๓. อภิสมยกถา ว่าด้วยความตรัสรู้
[เล่มที่ 69] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 770
ปัญญาวรรค
๓. อภิสมยกถา
ว่าด้วยความตรัสรู้ หน้า 770
อรรถกถาอภิสมยกถา หน้า 775
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 69]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 770
ปัญญาวรรค อภิสมยกถา
ว่าด้วยความตรัสรู้
[๖๙๕] คำว่า ความตรัสรู้ ความว่า ย่อมตรัสรู้ด้วยอะไร ย่อม ตรัสรู้ด้วยจิต ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไม่มีญาณก็ตรัสรู้ได้ซิ บุคคลผู้ไม่มีญาณตรัสรู้ไม่ได้ ย่อมตรัสรู้ได้ด้วยญาณ ย่อมตรัสรู้ด้วยญาณหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไม่มีจิตก็ตรัสรู้ได้ซิ บุคคลผู้ไม่มีจิตก็ตรัสรู้ไม่ได้ ย่อม ตรัสรู้ได้ด้วยจิตและญาณ ย่อมตรัสรู้ได้ด้วยจิตและญาณหรือ ถ้าอย่างนั้น ก็ ตรัสรู้ได้ด้วยกามาวจรจิตและญาณซิ ย่อมตรัสรู้ด้วยกามาวจรจิตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยรูปาวจรจิตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยรูปาวจรจิตและญาณ ไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยอรูปาวจรจิตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยอรูปาวจรจิตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยกัมมัสสกตาจิตและญาณซิ ตรัส รู้ด้วยกัมมัสสกตาจิตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยสัจจานุโลมิกจิต และญาณซิ ตรัสรู้ด้วยสัจจานุโลมิกจิตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ ด้วยจิตที่เป็นอดีตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นอดีตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่าง นั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นอนาคตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นอนาคตและ ญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณซิ ตรัสรู้ด้วย จิตที่เป็นปัจจุบันและญาณไม่ได้ (แต่) ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณ ในขณะโลกุตรมรรค.
[๖๙๖] ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะแห่งโลกุตรมรรคอย่างไร?
ในขณะโลกุตรมรรค จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้น และเป็นเหตุเป็น ปัจจัยแห่งญาณ จิตอันสัมปยุตด้วยญาณนั้น มีนิโรธเป็นโคจร ญาณเป็นใหญ่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 771
ในการเห็น และเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งจิต ญาณอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น มี นิโรธเป็นโคจร ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและด้วยญาณ ในขณะแห่ง โลกุตรมรรคอย่างนี้.
[๖๙๗] ถามว่า ความตรัสรู้มีเท่านี้หรือ?
ตอบว่า ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะโลกุตรมรรค ความตรัสรู้ด้วยความเห็น เป็นสัมมาทิฏฐิ ความตรัสรู้ด้วยความดำริเป็นสัมมาสังกัปปะ ความตรัสรู้ด้วย ความกำหนดเป็นสัมมาวาจา ความตรัสรู้ด้วยความเป็นสมุฏฐานเป็นสัมมากัมมันตะ ความตรัสรู้ด้วยความขาวผ่องเป็นสัมมาอาชีวะ ความตรัสรู้ด้วยความตั้งสติ มั่นเป็นสัมมาสติ ความตรัสรู้ด้วยความไม้ฟุ้งซ่านเป็นสัมมาสมาธิ ความตรัสรู้ ด้วยความตั้งสติมั่น เป็นสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ความตรัสรู้ด้วยการพิจารณาหา ทางเป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวในความเป็นผู้ ไม่มีศรัทธาเป็นสัทธาพละ ความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน เป็นวิริยะพละ ความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวในความประมาท เป็นสติ พละ ความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวในอุทธัจจะเป็นสมาธิพละ ความตรัสรู้ ด้วยความไม่หวั่นไหวในอวิชชา เป็นปัญญาพละ ความตรัสรู้ด้วยความน้อมใจ เชื่อเป็นสัทธินทรีย์ ความตรัสรู้ด้วยความประคองไว้ เป็นวิริยินทรีย์ ความ ตรัสรู้ด้วยความตั้งสติมั่นเป็นสตินทรีย์ ความตรัสรู้ด้วยความไม่ฟุ้งซ่านเป็น สมาธินทรีย์ ความตรัสรู้ด้วยความเห็นเป็นปัญญินทรีย์ ความตรัสรู้ด้วยอินทรีย์ ด้วยความว่าเป็นใหญ่ ความตรัสรู้ด้วยพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหว ความตรัส รู้ด้วยโพชฌงค์ด้วยความว่านำออก ความตรัสรู้ด้วยมรรคด้วยความว่าเป็นเหตุ ความตรัสรู้ด้วยสติปัฏฐานด้วยความว่าตั้งสติมั่น ความตรัสรู้ ด้วยสัมมัปปธาน ด้วยความว่าตั้งไว้ ความตรัสรู้ด้วยอิทธิบาทด้วยความว่าให้สำเร็จ ความตรัสรู้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 772
สัจจะด้วยความว่าเป็นของแท้ ความตรัสรู้ด้วยสมถะด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ความตรัสรู้ด้วยวิปัสสนาด้วยความว่าพิจารณาเห็น ความตรัสรู้ด้วยสมถะและ วิปัสสนาด้วยความว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ความตรัสรู้ด้วยธรรมคู่กันด้วยความ ว่าไม่ล่วงเกินกัน ศีลวิสุทธิด้วยความว่าสำรวม เป็นความตรัสรู้ จิตตวิสุทธิด้วย ความว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความตรัสรู้ ทิฏฐิวิสุทธิด้วยความว่าเห็นเป็นความตรัสรู้ ความตรัสรู้ด้วยอธิโมกข์ด้วยความว่าหลุดพ้น ความตรัสรู้ด้วยวิชชาด้วยความ ว่าแทงตลอด วิมุตติด้วยความว่าบริจาค เป็นความตรัสรู้ ญาณในความสิ้นไป ด้วยความว่าตัดขาด เป็นความตรัสรู้ ฉันทะเป็นความตรัสรู้ด้วยความเป็นมูล เหตุ มนสิการเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นความตรัสรู้ ด้วยความว่าเป็นที่รวม เวทนาเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่ประชุม สมาธิ เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นประธาน สติเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็น ใหญ่ ปัญญาเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นธรรมยิ่งกว่าธรรมนั้นๆ วิมุตติ เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นสารธรรม นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นความ ตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่สุด.
[๖๙๘] ถามว่า ความตรัสรู้มีเท่านี้หรือ?
ตอบว่า ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะโสดาปัตติมรรค ความตรัสรู้ด้วย ความเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ นิพพานอันหยั่งลง ในอมตะ เป็นความตรัสรู้ ด้วยความว่าเป็นที่สุด.
ถามว่า ความตรัสรู้มีเท่านี้หรือ?
ตอบว่า ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะโสดาปัตติผล ความตรัสรู้ด้วยความ เห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ญาณในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น เป็นความตรัสรู้ ด้วยความว่าระงับ ฉันทะเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นมูลเหตุ ฯลฯ นิพพาน อันหยั่งลงในอมตะ เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่สุด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 773
ถามว่า ความตรัสรู้มีเท่านี้หรือ?
ตอบว่า ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะสกทาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะสกทาคามิ ผล ในขณะอนาคามิมรรค ในขณะอนาคามิผล ในขณะอรหัตตมรรค ในขณะ อรหัตตผล ความตรัสรู้ด้วยความเห็น เป็นสัมมาทิฏฐิ ความตรัสรู้ด้วยความดำริ เป็นสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ญาณในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้นเป็นความตรัสรู้ ด้วยความว่าระงับ ฉันทะเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นมูลเหตุ ฯลฯ นิพพาน อันหยั่งลงในอมตะ เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่สุด บุคคลนี้นั้นย่อมละ ได้ซึ่งกิเลสทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน.
[๖๙๙] คำว่า ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอดีต ความว่า บุคคล ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอดีตหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ทำกิเลสที่สิ้นไป แล้วให้สิ้นไป ทำกิเลสที่ดับไปแล้วให้ดับไป ทำกิเลสที่ปราศไปแล้วให้ปราศ ไป ทำกิเลสที่หมดแล้วให้หมดไป ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอดีตอันไม่มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นละกิเลสที่เป็นอดีตหาได้ไม่.
คำว่า ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอนาคต ความว่า บุคคลย่อมละ ได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอนาคตหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ละกิเลสที่ยังไม่เกิด ละกิเลสที่ยังไม่บังเกิด ละกิเลสที่ไม่เกิดขึ้นแล้ว ละกิเลสที่ยังไม่ปรากฏ ละได้ ซึ่งกิเลสที่เป็นอนาคตอันไม่มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นละกิเลสที่เป็น อนาคตหาได้ไม่.
คำว่า ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นปัจจุบัน ความว่า บุคคลย่อมละ ได้ซึ่งกิเลสที่เป็นปัจจุบันหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้กำหนัดก็ละราคะได้ ผู้ขัด เคืองก็ละโทสะได้ ผู้หลงก็ละโมหะได้ ผู้มีมานะผูกพันก็ละมานะได้ ผู้ถือผิด ก็ละทิฏฐิได้ ผู้ถึงความฟุ้งซ่านก็ละอุทธัจจะได้ ผู้ลังเลไม่แน่ใจก็ละวิจิกิจฉาได้ ผู้มีกิเลสเรี่ยวแรงก็ละอนุสัยได้ ธรรมฝ่ายคำและธรรมฝ่ายขาวซึ่งเป็นคู่กันกำลัง เป็นไป มรรคภาวนาอันมีความหม่นหมองด้วยกิเลสนั้น. ก็มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีต กิเลสที่เป็นอนาคต กิเลสที่เป็นปัจจุบัน หาได้ไม่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 774
[๗๐๐] บุคคลย่อมละกิเลสที่เป็นอดีตหาได้ไม่ ละกิเลสที่เป็นอนาคต หาได้ไม่ ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันหาได้ไม่หรือ ถ้าอย่างนั้น มรรคภาวนาก็ ไม่มี การทำให้แจ้งซึ่งผลก็ไม่มี การละกิเลสก็ไม่มี ธรรมาภิสมัยก็ไม่มี.
หามิได้ มรรคภาวนามีอยู่ การทำให้แจ้งซึ่งผลมีอยู่ การละกิเลสมี อยู่ ธรรมาภิสมัยมีอยู่ เหมือนอะไร? เหมือนต้นไม้กำลังรุ่น ยังไม่เกิดผลบุรุษ พึงตัดต้นไม้นั้นที่ราก ผลที่ยังไม่เกิดแห่งต้นไม้นั้นก็ไม่เกิดเลย ที่ยังไม่บังเกิด ก็ไม่บังเกิดเลย ที่ไม่เกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ เลยฉันใด ความเกิดขึ้น เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งความบังเกิดแห่งกิเลสทั้งหลาย จิตเห็นโทษในความเกิดขึ้นแล้ว จึงแล่นไปในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติแล่นไปในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น กิเลส เหล่าใดพึงบังเกิด เพราะความเกิดขึ้นเป็นปัจจัย กิเลสเหล่านั้นที่ยังไม่เกิดก็ ไม่เกิดเลย ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่บังเกิดเลย ที่ไม่เกิดขึ้นแล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏเลย ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดับ ทุกข์ก็ดับ ด้วย ประการฉะนี้ เพราะเหตุแห่งความเป็นไป เพราะเหตุแห่งสังขารเป็นนิมิต เพราะเหตุแห่งกรรมเป็นปัจจัยแห่งความบังเกิดแห่งกิเลสทั้งหลาย จิตเห็นโทษ ในกรรมแล้วจึงแล่นไปในนิพพานอันไม่มีกรรม เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติแล่นไปในนิพพานอันไม่มีกรรม กิเลสเหล่าใดพึงบังเกิดเพราะกรรมเป็น ปัจจัย กิเลสเหล่านั้นที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดเลย ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่บังเกิดเลย ที่ ยังไม่เกิดขึ้นแล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏเลย เพราะเหตุดับ ทุกข์ก็ดับด้วยประการฉะนี้ มรรคภาวนามีอยู่ การทำให้แจ้งซึ่งผลมีอยู่ การ ละกิเลสมีอยู่ ธรรมาภิสมัยมีอยู่ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบอภิสมยกถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 775
อรรถกถาอภิสมยกถา
บัดนี้ จะพรรณนาตามความที่ยังมิได้พรรณาแห่งอภิสมยกถาอันพระสารีบุตรเถระผู้แสดงอภิสมัยอันเป็นฤทธิ์อย่างยิ่งในลำดับแห่งอิทธิกถากล่าวแล้ว.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อภิสมโย ความตรัสรู้ คือถึงพร้อมด้วยธรรม เป็นประธานแห่งสัจจะทั้งหลาย อธิบายว่าแทงตลอด อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ความตรัสรู้อรรถ. บทว่า เกน อภิสเมติ ย่อมตรัสรู้ด้วยอะไร ท่านอธิบาย ไว้อย่างไร ท่านกล่าวความตรัสรู้ว่า ความตรัสรู้เป็นรสนั้นใดในบทแห่งสูตร มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การตรัสรู้ธรรมให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้แล เมื่อความตรัสรู้นั้นเป็นไปอยู่ บุคคลผู้ตรัสรู้ย่อมตรัสรู้สัจจะด้วยธรรมอะไรเป็นผู้ มีธรรมเป็นประธาน ย่อมถึงพร้อมอธิบายว่าแทงตลอดนี้เป็นคำถามของผู้ท้วง ก่อน. บทว่า จิตฺเตน อภิสเมติ ย่อมตรัสรู้ด้วยจิต คือแก้อย่างนั้นเพราะ เว้นจิตเสียแล้วไม่มีความตรัสรู้. บทมีอาทิว่า หญฺจิ เป็นการท้วงอีก หญฺจิ แปลว่า ถ้าว่า. เพราะท่านกล่าวว่า ด้วยจิตผู้ท้วงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นบุคคลผู้ไม่มี ญาณก็ตรัสรู้ได้ซิ. บทว่า น อญฺาณี อภิสเมติ บุคคลไม่มีญาณตรัสรู้ไม่ได้ คือปฏิเสธเพราะไม่มีความตรัสรู้โดยเพียงจิตเท่านั้น. บทว่า าเณน อภิสเมติ ย่อมตรัสรู้ด้วยญานเป็นการรับรอง. บทมีอาทิว่า หญฺจิ อีกครั้งเป็นการท้วงว่า ผู้ไม่มีความรู้ ย่อมตรัสรู้เพราะไม่มีจิตได้ซิเพราะท่านกล่าวว่า าเณน ด้วย ญาณ. บทว่า น อจิตฺตโก อภิเสเมติ บุคคลผู้ไม่มีจิตก็ตรัสรู้ไม่ได้ เป็น การปฏิเสธเพราะผู้ไม่มีจิตตรัสรู้ไม่ได้. บทมีอาทิว่า จิตฺเตน จ เป็นการรับรอง. บทมีอาทิว่า หญฺจิ อีกครั้งเป็นการท้วงอำนาจทั่วไปแห่งจิตและญาณทั้งหมด. แม้ในการท้วงและการแก้ที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 776
บทว่า กมฺมสฺสกตาจิตฺเตน จ าเณน จ ด้วยกัมมัสสกตาจิตและ ด้วยญาณ คือ ด้วยจิตอันเป็นไปแล้วด้วยกัมมัสสกดาอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายมี กรรมเป็นของตน. บท สจฺจานุโลมิกจิตฺเตน จ าเณน จ ด้วย สัจจานุโลมิกจิต และด้วยญาณคือด้วยจิตสัมปยุตด้วยวิปัสสนากล่าวคือ สัจจานุโลมิกญาณ เพราะช่วยการแทงตลอดสัจจะและด้วยวิปัสสนาญาณ. บทว่า กถํ อย่างไรเป็นกเถตุกัมยตาปุจฉา (ถามเองตอบเอง) เหมือนอภิสมัย. บทว่า อุปฺปาทาธิปเตยฺยํ จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้น ได้แก่ เพราะเมื่อไม่มีจิตเกิด เจตสิกก็ไม่เกิด เพราะจิตยึดอารมณ์ เจตสิกก็เกิด พร้อมกับจิตนั้น เมื่อไม่มีอารมณ์จะยึดจักเกิดได้อย่างไรเล่า แม้ในอภิธรรม ท่านก็จำแนกเจตสิกไว้ด้วยกายเกิดขึ้นแห่งจิตนั่นแหละ ฉะนั้นจิตจึงเป็นใหญ่ ในการเกิดขึ้นแห่งมรรคญาณ. บทว่า าณสฺส คือแห่งมรรคญาณ. บทว่า เหตุ ปจฺจโย จ เป็นเหตุเป็นปัจจัยคือเป็นผู้ให้เกิดและเป็นผู้อุปถัมภ์. บทว่า ตํสมฺปยุตฺตํ คือ จิตสัมปยุตด้วยญาณนั้น. บทว่า นิโรธโคจรํ มีนิโรธ เป็นโคจร คือมีนิพพานเป็นอารมณ์. บทว่า ทสฺสนาธิปเตยฺยํ ญาณเป็น ใหญ่ในการเห็นคือเป็นใหญ่ในการเห็นนิพพานเพราะไม่มีกิจที่จะเห็นสิ่งที่เหลือ. บทว่า จิตฺตสฺส แห่งจิต คือแห่งจิตสัมปยุตด้วยมรรค. บทว่า ตํสมฺปยุตฺตํ คือญาณอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น.
เพราะปริยายแม้นี้มิใช่ความตรัสรู้ด้วยจิตและญาณเท่านั้น ที่แท้ธรรม คือจิตและเจตสิกอันสัมปยุตด้วยมรรค แม้ทั้งหมดชื่อว่า เป็นความตรัสรู้ด้วย ยังกิจคือความตรัสรู้สัจจะให้สำเร็จ ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดง ปริยายแม้นั้นจึงถามว่าความตรัสรู้มีเท่านั้นหรือ ปฏิเสธว่า นหิ ไม่ใช่มีเท่านั้น แล้วกล่าวคำมีอาทิว่า โลกุตฺตรมคฺคกฺขเณ ในขณะแห่งโลกุตรมรรค.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 777
บทว่า ทสฺสนาภิสมโย ความตรัสรู้ด้วยความเห็น คือ ความตรัสรู้อันเป็น ความเห็น แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้. บทว่า สจฺจา คือสัจจญาณ มรรคญาณ นั่นแลชื่อว่าวิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นพระนิพพาน. บทว่า วิโมกฺโข คือมรรควิโมกข์. บทว่า วิชฺชา คือมรรคญาณนั้นแหละ. บทว่า วิมุตฺติ คือสมุจเฉทวิมุตติ. นิพพานชื่อว่า อภิสมโย เพราะตรัสรู้ ที่เหลือชื่อว่า อภิสมยา เพราะเป็นเหตุตรัสรู้.
พระสารีบุตรเถระเพื่อแสดงจำแนกอภิสมัยด้วยมรรคและผล จึงกล่าว คำมีอาทิว่า กินฺนุ ดังนี้. อนึ่ง ในที่นี้ เพราะญาณย่อมไม่ได้ในความสิ้นไป ด้วยอรรถว่าตัดขาดในขณะผล ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อนุปฺปาเท าณํ ญาณในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น. พึงทราบบทที่เหลือตามสมควร บัดนี้ เพราะเมื่อมีการละกิเลส ความตรัสรู้ก็ย่อมมีได้ และเมื่อมีความตรัสรู้การละ กิเลสก็ย่อมมีได้ ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระ ประสงค์จะแสดงถึงการละกิเลส อันมีการท้วงเป็นเบื้องต้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สฺวายํ บุคคลนี้นั้น ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สฺวายํ คือพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรคนี้ นั้น. คำ ๔ คำในบทนี้มี เอวํ เป็นอาทิ เป็นการถามของผู้ท้วง. บทนี้ว่า อตีเต กิเลเส ปชหติ ละกิเลสที่เป็นอดีต เป็นคำแก้เพื่อให้โอกาสแก่การ ท้วง.
บทว่า ขีณํ คือสิ้นไปแล้วด้วยความดับ. บทว่า นิรุทฺธํ ดับแล้ว คือ ดับด้วยไม่เกิดขึ้นบ่อยๆ โดยสันดาน. บทว่า วิคตํ ปราศไป คือ ปราศไป จากขณะที่กำลังเป็นไปอยู่. บทว่า วิคเมติ คือ ให้ปราศไป. บทว่า อตฺถงฺคตํ ถึงการดับไป คือ ถึงความไม่มี. บทว่า อตฺถงฺคเมติ คือ ให้ถึงความไม่มี. ครั้นแสดงโทษในข้อนั้นแล้วจึงกล่าวปฏิเสธว่า บุคคลละกิเลสอันเป็นอดีต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 778
หาได้ไม่. บทว่า อชาตํ ที่ไม่เกิดขึ้น คือ ยังไม่เกิดขึ้นจากการท้วงอันเป็น อนาคต. บทว่า อนิพฺพตฺตํ กิเลสที่ยังไม่เกิด คือ กิเลสที่ยังไม่ถึงสภาวะ. บทว่า อนุปฺปนฺนํ กิเลสที่ยังไม่เกิด คือ ยังไม่ปฏิบัติในอนาคตจำเดิมแต่เกิด. บทว่า อปาตุภูตํ ไม่ปรากฏ คือ ไม่ปรากฏแห่งจิตโดยความเป็นปัจจุบัน. เมื่อผู้ละในอดีตและอนาคต ความพยายามไม่มีผลย่อมได้รับ เพราะไม่มีสิ่งที่ควร ละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงปฏิเสธแม้ทั้งสองอย่าง. บทว่า รตฺโต ราคํ ปชหติ บุคคลผู้กำหนัดย่อมละราคะได้ คือ บุคคลผู้กำหนัดย่อมละราคะนั้นได้ด้วยราคะ ที่กำลังเป็นไปอยู่. แม้ในกิเลสที่กำลังเป็นไปอยู่ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ถามคโต ผู้มีกิเลสเรี่ยวแรง คือ ผู้ถึงสภาพมั่นคง. บทว่า กณฺหสุกฺกา ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว คือ ธรรมที่เป็นอกุศลและกุศลซึ่งเป็นคู่กันกำลัง เป็นไป คือ ย่อมถึงเสมอกัน. บทว่า สงฺกิเลสิกา มรรคภาวนาอันมีความ หม่นหมองด้วยกิเลส คือ เมื่อความที่ความหม่นหมองสัมปยุตกันมีอยู่ มรรคภาวนาประกอบด้วยความหม่นหมอง ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ เมื่อละในปัจจุบันอย่างนี้ มรรคภาวนาอันเป็นความหม่นหมองย่อมมีได้ และความพยายามก็ไม่มีผล เพราะมีสิ่งที่ควรละกับความพยายาม เพราะยังไม่มีการแยกจิตออกจากกิเลส อันเป็นปัจจุบัน.
บทว่า น หิ ไม่มี คือ ปฏิเสธคำที่ท่านกล่าวไว้แล้ว ๔ ส่วน. บทว่า อตฺถิ มีอยู่ คือ รับรอง. บทว่า ยถา กถํ วิย เหมือนอะไร เป็นการถาม เพื่อชี้ให้เห็นอุทาหรณ์แห่งความมี คือ มีเหมือนโดยประการไร มีเหมือนอะไร. บทว่า ยถาปิ แม้ฉันใด. บทว่า ตรุโณ รุกฺโข ต้นไม้รุ่น คือ ถือเอา ต้นไม้รุ่นเพื่อจะได้ไห้ผล. บทว่า อชาตผโล ผลที่ยังไม่เกิด คือ แม้เมื่อ ยังมีการให้ผลอยู่ก็ฉวยเอาก่อนเวลาจากการได้ผล. บทว่า ตเมนํ คือ ต้นไม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 779
นั้น. บทว่า เอนํ เป็นเพียงนิบาต หรือคือ ตํ เอตํ. บทว่า มูลํ ฉินฺเทยฺย พึงตัดราก คือ พึงตัดตั้งแต่ราก. บทว่า อชาตผลา คือ ผลยังไม่เกิด. บทว่า เอวเมวํ ตัดบทเป็น เอวํ เอวํ. ท่านกล่าวถึงการสืบต่อขันธ์อันเป็นปัจจุบัน แม้ด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ การเกิด ๑ ความเป็นไป ๑ นิมิต ๑ การประมวล ๑ ขันธสันดานอันไม่เป็นพืชของกิเลสที่ควรละได้ด้วยมรรคญาณ เพราะขันธสันดานนั้นไม่เป็นพืช กิเลสนั้นมีขันธสันดานนั้นเป็นปัจจัยยังไม่เกิดขึ้น ย่อม ไม่เกิดขึ้น. บทว่า อาทีนวํ ทิสฺวา เห็นโทษ คือ เห็นโทษโดยความเป็น ของไม่เที่ยงเป็นต้น. ท่านกล่าวถึงนิพพานเท่านั้นด้วยบท ๔ บท มีอาทิว่า อนุปฺปาโท การไม่เกิดขึ้น. บทว่า จิตฺตํ ปกฺขนฺทติ จิตแล่นไป คือ จิต สัมปยุตด้วยมรรค ย่อมแล่นไป. บทว่า เหตุนิโรธา ทุกฺขนิโรโธ เพราะเหตุ ดับ ทุกข์ก็ดับ คือ เพราะความไม่เกิดสันดานอันเป็นพืชของกิเลสทั้งหลายดับ ก็เป็นอันดับความไม่เกิดกิเลสอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ อันเป็นขันธ์ในอนาคต. เพราะความไม่เกิดกิเลสอันเป็นเหตุแห่งทุกข์อย่างนี้ดับ จึงเป็นอันดับความไม่ เกิดแห่งทุกข์ด้วย. พระสารีบุตรเถระกล่าวคำมีอาทิว่า อตฺถิ มคฺคภาวนา มรรคภาวนามีอยู่ เพราะมีข้อยุติในการละกิเลส.
แต่ในอรรถกถากล่าวไว้ว่า ด้วยบทนี้ท่านแสดงไว้อย่างไร. ท่านแสดง ถึงการละกิเลสอันได้ภูมิแล้ว ก็ภูมิที่ได้นั้นเป็นอดีต อนาคต หรือเป็นปัจจุบัน. พึงทราบกถาพิสดารแห่งการละกิเลสที่ท่านกล่าวแล้วว่า กิเลสอันได้ภูมิเกิดขึ้น แล้วโดยนัยดังกล่าวแล้วในอรรถกถามรรคสัจจนิเทศแห่งสุตมยญาณกถา. แต่ใน ที่นี้ท่านประสงค์เอากิเลสที่ควรละได้ด้วยมรรคญาณเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาอภิสมยกถา