ยง. แม้ในบทนี้ว่า สุขโต อตฺตโต นิมิตฺตโต สญฺาย จากสุขสัญญา อัตตสัญญา นิมิตตสัญญา ก็มีนัยนี้. อนึ่ง บทว่า นิมิตฺตโต คือ จากนิมิตว่าเที่ยง. บทว่า นนฺทิยา สญฺาย จากนันทิสัญญา คือ จากสัญญา อันเป็นไปแล้วด้วยความเพลิดเพลิน ความว่า จากสัญญาอันสัมปยุตแล้วด้วย ความเพลิดเพลิน. แม้ในบทนี้ว่า ราคโต สมุทยโต อาทานโต ปณิธิโต อภินิเวสโต สญฺาย จากราคสัญญา สมุทยสัญญา อาทานสัญญา ปณิธิ- สัญญา อภินิเวสสัญญา ก็มีนัยนี้.

อนึ่ง เพราะอนุปัสสนา ๓ อย่าง คือ ขยานุปัสสนา (พิจารณาเห็น ความสิ้นไป) วยานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความเสื่อม) วิปริณามานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความแปรปรวน) เป็นความวิเศษแห่งภังคานุปัสสนา อันเป็น พลวปัจจัย เพราะเป็นกำลังแห่งอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น เพราะอนิจจานุปัสสนา มีกำลังด้วยเห็นความดับ ก็เมื่ออนิจจานุปัสสนามีกำลัง แม้การพิจารณาเห็น ทุกข์และอนัตตาว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น อนัตตา ดังนี้ก็มีกำลัง ฉะนั้นเมื่อท่านกล่าวอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น ก็เป็น อันกล่าวถึงอนุปัสสนาแม้ ๓ เหล่านั้นด้วย. อนึ่ง เพราะท่านกล่าวว่า สุญญตา-

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 382

นุปัสสนาญาณพ้นจากสัญญาโดยความยึดถือยึดมั่นสิ่งที่เป็นสาระ ยึดมั่นสิ่งที่เป็น ความลุ่มหลง ยึดมั่นสิ่งที่เป็นความอาลัย ยึดมั่นสิ่งที่เป็นกิเลสอันผูกใจ ตาม คำพูดว่า ย่อมหลุดพ้นจากสัญญาโดยความยึดมัน ท่านอธิบายต่อไปว่า พ้น จากสัญญาโดยไม่พิจารณา เพราะไม่มีสิ่งยึดมั่น ฉะนั้นพึงทราบว่า อนุปัสสนาแม้ ๕ มีอธิปัญญาธัมมวิปัสสนาเป็นต้น ท่านมิได้กล่าวไว้เลย. ในมหาวิปัสสนา ๑๘ พึงทราบว่าท่านมิได้กล่าวถึงอนุปัสสนา ๘ เหล่านั้นเลย กล่าว ถึงแต่อนุปัสสนา ๑๐ เท่านั้น.

บทว่า อนิจฺจานุปสฺสนา ยถาภูตํ าณํ อนิจจานุปัสสนายถาภูตญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงเป็นความรู้ตามความเป็นจริง. แม้ ทั้งสองบทเป็นปฐมาวิภัตติ. บทว่า ยถาภูตาณํ ท่านกล่าวถึงอรรถแห่ง ญาณ. แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนี้. บทว่า สมฺโมหา อญฺาณา จากความ หลง จากความไม่รู้ คือ จากความไม่รู้อันเป็นความหลง. บทว่า มุจฺจติ (พ้น) ท่านกล่าวถึงอรรถแห่งวิโมกข์.

บทว่า อนิจฺจานุปสฺสนา อนุตฺตรํ สีติภาวํ าณํ ความว่า อนิจ- จานุปัสสนาเป็นญาณอันมีความเย็นใจอย่างเยี่ยม ชื่อว่า อนุตฺตรํ เพราะอรรถว่า สูงสุดโดยมีอยู่ในศาสนานี้เท่านั้น หรือชื่อว่า อนุตฺตรํ เพราะเป็นปัจจัย แห่งความยอดเยี่ยม ญาณอันมีความเย็นใจนั่นแล ชื่อว่าสีติภาวญาณ. สีติ- ภาวญาณนั้นเป็นญาณยอดเยี่ยม กล่าวคือพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง. นิพพาน ชื่อว่า เป็นความเย็นอย่างเยี่ยมในพระพุทธวจนะนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรเพื่อทำให้แจ้งพระนิพพานอัน เป็นความเย็นอย่างเยี่ยม แต่ในที่นี้ วิปัสสนาเป็นความเย็นอย่างเยี่ยม.

บทว่า นิจฺจโต สนฺตาปปริฬาหทรถา มุจฺจติ พ้นจากความ เดือดร้อน ความเร่าร้อนและความกระวนกระวาย โดยความเป็นสภาพเที่ยง

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 383

แม้ในบทนี้ กิเลสอันเป็นไปว่าเที่ยง ท่านกล่าวว่า สนฺตาโป เพราะอรรถว่า เดือดร้อนในโลกนี้และโลกหน้า. ท่านกล่าวว่า ปริฬาโห เพราะอรรถว่า เผาผลาญ. ท่านกล่าวว่า ทรโถ เพราะอรรถว่าร้อน.

บทมีอาทิว่า เนกฺขมฺมํ ชายติ ฌานํ มีความดังได้กล่าวแล้วใน หนหลัง. อนึ่ง บทมีอาทิว่า เนกขัมมะในบทนี้ คือ สมาบัติ ๘ อันเป็นส่วน แห่งการแทงตลอด.

บทว่า อนุปฺปาทา จิตฺตสฺส วิโมกฺโข (การหลุดพ้นแห่งจิต เพราะไม่ยึดถือ) ในที่นี้คือวิปัสสนานั่นเอง. แต่ในบาลีนี้ว่า การพูดกันมี อันนี้เป็นประโยชน์ การปรึกษากันมีอันนี้เป็นประโยชน์ นี้คือความหลุดพ้น แห่งจิตเพราะไม่ยึดถือ นิพพาน คือ ความหลุดพ้นเพราะไม่ยึดถือ. บทว่า กตีหุปาทาเนหิ คือด้วยอุปาทานเท่าไร. บทว่า กตมา เอกุปาทา คือ จากอุปาทานหนึ่งเป็นไฉน.

บทว่า อิทํ เอกุปาทานา คือ จากอุปาทานหนึ่งนี้. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อิทํ เพ่งญาณก่อน. ในการพ้นจากอุปาทานนั้น มีความดังต่อไปนี้ เพราะพระโยคาวจรเห็นแล้ว เห็นแล้วซึ่งความเกิดและความเสื่อมของสังขาร ทั้งหลายแต่ต้น เห็นด้วยอนิจจานุปัสสนา ภายหลังเห็นความดับของสังขาร ทั้งหลาย แล้วเห็นด้วยอนิมิตตานุปัสสนา เพราะอนิมิตตานุปัสสนาเป็นความ วิเศษแห่งอนิจจานุปัสสนา ความไม่มีตัวตนเป็นความปรากฏ ด้วยการเห็น ความเกิดและความเสื่อม และด้วยการเห็นความดับของสังขารทั้งหลาย ด้วย เหตุนั้นจึงเป็นการละทิฏฐุปาทานและอัตตวาทุปาทานได้. อนึ่ง เพราะละทิฏฐิ นั่นเอง จึงเป็นอันละสีลัพพตุปาทาน เพราะไม่มีความเห็นว่า ตัวตนย่อม บริสุทธิ์ได้ด้วยศีลและพรต. อนึ่ง เพราะพระโยคาวจรเห็นความไม่มีตัวตน

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 384

โดยตรงด้วยอนัตตานุปัสสนา. อนึ่ง สุญญตานุปัสสนาเป็นความวิเศษแห่ง อนัตตานุปัสสนานั่นเอง ฉะนั้น ญาณ ๔ เหล่านี้ ย่อมพ้นจากอุปาทานทั้งหลาย ๓ มีทิฏฐุปาทานเป็นต้น. ท่านไม่กล่าวถึงการพ้นจากกามุปาทาน เพราะตัณหา เป็นข้าศึกโดยตรงของอนุปัสสนา ๔ มีทุกขานุปัสสนาเป็นต้น และของอนุ- ปัสสนา ๓ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น เพราะเมื่อพระโยคาวจรเห็นว่าสังขาร ทั้งหลายเป็นทุกข์ ด้วยทุกขานุปัสสนาแต่ต้น และภายหลังเมื่อเห็นว่า สังขาร ทั้งหลายเป็นทุกข์ด้วยอัปปณิหิตานุปัสสนา ย่อมละความปรารถนาสังขารทั้งหลาย เสียได้ เพราะอัปปณิหิตานุปัสสนาเป็นความวิเศษของทุกขานุปัสสนานั่นเอง. อนึ่ง เพราะเมื่อพระโยคาวจรเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลายด้วยนิพพิทานุปัสสนา คลายความกำหนัดด้วยวิราคานุปัสสนา ย่อมละความปรารถนาสังขารทั้งหลาย เสียได้ ฉะนั้น ญาณ ๔ เหล่านี้ย่อมพ้นจากกามุปาทาน เพราะพระโยคาวจร ดับกิเลสทั้งหลายได้ด้วยนิโรธานุปัสสนา ย่อมสละกิเลสทั้งหลายได้ด้วย ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ฉะนั้น ญาณ ๒ เหล่านี้ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔ ด้วย เหตุนั้นท่านจึงชี้แจงวิโมกข์ ๖๘ ด้วยความต่างกันโดยสภาวะ และด้วยความ ต่างกันโดยอาการ.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระครั้นแสดงถึงประธานแห่งวิโมกข์ทั้งหลาย ๓ ที่ยกขึ้นแสดงแต่ต้นแล้ว ประสงค์จะแสดงอินทรียวิเศษ และบุคคลวิเศษอัน เป็นประธานเป็นหัวหน้าของวิโมกข์ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตีณิ โข ปนิมานิ วิโมกข์อันเป็นประธาน ๓ เหล่านี้แล. ในบทเหล่านั้น บทว่า วิโมกฺขมุขานิ คือ ประธานแห่งวิโมกข์ ๓. บทว่า โลกนิยฺยานาย สํวตฺตนฺติ ย่อมเป็นไป เพื่อนำออกไปจากโลก คือย่อมเป็นไปเพื่อนำออกไปจากไตรโลกธาตุ.

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 385

บทว่า สพฺพสงฺขาเร ปริจฺเฉทปริวฏฺฏุมโต สมนุปสฺสนตาย โดยความพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวง โดยความหมุนเวียนไปตามกำหนด คือ โดยความพิจารณาเห็นโดยความกำหนด และโดยความหมุนเวียนไป ด้วย อำนาจความเกิดและความเสื่อมแห่งสังขารทั้งหลายทั้งปวง. ปาฐะที่เหลือว่า โลกนิยฺยานํ โหติ เป็นการนำออกไปจากโลก.

จริงอยู่ อนิจจานุปัสสนากำหนดว่า ก่อนแต่เกิด สังขารทั้งหลายไม่มี แล้วแสวงหาคติของสังขารเหล่านั้น พิจารณาเห็นโดยความหมุนเวียนและโดย ที่สุดว่า เบื้องหน้าแต่ความเสื่อม สังขารทั้งหลายย่อมไม่ถึง สังขารทั้งหลาย ย่อมอันตรธานไปในที่นี้แหละ. จริงอยู่ สังขารทั้งปวงกำหนดที่สุดเบื้องต้น ด้วยความเกิด กำหนดที่สุดเบื้องปลายด้วยความเสื่อม.

บทว่า อนิมิตฺตตาย จ ธาตุยา จิตฺตสมฺปกฺขนฺทนตาย ด้วย ความที่จิตแล่นไปในอนิมิตตธาตุ คือ เป็นการนำออกไปจากโลก เพราะจิต น้อมไปในนิพพาน แม้ในขณะวิปัสสนา และเพราะนิพพานธาตุ กล่าวคือ อนิมิตเข้าไปสู่จิต โดยปรากฏด้วยอาการแห่งอนิมิต. บทว่า มโนสมุตฺเตชนตาย โดยความองอาจแห่งใจ คือโดยความสลดใจ เพราะจิตย่อมสลดใน สังขารทั้งหลาย ด้วยทุกขานุปัสสนา.

บทว่า อปฺปณิหิตาย จ ธาตุยา ในอัปปณิหิตธาตุ (ธาตุที่ไม่ตั้งอยู่) คือนิพพานธาตุ อันได้แก่อัปปณิหิตะโดยปรากฏด้วยการที่ตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะ จิตน้อมไปในนิพพานแม้ในขณะวิปัสสนา. บทว่า สพฺพธมฺเม ท่านไม่กล่าว ว่า สงฺขาเร กล่าวว่า สพฺพธมฺเม เพราะมีสภาพเป็นอนัตตา แม้ในความ ที่นิพพานยังไม่เข้าถึงวิปัสสนา. บทว่า ปรโต สมนุปสฺสนตาย โดย

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 386

พิจารณาเห็นโดยความเป็นอย่างอื่น คือโดยพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา อย่างนี้ว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เพราะอาศัยปัจจัย เพราะไม่อยู่ในอำนาจ และเพราะไม่เชื่อฟัง. บทว่า สุญฺตาย จ ธาตุยา ในสุญญตธาตุ คือ ในนิพพานธาตุ กล่าวคือสุญญตา โดยความปรากฏโดยอาการเป็นของสูญ เพราะจิตน้อมไปในนิพพาน แม้ในขณะแห่งวิปัสสนา. คำ ๓ เหล่านี้ ท่าน กล่าวด้วยอำนาจแห่งอนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนา ด้วยประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้นแล ท่านจึงกล่าวบทมีอาทิว่า อนิจฺจโต มนสิกโรโต เมื่อมนสิการโดยความเป็นของไม่เที่ยง ในลำดับต่อจากนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ขยโต คือโดยความสิ้นไป บทว่า ภยโต โดยความเป็นของน่ากลัว คือโดยความมีภัย. บทว่า สุญฺโต โดยความ เป็นของสูญ คือโดยความปราศจากตน. บทว่า อธิโมกฺขพหุลํ จิตมากด้วย ความน้อมไป คือจิตมากด้วยศรัทธาของความเชื่อในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจริงหนอ ด้วยเห็นความดับในขณะ โดยประจักษ์ของ ผู้ปฏิบัติด้วยศรัทธาว่า สังขารทั้งหลายย่อมแตกไป ด้วยอำนาจแห่งการดับใน ขณะ ด้วยอนิจจานุปัสสนา. อีกอย่างหนึ่ง จิตมากด้วยความน้อมไป เพราะ เห็นความไม่เที่ยงของสังขารทั้งหลาย อันเป็นปัจจุบันแล้วน้อมไปว่า สังขาร ทั้งปวงทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ไม่เที่ยงด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า ปสฺสทฺธิพหุลํ มากด้วยความสงบ คือจิตมากด้วยความสงบ เพราะไม่มีความ กระวนกระวายแห่งจิต เพราะละความตั้งใจอันทำให้จิตกำเริบด้วยทุกขานุปัสสนา อีกอย่างหนึ่ง จิตมากด้วยความสงบ เพราะไม่มีความฟุ้งซ่าน เพราะเกิดความ สังเวช และเพราะตั้งความสังเวชไว้โดยแยบคาย ด้วยทุกขานุปัสสนา. บทว่า

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 387

เวทพหุลํ มากด้วยความรู้ คือจิตมากด้วยญาณของผู้เห็นอนัตตลักษณะอัน ลึกซึ้ง ซึ่งคนภายนอกไม่เห็น ด้วยอนัตตานุปัสสนา. อีกอย่างหนึ่ง จิตมากด้วย ความยินดีของผู้ยินดีว่า เห็นอนัตตลักษณะที่โลกพร้อมทั้งเทวโลกยังไม่เห็น.

บทว่า อธิโมกฺขพหุโล สทฺธินฺทฺริยํ ปฏิลภติ ผู้มากด้วยความ น้อมใจไปย่อมได้สัทธินทรีย์ คือ ความน้อมใจไปในส่วนเบื้องต้นเป็นไปมาก ชื่อว่าสัทธินทรีย์ ด้วยการบำเพ็ญภาวนา บุคคลนั้นย่อมได้สัทธินทรีย์นั้น. บทว่า ปสฺสทฺธิพหุโล สมาธินฺทฺริยํ ปฏิลภติ ผู้มากด้วยปัสสัทธิ ย่อม ได้สมาธินทรีย์ คือ บุคคลผู้มากด้วยปัสสัทธิ ย่อมได้สมาธินทรีย์นั้น เพราะ ปัสสัทธิเป็นปัจจัย ด้วยการบำเพ็ญภาวนา โดยบาลีว่า ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น. บทว่า เวทพหุโล ปญฺินทฺริยํ ปฏิลภติ ความรู้ ในส่วนเบื้องต้นเป็นไปมาก ชื่อว่า ปัญญินทรีย์ ด้วยการบำเพ็ญภาวนา บุคคล นั้นย่อมได้ปัญญินทรีย์นั้น.

บทว่า อาธิปเตยฺยํ โหติ อินทรีย์ที่เป็นใหญ่ คือ แม้เมื่อฉันทะ เป็นต้น เป็นใหญ่ อินทรีย์ย่อมเป็นใหญ่ เป็นประธาน ด้วยสามารถยังกิจ ของตนให้สำเร็จได้. บทว่า ภาวนาย เป็นสัตตมีวิภัตติ หรือเพื่อประโยชน์ แก่การเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป. บทว่า ตทนฺวยานิ โหนฺติ คือไปตามอินทรีย์นั้น คล้อยไปตามอินทรีย์นั้น. บทว่า สหชาตปจฺจยา โหนฺติ เป็นสหชาตปัจจัย (ปัจจัยเกิดร่วมกัน) คือ เมื่อเกิดย่อมเป็นอุปการะ เพราะความที่เกิดร่วมกัน ดุจประทีปเป็นอุปการะแก่แสงสว่าง ฉะนั้น. บทว่า อญฺมญฺปจฺจยา โหนฺติ เป็นอัญญมัญญปัจจัย (เป็นปัจจัยของกันและกัน) คือ เป็นอุปการะแก่กัน และกัน โดยความช่วยเหลือให้เกิด ดุจไม้ ๓ อันช่วยเหลือกันและกัน. บทว่า

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 388

นิสฺสยปจฺจยา โหนฺติ เป็นนิสสยปัจจัย (ปัจจัยที่อาศัยกัน) คือเป็นอุปการะ โดยอาการตั้งใจ และโดยอาการเป็นที่อาศัย ดุจพื้นดินเป็นเป็นอุปการะของ ความงอกงามแห่งต้นไม้. บทว่า สมฺปยุตฺตปจฺจยา โหนฺติ เป็นสัมปยุตตปัจจัย (ปัจจัยที่ประกอบกัน) คือเป็นอุปการะโดยความเป็นสัมปยุตตปัจจัย กล่าวคือมีวัตถุอันเดียวกัน อารมณ์อันเดียวกัน ดับพร้อมกัน ดับพร้อมกัน.

บทว่า ปฏิเวธกาเล ในกาลแทงตลอด คือในกาลแทงตลอดสัจจะ ในขณะแห่งมรรค. บทว่า ปญฺินฺทฺริยํ อาธิปเตยฺยํ โหติ ปัญญินทรีย์ เป็นใหญ่ คือปัญญินทรีย์นั่นแลทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ในขณะแห่งมรรค ย่อมเป็นใหญ่ด้วยสามารถทำกิจคือเห็นสัจจะ และด้วยสามารถทำกิจคือละกิเลส. บทว่า ปฏิเวธาย แห่งการแทงตลอด คือเพื่อต้องการแทงตลอดสัจจะ. บทว่า เอกรสา มีรสอย่างเดียวกัน คือด้วยวิมุตติรส. บทว่า ทสฺสนฏฺเน เพราะ อรรถว่าเห็น คือเพราะอรรถว่าเห็นสัจจะ.

บทว่า เอวํ ปฏิวิชฺฌนฺโตปิ ภาเวติ ภาเวนฺโตปิ ปฏิวิชฺฌติ ด้วยอาการอย่างนี้ แม้บุคคลผู้แทงตลอดก็ย่อมเจริญ แม้บุคคลผู้เจริญก็ย่อม แทงตลอด ท่านกล่าวเพื่อแสดงความเป็นไปทั้งปวง แห่งการเจริญและการ แทงตลอดคราวเดียวเท่านั้นในขณะแห่งมรรค. ท่านประกอบ อปิ ศัพท์ใน บทว่า ปฏิเธกาเลปิ เพราะปัญญินทรีย์นั่นแลเป็นใหญ่ แม้ในขณะแห่ง วิปัสสนา ด้วยอนัตตานุปัสสนา.

บทมีอาทิว่า อนิจฺจโต มนสิกโรโต กตมินฺทฺริยํ อธิมตฺตํ โหติ เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 389

ท่านกล่าวเพื่อแสดงบุคคลวิเศษด้วยสามารถแห่งอินทรีย์. ในบทเหล่านั้น บทว่า อธิมตฺตํ คือ ยิ่ง. ในบทนั้นพึงทราบความที่สัทธินทรีย์ สมาธินทรีย์และ ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งด้วยความวางเฉยในสังสาร.

ในบทว่า สทฺธาวิมุตฺโต น้อมใจเชื่อนี้ ท่านกล่าวว่า เป็นสัทธาวิมุต ในฐานะ ๗ เหล่านั้นเว้นโสดาปัตติมรรค เพราะแม้เมื่อท่านกล่าวไม่แปลกกันใน บทนี้ ก็กล่าวแปลกกันในบทต่อไป. ท่านกล่าวว่า บุคคลเป็นสัทธาวิมุต เพราะความที่สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง มิใช่เป็นสัทธาวิมุต เพราะสัทธินทรีย์ มีประมาณยิ่งในที่ทั้งปวง. อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ในอินทรีย์ที่เหลือแม้เมื่อ มีสมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งในขณะ แห่งโสดาปัตติมรรค บุคคลก็เป็นสัทธาวิมุตได้เหมือนกัน.

บทว่า กายสกฺขี โหติ บุคคลเป็นกายสักขี (มีกายเป็นสักขี) คือ บุคคลชื่อว่า เป็นกายสักขีในฐานะ ๘ อย่าง. บทว่า ทิฏฺปฺปตฺโต โหติ บุคคลเป็นทิฏฐิปัตตะ (ถึงแล้วซึ่งทิฏฐิ) พึงทราบตามนัยดังกล่าวแล้วในสัทธาวิมุตนั่นแล.

บทว่า สทฺทหนฺโต วิมุตฺโตติ สทฺธาวิมุตฺโต บุคคลชื่อว่า สัทธาวิมุต เพราะเชื่อน้อมใจไป ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า สัทธาวิมุต เพราะ เชื่อในขณะโสดาปัตติมรรคเพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง น้อมใจไปในขณะ แห่งผลแม้ ๔. บัดนี้ จักกล่าวถึงความเป็นสัทธาวิมุตในขณะมรรค ๓ ข้างบน แต่จักกล่าวความที่เป็นสัทธานุสารี (แล่นไปตามศรัทธา) ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรคในภายหลัง.

บทว่า ผุฏฺตฺตา สจฺฉิกโตติ กายสกฺขี บุคคลชื่อว่าเป็นกายสักขี เพราะทำให้แจ้ง เพราะเป็นผู้ถูกต้องธรรม เมื่อความเป็นสุกขวิปัสสกมีอยู่

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 390

เมื่อความที่ผลแห่งอุปจารฌานได้รูปฌานและอรูปฌานมีอยู่ บุคคลชื่อว่า เป็น กายสักขี เพราะทำให้แจ้งนิพพาน เพราะเป็นผู้ถูกต้องผลของรูปฌานและ อรูปฌาน. ท่านอธิบายว่า เป็นสักขีในการสัมผัสฌานและในนิพพานมีประการ ดังกล่าวแล้วโดยนามกาย.

บทว่า ทิฏฺตฺตา ปตฺโตติ ทิฏฺิปฺปตฺโต บุคคลชื่อว่า เป็น ทิฏฐิปัตตะเพราะบรรลุแล้ว เพราะเป็นผู้เห็นธรรม คือบุคคลชื่อว่าเป็นทิฏฐิ- ปัตตะเพราะบรรลุนิพพานด้วยอำนาจแห่งโสดาปัตติผลเป็นต้น ในภายหลัง เพราะเห็นนิพพานก่อนด้วยปัญญินทรีย์สัมปยุตในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค. ท่านอธิบายว่า บรรลุนิพพานด้วยทิฏฐิ คือปัญญินทรีย์. แต่จักกล่าวความที่ เป็นธัมมานุสารี (แล่นไปตามธรรม) ในขณะโสดาปัตติมรรคในภายหลัง.

บทว่า สทฺทหนฺโต วิมุจฺจตีติ สทฺธาวิมุตฺโต บุคคลชื่อว่า เป็นสัทธาวิมุต เพราะเธออยู่ย่อมน้อมใจไป คือ บุคคลชื่อว่าเป็นสัทธาวิมุต เพราะเชื่ออยู่น้อมใจไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรค อนาคามิมรรคและอรหัตตมรรค เพราะความที่สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง แม้น้อมใจไปในลัทธินทรีย์นั้น ท่านก็กล่าวว่า วิมุต ด้วยอำนาจแห่งการกล่าวที่เป็นจริงด้วยความหวัง. บทว่า ฌานผสฺสํ ถูกต้องฌาน คือ ถูกต้องฌาน ๓ อย่าง. ท่านกล่าวบทมีอาทิว่า ฌานผสฺสํ และบทมีอาทิว่า ทุกฺขา สงฺขารา ก่อนแล้วจึงกล่าวทั้งสองบท ให้ต่างกัน. บทว่า าณํ โหติ เป็นอาทิมีความดังได้กล่าวแล้วในหนหลัง. อนึ่ง ในบทนี้อาจารย์ทั้งหลายอธิบายว่า บุคคลผู้ได้ฌานครั้นออกแล้วด้วย ทุกขานุปัสสนาอันอนุกูลแก่สมาธินทรีย์ ย่อมบรรลุมรรคผล. บทว่า สิยา แปลว่า พึงมี พึงเป็น. บทนี้ เป็นชื่อของวิธีเท่านั้น. บทว่า ตโย ปุคฺคลา

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 391

บุคคล ๓ จำพวก คือบุคคล ๓ จำพวก ท่านกล่าวแล้วด้วยวิปัสสนานิยมและ ด้วยอินทรีย์นิยม. บทว่า วตฺถุวเสน ด้วยสามารถแห่งวัตถุคือด้วยสามารถ แห่งอินทรีย์วัตถุหนึ่งๆ ในอนุปัสสนา ๓. บทว่า ปริยาเยน คือโดยปริยาย นั้นนั่นเอง. ด้วยวาระนี้ท่านแสดงถึงอะไร. ท่านแสดงว่า ท่านกล่าวถึงความ เป็นใหญ่แห่งอินทรีย์หนึ่งๆ ด้วยอนุปัสสนาหนึ่งๆ โดยเยภุยนัย และบาง คราวความเป็นใหญ่แห่งอินทรีย์หนึ่งๆ ในอนุปัสสนาแม้ ๓. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อมี สัทธาวิมุตเป็นต้น ย่อมมีในขณะแห่งมรรคและผล เพ่งถึงความเป็นใหญ่ แห่งอินทรีย์เหล่านั้นๆ ในวิปัสสนาอันเป็นส่วนเบื้องต้นเหล่านั้น เพราะมีอนุ- ปัสสนาแม้ ๓ ในขณะแห่งวิปัสสนาอันเป็นส่วนเบื้องต้น เพราะเมื่อกล่าวอยู่ อย่างนี้ ความเป็นใหญ่แห่งอินทรีย์และบุคคลนิยม ท่านทำไว้ในเบื้องบนแห่ง วิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินีในหนหลัง และเป็นอันท่านทำดีแล้ว ไม่หวั่นไหว เลย. ในอนันตวาระ บทว่า สิยาติ อญฺโเยว พึงเป็นอย่างอื่น คือ พึงเป็นอย่างนี้. ในบทนี้ท่านกล่าวถึง ความนิยมในบทก่อน.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเพื่อแสดงจำแนกบุคคลวิเศษด้วยสามารถแห่ง มรรคและผล จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อนิจฺจโต มนสิกโรโจ ฯลฯ โสตาปตฺติมคฺคํ ปฏิลภติ เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์ มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค.

ในบทเหล่านั้น บุคคลชื่อว่าเป็นสัทธานุสารี เพราะระลึกถึง คือไป ตามศรัทธา หรือระลึกถึงไปตามนิพพานด้วยศรัทธา. บทว่า สจฺฉิกตา ทำให้แจ้ง คือทำให้ประจักษ์. บทว่า อรหตฺตํ คืออรหัตตผล. ชื่อว่า ธรรมานุสารี เพราะระลึกถึงธรรมกล่าวคือปัญญา หรือระลึกถึงนิพพานด้วย ธรรมนั้น.

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 392

พระสารีบุตรเถระประสงค์จะพรรณนาถึงบุคคลวิเศษด้วยความวิเศษ แห่งอินทรีย์ ๓ โดยปริยายอื่นอีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เย หิ เกจิ บุคคล เหล่าใดเหล่าหนึ่งดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ภาวิตา วา เจริญแล้ว คือเจริญแล้วในอดีต. บทว่า ภาเวนฺติ วา ย่อมเจริญ คือเจริญในปัจจุบัน. บทว่า ภวิสฺสติ วา จักเจริญ คือ จักเจริญในอนาคต. บทว่า อธิคตา วา บรรลุแล้วเป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อขยายอรรถแห่งบทก่อนๆ อันมีที่สุดเป็นอย่างหนึ่งๆ. บทว่า ผสฺสิตา วา ถูกต้องแล้ว คือ ถูกต้องแล้วด้วยญาณผุสนา. บทว่า วสิปฺปตฺตา ถึงความชำนาญ คือถึงความเป็นอิสระ. บทว่า ปารมิปฺปตฺตา ถึงความ สำเร็จ คือถึงที่สุด. บทว่า เวสารชฺชปฺปตฺตา ถึงความแกล้วกล้า คือ ถึง ความมั่นใจ. สัทธาวิมุตเป็นต้นในที่ทั้งปวงถึงแล้ว ในขณะที่ท่านกล่าวไว้แล้ว ในหนหลัง. สติปัฏฐานเป็นต้นถึงแล้วในขณะแห่งมรรคนั่นแล.

บทว่า อฏฺ วิโมกฺเข วิโมกข์ ๘ คือ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง บรรลุแล้วด้วยการบรรลุปฏิสัมภิทามรรคมีอาทิว่า รูปี รูปานิ ปสฺสติ ดังนี้. บทว่า ติสฺโส สิกฺขา สิกขา ๓ คืออธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา บรรลุมรรคแล้วยังศึกษาอยู่. บทว่า ทุกฺขํ ปริชานนฺติ กำหนดรู้ทุกข์เป็นต้น กำหนดรู้ในขณะแห่งมรรคนั่นเอง. บทว่า ปริญฺาปฏิเวธํ ปฏิวิชฺฌติ แทงตลอดทุกขสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยปริญญา ชื่อว่า ปริญญาปฏิเวธะ เพราะแทงตลอดด้วยการแทงตลอดด้วยปริญญา หรือพึงแทงตลอดด้วยปริญญา. แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนั้น ท่านกล่าวคำมีอาทิว่า อภิญญาปฏิเวธะ แทง ตลอดด้วยอภิญญา เพราะให้แปลกจากธรรมทั้งปวงเป็นต้น. ส่วนแทงตลอด ด้วยสัจฉิกิริยาพึงทราบด้วยสามารถความสำเร็จญาณในการพิจารณานิพพานใน

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 393

ขณะแห่งมรรคนั่นเอง. ในที่นี้เป็นอันท่านชี้แจงถึงอริยบุคคล ๕ ไว้อย่างนี้ ไม่ชี้แจงถึงอริยบุคคล ๒ เหล่านี้คือ อุภโตภาควิมุต และปัญญาวิมุต. แต่ในที่ อื่นท่านกล่าวไว้ว่า บุคคลใดมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยปัสสัทธิย่อม ได้สมาธินทรีย์ บุคคลนั้นชื่อว่า กายสักขีในที่ทั้งปวง ส่วนบุคคลบรรลุ อรูปฌานแล้วบรรลุผลเลิศ ชื่อว่า อุภโตภาควิมุต. อนึ่ง บุคคลใดมนสิการ โดยความเป็นอนัตตามากด้วยความรู้ย่อมได้ปัญญินทรีย์ บุคคลนั้น ชื่อว่า ธรรมานุสารีในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ ในฐานะ ๖ ชื่อว่าปัญญาวิมุตในผลอันเลิศ. ในที่นี้ท่านสงเคราะห์บุคคลเหล่านั้นด้วย กายสักขีและทิฏฐิปัตตะ แต่โดยอรรถชื่อว่า อุภโตภาควิมุต เพราะพ้นโดย ส่วนสองคือ ด้วยอรูปฌานและด้วยอริยมรรค ชื่อว่า ปัญญาวิมุต เพราะ รู้อยู่จึงพ้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เป็นอันท่านชี้แจงถึงความวิเศษของอินทรีย์และ บุคคล.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงถึงวิโมกขวิเศษ อันเป็น หัวหน้าของวิโมกข์และบุคคลวิเศษ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อนิจฺจโต มนสิกโรโต เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง. ในบทเหล่านั้น บทว่า เทฺว วิโมกฺขา วิโมกข์ ๒ คือ อัปปณิหิตวิโมกข์และสุญญตวิโมกข์. มรรคได้ชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์ด้วยสามารถถึงอนิจจานุปัสสนา ย่อมได้แม้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ โดยความมีคุณเพราะไม่มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นที่ตั้ง และโดยอารมณ์ เพราะ ทำนิพพานอันได้ชื่อว่า อัปปณิหิต เพราะไม่มีปณิธิเหล่านั้นให้เป็นอารมณ์. อนึ่ง ย่อมได้แม้ชื่อว่า สุญญตวิโมกข์โดยความมีคุณ เพราะว่างเปล่าจากราคะ โทสะและโมหะ และโดยอารมณ์เพราะทำนิพพานอันได้ชื่อว่า สุญญตะ เพราะ ว่างเปล่าจากราคะเป็นต้นนั่นแล ให้เป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น วิโมกข์ ๒

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 394

เหล่านั้น จึงชื่อว่าไปตามอนิมิตตวิโมกข์. อนึ่ง พึงทราบว่า ปัจจัยมีสหชาตปัจจัยเป็นต้น แม้ไม่อื่นไปจากมรรคอันเป็นอนิมิตตะ ย่อมเป็นด้วยสามารถ แห่งองค์มรรคหนึ่งๆ ขององค์มรรค ๘.

บทว่า เทฺว วิโมกฺขา อีกครั้ง คือ สุญญตวิโมกข์และอนิมิตตวิโมกข์. จริงอยู่ มรรคได้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ ด้วยสามารถแห่งการถึง ทุกขานุปัสสนา ย่อมได้แม้ชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์ โดยความมีคุณ เพราะไม่มี รูปนิมิต ราคนิมิตและนิจจนิมิตเป็นต้น และโดยอารมณ์ เพราะทำนิพพาน กล่าวคืออนิมิตตะ เพราะไม่มีนิมิตเหล่านั้นเลยให้เป็นอารมณ์. พึงประกอบ บทที่เหลือโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า เทฺว วิโมกฺขา อีกครั้ง คือ อนิมิตตวิโมกข์และอัปปณิหิตวิโมกข์. การประกอบมีนัยดังกล่าวแล้วในบทนี้นั่นแล.

บทว่า ปฏิเวธกาเล ในกาลแทงตลอด ท่านกล่าวแล้วตามลำดับของ อินทรีย์ทั้งหลายดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว. อนึ่ง ชื่อว่า วิโมกข์ย่อมไม่มีในขณะแห่ง วิปัสสนาเพราะปล่อยขณะแห่งมรรคเสีย แต่ท่านแสดงมรรควิโมกข์ที่กล่าวไว้ แล้วครั้งแรกให้แปลกไปจากคำว่า ปฏิเวธกาเล. ท่านย่อวาระละ ๒ มีอาทิว่า บุคคลใดเป็นสัทธาวิมุต และวาระว่า เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพ ไม่เที่ยงย่อมได้โสดาปัตติมรรค แต่พึงทราบเพราะประกอบด้วยอำนาจแห่ง วิโมกข์โดยพิสดาร. พึงทราบวาระมีอาทิว่า เย หิ เกจิ เนกฺขมฺมํ ตามนัย ดังกล่าวแล้วนั่นแล. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เป็นอันท่านชี้แจงถึงความวิเศษของ วิโมกข์และบุคคล.

พระสารีบุตรเถระประสงค์จะชี้แจงประธานของวิโมกข์ และวิโมกข์ โดยส่วนไม่น้อยอีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อนิจฺจโต มนสิกโรนฺโต เมื่อ

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 395

บุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง. ในบทเหล่านั้น บทว่า ยถาภูตํ ตามความเป็นจริง คือ ตามสภาวะ. บทว่า ปชานาติ ย่อมรู้ คือรู้ด้วยญาณ. บทว่า ปสฺสติ ย่อมเห็นคือ เห็นด้วยญาณนั่นเอง ดุจเห็นด้วยจักษุ. บทว่า ตทนฺวเยน คือโดยความเป็นไปตามสัมมาทัศนะนั้น อธิบายว่า โดยไปตาม สัมมาทัศนะนั้นที่เห็นแล้วด้วยญาณโดยประจักษ์. บทว่า กงฺขา ปหียติ ย่อม ละความสงสัยได้คือ ความสงสัยว่าเที่ยงหรือไม่เที่ยง ย่อมละได้ด้วยอนิจจานุ- ปัสสนา ความสงสัยนอกนี้ย่อมละได้ด้วยอนุปัสสนานอกนี้. บทว่า นิมิตฺตํ นิมิต คือ ย่อมรู้สังขารนิมิตอันเป็นอารมณ์ ตามความเป็นจริง เพราะละ นิจจสัญญาได้ด้วยการแยกสันตติและฆนะออกไป. บทว่า เตน วุจฺจติ สมฺมาทสฺสนํ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าสัมมาทัศนะ เพราะรู้ตามความ เป็นจริงนั้น ท่านจึงกล่าวญาณนั้นว่า สัมมาทัศนะ. บทว่า ปวตฺตํ ความ เป็นไป คือ รู้ความเป็นไปอันเป็นวิบาก แม้รู้ว่าสุขตามความเป็นจริง เพราะละตัณหากล่าวคือ ปณิธิได้ด้วยการถอนสุขสัญญาในอาการอันถึงทุกข์แล้ว ละด้วยสุขสัญญา. บทว่า นิมิตฺตญฺจ ปวตฺตญฺจ ย่อมรู้ย่อมเห็นนิมิตและ ความเป็นไป คือย่อมรู้สังขารนิมิต และความเป็นไปอันเป็นวิบากตามความ เป็นจริง เพราะละอัตตสัญญา แม้โดยประการทั้งสองด้วยการถอนฆนะอันรวม กันอยู่ด้วยมีมนสิการถึงธาตุต่างๆ. บัดนี้ ท่านกล่าวถึง ๓ บทเท่านั้นมีอาทิว่า ยญฺจ ยถาภูตํ าณํ ยถาภูตญาณ มิได้กล่าวถึงบทอื่น.

บทว่า ภยโต อุปฏฺาติ ย่อมปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว คือ นิมิตนั้นย่อมปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัวตามลำดับ เพราะเห็นความไม่มี สุขเป็นนิจและตัวตน. ด้วยบทมีอาทิว่า ยา จ ภยตูปฏฺาเน ปญฺา

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 396

ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ท่านกล่าวถึงญาณ ๓ ตั้งอยู่ใน ญาณเดียวอันแตกต่างกัน โดยประเภทของหน้าที่ สัมพันธ์กับภยตูปัฏฐานญาณใน วิปัสสนาญาณ ๙ กล่าวคือ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณ เป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ) ที่ท่านกล่าวไว้แล้วคือ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ปรีชาคำนึงเห็นทั้งความเกิดทั้งความดับ) ๑ ภังคานุปัสสนาญาณ (ปรีชาคำนึง เห็นความดับ) ๑ ภยตุปัฏฐานญาณ (ปรีชาคำนึงเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว) ๑ อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ปรีชาคำนึงเห็นโทษ) ๑ นิพพิทานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงถึงความเบื่อหน่าย) ๑ มุญจิตุกัมยตาญาณ (ปรีชาคำนึงด้วยใคร่จะ พ้นไปเสีย) ๑ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ปรีชาคำนึงด้วยพิจารณาหาทาง) ๑ สังขารุเบกขาญาณ (ปรีชาคำนึงด้วยความวางเฉยเสีย) ๑ อนุโลมญาณ (ปรีชา เป็นไปโดยสมควรแก่กำหนดรู้อริยสัจ) ไม่กล่าวถึงญาณที่เหลือ.

พระสารีบุตรเถระ เพื่อแสดงความที่สุญญตานุปัสสนาญาณร่วมกันนั้น ตั้งอยู่ในที่เดียวกัน โดยสัมพันธ์แห่งอนัตตานุปัสสนาอันเป็นลำดับ ตั้งอยู่ใน ที่สุดแห่งในอนุปัสสนา ๓ อีก จึงกล่าวบทมีอาทิว่า ยา จ อนตฺตานุปสฺสนา ยา จ สุญฺตานุปสฺสนา ธรรมเหล่านี้คือ อนัตตานุปัสสนาและสุญญตานุ- ปัสสนา. เพราะญาณ ๒ เหล่านี้ โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน แต่ต่างกัน โดยประเภทของหน้าที่. อนิจจานุปัสสนา และอนิมิตตานุปัสสนาโดยอรรถ เป็นญาณอันเดียวกัน ทุกขานุปัสสนาและอัปปณิหิตานุปัสสนา โดยอรรถเป็น ญาณอย่างเดียวกัน ต่างกันโดยประเภทของหน้าที่เท่านั้น เหมือนญานเหล่านี้. เมื่อท่านกล่าวความที่อนัตตานุปัสสนา และสุญญตานุปัสสนาตั้งอยู่เป็นอันเดียว กัน เป็นอันท่านกล่าวถึงความที่ญาณแม้ทั้งสองเหล่านั้น ตั้งอยู่เป็นอันเดียวกัน เพราะมีลักษณะอย่างเดียวกัน.

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 397

บทว่า นิมิตฺตํ ปฏิสงฺขา าณํ อุปฺปชชฺติ ญาณคือการ พิจารณานิมิตย่อมเกิด คือ ญาณย่อมเกิดเพราะรู้ด้วยอำนาจแห่งอนิจจลักษณะ ว่า สังขารนิมิตไม่ยั่งยืนเป็นไปชั่วกาล ถึงแม้ญาณเกิดขึ้นภายหลังเพราะรู้ก่อน ก็จริง ถึงดังนั้นโดยโวหาร ท่านกล่าวอย่างนี้ดุจบทมีอาทิว่า มโนวิญญาณ ย่อมเกิดเพราะอาศัยใจและธรรม. อนึ่ง แม้ผู้รู้คัมภีร์ศัพทศาสตร์ย่อมปรารถนา บทนี้แม้ในกาลเสมอกันดุจในบทมีอาทิว่า ความมืดย่อมปราศจากไปเพราะ ดวงอาทิตย์โผล่. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่าท่านกล่าวอย่างนี้ เพราะทำบทต้น และบทท้าย เป็นอันเดียวกันโดยนัยแห่งความเป็นอันเดียวกัน. โดยนัยนี้ พึงทราบอรรถในสองบทนอกนี้. ความที่ญาณ ๓ มีมุญจิตุกัมยตาญาณเป็นต้น ตั้งอยู่อย่างเดียวกันมีนัยดังได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

บทว่า นิมิตฺตา จิตฺตํ วุฏฺาติ จิตย่อมออกไปจากนิมิตคือ จิต ชื่อว่าย่อมออกไปจากสังขารนิมิต เพราะไม่คิดอยู่ในสังขารนิมิต ด้วยเห็นโทษ ในสังขารนิมิต. บทว่า อนิมิตฺเต จิตฺตํ ปกฺขนฺทติ จิตย่อมแล่นไปใน นิพพานอันหานิมิตมิได้ คือจิตย่อมเข้าไปในนิพพานอันหานิมิตมิได้ โดยเป็น ปฏิปักษ์ต่อสังขารนิมิต เพราะจิตน้อมไปในนิพพานนั้น. แม้ในอนุปัสสนา ทั้งสองที่เหลือก็พึงทราบความโดยนัยนี้. บทว่า นิโรธนิพฺพานธาตุยา ใน นิพพานธาตุอันเป็นที่ดับ คือในบทนี้เป็นอันท่านกล่าวถึงแม้สองอนุปัสสนาแรก. ปาฐะว่า นิโรเธ บ้าง. บทว่า พหิทฺธาวุฏฺานวิวฏฺฏเน ปญฺา ปัญญา ในความออกไปและความหลีกไปภายนอก คือ ท่านกล่าวถึงโคตรภูญาณโดยการ สัมพันธ์ด้วยการออก. บทว่า โคตฺรภูธมฺมา คือโคตรภูญาณนั่นเอง. เพราะ ความที่โคตรภูญาณตั้งอยู่อย่างเดียวกัน ด้วยประการนอกนี้ ย่อมไม่ควร. พึง ทราบว่าท่านทำเป็นพหุวจนะ ดุจในบทมีอาทิว่าธรรมทั้งหลายที่เป็นอสังขตะ

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 398

ธรรมทั้งหลายที่ไม่เป็นปัจจัย หรือด้วยสามารถแห่งมรรค ๔ เพราะวิโมกข์ ก็คือมรรค และมรรคออกไปจากส่วนทั้งสอง ฉะนั้น ด้วยความสัมพันธ์นั้น ท่านจึงกล่าวบทมีอาทิว่า ยา จ ทุภโตวุฏฺานวิวฏฺฏเน ปญฺา ปัญญา ในความออกไปและหลีกออกไปจากส่วนทั้งสอง.

พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงปริยายในขณะเดียวกัน แห่งขณะ ต่างกันของวิโมกข์ทั้งหลายอีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กตีหาการาหิ ด้วยอาการ เท่าไร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อาธิปเตยฺยฏฺเน คือด้วยความเป็นใหญ่. บทว่า อธิฏฺานฏฺเน คือด้วยความตั้งมั่น. บทว่า อภินีหารฏฺเน คือ ด้วยความน้อมจิตไปโดยวิปัสสนาวิถี. บทว่า นิยฺยานฏฺเน ด้วยความนำ ออกไป คือด้วยการเข้าถึงนิพพาน. บทว่า อนิจฺจโต มนสิกโรโต มนสิการ โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง คือในขณะแห่งวิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินี นั่นเอง. บทว่า อนิมิตฺโต วิโมกฺโข อนิมิตตวิโมกข์ คือในขณะแห่งมรรค นั่นเอง. ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้. บทว่า จิตฺตํ อธิฏฺาติ ย่อมตั้งจิตมั่นไว้ คือทำจิตให้ยิ่งตั้งมั่นไว้. อธิบายว่า ยังจิตให้ตั้งมั่น. บทว่า จิตฺตํ อภินีหรติ ย่อมน้อมจิตไป คือน้อมจิตไปโดยวิปัสสนาวิถี.

บทว่า นิโรธํ นิพฺพานํ นิยฺยาติ ย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานอัน เป็นที่ดับ คือ ท่านแสดงความที่ขณะต่างกัน ๔ ส่วนโดยความต่างกันด้วย อาการอย่างนี้ว่า บุคคลย่อมเข้าถึงนิพพานกล่าวคือความดับ.

บทว่า สโมธานฏฺเน ด้วยความประชุมลง เพราะมีขณะเดียวกัน คือ ด้วยความประชุมรวมกัน. บทว่า อธิคมนฏฺเน ด้วยความบรรลุ คือ ด้วยความรู้. บทว่า ปฏิลาภฏฺเน ด้วยความได้ คือด้วยการถึง. บทว่า

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 399

ปฏิเวธฏฺเน ด้วยความแทงตลอด คือด้วยความแทงตลอดด้วยญาณ. บทว่า สจฺฉิกรณฏฺเน ด้วยความทำให้แจ้ง คือด้วยทำให้ประจักษ์. บทว่า ผสฺสนฏฺเน ด้วยความถูกต้อง คือด้วยความถูกต้องด้วยสัมผัสญาณ. บทว่า อภิสมยฺเน ด้วยความตรัสรู้ คือด้วยความมาถึงพร้อมเฉพาะหน้า. ใน บทว่า สโมธานฏฺเน นี้ เป็นบทมูลเหตุ. บทที่เหลือเป็นไวพจน์ของความ สำเร็จ เพราะฉะนั้นแล ท่านจึงทำการแก้บททั้งหมดเป็นอันเดียวกัน. บทว่า นิมิตฺตา มุจฺจติ ย่อมพ้นจากนิมิต คือพ้นจากนิมิตว่าเป็นสภาพเที่ยง ด้วย บทนี้ท่านกล่าวถึงอรรถของวิโมกข์. บทว่า ยโต มุจฺจติ พ้นจากอารมณ์ใด คือพ้นจากนิมิตใด. บทว่า ตตฺถ น ปณิทหติ ย่อมไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์นั้น คือไม่ทำความปรารถนาในนิมิตนั้น. บทว่า ยตฺถ น ปฏิทหติ ย่อมไม่ ตั้งอยู่ในอารมณ์ใด คือ ย่อมไม่ตั้งอยู่ในนิมิตใด. บทว่า เตน สุญฺโ เป็น ผู้ว่างเปล่าจากอารมณ์นั้น คือว่างเปล่าจากนิมิตนั้น. บทว่า เยน สุญฺโ เป็นผู้ว่างเปล่าจากอารมณ์ใด คือเป็นผู้ว่างเปล่าจากนิมิตใด ด้วยบทนี้ว่า เตน นิมิตฺเตน อนิมิตฺโต ไม่มีนิมิตเพราะนิมิตนั้น ท่านกล่าวถึงความไม่มีนิมิต. บทว่า ปณิธิยา มุจฺจติ ย่อมพ้นจากความปรารถนาอันเป็นที่ตั้ง. ปาฐะว่า ปณิธิ มุจฺจติ มีอรรถเป็นปัญจมีวิภัตติ คือพ้นจากปณิธิ ด้วยบทนี้ท่าน กล่าวถึงวิโมกข์. บทว่า ยตฺถ น ปณิทหติ บุคคลย่อมไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์ใด คือไม่ตั้งอยู่ในทุกข์ใด. บทว่า เตน สุญฺโ เป็นผู้ว่างเปล่าจากอารมณ์นั้น คือว่างเปล่าจากทุกข์นั้น. บทว่า เยน สุญฺโ เป็นผู้ว่างเปล่าจากอารมณ์ใด คือว่างเปล่าจากทุกขนิมิตใด. บทว่า เยน นิมิตฺเตน เพราะนิมิตใด คือ เพราะทุกขนิมิตใด. ด้วยบทนี้ว่า ตตฺถ น ปณิทหติ บุคคลไม่ตั้งอยู่ ในนิมิตนั้น ท่านกล่าวถึงความไม่ตั้งไว้. ด้วยบทนี้ว่า อภินิเวสา มุจฺจติ

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 400

พ้นจากความยึดมั่น ท่านกล่าวถึงวิโมกข์. บทว่า เยน สุญฺโ เป็นผู้ ว่างเปล่าจากอารมณ์ใด คือเป็นผู้ว่างเปล่านิมิตคือความยึดมั่นใด. บทว่า เยน นิมิตฺเตน เพราะนิมิตใด คือ เพราะนิมิตคือความยึดมั่นใด. บทว่า ยตฺถ น ปณิทหติ เตน สุญฺโ บุคคลไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์ใด เป็นผู้ว่างเปล่าจาก อารมณ์นั้น คือ ไม่ตั้งอยู่ในนิมิตคือความยึดมั่นใด เป็นผู้ว่างเปล่าจากนิมิต คือความยึดมั่นนั้น ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึงเนื้อความสุญญตะ

พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงวิโมกข์ ๘ เป็นต้นอีก จึงกล่าวคำ มีอาทิว่า อตฺถิ วิโมกฺโข วิโมกข์มีอยู่ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทมีอาทิว่า นิจฺจโต อภินิเวสา พ้นจากความยึดมั่น โดยความเป็นของไม่เที่ยง พึงทราบ โดยนัยที่ท่านกล่าวแล้วในสัญญาวิโมกข์. บทว่า สพฺพาภินิเวเสหิ จากความ ยึดมั่นทั้งปวง คือจากความยึดมั่นมีประการดังกล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ ด้วยสามารถแห่งการพ้นจากความยึดมั่น. ชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ ด้วยสามารถแห่งความพ้นจากนิมิตมีความเป็นสภาพเที่ยงเป็นต้น. ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ ด้วยสามารถแห่งความพ้นจากความปรารถนาอันเป็นที่ตั้ง มีความเป็นสภาพเที่ยงเป็นต้น.

อนึ่ง ในบทนี้ว่า ปณิธิ มุจฺจติ พึงทราบว่าเป็นปัญจมีวิภัตติในที่ ทั้งปวง แปลว่า พ้นจากปณิธิ หรือปาฐะว่า ปณิธิยา มุจฺจติ แปลอย่าง เดียวกันว่า พ้นจากปณิธิ. มีตัวอย่างในบทนี้ว่า สพฺพปณิธีหิ มุจฺจติ พ้น จากปณิธิทั้งปวง. ท่านกล่าวอนุปัสสนา ๓ อย่างนี้ว่า วิโมกข์โดยปริยาย เพราะ ความที่วิโมกข์เป็นองค์ของวิปัสสนานั้น และเพราะเป็นปัจจัยแห่งสมุจเฉทวิโมกข์.

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 401

บทว่า ตตฺถ ชาตา เกิดในมรรควิโมกข์นั้น ท่านอธิบายว่า เมื่อ วิปัสสนาวิโมกข์แม้อยู่ในลำดับ กุศลธรรมทั้งหลายเกิดในมรรควิโมกข์นั้น เพราะกถานี้เป็นอธิการแห่งมรรควิโมกข์. บทว่า อนวชฺชกุสลา กุศลธรรม อันไม่มีโทษ คือกุศลปราศจากโทษมีราคะเป็นต้น หรือทำการตัดเด็ดขาด. บทว่า โพธิปกฺขิยา ธมฺมา โพธิปักขิยธรรม (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความ ตรัสรู้) คือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ที่ท่านกล่าวไว้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘. บทว่า อิทํ มุขํ นี้ ธรรมเป็นประธาน ท่านอธิบายว่า ธรรมชาติมีประการดังกล่าว แล้วนี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นประธาน เพราะเป็นประธานแห่งการเข้าไปสู่นิพพาน โดยอารมณ์. บทว่า เตสํ ธมฺมานํ แห่งธรรมเหล่านั้น คือแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น.

บทว่า อิทํ วิโมกฺขมุขํ นี้เป็นธรรมอันเป็นประธานแห่งวิโมกข์ คือ นิพพานเป็นนิสสรณวิโมกข์ ในบรรดาวิกขัมภนวิโมกข์ ตทังควิโมกข์ สุมุจเฉทวิโมกข์ ปฏิปัสสัทธิวิโมกข์ และนิสสรณวิโมกข์ นิพพานชื่อว่า วิโมกฺขมุขํ เพราะเป็นประธานด้วยอรรถว่าสูงสุด ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรม หรืออสังขตธรรมมีประมาณเท่าใด วิราคะท่านกล่าวว่า เลิศกว่าธรรมเหล่านั้น. ท่านกล่าวอรรถนี้ด้วยอำนาจแห่ง กัมมธารยสมาสว่า วิโมกข์นั้นด้วยเป็นประธานด้วย ชื่อว่า วิโมกฺขมุขํ. ใน บทว่า วิโมกฺขญฺจ นี้เป็นลิงควิปลาส. บทว่า ตีณิ อกุสลมูลานิ อกุศลมูล ๓ คือ ราคะ โทสะ โมหะ. บทว่า ตีณิ ทุจฺจริตานิ ทุจริต ๓ คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต. บทว่า สพฺเพปิ อกุสลา ธมฺมา อกุศลธรรมแม้

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 402

ทั้งหมด คืออกุศลธรรม สัมปยุตด้วยอกุศลมูล สัมปยุตและไม่สัมปยุตด้วยทุจริต เว้นโทมนัสที่ควรเสพเป็นต้น. บทว่า กุสลมูลสุจริตานิ สุจริตอันเป็นกุศลมูล พึงทราบโดยเป็นปฏิปักษ์กับทุจริตอันเป็นอกุศลมูลดังกล่าวแล้ว.

บทว่า สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา กุสลธรรมแม้ทั้งหมด คือกุศลธรรมแม้ทั้งหมดเป็นอุปนิสัยแห่งวิโมกข์ สัมปยุตและไม่สัมปยุตด้วยกุศลมูลตามนัยดังกล่าวแล้ว. วิวัฏฏกถา (กถาว่าด้วยการหลีกออกไป) ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลัง. แต่ในที่นี้ท่านกล่าวถึงวิวัฏฏะที่เหลือโดยสัมพันธ์กับวิโมกขวิวัฏ บทว่า อาเสวนา การเสพ คือเสพแต่ต้น. บทว่า ภาวนา การเจริญ คือการเจริญแห่งวิโมกข์นั้นนั่นเอง. บทว่า พหุลีกมฺมํ การทำให้มาก คือทำบ่อยๆ ด้วยการถึงความชำนาญแห่งวิโมกข์นั้น. อนึ่ง พึงทราบการเสพเป็นต้น ด้วยสามารถยังกิจให้สำเร็จในขณะเดียวแห่งมรรคนั่นเอง. บทมีอาทิว่า ปฏิลาโภ วา วิปาโก วา การได้หรือวิบากมีอรรถดังได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั้นแล ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาวิโมกขกถา

แห่งสัทธัมมปกาสินี อรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค