พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ปาฏิหาริยกถา ว่าด้วยปฏิหาริย์ ๓

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  40979
อ่าน  395

[เล่มที่ 69] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 793

ปัญญาวรรค

๖. ปาฏิหาริยกถา

ว่าด้วยปาฏิหาริย์ ๓ หน้า 793

อรรถกถาปาฏิหาริยกถา หน้า 797


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 69]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 793

ปัญญาวรรค ปาฏิหาริยกถา

ว่าด้วยปาฏิหาริย์ ๓

[๗๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาฏิหาริย์ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ อิทธิปาฏิหาริย์ ๑ อาเทศนาปาฏิหาริย์ ๑ อนุศาสนีปาฏิหาริย์ ๑.

[๗๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อิทธิปาฏิหาริย์เป็นไฉน?ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์.

[๗๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาเทศนาปาฏิหาริย์เป็นไฉน?

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 794

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมทายใจได้ตาม เหตุที่กำหนดว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นประการนี้ จิตของท่าน เป็นดังนี้ ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจเป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่ ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย แต่เมื่อได้ฟังเสียงของมนุษย์ก็ดี ของอมนุษย์ก็ดี หรือของเทวดาก็ดี ก็ทายใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็น ประการนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจเป็นอันมาก การทายใจ นั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ ไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย และหาได้ฟังเสียงของมนุษย์ ของอมนุษย์ หรือของเทวดาแล้วทายใจไม่ แต่เมื่อได้ฟังเสียงตรึกตรองของผู้ กำลังตรึกตรองอยู่ ก็ทายใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็น ประการนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจเป็นอันมาก การทายใจ นั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุบางรูป ในธรรมวินัยนี้ ไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย หาได้ฟังเสียงของมนุษย์ ของอมนุษย์ หรือของเทวดาแล้วทายใจไม่ และหาได้ฟังเสียงตรึกตรองของผู้ กำลังตรึกตรองแล้วทายใจไม่ แต่เมื่อกำหนดใจของผู้เข้าสมาธิอันไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ด้วยใจของตนแล้วก็รู้ได้ว่า ท่านผู้นี้ตั้งมโนสังขารไว้อย่างใด ก็จัก ตรึกถึงวิตกชื่อโน้นในระหว่างจิตนี้อย่างนั้น ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจเป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อาเทศนาปาฏิหาริย์.

[๗๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อนุศาสนีปาฏิหาริย์เป็นไฉน?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพร่ำสอน อย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึกอย่างนั้น จงมนสิการอย่างนี้ อย่ามนสิการ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 795

อย่างนั้น จงละธรรมนี้ จงเข้าถึงธรรมนี้อยู่เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาฏิหาริย์ ๓ ประการนี้แล.

[๗๒๒] เนกขัมมะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ เนกขัมมะ ย่อมกำจัดกามฉันทะได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วย เนกขัมมะนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น เนกขัมมะจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ และเนกขัมมะนั้น ท่าน ทั้งหลายพึงเสพอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติอันเป็น ธรรมสมควรแก่เนกขัมมะนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เนกขัมมะจึงเป็น อนุศาสนีปาฏิหาริย์.

ความไม่พยาบาทย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ความไม่พยาบาท ย่อมกำจัดพยาบาทได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วย ความไม่พยาบาทนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริ ไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น ความไม่พยาบาทจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ และความ ไม่พยาบาทนั้น ท่านทั้งหลายพึงเสพอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มาก อย่างนี้ พึงตั้งสติอันเป็นธรรมสมควรแก่ความไม่พยาบาทนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ความไม่พยาบาทจึงเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์.

อาโลกสัญญาย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ อาโลกสัญญาย่อม กำจัดถีนมิทธะได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วย อาโลกสัญญานั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น อาโลกสัญญาจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ และอาโลกสัญญานั้น ท่านทั้งหลายพึงเสพอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติ อันเป็นธรรมสมควรแก่อาโลกสัญญานั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อาโลกสัญญาจึงเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 796

ความไม่ฟุ้งซ่านย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมกำจัดอุทธัจจะได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วย ความไม่ฟุ้งซ่านนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น ความไม่ฟุ้งซ่าน จึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ และความ ไม่ฟุ้งซ่านนั้น ท่านทั้งหลาย พึงเสพอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มาก อย่างนี้ พึงตั้งสติอันเป็นธรรมสมควรแก่ความไม่ฟุ้งซ่านนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ความไม่ฟุ้งซ่านจึงเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์ ฯลฯ.

อรหัตตมรรคย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ อรหัตตมรรคย่อม กำจัดกิเลสได้หมด เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วย อรหัตตมรรคนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น อรหัตตมรรคจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ และอรหัตตมรรคนั้น ท่านทั้งหลายพึงเสพอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติ อันเป็นธรรมสมควรแก่อรหัตตมรรคนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อรหัตตมรรคจึงเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์.

เนกขัมมะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิย่อมกำจัดกามฉันทะได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์นี้ ท่านเรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์ ความไม่พยาบาทย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ย่อมกำจัดพยาบาทได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์นี้ ท่านเรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์ อาโสกสัญญาย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ย่อมกำจัดถีนมิทธะได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ อรหัตตมรรคย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ย่อมกำจัดกิเลสได้หมด เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและ ปาฏิหาริย์นี้ ท่านเรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์ ฉะนี้แล. จบปาฏิหาริยกถา

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 797

อรรถกถาปาฏิหาริยกถา

บัดนี้ จะพรรณนาตามความที่ยังไม่เคยพิจารณา แห่งปาฏิหาริยกถาอันมี พระสูตรเป็นเบื้องต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปาฏิหาริย์มีการพร่ำสอน ประโยชน์แก่โลกเป็นที่สุด ในลำดับแห่งจริยากถาอันมีความประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลกเป็นที่สุดครบแล้ว.

ในพระสูตรนั้นพึงทราบความดังต่อไปนี้ก่อน บทว่า ปาฏิหาริยานิ คือปาฏิหาริย์ด้วยการนำสิ่งเป็นข้าศึกออกไปคือนำกิเลสออกไป. บทว่าอิทฺธิปาฏิหาริยํ อิทธิปาฏิหาริย์ชื่อว่า อิทธิ ด้วยความสำเร็จ ชื่อว่าปาฏิหาริยะ ด้วย การนำออกไป อิทธินั่นแหละเป็นปาฏิหาริยะจึงชื่อว่าอิทธิปาฏิหาริย์ ส่วนใน ปาฏิหาริย์นอกนี้ชื่อว่า อาเทศนา ด้วยการดักใจ ชื่อว่า อนุศาสนี ด้วย การพร่ำสอน บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า อิธ คือในโลกนี้. บทว่า เอกจฺโจ คือบุรุษคนหนึ่ง อิทธิปาฏิหาริยนิเทศมีอรรถดังกล่าวไว้แล้ว ในหนหลัง. บทว่า นิมิตฺเตน อาทิสติ ย่อมทายใจตามนิมิตคือย่อมกล่าว ด้วยนิมิตที่มาแล้วด้วยนิมิตที่ไปแล้วหรือด้วยนิมิตแห่งจิต.

บทว่า เอวมฺปิ เต มโน ใจของท่านเป็นอย่างนี้ คือใจของท่านเป็น อย่างนี้มีโสมนัส มีโทมนัสหรือสัมปยุตด้วยกามวิตกเป็นต้น อปิศัพท์ เป็น สัมบิณฑนัตถะ (มีความรวมกัน). บทว่า อิตฺถมฺปิ เต มโน ใจของท่าน เป็นประการนี้ คือ แสดงประการต่างๆ ในจิตแม้อย่างหนึ่งๆ จากจิตมีโสมนัส เป็นต้น. บทว่า อิติปิ เต จิตฺตํ จิตของท่านเป็นดังนี้ คือ จิตของท่านแม้ เป็นดังนี้ ความว่า จิตคิดถึงประโยชน์ๆ เป็นไป. บทว่า พหุญฺเจปิ อาทิสติ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 798

แม้ภิกษุนั้นทายใจเป็นอันมาก คือ กล่าวแม้มากว่าจิตนี้ จิตนี้อื่นจากจิตได้มีแล้ว ย่อมมี จักมี. บทว่า ตเถว ตํ โหติ โน อญฺถา การทายใจนั้นก็เป็นอย่าง นั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือการทายใจก็เป็นเหมือนที่กล่าวทั้งหมด ไม่เป็นอย่างอื่น บทว่า น เหว โข นิมิตฺเตน อาทิสติ ภิกษุไม่ทายใจตามนิมิตเลยคือแม้รู้ นิมิตอยู่ก็ไม่กล่าวตามนิมิตอย่างเดียว. บทว่า อปิจ เป็นบทแสดงปริยายอื่น อีก. บทว่า มนุสฺสานํ คือแห่งมนุษย์ผู้ยังจิตให้เกิด. บทว่า อมนุสฺสานํ คือยักษ์ปีศาจเป็นต้นที่ได้ฟังแล้วหรือยังไม่ได้ฟัง. บทว่า เทวตานํ คือเทวดา ชั้นจาตุมมหาราชิกาเป็นต้น. บทว่า สทฺทํ สุตฺวา ฟังเสียงแล้วคือฟังเสียง ของผู้รู้จิตของคนอื่นแล้วกล่าว. บทว่า ปน เป็นนิบาต ลงในความริเริ่มอีก. บทว่า วิตกฺกยโต ของผู้วิตกคือของผู้ตรึกด้วยวิตกตามธรรมดา. บทว่า วิจารยโต ของผู้ครองด้วยวิจารสัมปยุตด้วยวิตกนั่นเอง. บทว่า วิตกฺกวิจารสทฺทํ สุตฺวา ฟังเสียงวิตกวิจารคือฟังเสียงละเมอของคนหลับคน ประมาทบ่นพึมพำอันเกิดขึ้นด้วยกำลังของวิตก ย่อมทายมีอาทิว่าใจของท่าน เป็นดังนี้ด้วยอำนาจแห่งเสียงที่เกิดขึ้นแก่ผู้วิตก.

บทว่า อวิตกฺกํ อวิจารํ สมาธึ สมาธิอันไม่มีวิตกไม่มีวิจารท่าน กล่าวแสดงความสามารถในการรู้จิตอันสงบปราศจากวิตกวิจารและความกำเริบ แต่ไม่ต้องกล่าวในความรู้จิตที่เหลือ. บทว่า เจตสา เจโต ปริจฺจ ปชานาติ กำหนดใจด้วยใจย่อมรู้ เป็นการได้เจโตปริยญาณ. บทว่า โภโต คือผู้เจริญ. บทว่า มโนสงฺขารา ปณิหิตา ตั้งมโนสังขารไว้ คือ ตั้งจิตสังขารไว้. บทว่า อมุนฺนาม วิตกฺกํ วิตกฺเกสฺสติ จักตรึกถึงวิตกชื่อโน้น คือย่อม รู้ว่าจักตรึกจักประพฤติวิตกมีกุศลวิตกเป็นต้น อนึ่ง เมื่อรู้ย่อมรู้ด้วยการเข้าถึง ย่อมรู้โดยส่วนเบื้องต้น ตรวจดูจิตในภายในสมาบัติแล้วรู้ ย่อมรู้ว่าภิกษุนั้นเริ่ม กสิณภาวนายังปฐมฌานทุติยฌานเป็นต้นหรือยังสมาบัติ ๘ ให้เกิดด้วยอาการใด

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 799

การบริกรรมกสิณนั้นแหละชื่อว่าย่อมรู้ด้วยการเข้าถึง เมื่อเริ่มปฐมวิปัสสนาย่อมรู้ ย่อมรู้ว่าภิกษุนั้นเริ่มวิปัสสนา ยังโสดาปัตติมรรคให้เกิด ฯลฯ หรือยังอรหัตตมรรคให้เกิดด้วยอาการใด ชื่อว่าย่อมรู้โดยส่วนเบื้องต้น ย่อมรู้ว่ามโนสังขาร ตั้งอยู่แก่จิตนี้ ภิกษุจักตรึกถึงจิตชื่อนี้ในลำดับแห่งจิตชื่อนี้ หรือเมื่อภิกษุ ออกจากจิตนี้ สมาธิอันเป็นส่วนแห่งความเสื่อมจักมีจักให้สมาธิอันเป็นส่วนแห่ง ความตั้งอยู่ อันเป็นส่วนแห่งความวิเศษอันเป็นส่วนแห่งความทำลาย หรือ อภิญญาด้วยอาการใดชื่อว่าตรวจดูจิตในภายในสมาบัติแล้วรู้. บทว่า พหุญฺเจปิ อาทิสติ ถึงแม้ภิกษุนั้นทายใจไว้เป็นอันมาก คือถึงแม้กล่าวไว้เป็นอันมาก ด้วย ประเภท ๑๖ มี สราคะเป็นต้นเพราะทำเจโตปริยญาณให้เป็นอารมณ์แห่ง จิตและเจตสิก พึงทราบว่ามิใช่ด้วยสามารถอย่างอื่น. บทว่า ตเถว ตํ โหติ การทายใจนั้นก็เป็นอย่างนั้น คือการรู้โดยเจโตปริยญาณก็เป็นอย่างนั้นโดย ส่วนเดียวไม่มีโดยประการอื่น. บทว่า เอวํ วิตกฺเกถ จงตรึกอย่างนี้คือจงตรึก ยังเนกขัมมวิตกเป็นต้นให้เป็นไปอย่างนี้. บทว่า มา เอวํ วิตกฺกยิตฺถ จง อย่าตรึกอย่างนี้ คือจงอย่าตรึกให้กามวิตกเป็นต้นเป็นไปอย่างนี้. บทว่า เอวํ มนสิ กโรถ จงทำไว้ในใจอย่างนี้คือจงทำไว้ในใจซึ่งอนิจจสัญญาหรือในทุกขสัญญาเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า มาเอวํ มนสากริตฺถ จงอย่าทำในใจ อย่างนี้คือจงอย่าทำในใจโดยนัยมีอาทิว่าเที่ยงเป็นต้นอย่างนี้. บทว่าอิทํ ปชหถ จงละธรรมนี้คือจงละกามคุณ ๕ และราคะเป็นต้นนี้. บทว่า อิทํ อุปสมฺปชฺช วิหรถ จงเข้าถึงธรรมนี้อยู่เถิด คือ จงบรรลุให้สำเร็จโลกุตรธรรมอันมี ประเภทเป็นมรรค ๔ ผล ๔ นี้อยู่เถิด.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะแสดงปริยายอื่นในอิทธิปาฏิหาริย์โดย วิเศษจึงกล่าวคำมีอาทิว่า เนกฺขมฺมํ อิชฺฌตีติ อิทฺธิ ชื่อว่าอิทธิเพราะเนก-

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 800

ขัมมะย่อมสำเร็จในบทเหล่านั้น. บทว่า กามฉนฺทํ ปฏิหรติ เนกขัมมะย่อม กำจัดกามฉันทะได้ คือเนกขัมมะเป็นกำลังเฉพาะย่อมนำออกคือละกามฉันทะอัน เป็นปฏิปักษ์ของตน เพราะเหตุนั้น เนกขัมมะนั่นแหละ จึงชื่อว่าปาฏิหาริยะ. บท ว่า เย เตน เนกฺขมฺเมน สมนฺนาคตา ชนเหล่าใดประกอบด้วยเนกขัมมะนั้น คือ บุคคลเหล่าใดประกอบด้วยเนกขัมมะนั้นนำกามฉันทะออกไปอย่างนี้ด้วย การได้เฉพาะ. บทว่า วิสุทฺธจิตฺตา คือมีจิตบริสุทธิ์เพราะไม่มีกามฉันทะ. บทว่า อนาวิลสงฺกปฺปา มีความดำริไม่ขุ่นมัว คือมีความดำริในเนกขัมมะไม่ ขุ่นมัวด้วยการดำริถึงกาม. บทว่า อิติ อาเทสนาปาฏิหาริยํ เพราะเหตุนั้น เนกขัมมะจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ คือ เนกขัมมะเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์อย่าง นี้ด้วยจิตเป็นอื่นเป็นกุศล ด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอื่นหรือด้วยพระพุทธสาวก ทั้งหลาย.

อีกอย่างหนึ่ง พึงประกอบทำอาเทสนศัพท์ให้เป็นปาฐะที่เหลือ เพราะเหตุนั้น การทายใจอย่างนี้ชื่อว่าอาเทศนาปาฏิหาริยะ. บทว่า เอวํ อาเสวิตพฺพํ พึงเสพอย่างนี้ คือพึงเสพด้วยประการนี้แต่ต้นใน ๓ บทที่เหลือก็มีนัยนี้ เหมือนกัน. บทว่า ตทนุธมฺมตา สติ อุปฏฺาเปตพฺพา พึงตั้งสติเป็นธรรมดา ตามสมควรคือพึงตั้งสติอันช่วยเนกขัมมะนั้นให้ยิ่งยวดใน บทว่า อิติ อนุสาสนีปฏิหาริยํ เพราะเหตุนั้น เนกขัมมะจึงเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริยะนี้พึงทำการ ประกอบดุจด้วยการประกอบอาเทศนาปาฏิหาริยะ แม้ในพยาบาทเป็นต้นก็มี นัยนี้เหมือนกัน แต่ปาฐะท่านย่อฌานเป็นต้นแล้วเขียนแสดงอรหัตตมรรคไว้ใน ที่สุด พึงทราบว่าท่านกล่าวบทมีอาทิว่า เอวํ อาเสวิตพฺโพ พึงเสพอย่างนี้ ด้วยเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งมรรคเพราะเป็นไปในขณะจิตดวงเดียว จริงอยู่พึง ทราบว่า เมื่อยังมรรคให้เกิดด้วยวิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินีกล่าวคือโลกิยะ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 801

มรรคอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งมรรค เมื่อทำอาเสวนะเป็นต้นแล้วแม้มรรคเกิดขึ้นด้วยวิปัสสนานั้นก็เป็นอันชื่อว่าเสพแล้ว เจริญแล้วทำให้มากแล้ว. ฝ่ายอาจารย์ผู้เป็นสัพพัตถิกวาท (มีวาทะทุกอย่างมีประโยชน์) กล่าวว่ามรรคหนึ่งๆ มี ๑๖ ขณะ แต่การตั้งสติเป็นธรรมดาตามสมควรแก่มรรคนั้น ย่อมพยายามในส่วนเบื้องต้นเท่านั้น. เพื่อแสดงความที่ บทว่า อิทฺธิปาฏิหาริยํ เป็นกัมมธารย-สมาสท่านจึงกล่าวบทมีอาทิว่า เนกฺขมฺมํ อิชฺฌตีติ อิทฺธิ อีกครั้ง เมื่อท่านกล่าวความที่อิทธิปาฏิหาริยะเป็นสมาสใน ๓ ปาฏิหาริย์ ดังกล่าวแล้วในพระสูตรก็เป็นอันกล่าวถึงแม้ปาฏิหาริยะสองที่เหลือด้วย เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่าท่านกล่าวอรรถแห่งสมาสของอิทธิปาฏิหาริย์อันเป็นบทต้นในปริยายนี้แล.

จบอรรถกถาปาฏิหาริยกถา