พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ธรรมจักกกถา ว่าด้วยธรรมจักร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  40970
อ่าน  349

[เล่มที่ 69] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 588

ยุคนัทธวรรค

๗. ธรรมจักรกถา

ว่าด้วยธรรมจักร หน้า 588

อรรถกถาธรรมจักรกถา

อรรถกถาสัจจวาร หน้า 595

อรรถกถาสติปัฏฐานวารเป็นต้น หน้า 598


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 69]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 588

ยุคนัทธวรรค ธรรมจักกกถา

ว่าด้วยธรรมจักร

[๖๑๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้ พระนครพาราณสี ฯลฯ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านพระโกณฑัญญะ จึงมีชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ ดังนี้.

จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่ เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ... คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะอรรถ ว่าสว่างไสว.

จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ญาณเป็นธรรม ความรู้เป็นอรรถ ปัญญาเป็นธรรม ความรู้ทั่วเป็นอรรถ วิชชาเป็นอรรถ ความแทงตลอดเป็น ธรรม แสงสว่างเป็นธรรม ความสว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ มีสัจจะเป็น อารมณ์ มีสัจจะเป็นโคจร สงเคราะห์เข้าในสัจจะ นับเนื่องในสัจจะ เข้ามา ประชุมในสัจจะ ตั้งอยู่ในสัจจะ ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ.

[๖๑๕] ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่า กระไร?

ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ธรรมและ จักรเป็นไป ทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ทรง ให้จักรเป็นไปโดยการประพฤติเป็นธรรม ทรงดำรงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 589

ทรงประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงให้ประชาชนประดิษฐานอยู่ใน ธรรมให้จักรเป็นไป ทรงบรรลุถึงความชำนาญในธรรมให้จักรเป็นไป ทรง ยังประชาชนให้บรรลุถึงความชำนาญในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงบรรลุถึงความ ยอดเยี่ยมในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงให้ประชาชนให้บรรลุถึงความยอดเยี่ยม ในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงบรรลุถึงความแกล้วกล้าในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงให้ประชาชนบรรลุถึงความแกล้วกล้าในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงสักการะ ธรรมให้จักรเป็นไป ทรงเคารพธรรมให้จักรเป็นไป ทรงนับถือธรรมให้จักร เป็นไป ทรงบูชาธรรมให้จักรเป็นไป ทรงนอบน้อมธรรมให้จักรเป็นไป ทรงมีธรรมเป็นธงให้จักรเป็นไป ทรงมีธรรมเป็นยอดให้จักรเป็นไป ทรงมี ธรรมเป็นใหญ่ให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักรเพราะอรรถว่า ก็ธรรมจักรนั้นแล สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ให้เป็นไปไม่ได้ ชื่อว่าธรรมจักรเพราะอรรถว่าสัทธินทรีย์เป็นธรรม ทรงให้ธรรมนั้นเป็นไป ... ปัญญินทรีย์เป็นธรรม ทรงให้ธรรมนั้นเป็นไป สัทธาพละเป็นธรรม ... ปัญญาพละเป็นธรรม สติสัมโพชฌงค์เป็นธรรม ... อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นธรรม สัมมาทิฏฐิเป็นธรรม ... สัมมาสมาธิเป็นธรรม อินทรีย์เป็นธรรม เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ พละเป็นธรรมเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์ เป็นธรรมเพราะอรรถว่านําออก มรรคเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ สติ- ปัฏฐานเป็นธรรมเพราะอรรถว่าตั้งมั่น สัมมัปปธานเป็นธรรมเพราะอรรถว่า ตั้งไว้ อิทธิบาทเป็นธรรมเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ สัจจะเป็นธรรมเพราะ อรรถว่าเป็นของแท้ สมถะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาเป็น ธรรมเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น สมถวิปัสสนาเป็นธรรมเพราะอรรถว่ามีกิจ เป็นอันเดียวกัน ธรรมที่เป็นคู่เป็นธรรมเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน สีลวิสุทธิ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 590

เป็นธรรมเพราะอรรถว่าสำรวม จิตตวิสุทธิเป็นธรรมเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็นธรรมเพราะอรรถว่าพ้น วิชชาเป็นธรรมเพราะอรรถว่าแทงตลอด วิมุตติเป็นธรรมเพราะอรรถว่าบริจาค ญาณในความสิ้นไปในธรรมเพราะอรรถว่าตัดขาด ญาณในความไม่เกิดขึ้น เป็นธรรมเพราะอรรถว่าระงับ ฉันทะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นมูล มนสิการ เป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม เวทนาเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม สมาธิเป็นธรรมเพราะอรรถว่า เป็นประธาน เป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นธรรมเพราะ อรรถว่ายิ่งกว่าธรรมนั้นๆ วิมุตติเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นแก่นสาร นิพพาน อันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรงให้ธรรมนั้นๆ เป็นไป.

[๖๑๖] จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้ ฯลฯ เรากำหนดรู้แล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะ อรรถว่ากระไร?

คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว.

จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม ความ สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการนี้ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่ง ทุกข์ ... ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ.

ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร?

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 591

ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักร เป็นไป ... นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรม เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรง ให้ธรรมนั้นๆ เป็นไป.

[๖๑๗] จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละ ฯลฯ เราละได้แล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯลฯ คำว่า แสงสว่าง เกิดขึ้น เพราะอรรถว่ากระไร?

คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว.

จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม ความ สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการนี้ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่ง สมุทัยเป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งนิโรธ เป็นที่ตั้งแห่งมรรค เป็น ที่ตั้งแห่งสัจจะ มีสัจจะเป็นอารมณ์ ... ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ.

ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร?

ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ธรรมและ จักรเป็นไป ... นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรงให้ธรรมนั้นๆ เป็นไป.

[๖๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา ก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 592

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้ ฯลฯ การพิจารณา เห็นจิตในจิตนี้ ฯลฯ การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้น ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุ เกิดขึ้นเพราะอรรถว่า กระไร ฯลฯ คำว่า แสงสว่าง เกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร?

คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว.

จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม ความ สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งกาย เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งจิต เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน เป็นที่ตั้งแห่งธรรม เป็นที่ตั้งแห่ง สติปัฏฐาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ ... ประดิษฐานอยู่ในสติปัฏฐาน.

ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร?

ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ธรรมและ จักรเป็นไป ... นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรม เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรงให้ธรรมนั้นๆ เป็นไป.

[๖๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วย ฉันทะและปธานสังขารนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 593

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอัน ยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา ก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว.

จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา ก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อน ก็อิทธิบาท ประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯลฯ คำว่า แสงสว่าง เกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร?

คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น ... คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะ อรรถว่าสว่างไสว.

จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ... แสงสว่างเป็นธรรม ความ สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการ เป็นที่ตั้งแห่งฉันทะ เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท มีอิทธิบาทเป็นอารมณ์ ... ประดิษฐานอยู่ในอิทธิบาท.

ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร?

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 594

ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ธรรมและ จักรเป็นไป... นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรม เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรงให้ธรรมนั้นๆ เป็นไป.

จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา ก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาท ประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ากระไร?

คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว.

จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม ความ สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่ง วิริยะ เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งจิต เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท เป็นที่ตั้งแห่งวิมังสา เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท มีอิทธิบาทเป็นอารมณ์ มีอิทธิบาท เป็นโคจรสงเคราะห์เข้าในอิทธิบาท นับเนื่องในอิทธิบาท เข้ามาประชุมใน อิทธิบาท ตั้งอยู่ในอิทธิบาท ประดิษฐานอยู่ในอิทธิบาท.

ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร?

ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและ จักรเป็นไป... นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรม เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรงให้ธรรมนั้นๆ เป็นไป.

จบธรรมจักรกถา

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 595

ธรรมจักรกถา

อรรถกถาสัจจวาร

จะพรรณนาตามลําดับความที่ยังมิได้เคยพรรณนาไว้แห่งธรรมจักรกถา อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำพระธรรมจักกัปวัตตนสูตรให้เป็นเบื้องต้นอีก ตรัสแล้ว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขวตฺถุกา เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ คือ เพราะ มีทุกข์เป็นที่ตั้งด้วยอำนาจแห่งการตรัสรู้อย่างเดียว. พระสารีบุตรเถระยังทุกข์ นั้นให้วิเศษออกไป จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สจฺจวตฺถุกา เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ ชื่อว่า สจฺจารมฺมณา เพราะ สัจจะเป็นอารมณ์ เป็นตัวอุปถัมภ์. ชื่อว่า สจฺจโคจรา เพราะมีสัจจะเป็นโคจรเป็นวิสัย. บทว่า สจฺจสงฺคหิตา สงเคราะห์เข้าในสัจจะ คือ สงเคราะห์ด้วยมรรคสัจ. บทว่า สจฺจปริยาปนฺนา นับเนื่องในสัจจะ คือ นับเนื่องในมรรคสัจ. บทว่า สจฺเจ สมุปาคตา เข้ามา ประชุมในสัจจะ คือเกิดร่วมกันในทุกขสัจด้วยกำหนดรู้ทุกข์. บทว่า ิตา ปติฏฺิตา คือตั้งอยู่ในสัจจะ ประดิษฐานอยู่ในสัจจะนั้นนั่นแหละเหมือนกัน.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระประสงค์จะชี้แจงพระธรรมจักรที่พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสว่า ปวตฺติเต จ ภควตา ธมฺมจกฺเก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศพระธรรมจักรแล้ว ดังนี้ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ธมฺมจกฺกํ. ใน บทว่า ธมฺมจกฺกํ นั้น ธรรมจักรมี ๒ อย่าง คือปฏิเวธธรรมจักร และเทศนาธรรมจักร. ปฏิเวธธรรมจักร ณ โพธิบัลลังก์ เทศนาธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 596

บทว่า ธมฺมญฺจ ปวตฺเตติ จกฺกญฺจ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ ธรรมและจักรเป็นไป ท่านกล่าวถึงปฏิเวธธรรมจักร. บทว่า จกฺกญฺจ ปวตฺเตติ ธมฺมญฺจ ทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ท่านกล่าวถึงเทศนา ธรรมจักร. อย่างไร เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนือโพธิบัลลังก์ ยัง ธรรมมีประเภทเป็นต้นว่า อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และองค์แห่งมรรคให้ เป็นไปในขณะแห่งมรรค ธรรมนั้นแหละชื่อว่าจักร เพราะเป็นไปเพื่อฆ่าศัตรู คือกิเลส ดุจจักรสำหรับประหาร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังจักรคือธรรมให้ เป็นไป ชื่อว่า ทรงยังจักรให้เป็นไป ด้วยบทนั้น ท่านกล่าวเป็นกัมมธารยสมาส ว่า จักรคือธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงจักรคือเทศนาให้เป็นไป เพราะเป็นไปเพื่อฆ่าศัตรูคือกิเลสในสันดานของ เวไนยสัตว์ ในขณะแสดงธรรมเช่นกับจักรสำหรับใช้ประหาร และยังธรรมจักร อันมีประเภทเป็นต้นว่า อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ องค์แห่งมรรคให้เป็นไป ในสันดานของเวไนยสัตว์. ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึงทวันทวสมาสว่า ธรรมด้วย จักรด้วย ชื่อว่าธรรมและจักร ก็เพราะเมื่อความเป็นไปยังมีอยู่ ก็ชื่อว่า ยังเป็นไปอยู่ ฉะนั้น แม้ในที่ทั้งปวงท่านกล่าวว่า ปวตฺเตติ ให้เป็นไป แต่พึงทราบว่าท่านกล่าวว่า จกฺกํ เพราะอรรถว่าเป็นไป.

บทมีอาทิว่า ธมฺเมน ปวตฺเตนฺตีติ ธมฺมจกฺกํ ชื่อว่า ธรรมจักร เพราะทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม พึงทราบว่าท่านกล่าวหมายถึงเทศนาธรรมจักรนั่นเอง. ในบทเหล่านั้นบทว่า ธมฺเมน ปวตฺเตติ ท่านกล่าวว่าธรรมจักร เพราะจักรเป็นไปแล้วโดยธรรมตามสภาวะอย่างไร. บทว่า ธมฺมจริยา ปวตฺ- เตติ ท่านกล่าวว่า ธรรมจักร เพราะจักรเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ธรรมในสันดานของเวไนยสัตว์. ด้วยบทมีอาทิว่า ธมฺเม ิโต ดำรงอยู่ในธรรม ท่านกล่าว ถึง ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้มีธรรม และเป็นเจ้าแห่งธรรม. สมดังที่ท่าน

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 597

พระมหากัจจายนะกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ นั้น ทรงรู้ทรงเห็นเป็นผู้มีพระจักษุ เป็นผู้มีพระญาณ เป็นผู้มีธรรม เป็น พรหม เป็นผู้เผยแผ่ เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของแห่งธรรม เป็นพระตถาคต เพราะฉะนั้น ด้วยบทนั้นท่านจึง กล่าวว่า ธมฺมจกฺกํ เพราะเป็นจักรแห่งธรรม. บทว่า ิโต ตั้งอยู่แล้ว คือ ตั้งอยู่โดยความมีอารมณ์. บทว่า ปติฏฺิโต ประดิษฐานแล้ว คือ ประดิษฐาน โดยความไม่หวั่นไหว. บทว่า วสิปฺปตฺโต ทรงบรรลุถึงความชำนาญ คือ ถึงความมีอิสรภาพ. บทว่า ปารมิปฺปตฺโต ทรงบรรลุถึงความยอดเยี่ยม คือ บรรลุถึงที่สุด. บทว่า เวสารชฺชปฺปตฺโต ทรงบรรลุถึงความแกล้วกล้า คือ บรรลุถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า. ด้วยบทมีอาทิว่า ธมฺเม ปติฏฺาเปนฺโต ทรงให้มหาชนดำรงอยู่ในธรรม ท่านเพ่งถึงสันดานของเวไนยสัตว์ แล้วกล่าว ว่า จกฺกํ เพื่อประโยชน์แก่ธรรม เพราะพระองค์เป็นเจ้าของธรรมด้วยคำ ดังกล่าวแล้ว. ด้วยบทมีอาทิว่า ธมฺมํ สกฺกโรนฺโต ทรงสักการะธรรม ท่านกล่าวว่า จกฺกํ เพื่อประโยชน์แก่ธรรม เพราะผู้ใดประพฤติธรรมด้วย สักการะเป็นต้น ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติเพื่อธรรม. บทว่า ธมฺมํ ครุกโรนฺโต ทรงเคารพธรรม คือ ทำความเคารพนั้นด้วยให้เกิดคารวะในธรรมนั้น. บทว่า ธมฺมํ มาเนนฺโต ทรงนับถือธรรม คือ ทรงทำธรรมให้เป็นที่รัก เป็นที่ น่ายกย่องอยู่. บทว่า ธมฺมํ ปูเชนฺโต ทรงบูชาธรรม คือ อ้างถึงธรรมนั้น แล้วทำการบูชา ด้วยปฏิบัติบูชาในเทศนา. บทว่า ธมฺมํ อปจายมาโน ทรง นอบน้อมธรรม คือทำความประพฤติถ่อมด้วยการสักการะและเคารพธรรม นั้นนั่นเทียว. บทว่า ธมฺมทฺธโช ธมฺมเกตุ มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นยอด ความว่า มีธรรมเป็นธงและมีธรรมเป็นยอดด้วยการนำธรรมไว้ในเบื้องหน้า ดุจธง และยกขึ้นดุจเป็นยอดแล้วให้เป็นไป. บทว่า ธมฺมาธิปเตยฺโย มีธรรม

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 598

เป็นใหญ่ คือมาจากความมีธรรมเป็นใหญ่ เป็นผู้มีธรรมเป็นใหญ่ด้วยกระทำ กิริยาทั้งปวง ด้วยอำนาจแห่งธรรมคือการภาวนา.

บทว่า ตํ โข ปน ธมฺมจกฺกํ อปฺปฏิวตฺติยํ อันใครๆ ยัง ธรรมจักรนั้นให้เป็นไปไม่ได้ ท่านกล่าวถึงความเป็นธรรมที่ไม่ถูกกำจัด เพราะใครๆ ไม่สามารถจะให้กลับได้ เพราะฉะนั้น ธรรมนั้นท่านจึงกล่าวว่า จกฺกํ เพราะอรรถว่าเป็นไปได้.

บทว่า สทฺธินฺทฺริยํ ธมฺโม ตํ ธมฺมํ ปวตฺเตติ สัทธินทรีย์ เป็นธรรม ยังธรรมนั้นให้เป็นไป ความว่า ยังสัทธินทรีย์เป็นธรรมนั้นให้ เป็นไป ด้วยยังสัทธินทรีย์สัมปยุตด้วยมรรคให้เกิดในสันดานของเวไนยสัตว์. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สจฺจา คือสัจจญาณ วิปัสสนา วิชชาและมรรคญาณ. บทว่า อนุปฺปาเท าณํ ญาณในความไม่เกิด คือญาณในอรหัตตผล ยังญาณแม้นั้นให้เป็นไปในสันดานของเวไนยสัตว์ เมื่อ ทำการแทงตลอดคือนิพพาน ก็ชื่อว่า ยังญาณให้เป็นไป. ในสมุทยวารเป็นต้น ท่านแสดงย่อบทที่แปลกว่า สมุทยวตฺถุกา นิโรธวตฺถุกา มคฺควตฺถุกา มีสมุทัยเป็นที่ตั้ง มีนิโรธเป็นที่ตั้ง มีมรรคเป็นที่ตั้ง. บทต้นเช่นกับที่กล่าว แล้วในวาระแม้นี้ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

อรรถกถาสติปัฏฐานวาร

แม้วาระมีสติปัฏฐาน อิทธิบาทเป็นเบื้องต้น ท่านก็กล่าวไว้แล้วด้วย สามารถแห่งขณะของมรรค แม้วาระเหล่านั้นท่านก็แสดงย่อบทที่แปลกไว้ใน วาระนั้นๆ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาธรรมจักรกถา