พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ปฏิสัมภิทากถา ว่าด้วยปฏิสัมภิทา ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  40969
อ่าน  418

[เล่มที่ 69] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 562

ยุคนัทธวรรค

๖. ปฏิสัมภิทากถา

ว่าด้วยปฏิสัมภิทา ๔ หน้า 562

อรรถกถาปฏิสัมภิทากถา

อรรถกถาธรรมจักกัปปวัตตนวาร หน้า 576

อรรถกถาสติปัฏฐานวารเป็นต้น หน้า 585

อรรถกถาสัตตโพธิสัตตวารเป็นต้น หน้า 586

อรรถกถาฉพุทธธรรมวาร หน้า 587


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 69]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 562

ยุคนัทธวรรค ปฏิสัมภิทากถา

ว่าด้วยปฏิสัมภิทา ๔

[๕๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุเบญจวัคคีย์ ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุด ๒ ประการนี้ บรรพชิตไม่ควรเสพ ส่วนสุด ๒ ประการเป็นไฉน? คือ การประกอบความพัวพันกามสุขในกามทั้งหลาย อันเป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ การประกอบการทำตนให้ลำบาก เป็นทุกข์ ไม่ใช่ ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาอันไม่เกี่ยวข้องส่วนสุดทั้ง ๒ ประการนี้นั้น ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำจักษุ ทำญาณ (เห็นประจักษ์รู้ชัด) ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคต ตรัสรู้แล้ว ทำจักษุ ทำญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ ตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน? อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ... สัมมาสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทานี้นั้นแล ตถาคตตรัสรู้ แล้ว ทำจักษุ ทำญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

[๕๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความป่วยไข้ก็เป็นทุกข์ แม้ความตาย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 563

ก็เป็นทุกข์ ความประจวบกับสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความ พลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รักเป็นทุกข์ แม้ความไม่ได้สมปรารถนา ก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทยสัจนี้แล คือ ตัณหาอันให้เกิดในภพต่อไป อันสหรคตด้วยความกำหนัด ด้วยสามารถความเพลิดเพลิน เป็นเหตุให้เพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้แล คือ ความดับตัณหานั้นแลโดยความสำรอกไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน ความปล่อย ความไม่พัวพัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจนี้แล คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.

[๖๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้ ฯลฯ เรา กำหนดรู้แล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้น ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละ ฯลฯ เราละ ได้แล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้น ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 564

ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง ฯลฯ เราทำให้แจ้งแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้น ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลาย ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราได้เจริญแล้ว.

[๖๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ยถาภูตญาณทัศนะมีวนรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ ด้วยประการฉะนี้ ในอริยสัจ ๔ ของเรา ยังไม่หมดจดดี เพียงใด เราก็ ยังไม่ปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์เพียงนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อใดแล ยถาภูตญาณทัศนะมี วนรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ ด้วยประการฉะนี้ ในอริยสัจ ๔ ของเรา หมดจด ดีแล้ว เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ก็แลญาณทัศนะเกิดขึ้นแก่เราว่า เจโตวิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ ไม่มีการเกิดในภพต่อไป พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส ไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ชื่นชมยินดีพระพุทธภาษิตของ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะ ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับ เป็นธรรมดา.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 565

ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรแล้ว ภุมมเทวดา ก็ ประกาศก้องว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังธรรมจักรอันประเสริฐนี้ ที่สมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้เป็นไปไม่ได้ ให้เป็น ไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เทวดาชั้นจาตุมมหาราช ได้ฟังเสียงของภุมมเทวดาแล้ว ฯลฯ เทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดา ชั้นดุสิต เทวดาชั้นนิมมานรดี เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาผู้นับเนื่อง ในหมู่พรหมก็ประกาศก้องว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังธรรมจักรอันประเสริฐ นี้ ที่สมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ให้เป็นไป ไม่ได้ ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี.

เพราะเหตุดังนี้แล โดยขณะระยะครู่เดียวนั้น เสียงก็บันลือลั่นไปจน ตลอดพรหมโลก และหมื่นโลกธาตุนี้ ก็สะเทือนสะท้านหวั่นไหว อนึ่ง แสงสว่างอย่างยิ่ง หาประมาณมิได้ ก็ปรากฏขึ้นในโลก ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพ ของเทวดาทั้งหลาย.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า ท่านผู้เจริญ ภิกษุ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ท่านผู้เจริญ ภิกษุโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะ อุทานดังนี้แล ท่านโกณฑัญญะจึงมีนามว่า อัญญาโกณฑัญญะ ดังนี้.

[๖๐๒] จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ คำว่า จักษุเกิดขึ้น ... แสง สว่างเกิดขึ้นนี้ เพราะอรรถว่ากระไร?

คำว่า จักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น คำว่า ญาณเกิดขึ้น เพราะ อรรถว่ารู้ คำว่า ปัญญาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าทราบชัด คำว่า วิชชาเกิดขึ้น เพื่ออรรถว่าแทงตลอด คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 566

จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่างเป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็น โคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรม เหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณใน ธรรมทั้งหลายว่า ธรรมปฏิสัมภิทา.

ความเห็นเป็นอรรถ ความรู้เป็นอรรถ ความทราบชัดเป็นอรรถ ความแทงตลอดเป็นอรรถ ความสว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของ อรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใด เป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในอรรถทั้งหลายว่า อรรถปฏิสัมภิทา.

การกล่าวพยัญชนนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การกล่าวพยัญชนนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ นิรุตติ ๑๐ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็น โคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใด เป็นอารมณ์ของนิรุตติปฏิ- สัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทาธรรมและอรรถ เหล่าใดเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของ นิรุตติปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุตติทั้งหลายว่า นิรุตติ- ปฏิสัมภิทา.

ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์ และเป็นโคจรของ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 567

ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใด เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

[๖๐๓] จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแลควรกำหนดรู้ ฯลฯ เรากำหนดรู้แล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้น ญาณเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น วิชชาเกิดขึ้น แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ากระไร?

คำว่า จักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น ... คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว.

จักษุเป็นธรรม ... แสงสว่างเป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้ เป็น อารมณ์และเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ... เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณ ในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ในทุกขอริยสัจมีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐.

[๖๐๔] จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทยสัจ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละ ฯลฯ เราละได้แล้ว ฯลฯ ในทุกขสมุทัยอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐.

จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อน ว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 568

ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง ฯลฯ เราทำให้แจ้งแล้ว ฯลฯ ในทุกขนิโรธอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐.

จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟัง มาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เรา เจริญแล้ว ฯลฯ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ในอริยสัจ ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุตติ ๑๖๐ มีญาณ ๒๔๐.

[๖๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นกาย ในกายนี้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟัง มาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกาย ในกายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญ แล้ว การพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาทั้งหลายนี้ ฯลฯ การพิจารณาเห็นจิต ในจิตนี้ ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟัง มาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว.

จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยได้ฟัง มาก่อนว่า การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้น ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 569

นั้นแลควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้น ญาณเกิดขึ้น ปัญญา เกิดขึ้น วิชชาเกิดขึ้น แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ากระไร?

คำว่า จักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น คำว่า ญาณเกิดขึ้น เพราะอรรถ ว่ารู้ คำว่า ปัญญาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าทราบชัด คำว่า วิชชาเกิดขึ้น เพราะ อรรถว่าแทงตลอด คำว่า แสงสว่าง เกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว.

จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่างเป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์และโคจรแห่งธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้น เป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้น เป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณ ในธรรมทั้งหลายว่า ธรรมปฏิสัมภิทา.

ความเห็นเป็นอรรถ ความรู้เป็นอรรถ ความทราบชัดเป็นอรรถ ความ แทงตลอดเป็นอรรถ ความสว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์ และเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของ อรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในอรรถทั้งหลายว่าอรรถปฏิสัมภิทา.

การกล่าวพยัญชนนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การกล่าวพยัญชนนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ นิรุตติ ๑๐ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจร ของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใด

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 570

เป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุตติปฏิสัมภิทาเพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุตติทั้งหลายว่านิรุตติปฏิสัมภิทา.

ญาณ ๒๐ ประการ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรม เหล่านั้นเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรเหล่าใดเป็นโคจรของ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ใน สติปัฏฐาณคือการพิจารณาเห็นกายในกาย มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้ ฯลฯ การพิจารณา เห็นจิตในจิตนี้ ฯลฯ.

จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา ก่อนว่า การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นธรรมใน ธรรมทั้งหลายนี้นั้น ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯลฯ ในสติปัฏฐานคือมี การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ในสติปัฏฐาน ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุตติ ๑๒๐ มี ญาณ ๒๔๐.

[๖๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วย ฉันทะและปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและ ปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขารนี้.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 571

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เรา ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้ นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว.

[๖๐๗] จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้นั้นแล ควร เจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักเกิดขึ้น ... แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะ อรรถว่าสว่างไสว ...

จักษุเป็นธรรม ... เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลาย ว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ในอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและ ปธานสังขาร มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯลฯ อิทธิบาท ประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบ ด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขารนี้.

จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา ก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้นั้นแล ควร เจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯลฯ ในอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสา

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 572

และปธานสังขาร มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ใน อิทธิบาท มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุตติ ๑๒๐ มีญาณ ๒๔๐.

[๖๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า สมุทัย สมุทัย ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายทีพระวิปัสสีโพธิสัตว์ ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นิโรธ นิโรธ ในไวยากรณภาษิตของพระวิปัสสีโพธิ- สัตว์ มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุตติ ๒๐ มีญาณ ๔๐.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่พระสิขีโพธิสัตว์ ฯลฯ พระเวสสภูโพธิสัตว์ ฯลฯ พระกกุสันธโพธิสัตว์ ฯลฯ พระโกนาคมน์โพธิสัตว์ ฯลฯ พระกัสสปโพธิสัตว์ ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า สมุทัย สมุทัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่พระกัสสปโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นิโรธ นิโรธ ในไวยกรณภาษิตของพระกัสสปโพธิสัตว์ มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุตติ ๒๐ มีญาณ ๔๐.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่ พระโคดมโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า สมุทัย สมุทัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระโคดมโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟัง มาก่อนว่า นิโรธ นิโรธ ในไวยากรณภาษิตของพระโคดมโพธิสัตว์ มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุตติ ๒๐ มีญาณ ๔๐.

ในไวยากรณภาษิต ๗ ของพระโพธิสัตว์ ๗ องค์ มีธรรม ๗๐ มี อรรถ ๗๐ มีนิรุตติ ๑๔๐ มีญาณ ๒๘๐.

[๖๐๙] จักษุ ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่ารู้ยิ่งแห่งอภิญญา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว ด้วยปัญญา

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 573

อรรถว่ารู้ยิ่ง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี ในอรรถว่ารู้ยิ่งแห่งอภิญญา มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ฯลฯ อรรถว่ากำหนด รู้แห่งปริญญา ฯลฯ อรรถว่าละแห่งปหานะ ฯลฯ อรรถว่าเจริญแห่ง ภาวนา ฯลฯ.

จักษุ ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา เรา รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว ด้วยปัญญา อรรถว่าทำให้แจ้ง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าทำให้แจ้ง แห่งสัจฉิกิริยา มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในอรรถ ว่ารู้ยิ่งแห่งอภิญญา ในอรรถว่ากำหนดรู้แห่งปริญญา ในอรรถว่าละแห่งปหานะ ในอรรถว่าเจริญแห่งภาวนา ในอรรถว่าทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีธรรม ๑๒๕ มีอรรถ ๑๒๕ มีนิรุตติ ๒๕๐ มีญาณ ๕๐๐.

[๖๑๐] จักษุ ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่ากองแห่งขันธ์ทั้งหลาย เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว ด้วย ปัญญา อรรถว่ากอง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่ากอง แห่งขันธ์ทั้งหลาย มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ ญาณ ๑๐๐ จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าทรงไว้แห่งธาตุทั้งหลาย ฯลฯ อรรถว่า บ่อเกิดแห่งอายตนะทั้งหลาย อรรถว่าปัจจัยปรุงแห่งสังขตธรรมทั้งหลาย อรรถว่าปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว ด้วยปัญญา อรรถว่าปัจจัยไม่ปรุงแต่งที่เราไม่ ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในอรรถว่ากอง แห่งขันธ์ทั้งหลาย ในอรรถว่าทรงไว้แห่งธาตุทั้งหลาย ในอรรถว่าบ่อเกิด

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 574

แห่งอายตนะทั้งหลาย ในอรรถว่าปัจจัยปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรมทั้งหลาย ใน อรรถว่าปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม มีธรรม ๑๒๕ มีอรรถ ๑๒๕ มี นิรุตติ ๒๕๐ มีญาณ ๕๐๐.

[๖๑๑] จักษุ ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าทนได้ยากแห่งทุกข์ เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา อรรถว่าทนได้ยาก ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าทนได้ยาก แห่งทุกข์ ธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าเหตุให้เกิดแห่งสมุทัย ฯลฯ อรรถว่าดับแห่งนิโรธ อรรถว่าเป็นทางแห่งมรรค เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา อรรถว่าเป็นทางที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าเป็นทางแห่งมรรค มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในอริยสัจ มีธรรม ๑๐๐ มีอรรถ ๑๐๐ มีนิรุตติ ๒๐๐ มีญาณ ๕๐๐.

[๖๑๒] จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าความแตกฉานใน อรรถแห่งอรรถปฏิสัมภิทา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา อรรถว่าความแตกฉานในอรรถ เราไม่ถูก ต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าความแตกฉานในอรรถแห่งอรรถ ปฏิสัมภิทา มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐. จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าความแตกฉานในธรรมแห่งธรรมปฏิสัมภิทา อรรถว่าความแตกฉานในนิรุตติแห่งนิรุตติปฏิสัมภิทา อรรถว่าความแตกฉานใน

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 575

ปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้ง แล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา อรรถว่าความแตกฉานปฏิภาณ ที่เราไม่ ถูกต้องแล้ว ไม่มี ในอรรถว่าความแตกฉานในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕. มีญาณ ๑๐๐ ในปฏิสัมภิทา ๔ มี ธรรม ๑๐๐ มีอรรถ ๑๐๐ มีนิรุตติ ๒๐๐ มีญาณ ๔๐๐.

[๖๑๓] จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้น อินทริยปโรปริยัตญาณ เรา รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา อินทริยปโรปริยัตญาณ เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอินทริยปโรปริยัตญาณ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า ญาณในฉันทะอันมานอนและกิเลสอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ ยมกปาฏิหาริยญาณ มหากรุณาสมาปัตติญาณ อนาวรณญาณ เรา รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา อนาวรณญาณ เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอนาวรณญาณ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในพุทธธรรม ๖ มีธรรม ๑๕๐ มีอรรถ ๑๕๐ มีนิรุตติ ๓๐๐ มีญาณ ๖๐๐ ในปกรณ์ปฏิสัมภิทา มีธรรม ๘๕๐ มีอรรถ ๘๕๐ มีนิรุตติ ๑,๗๐๐ มีญาณ ๓,๔๐๐ ฉะนี้แล.

จบปฏิสัมภิทากถา

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 576

อรรถกถาปฏิสัมภิทากถา

อรรถกถาธรรมจักกัปปวัตตนวาร

บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความซึ่งยังไม่เคยพรรณนามาก่อน แห่ง ปฏิสัมภิทากถา อันมีธรรมจักกัปปวัตตนสูตรเป็นเบื้องต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงประเภทแห่งปฏิสัมภิทามรรค สำเร็จลงด้วยอำนาจเเห่งมรรค อันได้แก่วิราคะ ตรัสไว้แล้ว.

พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตร ดังต่อไปนี้. บทว่า พาราณสิยํ คือ มีแม่น้ำชื่อว่า พาราณสา. กรุงพาราณสีเป็นนครอยู่ไม่ไกลแม่น้ำพาราณสา. ใกล้กรุงพาราณสีนั้น. บทว่า อิสิปตเน มิคทาเย ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน คือ ชื่อว่าสวนมฤคทายวัน เพราะเป็นที่ให้อภัยแก่มฤคทั้งหลายอันได้ชื่ออย่าง นั้น ด้วยสามารถแห่งการลงๆ ขึ้นๆ ของพวกฤๅษี. เพราะพวกฤษีสัพพัญญู. เกิดขึ้นแล้วๆ ก็ลงไปในป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั้น อธิบายว่า นั่งประชุมกัน เพื่อยังธรรมจักรให้เป็นไป แม้พวกฤๅษีปัจเจกพุทธะออกจากนิโรธสมาบัติ เมื่อล่วงไป ๗ วัน จากเงื้อมเขานันทมูลกะ ล้างหน้าที่สระอโนดาต เหาะมา ทางอากาศก็ลงไปประชุมกัน ณ ที่นี้ ประชุมกันเพื่อเป็นสุข เพื่ออุโบสถ ใหญ่ และเพื่ออุโบสถน้อย เมื่อจะกลับไปสู่เขาคันธมาทน์ ก็เหาะไปจากที่นั้น เพราะเหตุนั้น ด้วยบทนี้ที่นั้นท่านจึงเรียกว่า อิสิปตนะ ด้วยเป็นที่ลงๆ ขึ้นๆ ของพวกฤาษี. บาลีว่า อิสิปทนํ ดังนี้บ้าง.

บทว่า ปญฺจวคฺคิเย ภิกษุเบญจวัคคีย์ (มีพวก ๕) คือ พวกของ ภิกษุ ๕ ดังที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 577

พระมหาเถระ ๕ เหล่านี้ คือ พระโกณฑัญญะ ๑ พระภัททิยะ ๑ พระวัปปะ ๑ พระมหานาม ๑ พระอัสสชิ ๑ ท่านเรียกว่า ภิกษุมีพวก ๕

ชื่อว่า ปัญจวรรค ชื่อว่า ปัญจวัคคีย์ เพราะเนื่องในพวก ๕ นั้น. บทว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ ตรัสกะภิกษุทั้งหลาย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง บำเพ็ญบารมีจำเดิม แต่ละสมอภินิหาร ณ บาทมูลของพระทศพล พระนามว่า ทีปังกร จนบรรลุภพสุดท้ายโดยลำดับ ในภพสุดท้ายเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงถึงโพธิมณฑลโดยลำดับ ประทับนั่งเหนืออปราชิตบัลลังก์ ณ โพธิมณฑล นั้น ทรงกำจัดมารและพลมาร ทรงระลึกถึงปุพเพนิวาสญาณ ในปฐมยาม ในมัชฌิมยามทรงยังทิพยจักษุให้บริสุทธิ์ ในที่สุดปัจฉิมยามทรงยังหมื่นโลกธาตุ ให้บันลือก้องกัมปนาท ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ล่วงไป ๗ สัปดาห์ ณ โพธิมณฑล ท้าวมหาพรหมทูลวิงวอนขอให้ทรงแสดงธรรม ทรงตรวจตรา สัตว์โลกด้วยทิพยจักษุ เสด็จไปกรุงพารานสี เพื่อทรงอนุเคราะห์สัตว์โลก มีพระประสงค์จะให้ภิกษุเบญจวัคคีย์ยอมรับแล้ว ทรงยังธรรมจักรให้เป็นไป จึงตรัสเรียก.

บทว่า เทฺว เม ภิกฺขเว อนฺตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุด ๒ อย่างนี้ พระสุรเสียงที่เปล่งออกด้วยทรงเปล่งพระดำรัสนี้ ข้างบนถึง ภวัคคพรหม ข้างล่างถึงอเวจี แล้วแผ่ไปตั้งอยู่ตลอดหมื่นโลกธาตุ ในสมัยนั้น พระผู้มี ๑๘ โกฏิมาประชุมกัน พระอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตก พระจันทร์ เต็มดวงประกอบด้วยอาสาฬหนักษัตรขึ้นทางทิศตะวันออก ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร พระดำรัสมีอาทิว่า เทฺว เม ภิกฺขเว อนฺตา ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 578

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพชิเตน บรรพชิต คือ ผู้ตัดวัตถุกาม อันเกี่ยวข้องด้วยคฤหัสถ์ออกบวช. บทว่า น เสวิตพฺพา ไม่ควรเสพ คือ ไม่ควรใช้สอย. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปพฺพชิเตน น เสวิตพฺพา อัน บรรพชิตไม่ควรเสพ เพราะการปฏิบัติอย่างวิเศษเป็นเครื่องรองรับของบรรพชิต ทั้งหลาย. บทว่า กาเมสุ กามสุขัลลิกานุโยโค การประกอบความพัวพัน กามสุขในกามทั้งหลาย คือการประกอบกามสุขคือกิเลสในวัตถุกาม หรือการ ประกอบอาศัยกามสุขคือกิเลส. บทว่า หีโน เป็นของเลวคือลามก. บทว่า คมฺโม คือ เป็นของชาวบ้าน. บทว่า โปถุชฺชนิโก เป็นของปุถุชน คือ ปุถุชนได้แก่อันธพาลปุถุชนประพฤติกันเนืองๆ. บทว่า อนริโย คือไม่ใช่ ของพระอริยเจ้า. อีกอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ของมีอยู่ของพระอริยเจ้าผู้บริสุทธิ์ ผู้ สูงสุด. บทว่า อนตฺถสญฺหิโต ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ความว่า ไม่ อาศัยเหตุอันนำความสุขมาให้.

บทว่า อตฺตกิลมถานุโยโค การประกอบการทำตนให้ลำบาก ความว่า ทำความทุกข์ให้แก่ตน. บทว่า ทุกฺโข คือนำความทุกข์มาให้ ด้วยการทรมานคนมีนอนบนที่ทำด้วยหนามเป็นต้น. ในบทนี้ท่านไม่กล่าวว่า หีโน เพื่อรักษาจิตของผู้บำเพ็ญตบะเหล่านั้น เพราะผู้บำเพ็ญตบะเหล่านั้น ถือว่าเป็นตบะอันสูงสุด ไม่กล่าวว่า โปถุชฺชนิโก เพราะเป็นธรรมดาของ บรรพชิตทั้งหลาย และเพราะไม่ทั่วไปด้วยคฤหัสถ์ทั้งหลาย. อนึ่ง ในบทว่า กามสุขลฺลิกานุโยโค นั้นท่านไม่กล่าวว่า ทุกฺโข เพราะพวกปฏิญาณ ว่าเป็นบรรพชิตพวกใดพวกหนึ่ง มีวาทะว่านิพพานในปัจจุบันถือเอาว่า เพราะ ตัวตนนี้เปี่ยมเพียบพร้อมบำเรอด้วยกามคุณ ๕ ด้วยเหตุนี้ตัวตนนี้จึงเป็นอัน บรรลุนิพพานในปัจจุบัน เพื่อรักษาจิตของผู้บำเพ็ญตบะเหล่านั้น และเพราะ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 579

การสมาทานธรรมนั้นเป็นความสุขในปัจจุบัน ไม่ควรเสพกามสุขัลลิกานุโยค เพราะเป็นความสุขเศร้าหมองด้วยตัณหาและทิฏฐิในปัจจุบัน เพราะมีทุกข์เป็น ผลต่อไป และเพราะผู้ขวนขวายกามสุขัลลิกานุโยคนั้นพัวพันด้วยตัณหาและ ทิฏฐิ ไม่ควรเสพอัตตกิลมถานุโยค เพราะเป็นทุกข์เศร้าหมองด้วยทิฏฐิใน ปัจจุบัน เพราะมีทุกข์เป็นผลต่อไป และเพราะผู้ขวนขวายในอัตตกิลมถานุโยค นั้นผูกพันด้วยทิฏฐิ. บทว่า เอเต เต คือ เหล่านั้นนี้. บทว่า อนุปคมฺม ไม่เกี่ยวข้อง คือ ไม่เข้าไปใกล้. บทว่า มชฺฌิมา สายกลาง ชื่อว่า มชฺฌิมา เพราะเป็นทางสายกลางไม่มีสุขและทุกข์เศร้าหมอง ชื่อว่า ปฏิปทา เพราะ เป็นเหตุถึงนิพพาน. บทว่า อภิสมฺพุทฺธา ตรัสรู้แล้ว คือ แทงตลอดแล้ว.

ในบทมีอาทิว่า จกฺขุกรณี ทำจักษุมีความดังต่อไปนี้. ชื่อว่า จกฺขุกรณี เพราะทำปัญญาจักษุ. บทว่า าณกรณี ทำญาณเป็นไวพจน์ของบทว่า จกฺขุกรณี นั้นนั่นแหละ. บทว่า อุปสมาย เพื่อความสงบ คือ เพื่อสงบ กิเลส. บทว่า อภิญฺาย เพื่อความรู้ยิ่ง คือ เพื่อประโยชน์แก่ความรู้ยิ่ง สัจจะ ๔. บทว่า สมฺโพธาย เพื่อความตรัสรู้ คือเพื่อประโยชน์แก่การตรัสรู้ สัจจะ ๔ เหล่านั้น. บทว่า นิพฺพานาย เพื่อนิพพาน คือ เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง นิพพาน.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า จกฺขุกรณี เพราะทำมรรคญาณ คือ ทัศนะ. ชื่อว่า าณกรณี เพราะทำมรรคญาณคือภาวนา เพื่อสงบกิเลสทั้งปวง เพื่อรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง เพื่อตรัสรู้อรหัตตผล เพื่อดับกิเลสและขันธ์. ท่านกล่าว สัจจกถาไว้ในอภิญเญยยนิเทศแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงประกาศสัจจะอย่างนี้แล้ว ได้สดับลำดับ การแทงตลอดของพระองค์ ของเบญจวัคคีย์เหล่านั้นผู้ยังมีมานะจัดในพระองค์

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 580

แล้วทรงยังการปฏิบัติให้หมดจดด้วยการถอนมานะจัด เมื่อทรงเห็นการแทง ตลอดสัจจะ จึงทรงแสดงลำดับของการแทงตลอดของพระองค์ ด้วยบทมีอาทิว่า อิทํ ทุกฺขํ อริยสจฺจนฺติ เม ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เคยฟัง มาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ คือ ทรงแสดงลำดับปฏิเวธของพระองค์

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนนุสฺสุเตสุ ยังไม่เคยได้ฟัง ความว่า ยังไม่เคยเป็นไปตามผู้อื่น. อรรถแห่งบทมีอาทิว่า จกฺขุํ จักมีแจ้ง ข้างหน้า. การแทงตลอดความเห็นสัจจะ ๔ คือ นี้ทุกขอริยสัจ ๑ นี้ทุกขสมุทัย ๑ นี้ทุกขนิโรธ ๑ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ๑ ย่อมเป็นไปในเสขภูมิ. การพิจารณา สัจจะ ๔ คือ กำหนดรู้แล้ว ๑ ละแล้ว ๑ ทำให้แจ้งแล้ว ๑ เจริญแล้ว ๑ ย่อม เป็นไปในอเสกขภูมิ.

บทว่า ติปริวุฏฺฏํ มีวนรอบ ๓ คือ เพราะมีวนรอบ ๓ ด้วยสามารถ แห่งวนรอบ ๓ คือ สัจจญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ) กิจจญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ กิจอันควรทำ) กตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้กิจอันทำแล้ว). ในบทว่า ติปริวฏฺฏํ นี้ การรู้ตามความเป็นจริงในสัจจะ ๔ อย่างนี้ว่า นี้ทุกขอริยสัจ นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ชื่อว่า สัจจญาณ ในสัจจญาณเหล่านั้น ญาณ คือ ความรู้กิจอันควรทำอย่างนี้ว่า ทุกข์ควร กำหนดรู้ สมุทัยควรละ นิโรธควรทำให้แจ้ง มรรคควรเจริญ ชื่อว่า กิจจญาณ. ญาณคือความรู้ถึงความที่กิจนั้นได้ทำแล้วอย่างนี้ว่า ทุกข์กำหนดรู้ แล้ว สมุทัยละได้แล้ว นิโรธทำให้แจ้งแล้ว มรรคเจริญแล้ว ชื่อว่า กตาณ.

บทว่า ทฺวาทสาการํ มีอาการ ๑๒ คือ มีอาการ ๑๒ ด้วยสามารถ แห่งอาการละ ๓ๆ ในสัจจะละ ๑ๆ เหล่านั้น. บทว่า าณทสฺสนํ คือ ทัศนะ ได้แก่ ญาณอันเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสัจจะเหล่านั้นมีวนรอบ ๓ มี

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 581

อาการ ๑๒. บทว่า อตฺตมนา ชื่นชมยินดี คือ มีใจเป็นของตน. จริงอยู่ ผู้มีใจประกอบด้วยปีติโสมนัส ชื่อว่า มีใจเป็นของตน เพราะสัตว์ทั้งหลาย ใคร่ความสุข เกลียดทุกข์ อธิบายว่า มีใจเป็นของตน มีใจถือเอาแล้ว มีใจอิ่มเอิบแล้วด้วยปีติและโสมนัส. บทว่า อภินนฺทุํ พอใจ คือ หันหน้า เข้าหาพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วพอใจ. บทว่า เวยฺยากรณสฺมึ ไวยากรณภาษิต พระสูตรที่ไม่มีคาถา ในพระสูตรชื่อว่า เวยฺยากรณํ เพราะทำให้แจ้งอรรถ อย่างเดียว. บทว่า ภญฺมาเน คือ ตรัสอยู่ ทำให้เป็นปัจจุบันใกล้ปัจจุบัน คือ กำลังตรัส. บทว่า วิรชุํ ปราศจากธุลี คือ ปราศจากธุลีมีราคะเป็นต้น. บทว่า วีตมลํ ปราศจากมลทินมีราคะเป็นต้น เพราะราคะเป็นต้น ชื่อว่า ธุลี เพราะอรรถว่า ท่วมทับ ชื่อว่า มลทิน เพราะอรรถว่า ประทุษร้าย. บทว่า ธมฺมจกฺขุํ ธรรมจักษุ ในที่บางแห่งได้แก่ญาณในปฐมมรรค ในที่ บางแห่งได้แก่ญาณมรรคญาณ ๓ เป็นต้น ในที่บางแห่งได้แก่แม้มรรคญาณ ๔ แต่ในที่นี้ ได้แก่ ญาณในปฐมมรรคเท่านั้น.

บทว่า ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา อธิบายว่า ธรรมจักษุ เกิดขึ้นแก่พระโกณฑัญญะ ผู้เป็นไปแล้วด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา. บทว่า ธมฺมจกฺเก ได้แก่ ปฏิเวธญาณและเทศนาญาณ. จริงอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่เหนือโพธิบัลลังก์ แม้ปฏิเวธญาณมีอาการ ๑๒ เป็นไปใน สัจจะ ๔ เมื่อประทับนั่ง ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แม้เทศนาญาณเป็นไป แล้วด้วยสัจจเทศนามีอาการ ๑๒ ชื่อว่า ธรรมจักร แม้ทั้งสองอย่างนั้นก็เป็น ญาณของพระทศพล ธรรมจักรนั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศด้วย เทศนานี้ ชื่อว่า เป็นไปแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรนี้นั้น

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 582

ตลอดเวลาที่พระอัญญาโกณฑัญญเถระยังไม่ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลพร้อมกับ พรหม ๑๘ โกฏิ แต่เมื่อพระอัญญาโกณฑัญญะตั้งอยู่แล้ว ธรรมจักรจึงชื่อว่า ประกาศแล้ว. ท่านหมายถึงเรื่องนั้น จึงกล่าว ปวตฺติเต จ ภควตา ธมฺมจกฺเก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศพระธรรมจักรแล้ว.

บทว่า ภุมฺมา เทวา คือเทวดาที่อยู่บนพื้นดิน. บทว่า สทฺทมนุสฺสาเวสุํ ประกาศก้อง คือ ภุมมเทวดาให้สาธุการเป็นเสียงเดียวกันแล้ว ประกาศก้องมีอาทิว่า เอตํ ภควตา. บทว่า อปฺปฏิวตฺติยํ อันใครๆ ให้เป็นไปไม่ได้ คือ ไม่อาจคัดค้านได้ว่า นี้ไม่เป็นอย่างนั้น. อนึ่ง ในบทนี้ พึงทราบว่าเทวดาและพรหมทั้งหลายประชุมกัน เมื่อจบเทศนาได้ให้สาธุการ เป็นเสียงเดียวกัน แต่ภุมมเทวดาเป็นต้นยังไม่มาประชุมครั้นได้ฟังเสียงเทวดา และพรหมเหล่านั้นๆ จึงได้ให้สาธุการ. อนึ่ง ภุมมเทวดาที่เกิดในภูเขาและ ต้นไม้เป็นต้นเหล่านั้น แม้ภุมมเทวดาเหล่านั้นจะนับเนื่องในพวกเทวดาชั้น จาตุมมหาราชิกา ท่านก็กล่าวทำให้แยกกันในบทนี้. บทว่า จาตุมมหาราชิกา เพราะมีเทวดามหาราชา ๔ ได้แก่ ท้าวธตรฏ วิรุฬหก วิรูปักษ์และกุเวร. เทวดาเหล่านั้นสถิตอยู่ ณ ท่ามกลางภูเขาสิเนรุ เทวดาเหล่านั้นอยู่บนภูเขาก็มี อยู่บนอากาศก็มี สืบต่อเทวดาเหล่านั้นไปก็ถึงจักรวาลบรรพต เทวดาแม้ทั้ง หมดเหล่านี้ คือ ขิทฑาปโทสิกา มโนปโทสิกา สีตวลาหก อุณหวลาหก จันทิมเทวบุตร สุริยเทวบุตร ก็เป็นเทวดาประดิษฐานอยู่ ณ เทวโลกชั้น จาตุมมหาราชิกานั่นแหละ. ชื่อว่า ตาวตึสา เพราะมีชน ๓๓ คนเกิดในเทว โลกนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า ตาวตึสา เป็นชื่อของเทวดาเหล่า นั้น แม้เทวดาเหล่านั้นประดิษฐานบนภูเขาก็มีบนอากาศก็มี ความสืบเนื่องกันมา แห่งเทวดาเหล่านั้นถึงจักรวาลบรรพต ชั้นยามาเป็นต้นก็อย่างนั้น. แม้ในเทวโลก

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 583

หนึ่ง เทวดาสืบต่อของเทวดาทั้งหลาย ชื่อว่า ยังไม่ถึงจักรวาลบรรพตไม่มี. ชื่อว่า ยามา เพราะไป ไปถึง ถึงพร้อมซึ่งสุขอันเป็นทิพย์. ชื่อว่า ตุสิตา เพราะยินดีร่าเริง. ชื่อว่า นิมมานรตี เพราะนิรมิตยินดีสมบัติ ตามความ ชอบใจในเวลาใคร่จะยินดีโดยส่วนพิเศษจากที่ตกแต่งไว้ตามปกติ. ชื่อว่า ปรนิมมิตวสวัตดี เพราะเมื่อผู้อื่นรู้วารจิตแล้วนิรมิตสมบัติให้ย่อมเป็นไปสู่อำนาจ. ชื่อว่า พฺรหฺมกายิกา เพราะนับเนื่องในพรหมกาย. แม้พรหมกายิกาทั้งหมด ท่านหมายถึงพรหมที่มีขันธ์ ๕ ด้วย.

ท่านกล่าวว่า เตน มุหุตฺเตน โดยครู่เดียว ท่านกล่าวให้แปลก กับคำว่า เตน ขเณน โดยขณะนั้น โดยขณะก็ได้แก่ครู่ ท่านอธิบายว่า มิใช่โดยขณะทางปรมัตถ์. บทว่า ยาว พฺรหฺมโลกา ตลอดพรหมโลก คือ ทำพรหมโลกให้มีที่สุด. บทว่า สทฺโท คือเสียงสาธุการ. บทว่า ทสสหสฺสี คือ มีหมื่นจักรวาล. บทว่า สงฺกมฺปิ หวั่นไหว คือ สะเทือนสะท้านหวั่นไหว ในรูปข้างบนด้วยดี. บทว่า สมฺปกมฺปิ หวั่นไหวด้วยดี คือ สะเทือนสะท้าน หวั่นไหวขึ้นข้างบน ลงเบื้องล่างด้วยดี. บทว่า สมฺปเวธิ สั่นสะเทือน คือ สั่นสะเทือนไปทั่ว ๔ ทิศด้วยดี.

เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงหยั่งลงสู่พระครรภ์พระมารดา เพื่อความเป็น พระสัมพุทธเจ้าและเมื่อประสูติจากพระครรภ์พระมารดานั้น มหาปฐพีได้หวั่น ไหวด้วยเดชแห่งบุญ ในคราวตรัสรู้ได้หวั่นไหวด้วยเดชแห่งญาณคือการแทง ตลอด ในคราวประกาศพระธรรมจักร แผ่นดินได้หวั่นไหวดุจให้สาธุการด้วย เดชแห่งญาณคือ เทศนา ได้หวั่นไหวด้วยเทวตานุภาพในคราวทรงปลงอายุสังขารและในคราวมหาปรินิพพาน แผ่นดินดุจไม่อดกลั้นความตื่นเต้นได้ด้วยความ กรุณาได้หวั่นไหวด้วยเทวตานุภาพ. บทว่า อปฺปมาโณ หาประมาณมิได้ คือ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 584

มีประมาณเจริญ. ในบทว่า โอฬาโร อย่างยิ่งนี้ท่านกล่าวว่า มธุรํ อุฬารํ มีรสอร่อยอย่างยิ่ง ในบทมีอาทิว่า อุฬารานิ อุฬารานิ ขาทนียานิ ขาทนฺติ เคี้ยวของเคี้ยวมีรสอร่อยอย่างยิ่งอย่างยิ่ง. ท่านกล่าวว่า ปณีตํ อุฬารํ ประณีต อย่างยิ่ง ในประโยคมีอาทิว่า อุฬาราย วตฺถโภคาย จิตฺตํ นมติ จิตย่อม น้อมไปในผ้าและสมบัติอย่างยิ่ง. ท่านกล่าวว่า เสฏฺํ อุฬารํ ประเสริฐอย่างยิ่ง ในประโยคมีอาทิว่า อุฬาราย ขลุ ภวํ วจฺฉายโน สมณํ โคตมํ ปสํสาย ปสํสติ ได้ยินว่า ท่านวัจฉายนะผู้เจริญ สรรเสริญพระสมณโคดมด้วยการ สรรเสริญอย่างยิ่ง. แต่ในที่นี้ท่านกล่าวว่า วิปุโล อุฬาโร ไพบูลย์อย่างยิ่ง. บทว่า โอภาโส แสงสว่างคือแสงสว่างเกิดด้วยอานุภาพแห่งเทศนาญาณและ เทวตานุภาพ. บทว่า โลเก คือในหมื่นจักรวาลนั่นเอง.

บทว่า อติกฺกมฺเมว เทวานํ เทวานุภาวํ ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพ ของเทวดาทั้งหลาย คืออานุภาพของเทวดาทั้งหลายเป็นดังนี้ รัศมีของผ้าที่นุ่ง แผ่ไป ๑๒ โยชน์ อานุภาพของสรีระ เครื่องประดับ และวิมานก็เหมือนอย่างนั้น แสงสว่างก้าวล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย. บทว่า อุทานํ อุทาน คือ พระดำรัสที่เปล่งออกมาสำเร็จด้วยโสมนัสญาณ. บทว่า อุทาเนสิ คือทรงเปล่ง. บทว่า อญฺาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโ ท่านผู้เจริญโกณฑัญญะ ได้รู้ แล้วหนอ พระสุรเสียงที่เปล่งอุทานนี้ แผ่ไปตั้งอยู่ตลอดหมื่นโลกธาตุ. บทว่า อญฺาโกณฺฑญฺโ ความว่า โกณฑัญญะรู้แล้วอย่างเลิศ.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า ทสฺสนฏฺเน เพราะอรรถว่าเห็น ในนิเทศแห่งจักษุเป็นต้นดังต่อไปนี้. ญาณหนึ่งนั่นแหละชื่อว่า จักษุ เพราะ ทำกิจด้วยความเห็น ดุจจักษุของสัตว์ที่พึงแนะนําตามที่ได้กล่าวแล้ว. ชื่อว่า าณ เพราะทำกิจด้วยญาณ. ชื่อว่า ปัญญา เพราะทำกิจด้วยรู้โดยประการ

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 585

ต่างๆ. ชื่อว่า วิชชา เพราะทำการแทงตลอดโดยไม่มีส่วนเหลือ. ชื่อว่า อาโลก เพราะทำกิจด้วยแสงสว่างในกาลทั้งปวง.

แม้ในบทมีอาทิว่า จกฺขุํ ธมฺโม จักษุเป็นธรรม มีความดังต่อไปนี้. ญาณหนึ่งนั่นแหละท่านพรรณนาไว้โดย ๕ ส่วน ด้วยความต่างกันแห่งกิจ. บทว่า อารมฺมณา ด้วยอรรถว่าอุปถัมภ์. บทว่า โคจรา ด้วยอรรถว่า เป็นอารมณ์. ในบทมีอาทิว่า ทสฺสนฏฺเน ท่านกล่าวถึงญาณกิจไว้ โดย ๕ ส่วน.

โดยนัยนี้พึงทราบญาณ ๖๐ คือ ธรรม ๑๕ อรรถ ๑๕ ทำในวาระ หนึ่งๆ ใน ๓ วาระ อย่างละ ๕ เป็นนิรุตติ ๓๐ ในนิรุตติ ๓๐ ในปัณณรสกะ ๒ ในธรรม ๑๕ ในอรรถ ๑๕. แม้ในอริยสัจที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

พึงทราบญาณ ๒๔๐ อย่างนี้ คือ ธรรม ๖๐ อรรถ ๖๐ เป็นนิรุตติ ๑๒๐ ในธรรม ๖๐ ในอรรถ ๖๐ ในนิรุตติ ๑๒๐ ในธรรม ๖๐ ในอรรถ ๖๐ ด้วยอำนาจแห่งธรรมและอรรถอย่างละ ๑๕ ในอริยสัจหนึ่งๆ ในอริยสัจ ๔.

จบอรรถกถาธรรมจักรกัปปวัตตนวาร

อรรถกถาสติปัฏฐานวารเป็นต้น

พึงทราบอรรถและการนับในปฏิสัมภิทานิเทศ อันมีสติปัฏฐานสูตร เป็นเบื้องต้น และมีอิทธิปาทสูตรเป็นเบื้องต้น.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 586

อรรถกถาสัตตโพธิสัตตวารเป็นต้น

ในสูตรหนึ่งๆ ในสูตร ๗ ของพระโพธิสัตว์ ๗ มีธรรม ๑๐ คือ ในสมุทัย ๕ มีจักษุเป็นต้น ในนิโรธ ๕ มีอรรถ ๑๐ คือในสมุทัย ๕ มีอรรถ ว่าความเห็นเป็นต้น. ในนิโรธ ๕ มีนิรุตติ ๒๐ ด้วยสามารถแห่งธรรมและอรรถ เหล่านั้น มีญาณ ๔๐ การนับทำไวยากรณภาษิต รวมกันกล่าวเข้าใจง่ายดี.

พึงทราบวินิจฉัยในปฏิสัมภิทานิเทศ ซึ่งท่านกล่าวแล้วด้วยสามารถ แห่งพระสัพพัญญุตญาณดังต่อไปนี้ ในมูลกะหนึ่งๆ มีธรรม ๒๕ ด้วยสามารถ ปัญจกะละ ๕ คือ ในคำหนึ่งๆ ใน ๕ คำเหล่านี้ คือ เรารู้แล้ว ๑ เห็นแล้ว ๑ รู้แจ้งแล้ว ๑ ทำให้แจ้งแล้ว ๑ ถูกต้องแล้ว ๑ ด้วยปัญญาธรรม ๕ มีจักษุ เป็นต้น ธรรม ๕ มีอรรถว่าความเห็นเป็นต้น มีอรรถ ๒๕ เป็นนิรุตติ คูณด้วย ๒ (๕๐) เป็นญาณคูณด้วย ๒ (๑๐๐) ทำ ๕ อย่างรวมกันแล้วทำ ๕ ๕ ครั้ง แม้ในวาระที่กล่าวทำ ๕ รวมกัน เป็น ๒๕ จึงมีธรรม ๑๒๕ มีอรรถ ๑๒๕ มีนิรุตติ คูณด้วย ๒ (๒๕๐) มีญาณคูณด้วย ๒ (๕๐๐).

บทว่า อฑฺฒเตยฺยานิ คือ มีนิรุตติ ๒๕๐. แม้ในขันธ์เป็นต้นก็มี นัยนี้เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 587

อรรถกถาฉพุทธธรรมวาร

พึงทราบวินิจฉัยในพุทธธรรมวาร ดังต่อไปนี้. บทว่า ทิยฑฺฒสตํ มีธรรม ๑๕๐ คือ ๒๕ รวม ๖ ครั้ง เป็นธรรม ๑๕๐ มีนิรุตติ คูณด้วย ๒ (๓๐๐) มีญาณคูณด้วย ๒ (๖๐๐). บทว่า ปฏิสมฺภิทาธิกรเณ คือใน คัมภีร์ปฏิสัมภิทา. บทว่า อฑฺฒนวธมฺมสตา นี้ คือ มีธรรม ๘๕๐ อย่างนี้ คือ ในสัจจะ๔ ที่กล่าวแล้วครั้งแรก ๖๐ ในสติปัฏฐาน ๔ รวม ๖๐ ในไวยากรณภาษิตของพระโพธิสัตว์ ๗ ในธรรม ๕ มีตั้งอยู่ในอภิญญาเป็นต้น ๑๒๕ ใน ธรรม ๕ มีขันธ์เป็นต้น ๑๒๕ ในอริยสัจ ๔ อีก ๑๐๐ ในปฏิสัมภิทา ๔ รวม ๑๐๐ ในพุทธธรรม ๖ รวม ๑๕๐.

แม้อรรถก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน. มีนิรุตติ ๑๒๐ ในฐานะ ๓ มีสัจจะ เป็นต้น มีนิรุตติ ๑๔๐ ในไวยากรณภาษิต ๗ มีนิรุตติในอภิญญาเป็นต้น และ ในขันธ์เป็นต้นอย่างละ ๑๕๐ มีนิรุตติอย่างละ ๒๐๐ ในอริยสัจ ๔ และใน ปฏิสัมภิทา มีนิรุตติ ๓๐๐ ในพุทธธรรม รวมเป็นมีนิรุตติ ๑,๗๐๐. มีญาณ ๓,๔๐๐ อย่างนี้ คือ มีญาณอย่างละ ๒๐๐ ในฐานะ ๓ มีสัจจะเป็นต้น มีญาณ ๒๘๐ ในไวยากรณภาษิต ๗ มีญาณอย่างละ ๕๐๐ ในอภิญญาเป็นต้น และ ในขันธ์เป็นต้น มีญาณอย่างละ ๔๐๐ ในปฏิสัมภิทา ๔ มีญาณ ๖๐๐ ใน พุทธธรรม.

จบอรรถกถาปฏิสัมภิทากถา