พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. สมสีสกถา ว่าด้วยธรมสงบและธรรมส่วนสําคัญ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  40980
อ่าน  353

[เล่มที่ 69] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 801

ปัญญาวรรค

๗. สมสีสกถา

ว่าด้วยธรมสงบและธรรมส่วนสําคัญ หน้า 801

อรรถกถาสมสีสกถา หน้า 803


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 69]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 801

ปัญญาวรรค สมสีสกถา

ว่าด้วยธรมสงบและธรรมส่วนสำคัญ

[๗๒๓] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในสัมมาสมุจ- เฉทและในนิโรธ เป็นญาณในความว่าสมธรรมและสีสธรรม

คำว่า ธรรมทั้งปวง คือขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม โลกุตรธรรม.

คำว่า สัมมาสมุจเฉท ความว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องตัดกามฉันทะ ได้ขาดดี อัพยาบาทเป็นเครื่องตัดพยาบาทได้ขาดดี อาโลกสัญญาเป็นเครื่อง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 802

ตัดถีนมิทธะได้ขาดดี อวิกเขปะเป็นเครื่องตัดอุทธัจจะได้ขาดดี ธรรมววัตถาน เป็นเครื่องตัดวิจิกิจฉาได้ขาดดี ญาณเป็นเครื่องตัดอวิชชาได้ขาดดี ความ ปราโมทย์เป็นเครื่องตัดอรติได้ขาดดี ปฐมฌานเป็นเครื่องตัดนิวรณ์ได้ขาดดี ฯลฯ อรหัตตมรรคเป็นเครื่องตัดกิเลสทั้งปวงได้ขาดดี.

[๗๒๔] คำว่า นิโรธ ความว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องดับกามฉันทะ อัพยาบาทเป็นเครื่องดับพยาบาท ... ความปราโมทย์เป็นเครื่องดับอรติ ปฐมฌานเป็นเครื่องดับนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตตมรรคเป็นเครื่องดับกิเลสทั้งปวง.

คำว่า ความไม่ปรากฏ ความว่า เมื่อพระโยคาวจรได้เนกขัมมะ กามฉันทะย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อัพยาบาท พยาบาทย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ อาโลกสัญญา ถีนมิทธะย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อวิกเขปะ อุทธัจจะย่อมไม่ ปรากฏ เมื่อได้ธรรมววัตถาน วิจิกิจฉาย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ฌาน อวิชชา ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ความปราโมทย์ อรติย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ปฐมฌาณ นิวรณ์ย่อมไม่ปรากฏ ฯลฯ เมื่อได้อรหัตตมรรค กิเลสทั้งปวงย่อมไม่ปรากฏ.

[๗๒๕] คำว่า สมธรรม (ธรรมสงบ) ความว่าเพราะท่านละกามฉันทะได้แล้ว เนกขัมมะจึงเป็นสมณธรรม เพราะท่านละพยาบาทได้แล้ว อัพยาบาทจึงเป็นสมธรรม เพื่อท่านละถีนมิทธะได้แล้ว อาโลกสัญญาจึงเป็น สมธรรม เพราะท่านละอุทธัจจะได้แล้ว อวิกเขปะจึงเป็นสมธรรม เพราะท่าน ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ธรรมววัตถานจึงเป็นสมธรรม เพราะท่านละอวิชชาได้แล้ว ฌานจึงเป็นสมธรรม เพราะท่านละอรติได้แล้ว ความปราโมทย์จึงเป็นสมธรรม เพราะท่านละนิวรณ์ได้แล้ว ปฐมฌานจึงเป็นสมธรรม ฯลฯ เพราะท่านละ กิเลสทั้งปวงได้แล้ว อรหัตตมรรคจึงเป็นสมธรรม.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 803

สีสธรรม ในคำว่า สีสํ มี ๑๓ คือ ตัณหามีความกังวลเป็นประธาณ ๑ มานะมีความพัวพันเป็นประธาน ๑ ทิฏฐิมีความถือผิดเป็นประธาน ๑ อุทธัจจะมีความฟุ้งซ่านเป็นประธาน ๑ อวิชชามีกิเลสเป็นประธาน ๑ ศรัทธา มีความน้อมใจเชื่อเป็นประธาน ๑ วิริยะมีความประคองไว้เป็นประธาน ๑ สติ มีความตั้งมั่นเป็นประธาน ๑ สมาธิมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นประธาน ๑ ปัญญามี ความเห็นเป็นประธาน ๑ ชีวิตินทรีย์มีความเป็นไปเป็นประธาน ๑ วิโมกข์ โคจรเป็นประธาน ๑ นิโรธมีสังขารเป็นประธาน ๑.

จบสมสีสกถา

อรรถกถาสมสีสกถา

บัดนี้ เพื่อแสดงความที่สมสีสะ (ดับกิเลสพร้อมกับชีวิต) สงเคราะห์เข้าในอิทธิปาฏิหาริย์อันเป็นปาฏิหาริย์เบื้องต้น ในลำดับแห่ง ปาฏิหาริยกถา ว่าเป็นอิทธิปาฏิหาริย์ พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวสมสีสกถา (สมธรรม ความสงบ สีสธรรม ธรรมส่วนสำคัญ) ไว้แม้ท่านชี้แจงไว้แล้ว ในญาณกถา ด้วยสัมพันธ์กับอิทธิปาฏิหาริย์อีก. การพรรณนาความสมสีสกถา นั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในญาณกถานั่นแล ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาสมสีสกถา