๙. พลกถา ว่าด้วยพลธรรม
[เล่มที่ 69] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 607
ยุคนัทธวรรค
๙. พลกถา
ว่าด้วยพลธรรม หน้า 607
อรรถกถาพลกถา หน้า 617
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 69]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 607
ยุคนัทธวรรค
พลกถา
ว่าด้วยพลธรรม
[๖๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล.
อีกอย่างหนึ่ง พละ ๖๘ ประการ คือ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ ปฏิสังขานพละ ภาวนาพละ อนวัชชพละ สังคาหพละ ขันติพละ ปัญญัตติพละ นิชฌัตติพละ อิสริยพละ อธิษฐานพละ สมถพละ วิปัสสนาพละ เสกขพละ ๑๐ อเสกขพละ ๑. ขีณาสวพละ ๑๐ อิทธิพละ ๑๐ ตถาคตพละ ๑๐.
[๖๒๒] สัทธาพละเป็นไฉน? ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะอรรถว่า ไม่ หวั่นไหวในความไม่ศรัทธา เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม เพราะ ความว่าครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพราะความว่าเป็นความสะอาดในเบื้องต้นแห่ง ปฏิเวธ เพราะความว่าเป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิต เพราะความว่าเป็นที่ผ่องแผ้วแห่งจิต เพราะความว่าเป็นเครื่องบรรลุคุณวิเศษ เพราะความว่าแทงตลอดธรรมที่ยิ่ง เพราะความว่าตรัสรู้สัจจะ เพราะความว่าให้การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสัทธาพละ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 608
วิริยพละเป็นไฉน? ชื่อว่าวิริยพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว ในความเกียจคร้าน เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ เพราะความว่าให้ การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นวิริยพละ.
สติพละเป็นไฉน? ชื่อว่าสติพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวใน ความประมาท เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ เพราะความว่าให้การกรกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสติพละ.
สมาธิพละเป็นไฉน? ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว ในอุทธัจจะ เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ เพราะความว่าให้การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสมาธิพละ.
ปัญญาพละเป็นไฉน? ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว ในความประมาท เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ เพราะความว่า ให้การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นปัญญาพละ.
[๖๒๓] หิริพละเป็นไฉน? ชื่อว่าหิริพละ เพราะอรรถว่า ละอายกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ละอายพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท ละอายถิ่นมิทธะ ด้วยโลกสัญญา ละอายอุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ละอายวิจิกิจฉาด้วยธรรมววัตถาน ละอายอวิชชาด้วยญาณ ละอายอรติด้วยความปราโมทย์ ละอายนิวร ์ ด้วยปฐมญาณ ฯลฯ ละอายสรรพกิเลสด้วยอรหัตตมรรค นี้เป็นหิริพละ.
โอตตัปปพละเป็นไฉน? ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะอรรถว่า เกรง กลัวกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ เกรงกลัวสรรพกิเลสด้วยอรหัตตมรรค นี้เป็น โอตตัปปพละ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 609
ปฏิสังขานพละเป็นไฉน? ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะอรรถว่า พิจารณากามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ พิจารณาสรรพกิเลสด้วยอรหัตตมรรค นี้เป็นปฏิสังขานพละ.
[๖๒๔] ภาวนาพละเป็นไฉน? ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะย่อมเจริญเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาทย่อมเจริญ ความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลสย่อมเจริญอรหัตตมรรค นี้เป็นภาวนาพละ.
อนวัชชพละเป็นไฉน? ชื่อว่าอนวัขชพละ เพราะอรรถว่า ในเนกขัมมะไม่มีโทษน้อยหนึ่ง เพราะละกามฉันทะได้แล้ว ในความไม่พยาบาทไม่มี โทษน้อยหนึ่ง เพราะละพยาบาทได้แล้ว ฯลฯ ในอรหัตตมรรคไม่มีโทษน้อยหนึ่ง เพราะละสรรพกิเลสได้แล้ว นี้เป็นอนวัชชพละ.
สังคาหพละเป็นไฉน? ชื่อว่าสังคาหพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมสะกดจิตไว้ด้วยอำนาจเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อมสะกดจิตไว้ด้วยอำนาจความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมสะกด จิตไว้ด้วยอำนาจอรหัตตมรรค นี้เป็นสังคาหพละ.
[๖๒๕] ขันติพละเป็นไฉน? ชื่อว่าขันติพละ เพราะอรรถว่า เนกขัมมะย่อมอดทนเพราะละกามฉันทะได้แล้ว ความไม่พยาบาทย่อมอดทนเพราะ ละพยาบาทได้แล้ว ฯลฯ อรหัตตมรรคย่อมอดทนเพราะละสรรพกิเลสได้แล้ว นี้เป็นขันติพละ.
ปัญญัตติพละเป็นไฉน? ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมตั้งจิต ไว้ด้วยอำนาจอรหัตตมรรค นี่เป็นปัญญัตติพละ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 610
นิชฌัตติพละเป็นไฉน? ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมเพ่งจิต ด้วยอำนาจอรหัตตมรรค นี้เป็นนิชฌัตติพละ.
อิสริยพละเป็นไฉน? ชื่อว่าอิสริยพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจร เมื่อละกามฉันทะ ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยสามารถเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยสามารถความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยสามารถ อรหัตตมรรคนี้เป็นอิสริยพละ.
อธิษฐานพละเป็นไฉน? ชื่อว่าอธิฐานพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถเนกขัมมะ เมื่อละ พยาบาท ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิ- เลส ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถอรหัตตมรรค นี้เป็นอธิษฐานพละ.
[๖๒๖] สมถพละเป็นไฉน? ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถเนกขัมมะ เป็นสมถพละ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความไม่พยาบาท เป็นสมถพละ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถอาโลกสัญญาเป็นสมถพละ ฯลฯ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก เป็น สมถพละ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณา เห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมถพละ.
ชื่อว่าสมถพละ ในคำว่า สมถพลํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 611
ชื่อว่าสมถพละ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในวิตกวิจารด้วยทุติยญาน เพราะ อรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในปีติด้วยตติยฌาน เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวใน รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ เพราะ อรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในวิญญานัญจายตนสัญญา ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในอากิญจัญญายตนสัญญา ด้วย เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง ไม่กวัดแกว่งไปในอุทธัจจะ ในกิเลสอันสหรคตด้วยอุทธัจจะและในขันธ์ นี้ เป็นสมถพละ.
[๖๒๗] วิปัสสนาพละเป็นไฉน? อนิจจานุปัสสนา เป็นวิปัสสนาพละ ทุกขานุปัสสนา เป็นวิปัสสนาพละ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป เป็นวิปัสสนาพละ ฯลฯ การพิจารณาเห็น ความสละคืนในรูป เป็นวิปัสสนาพละ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ เป็น วิปัสสนาพละ การพิจารณาเห็นทุกข์ในชราและมรณะ เป็นวิปัสสนาพละ การ พิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะ เป็นวิปัสสนาพละ.
ชื่อว่า วิปัสสนาพละ ในคำว่า วิปสฺสนาพลํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร?
ชื่อว่า วิปัสสนาพละ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในนิจจสัญญา ด้วยอนิจจานุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในสุขสัญญา ด้วย ทุกขานุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในความเพลิดเพลิน ด้วย นิพพิทานุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในราคะ ด้วยวิราคา-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 612
นุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในสมุทัย ด้วยนิโรธานุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวในความถือมั่น ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง ไม่กวัดแกว่งไปในอวิชชา ใน กิเลสอันสหรคตด้วยอวิชชา และในขันธ์ นี้เป็นวิปัสสนาพละ.
[๖๒๘] เสกขพละ ๑๐ อเสกขพละ ๑๐ เป็นไฉน? ชื่อว่า เสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษา ในสัมมาทิฏฐินั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาสังกัปปะ ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาสังกัปปะนั้นเสร็จ แล้ว ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ ฯลฯ สัมมาวิมุตติ ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ สัมมาวิมุตติ นั้นเสร็จแล้ว เสกขพละ ๑๐ อเสกขพละ ๑๐ นี้.
[๖๒๙] ขีณาสวพละ ๑๐ เป็นไฉน? ภิกษุขีณาสพในศาสนานี้ เป็น ผู้เห็นด้วยดีซึ่งสังขารทั้งปวง โดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เห็นด้วยดีซึ่งสังขารทั้งปวง โดย ความเป็นของไม่เที่ยงด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของ ภิกษุขีณาสพซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่า อาสวะทั้งหลาย ของเราสิ้นไปแล้ว.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เห็นด้วยดีซึ่งกามทั้งหลายว่า เปรียบ ด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพ เห็นด้วยดีซึ่งกามทั้งหลายว่า เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบตาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 613
ความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณ ความสิ้นอาสวะว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้ว.
อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติโน้มไป น้อมไป เอนไปในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ ตั้งอยู่ในวิเวก สิ้นสูญไปจากธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ โดยประการทั้งปวง แม้ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพเป็น ธรรมชาติโน้มไป น้อมไป เอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ สิ้นสูญไปจากธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวงนี้ ก็เป็น กำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้ว.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เจริญดีแล้ว แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เจริญดีแล้วนี้ ก็เป็นกำลังของ พระขีณาสพ ซึ่งพระขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่า อาสวะทั้งหลาย ของเราสิ้นไปแล้ว. อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ฯลฯ อริยมรรค มีองค์ ๘ เจริญดีแล้ว แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เจริญดีแล้วนี้ ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้ว นี้เป็นกำลังของพระขีณาสพ ๑๐.
[๖๓๐] อิทธิพละ ๑๐ เป็นไฉน? ฤทธิ์เพราะการอธิษฐาน ๑ ฤทธิ์ ที่แผลงได้ต่างๆ ๑ ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ ๑ ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ ๑ ฤทธิ์ที่ แผ่ไปด้วยสมาธิ ๑ ฤทธิ์ของพระอริยะ ๑ ฤทธิ์ที่เกิดแต่ผลกรรม ๑ ฤทธิ์ของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 614
ท่านผู้มีบุญ ๑ ฤทธิ์ที่สำเร็จมาแต่วิชชา ๑ ฤทธิ์ ด้วยความว่าสำเร็จเพราะ เหตุแห่งการประกอบโดยชอบในส่วนนั้นๆ ๑ อิทธิพละ ๑๐ นี้.
[๖๓๑] ตถาคตพละ ๑๐ เป็นไฉน? พระตถาคตในโลกนี้ย่อมทรง ทราบซึ่งฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะตามความเป็นจริง แม้ ข้อที่พระตถาคตทรงทราบฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะ ตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระตถาคตได้ทรงอาศัย ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร. อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบซึ่งผลแห่งกรรมสมาทาน ทั้งที่เป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบซึ่งผลแห่งกรรมสมาทาน ทั้งที่เป็นส่วนอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลัง ของพระตถาคต ฯลฯ.
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบปฏิปทาเครื่องให้ถึง ประโยชน์ทั้งปวง ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบปฏิปทา เครื่องให้ถึงประโยชน์ทั้งปวง ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ.
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบโลกธาตุต่างๆ โดยความ เป็นอเนกธาตุ ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบโลกธาตุต่างๆ โดยความเป็นอเนกธาตุ ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ.
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบความที่สัตว์ทั้งหลายเป็น ผู้มีอัธยาศัยต่างๆ กัน ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบความ ที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอัธยาศัยต่างๆ กัน ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลัง ของพระตถาคต ฯลฯ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 615
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบความยิ่งและหย่อนแห่ง อินทรีย์ ของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่น ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคต ทรงทราบความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์อื่นและบุคคลอื่น ตามความ เป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ.
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบความเศร้าหมอง ความ ผ่องแผ้ว ความออก แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติ ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออก แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติ ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของ พระตถาคต ฯลฯ.
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็น อันมาก คือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ย่อมทรงระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการดังนี้ แม้ข้อที่ พระตถาคตทรงระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก คือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติ บ้าง ฯลฯ นี้ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ.
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตทรงพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลัง อุปบัติด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ แม้ข้อที่พระตถาคตทรง พิจารณาเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ ของมนุษย์นี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ.
อีกประการหนึ่ง พระตถาคตทรงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้า ถึงอยู่ แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 616
อยู่นี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระตถาคตได้ทรงอาศัยทรงปฏิญาณฐานะ ของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร ตถาคตพละ ๑๐ นี้.
[๖๓๒] ชื่อว่าสัทธาพละ ชื่อว่าวิริยพละ ชื่อว่าสติพละ ชื่อว่า สมาธิพละ ชื่อว่าปัญญาพละ ชื่อว่าหิริพละ ชื่อว่าโอตตัปปพละ ชื่อว่า ปฏิสังขานพละ ชื่อว่าตถาคตพละ เพราะอรรถว่ากระไร?
ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวในความเป็นผู้ไม่มี ศรัทธา ชื่อว่าวิริยพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน ชื่อว่า สติพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวในความประมาท ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวในอุทธัจจะ ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะอรรถว่าไม่ หวั่นไหวในอวิชชา ชื่อว่าหิริพละ เพราะอรรถว่า ละอายอกุศลธรรมอัน ลามก ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะอรรถว่าเกรงกลัวอกุศลธรรมอันลามก ชื่อว่า ปฏิสังขานพละ เพราะอรรถว่า พิจารณากิเลสทั้งหลายด้วยญาณ ชื่อว่า ภาวนาพละ เพราะอรรถว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น มีกิจเป็นอัน เดียวกัน ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะอรรถว่า ในเนกขัมมะนั้นไม่มีโทษน้อยหนึ่ง ชื่อว่าสังคาหพละ เพราะอรรถว่า พระโคจรย่อมสะกดจิตไว้ด้วยเนกขัมมะ เป็นต้นนั้น ชื่อว่าขันติพละ เพราะอรรถว่า เนกขัมมะเป็นต้นย่อมอดทนต่อ นิวรณ์มีกามฉันทะเป็นต้น ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจร ตั้งจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจร ย่อมเพ่งจิตด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่าอิสริยพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมให้จิตเป็นไปตามอำนาจด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่า สมถพละ เพราะอรรถว่า จิตมีอารมณ์เดียวด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 617
วิปัสสนาพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดใน ภาวนานั้น ชื่อว่าเสกขพละ เพราะอรรถว่า พระเสขะยังต้องศึกษาในสัมมาทิฏฐิ เป็นต้นนั้น ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะความที่พระอเสขะศึกษาในสัมมาทิฏฐิ เป็นต้นนั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าขีณาสวพละ เพราะอรรถว่า อาสวะทั้งหลายสิ้น ไปแล้วด้วยความเห็นด้วยดีนั้น ชื่อว่าอิทธิพละ เพราะอรรถว่า ฤทธิ์ย่อม สำเร็จเพราะการอธิษฐานเป็นต้น เพราะเหตุแห่งการประกอบโดยชอบในส่วน นั้นๆ ชื่อว่าตถาคตพละ เพราะอรรถว่าเป็นกำลังหาประมาณมิได้ ฉะนี้แล.
จบพลกถา
อรรถกถาพลกถา
บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งพลกถา อันมี พระสูตรเป็นเบื้องต้นอันเป็นโลกุตรกถา ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน ลำดับแห่งโลกุตรกถา. ในพลกถานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดง พละ ๕ โดยพระสูตรแต่ต้น แล้วมีพระประสงค์จะทรงแสดงพละแม้อื่นจาก พละ ๕ นั้นจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า อปิจ อฏฺสฏฺี พลานิ อีกอย่างหนึ่ง พละ ๖๘ ประการ ดังนี้. แม้พละ ๖๘ ทั้งหมดก็ชื่อว่าพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวโดยภาวะตรงกันข้ามกับพละ ๕ นั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า หิริพลํ หิริพละดังต่อไปนี้. ชื่อว่า หิริ เพราะเป็นเหตุละอายต่อบาป. บทนั้นเป็นชื่อของความละอาย. ชื่อว่า โอตตัปปะ เพราะเป็นเหตุกลัวต่อบาป. บทนั้นเป็นชื่อของความหวาดสะดุ้ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 618
หิริมีภายในเป็นสมุฏฐาน โอตตัปปะมีภายนอกเป็นสมุฏฐาน. หิริมีตนเป็นใหญ่ โอตตัปปะมีโลกเป็นใหญ่. หิริตั้งอยู่ในสภาพที่ละอาย โอตตัปปะตั้งอยู่ในสภาพ ที่กลัว. หิริมีความเคารพเป็นลักษณะ โอตตัปปะมีความเห็นภัยจากความกลัว โทษ. ชื่อว่า หิริพละ เพราะหิรินั้นแล ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยความไม่มีหิริ. ชื่อว่า โอตตัปปพละ เพราะโอตตัปปะนั้นแล ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยความ ไม่มีโอตตัปปะ. ชื่อว่า ปฏิสังขานพละ เพราะไม่หวั่นไหวด้วยการไม่ พิจารณา. บทนี้เป็นชื่อของปัญญาเข้าไปพิจารณา กำลังเกิดขึ้นแก่พระโยคาวจร ผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ ด้วยความเพียรเป็นหลัก ชื่อว่า ภาวนาพละ. บทนี้ เป็นชื่อของขันธ์ ๔ อันเป็นไปอย่างนั้น. ศีลเป็นต้นอันบริสุทธิ์ ชื่อว่า อนวัชชพละ. สังคหวัตถุ ๔ ชื่อว่า สังคาหพละ. ปาฐะว่า สงฺคเห พลํ กำลังในการสงเคราะห์บ้าง. การอดกลั้นทุกข์ ชื่อว่า ขันติพละ. การยินดี ธรรมกถาของผู้อื่น ชื่อว่า ปัญญัตติพละ. การเพ่งถึงประโยชน์อันยิ่ง ชื่อว่า นิชฌัตติพละ. ความเป็นผู้มากในกุศลทั้งหลาย ชื่อว่า อิสริยพละ. การ ตั้งตามความพอใจในกุศลทั้งหลาย ชื่อว่า อธิษฐานพละ.
ประโยชน์ของหิริพละเป็นต้น ท่านกล่าวถือเอาการประกอบโดยความ พิเศษ ด้วยพยัญชนะในบทมาติกาทั้งหลาย. บทว่า สมถพลํ วิปสฺสนาพลํ คือ สมถะและวิปัสสนาอันมีกำลังนั่นเอง.
พึงทราบวินิจฉัยในมาติกานิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า อสฺสทฺธิเย น กมฺปตีติ สทฺธาพลํ ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวในความ ไม่มีศรัทธา พระสารีบุตรเถระกล่าวถึงอรรถของพละอันเป็นมูลเหตุ แล้วแสดง สัทธาพละนั้นให้พิเศษด้วยปริยาย ๙ อื่นอีก. จริงอยู่ ธรรมใดไม่หวั่นไหว เป็นธรรมมีกำลัง ธรรมนั้นย่อมอุปถัมภ์ธรรมที่เกิดร่วมกัน พระโยคาวจร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 619
ควบคุมกิเลสอันเป็นปฏิปักษ์ของตนไว้ได้ ชำระศีลและทิฏฐิอันเป็นเบื้องต้น แห่งการแทงตลอดไว้ได้ ยังจิตให้ตั้งมั่นในอารมณ์ ทำจิตให้ผ่องใสให้ผ่องแผ้ว ถึงความชำนาญย่อมให้บรรลุคุณวิเศษ เมื่อบรรลุยิ่งกว่านั้นย่อมให้ทำการ แทงตลอดยิ่งขึ้นไป ครั้นบรรลุอริยมรรความลำดับแล้ว ย่อมให้ทำการบรรลุ สัจจะได้ ย่อมให้ตั้งอยู่ในนิโรธด้วยการบรรลุผลได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงทำ อรรถแห่งพละให้พิเศษโดยอาการ ๙ อย่าง. ในพละ ๔ มีวิริยพละเป็นต้น ก็นัยนี้.
บทว่า กามฉนฺทํ หิรียติ ละอายกามฉันทะ คือพระโยคาวจร ประกอบด้วยเนกขัมมะ ละอายกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ. แม้ในโอตตัปปะก็ นัยนี้เหมือนกัน. แม้การละอายอกุศลทั้งปวงเหล่านี้ ก็เป็นอันท่านกล่าวถึง ความกลัวด้วย. พึงทราบอรรถแม้แห่งบทว่า พฺยาปาทํ เป็นอาทิโดยนัยนี้แหละ. บทว่า ปฏิสงฺขาติ ย่อมพิจารณา คือ พิจารณาโดยความเป็นโทษด้วยความ ไม่หลง. บทว่า ภาเวติ คือย่อมเจริญ. บทว่า วชฺชํ โทษ คือ โทษมีราคะ เป็นต้น. บทว่า สงฺคณฺหาติ ย่อมสงเคราะห์ คือ ย่อมผูก. บทว่า ขมติ ย่อม อดทน คือ พระโยคาวจรนั้นย่อมอดทน ย่อมชอบใจ. บทว่า ปญฺเปติ ย่อมตั้งไว้ คือ พอใจ. บทว่า นิชฺฌาเปติ ย่อมเพ่ง คือ ย่อมคิด. บทว่า วสํ วตฺเตติ ให้เป็นไปในอำนาจ คือ ทำจิตมากในความคิดให้เป็นไปตาม อำนาจของตน. บทว่า อธิฏฺาติ ย่อมอธิษฐาน คือ ย่อมจัดแจง. แม้พละ ทั้งหมดมีภาวนาพละเป็นต้นก็เป็นเนกขัมมะเป็นต้นนั่นแหละ. ในอรรถกถา แห่งมาติกาท่านกล่าวไว้โดยประการอื่น แต่พึงทราบว่าท่านไม่กล่าวถึงอรรถ ไว้ในที่นี้ เพราะปรากฏโดยพยัญชนะอยู่แล้ว. ท่านพระสารีบุตรเถระชี้แจงถึง สมถพละและวิปัสสนาพละโดยพิสดาร ในที่สุดกล่าวบทมีอาทิว่า อุทฺธจฺจ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 620
สหคตกิเลเส จ ขนฺเธ จ น กมฺปติ จิตไม่หวั่นไหวใจกิเลสอัน สหรคตด้วยอุทธัจจะและในขันธ์ และบทมีอาทิว่า อวิชฺชาสหคตกิเลเส จ ขนฺเธ จ น กมฺปติ จิตไม่หวั่นไหวในกิเลสอันสหรคตด้วยอวิชชาและ ในขันธ์ เพื่อให้เห็นถึงลักษณะของสมถพละ และวิปัสสนาพละ.
พึงทราบวินิจฉัยในเสกขพละ และอเสกขพละดังต่อไปนี้. บทว่า สมฺมาทิฏฺึ สิกฺขตีติ เสกฺขพลํ ชื่อว่า เสกขพละเพราะพระเสกขะยังต้อง ศึกษาสัมมาทิฏฐิ ความว่า ชื่อพระเสกขะเพราะพระเสกขบุคคลยังต้องศึกษา สัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าเสกขพละ เพราะสัมมาทิฏฐินั้นนั่นแหละ เป็นกำลังของ พระเสกขะนั้น. บทว่า ตตฺถ สิกฺขิตตฺตา อเสกฺขพลํ ชื่อว่า อเสกขพละ เพราะพระอเสกขะศึกษาในสัมมาทิฏฐิเป็นต้นนั้นเสร็จแล้ว ความว่า ชื่อว่าพระอเสกขะ เพราะพระอเสกขบุคคลไม่ต้องศึกษา เพราะสัมมาทิฏฐินั้นพระอเสกขบุคคลศึกษาแล้ว ชื่อว่า อเสกขพละ เพราะสัมมาทิฏฐินั้นนั่นแหละเป็น กำลังของพระอเสขะนั้น. ในสัมมาสังกัปปะเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า สมฺมาาณํ สัมมาญาณ คือ ปัจจเวกขณญาณ (ญาณเป็น เครื่องพิจารณา). จริงอยู่ แม้ญาณนั้นเป็นโลกิยะก็เป็นเสกขพละ เพราะพระเสกขะยังต้องประพฤติอยู่. ท่านกล่าวว่า อเสกขพละเพราะพระอเสกขะไม่ต้อง ประพฤติแล้ว. บทว่า สมฺมาวิมุตฺติ สัมมาวิมุตติ คือ ธรรมสัมปยุตด้วยผล ที่เหลือ เว้นองค์แห่งมรรค ๘ แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า วิมุตติที่เหลือ เว้นโลกุตรวิมุตติเป็นสัมมาวิมุตติ ความว่า สัมมาวิมุตตินั้นเป็นเสกขพละ และอเสกขพละมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล ญาณพละแม้ทั้งหมดมีในขีณาสวพละ. บทว่า ขีณาสวสฺส ภิกฺขุโน อันภิกษุขีณาสพ เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 621
แห่งตติยาวิภัตติ เป็น ขีณาสเวน ภิกฺขุนา. บทว่า อนิจฺจโต โดยความ เป็นสภาพไม่เที่ยง คือ โดยความไม่เที่ยงด้วยอาการ เป็นแล้วไม่เป็น. บทว่า ยถาภูตํ คือ ตามความเป็นจริง. บทว่า ปญฺาย ด้วยปัญญา คือ ด้วย มรรคปัญญากับวิปัสสนา ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เห็นด้วยดี โดยความเป็นสภาพ ไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยไม่ใช่ตัวตน เพราะมีปัญญานั้นเป็นมูล. บทว่า ยํ เป็นภาวนปุงสก หรือมีความว่า ด้วยเหตุใด. บทว่า อาคมฺม คือ อาศัย. บทว่า ปฏิชานาติ ปฏิญาณ คือ รับทำตามปฏิญาณ. บทว่า องฺคารกาสูปมา เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง คือ เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยอรรถว่า น่ากลัวมาก. บทว่า กามา คือ วัตถุกามและกิเลสกาม. บทว่า วิเวกนินฺนํ โน้มไปในวิเวก คือ น้อมไปในนิพพาน กล่าวคือความสงัดจาก อุปธิด้วยผลสมาบัติ. จริงอยู่ วิเวกมี ๓ คือ กายวิเวก ๑ จิตตวิเวก ๑ อุปธิวิเวก (สงัดจากกิเลส) ๑.
ผู้มีกายตั้งอยู่ในความสงัด ยินดีในเนกขัมมะชื่อว่า กายวิเวก. ผู้ ขวนขวายในอธิจิต ชื่อว่า จิตตวิเวก. บุคคลผู้ไม่มีอุปธิ ปราศจากเครื่องปรุงแต่ง หรือน้อมไปในนิพพานกล่าวคือความวิเวกอันเป็นเครื่องนำออกไป ชื่อว่า อุปธิวิเวก. ความจริง วิเวกมี ๕ อย่าง คือ วิกขัมภนวิเวก ๑ ตทังควิเวก ๑ สมุจเฉทวิเวก ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก ๑ นิสสรณวิเวก ๑. อนึ่ง บทว่า วิเวกนินฺนํ คือ โน้มไปในวิเวก. บทว่า วิเวกโปณํ คือ น้อมไปในวิเวก. บทว่า วิเวกปพฺภารํ คือ เอนไปในวิเวก. แม้บททั้งสองก็เป็นไวพจน์ของบทก่อน นั่นแหละ. บทว่า วิเวกฏฺํ ตั้งอยู่ในวิเวก คือ เว้นจากกิเลสทั้งหลาย หรือ ไปเสียให้ไกล. บทว่า เนกฺขมฺมาภิรตํ ยินดีในเนกขัมมะ คือ ยินดีใน นิพพาน หรือยินดีในบรรพชา. บทว่า พฺยนฺตีภูตํ สิ้นสูญไป คือ ปราศจาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 622
ไป แม้การแสดงครั้งเดียวก็ไม่ผิด พ้นไป ไม่เกี่ยวข้อง. บทว่า สพฺพโส คือ โดยประการทั้งปวง. บทว่า อาสวฏฺานิเยหิ ธมฺเมหิ จากธรรมอันเป็น ที่ตั้งแห่งอาสวะ ความว่า จากกิเลสอันเป็นเหตุของอาสวะทั้งหลายด้วยการ เกี่ยวข้อง.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า พฺยนฺตีภูตํ ความสิ้นสูญไป คือ ปราศจาก ความใคร่ อธิบายว่า หมดตัณหา. จากไหน จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง อาสวะโดยประการทั้งปวง คือ จากธรรมเป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งปวง. ในที่นี้ ท่านกล่าวถึงโลกิยมรรคและโลกุตรมรรคของพระขีณาสพ ด้วยขีณาสวพละ ๑๐ อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า พละกำหนดรู้ทุกข์ว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงมีสภาพ ไม่เที่ยง พละละสมุทัยว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง พละทำ ให้แจ้งนิโรธว่า จิตโน้มไปในวิเวก พละในการเจริญมรรค ๗ อย่างมีอาทิว่า สติปัฏฐาน ๔. อิทธิพละ ๑๐ อย่างจักมีแจ้งในอิทธิกถา.
พึงทราบวินิจฉัยในตถาคตพลนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า ตถาคตพลานิ คือกำลังของพระตถาคตเท่านั้น ไม่ทั่วไปด้วยชนเหล่าอื่น หรือว่าพละอันมา แล้วเหมือนอย่างพละของพระพุทธเจ้าแต่ก่อนมาแล้วด้วยการสะสมบุญ. ในบท นั้น ตถาคตพละมี ๒ อย่าง คือ กายพละ ๑ ญาณพละ ๑ ในพละ ๒ อย่างนั้น พึงทราบกายพละโดยติดตามถึงตระกูลช้าง. สมดังที่ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลาย กล่าวไว้ว่า
ตระกูลช้าง ๑๐ เหล่านี้ คือ กาฬาวกะ ๑ คังเคยยะ ๑ ปัณฑระ ๑ ตัมพะ ๑ ปิงคละ ๑ คันธะ ๑ มังคละ ๑ เหมะ ๑ อุโปสถะ ๑ ฉัททันตะ ๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 623
เหล่านี้คือตระกูลช้าง ๑๐. ในบทเหล่านั้น บทว่า กาฬาวกํ พึงเห็นตระกูลช้าง ตามปกติ. กำลังกายของบุรุษ ๑๐ เป็นกำลังของช้างกาฬาวกะเชือกหนึ่ง. กำลังของกาฬาวกะ ๑๐ เป็นกำลังของคังเคยยะเชือกหนึ่ง. กำลังของคังเคยยะ ๑๐ เป็นกำลังของปัณฑระเชือกหนึ่ง. กำลังของปัณฑระ ๑๐ เป็นกำลังของ ตัมพะเชือกหนึ่ง. กำลังของตัมพะ ๑๐ เป็นกำลังของปิงคละเชือกหนึ่ง. กำลัง ของปิงคละ ๑๐ เป็นกำลังของคันธะเชือกหนึ่ง. กำลังของคันธะ ๑๐ เป็นกำลัง ของมังคละเชือกหนึ่ง. กำลังของมังคละ ๑๐ เป็นกำลังของเหมวตะเชือกหนึ่ง. กำลังของเหมวตะ ๑๐ เป็นกำลังของอุโปสถะเชือกหนึ่ง. กำลังของอุโปสถะ ๑๐ เป็นกำลังของฉัททันตะเชือกหนึ่ง. กำลังของฉัททันตะ ๑๐ เป็นกำลังของพระตถาคตพระองค์เดียว.
บทนี้ท่านกล่าวถึง แม้บทว่า นารายนสงฺฆาตพลํ คือกำลังของ นารายนะ. ตถาคตพละนั้นเท่ากับกำลังช้างปกติ ๑,๐๐๐ โกฏิ เท่ากับกำลัง บุรุษ ๑๐,๐๐๐ โกฏิ นี้คือกายพละของพระตถาคต. ส่วนญาณพละมาแล้วใน บาลีนี้และในที่อื่น.
ญาณ ๑,๐๐๐ ไม่น้อยแม้อื่นอย่างนี้ คือ ทศพลญาณ จตุเวสารัชชญาณ อกัมปนญาณ (ญาณไม่หวั่นไหว) ในบริษัท ๘ จตุโยนิปริจเฉทกญาณ (ญาณกำหนดกำเนิด ๔) ปัญจคติปริจเฉทกญาณ (ญาณกำหนดคติ ๕) มาแล้วในมัชฌิมนิกาย ญาณ ๗๓ ญาณ ๗๗ มาแล้วในสังยุตตนิกาย นี้ชื่อว่า ญาณพละ. ในที่นี้ท่านประสงค์เอาญาณพละนั่นแหละ. เพราะญาณท่านกล่าวว่า เป็นพละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหวและด้วยอรรถว่าอุปถัมภ์.
บทว่า านญฺจ านโต ฐานะโดยเป็นฐานะ คือ เหตุโดยเป็นเหตุ. เพราะเหตุผลย่อมตั้งอยู่ในญาณนั้น คือ ย่อมเกิดขึ้นและย่อมเป็นไป เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 624
ประพฤติเนื่องด้วยญาณนั้น ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า านํ. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงทราบธรรมที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยเพื่อเกิดธรรมว่าเป็นฐานะ ธรรมที่ ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นปัจจัย เพื่อเกิดธรรมว่าไม่เป็นฐานะ ชื่อว่าย่อมทรงทราบ ฐานะโดยเป็นฐานะและอฐานะโดยเป็นอฐานะตามความเป็นจริง. บทว่า ยมฺปิ คือด้วยญาณใด. บทว่า อิทมฺปิ คือแม้ญาณนี้ก็เป็นฐานญาณ อธิบายว่า ชื่อว่า เป็นตถาคตพละของพระตถาคต. แม้ในบทที่เหลือก็พึงทราบการประกอบ อย่างนี้.
บทว่า อาสภณฺานํ ฐานะอันสูงสุด คือ ฐานะอันประเสริฐ ฐานะ อันสูงสุด อธิบายว่า เป็นฐานะของพระพุทธเจ้าแต่ก่อนทั้งหลายผู้องอาจ. อีกอย่างหนึ่ง โคอุสภะผู้เป็นหัวหน้าโค ๑๐๐ ตัว โควสภะผู้เป็นหัวหน้าโค ๑,๐๐๐ ตัว โคอุสภะผู้เป็นหัวหน้าคอก ๑๐๐ คอก โควสภะผู้เป็นหัวหน้าคอก ๑,๐๐๐ คอก โคนิสภะประเสริฐกว่าโคทั้งหมด อดทนต่ออันตรายทั้งปวงได้ สีขาวน่ารักนำภาระไปได้มาก ไม่สะดุ้งแม้เสียงฟ้าร้องตั้ง ๑๐๐ ครั้ง ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาอุสภะ เพราะบทว่า อาสภณฺานํ แม้นี้ก็เป็นคำกล่าวโดย ปริยายของอุสภะนั้น ชื่อว่าอาสภะ เพราะฐานะนี้ของอุสภะ.
บทว่า านํ คือเอาเท้าทั้ง ๔ เหยียบแผ่นดินมั่นอยู่. อนึ่ง ฐานะนี้ ชื่อว่า อาสภะ เพราะดุจผู้องอาจ เหมือนอย่างว่าโคอุสภะ คือโคผู้นำประกอบ ด้วยอุสุภพละ เอาเท้าทั้ง ๔ เหยียบแผ่นดิน ตั้งไว้โดยไม่หวั่นไหว ฉันใด แม้พระตถาคตก็ฉันนั้นทรงประกอบด้วยตถาคตพละ ๑๐ เอาเท้า คือ เวสารัชชะ ๔ เหยียบปฐพี คือ บริษัท ๘ ไม่หวั่นไหวด้วยข้าศึกศัตรูไรๆ ในโลกพร้อม ทั้งเทวโลกดำรงอยู่ด้วยฐานะอันไม่หวั่นไหว. อนึ่ง เมื่อดำรงอยู่อย่างนี้ย่อม ปฏิญาณ เข้าไปใกล้ ไม่บอกคืน ให้ยกขึ้นในตนซึ่งฐานะอันองอาจนั้น ด้วย เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อาสภณฺานํ ปฏิชานาติ ปฏิญาณฐานะอันองอาจ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 625
บทว่า ปริสาสุ คือ ในบริษัท ๘ มีกษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี สมณะ เทพชั้นจาตุมมหาราชิกะ เทพชั้นดาวดึงส์ มาร และพรหม. บทว่า สีหนาทํ นทติ บันลือสีหนาท คือ บันลือเสียงประเสริฐ เสียงไม่สะดุ้งกลัว หรือบันลือ เสียงกึกก้องเช่นเสียงสีหะ. พึงแสดงอรรถนี้ด้วยสีหนาทสูตร. ราชสีห์ท่านเรียกว่า สีหะ เพราะอดทน เพราะฆ่าสัตว์เป็นอาหาร ฉันใด พระตถาคตก็ฉันนั้น ท่านกล่าวว่า สีหะ เพราะอดทนโลกธรรมและกำจัดปรัปปวาท (ผู้กล่าวโต้แย้ง) การบันลือของสีหะดังกล่าวแล้วอย่างนั้น ชื่อว่า สีหนาท. สีหะประกอบด้วย สีหพละแกล้วกล้าปราศจากขนพองสยองเกล้า บันลือสีหนาทในที่ทั้งปวงฉันใด แม้พระตถาคตดุจสีหะก็ฉันนั้น ทรงประกอบด้วยตถาคตพละทรงแกล้วกล้าใน บริษัท ๘ ปราศจากความสยดสยอง ทรงบันลือสีหนาทถึงพร้อมด้วยบทบาท การแสดงหลายๆ อย่างโดยนัยมีอาทิว่า อิติ รูปํ รูปเป็นดังนี้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปริสาสุ สีหนาทํ นทติ ทรงบันลือสีหนาทในบริษัท ทั้งหลาย.
บทว่า พฺรหฺมํ ในบทนี้ว่า พฺรหฺมจกฺกํ ปวตฺเตติ ประกาศ พรหมจักร เป็นจักรประเสริฐสูงสุดบริสุทธิ์. พึงทราบจักกศัพท์ดังต่อไปนี้.
จักกศัพท์ปรากฏใน สมบัติ ลักษณะ เครื่อง ประกอบรถ อิริยาบถ ทาน รัตนจักร ธรรมจักร อุรจักรเป็นต้น ในที่นี้ปรากฏในธรรมจักร พระโยคาวจรพึงประกาศธรรมจักรแม้นั้นโดยอาการ ๒ อย่าง.
จักกศัพท์ ปรากฏในสมบัติ ในบทมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยจักร ๔ เหล่านี้. ปรากฏใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 626
ลักษณะ ในประโยคนี้ว่า จักรเกิดที่ฝ่าพระบาทเบื้องล่าง. ปรากฏในส่วน ของรถ ในประโยคนี้ว่า ดุจล้อหมุนไปตามรอยเท้าฉะนั้น. ปรากฏในอิริยาบถ ในบทนี้ว่า มีจักร ๔ มีทวาร ๙. ปรากฏในทาน ในประโยคนี้ว่า เมื่อให้ ท่านจงบริโภคเถิดและอย่าเป็นผู้ประมาท ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ในแคว้น โกศล ขอพระองค์จงยังจักรให้เป็นไปเถิด. เป็นไปในรัตนจักร ในบทนี้ว่า จักรรัตนะอันเป็นทิพย์ได้ปรากฏแล้ว. เป็นไปในธรรมจักร ในบทนี้ว่า จักรอันเราประกาศแล้ว. เป็นไปในอุรจักร ในบทนี้ว่า จักรย่อมหมุนไปบน หัวของสัตว์ผู้ถูกความริษยาครอบงำแล้ว. เป็นไปในปหรณจักรในบทนี้ว่า ด้วย จักรมียอดคม. ในอสนิมณฑลในบทนี้ว่า สายฟ้าฟาด. แต่ในที่นี้ จักกศัพท์นี้ ปรากฏในธรรมจักร.
อนึ่ง ธรรมจักรนั้นมี ๒ อย่าง คือ ปฏิเวธญาณ และเทศนาญาณ. ในญาณทั้ง ๒ นั้น การนำมาซึ่งอริยผลของตนอันเจริญแล้วด้วยปัญญา ชื่อว่า ปฏิเวธญาณ. การนำมาซึ่งอริยผลของสาวกทั้งหลายอันเจริญแล้วด้วยกรุณา ชื่อว่าเทศนาญาณ. ในญาณทั้ง ๒ นั้น ปฏิเวธญาณมี ๒ อย่าง คือ กำลังเกิด ๑ เกิดแล้ว ๑. ญาณนั้นชื่อว่ากำลังเกิด ตั้งแต่ออกมหาภิเนษกรมณ์ จนถึง อรหัตตมรรค ชื่อว่าเกิดแล้วในอรหัตตผล. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ากำลังเกิด ตั้งแต่ ประดิษฐาน ณ ภพดุสิต จนถึงบรรลุอรหัตตมรรค ณ โพธิบัลลังก์ ชื่อว่า เกิดแล้วในขณะแห่งผล หรือกำลังเกิดตั้งแต่ศาสนาพระทีปังกรทศพล จนถึง บรรลุอรหัตตมรรค ชื่อว่าเกิดแล้วในขณะแห่งผล. แม้เทศนาญาณก็มี ๒ อย่าง คือ กำลังเป็นไป ๑ เป็นไปแล้ว ๑. เทศนาญาณนั้นชื่อว่า กำลังเป็นไป เพียงใดแต่อรหัตตมรรคของพระอัญญาโกณทัญญเถระ ชื่อเป็นไปแล้วในขณะ แห่งผล. ปฏิเวธญาณเป็นโลกุตระ เทศนาญาณเป็นโลกิยะ. แม้ทั้ง ๒ นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 627
ก็ไม่ทั่วไปด้วยผู้อื่น เป็นโอรสญาณ (ญาณเกิดแต่อก) ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เท่านั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พฺรหฺมจกฺกํ ปวตฺเตติ ประกาศ พรหมจักร.
บทว่า กมฺมสมาทานํ กรรมสมาทาน คือ กุศลกรรมและอกุศลกรรม ที่สมาทานแล้ว หรือกรรมนั้นแหละชื่อว่ากรรมสมาทาน. บทว่า านโส เหตุโส โดยฐานะ โดยเหตุ คือโดยปัจจัยและโดยเหตุ ในบทนั้น ฐานะ แห่งวิบาก เพราะคติ อุปธิ กาล ปโยคะ กรรมเป็นเหตุ. บทว่า สพฺพตฺถคามินึ ปฏิปทาเครื่องให้ถึงประโยชน์ทั้งปวง คือ ปฏิปทาเครื่องให้ถึงคติ ทั้งปวง และปฏิปทาเครื่องให้ถึงอคติ. บทว่า ปฏิปทํ ปฏิปทา คือมรรค. บทว่า ยถาภูตํ ปชานาติ รู้ตามความเป็นจริง คือ ตถาคตย่อมรู้สภาพโดย ไม่วิปริตของการปฏิบัติกล่าวคือ กุศลเจตนาและอกุศลเจตนา แม้ในวัตถุเดียว โดยนัยนี้ว่า แม้เมื่อมนุษย์มากฆ่าสัตว์ตัวเดียวเท่านั้น เจตนาของการฆ่านี้ก็จัก เป็นเจตนาไปสู่นรก จักเป็นเจตนาไปสู่กำเนิดดิรัจฉาน. บทว่า อเนกธาตุํ อเนกธาตุ คือธาตุมากด้วยธาตุมีจักษุธาตุเป็นต้น หรือมีกามธาตุเป็นต้น. บทว่า นานาธาตุํ ธาตุต่างๆ คือธาตุมีประการต่างๆ เพราะธาตุเหล่านั้นมีลักษณะ ผิดกัน. บทว่าโลกํ ได้แก่ โลก คือ ขันธ์อายตนะธาตุ. บทว่า ยถาภูตํ ปชานาติ รู้ตามความเป็นจริง คือแทงตลอดสภาวะแห่งธาตุนั้นๆ โดยไม่วิปริต. บทว่า นานาธิมุตฺติกตํ คือ ความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่างกัน ด้วยอัธยาศัยเลว ประณีตเป็นต้น. บทว่า ปรสตฺตานํ ของสัตว์อื่น คือ ของสัตว์ที่เป็นประธาน. บทว่า ปรปุคฺคลานํ ของบุคคลอื่น คือของสัตว์เลวอื่นจากสัตว์ที่เป็นประธาน นั้น ทั้ง ๒ บทนี้มีอรรถอย่างเดียวกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยอาการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 628
๒ อย่าง ด้วยสามารถเวไนยสัตว์ แม้ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสโดยนัย ดังกล่าวแล้ว.
บทว่า อินฺทฺริยปโรปริยตฺตํ ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ คือ ความเป็นอื่นและความไม่เป็นอื่นของอินทรีย์ มีสัทธินทรีย์เป็นต้น อธิบายว่า ความเจริญและความเสื่อม.
บทว่า ฌานวิโมกฺขสมาธิสมาปตฺตีนํ ฌานวิโมกข์ สมาธิและ สมาบัติ คือ แห่งฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น แห่งวิโมกข์ ๘ มีอาทิว่า ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย แห่งสมาธิ ๓ มีวิตกวิจารเป็นต้น แห่งอนุปุพพสมาบัติ ๙ มีปฐมฌานสมาบัติเป็นต้น. บทว่า สงฺกิเลสํ ความเศร้าหมอง คือธรรม อันเป็นไปในฝ่ายเสื่อม. บทว่า โวทานํ ความผ่องแผ้ว คือธรรมอันเป็นไป ในฝ่ายวิเศษ. บทว่า วุฏฺานํ ความออก คือเหตุที่ออกจากฌาน. อนึ่ง ความออกนั้นท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า แม้ความผ่องแผ้วก็เป็นความออก แม้ ความออกจากสมาธินั้นๆ ก็เป็นความออก ได้แก่ฌานอันคล่องแคล่ว และ สมาบัติอันเป็นผลแห่งภวังค์.
เพราะฌานอันคล่องแคล่ว ชั้นต่ำๆ เป็นปทัฏฐานแห่งฌานชั้นสูงๆ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า แม้ความผ่องแผ้วก็เป็นความออก ความออกจากฌาน ทั้งปวงย่อมมีได้ด้วยภวังค์ ความออกจากนิโรธสมาบัติ ย่อมมีได้ด้วยผลสมาบัติ ท่านหมายถึงความออกนั้นจึงกล่าวว่า แม้ความออกจากสมาธินั้นๆ ก็เป็นความออก.
ปุพเพนิวาสญาณ ทิพยจักขุญาณ และอาสวักขยญาณท่านประกาศไว้ แล้วในหนหลังนั่นแล. ในบทเหล่านั้น บทว่า อาสวานํ ขยา เพราะอาสวะ สิ้นไป คือ เพราะกิเลสทั้งหมดสิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค. บทว่า อนาสวํ ไม่มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 629
อาสวะ คือปราศจากอาสวะ. ในบทว่า เจโตวิมุตฺตึ ปญฺาวิมุตฺตึ นี้ ท่านกล่าวสมาธิสัมปยุตด้วยอรหัตตผล ด้วยคำว่า เจโต กล่าวปัญญาสัมปยุต ด้วยอรหัตตผลนั้นด้วยคำว่า ปัญญา. อนึ่ง พึงทราบว่า สมาธิชื่อเจโตวิมุตติ เพราะพ้นจากราคะ ปัญญาชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เพราะพ้นจากอวิชชา. สมดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิพึงเป็นสมาธินทรีย์ ปัญญาพึงเป็นปัญญินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะสำรอกราคะ ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชา. อีกอย่างหนึ่ง ในบทนี้พึงทราบว่า สมถพละเป็นเจโตวิมุตติ วิปัสสนาพละเป็น ปัญญาวิมุตติ. บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม คือในอัตภาพนี้. บทว่า สยํ อภิญฺา สจฺฉิกตฺวา ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง คือทำให้ประจักษ์ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเอง อธิบายว่า รู้ด้วยปัจจัยอื่นอีก. บทว่า อุปสมฺปชฺช เข้าถึง คือ บรรลุแล้วหรือสำเร็จแล้ว.
อนึ่ง พึงทราบความพิสดารของทศพลญาณ ๑๐ นี้ โดยนัยดังกล่าว แล้วในอภิธรรม.
ในบทนั้นถ้อยคำฝ่ายปรวาทีมีว่า ชื่อว่า ทศพลญาณเป็นญาณเฉพาะ ไม่มี. นี้เป็นประเภทของสัพพัญญุตญาณนั่นเอง ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนั้น. เพราะทศพลญาณเป็นอย่างอื่น สัพพัญญุตญาณเป็นอย่างอื่น ทศพลญาณย่อม รู้กิจของตนๆ เท่านั้น สัพพัญญุตญาณย่อมรู้กิจนั้นบ้าง กิจที่เหลือจากนั้นบ้าง.
พึงทราบวินิจฉัยในทศพลญาณ ดังต่อไปนี้ ทศพลญาณที่ ๑ ย่อมรู้เหตุ และมิใช่เหตุ. ทศพลญาณที่ ๒ ย่อมรู้ระหว่างกรรมและระหว่างวิบาก. ทศพลญาณที่ ๓ ย่อมรู้กำหนดของกรรม. ทศพลญาณที่ ๔ ย่อมรู้เหตุของความต่าง แห่งธาตุ. ทศพลญาณที่ ๕ ย่อมรู้อัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลาย. ทศพลญาณที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 630
ย่อมรู้ความแก่กล้าและความอ่อนของอินทรีย์ทั้งหลาย. ทศพลญาณที่ ๗ ย่อมรู้ ความเศร้าหมองเป็นต้นแห่งญาณเหล่านั้น พร้อมกับฌานเป็นต้น. ทศพลญาณ ที่ ๘ ย่อมรู้ความสืบต่อของขันธ์ที่อยู่อาศัยในก่อน. ทศพลญาณที่ ๙ ย่อมรู้จุติ และปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย. ทศพลญาณที่ ๑๐ ย่อมรู้กำหนดสัจจะเท่านั้น.
ส่วนสัพพัญญุตญาณ ย่อมรู้สิ่งที่ทศพลญาณเหล่านั้นควรรู้ และยิ่ง กว่านั้น แต่ไม่ทำกิจทั้งหมดของญาณเหล่านั้น เพราะทศพลญาณนั้นมีฌาน ก็ไม่อาจให้แนบแน่นได้ มีฤทธิ์ก็ไม่อาจทำให้มหัศจรรย์ได้ มีมรรคก็ไม่ สามารถยังกิเลสให้สิ้นได้.
อีกอย่างหนึ่ง ควรถามปรวาทีอย่างนี้ว่า ชื่อว่าทศพลญาณนี้ มีวิตก มีวิจาร หรือไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร หรือไม่มีทั้งวิตกไม่มีทั้งวิจาร เป็นกามาวจร หรือรูปาวจร หรืออรูปาวจร เป็นโลกิยะหรือโลกุตระ. เมื่อรู้ก็จักตอบว่า ฌาน ๗ มีวิตกมีวิจารตามลำดับ จักตอบว่า ฌาน ๒ นอกจากนั้นไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร จักตอบว่า อาสวักขยญาณมีทั้งวิตกมีทั้งวิจารก็มี ไม่มีวิตก มีเพียงวิจารก็มี ไม่มีทั้งวิตกไม่มีทั้งวิจารก็มี. อนึ่ง จักตอบว่า ฌาน ๗ เป็น กามาวจรตามลำดับ ฌาน ๒ นอกจากนั้นเป็นรูปาวจร ในที่สุดจากนั้นเป็น โลกุตระอย่างเดียว จักตอบว่า ส่วนสัพพัญญุตญาณ มีทั้งวิตกมีทั้งเป็น กามาวจร เป็นโลกิยะ.
บัดนี้ พระตถาคตทรงทราบการพรรณนาตามความที่ยิ่งไม่เคยพรรณนา ไว้ในบทนี้อย่างนี้ แล้วทรงเห็นความไม่มีเครื่องกั้นกิเลส อันเป็นฐานะและ อฐานะแห่งการบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ และการไม่บรรลุของเวไนยสัตว์ ทั้งหลาย ด้วยฐานาฐานญาณเป็นครั้งแรก เพราะทรงเห็นฐานะของสัมมาทิฏฐิ อันเป็นโลกิยะ และเพราะทรงเห็นความไม่มีฐานะของนิยตมิจฉาทิฏฐิ ครั้นแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 631
ทรงเห็นความไม่มีเครื่องกั้นวิบากด้วยกรรมวิปากญาณ เพราะทรงเห็นปฏิสนธิ อันเป็นติเหตุกะ ทรงเห็นความไม่มีเครื่องกั้นกรรมด้วยสัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (ปรีชากำหนดรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวง) เพราะทรงเห็นความไม่มี อนันตริยกรรม ทรงเห็นจริยาวิเศษ เพื่อทรงแสดงธรรมอนุกูลแก่อนาวรณญาณ (ญาณที่ไม่มีเครื่องกั้น) ด้วยนานาธาตุญาณ (ปรีชากำหนดรู้ธาตุต่างๆ) แห่ง ธาตุไม่น้อย เพราะทรงแสดงความต่างกันแห่งธาตุ ด้วยประการฉะนี้.
ครั้นแล้วทรงแสดงอัธยาศัย ด้วยนานาธิมุตติกตาญาณ (ปรีชากำหนด รู้อัธยาศัยต่างๆ) ของเวไนยสัตว์เหล่านั้น เพื่อแม้ไม่ถือเอาการประกอบก็ ทรงแสดงธรรมด้วยสามารถอัธยาศัย ต่อจากนั้นเพื่อทรงแสดงธรรมตามความ สามารถตามกำลังของผู้น้อมไปในทิฏฐิอย่างนี้ จึงทรงเห็นความหย่อนและยิ่ง อ่อนของอินทรีย์ ด้วยอินทริยปโรปริยัตตญาณ เพราะทรงเห็นความแก่กล้าและความ อ่อนของอินทรีย์ มีสัทธินทรีย์เป็นต้น.
อนึ่ง หากว่าเวไนยสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น แม้กำหนดรู้ความหย่อน และยิ่งของอินทรีย์อย่างนี้ยังมีอยู่ไกล เมื่อนั้นพระตถาคตย่อมเข้าถึง ด้วยฤทธิ์ วิเศษเร็วพลัน เพราะทรงชำนาญในฌานเป็นต้น ด้วยญาณมีฌานเป็นต้น ครั้นเข้าถึงแล้วทรงเห็นความแจ่มแจ้งของชาติก่อน ด้วยปุพเพนิวาสานุสติ- ญาณ ความวิเศษของจิตเดี๋ยวนั้น ด้วยเจโตปริยญาณ อันควรบรรลุเพราะ อานุภาพแห่งทิพยจักษุญาณ ทรงแสดงธรรมเพื่อความสิ้นอาสวะ เพราะปราศ- จากความหลง ด้วยปฏิปทาอันนำไปสู่ความสิ้นอาสวะ ด้วยอานุภาพแห่งอาสวักขยญาณ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่าท่านกล่าวถึงกำลัง ๑๐ ด้วยบทนี้ตาม ลำดับ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 632
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระประสงค์จะชี้แจงกำลังทั้งหมด โดยความเป็น ลักษณะจึงตั้งคำถามโดยนัยมีอาทิว่า เกนฏฺเน สทฺธาพลํ ชื่อว่า สัทธาพละ เพราะอรรถว่ากระไร แล้วแก้โดยนัย มีอาทิว่า อสฺสทฺธิเย อกมฺปิยฏฺเน เพราะอรรถไม่ไหวหวั่นในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา.
ในบทเหล่านั้น บทมีอาทิว่า หิริยติ ย่อมละอาย เป็นการแสดงถึงบุคลาธิษฐาน. ในที่สุดอธิษฐานพละมีภาวนาพละเป็นต้น พึงทราบว่า ท่านกล่าว หมายถึงเนกขัมมะเป็นต้นเท่านั้น ด้วยบทว่า ตตฺถ เตน และ ตํ ใน เนกขัมมะนั้น ด้วยเนกขัมมะนั้น ซึ่งเนกขัมมะนั้น.
บทว่า เตน จิตฺตํ เอกคฺคํ จิตมีอารมณ์เดียว ด้วยเนกขัมมะนั้น ท่านอธิบายว่า จิตมีอารมณ์เดียว ด้วยสมาธินั้น. บทว่า ตตฺถ ชาเต ธรรมที่เกิดในภาวนานั้น คือ ธรรมที่เกิดในสมถะนั้น ด้วยความประกอบ หรือมีวิปัสสนาเป็นอารมณ์เกิดในสมถะนั้น. บทว่า ตตฺถ สิกฺขติ พระเสกขะ ยังต้องศึกษาในสัมมาทิฏฐินั้น ความว่า ชื่อว่า เสกขพละ เพราะพระเสกขะ ยังต้องศึกษาในเสกขพละนั้น. บทว่า ตตฺถ สิกฺขิตตฺตา เพราะความที่ พระอเสกขะศึกษาในสัมมาทิฏฐินั้นเสร็จแล้ว ความว่า ชื่อว่า อเสกขพละ เพราะ พระอเสกขะศึกษาแล้วในอเสกขพละนั้น. บทว่า เตน อาสวา ขีณา อาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยสัมมาทิฏฐินั้น ความว่า ญาณนั้น ชื่อว่า ขีณาสวพละ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปแล้วด้วยโลกิยญาณ และโลกุตรญาณนั้น. จริงอยู่ อาสวะทั้งหลาย ชื่อว่า สิ้นไปแล้วด้วยโลกิยญาณ เพราะความไม่มีโลกุตรธรรม เพราะความไม่มีวิปัสสนา. ชื่อว่า ขีณาสวพละ เพราะกำลังของพระขีณาสพ อย่างนี้. บทว่า ตํ ตสฺส อิชฺฌตีติ อิทฺธิพลํ ชื่อว่า อิทธิพละ เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 633
ฤทธิ์ย่อมสำเร็จ เพราะการอธิษฐาน ความว่า ฤทธิ์นั่นแหละเป็นกำลังจึงชื่อว่า อิทธิพละ เพราะฤทธิ์ย่อมสำเร็จแก่ผู้มีฤทธิ์นั้น. บทว่า อปฺปเมยฺยฏเน เพราะอรรถว่าเป็นกำลังหาประมาณมิได้ คือ สาวกทั้งหลายย่อมรู้ฐานะและ อฐานะเป็นต้น โดยเอกเทศ. ท่านกล่าวว่า ยถาภูตํ ปชานาติ ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริง หมายถึงความรู้นั่นแหละ โดยอาการทั้งปวง ถึงแม้ท่านจะ ไม่กล่าวว่า ยถาภูตํ ปชานาติ ไว้ในวิชชา ๓ ก็จริง แต่เพราะท่านกล่าวไว้ ในที่อื่น จึงเป็นอันกล่าว แม้ในวิชชาเหล่านั้นด้วย.
บทว่า อญฺตฺถ คือในญาณพละ ๗ ที่เหลือ และในพละ ๑๐ ใน อภิธรรม. อนึ่ง อินทริยปโรปริยัตตญาณไม่ทั่วไปด้วยสาวกทั้งหลาย แม้โดย ประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น แม้พละ ๑๐ ก็ไม่ทั่วไปด้วยสาวกทั้งหลาย พละ ๑๐ ชื่อว่า หาประมาณมิได้ เพราะอรรถว่ามีประมาณยิ่ง เพราะอรรถว่า ชั่งไม่ได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อปฺปเมยฺยฺยฏฺเน ตถาคตพลํ ชื่อว่าตถาคตพละ เพราะอรรถว่าเป็นกำลังหาประมาณมิได้ ด้วยประการดังนี้.
จบอรรถกถาพลกถา