พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. มาติกากถา ว่าด้วยแม่บท

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  40983
อ่าน  425

[เล่มที่ 69] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 828

ปัญญาวรรค

๑๐. มาติกากถา

ว่าด้วยแม่บท หน้า 828

อรรถกถามาติกากถา หน้า 832


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 69]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 828

ปัญญาวรรค มาติกากถา

ว่าด้วยแม่บท

[๗๓๗] บุคคลผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น ความ หลุดพ้น เป็นวิโมกข์ วิชชาวิมุตติ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ปัสสัทธิ ญาณทัสนะ สุทธิ เนกขัมมะ นิสสรณะ ปวิเวก โวสสัคคะ จริยา ฌานวิโมกข์ ภาวนาธิษฐานชีวิต.

คำว่า นิจฺฉาโต ความว่า บุคคลผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจาก กามฉันทะ ด้วยเนกขัมมะ ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากพยาบาทด้วยความ ไม่พยาบาท ฯลฯ ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้น จากนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค.

คำว่า วิโมกฺโข ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องพ้นจากกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องพ้นจากพยาบาท ฯลฯ ปฐมฌานชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็น เครื่องพ้นจากนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตตมรรคชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็น เครื่องพ้นจากกิเลสทั้งปวง.

คำว่า วิชฺชาวิมุตฺติ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่า วิชชา เพราะอรรถว่า มีอยู่ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่า หลุดพ้นจากกามฉันทะ ชื่อว่าวิชชาวิมุตติ เพราะอรรถว่า มีอยู่หลุดพ้น หลุดพ้นมีอยู่ ความไม่พยาบาทชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่า มีอยู่ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่า หลุดพ้นจากพยาบาท ชื่อว่าวิชชาวิมุตติ เพราะอรรถว่า มีอยู่หลุดพ้น หลุดพ้นมีอยู่ ฯลฯ อรหัตตมรรค

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 829

ชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่า มีอยู่. ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่า หลุดพ้นจาก กิเลสทั้งปวง ชื่อว่าวิชชาวิมุตติ เพราะอรรถว่า มีอยู่หลุดพ้น หลุดพ้นมีอยู่.

[๗๓๘] ข้อว่า อธิสีลํ อธิจิตฺตํ อธิปญฺา ความว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องกั้นกามฉันทะ ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่อง เห็นความกั้นในสีลวิสุทธิ เป็นอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตตวิสุทธิ เป็นอธิจิตตสิกขา ความเห็นในทิฏฐิวิสุทธิ เป็นอธิปัญญาสิกขา ความไม่ พยาบาท ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถเป็นเครื่องกั้นความพยาบาท ฯลฯ อรหัตตมรรค ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องกั้นกิเลสทั้งปวง ชื่อว่า จิตตวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะอรรถ ว่าเป็นเครื่องเห็นความกั้นในสีลวิสุทธิ เป็นอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านใน จิตตวิสุทธิ เป็นอธิจิตตสิกขา ความเห็นในทิฏฐิวิสุทธิ เป็นอธิปัญญาสิกขา.

[๗๓๙] คำว่า ปสฺสทฺธิ ความว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องระงับกามฉันทะ ความไม่พยาบาทเป็นเครื่องระงับพยาบาท ฯลฯ อรหัตตมรรคเป็นเครื่อง ระงับกิเลสทั้งปวง.

คำว่า าณํ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะ เป็นเหตุให้ละกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะ เป็นเหตุให้ละพยาบาท ฯลฯ อรหัตตมรรคชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะ เป็นเหตุให้ละกิเลสทั้งปวง.

คำว่า ทสฺสนํ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าทัศนะ เพราะความว่าเห็น เพราะเป็นเหตุให้ละกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าทัศนะ เพราะความว่า เห็น เพราะเป็นเหตุให้ละพยาบาท ฯลฯ อรหัตตมรรคชื่อว่าทัศนะ เพราะความ ว่าเห็น เพราะเป็นเหตุให้ละกิเลสทั้งปวง.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 830

คำว่า วิสุทฺธิ ความว่า บุคคลละกามฉันทะ ย่อมหมดจดด้วย เนกขัมมะ ละพยาบาทย่อมหมดจดด้วยความไม่พยาบาท ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวง ย่อมหมดจดด้วยอรหัตตมรรค.

[๗๔๐] คำว่า เนกฺขมฺมํ ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกาม อรูปฌาน เป็นเครื่องสลัดรูป นิโรธ เป็นเนกขัมมะ จากสิ่งที่มีที่เป็น อัน ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ความไม่พยาบาท เป็นเนกขัมมะจากพยาบาท อาโลกสัญญา เป็นเนกขัมมะจากถิ่นมิทธะ ฯลฯ

คำว่า นสฺสรณํ ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกาม อรูปฌาน เป็นเครื่องสลัดรูป นิโรธ เป็นเครื่องสลัดสิ่งที่มีที่เป็น อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกามฉันทะ ความไม่พยาบาท เป็นเครื่องสลัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตตมรรค เป็นเครื่องสลัดกิเลสทั้งปวง.

คำว่า ปวิเวโก ความว่า เนกขัมมะ เป็นที่สงัดกามฉันทะ ความ ไม่พยาบาท เป็นที่สงัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตตมรรค เป็นสิ่งที่สงัดกิเลสทั้งปวง. คำว่า โวสฺสคฺโค ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องปล่อยวางกามฉันทะ ความไม่พยาบาท เป็นเครื่องปล่อยวางพยาบาท ฯลฯ อรหัตตมรรค เป็นเครื่อง ปล่อยวางกิเลสทั้งปวง.

คำว่า จริยา ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องประพฤติละกามฉันทะ ความไม่พยาบาท เป็นเครื่องประพฤติละพยาบาท ฯลฯ อรหัตตมรรค เป็น เครื่องประพฤติละกิเลสทั้งปวง.

คำว่า ฌานวิโมกฺโข ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผากามฉันทะ ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เกิดหลุดพ้น เพราะอรรถว่า เผาหลุดพ้น เนกขัมมธรรม เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผา ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า รู้กิเลสที่เกิด

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 831

และที่ถูกเผา ความไม่พยาบาท ชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผาพยาบาท ฯลฯ อาโลกสัญญาชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผาถีนมิทธะ ฯลฯ อรหัตตมรรคชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผากิเลสทั้งปวง ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เกิดหลุดพ้น เพราะอรรถว่า เผาหลุดพ้น อรหัตตมรรคธรรมชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผา ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า รู้กิเลสที่เกิดและที่ถูกเผา.

[๗๔๑] คำว่า ภาวนาธิฏฺานชีวิตํ ความว่า บุคคลผู้ละกามฉันทะ เจริญเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา ย่อมอธิษฐานจิต ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานอย่างนี้นั้น ย่อมเป็นอยู่สงบ ไม่เป็นอยู่ไม่สงบ เป็นอยู่ชอบ ไม่เป็นอยู่ผิด เป็นอยู่หมดจด ไม่เป็นอยู่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น เข้าไปสู่ที่ประชุมใด คือ ที่ประชุมกษัตริย์ก็ดี ที่ประชุมพราหมณ์ก็ดี ที่ประชุมคฤหบดีก็ดี ที่ประชุมสมณะก็ดี ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้น เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนั้น บุคคลละพยาบาทเจริญความไม่พยาบาท ละถีนมิทธะเจริญอาโลกสัญญา ละอุทธัจจะเจริญความไม่ฟุ้งซ่าน ละวิจิกิจฉาเจริญธรรมววัตถาน ละอวิชชาเจริญฌาน ละอรติเจริญความปราโมทย์ ละนิวรณ์เจริญปฐมฌาน ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวงเจริญอรหัตตมรรค เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา บุคคลย่อมตั้งมั่นจิตด้วยสามารถอรหัตตมรรค เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานอย่างนี้นั้น ย่อมเป็นอยู่สงบ ไม่เป็นอยู่ไม่สงบ เป็นอยู่ชอบ เป็นอยู่ไม่ผิด เป็นอยู่หมดจด ไม่เป็นอยู่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 832

ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น เข้าไปสู่ที่ประชุมใด คือ ที่ประชุมกษัตริย์ก็ดี ที่ประชุมพราหมณ์ก็ดี ที่ประชุมคฤหบดีก็ดี ที่ประชุมสมณะก็ดี ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนั้น ฉะนี้แล.

จบมาติกากถา

ปกรณ์ปฏิสัมภิทาจบบริบูรณ์

อรรถกถามาติกากถา

บัดนี้ พระมหาเถระประสงค์จะสรรเสริญธรรม คือ สมถะ วิปัสสนา มรรค ผล นิพพานที่ท่านชี้แจงไว้แล้ว ในปฏิสัมภิทามรรคทั้งสิ้นในลำดับ แห่งวิปัสสนากถา โดยปริยายต่างๆ ด้วยความต่างกันแห่งอาการจึงยกบทมาติกา ๑๙ บท มีอาทิว่า นิจฺฉาโต ผู้ไม่มีความหิวขึ้นแล้วกล่าวมาติกากถาด้วย ชี้แจงบทมาติกาเหล่านั้น. ต่อไปนี้จะพรรณนาตามความที่ยังไม่เคยพรรณนา แห่งมาติกากถานั้น พึงทราบวินิจฉัยในมาติกาก่อน. บทว่า นิจฺฉาโต คือ ผู้ไม่มีความหิว. จริงอยู่ กิเลสแม้ทั้งหมดชื่อว่า มิลิตา (เหี่ยวแห้ง) เพราะ ประกอบด้วยความบีบคั้น แม้ราคะอันเป็นไปในลำดับก็เผาผลาญร่างกาย จะ พูดไปทำไมถึงกิเลสอย่างอื่น. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกิเลส ๓ อย่าง อันเป็นตัวการของกิเลสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฟ ๓ อย่าง คือ ราคัคคิ (ไฟราคะ) โทสัคคิ (ไฟโทสะ) โมหัคคิ (ไฟโมหะ). แม้กิเลสที่ประกอบ ด้วยราคะ โทสะ โมหะนั้นก็ย่อมเผาผลาญเหมือนกัน. ชื่อว่า นิจฺฉาโต เพราะ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 833

ไม่มีกิเลสเกิดแล้วอย่างนี้ ผู้ไม่มีความหิวนั้นเป็นอย่างไร. พึงเห็นว่า ความ หลุดพ้นโดยผูกพันกับวิโมกข์ ชื่อว่า โมกฺโข เพราะพ้น ชื่อว่า วิโมกฺโข เพราะหลุดพ้น นี้เป็นบทมาติกา ๑. บทว่า วิชฺชาวิมุตฺติ คือวิชานั่นแหละ คือวิมุตติ นี้เป็นมาติกาบท ๑. บทว่า ฌานวิโมกฺโข คือฌานนั่นแหละเป็น วิโมกข์ นี้เป็นมาติกาบท ๑. มาติกาบทที่เหลือก็เป็นบทหนึ่งๆ เพราะเหตุนั้น จึงเป็นมาติกาบท ๑๙ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า เนกขมฺเมน กามจฺฉนฺทโต นิจฺฉาโต บุคคลผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ คือพระโยคาวจรผู้ไม่มีกิเลส ย่อม หลุดพ้นจากกามฉันทะ. เพราะปราศจากกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ แม้เนกขัมมะ ที่พระโยคาวจรนั้นได้ก็หมดความหิว ไม่มีกิเลสเป็นความหลุดพ้น แม้ในบท ที่เหลือก็อย่างนั้น.

บทว่า เนกฺขมฺเมน กามจฺฉนฺทโต มุจฺจตีติ วิโมกฺโข ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะพ้นจากกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ คือพระโยคาวจรย่อมพ้นจาก กามฉันทะด้วยเนกขัมมะ. เพราะเหตุนั้น เนกขัมมะนั้นจึงเป็นวิโมกข์ แม้ใน บทที่เหลือก็อย่างนั้น.

บทว่า วิชฺชตีติ วิชฺชา เนกขัมมะชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่ามีอยู่ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่า มีอยู่ถือเข้าไปได้โดยสภาพ. อีกอย่างหนึ่ง เนกขัมมะชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่า อันพระโยคาวจรผู้ปฏิบัติ เพื่อรู้ความเป็นจริง ย่อมรู้สึก ย่อมรู้ความเป็นจริง.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่า อันพระโยคาวจรผู้ปฏิบัติ เพื่อได้คุณวิเศษ ย่อมรู้สึก ย่อมได้.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมประสบ ย่อมได้ภูมิที่ตนควรประสบ.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 834

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมทำความ รู้แจ้งสภาวธรรม เพราะเห็นสภาวธรรมเป็นเหตุ.

บทว่า วิชฺชนฺโต มุจฺจติ มุจฺจนฺโต วิชฺชติ ชื่อว่าวิชชาวิมุตติ เพราะอรรถว่า มีอยู่หลุดพ้น หลุดพ้นมีอยู่ อธิบายว่า ชื่อว่าวิชชาวิมุตติ เพราะอรรถว่า ธรรมตามที่กล่าวแล้วมีอยู่ ด้วยอรรถตามที่กล่าวแล้ว ย่อม หลุดพ้นจากธรรมตามที่กล่าวแล้ว เมื่อหลุดพ้นจากธรรมตามที่กล่าวแล้ว ย่อม มีด้วยอรรถตามที่กล่าวแล้ว.

บทว่า กามจฺฉนฺทํ สํวรฏฺเน ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องกั้นกามฉันทะ ความว่า เนกขัมมะนั้นชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องห้ามกามฉันทะ เนกขัมมะชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เพราะความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุ ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเห็นเพราะการเห็นเป็นเหตุ แม้ใน บทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า ปฏิปฺปสฺสมฺเภติ ย่อมระงับ ความว่า ธรรมมีเนกขัมมะ เป็นต้น ชื่อว่าปัสสัทธิ เพราะพระโยคาวจรย่อมระงับกามฉันทะเป็นต้น ด้วย เนกขัมมะเป็นต้น. บทว่า ปหีนตฺตา คือ เพราะเป็นเหตุให้ละด้วยปหานะนั้นๆ. บทว่า าตฏฺเน าณํ ชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ ความว่า เนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ ด้วยสามารถพิจารณาฌาน วิปัสสนา มรรค แม้ใน บทนี้ว่า ทฏฺตฺตา ทสฺสนํ ชื่อว่าทัศนะ เพราะอรรถว่าเห็นก็มีนัยนี้เหมือน กัน ชื่อว่า โยคี เพราะบริสุทธิ์ คือ วิสุทธิมีเนกขัมมะเป็นต้น.

พึงทราบวินิจฉัยในเนกขัมมนิเทศ ดังต่อไปนี้. เนกขัมมะชื่อว่า นิสสรณะ (สลัดกาม) เพราะสลัดจากกามราคะเพราะไม่มีโลภ ชื่อว่า เนกขัมมะ เพราะออกจากกามราคะนั้น. เมื่อกล่าวว่า เนกขัมมะเป็นเครื่อง สลัดรูป เพื่อแสดงถึงความวิเศษ เพราะไม่แสดงความวิเศษของอรูป ท่าน

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 835

จึงกล่าวว่า ยทิทํ อารุปฺปํ อรูปฌานสลัดรูป ตามลำดับปาฐะที่ท่านกล่าวไว้ แล้วในที่อื่นนั่นแหละ. อนึ่ง อรูปฌานนั้น ชื่อว่าเนกขัมมะ เพราะออกจากรูป เพราะเหตุนั้นเป็นอันท่านกล่าวด้วยอธิการะ. บทว่า ภูตํ สิ่งที่เป็นแล้วเป็น บทแสดงถึงการประกอบสิ่งที่เกิดขึ้น. บทว่า สงฺขตํ สิ่งที่ปรุงแล้วเป็นบท แสดงถึงความวิเศษแห่งกำลังปัจจัย. บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนํ อาศัยกันเกิดขึ้น เป็นบทแสดงถึงความไม่ขวนขวายปัจจัย แม้ในการประกอบปัจจัย. บทว่า นิโรโธ ตสฺส เนกฺขมฺมํ นิโรธเป็นเนกขัมมะจากสิ่งที่มีที่เป็น คือนิพพาน ชื่อว่าเนกขัมมะจากสิ่งที่ปรุงแต่งนั้น เพราะออกจากสิ่งที่ปรุงแต่งนั้น การถือ อรูปฌานและนิโรธ ท่านทำแล้วตามลำดับดังกล่าวแล้วในปาฐะอื่น. เมื่อกล่าว ว่าการออกไปจากกามฉันทะเป็นเนกขัมมะ เป็นอันท่านกล่าวซ้ำอีก. ท่านไม่ กล่าวว่า ความสำเร็จแห่งการออกไปจากกามฉันทะ ด้วยคำว่าเนกขัมมะเท่านั้น แล้วกล่าวว่าเนกขัมมะที่เหลือ ข้อนั้นตรงแท้ แม้ในนิสสรณนิเทศก็พึงทราบ ความโดยนัยนี้แหละ อนึ่ง ธาตุเป็นเครื่องสลัดออกในนิเทศนี้ ท่านกล่าวว่า เป็นเนกขัมมะตรงทีเดียว.

บทว่า ปวิเวโก ความสงัด คือ ความสงัดเป็นเนกขัมมะเป็นต้นทีเดียว. บทว่า โวสฺสชฺชติ ย่อมปล่อยวาง คือ โยคี. เนกขัมมะเป็นต้นเป็นการ ปล่อยวาง. ท่านกล่าวว่าพระโยคาวจรประพฤติเนกขัมมะ ย่อมเที่ยวไปด้วย เนกขัมมะ. อนึ่ง เนกขัมมะนั้นเป็นจริยา แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้ ควรจะ กล่าวไว้ในฌานวิโมกขนิเทศ ท่านก็กล่าวไว้ในวิโมกขกถา ในวิโมกกถานั้น ท่านกล่าวว่า ฌานวิโมกฺโข หลุดพ้น เพราะฌานว่า ชานาติ ย่อมรู้อย่างเดียว. แต่ในฌานวิโมกขนิเทศนี้ มีความแปลกออกไป ว่าท่านแสดงเป็นบุคลาธิษฐานว่า ชายติ ย่อมเกิด.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 836

อนึ่ง ในภาวนาธิฏฐานชีวิตนิเทศ ท่านแสดงเป็นบุคลาธิษฐาน. แต่ตามธรรมดาเนกขัมมะเป็นต้นนั่นแหละ ชื่อว่า ภาวนา จิตที่ตั้งไว้ด้วย เนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่า อธิษฐาน สัมมาอาชีวะของผู้มีจิตตั้งไว้ด้วยเนกขัมมะ เป็นต้น ชื่อว่า ชีวิต. สัมมาอาชีวะนั้นเป็นอย่างไร การเว้นจากมิจฉาชีวะ และพยายามแสวงหาปัจจัยโดยธรรมโดยเสมอ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สมํ ชีวติ เป็นอยู่สงบ คือมีชีวิตอยู่อย่างสงบ อธิบายว่า เป็นอยู่โดยสงบ. บทว่า โน วิสมํ ไม่เป็นอยู่ไม่สงบ ท่านทำ เป็นอวธารณ (คำปฏิเสธ) ด้วยปฏิเสธความที่กล่าวว่า สมํ ชีวติ เป็นอยู่สงบ. บทว่า สมฺมา ชีวติ เป็นอยู่โดยชอบ เป็นบทชี้แจงอาการ. บทว่า โน มิจฺฉา ไม่เป็นอยู่ผิด คือกำหนดความเป็นอยู่นั้นนั่นเอง. บทว่า วิสุทฺธิ ชีวติ เป็นอยู่หมดจด คือมีชีวิตเป็นอยู่หมดจด ด้วยความหมดจดตามสภาพ. บทว่า โน กิลิฏฺิ ไม่เป็นอยู่เศร้าหมอง คือกำหนดความเป็นอยู่นั้นนั่นเอง. พระสารีบุตรเถระแสดงอานิสงส์แห่งสัมปทา ๓ ตามที่กล่าวแล้ว แห่งญาณ สมบัติด้วยบทมีอาทิว่า ยญฺเทว. บทว่า ยญฺเทว ตัดบทเป็น ยํ ยํ เอว. บทว่า ขตฺติยปรสํ คือประชุมพวกกษัตริย์. ท่านกล่าวว่าบริษัทเพราะนั่ง อยู่รอบๆ ไม่ต้องใช้ความรู้อะไรกัน ในอีก ๓ บริษัทนอกนี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน การถือเอาบริษัท ๔ เหล่านั้น เพราะประกอบด้วยอาคมสมบัติและญาณสมบัติ ของกษัตริย์เป็นต้นนั่นเอง มิใช่ด้วยบริษัทของพวกศูทร. บทว่า วิสารโท เป็นผู้แกล้วกล้า คือถึงพร้อมด้วยปัญญา ปราศจากความครั่นคร้าม คือไม่กลัว. บทว่า อมงฺกุโต ไม่เก้อเขิน คือไม่ขยาด มีความอาจหาญ. บทว่า ตํ กิสฺส เหตุ ข้อนั้นเพราะเหตุไร หากถามว่า ความเป็นผู้กล้าหาญนั้น ย่อมเป็นเพราะ เหตุไร เพราะการณ์ไร กล่าวถึงเหตุแห่งความกล้าหาญนั้นว่า ตถา หิ เพราะ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัมปทา ๓ คือ ภาวนา อธิษฐาน อาชีวะ ฉะนั้น พระ-

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 837

สารีบุตรเถระครั้น แสดงถึงเหตุแห่งความเป็นผู้กล้าหาญว่า วิสารโท โหติ เป็นผู้กล้าหาญแล้ว จึงให้จบลงด้วยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถามาติกากถา

แห่งอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคชื่อว่า สัทธัมมปกาสินี

จบการพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งจูฬวรรค

จบอรรถกถาแห่งปฏิสัมภิทามรรค ประดับด้วย ๓๐ กถา สงเคราะห์ ลงใน ๓ วรรค ด้วยเหตุเพียงนี้แล.

รวมกถาที่มีในปกรณ์ปฏิสัมภิทานั้นพร้อมกับอรรถกถา คือ

๑. ญาณกถา ๒. ทิฏฐิกถา ๓. อานาปานกถา ๔. อินทริยกถา ๕. วิโมกขกถา ๖. คติกถา ๗. กรรมกถา ๘. วิปัลลาสกถา ๙. มรรคกถา ๑๐. มัณฑเปยยกถา.

๑. ยุคนัทธกถา ๒. สัจจกถา ๓. โพชฌงคกถา ๔. เมตตากถา ๕. วิราคกถา ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๗. ธรรมจักรกถา ๘. โลกุตรกถา ๙. พลกถา ๑๐. สุญญกถา.

๑. มหาปัญญากถา ๒. อิทธิกถา ๓. อภิสมยกถา ๔. วิเวกกถา ๕. จริยากถา ๖. ปาฏิหาริยกถา ๗. สมสีสกถา ๘. สติปัฏฐานกถา ๙. วิปัสสนากถา ๑๐. มาติกากถา.

วรรค ๓ วรรคในปกรณ์ปฏิสันภิทา มีอรรถกว้างขวางลึกซึ้งในมรรค เป็นอนันตนัย เปรียบด้วยสาคร เหมือนนภากาศเกลื่อนกลาดด้วยดวงดาว และเช่นสระใหญ่ ความสว่างจ้าแห่งญาณของพระโยคีทั้งหลาย ย่อมมีได้โดย พิลาสแห่งคณะพระธรรมกถิกาจารย์ฉะนี้แล.

จบปฏิสัมภิทาลงด้วยประการฉะนี้