พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. สติปัฏฐานกถา ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  40981
อ่าน  358

[เล่มที่ 69] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 804

ปัญญาวรรค

๘. สติปัฏฐานกถา

ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔ หน้า 804

อรรถกถาสติปัฏฐาน หน้า 809


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 69]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 804

ปัญญาวรรค สติปัฏฐานกถา

สาวัตถีนิทานบริบูรณ์

ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔

[๗๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ ๔ ประการ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกอยู่ เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ เป็นผู้พิจารณา เห็นจิตในจิต ฯลฯ เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้แล.

[๗๒๗] ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไร?

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกองธาตุดินโดยความ เป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดย ความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็น อนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณา เห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็น อนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลาย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 805

กำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้ เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืนย่อม ละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายโดยอาการ ๗ นี้ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสติและ ญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา.

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนา ด้วยความว่าธรรม ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยความว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็น อันเดียวกัน ๑ ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไปซึ่งความเพียร อันสมควรแก่ ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์มีกิจเป็นอันเดียวกันนั้น ๑ ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ ๑ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกอง อาโปธาตุ กองเตโชธาตุ กองวาโยธาตุ กองผม กองขน กองผิว กองหนัง กองเนื้อ กองเอ็น กองกระดูก กองเยื่อในกระดูก โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่ พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณา เห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็น ของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อม ละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้ เมื่อดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณา เห็นกายด้วยอาการ ๗ นี้ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง เรียกการพิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 806

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็น ธรรมที่เสพ ฯลฯ ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างนี้.

[๗๒๘] ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างไร?

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นสุขเวทนาโดยความเป็น ของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ ๗ นี้ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อม พิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียก การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา.

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็น ธรรมที่เสพ ฯลฯ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนา จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เมื่อ สละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ ๗ นี้ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณา เห็นเวทนานั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา.

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็น ธรรมที่เสพ ฯลฯ ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างนี้.

[๗๒๙] ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไร? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตมีราคะ โดยความ เป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 807

ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตด้วยอาการ ๗ นี้ จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณา เห็นจิตนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณา เห็นจิตในจิตว่า สติปัฏฐานภาวนา.

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความเป็นธรรมที่ เสพ ฯลฯ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตมีราคะ จิตปราศจาก ราคะ จิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตไม่มีจิต อื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่น จิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้น จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อ สละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตด้วยอาการ ๗ นี้ จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น จิตนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นจิต ในจิตว่า สติปัฏฐานภาวนา.

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่าเป็นธรรม ที่เสพ ฯลฯ ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างนี้.

[๗๓๐] ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่อย่างไร?

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เว้นกาย เวทนา จิตเสียแล้ว ย่อมพิจารณา เห็นธรรมทั้งหลายที่เหลือจากนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็น

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 808

โดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดย ความเป็นสุข ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความ เป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้ เมื่อดับ ย่อมละสมุทัย เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม ทั้งหลายด้วยอาการ ๗ นี้ ธรรมทั้งหลายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสติและญาณนั้นเพราะ เหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายว่า สติ- ปัฏฐานภาวนา.

ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนาด้วยความว่าธรรม ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยความว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจ เป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไป ซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน นั้น ๑ ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ ๑ ฯลฯ ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลายอยู่อย่างนี้ ฉะนี้แล.

จบสติปัฏฐานกถา

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 809

อรรถกถาสติปัฏฐานกถา

บัดนี้ จะพรรณนาตามความที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งสติปัฏฐานกถา อันมีพระสูตรเป็นเบื้องต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุปัสสนาวิเศษ ๗ อย่าง ยกอิทธิปาฏิหาริย์ที่พระองค์ตรัสแล้วในลำดับแห่งสมสีสกถาเป็นตัวอย่าง ตรัสแล้ว.

พึงทราบความในพระสูตรนั้นก่อน บทว่า จตฺตาโร สติปัฏฐาน ๔ เป็นการกำหนดจำนวน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการกำหนดสติปัฏฐาน ไว้ว่า ไม่ต่ำกว่านั้น ไม่สูงกว่านั้น. บทว่า อิเม นี้เป็นบทชี้ให้เห็นสิ่งที่ ควรชี้ให้เห็น. บทว่า ภิกฺขเว เป็นคำร้องเรียกบุคคลผู้รับธรรม. บทว่า สติปฏฺานา คือสติปัฏฐาน ๓ อย่าง ได้แก่ สติเป็นโคจร ๑ ความที่ พระศาสดาผู้ประพฤติล่วงความยินดียินร้าย ในสาวกทั้งหลายผู้ปฏิบัติ ๓ อย่าง ๑ และสติ ๑.

สติโคจรท่านกล่าวว่า สติปัฏฐาน มาในพระบาลีมีอาทิว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับของสติปัฏฐาน ๔. บทนั้น มีอธิบายว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะมีที่ตั้ง อะไรตั้ง สติตั้ง การตั้งสติ ชื่อว่า สติปัฏฐาน.

ความละเมิดคำแนะนำด้วยความข้องใจของศาสดา ในสาวกผู้ปฏิบัติ ท่านกล่าวว่า สติปฏฺานํ ในพระบาลีนี้ว่า พึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่. บทนั้นมี อธิบายว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน. เพราะควรตั้งไว้ อธิบายว่า ควรประพฤติ ควรตั้งไว้ด้วยอะไร ด้วยสติ การตั้งไว้ด้วยสติ ชื่อว่า สติปัฏฐาน.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 810

อนึ่ง สติ นั่นแหละท่านกล่าวว่า สติปัฏฐาน มาในพระบาลี มีอาทิว่าสติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ยังโพชฌงค์ ๗ ให้ บริบูรณ์. บทนั้นมีอธิบายว่า ชื่อว่า ปฏฺานํ เพราะย่อมตั้งไว้ ความว่า ตั้งไว้ ก้าวไป แล่นไปแล้วเป็นไปอยู่ สตินั่นแหละตั้งไว้ชื่อว่า สติปัฏฐาน.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สติ เพราะอรรถว่า เป็นที่ระลึก ชื่อว่า อุปัฏฐาน เพราะอรรถว่า เป็นที่เข้าไปตั้งไว้ เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า สติปัฏฐาน เพราะสติเข้าไปตั้งไว้บ้าง. นี้เป็นความประสงค์ในที่นี้. ผิถามว่า เพราะเหตุไร จึงทำเป็นพหุวจนะว่า สติปฏฺานา. เพราะสติมีมาก. จริงอยู่ ว่าโดยประเภท ของอารมณ์ สติเหล่านั้นมีมาก. บทว่า กตเม จตฺตาโร ๔ ประการเป็นไฉน เป็นกเถตุกัมยตาปุจฉา ถามตอบเอง. บทว่า อิธ คือในพระศาสนานี้. บทว่า ภิกฺขุ ชื่อว่า ภิกขุ เพราะเห็นภัยในสงสาร. ก็การพรรณนาความแห่งบทที่ เหลือในคาถานี้ท่านกล่าวไว้แล้วในอรรถกถามรรคสัจจนิเทศ ในสุตมยญาณกถา.

ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐาน ๔ ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง. เพราะเพื่อเป็นประโยชน์แก่เวไนยสัตว์ เพราะเมื่อตัณหาจริต ทิฏฐิจริต สมถยานิก วิปสสนายานิก เป็นไปแล้วโดยสองส่วนๆ ด้วยความอ่อนและ ความเฉียบแหลม กายานุปัสสนาสติปัฏฐานอย่างหยาบเป็นทางหมดจดของผู้มี ตัณหาจริตอ่อน เวทนานุปัสสนสติปัฏฐานอย่างละเป็นทางหมดจดของ ผู้เฉียบแหลม จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานอันมีประเภทไม่ยิ่งเกินเป็นทางหมดจด ของผู้มีทิฏฐิจริตอ่อน ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อันมีประเภทยิ่งเกินเป็นทาง บริสุทธิ์ของผู้มีทิฏฐิจริตเฉียบแหลม. สติปัฏฐานข้อที่ ๑ เป็นนิมิตควรถึงโดย ไม่ยาก เป็นทางบริสุทธิ์ของเป็นสมถยานิกอ่อน. สติปัฏฐานข้อที่ ๒ เป็น ทางหมดจดของผู้เป็นสมถยานิกเฉียบแหลม เพราะไม่ดำรงอยู่ในอารมณ์หยาบ.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 811

สติปัฏฐานข้อที่ ๓ มีประเภทไม่ยิ่งเกินเป็นอารมณ์ เป็นทางหมดจดของผู้เป็น วิปัสสนายานิกอ่อน. สติปัฏฐานข้อที่ ๔ มีประเภทยิ่งเกินเป็นอารมณ์ เป็นทาง หมดจดของผู้เป็นวิปัสสนายานิกเฉียบแหลม. เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสสติปัฏฐาน ๔ ไว้ในหย่อนไม่ยิ่ง.

อีกอย่างหนึ่ง เพื่อละความสำคัญผิดว่าเป็นของงาม เป็นสุข เป็น ของเที่ยงและเป็นตัวตน เพราะว่ากายเป็นของไม่งาม. อนึ่ง สัตว์ทั้งหลายมี ความสำคัญผิดๆ ในกายนั้นว่าเป็นของงาม เพื่อละความสำคัญผิดนั้น ของสัตว์ เหล่านั้น ด้วยเห็นความเป็นของไม่งามในกายนั้น จึงตรัสสติปัฏฐานข้อที่ ๑. อนึ่ง พระองค์ตรัสถึงทุกขเวทนาในเวทนาเป็นต้นที่สัตว์ถือว่า เป็นสุข เป็น ของเที่ยง เป็นตัวตน พระองค์ตรัสว่า จิตเป็นธรรมชาติไม่เที่ยง ธรรมเป็น อนัตตา สัตว์ทั้งหลายยังมีความสำคัญผิดๆ ในสิ่งเหล่านั้นว่า เป็นสุข เป็น ของเที่ยง เป็นตัวตน เพื่อละความสำคัญผิดเหล่านั้น ของสัตว์เหล่านั้นด้วย แสดงถึงความเป็นทุกข์เป็นต้นในสิ่งนั้น พระองค์จึงตรัสสติปัฏฐาน ๓ ที่เหลือ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละความสำคัญ ผิดๆ ว่าเป็นของงาม เป็นของเที่ยง เป็นตัวตน ด้วยประการฉะนี้ มิใช่ เพื่อละความสำคัญผิดอย่างเดียวเท่านั้น เพื่อละโอฆะ ๔ โยคะ ๔ อาสวะ ๔ คันถะ ๔ อุปาทาน ๔ และอคติ ๔ บ้าง เพื่อกำหนดรู้อาหาร ๔ อย่างบ้าง พึงทราบว่า พระองค์จึงตรัสสติปัฏฐาน ๔.

พึงทราบวินิจฉัยในสุตตันนิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า ปวีกายึ กองปฐวีธาตุ คือธาตุดินในกายนี้. เพื่อสงเคราะห์ปฐวีธาตุทั้งหมด เพราะ ปฐวีธาตุในกายทั้งสิ้นมีมากท่านจึงใช้ กาย ศัพท์ ด้วยอรรถว่าเป็นที่รวม.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 812

แม้ในกองวาโยธาตุเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ท่านใช้กองผมเป็นต้น เพราะกองผมเป็นต้นมีมาก. อนึ่ง บทว่า วักกะ ไตเป็นต้น เพราะกำหนด ไว้แล้วจึงไม่ใช้ กาย เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่าท่านจึงไม่ใช้ กาย แห่ง วักกะเป็นต้นนั้น.

พึงทราบความในบทมีอาทิว่า สุขํ เวทนํ ดังต่อไปนี้. บทว่า สุขํ เวทนํ เวทนา ได้แก่ สุขเวทนาทางกายหรือทางจิต. ทุกขเวทนาก็อย่างนั้น. ส่วนบทว่า อทุกฺขมสุขํ เวทนํ ได้แก่ อุเขกขาเวทนาทางจิตเท่านั้น. บทว่า สามิสํ สุขํ เวทนํ สุขเวทนาเจืออามิส คือ โสมนัสเวทนาอาศัยเรือน ๖. บทว่า นิรามิสํ สุขํ เวทนา สุขเวทนาไม่เจืออามิส ได้แก่ โสมนัสเวทนา อาศัยเนกขัมมะ ๖. บทว่า สามิสํ ทุกฺขํ เวทนํ ทุกขเวทนาเจืออามิส ได้แก่ โทมนัสเวทนาอาศัยเรือน ๖. บทว่า นิรามิสํ ทุกฺขํ เวทนํ ทุกขเวทนา ไม่เจืออามิส ได้แก่ โทมนัสเวทนาอาศัยเนกขัมมะ ๖. บทว่า สามิสํ อทุกฺขมสุขํ เวทนํ อทุกขมสุขเวทนาเจืออามิส ได้แก่ อุเบกขาเวทนาอาศัยเรือน ๖. บทว่า นิรามิสํ อทุกฺขมสุขํ เวทนํ อทุกขมสุขเวทนาไม่เจืออามิส ได้แก่ อุเบกขาเวทนาอาศัยเนกขัมมะ ๖. บทมีอาทิว่า สราคํ จิตฺตํ จิตมีราคะ มีอรรถดังกล่าวแล้วในญาณกถา. บทว่า ตทวเสเส ธมฺเม ในธรรมที่เหลือ จากนั้น คือ ในธรรมเป็นไปในภูมิ ๓ ที่เหลือจากกาย เวทนา และจิตเท่านั้น. อนึ่ง ในบททั้งปวง บทว่า เตน าเณน คือ ด้วยอนุปัสสนาญาณ ๗ อย่างนั้น. อนึ่ง บทเหล่าใดมีอรรถมิได้กล่าวไว้ในระหว่างๆ ในกถานี้ บทเหล่านั้นมีอรรถ ดังได้กล่าวแล้วในกถานั้นๆ ในหนหลังนั่นแล ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาสติปัฏฐานกถา