พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. วิเวกกถา ว่าด้วยศีลและวิเวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  40977
อ่าน  688

[เล่มที่ 69] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 780

ปัญญาวรรค

๔. วิเวกกถา

ว่าด้วยศีลและวิเวก หน้า 780

อรรถกถาวิเวกกถา หน้า 786

อรรถกถามัคคังคนิเทศ หน้า 788


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 69]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 780

ปัญญาวรรค วิเวกกถา

สาวัตถีนิทาน

ว่าด้วยศีลและวิเวก

[๗๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลังอย่างใด อย่างหนึ่ง การงานทั้งหมดนั้น บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงทำกันได้ การงานที่ต้องทำด้วยกำลังนี้ บุคคลย่อมทำได้ด้วยประการอย่างนี้ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๗๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อม เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้อย่างไร?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัย วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ ... ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน ความสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญ ทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พีชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พีชคาม และภูตคามทั้งหมดนั้น อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน ย่อมถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ พีชคามและภูตคามเหล่านี้ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ด้วยประการฉะนี้ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 781

อาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมถึง ความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย.

[๗๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมถึงความเจริงอกงามไพบูลย์ในธรรม ทั้งหลายอย่างไร?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัย วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ ... เจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ สัมมาทิฏฐิมี วิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาสมาธิ มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒.

[๗๐๔] สัมมาทิฏฐิมีวิเวก ๕ เป็นไฉน?

วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิ- วิเวก นิสสรณวิเวก วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ๑ วิเวก ในการละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิ- วิเวกในขณะผล ๑ นิสสรณวิเวกเป็นที่ดับ คือ นิพพาน ๑ สัมมาทิฏฐิมีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในวิเวก ๕ นี้.

[๗๐๕] สัมมาทิฏฐิมีวิราคะ ๕ เป็นไฉน?

วิราคะ ๕ คือ วิกขัมภนวิราคะ ตทังควิราคะ สมุจเฉทวิราคะ ปฏิปัสสัทธิวิราคะ นิสสรณวิราคะ วิราคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 782

ปฐมฌาน ๑ ... นิสสรณวิราคะเป็นที่ดับ คือ นิพพาน ๑ สัมมาทิฏฐิมีวิราคะ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในวิราคะ ๕ นี้.

[๗๐๖] สัมมาทิฏฐิมีนิโรธ ๕ เป็นไฉน?

นิโรธ ๕ คือ วิกขัมภนนิโรธ ตทังคนิโรธ สมุจเฉทนิโรธ ปฏิปัสสัทธินิโรธ นิสสรณนิโรธ นิโรธในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญ ปฐมฌาน ๑ ... นิสสรณนิโรธเป็นที่ดับ คือ นิพพาน ๑ สัมมาทิฏฐิมีนิโรธ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในนิโรธ ๕ นี้.

[๗๐๗] สัมมาทิฏฐิมีความสละ ๕ เป็นไฉน?

ความสละ ๕ คือ วิกขัมภนโวสัคคะ ตทังคโวสัคคะ สมุจเฉทโวสัคคะ ปฏิปัสสัทธิโวสัคคะ นิสสรณโวสัคคะ ความสละในการข่มนิวรณ์ของภิกษุ ผู้เจริญปฐมฌาน ๑ ... นิสสรณโวสัคคะ เป็นนิโรธ คือ นิพพาน ๑ สัมมาทิฏฐิ มีความสละ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิต ตั้งมั่นด้วยดีในความสละ ๕ นี้.

สัมมาทิฏฐิมีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้.

[๗๐๘] สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ

สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ เป็นไฉน?

วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิ- วิเวก นิสสรณวิเวก วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ๑ วิเวก

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 783

ในการละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิ- วิเวกในขณะผล ๑ นิสสรณวิเวกเป็นนิโรธ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในวิเวก ๕ นี้.

[๗๐๙] สัมมาสมาธิมีวิราคะ ๕ เป็นไฉน?

วิราคะ ๕ คือ วิกขัมภนวิราคะ ตทังควิราคะ สมุจเฉทวิราคะ ปฏิปัสสัทธิวิราคะ นิสสรณวิราคะ วิราคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญ ปฐมฌาน ๑ ... นิสสรณวิราคะเป็นนิโรธ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสมาธิมีวิราคะ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีใน วิราคะ ๕ นี้.

[๗๑๐] สัมมาสมาธิมีนิโรธ ๕ เป็นไฉน?

นิโรธ ๕ คือ วิกขัมภนนิโรธ ตทังคนิโรธ สมุจเฉทนิโรธ ปฏิ- ปัสสัทธินิโรธ นิสสรณนิโรธ นิโรธในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ๑ ... ปฏิปัสสัทธินิโรธในขณะผล ๑ นิสสรณนิโรธเป็นอมตธาตุ ๑ สัมมาสมาธิ มีนิโรธ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะน้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิต ตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในนิโรธ ๕ นี้.

[๗๑๑] สัมมาสมาธิมีความสละ ๕ เป็นไฉน?

ความสละ ๕ คือ วิกขัมภนโวสัคคะ ตทังคโวสัคคะ สมุจเฉทโวสัคคะ ปฏิปัสสัทธิโวสัคคะ นิสสรณโวสัคคะ ความสละในการข่มนิวรณ์ ของภิกษุ ผู้เจริญปฐมฌาน ๑ ความสละในการละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญ สมาธิอันมีส่วนทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทโวสัคคะ ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรค

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 784

อันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิโวสัคคะในขณะผล ๑ นิสสรณโวสัคคะ เป็นนิโรธ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสมาธิมีความสละ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิด ฉันทะน้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในความสละ ๕ นี้.

สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มี นิสัย ๑๒ เหล่านี้.

[๗๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลัง อย่างใด อย่างหนึ่ง การงานทั้งหมดนั้น บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงทำกันได้ การงานที่ต้องทำด้วยกำลังนี้ บุคคลย่อมทำได้ด้วยประการฉะนี้ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญ ทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ภิกษุเจริญ ทำให้มาก ซึ่งโพชฌงค์ ๗ อยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ภิกษุเจริญทำให้มากซึ่งพละ ๕ ฯลฯ ภิกษุเจริญทำให้มากซึ่งพละ ๕ อยู่ ย่อม ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ภิกษุเจริญทำให้มากซึ่ง อินทรีย์ ๕ ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พืชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พืชคาม และภูตคามทั้งหมดนั้น อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน ย่อมถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ พืชคามและภูตคามเหล่านั้นย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ด้วยประการฉะนี้ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล อาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้วเจริญ ทำให้มากอยู่ซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย.

[๗๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย อย่างไร?

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 785

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัย วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ เจริญวิริยินทรีย์ ฯลฯ เจริญสตินทรีย์ เจริญสมาธินทรีย์ เจริญปัญญินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ วิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒.

[๗๑๔] สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ เป็นไฉน?

วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิ วิเวก นิสสรณวิเวก วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ๑ วิเวกในการละทิฏฐิด้วยองค์นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลาย กิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวกในขณะผล ๑ นิสสรณวิเวกเป็นนิโรธ คือ นิพพาน ๑ สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฯลฯ สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ วิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ

ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ เป็นไฉน?

วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิ- วิเวก นิสสรณวิเวก ฯลฯ ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ ฉะนี้แล. จบวิเวกกถา

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 786

อรรถกถาวิเวกกถา

บัดนี้ จะพรรณนาตามความที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งวิเวกกถา อันมี พระสูตรเป็นเบื้องต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอาการละ ในลำดับ แห่งอภิสมยกถามีการละเป็นที่สุดตรัสไว้แล้ว.

พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้นก่อน บทว่า เย เกจิ อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นบทรวมยอดไม่มีเหลือ. บทว่า พลกรณียา ทำด้วยกำลัง คือพึงทำด้วย กำลังขาและแขน. บทว่า กมฺมนฺตา การงาน คือ การงานมีวิ่ง กระโดด ไถและหว่านเป็นต้น. บทว่า กยีรนฺติ ต้องทำ คือ อันผู้มีกำลังต้องทำ. บทว่า สีลํ นิสฺสาย อาศัยศีล คือทำจตุปาริสุทธิศีลให้เป็นที่อาศัย. บทว่า ภาเวติ ย่อมเจริญ ในที่นี้ท่านประสงค์เอามรรคภาวนา อันเป็นโลกิยะและโลกุตระ เพราะผู้มีศีลขาดแล้วไม่มีมรรคภาวนา.

บทว่า วิเวกนิสฺสิตํ อาศัยวิเวก คืออาศัยตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก นิสสรณวิเวก. บทว่า วิเวโก คือความสงัด. จริงอยู่ พระโยคาวจรประกอบ ด้วยอริยมรรคภาวนา ย่อมเจริญอริยมรรคภาวนา อาศัยตทังควิเวกโดยกิจ ในขณะแห่งวิปัสสนา อาศัยนิสสรณวิเวกโดยอัธยาศัย อาศัยสมุจเฉทวิเวกโดยกิจ ในขณะมรรค อาศัยนิสสรณวิเวกโดยอารมณ์ ในการอาศัยวิราคะเป็นต้น ก็มีนัยนี้. จริงอยู่ วิเวกนั่นแหละ ชื่อว่าวิราคะ ด้วยอรรถว่าคลายกำหนัด ชื่อว่า นิโรธ ด้วยอรรถว่าดับ ชื่อว่า โวสสัคคะ ด้วยอรรถว่าสละ.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวิเวก เพราะสงัดจากกิเลสทั้งหลาย ชื่อว่าวิราคะ เพราะคลายจากกิเลสทั้งหลาย ชื่อว่านิโรธ เพราะดับกิเลสทั้งหลาย ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 787

โวสสัคคะ เพราะสละกิเลสทั้งหลาย เพราะปล่อยจิตไปในนิพพาน. อนึ่ง โวสสัคคะมี ๒ อย่าง คือ ปริจจาคโวสสัคคะ (ปล่อยด้วยการสละ) และ ปักขันทนโวสสัคคะ. ปล่อยด้วยการแล่นไป. ในโวสสัคคะ ๒ อย่างนั้น การ ละกิเลสด้วยตทังคะในขณะแห่งวิปัสสนา ด้วยสมุจเฉทในขณะแห่งมรรค ชื่อว่า ปริจจาคโวสัคคะ. การแล่นไปสู่นิพพานด้วยความน้อมไปสู่นิพพานนั้นใน ขณะแห่งวิปัสสนา ด้วยการทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ในขณะแห่งมรรค ชื่อว่า ปักขันทนโวสสัคคะ. แม้ทั้งสองนั้นก็สมควรในนัยแห่งการพรรณนาความ อันเจือด้วยโลกิยะ โลกุตระนี้. เป็นความจริงอย่างนั้น ในสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ธรรมนี้อย่างหนึ่งๆ ย่อมสละกิเลสโดยประการตามที่กล่าวแล้ว และย่อมแล่น ไปสู่นิพพาน. บทว่า โวสฺสคฺคปริณามึ น้อมไปในความสละ ท่านอธิบายว่า น้อมไป โน้มไป อบรม บ่มให้แก่กล้า เพื่อความสละด้วยคำทั้งสิ้นนี้. ภิกษุผู้ ขวนขวายอริยมรรคภาวนานี้ย่อมเจริญอริยมรรคนั้นโดยประการที่ธรรมหนึ่งๆ ในสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ย่อมอบรมและบ่มให้แก่กล้าเพื่อปล่อยให้สละกิเลส และ เพื่อปล่อยให้แล่นไปสู่นิพพาน.

ในบทว่า พีชคามภูตคามา พืชคามและภูตคามนี้ มีอธิบายว่า พืช ๕ อย่าง คือ พืชจากราก ๑ พืชจากต้น ๑ พืชจากยอด ๑ พืชจากข้อ ๑ พืชจากพืช ๑ รวมพืชชื่อว่าพีชคาม ชื่อว่าภูตคามจำเดิมแต่ความปรากฏแห่ง หน่อเขียวสมบูรณ์แล้ว. อธิบายว่า รวมรากหน่อสีเขียวของภูตคามที่เกิดแล้ว อาจารย์บางคนกล่าวว่า เมื่อเทวดาหวงแหน ย่อมเป็นตั้งแต่เวลามีหน่อสีเขียว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าภูตคาม เพราะเป็นบ้านของภูตคือเทวดาเหล่านั้น. บทว่า วุฑฺฒึ ความเจริญ คือเจริญด้วยหน่อเป็นต้น. บทว่า วิรุฬฺหึ งอกงาม คือ งอกงามด้วยลำต้นเป็นต้น. บทว่า เวปุลฺลํ ไพบูลย์ คือไพบูลย์ด้วยดอกเป็นต้น

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 788

อนึ่ง ในทางธรรม บทว่า วุฑฺฒึ คือเจริญด้วยความประพฤติธรรมที่ยังไม่ เคยประพฤติ. บทว่า วิรุฬฺหึ คืองอกงามด้วยการทำกิจให้สำเร็จ. บทว่า เวปุลฺลํ คือความไพบูลย์ด้วยสำเร็จกิจแล้ว. ปาฐะว่า วิปุลฺลตฺตํ คือความ เป็นผู้ไพบูลย์บ้าง.

อีกอย่างหนึ่ง บท ๓ เหล่านั้นประกอบด้วยศีล สมาธิ ปัญญา.

อรรถกถามัคคังคนิเทศ

พึงทราบวินิจฉัยในสุตตันตนิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า สมฺมาทิฏฺิยา เป็นฉัฏฐีวิภัตติ แห่งสัมมาทิฏฐิอันเป็นไปอยู่ จากการประกอบตามสมควร และจากอารมณ์ ในฌาน วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน และในจิต อันสัมปยุตด้วยโลกิยวิรัติ คือแห่งสัมมาทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน โดยเป็นสามัญลักษณะ. บทว่า วิกฺขมฺภนวิเวโก วิกขัมภนวิเวก คือความสงัดด้วยการ ข่มไว้ ด้วยการทำให้ไกล แห่งอะไร แห่งนิวรณ์ทั้งหลาย. บทมีอาทิว่า ปมชฺฌานํ ภาวยโต เจริญปฐมฌาน ท่านกล่าวถึงปฐมฌานด้วยการข่มไว้ เมื่อท่านกล่าวถึงปฐมฌานนั้น ก็เป็นอันกล่าวถึงแม้ฌานที่เหลือด้วยเหมือนกัน. ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิวิเวก เพราะมีสัมมาทิฏฐิแม้ในฌานทั้งหลาย.

บทว่า ตทงฺควิเวโก คือความสงัดด้วยวิปัสสนาญาณนั้นๆ. บทว่า ทิฏฺิคตานํ ทิฏฐิทั้งหลาย ท่านกล่าวว่า ทิฏฐิวิเวก เพราะทิฏฐิวิเวกทำได้ยาก และเพราะเป็นประธาน เมื่อท่านกล่าวถึงทิฏฐิวิเวกก็เป็นอันกล่าวแม้วิเวกมี นิจจสัญญาเป็นต้น. บทว่า นิพฺเพธภาคิยํ สมาธึ สมาธิอันเป็นส่วนแห่ง

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 789

การทำลายกิเลส คือ สมาธิสัมปยุตด้วยวิปัสสนา. บทว่า สมุจฺเฉทวิเวโก สมุจเฉทวิเวก คือ ความสงัดด้วยการตัดขาดกิเลสทั้งหลาย. บทว่า โลกุตฺตรํ ขยคามึ มคฺคํ โลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป คือโลกุตรมรรคอันให้ ถึงนิพพาน กล่าวคือความสิ้นไป. บทว่า ปฏิปฺปสฺสทฺธิวิเวโก ปฏิปัสสัทธิ- วิเวก คือ ความสงัดในการสงบกิเลสทั้งหลาย. บทว่า นิสฺสรณวิเวโก นิสสรณวิเวก คือความสงัดสังขารอันเป็นการนำสังขตธรรมทั้งหมดออกไป. บทว่า ฉนฺทชาโต โหติ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ คือเป็นผู้เกิดความพอใจ ในธรรมในส่วนเบื้องต้น. บทว่า สทฺธาธิมุตฺโต คือเป็นผู้น้อมไปด้วยศรัทธา ในส่วนเบื้องต้น. บทว่า จิตฺตํ จสฺส สฺวาธิฏฺิตํ มีจิตตั้งมั่นด้วยดี คือจิต ของพระโยคาวจรนั้นตั้งมั่นด้วยดี คือมั่นคงด้วยดีในส่วนเบื้องต้น. ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ คือ ฉันทะ ๑ สัทธา ๑ จิต ๑ ชื่อว่าเป็นที่อาศัย เพราะ เป็นที่เข้าไปอาศัยแห่งวิเวกอันเกิดขึ้นแล้วในส่วนเบื้องต้น. แต่อาจารย์บางพวก กล่าวว่า ท่านกล่าวสมาธิว่า มีจิตตั้งมั่นด้วยดี แม้ในวิราคะเป็นต้นก็มีนัยนี้ เหมือนกัน.

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในนิโรธวารดังต่อไปนี้. ท่านแสดงคำปริยาย อื่นจากนิโรธศัพท์ แล้วกล่าวว่า อมตา ธาตุ อมตธาตุ. พึงทราบในบทที่ เหลือต่อไป บทว่า นิโรโธ นิพฺพานํ เป็นนิโรธ คือนิพพาน แม้ในบท ทั้งสองก็เป็นนิพพานเหมือนกัน. บทว่า ทฺวาทส นิสฺสยา มีนิสัย ๑๒ คือ ทำฉันทะ สัทธา จิต อย่างละ ๓ ให้อย่างหนึ่งๆ เป็น ๔ อย่าง มีวิเวกเป็นต้น รวมเป็นนิสัย ๑๒. แม้สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ก็พึงทราบการประกอบความโดยนัยนี้เหมือนกัน. อนึ่ง พึงทราบว่าท่านกล่าว ถึงวิรัติอันเป็นไปอยู่ ด้วยสามารถส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย แห่งฌาน

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 790

และวิปัสสนา เพราะไม่มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ใน ขณะแห่งฌาน ในขณะแห่งวิปัสสนาทำฌานและวิปัสสนาให้อาศัยกัน. อนึ่ง พึงทราบว่า วิเวก วิราคะ นิโรธ และปฏินิสสัคคะ แห่งนิวรณ์และทิฏฐิ ชื่อว่า วิเวกเป็นต้นแห่งวิรัติทั้งหลายอันเป็นอยู่อย่างนั้น. เหมือนที่ท่านกล่าว ไว้ในอัฏฐกนิบาตว่า ดูก่อนภิกษุ แต่นั้นท่านพึงเจริญสมาธินี้ พร้อมด้วยวิตก พร้อมด้วยวิจาร พึงเจริญแม้เพียงวิจารไม่มีวิตก พึงเจริญแม้ไม่มีทั้งวิตก ไม่มีทั้งวิจาร พึงเจริญพร้อมด้วยปีติ พึงเจริญแม้ไม่มีปีติ พึงเจริญแม้สหรคต ด้วยความพอใจ พึงเจริญแม้สหรคตด้วยอุเบกขา. ท่านกล่าวเมตตาเป็นต้น และกายานุปัสสนาเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งสมาธิอันเป็นมูลภายในของตนดุจ กล่าวถึงจตุกฌานและปัญจกฌาน แม้ในบทนี้ก็พึงทราบว่าท่านกล่าวถึงวิรัติ ด้วยอำนาจส่วนเบื้องต้น และส่วนเบื้องปลายอย่างนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง ถือเอาเพียงพยัญชนฉายา (เงาแห่งพยัญชนะ) จึงไม่ควรกล่าวตู่. เพราะ พระพุทธพจน์ลึกซึ้งมาก พึงเข้าไปหาอาจารย์แล้วเรียนเอาโดยความประสงค์.

แม้ในโพชฌงควาระ พลวาระและอินทริยวาระ ก็พึงทราบความโดย นัยนี้แล.

จบอรรถกถาวิเวกกถา