๕. วิราคกถา ว่าด้วยวิราคธรรม
[เล่มที่ 69] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 551
ยุคนัทธวรรค
๕. วิราคกถา
ว่าด้วยวิราคธรรม หน้า 551
อรรถกถาวิราคกถา หน้า 558
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 69]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 551
ยุคนัทธวรรค
วิราคกถา
ว่าด้วยวิราคธรรม
[๕๘๘] วิราคะเป็นมรรค วิมุตติเป็นผล วิราคะเป็นมรรคอย่างไร?
ในขณะโสดาปัตติมรรค สัมมาทิฏฐิด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมคลายจาก มิจฉาทิฏฐิ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิต ภายนอก วิราคะ (มรรค) มีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็น โคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิด เพราะสัมมาทิฏฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้น มรรคจึง เป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อม ถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคอันมี องค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรค ของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึง ประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย.
สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าดำริ ย่อมคลายจากมิจฉาสังกัปปะ สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด ย่อมคลายจากมิจฉาวาจา สัมมากัมมันตะด้วยอรรถ ว่าตั้งขึ้นด้วยดี ย่อมคลายจากมิจฉากัมมันตะ สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 552
อาชีวะให้ผ่องแผ้ว ย่อมคลายจากมิจฉาอาชีวะ สัมมาวายามะด้วยอรรถว่า ประคองไว้ ย่อมคลายจากมิจฉาวายามะ สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ย่อม คลายจากมิจฉาสติ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากมิจฉาสมาธิ จากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นนั้น จากขันธ์และสรรพนิมิต ภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมใน วิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาสังกัปปะ เป็นต้นนั้น มีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็น มรรค องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น มรรค จึงเป็นวิราคะ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมไปถึง นิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้เพราะฉะนั้น อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุดและประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์ เป็นอันมาก ผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรค ทั้งหลาย.
[๕๘๙] ในขณะสกทาคามิมรรค สัมมาทิฏฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยส่วนหยาบๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธิ นั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯ เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย.
[๕๙๐] ในขณะอนาคามิมรรค สัมมาทิฏฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 553
สมาธินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯ เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย.
[๕๙๑] ในขณะอรหัตตมรรค สัมมาทิฏฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย คลายจากกิเลสที่ เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมี วิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็น วิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาสมาธิมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็น วิราคะ ๑ เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึง ความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก ผู้ถือลัทธิอื่น เพราะ ฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย.
[๕๙๒] สัมมาทิฏฐิเป็นวิราคะเพราะความเห็น สัมมาสังกัปปะเป็น วิราคะเพราะความดำริ สัมมาวาจาเป็นวิราคะเพราะความกำหนด สัมมากัมมันตะเป็นวิราคะเพราะความตั้งขึ้นไว้ชอบ สัมมาอาชีวะเป็นวิราคะเพราะ ชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้ว สัมมาวายามะเป็นวิราคะเพราะประคองไว้ สัมมาสติ เป็นวิราคะเพราะตั้งมั่น สัมมาสมาธิเป็นวิราคะเพราะไม่ฟุ้งซ่าน สติสัมโพชฌงค์ เป็นวิราคะเพราะตั้งมั่น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะเลือกเฟ้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะประคองไว้ ปีติสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 554
แผ่ซ่านไป ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความสงบ สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นวิราคะเพราะความไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความ พิจารณาหาทาง สัทธาพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวในความไม่มี ศรัทธา วิริยพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน สติพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวในความประมาท สมาธิพละเป็น วิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวในอุทธัจจะ ปัญญาพละเป็นวิราคะเพราะ ความไม่หวั่นไหวในอวิชชา สัทธินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความน้อมใจเชื่อ วิริยินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความประคองไว้ สตินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความ ตั้งมั่น สมาธินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์เป็นวิราคะ เพราะความเห็น อินทรีย์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ พละเป็นวิราคะ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่านำออกไป มรรคเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานเป็นวิราคะเพราะอรรถว่า ตั้งมั่น สัมมัปปธานเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเริ่มตั้งไว้ อิทธิบาทเป็นวิราคะ เพราะอรรถว่าให้สำเร็จ สัจจะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นของถ่องแท้ สมถะ เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาวิราคะเพราะอรรถว่าพิจารณา เห็น สมถวิปัสสนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมที่ คู่กันเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน สีลวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถ ว่าสำรวม จิตตวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิเป็น วิราคะเพราะอรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าพ้นวิเศษ วิชชา เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าแทงตลอด วิมุตติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าสละ ขยญาณเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าตัดขาด ฉันทะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็น มูล มนสิการเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นวิราคะเพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 555
อรรถว่าเป็นที่รวม เวทนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุมลง สมาธิ เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นประธาน สติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้นๆ วิมุตติเป็นวิราคะ เพราะอรรถว่าเป็นสารธรรม สัมมาทิฏฐิเป็นมรรคเพราะความเห็น สัมมาสังกัปปะเป็นมรรคเพราะความดำริ ฯลฯ นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นมรรค เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด วิราคะเป็นมรรคอย่างนี้.
[๕๙๓] วิมุตติเป็นผลอย่างไร ในขณะโสดาปัตติผล สัมมาทิฏฐิด้วย อรรถว่าเห็น พ้นจากมิจฉาทิฏฐิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้นจาก ขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิมุตติมีวิมุตติเป็นอารมณ์ มีวิมุตติเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิมุตติ ตั้งอยู่ในวิมุตติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุตติ วิมุตติในคำว่า วิมุตฺติ นี้มี ๒ คือ นิพพาน เป็นวิมุตติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฏฐิ มีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นวิมุตติ ๑ เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงเป็นผล สัมมาสังกัปปะ ด้วยอรรถว่าดำริ พ้นจากมิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด พ้นจากมิจฉาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้งไว้ด้วยดี พ้นจาก มิจฉากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีพให้ผ่องแผ้ว พ้นจาก มิจฉาอาชีวะ ฯลฯ สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ พ้นจากมิจฉาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พ้นจากมิจฉาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วย อรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พ้นจากมิจฉาสมาธิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นนั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิมุตติมีวิมุตติเป็น อารมณ์ มีวิมุตติเป็นโคจร ประชุมเข้าในวิมุตติ ตั้งอยู่ในวิมุตติ ประดิษฐานอยู่ ในวิมุตติ วิมุตติในคำว่า วิมุตติ นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิมุตติ ๑ ธรรมทั้งปวง ที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุตติ ๑ เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงเป็นผล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 556
[๕๙๔] ในขณะสกทาคามิผล สัมมาทิฏฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐิเป็นต้นนั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก ... เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงเป็นผล.
[๕๙๕] ในขณะอนาคามิผล สัมมาทิฏฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐิ เป็นต้นนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก ... เพราะฉะนั้น วิมุตติ จึงเป็นผล.
[๕๙๖] ในขณะอรหัตตผล สัมมาทิฏฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัยพ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐิเป็นต้นนั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิมุตติมีวิมุตติเป็นอารมณ์ มีวิมุตติเป็นโคจรประชุมเข้าในวิมุตติ ตั้งอยู่ในวิมุตติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุตติ วิมุตติในคำว่า วิมุตฺติ นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิมุตติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิด เพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นวิมุตติ ๑ เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงเป็นผล.
[๕๙๗] สัมมาทิฏฐิเป็นวิมุตติเพราะความเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็น วิมุตติเพราะความไม่ฟุ้งซ่าน สติสัมโพชฌงค์เป็นวิมุตติ เพราะความตั้งไว้มั่น ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นวิมุตติเพราะความพิจารณาหาทาง สัทธาพละเป็น วิมุตติเพราะความไม่หวั่นไหวในความไม่มีศรัทธา ฯลฯ ปัญญาพละเป็นวิมุตติ เพราะความไม่หวั่นไหวในอวิชชา สัทธินทรีย์เป็นวิมุตติเพราะความน้อมใจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 557
เชื่อ ฯลฯ ปัญญินทรีย์เป็นวิมุตติเพราะความเห็น อินทรีย์เป็นวิมุตติเพราะอรรถ ว่าเป็นใหญ่ พละเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวโพชฌงค์เป็นวิมุตติเพราะ อรรถว่าเป็นเครื่องนำออก มรรคเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐาน เป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าตั้งมั่น สัมมัปปธานเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าเริ่มตั้งไว้ อิทธิบาทเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ สัจจะเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าเป็น ของถ่องแท้ สมถะเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาเป็นวิมุตติเพราะ อรรถว่าพิจารณาเห็น สมถวิปัสสนาเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมที่เป็นคู่กันเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน สีลวิสุทธิเป็นวิมุตติ เพราะอรรถว่าสำรวม จิตตวิสุทธิเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าพ้น วิชชาเป็นวิ- มุตติเพราะอรรถว่าแทงตลอด วิมุตติเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าสละ ญาณในความ ไม่เกิดขึ้นเป็นวิมุตติ เพราะอรรถว่าระงับ ฉันทะเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าเป็นมูล มนสิการเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่า เป็นที่รวม เวทนาเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม สมาธิเป็นวิมุตติเพราะ อรรถว่าเป็นประธาน สติเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นวิมุตติ เพราะอรรถว่าเป็นธรรมยิ่งกว่าธรรมนั้นๆ วิมุตติเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าเป็น สารธรรม นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นวิมุตติเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด วิมุตติ เป็นผลอย่างนี้ วิราคะเป็นมรรค วิมุตติเป็นผล ด้วยประการฉะนี้.
จบวิราคกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 558
อรรถกถาวิราคกถา
บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยพรรณนา แห่งวิราคกถา อันมีกล่าว คือ วิราคะ เป็นเบื้องต้นอันพระสาริบุตรเถระกล่าวไว้แล้ว ในลำดับ แห่งเมตตากถาอันเป็นที่สุดแห่งการประกอบมรรค.
พึงทราบวินิจฉัยในวิราคกถานั้นก่อน. พระสารีบุตรเถระประสงค์จะ ชี้แจงอรรถแห่งบทพระสูตรทั้งสองที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า เมื่อ หน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมพ้น จึงตั้งอุเทศว่า วิราโค มคฺโค วิมุตฺติ ผลํ วิราคะเป็นมรรค วิมุตติเป็นผล.
พระสารีบุตรเถระประสงค์ชี้แจงอรรถแห่งคำในวิราคกถานั้นก่อน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กถํ วิราโค มคฺโค วิราคะเป็นมรรคอย่างไร. ใน บทเหล่านั้น บทว่า วิรชฺชติ ย่อมคลาย คือ ปราศจากความกำหนัด. บทที่ เหลือมีอรรถดังกล่าวแล้วในมรรคญาณนิเทศ. บทว่า วิราโค ความว่า เพราะ สัมมาทิฏฐิ ย่อมคลายความกำหนัด ฉะนั้น จึงชื่อว่า วิราคะ.
อนึ่ง วิราคะ (มรรค) นั้น เพราะมีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ ฯลฯ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ ฉะนั้น พึงทราบความสัมพันธ์ของคำทั้งหลาย ๕ มีอาทิว่า วิราคารมฺมโณ (มีวิราคะ คือนิพพาน เป็นอารมณ์) อย่างนี้ว่า วิราโค วิราคะ (มรรค). ในบทเหล่านั้น บทว่า วิราคารมฺมโณ คือ มี นิพพานเป็นอารมณ์. บทว่า วิราคโคจโร มีวิราคะเป็นโคจร คือ มีนิพพาน เป็นวิสัย. บทว่า วิราเค สมุปาคโต เข้ามาประชุมในวิราคะ คือ เกิดพร้อม กันในนิพพาน. บทว่า วิราเค ิโต ตั้งอยู่ในวิราคะ คือ ตั้งอยู่ในนิพพาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 559
ด้วยอำนาจแห่งความเป็นไป. บทว่า วิราเค ปติฏิโต ประดิษฐานใน วิราคะ คือ ประดิษฐานในนิพพานด้วยอำนาจแห่งการไม่กลับ. บทว่า นิพฺ- พานญฺจ วิราโค นิพพานเป็นวิราคะ คือ นิพพาน ชื่อว่า เป็นวิราคะเพราะ มีวิราคะเป็นเหตุ. บทว่า นิพฺพานารมฺมณตา ชาตา ธรรมทั้งปวงเกิดเพราะ สัมมาทิฏฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์ คือ ธรรมทั้งปวงเกิดในสัมมาทิฏฐิมีนิพพาน เป็นอารมณ์ หรือ ด้วยความที่สัมมาทิฏฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์. ธรรมทั้งหลาย มีผัสสะเป็นต้น ทั้งปวงอันสัมปยุตด้วยมรรคเหล่านั้น ชื่อว่า วิราคะ เพราะ อรรถว่าคลายความกำหนัด เพราะเหตุนั้นจึง ชื่อว่า วิราคะ. บทว่า สหชาตานิ เป็นสหชาติ คือ องค์แห่งมรรค ๗ มีสัมมาสังกัปปะเป็นต้น เกิดร่วม กับสัมมาทิฏฐิ. บทว่า วิราคํ คจฺฉนฺตีติ วิราโค มคฺโค องค์ ๗ ที่เกิด ร่วมกันย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะเหตุนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค ความว่า องค์ ๗ ที่เกิดร่วมกันย่อมถึงวิราคะทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ เพราะเหตุนั้นจึง ชื่อว่า วิราคะ เพราะมีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ ชื่อว่า มรรค เพราะ อรรถว่าแสวงหา องค์แห่งมรรคแม้องค์หนึ่งๆ ย่อมได้ ชื่อว่า มรรค เมื่อท่านกล่าวถึงความที่องค์หนึ่งๆ เป็นมรรค เป็นอันกล่าวถึงความที่แม้ สัมมาทิฏฐิ ก็เป็นมรรคด้วยเหมือนกัน เพราะฉะนั้นแหละท่านจึงถือเอาองค์ แห่งมรรค ๘ แล้วกล่าวว่า เอเตน มคฺเคน ด้วยมรรคนี้. บทว่า พุทฺธา จ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านสงเคราะห์เอาแม้พระปัจเจกพุทธเจ้าด้วย. จริงอยู่ แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ก็ชื่อว่า พุทธะเหมือนกัน เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้า ๒ เหล่านั้น คือ พระ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า. บทว่า อคตํ ไม่เคยไป คือ ไม่เคยไปในสงสารอันไม่รู้เบื้องต้นที่สุด. บทว่า ทิสํ ชื่อว่า ทิส เพราะเห็น อ้างถึง ติดต่อ ด้วยการปฏิบัติทั้งสิ้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทิส เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงเห็น ทรงอ้างถึง ทรงกล่าวว่า ปรมึ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 560
สุขํ เป็นสุขอย่างยิ่ง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทิส เพราะเป็นเหตุเห็น สละ ทอดทิ้งทุกข์ทั้งปวง นิพพานอันเป็นทิสนั้น.
บทว่า อฏฺงฺคิโก มคฺโค มรรคมีองค์ ๘ ท่านกล่าวไว้อย่างไร. ท่านกล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายและพระสาวกทั้งหลาย ย่อมถึงนิพพาน ด้วยประชุมธรรมมีองค์ ๘ นั้น ด้วยเหตุนั้น ประชุมธรรมมีองค์ ๘ นั้น จึง ชื่อว่า มรรค เพราะอรรถเป็นเครื่องไป. บทว่า ปุถุสมณพฺราหฺมณานํ ปรปฺปวาทานํ สมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือลัทธิอื่น คือ สมณะและพราหมณ์ต่างถือลัทธิอื่นจากศาสนานี้. บทว่า อคฺโค เลิศ คือ มรรคมีองค์ ๘ ประเสริฐกว่ามรรคที่เหลือเหล่านั้น. บทว่า เสฏฺโ ประเสริฐ คือ น่าสรรเสริญอย่างยิ่งกว่ามรรคที่เหลือ. บทว่า วิโมกฺโข เป็นประธาน คือ ดีใน การเป็นประธาน ความว่า ความดีนี้แหละในเพราะเป็นประธานของมรรคที่ เหลือ. บทว่า อุตฺตโม สูงสุด คือ ข้ามมรรคที่เหลือไปได้อย่างวิเศษ. บทว่า ปวโร ประเสริฐ คือ แยกออกจากมรรคที่เหลือโดยประการต่างๆ. บทว่า อิติ เป็นนิบาตลงในอรรถว่าเหตุ. เพราะฉะนั้นอธิบายว่า พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสว่าอัฏฐังคิกมรรคประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย สมดังที่พระองค์ ตรัสไว้ว่า
อัฏฐังคิกมรรคประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย บท ทั้ง ๔ ประเสริฐกว่าสัจจะทั้งหลาย วิราคะประเสริฐ กว่าธรรมทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าประเสริฐกว่า สัตว์ ๒ เท่าทั้งหลาย.
ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสมรรคนั้นแล้วตรัสว่า อัฏฐังคิกมรรคประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ดังนี้. แม้ในวาระที่เหลือ พึงทราบความ โดยนัยนี้ และโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 561
วิราคะ อันได้แก่ความเห็นในบทมีอาทิว่า ทสฺสนวิราโค ชื่อว่า วิราคะเพราะความเห็น. พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงพละก่อนกว่าอินทรีย์ในที่นี้ เพราะพละประเสริฐกว่าอรรถแห่งความเป็นอินทรีย์. บทมีคำอาทิว่า อธิปเตยฺยฏฺเน อินฺทฺริยานิ เป็นอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ เป็นการชี้แจง อรรถของอินทรีย์เป็นต้น มิใช่ชี้แจงอรรถของวิราคะ. บทว่า ตถฏฺเน สจฺจา เป็นสัจจะ เพราะอรรถว่าเป็นของแท้ คือ พึงทราบว่าเป็นสัจจญาณ. บทว่า สีล วิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งศีล คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ. บทว่า จิตฺตวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งจิต คือ สัมมาสมาธิ. บทว่า ทิฏฐิวิสุทฺธิ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ. บทว่า วิชฺชาวิมุตฺตฏฺเน เพราะอรรถว่า พ้นวิเศษ คือ เพราะอรรถพ้นจากกิเลสอันทำลายด้วยมรรคนั้นๆ. บทว่า วิชฺชา ความรู้แจ้ง คือ สัมมาทิฏฐิ. บทว่า วิมุตฺติ ความพ้นวิเศษ คือ สมุจ- เฉทวิมุตติ. บทว่า อยโตคธํ นิพฺพานํ ปริโยสานฏฺเน มคฺโค นิพพาน อันหยั่งลงในอมตะเป็นมรรค เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ชื่อว่า มรรค เพราะ แสวงหาด้วยการพิจารณามรรคผล. ธรรมที่ท่านกล่าวในวิราคนิเทศนี้แม้ทั้ง หมด ก็ในขณะแห่งมรรคนั่นเอง ในวิมุตตินิเทศ ในขณะแห่งผล เพราะ ฉะนั้น แม้มนสิการถึงฉันทะก็สัมปยุตด้วยมรรคผล. พึงทราบอรรถ แม้ใน วิมุตตินิเทศโดยนัยดังกล่าวแล้วในวิราคนิเทศนั่นแล. อนึ่ง ผลในนิเทศนี้ ชื่อว่า วิมุตติ เพราะพ้นด้วยความสงบ. นิพพาน ชื่อว่า วิมุตติ เพราะพ้น ด้วยการนำออกไป. คำมีอาทิว่า สหชาตานิ สตฺตงฺคานิ องค์ ๗ เป็น สหชาติ ย่อมไม่ได้ในที่นี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงไม่ได้กล่าวไว้ เพราะพ้นเป็นผล เองท่านจึงกล่าวเพียงเท่านี้ว่า ปริจฺจาคฏฺเน วิมุตฺติ ชื่อว่า วิมุตติ เพราะ อรรถว่าสละ. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาวิราคกถา