พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. วิปัสสนากถา ว่าด้วยเรื่องวิปัสสนา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  40982
อ่าน  452

[เล่มที่ 69] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 813

ปัญญาวรรค

๙. วิปัสสนากถา

ว่าด้วยเรื่องวิปัสสนา หน้า 813

อรรถกถาวิปัสสนากถา หน้า 820


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 69]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 813

ปัญญาวรรค วิปัสสนากถา

สาวัตถีนิทานบริบูรณ์

ว่าด้วยเรื่องวิปัสสนา

[๗๓๑] ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขาร ไรๆ โดยความเป็นของเที่ยงอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่ เป็นฐานะที่จะมีได้. ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็น ของไม่เที่ยงอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.

[๗๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารไรๆ โดยความเป็นสุข จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะ มีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นทุกข์อยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จัก

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 814

ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม อันเป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้ แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล ข้อนี้เป็น ฐานะที่มีได้.

[๗๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นธรรมไรๆ โดยความเป็นอัตตาอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่ จะมีได้ ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นธรรมไรๆ โดยความเป็นอนัตตาอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุ- โลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.

[๗๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นนิพพาน โดยความเป็นทุกข์อยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่ จะมีได้ ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นสุขอยู่ จัก เป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล ข้อ นี้เป็นฐานะที่มีได้.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 815

[๗๓๕] ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการเท่าไร ย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการเท่าไร ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ ย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการ ๔๐.

ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน?

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ๑ เป็นทุกข์ ๑ เป็นโรค ๑ เป็นดังหัวฝี ๑ เป็นดังลูกศร ๑ เป็นความลำบาก ๑ เป็นอาพาธ ๑ เป็นอย่างอื่น ๑ เป็นของชำรุด ๑ เป็นเสนียด ๑ เป็นอุบาทว์ ๑ เป็นภัย ๑ เป็นอุปสรรค ๑ เป็นความหวั่นไหว ๑ เป็นของผุพัง ๑ เป็นของไม่ยั่งยืน ๑ เป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ๑ เป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ๑ เป็นของไม่เป็น ที่พึ่ง ๑ เป็นของว่าง ๑ เป็นของเปล่า ๑ เป็นของสูญ ๑ เป็นอนัตตา ๑ เป็นโทษ ๑ เป็นของมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ๑ เป็นของหาสาระมิได้ ๑ เป็นมูลแห่งความลำบาก ๑ เป็นดังเพชฌฆาต ๑ เป็นความเสื่อมไป ๑ เป็น ของมีอาสวะ ๑ เป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง ๑ เป็นเหยื่อแห่งมาร ๑ เป็นของ มีความเกิดเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความ ป่วยไข้เป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความ เศร้าโศกเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความ คับแค้นใจเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ๑ เมื่อ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเที่ยง ย่อมย่างลงสู่ สัมมัตตนิยาม เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นทุกข์ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นสุข ย่อม

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 816

ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นโรค ... เมื่อ พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีโรค เมื่อพิจารณาเห็น เบญจขันธ์โดยเป็นดังหัวฝี ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น นิพพานไม่มีฝีหัว ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังลูกศร ... เมื่อ พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีลูกศร ... เมื่อพิจารณา เห็นเบญจขันธ์โดยความลำบาก ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์ เป็นนิพพานไม่มีความลำบาก ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอาพาธ ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์ เป็นนิพพานไม่มีอาพาธ ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอื่น ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับ แห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีสิ่งอื่นเป็นปัจจัย ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของชำรุด ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความชำรุดเป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็น เสนียด ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์ เป็นนิพพานไม่มีเสนียด ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอุบาทว์ ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความ ดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอุบาทว์ ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดย ความเป็นภัย ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานอันไม่ มีภัย ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอุปสรรค ... เมื่อพิจารณาเห็น ว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอุปสรรค ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจ- ขันธ์โดยความเป็นของหวั่นไหว ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์ เป็นนิพพานไม่มีความหวั่นไหว ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็น ่ของผุพัง ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความ ผุพัง ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่ยั่งยืน ... เมื่อพิจารณา เห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีความยั่งยืน ... เมื่อพิจารณาเห็น

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 817

เบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความ ดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นที่ต้านทาน ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดย ความเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์ เป็นนิพพานเป็นที่ป้องกัน ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของ ไม่มีที่พึ่ง ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นที่ พึ่ง ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของว่าง ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพานไม่ว่าง ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดย ความเป็นของเปล่า ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น นิพพานไม่เปล่า ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของสูญ ... เมื่อ พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานสูญอย่างยิ่ง ... เมื่อพิจารณา เห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอนัตตา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่ง เบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดย ความเป็นโทษ ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มี โทษ ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของแปรปรวนเป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีความไม่แปรปรวน เป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของหาสาระมิได้ ... เมื่อ พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีสาระ ... เมื่อพิจารณา เห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นมูลแห่งความลำบาก ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความ ดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีมูลแห่งความลำบาก ... เมื่อพิจารณาเห็น เบญจขันธ์โดยความเป็นดังเพชฌฆาต ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่ง เบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นดังเพชฌฆาต ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดย ความเป็นของเสื่อมไป ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 818

นิพพานไม่มีความเสื่อมไป ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมี อาสวะ ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอาสวะ ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นเหยื่อแห่งมาร ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นเหยื่อแห่งมาร ... เมื่อพิจารณาเห็น เบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเกิด ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจ- ขันธ์โดยความเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความ ดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความแก่ ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดย ความเป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่ง เบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความป่วยไข้ ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดย ความเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่ง เบญจขันธ์เป็นนิพานไม่มีความตาย ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็น ของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์ เป็นนิพพานไม่มีความเศร้าโศก ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็น ของมีความคร่ำครวญเป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจ- ขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความคร่ำครวญ ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความ คับแค้นเป็นธรรมดา ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่ง เบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความดับแค้น ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ย่อมได้อนุ- โลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความ เศร้าหมอง ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 819

[๗๓๖] การพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็น อนิจจานุปัสสนา โดยความเป็นทุกข์ เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นโรค เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นดังหัวฝี เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็น ดังลูกศรเป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นความลำบาก เป็นทุกขานุปัสสนา โดย ความเป็นอาพาธ เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นอย่างอื่น เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นของชำรุด เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นเสนียด เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นอุบาทว์ เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นภัย เป็น ทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นอุปสรรค เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นของ หวั่นไหว เป็นอนิจจานุปัสสนา โดยความเป็นของผุพัง เป็นอนิจจานุปัสสนา โดยความเป็นของไม่ยั่งยืน เป็นอนิจจานุปัสสนา โดยความเป็นของไม่มีอะไร ต้านทาน เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน เป็นทุกขานุ- ปัสสนา โดยความเป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นของว่าง เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นของเปล่า เป็นอนัตตานุปัสสนา โดยความเป็น ของสูญ เป็นอนัตตานุปัสสนา โดยความเป็นอนัตตา เป็นอนัตตานุปัสสนา โดยความเป็นโทษ เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นของมีความแปรปรวนเป็น ธรรมดาเป็นอนิจจานุปัสสนาโดยความเป็นของหาสาระมิได้เป็นอนัตตานุปัสสนา โดยความเป็นมูลแห่งความทุกข์ เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นดังเพชฌฆาต เป็นทุกขานุปัสสนา โดยเป็นความเสื่อมไป เป็นอนิจจานุปัสสนา โดยความเป็น ของมีอาสวะ เป็นทุกขานุปัสสนา โดยเป็นของมีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นอนิจจานุ- ปัสสนา โดยความเป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นของมี ความเกิดเป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นของมีความแก่เป็น ธรรมดา เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 820

เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา เป็นอนิจจานุ- ปัสสนา โดยความเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดาเป็นทุกขานุปัสสนา โดย ความเป็นของมีความคร่ำครวญเป็นธรรมดาเป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็น ของมีความคับแค้นเป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสสนา โดยความเป็นของมี ความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสสนา.

ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ นี้ ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ด้วยอาการ ๔๐ นี้.

ภิกษุผู้ได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ นี้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย อาการ ๔๐ นี้ มีอนิจจานุปัสสนาเท่าไร มีทุกขานุปัสสนาเท่าไร มีอนัตตานุ- ปัสสนาเท่าไร?

ท่านกล่าวว่า มีอนิจจานุปัสสนา ๕๐ มีทุกขานุปัสสนา ๑๒๕ มีอนัตตานุปัสสนา ๒๕ ฉะนี้แล.

จบวิปัสสนากถา

อรรถกถาวิปัสสนากถา

บัดนี้ จะพรรณนาตามความที่ยังไม่พรรณนาแห่งวิปัสสนากถาอันมีพระ สูตรเป็นเบื้องต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงประเภทแห่งวิปัสสนาใน ลำดับแห่งสติปัฏฐานกถาปฏิสังยุตด้วยวิปัสสนาตรัสแล้ว.

พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้นก่อนดังต่อไปนี้ บทว่า โส เพราะ เป็นสรรพนาม จึงเป็นอันสงเคราะห์ภิกษุแม้ทั้งหมดที่มีอยู่. บทว่า วต

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 821

เป็นนิบาตลงในอรรถเอกังสะ. (ทำบทให้เต็ม). บทว่า กญฺจิ สงฺขารํ สังขารไรๆ คือสังขารแม้มีประมาณน้อย. ในบทว่า อนุโลมิกาย ขนฺติยา ด้วย อนุโลมขันตินี้มีความดังนี้. ชื่อว่า อนุโลมิกะ เพราะวิปัสสนานั่นแหละย่อม อนุโลมโลกุตรมรรค ชื่อว่าอนุโลมิกา เพราะเพ่งถึงขันตินั่นแหละ ชื่อว่า ขนฺติ เพราะสังขารทั้งปวงย่อมพอใจย่อมชอบใจแก่ภิกษุนั้นโดยความเป็นของ ไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยเป็นอนัตตา. ขันตินั้นมี ๓ อย่าง คือ อย่าง อ่อน ๑ อย่างกลาง ๑ อย่างกล้า ๑ ขันติมีการพิจารณาเป็นกลาปะ (กลุ่มก้อน) เป็นเบื้องต้น มีอุทยัพพยญาณเป็นที่สุด เป็นอนุโลมขันติอย่างอ่อน ขันติมี การพิจารณาถึงความดับเป็นเบื้องต้น มีสังขารอุเบกขาญาณเป็นที่สุดชื่อว่า อนุโลมขันติอย่างกลาง ขันติเป็นอนุโลมญาณ (ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่ กำหนดรู้อริยสัจ) ชื่อว่าอนุโลมขันติอย่างกล้า. บทว่า สมนฺนาคโต ประกอบ แล้วคือเข้าถึงแล้ว. บทว่า เนตํ านํ วิชฺชติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้คือ ไม่เป็นฐานะไม่เป็นเหตุที่จะมีได้ตามที่กล่าวแล้ว. ในบทนี้ว่า สมฺมตฺตนิยามํ สัมมัตตนิยาม (ความชอบและความแน่นอน) นี้มีความดังนี้. ชื่อว่า สมฺมตฺ- โต เพราะเป็นสภาวะชอบโดยความหวังอย่างนี้ว่า จักนำประโยชน์เกื้อกูล และความสุขมาให้แก่เราโดยความเจริญอย่างนั้น และโดยปรากฏความเป็นไป อันไม่วิปริต ในสิ่งไม่งามเป็นต้นว่าเป็นของงาม ชื่อว่านิยาโม เพราะเป็นความ แน่นอนด้วยการให้ผลในลำดับและด้วยการบรรลุพระอรหัต ความว่าการตั้งใจ แน่วแน่. ชื่อว่า สมฺมตฺตนิยาโม เพราะความชอบและความแน่นอน. นั้น คืออะไร คือโลกุตรมรรค แต่โดยพิเศษก็คือโสดาปัตติมรรค. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นิยโต สมฺโพธิปรายโน มีการตรัสรู้ในเบื้องหน้า แน่นอน เพราะแน่นอนด้วยมรรคนิยาม สู่สัมมัตตนิยามนั้น. บทว่า โอกฺก-

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 822

มิสฺสติ จักย่างลงคือจักเข้าไป อธิบายว่าข้อนั้นมิใช่ฐานะ อนึ่ง พึงทราบว่า ท่านไม่ยึดถือฐานะนั้นเพราะความที่โคตรภูเป็นที่ตั้งแห่งอาวัชชนะของมรรค แล้วกล่าวถึงการก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามในลำดับแห่งอนุโลมขันติ.

อีกอย่างหนึ่ง ในมหาวิปัสสนา ๑๘ โคตรภูเป็นวิวัฏฏนานุปัสสนา (การพิจารณาถึงนิพพาน) ถึงเหตุนั้น จึงเป็นอันสงเคราะห์เข้าในอนุโลมิกขันติ นั่นแหละ แม้ใน ๔ สูตรก็พึงทราบความโดยนัยนี้แหละด้วยบทเหล่านั้น ท่าน กล่าว ๔ สูตรไว้ในฉักกนิบาตว่าธรรม ๖ อย่าง ด้วยสามารถอนุโลมิกขันติ สัมมัตตนิยามและอริยผล ๔ เป็นความจริง สูตร ๔ สูตร ย่อมมีด้วยปักษ์ทั้ง สองคือกัณหปักษ์และศุกลปักษ์.

พระโยคาวจรผู้เริ่มวิปัสสนาด้วยการพิจารณากลาปะกำหนดนามรูป และปัจจัยแห่งนามรูปในบททีอาทิว่า ปญฺจกฺขนฺเธ อนิจฺจโต พิจารณาเห็น เบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยงในสุตตันตนิเทศอันมีคำถามเป็นเบื้องต้น ว่า กตีหากาเรหิ ด้วยอาการเท่าไรแล้วเห็นว่าขันธ์หนึ่งๆ ในขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง โดยความเป็นของไม่เที่ยงเพราะปรากฏแล้วและเพราะมีเบื้องต้นและที่สุด. โดยความเป็นทุกข์ เพราะมีเกิดดับ และบีบคั้นและเพราะเป็นที่ตั้งแห่ง ทุกข์.

โดยความเป็นโรค เพราะยังชีวิตให้เป็นไปด้วยปัจจัยและเพราะเป็นเหตุ แห่งโรค.

โดยเป็นดังหัวฝี เพราะประกอบด้วยความทุกข์และความเสียดแทง เพราะอสุจิคือกิเลสไหลออก และเพราะบวมแก่จัดและแตกด้วยเกิดแก่และดับ.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 823

โดยความเป็นดังลูกศร เพราะให้เกิดความบีบคั้น เพราะเสียดแทง ภายใน และเพราะนำออกได้ยาก.

โดยความลำบาก เพราะน่าติเตียน เพราะนำความไม่เจริญมาให้ และ ความชั่วร้าย.

โดยความป่วยไข้ เพราะให้เกิดความไม่มีเสรี และเพราะเป็นที่ตั้งแห่ง ความอาพาธ.

โดยความเป็นอย่างอื่น เพราะไม่มีอำนาจและเพราะไม่เชื่อฟัง.

โดยความเป็นของชำรุดด้วยพยาธิชราและมรณะ.

โดยความเป็นเสนียด เพราะนำความพินาศไม่น้อยมาให้.

โดยความเป็นอุบาทว์ เพราะนำความพินาศมากมายอันไม่รู้แล้วมาให้ และเพราะเป็นวัตถุแห่งอันตรายทั้งปวง.

โดยความเป็นภัย เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งภัยทั้งปวง และเพราะเป็น ปฏิปักษ์แห่งความหายใจเข้าเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือสงบยากโดยความเป็นอุปสรรค เพราะถูกความพินาศไม่น้อยติดตาม เพราะเกี่ยวข้องด้วยโทสะ และเพราะอด กลั้นไม่ได้ดุจอุปสรรค.

โดยความหวั่นไหว เพราะหวั่นไหวด้วยพยาธิชราและมรณะและโลกธรรมมีลาภเป็นต้น.

โดยความผุพัง เพราะเข้าถึงความผุพังด้วยความพยายามและด้วยหน้าที่. โดยความไม่ยั่งยืน เพราะสิ่งที่ตั้งอยู่ตกไป และเพราะความไม่มีความ มั่นคง.

โดยความเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน เพราะต้านทานไม่ได้และเพราะ ไม่ได้รับความปลอดโปร่ง.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 824

โดยความเป็นของไม่มีอะไรลับลี้ เพราะไม่ควรเพื่อติดและเพราะแม้ สิ่งที่ติดก็ไม่ทำการป้องกันได้.

โดยความไม่เป็นที่พึ่ง เพราะไม่มีสิ่งที่อาศัยอันจะเป็นสาระในความกลัว ได้.

โดยความเป็นของว่าง เพราะว่างจากความยั่งยืนความสุขและอาหาร อร่อยตามที่กำหนดไว้.

โดยความเป็นของเปล่า เพราะเป็นของว่างนั่นเอง หรือเพราะเป็นของ น้อย เพราะของแม้น้อยท่านก็กล่าวว่าเป็นของเปล่าในโลก.

โดยความเป็นของสูญ เพราะปราศจากเจ้าของที่อยู่อาศัยผู้รู้ผู้กระทำ ผู้ตั้งใจ

โดยความเป็นอนัตตา เพราะตนเองไม่เป็นเจ้าของเป็นต้น.

โดยความเป็นโทษ เพราะเป็นทุกข์ประจำและความที่ทุกข์เป็นโทษ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อาทีนโว เพราะฟุ้งไปคือเป็นไปแห่งโทษ ทั้งหลาย บทนี้เป็นชื่อของมนุษย์ขัดสน. อนึ่ง แม้ขันธ์ ๕ ก็เป็นความขัดสน เหมือนกัน เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าโดยความเป็นโทษ เพราะเป็นเช่นกับโทษ นั่นเอง.

โดยมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะตามปกติก็แปรปรวน โดยสองส่วน คือ โดยชราและมรณะ.

โดยความไม่มีสาระ เพราะไม่มีกำลังและเพราะทำลายความสุขดุจกระพี้.

โดยความเป็นเหตุแห่งความลำบาก เพราะเป็นเหตุแห่งความชั่วร้าย.

โดยความเป็นดังฆาตกร เพราะทำลายความวิสาสะดุจข้าศึก ปากพูดว่า เป็นมิตร.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 825

โดยปราศจากความเจริญ เพราะหมดความเจริญ และความสมบูรณ์.

โดยเป็นของมีอาสวะ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ.

โดยเป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง เพราะเหตุปัจจัยปรุงแต่ง.

โดยความเป็นเหยื่อของมาร เพราะเป็นเหยื่อของมัจจุมารและกิเลสมาร.

โดยความเป็นของมีความเกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นธรรมดา เพราะมี ชาติ ชรา พยาธิ และมรณะเป็นปกติ.

โดยเป็นของมีความโศก ความคร่ำครวญ ความดับแค้นเป็นธรรมดา เพราะมีความโศก ความคร่ำครวญ และความคับแค้นเป็นเหตุ.

โดยความเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เพราะความที่ตัณหา ทิฏฐิทุจริตและสังกิเลสเป็นวิสยธรรมดา.

อนึ่ง ในบทเหล่านั้นทั้งหมดพึงเห็นปาฐะที่เหลือว่า ปสฺสติ ดังนี้. บทว่า ปญฺจกฺขนฺเธ ขันธ์ ๕ แม้เมื่อกล่าวโดยส่วนรวมก็พึงทราบว่า ท่าน กล่าวพรรณนาอรรถด้วยขันธ์หนึ่งๆ เพราะมาต่างหากกันในกลาปสัมมสนนิเทศ เพราะในที่สุดคำนวณอนุปัสสนา ด้วยสามารถขันธ์ทั้งหลายต่างหากกัน และ เพราะมีความเป็นไปแม้ในส่วนอวัยวะ แห่งคำที่เป็นไปในส่วนรวมกัน. อีก อย่างหนึ่ง พึงทราบว่าท่านกล่าวว่า ปญฺจกฺขนฺเธ ด้วยการกล่าวย่อมสัมมสนะ อันเป็นไปต่างหากกันร่วมเป็นอันเดียวกัน. อีกอย่างหนึ่ง การพิจารณาขันธ์ ๕ เป็นอันเดียวกัน เพราะปรากฏคำในอรรถกถาว่า ด้วยการประหารครั้งเดียว ขันธ์ ๕ ก็ออกไปดังนี้ ย่อมควรทีเดียว.

บทว่า ปญฺจนฺนํ ขนฺธานํ นิโรโธ นิจฺจํ นิพฺพานนฺติ ปสฺสนฺโต เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเที่ยว คือ เมื่อพิจารณา เห็นว่า นิพพานเที่ยงด้วยอำนาจแห่งญาณอันเป็นทางสงบ ในกาลแห่งวิปัสสนา ตามที่กล่าวแล้วในอาทีนวญาณนิเทศ. บทว่า สมฺมตฺตนิยามํ โอกฺกมติ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 826

ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม คือ ย่อมหยั่งลงในขณะแห่งมรรค ก็ชื่อว่าหยั่งลง ในขณะแห่งผลด้วย ในปริยายแห่งการหยั่งลงในนิยามทั้งหมดก็มีนัยนี้เหมือน กัน. บทว่า อาโรคยํ คือความไม่มีโรค. บทว่า วิสลฺลํ คือปราศจากลูกศร ในบทเช่นนี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อนาพาธํ คือปราศจากอาพาธ หรือ เป็นปฏิปักษ์ต่ออาพาธ. ในบทเช่นนี้ก็นัยนี้ บทว่า อปรปจฺจยํ คือปราศจาก ปัจจัยอื่น อาจารย์บางพวกกล่าวประกอบกันว่า อุปสฺสคฺคโตติ จ อนุปสฺ- สคฺคนฺติ จ เห็นขันธ์ ๕ โดยมีอุปสรรคและนิพพานไม่มีอุปสรรค. บทว่า ปรมสุญฺํ สูญอย่างยิ่ง ชื่อว่าสูญอย่างยิ่ง เพราะสูญจากสังขารทั้งหมด และ เพราะสูญอย่างสูงสุด. บทว่า ปรมตฺถํ มีประโยชน์อย่างสูงสุด เพราะเป็น ของเลิศกว่าสังขตะและอสังขตะ เป็นนปุงสกลิงค์เพราะลิงควิปลาส. ท่านไม่ กล่าวปริยายโดยอนุโลมในสองบทนี้ เพราะนิพพานเป็นของสูญและเพราะเป็น อนัตตา. บทว่า อนาสวํ คือปราศจากอาสวะ. บทว่า นิรามิสํ คือปราศจาก อามิส. บทว่า อชาตํ คือไม่เกิดเพราะปราศจากความเกิด. บทว่า อมตํ คือปราศจากความตายเพราะไม่ดับ. จริงอยู่ แม้ความตายท่านก็กล่าวว่า มตํ เพราะเป็นนปุงสกลิงค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำการสงเคราะห์เป็นอันเดียวกันในอนุปัสสนา ๓ ด้วยสงเคราะห์ตามสภาวธรรมในอนุปัสสนา ๔๐ อันแตกต่างกันโดยอาการ ดังกล่าวแล้วตามลำดับนี้ ด้วยประการฉะนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า อนิจฺจโตติ อนิจฺจานุปสฺสนา การพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็น อนิจจานุปัสสนา พึงประกอบในความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตาตามสมควร ในอนุปัสสนาเหล่านั้น แต่ในที่สุดท่านแสดงอนุปัสสนาเหล่านั้น ด้วยการ คำนวณต่างกัน.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 827

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจวีสติ ๒๕ คือ อนัตตานุปัสสนา ๒๕ ในขันธ์ ๕ ทำขันธ์หนึ่งๆ อย่างละ ๕ คือ ปรโต (โดยเป็นอย่างอื่น) ๑ ริตฺตโต (โดยเป็นของว่าง) ๑ ตุจฺฉโต (โดยเป็นของเปล่า) ๑ สุฺโต (โดยเป็นของสูญ) ๑ อนตฺตโต (โดยเป็นอนัตตา) ๑. บทว่า ปญฺาส ๕๐ คือ อนิจจานุปัสสนา ๕๐ ในขันธ์ ๕ ทำขันธ์ หนึ่งๆ อย่างละ ๑๐ คือ อนิจฺจโต (โดยเป็นของไม่เที่ยง) ๑ ปโลกโต (โดยการทำลาย) ๑ จลโต (โดยความหวั่นไหว) ๑. ปภงฺคุโต (โดยความ ผุพัง) ๑ อทฺธุวโต (โดยความไม่ยั่งยืน) ๑ วิปริณามธมฺมโต (โดยความ แปรปรวนเป็นธรรมดา) ๑ อสารกโต (โดยความไม่มีสาระ) ๑ วิภวโต (โดยปราศจากความเจริญ) ๑ สงฺขโต (โดยปัจจัยปรุงแต่ง) ๑ มรณธมฺมโต (โดยมีความตายเป็นธรรมดา) ๑.

บทว่า สตํ ปญฺจวีสติ ๑๒๕ คือ ทุกขานุปัสสนา ๑๒๕ ในขันธ์ ๕ ทำขันธ์หนึ่งๆ อย่างละ ๒๕ มีอาทิว่า ทุกฺขโต โรคโต. บทว่า ยานิ ทุกฺเข ปวุจฺจเร พึงทราบการเชื่อม ความว่า อนุปัสสนาที่ท่านกล่าวด้วยสามารถ การคำนวณขันธปัญจกอันเป็นทุกข์ ๑๒๕ อย่าง. อนึ่ง ในบทว่า ยานิ นี้ พึงเห็นว่าเป็นลิงควิปลาส.

จบอรรถกถาวิปัสสนากถา