พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

มหากัสสปเถราปทานที่ ๕ (๓) ว่าด้วยผลแห่งการสร้างพุทธเจดีย์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  40991
อ่าน  421

[เล่มที่ 70] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 512

พุทธวรรคที่ ๑

๓. เถราปทาน

มหากัสสปเถราปทานที่ ๕ (๓)

ว่าด้วยผลแห่งการสร้างพุทธเจดีย์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 70]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 512

มหากัสสปเถราปทานที่ ๕ (๓)

ว่าด้วยผลแห่งการสร้างพุทธเจดีย์

[๕] ในกาลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ ผู้เป็นนาถะของโลก นิพพานแล้ว ชนทั้งหลายทำการบูชาพระศาสดา.

หมู่ชนมีจิตร่าเริงเบิกบานบันเทิง เมื่อเขาเหล่านั้นเกิด ความสังเวช ปีติย่อมเกิดแก่เรา.

เราประชุมญาติและมิตรแล้ว ได้กล่าวคำนี้ว่า พระมหาวีรเจ้าปรินิพพานแล้ว เชิญพวกเรามาทำการบูชากันเถิด.

พวกเขารับคำว่าสาธุแล้ว ทำความร่าเริงให้เกิดแก่เรา อย่างยิ่งว่า พวกเราจักทำการก่อสร้างบุญในพระพุทธเจ้า ผู้เป็นนาถะของโลก.

ได้ให้สร้างเจดีย์อันมีค่าทำอย่างเรียบร้อย สูง ๑๐๐ ศอก กว้าง ๑๕๐ ศอก พุ่งขึ้นในท้องฟ้า ดุจวิมาน.

ครั้นสร้างเจดีย์อันมีค่างดงามด้วยระเบียบอันดี ไว้ในที่ นั้นแล้ว ได้ยังจิตของตนให้เลื่อมใสบูชาเจดีย์อันอุดม.

เจดีย์นั้นย่อมรุ่งเรือง ดังกองไฟโพลงอยู่ในอากาศ ดัง เช่นพญารังดอกบานสะพรั่ง ย่อมสว่างไปทั่วทั้ง ๔ ทิศ เหมือน สายฟ้าในอากาศ.

เรายังจิตให้เลื่อมใสในห้องพระบรมธาตุนั้น ก่อสร้างกุศล เป็นอันมาก ระลึกถึงกรรมเก่าแล้วได้เข้าถึงไตรทศ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 513

เราอยู่บนยานทิพย์อันเทียมด้วยม้าสินธพพันตัว วิมาน ของเราสูงตระหง่าน สูงสุด ๗ ชั้น.

กูฏาคาร (ปราสาท) พันหนึ่ง สำเร็จด้วยทองคำล้วน ย่อม รุ่งเรือง ยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสวด้วยเดชของตน.

ในกาลนั้น ศาลาหน้ามุขแม้เหล่าอื่นอันสำเร็จด้วยแก้วมณี มีอยู่ แม้ศาลาหน้ามุขเหล่านั้น โชตช่วงด้วยรัศมีทั่ว ๔ ทิศ โดยรอบ.

กูฏาคารอันบังเกิดขึ้นด้วยบุญกรรม อันบุญกรรมนิรมิตไว้ เรียบร้อย สำเร็จด้วยแก้วมณี โชติช่วงทั่วทิศน้อยทิศใหญ่ โดยรอบ.

โอภาสแห่งกูฏาคารอันโชติช่วงอยู่เหล่านั้น เป็นสิ่ง ไพบูลย์ เราครอบงำเทวดาทั้งปวงได้ นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม.

เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดินามว่า อุพพิทธะ ครอบครอง แผ่นดินมีสมุทรสาครทั้งสี่เป็นขอบเขต ในหกหมื่นกัป.

ในภัทรกัปนี้ เราได้เป็นเหมือนอย่างนั้น ๓๐ ครั้ง คือ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีกำลังมาก ยินดีในกรรมของตน.

สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ ในครั้งนั้น ปราสาทของเราสว่างไสวดังสายฟ้า ด้านยาว ๒๔ โยชน์ ด้านกว้าง ๑๒ โยชน์.

นครชื่อรัมมกะ มีกำแพงและค่ายมั่นคง ด้านยาว ๕๐๐ โยชน์ ด้านกว้าง ๒๕๐ โยชน์ คับคั่งด้วยหมู่ชน เหมือน เทพนครของชาวไตรทศ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 514

เข็ม ๒๕ เล่ม เขาใส่ไว้ในกล่องเข็ม ย่อมกระทบกัน และกัน เบียดเสียดกันเป็นนิจ ฉันใด แม้นครของเรา ก็ ฉันนั้น เกลื่อนด้วยช้างม้าและรถ คับคั่งด้วยหมู่มนุษย์ น่า รื่นรมย์ เป็นนครอันอุดม.

เรากินและดื่มอยู่ในนครนั้น แล้วไปเกิดเป็นเทวดาอีก กุศลสมบัติได้มีแก่เราในภพสุดท้าย.

เราสมภพในสกุลพราหมณ์ สั่งสมรัตนะไว้มาก สละ ทรัพย์ ๘๐ โกฏิแล้วออกบวช. คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิ- สัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระมหากัสสปเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบมหากัสสปเถราปทาน

๓. พรรณนามหากัสสปเถราปทาน

คำว่า ปทุมุตฺตรสฺส ภควโต เป็นต้น เป็นอปทานของท่านพระมหากัสสปเถระ.

แม้พระมหากัสสปเถระนี้ ก็ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ ก่อนๆ สั่งสมบุญสมภารอันเป็นอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะไว้ในภพนั้นๆ ใน กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ได้เป็นกุฎุมพีมีทรัพย์ สมบัติ ๘๐ โกฏิ มีนามว่า เวเทหะ อยู่ในนครหังสวดี.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 515

กุฎุมพีนั้น เป็นอุบาสกนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นของเราอยู่ ในวันอุโบสถวันหนึ่ง บริโภคโภชนะดีแต่เช้าตรู่ ธิษฐานองค์อุโบสถแล้ว ถือของหอมและดอกไม้ไปวิหาร บูชาพระศาสดา นมัสการแล้วนั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

ก็ขณะนั้น พระศาสดาทรงตั้งพระสาวกที่สามนามว่า มหานิสภ- เถระ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิสภะนี้เป็นเลิศ แห่งภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ทรงธุดงค์และกล่าวสอนเรื่องธุดงค์. อุบาสกได้ฟังดังนั้นก็เลื่อมใส ในเวลาจบธรรมกถา เมื่อมหาชนลุกไปแล้ว จึงถวายบังคมพระศาสดาแล้วทูลนิมนต์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ พระองค์จงรับภิกษาของข้าพระองค์ ในวันพรุ่งนี้. พระศาสดาตรัสว่า อุบาสก ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่มาก. อุบาสกทูลถามว่า ภิกษุสงฆ์มีประมาณ เท่าไร พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า มีภิกษุประมาณหกล้านแปดแสน. อุบาสกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงรับภิกษาของ ข้าพระองค์ อย่าให้เหลือแม้สามเณรรูปเดียวไว้ในวิหาร. พระศาสดาทรง รับนิมนต์แล้ว. อุบาสกรู้ว่า พระศาสดาทรงรับนิมนต์แล้ว จึงไปเรือน ตระเตรียมมหาทาน ในวันรุ่งขึ้น ใช้ให้คนไปกราบทูลเวลาเสวยภัตตาหาร แด่พระศาสดา. พระศาสดาทรงถือบาตรและจีวรมีภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จ ไปยังเรือนของอุบาสก ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว ในเวลา เสร็จการถวายน้ำทักษิโณทก ทรงรับข้าวยาคูเป็นต้น ได้ทรงกระทำการ สละภัตตาหารเสีย. แม้อุบาสกก็นั่งอยู่ในที่ใกล้พระศาสดา.

ในระหว่างนั้น พระมหานิสภเถระ เที่ยวบิณฑบาตอยู่ ได้ดำเนิน ไปยังถนนนั้นเหมือนกัน. อุบาสกเห็น จึงลุกไปไหวพระเถระแล้วกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 516

ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงให้บาตร. พระเถระจึงได้ให้บาตร. อุบาสกกล่าว ว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเข้าไปในที่นี้เถิด แม้พระศาสดาก็ประทับนั่ง อยู่ในเรือน. พระเถระกล่าวว่า ไม่ควรดอก อุบาสก. เขาจึงถือเอาบาตร ของพระเถระบรรจุให้เต็มด้วยบิณฑบาตแล้วถวาย. แต่นั้นเขาตามส่งพระเถระแล้วกลับมานั่งในที่ใกล้พระศาสดา แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ พระมหานิสภเถระ แม้เมื่อข้าพระองค์กล่าวว่า แม้ พระศาสดาก็ประทับนั่งในเรือน ดังนี้ ก็ไม่ปรารถนาจะเข้ามา พระมหานิสภเถระนี้ มีคุณยิ่งกว่าคุณทั้งหลายของพระองค์หรือ. อันธรรมดาว่า วรรณมัจฉริยะ การตระหนี่คุณความดี ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนอุบาสก เราทั้งหลาย นั่งคอยภิกษาอยู่ในเรือน ภิกษุนั้นไม่นั่งมองดูภิกษาอย่างนั้น เราทั้งหลาย อยู่เสนาสนะใกล้บ้าน ภิกษุนั้นอยู่เฉพาะในป่าเท่านั้น. เราทั้งหลายอยู่ใน ที่มุงบัง ภิกษุนั้นอยู่เฉพาะกลางแจ้งเท่านั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคุณ ของพระนิสภเถระว่า คุณของเธอดังนี้และดังนี้ ประหนึ่งจะทำมหาสมุทร ให้เต็ม.

ฝ่ายอุบาสกเป็นผู้เลื่อมใสดียิ่งขึ้น เหมือนประทีปที่ลุกโพลงอยู่ตาม ปกติ ถูกราดด้วยน้ำมันฉะนั้น จึงคิดว่า เราจะประโยชน์อะไรด้วยสมบัติ อย่างอื่น ถ้ากระไรเราจักกระทำความปรารถนา เพื่อความเป็นผู้เลิศแห่ง ภิกษุทั้งหลายผู้ทรงธุดงค์และกล่าวสอนธุดงค์ ในศาสนาของพระพุทธเจ้า องค์หนึ่ง ในอนาคตกาล. เขาจึงนิมนต์พระศาสดาอีกครั้ง แล้วถวาย มหาทานโดยทำนองนั้นนั่นแหละตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๗ ถวายไตรจีวร แก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วหมอบลงแทบพระบาทของ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 517

พระศาสดา กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ ถวายทานอยู่ตลอด ๗ วัน เข้าไปตั้งเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรมอันใด ด้วยเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรมอันนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอย่างอื่น จะเป็นเทวสมบัติ หรือสักกสมบัติ มารสมบัติ และพรหมสมบัติก็ตาม. ก็กรรมของข้าพระองค์นี้ จงเป็นอธิการความดีแก่ความเป็นเลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้ทรง ธุดงค์ ๑๓ เพื่อต้องการถึงฐานันดรที่พระมหานิสภเถระถึงแล้ว ในสำนัก ของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ในอนาคตกาล. พระศาสดาทรงตรวจดูว่า อุบาสกนี้ปรารถนาตำแหน่งใหญ่หลวง จักสำเร็จหรือไม่หนอ ทรงเห็นว่า สำเร็จ จึงตรัสพยากรณ์ว่า ท่านปรารถนาตำแหน่งอันเป็นที่ชื่นใจ, ใน อนาคตกาล ในที่สุดแสนกัป พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมจักอุบัติขึ้น ท่านจักเป็นพระสาวกที่สามของพระพุทธเจ้านั้น จักเป็นผู้ชื่อว่า มหากัสสปเถระ, อุบาสกได้ฟังดังนั้น จึงมนสิการว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้า ทั้งหลายไม่มีพระดำรัสเป็นสอง ได้สำคัญสมบัตินั้น ประหนึ่งจะพึงได้ใน วันรุ่งขึ้น. เขาให้ทาน สมาทานศีล แล้วรักษาไว้ ตลอดชั่วอายุ กระทำ บุญกรรมมีประการต่างๆ กระทำกาละแล้วไปบังเกิดในสวรรค์.

จำเดิมแต่นั้น อุบาสกนั้น เสวยสมบัติอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เมื่อพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปอาศัย พันธุมดีนคร ประทับอยู่ในเขมมฤคทายวัน จึงจุติจากเทวโลก บังเกิด ในตระกูลพราหมณ์แก่ตระกูลหนึ่ง.

ก็ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีตรัสธรรม ใน ปีที่ ๗. ได้มีความโกลาหลอย่างใหญ่หลวง. เหล่าเทวดาในชมพูทวีป

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 518

ทั้งสิ้น บอกกันว่า พระศาสดาจักตรัสธรรม. พราหมณ์ได้ยินข่าวนั้น. พราหมณ์นั้นมีผ้าสาฎกสำหรับนุ่งผืนเดียวเท่านั้น นางพราหมณีก็มีผ้าสาฎก สำหรับนุ่งผืนเดียวเหมือนกัน. แต่คนทั้งสองมีผ้าห่มผืนเดียวเท่านั้น. พราหมณ์นั้นจึงปรากฏในพระนครทั้งสิ้นว่า เอกสาฎกพราหมณ์.

พราหมณ์นั้น เมื่อมีการประชุมพวกพราหมณ์ด้วยกิจเฉพาะบางอย่าง จึงเว้นนางพราหมณีไว้ในเรือน ตนเองห่มผ้าผืนนั้นไป. เมื่อมีการประชุม พวกนางพราหมณี ตนเองก็อยู่ในเรือน นางพราหมณีจึงห่มผ้าผืนนั้นไป.

ก็ในวันนั้น พราหมณ์นั้นกล่าวกะนางพราหมณีว่า นี่แน่ะนาง ผู้เจริญ เธอจักฟังธรรมกลางคืนหรือกลางวัน. นางพราหมณีกล่าวว่า นาย ดิฉันเป็นมาตุคามมีชาติขลาดกลัว ไม่อาจฟังธรรมในตอนกลางคืน ดิฉันจักฟังกลางวัน จึงเว้นพราหมณ์นั้นไว้ในเรือน ห่มผ้านั้นไปวิหาร พร้อมกับเหล่าอุบาสิกา ถวายบังคมพระศาสดาแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ฟังธรรมแล้วได้ไปกับพวกอุบาสิกา. ทีนั้น พราหมณ์จึงเว้นนางพราหมณี ไว้ในเรือน แล้วห่มผ้านั้นไปวิหาร.

ก็สมัยนั้น พระศาสดาประทับนั่งบนธรรมาสน์ที่ประดับประดา อยู่ ในท่ามกลางบริษัท ทรงจับพัดอันวิจิตรตรัสธรรมกถา เสมือนทำคงคา ในอากาศให้หลั่งลง และดุจกระทำเขาสิเนรุให้เป็นโม่แล้วกวนสาคร ฉะนั้น. เมื่อพราหมณ์นั่งอยู่ท้ายสุดบริษัทฟังธรรมอยู่ ปีติมีวรรณะ ๕ ประการ ทำสรีระให้เต็มเกิดขึ้น ในเวลาปฐมยามทีเดียว. เขาจึงพับผ้าที่ ห่มแล้วคิดว่า จักถวายแด่พระทศพล. ทีนั้น ความตระหนี่อันแสดงโทษ ตั้งพันเกิดแก่พราหมณ์นั้น เขาคิดว่า นางพราหมณีและเรามีผ้าห่มผืน เดียวเท่านั้น ชื่อว่าผ้าห่มไรๆ อื่น ย่อมไม่มี เราไม่อาจะเพื่อจะไม่ห่มผ้า

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 519

เที่ยวไปข้างนอกได้ ดังนี้ จึงได้เป็นผู้ประสงค์จะไม่ถวายแม้โดยประการ ทั้งปวง. ครั้นเมื่อปฐมยามล่วงไป แม้ในมัชฌิมยาม ปีติก็เกิดแก่เขา เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. เขาคิดเหมือนอย่างนั้น ได้เป้นผู้ประสงค์จะ ไม่ถวายอย่างนั้นเหมือนกัน. ครั้นเมื่อมัชฌิมยามล่วงไป ปีติเกิดขึ้นแก่เขา แม้ในปัจฉิมยามเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. ในกาลนั้น เขาชนะความ ตระหนี่ พับผ้าแล้ววางไว้แทบพระบาทของพระศาสดา แต่นั้น จึงงอ มือซ้าย เอามือขวาปรบบันลือ ๓ ครั้ง ว่า ชิตํ เม ชิตํ เม เราชนะ แล้วๆ.

สมัยนั้น พระเจ้าพันธุมราช ประทับนั่งสดับธรรมอยู่ภายในม่าน หลังธรรมาสน์ ก็ธรรมดาพระราชาย่อมไม่ทรงโปรดเสียงว่า ชิตํ เม เรา ชนะ. พระราชาจึงทรงสั่งบุรุษว่า พนาย เธอจงไปถามพราหมณ์นั้นว่า เขาพูดอะไร. พราหมณ์อันบุรุษนั้นมาถามแล้ว จึงกล่าวว่า พวกคนที่เหลือ ขึ้นยานคือช้างเป็นต้น ถือดาบและโล่เป็นต้น จึงชนะเสนาของพระราชาอื่น ข้อนั้นไม่น่าอัศจรรย์ ส่วนเราชนะจิตอันตระหนี่ ได้ถวายผ้าห่มแด่พระทศพล เหมือนคนเอาค้อนทุบหัวโคโกงที่เดินตามมาข้างหลัง ทำให้มัน หนีไปฉะนั้น. ความตระหนี่ที่เราชนะนั้นน่าอัศจรรย์. บุรุษนั้นจึงกลับมา กราบทูลเรื่องราวนั้นแก่พระราชา. พระราชาตรัสว่า นี่แน่ะพนาย เรา ทั้งหลายไม่รู้ความเหมาะสมแก่พระทศพล พราหมณ์ย่อมรู้ ดังนี้. ทรง เลื่อมใสพราหมณ์นั้นได้ทรงส่งคู่ผ้าไปให้.

พราหมณ์เห็นดังนั้นจึงคิดว่า พระราชา ไม่ทรงประทานอะไรๆ ครั้งแรกแก่เราผู้นั่งนิ่ง แล้วได้ประทานแก่เราผู้กล่าวคุณทั้งหลายของ พระศาสดา ผ้าคู่นี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยพระคุณทั้งหลายของพระศาสดา จึง

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 520

สมควรแก่พระศาสดาเท่านั้น ครั้นคิดแล้วได้ถวายคู่ผ้าแม้นั้นแก่พระทศพล. พระราชาตรัสถามว่า พราหมณ์กระทำอย่างไร. ทรงสดับว่า เขาถวายคู่ผ้าแม้นั้นแก่พระตถาคตเท่านั้น จึงให้ส่งคู่ผ้า ๒ คู่แม้อื่นไปให้. พราหมณ์ก็ได้ถวายคู่ผ้าแม้เหล่านั้นแก่พระศาสดา. พระราชาทรงให้ส่ง คู่ผ้า ๔ คู่แม้อื่นอีกไปประทาน รวมความว่า ตรัสอย่างนั้นแล้วทรงให้ส่ง คู่ผ้าไปจนกระทั่ง ๓๒ คู่.

ลำดับนั้น พราหมณ์คิดว่า การกระทำดังนี้ ย่อมเป็นเสมือนจะให้ เพิ่มขึ้นๆ (มากๆ) แล้วจึงรับเอา คือรับเอาคู่ผ้า ๒ คู่ คือคู่หนึ่งเพื่อตน คู่หนึ่งเพื่อนางพราหมณี แล้วได้ถวายเฉพาะตถาคต ๓๐ คู่ และตั้งแต่นั้น เขาเป็นผู้คุ้นเคยกับพระศาสดา.

ครั้นวันหนึ่ง ในฤดูหนาวเย็น พระราชาทอดพระเนตรเห็น พราหมณ์นั้นฟังธรรมอยู่ในสำนักของพระศาสดา จึงประทานผ้ากัมพลแดง ที่พระองค์ห่มอันมีค่าแสนหนึ่ง แล้วตรัสว่า ตั้งแต่นี้ไป ท่านจงห่มผ้า กัมพลนี้ฟังธรรม. พราหมณ์คิดว่า เราจะประโยชน์อะไรด้วยผ้ากัมพลนี้ อันจะนำเข้าไปในกายอันเปื่อยเน่านี้ จึงกระทำเพดานในเบื้องบนเตียง ของพระตถาคตในภายในพระคันธกุฎีแล้วก็ไป.

อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปยังพระวิหารแต่เช้าตรู่ ประทับนั่ง ในสำนักของพระศาสดา ในภายในพระคันธกุฎี. ขณะนั้น พระพุทธรัศมี มีพรรณะ ๖ ประการ กระทบที่ผ้ากัมพล. ผ้ากัมพลเปล่งแสงเจิดจ้า. พระราชาทรงแหงนดู ทรงจำได้ รับสั่งว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี่ผ้า กัมพลของกระหม่อมฉันๆ ให้เอกสาฎกพราหมณ์. พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร พระองค์บูชาพราหมณ์ พราหมณ์บูชาเราตถาคต.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 521

พระราชาทรงดำริว่า พราหมณ์รู้สิ่งที่ควร เราไม่รู้จึงทรงเลื่อมใส ได้ทรงกระทำสิ่งที่เป็นอุปการะแก่หมู่คนทั้งหมดนั้น ให้เป็น ๘ หมวด หมวดละ ๘ สิ่ง ทรงให้ทานชื่อว่าสัพพัตถกะ (สารพัดประโยชน์) แล้ว ทรงตั้งพราหมณ์ไว้ในตำแหน่งปุโรหิต. ฝ่ายพราหมณ์นั้นเข้าไปตั้ง สลากภัต ๖๔ ที่ คือชื่อว่าหมวดละแปด ๘ ที่ เป็น ๖๔ ที่ แล้วให้ทาน รักษาศีลตลอดชีวิต จุติจากอัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในสวรรค์.

จุติจากสวรรค์นั้นอีก ในกัปนี้บังเกิดในตระกูลกุฎุมพีในนคร พาราณสี ระหว่างพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะและพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ. เขาอาศัย ความเจริญอยู่ครองเรือน วันหนึ่ง เสด็จเที่ยวพักผ่อนอยู่ในป่า. ก็สมัยนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้ากระทำจีวรกรรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ เมื่อผ้าอนุวาตไม่เพียงพอ จึงเริ่มพับเก็บไว้. เขาเห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุไร ท่านจึงพับเก็บไว้. พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า ผ้าอนุวาตไม่เพียงพอ. เขาจึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงทำด้วยผ้านี้ แล้วถวายผ้าห่ม ได้ กระทำความปรารถนาว่า ความเสื่อมไรๆ จงอย่าใดมีแก่ข้าพเจ้าในที่ที่ เกิดแล้วๆ.

เมื่อภรรยากับน้องสาวก่อการทะเลาะกัน พระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไป บิณฑบาตแม้ในเรือนของเขา. ครั้งนั้น น้องสาวของเขาได้ถวายบิณฑบาต แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วหมายเอาภรรยาของเขาตั้งความปรารถนาว่า เราพึงเว้นหญิงพาลเห็นปานนี้ ๑๐๐ โยชน์. นางยืนอยู่ที่ลานบ้านได้ยิน เข้าจึงคิดว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านี้จงอย่าได้บริโภคภัตที่หญิงนี้ถวาย จึง รับบาตรเทภัตทิ้งเสีย แล้วได้บรรจุให้เต็มด้วยเปือกตมถวาย. น้องสาว

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 522

ของเขาเห็นจึงกล่าวว่า นางหญิงพาล เจ้าจงด่าหรือจงประหารเราก่อนเถอะ ก็การทิ้งภัตจากบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ได้บำเพ็ญบารมีมาสอง อสงไขยเห็นปานนี้ แล้วให้เปือกตม ไม่ควร.

ครั้งนั้น ภรรยาของเขาเกิดการพิจารณาขึ้นมาได้. นางจึงกล่าวว่า โปรดหยุดก่อนเจ้าข้า แล้วเทเปือกตมทิ้ง ล้างบาตรแล้วระบมด้วยผง เครื่องหอม บรรจุให้เต็มด้วยภัตอันประณีต และด้วยของมีรสอร่อยทั้งสี่ ให้เต็ม แล้ววางบาตรอันแพรวพราวด้วยเนยใสมีสีดังกลีบปทุมลาดไว้ ข้างบน ลงในมือของพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วได้กระทำความปรารถนา ว่า บิณฑบาตนี้เกิดโอภาสได้ ฉันใด ร่างกายของเราจงเกิดโอภาส ฉันนั้น เถิด. พระปัจเจกพุทธเจ้าอนุโมทนาแล้วเหาะไปยังอากาศ.

ผัวเมียทั้งสองแม้นั้นดำรงอยู่ตลอดชั่วอายุ เคลื่อนจากอัตภาพนั้น แล้วบังเกิดในสวรรค์. จุติจากสวรรค์นั้นอีก เกิดเป็นอุบาสกในตระกูล ที่สมบรูณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏิ ในนครพาราณสี ในกาลแห่ง พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า. ฝ่ายภรรยาบังเกิดเป็นธิดาของเศรษฐี ผู้เช่นนั้นเหมือนกัน. เมื่อเขาเจริญวัยแล้ว บิดามารดาจึงนำธิดาของเศรษฐีนั้น นั่นแหละมา. ด้วยอานุภาพของกรรมอันลามก ซึ่งมีวิบากอันไม่น่า ปรารถนาในชาติก่อน เมื่อนางสักว่าเข้าไปยังตระกูลสามี เรือนทั้งสิ้น จำเดิมแต่ระหว่างธรณีประตูเข้าไป เกิดกลิ่นเหม็นประดุจหลุมคูถที่เขา เปิดไว้ฉะนั้น. กุมารถามว่า นี่กลิ่นของใคร ได้ฟังว่า ของธิดาเศรษฐี จึงกล่าวว่า จงนำนางออกไป แล้วให้ส่งไปยังเรือนตระกูลของนางทันที. นางกลับมาโดยทำนองนั้นนั่นแล ๗ ฐานะ.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 523

สมัยนั้น พระกัสสปทศพลปรินิพพานแล้ว. ชนทั้งหลายก่อพระเจดีย์ของพระองค์สูงโยชน์หนึ่ง ด้วยอิฐทองคำมีค่าแสนหนึ่ง. เมื่อเขา กำลังพากันก่อเจดีย์นั้นอยู่ ธิดาเศรษฐีนั้นคิดว่า เรากลับแล้วในฐานะ ทั้ง ๗ เราจะประโยชน์อะไรด้วยชีวิต จึงให้หักยุบสิ่งของเครื่องประดับของ ตนให้กระทำเป็นอิฐทองคำ ยาว ๑ ศอก กว้าง ๑ คืบ สูง ๔ นิ้ว. แต่นั้น จึงถือเอาก้อนหรดาลและมโนศิลา แล้วถือดอกอุบล ๘ กำ ไปยังที่ที่ก่อ พระเจดีย์. ก็ขณะนั้น แถวอิฐแห่งหนึ่งวงมาขาดอิฐสำหรับเชื่อมต่อ. ธิดาเศรษฐีจึงกล่าวกะนายช่างว่า ท่านจงวางอิฐของเราก้อนนี้ลงในที่นี้. นายช่างกล่าวว่า แม่นาง ท่านมาได้เวลาพอดี ท่านจงวางด้วยตัวเองเถิด. นางจึงขึ้นไปเอาน้ำมันเคลือบก้อนหรดาลและมโนศิลาแล้ว เอาเครื่องเชื่อมนั้นตั้งติดอิฐ. แล้วทำการบูชาด้วยดอกอุบล ๘ กำนั้นในเบื้องบน ไหว้แล้วทำความปรารถนาว่า ในที่ที่เกิดแล้วๆ ขอให้กลิ่นจันทน์ฟุ้งออก จากกายของข้าพเจ้า ขอให้กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปาก เสร็จแล้วไหว้พระเจดีย์ กระทำประทักษิณแล้วได้กลับไปเรือน ขณะนั้นเอง สติปรารภถึง นางเกิดขึ้นแก่บุตรเศรษฐีผู้ที่นำนางไปเรือนครั้งแรก. แม้ในพระนคร ก็มีการป่าวร้องการนักขัตฤกษ์. บุตรเศรษฐีนั้นกล่าวกะพวกอุปัฏฐากว่า ธิดาเศรษฐีที่นำมาที่นี้ อยู่ไหน. พวกอุปัฏฐากกล่าวว่า อยู่ที่เรือนของ ตระกูลครับนาย. บุตรเศรษฐีกล่าวว่า พวกท่านจงไปนำนางมา เราจัก เล่นนักขัตฤกษ์. อุปัฏฐากเหล่านั้นไปไหว้นางแล้วยืนอยู่. ผู้อันนางถามว่า นี่แนะพ่อทั้งหลาย พวกท่านมาทำไมกัน จึงพากันบอกเรื่องราวนั้นแก่ นาง. นางกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย เราเอาสิ่งของเครื่องประดับบูชาพระเจดีย์เสียแล้ว เราไม่มีเครื่องประดับ. อุปัฏฐากเหล่านั้น จึงไปบอกแก่

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 524

บุตรเศรษฐี. บุตรเศรษฐีกล่าวว่า พวกท่านจงนำนางมาเถอะ นางจัก ได้เครื่องประดับ. อุปัฏฐากเหล่านั้นจึงนำนางมา. พร้อมกับให้นางเข้าไป ยังเรือน กลิ่นจันทน์และกลิ่นอุบลฟุ้งไปตลอดทั้งเรือน. บุตรเศรษฐีถาม นางว่า นางผู้เจริญ ทีแรก กลิ่นเหม็นฟุ้งออกจากร่างกายของเธอ แต่ บัดนี้ กลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากร่างกายของเธอ กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปาก, นี่อะไรกัน? นางจึงบอกกรรมที่ตนกระทำตั้งแต่ต้น. บุตรเศรษฐีคิดว่า พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์หนอ จึงเลื่อมใส ให้เอาเสื้อ ที่ทำด้วยผ้ากัมพลหุ้มพระเจดีย์ทองอันสูงหนึ่งโยชน์ แล้วได้ประดับประดา ด้วยปทุมทอง ขนาดเท่าล้อรถในที่นั้นๆ เหล่าปทุมทองที่ห้อยมี ประมาณ ๑๒ ศอก.

บุตรเศรษฐีนั้นดำรงอยู่ในอัตภาพนั้นตลอดชั่วอายุ จุติจากอัตภาพ นั้นไปบังเกิดในสวรรค์ จุติจากสวรรค์นั้นอีก แล้วมาบังเกิดในตระกูล อำมาตย์ตระกูลหนึ่ง ในที่ประมาณหนึ่งโยชน์จากนครพาราณสี. ส่วน ภรรยาของเขาจุติจากเทวโลกเกิดเป็นราชธิดาพระองค์ใหญ่ในราชสกุล เมื่อคนทั้งสองนั้นถึงความเจริญวัยแล้ว เขาป่าวร้องงานนักขัตฤกษ์ในบ้าน ที่อยู่ของกุมาร. กุมารนั้นกล่าวกะมารดาว่า แม่จ๋า แม่จงให้ผ้าสาฎกฉัน ฉันจักเล่นงานนักขัตฤกษ์. มารดาจึงได้นำผ้าที่ซักแล้วมาให้. กุมารกล่าว ว่า แม่จ๋า ผ้าผืนนี้หยาบ. มารดาจึงได้นำผ้าผืนอื่นมาให้. แม้ผ้าผืนนั้น เขาก็ปฏิเสธเสีย. ทีนั้น มารดาจึงกล่าวกะเขาว่า นี่แน่ะพ่อ พวกเราเกิด ในเรือนเช่นไร พวกเราไม่มีบุญเพื่อจะได้ผ้าที่เนื้อละเอียดกว่านี้. กุมาร กล่าวว่า แม่จ๋า ถ้าอย่างนั้น ฉันจะไปยังที่ที่จะได้. มารดากล่าวว่า ลูกเอ๋ย แม่ปรารถนาจะให้เจ้าได้ราชสมบัติในนครพาราณสี ในวันนี้ทีเดียว. กุมาร

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 525

ไหว้มารดาแล้วกล่าวว่า ฉันไปละแม่. มารดากล่าวว่า ไปเถอะพ่อ. ก็ กุมารนั้นออกไปตามกำหนดของบุญ ไปถึงนครพาราณสี แล้วนอน คลุมโปงอยู่บนแผ่นศิลาอันเป็นมงคลในอุทยาน. ก็วันนั้นเป็นวันที่ ๗ ที่พระเจ้าพาราณสีสวรรคต.

อำมาตย์ทั่งหลายทำการถวายพระเพลิงแล้ว นั่งอยู่ที่พระลานหลวง ปรึกษากันว่า พระราชาทรงมีแต่พระธิดาองค์เดียว ไม่มีพระโอรส ราชสมบัติที่ไม่มีพระราชาจักพินาศ ใครควรเป็นพระราชา. พวกอำมาตย์ ต่างกล่าวว่า ท่านจงเป็น ท่านจงเป็น. ปุโรหิตกล่าวว่า ไม่ควรเลือกมาก พวกเราจักปล่อยผุสสรถ. อำมาตย์เหล่านั้นจึงเทียมม้าสินธพ ๔ ตัว มีสี ดังดอกโกมุท แล้ววางราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่าง และเศวตฉัตรไว้บนผุสสรถนั้น แล้วปล่อยรถไป ให้ประโคมดนตรีตามหลังไป รถออกทางประตู ด้านทิศตะวันออก มุ่งหน้าไปยังอุทยาน. อำมาตย์บางพวกกล่าวว่า รถ บ่ายหน้ามุ่งไปอุทยาน เพราะความคุ้นเคย พวกเราจงให้รถกลับ. ปุโรหิต กล่าวว่า พวกท่านอย่าให้รถกลับ. รถไปกระทำประทักษิณกุมารแล้วทำท่า จะเกยขึ้นก็หยุดอยู่. ปุโรหิตเลิกชายผ้าห่มตรวจดูพื้นเท้ากล่าวว่า ทวีปนี้ จงยกไว้ ผู้นี้สมควรครองราชสมบัติในมหาทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพัน เป็นบริวาร แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงประโคมดนตรี แล้วให้ประโคม ดนตรี ๓ ครั้ง.

ลำดับนั้น กุมารเปิดหน้าแลดูอยู่พลางกล่าวว่า ท่านทั้งหลายพากัน มาด้วยกรรมอะไร. อำมาตย์ทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่เทวะ ราชสมบัติถึงแก่ พระองค์. กุมารกล่าวว่า พระราชาของพวกท่านไปไหน. พวกอำมาตย์ กล่าวว่า ข้าแต่นาย พระราชาเสด็จไปสู่ความเป็นเทวดาเสียแล้ว. กุมาร

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 526

กล่าวว่า ล่วงไปกี่วันแล้ว. อำมาตย์. วันนี้เป็นวันที่ ๗. กุมาร. พระโอรส หรือพระธิดาไม่มีหรือ. พวกอำมาตย์. ข้าแต่เทวะ พระธิดามี, พระโอรส ไม่มี. กุมารกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เราจักครองราชสมบัติ. อำมาตย์ เหล่านั้นจึงให้สร้างมณฑปสำหรับอภิเษกขึ้นในทันใดนั้น แล้วประดับประดาพระราชธิดาด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง พาไปอุทยาน ได้กระทำ การอภิเษกแก่กุมาร. ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลายจึงนำผ้ามีค่าแสนหนึ่ง เข้าไปเพื่อกุมารผู้ทำการอภิเษกแล้ว. พระกุมารตรัสว่า พ่อทั้งหลาย นี้ อะไรกัน.

พวกอำมาตย์. ข้าแต่เทวะห ผ้าสำหรับนุ่ง.

พระกุมาร. พ่อทั้งหลาย ผ้าเนื้อหยาบมิใช่หรือ.

พวกอำมาตย์. ข้าแต่เทวะ บรรดาผ้าสำหรับใช้สอยของมนุษย์ ผ้า ที่เนื้อนุ่มกว่านี้ไม่มี.

พระกุมาร. พระราชาของท่านทั้งหลาย ทรงนุ่งผ้าเห็นปานนี้หรือ.

พวกอำมาตย์. ข้าแต่เทวะ พระเจ้าข้า.

พระกุมารตรัสว่า พระราชาของท่านทั้งหลาย เห็นจะไม่มีบุญ แล้ว ให้นำพระสุวรรณภิงคารมาด้วยพระดำรัสว่า ท่านทั้งหลายจงนำสุวรรณภิงคารมา เราจักได้ผ้า แล้วเสด็จลุกขึ้นไปล้างพระหัตถ์ บ้วนพระโอฐ แล้วเอาพระหัตถ์วักน้ำประพรมไปในทิศตะวันออก ต้นกัลปพฤกษ์ ๘ ต้น ชำแรกแผ่นดินทึบผุดขึ้น. ทรงวักน้ำประพรมไปในทิศใต้ ทิศตะวันตก และทิศเหนืออีก รวมความว่าทรงประพรมไปทั้ง ๔ ทิศ. ต้นกัลปพฤกษ์ ๓๒ ต้น ผุดขึ้น โดยทำให้มีทิศละ ๘ ต้นๆ ในทิศทั้งปวง. พระกุมาร นั้นทรงนุ่งผ้าทิพย์ผืนหนึ่ง ทรงห่มผืนหนึ่ง แล้วตรัสว่า ท่านทั้งหลายจง

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 527

เที่ยวตีกลองป่าวร้องอย่างนี้ว่า ในแว่นแคว้นของพระเจ้านันทราช สตรี ทั่งหลายผู้กรอด้าย อย่ากรอด้ายเลย แล้วให้ยกฉัตร ประดับตกแต่งเสด็จ ไปบนคอช้างตัวประเสริฐ เสด็จเข้าพระนคร ขึ้นสู่ปราสาทเสวยมหาสมบัติอยู่.

เมื่อเวลาดำเนินไปอยู่อย่างนี้ พระเทวีเห็นสมบัติของพระราชาแล้ว ทรงแสดงอาการของผู้มีความสงสารว่า โอ น่าสงสารหนอ ท่านผู้มีตบะ, ถูกพระราชาตรัสถามว่า เทวี นี้อะไรกัน? จึงทูลว่า ข้าแต่เทวะ สมบัติของ พระองค์ใหญ่ยิ่งนัก ผลแห่งกรรมดีที่พระองค์ทรงเชื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วกระทำไว้ในอดีต แต่เดี๋ยวนี้ พระองค์ไม่ทรงกระทำบุญอันเป็นปัจจัย แก่อนาคต.

พระราชาตรัสว่า เราจักให้แก่ใคร ผู้มีศีลไม่มี. พระเทวีทูลว่า เทวะ ชมพูทวีปไม่สูญจากพระอรหันต์ทั้งหลาย. เทวะ ขอพระองค์จง ตระเตรียมทานไว้ หม่อมฉันจักได้พระอรหันต์.

ในวันรุ่งขึ้น พระราชาทรงให้ตระเตรียมทานไว้ที่ประตูด้านทิศ ตะวันออก. พระเทวีทรงอธิษฐานองค์อุโบสถแต่เช้าตรู่ นอนพังพาบ บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออก ณ ปราสาทชั้นบน แล้วกล่าวว่า ถ้าพระอรหันต์ทั้งหลายมีอยู่ในทิศนี้ พรุ่งนี้ ขอจงมารับภิกษาของข้าพเจ้าทั้งหลาย ในทิศนั้น ไม่มีพระอรหันต์ จึงได้ประทานสักการะนั้นแก่คนกำพร้าและ ยาจกทั้งหลาย.

ในวันรุ่งขึ้น ทรงตระเตรียมทานไว้ที่ประตูด้านทิศใต้ ไม่ได้พระทักขิไณยบุคคลเหมือนอย่างนั้นแหละ. แม้ในวันรุ่งขึ้นก็ทรงตระเตรียมไว้ ที่ประตูด้านทิศตะวันตก ก็ไม่ได้พระทักขิไณยบุคคลเหมือนอย่างนั้นนั่น-

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 528

แหละ. แต่ในวันที่ได้ตระเตรียมไว้ที่ประตูด้านทิศเหนือ เมื่อพระเทวี นิมนต์เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ พระมหาปทุมปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เป็น พี่ชายของพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ ผู้เป็นโอรสของพระนางปทุมวดี ซึ่ง อยู่ในหิมวันตประเทศ เรียกพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เป็นน้องชายมาว่า ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พระเจ้านันทราชนิมนต์ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงรับนิมนต์ของท้าวเธอเถิด. พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นรับนิมนต์แล้ว ในวันรุ่งขึ้นล้างหน้าที่สระอโนดาตแล้ว เหาะมาทางอากาศลงที่ประตูด้าน ทิศเหนือ. คนทั้งหลายเห็นแล้ว จึงไปกราบทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่ เทวะ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์มาแล้ว.

พระราชาพร้อมกับพระเทวีพากันไปไหว้แล้วนำขึ้นสู่ปราสาท ถวาย ทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ณ ปราสาทนั้น ในเวลาเสร็จภัตกิจ พระราชาทรงหมอบลงแทบเท้าของพระสังฆเถระ พระเทวีทรงหมอบลง แทบเท้าพระสังฆนวกะ แล้วตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้า ทั้งหลายจักไม่ลำบากเรื่องปัจจัย และข้าพเจ้าทั้งหลายจักไม่เสื่อมจากบุญ ขอท่านทั้งหลายจงให้ปฏิญญาแก่ข้าพเจ้าทั่งหลาย เพื่อจะอยู่ในที่นี้ตลอดชั่วอายุ. ให้พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นทำปฏิญญาแล้ว ทำที่อยู่อาศัยให้ พร้อมเสร็จด้วยอาการทุกอย่าง คือบรรณศาลา ๕๐๐ ที่จงกรม ๕๐๐ ใน พระอุทยาน แล้วให้อยู่ในที่นั้น.

เมื่อกาลเวลาล่วงไปอย่างนี้ เมื่อปัจจันตชนบทของพระราชาเกิด จลาจลขึ้น พระราชาตรัสว่า เราจะไปปราบปรามปัจจันตชนบทให้สงบ ราบคาบ เธออย่าประมาทพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายดังนี้ ทรงโอวาท พระเทวีแล้วเสด็จไป. เมื่อพระราชายังไม่ทันจะเสด็จกลับมา อายุสังขาร ของพระปัจเจกพุทธเจ้าก็สิ้นไป. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหมดนั่นแล

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 529

ปรินิพพานแล้ว ด้วยประการดังนี้ คือ พระมหาปทุมปัจเจกพุทธเจ้า เล่นฌานอยู่ตลอดยามสามแห่งราตรี ในเวลาอรุณขึ้น ได้ยืนเหนี่ยวแผ่น กระดานสำหรับเหนี่ยว ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ฝ่าย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายที่เหลือ ก็ปรินิพพานโดยอุบายนั้น. วันรุ่งขึ้น พระเทวีจัดแจงที่นั่งสำหรับพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วโปรยดอกไม้ อบธูป ประทับนั่งแลดูการมาของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ครั้นไม่ เห็นมา จึงส่งพวกบุรุษไปด้วยพระดำรัสว่า นี่แน่ะพ่อทั้งหลาย ท่าน ทั้งหลายจงไป จงรู้พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไม่ผาสุกอย่างไร. บุรุษเหล่านั้น พากันไป แล้วเปิดประตูบรรณศาลาของพระมหาปทุม เมื่อไม่เห็นท่าน ในที่นั้น จึงไปยังที่จงกรม เห็นท่านยืนพิงแผ่นกระดานสำหรับเหนี่ยว จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ได้เวลาแล้ว. สรีระของท่านผู้ปรินิพพานแล้ว จักพูดได้อย่างไร. บุรุษเหล่านั้นกล่าวว่า เห็นจะหลับ จึงเอามือลูบที่ หลังเท้า รู้ว่าปรินิพพานแล้ว เพราะเท้าทั้งสองเย็นและแข็ง จึงไปยัง สำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ที่สอง รู้ได้อย่างนั้นเหมือนกัน จึงไป ยังสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ที่สาม เขาแม้ทั้งหมดรู้ว่าท่านปริ- นิพพานแล้ว อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ จึงพากันกลับมายังราชสกุล อัน พระเทวีตรัสถามว่า พ่อทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าไปไหน จึงกราบทูล ว่า ปรินิพพานแล้ว พระเจ้าข้า. พระเทวีทรงกันแสงคร่ำครวญ เสด็จ ออกไป ณ ที่นั้นพร้อมกับพวกชาวเมือง ทรงให้การทำสาธุกีฬา แล้วทรง ให้ทำฌาปนกิจสรีระของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วให้เอาพระธาตุ ทั้งหลายมาก่อพระเจดีย์ไว้.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 530

พระราชาทรงปราบปรามปัจ จันตชนบทให้สงบราบคาบแล้วเสด็จ กลับมา จึงตรัสถามพระเทวีผู้เสด็จมาต้อนรับว่า พระนางผู้เจริญ เธอ ไม่ประมาทในพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายหรือ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย สบายดีหรือ. พระเทวีกราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ปรินิพพานเสียแล้ว. พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น ทรงดำริว่า ความตายยัง เกิดขึ้นแก่บัณฑิตทั้งหลายแม้เห็นปานนี้ ความพ้นจากความตาย จักมี แก่พวกเรามาแต่ไหน. พระองค์ไม่เสด็จเข้าพระนคร เสด็จไปยังพระอุทยานทันที แล้วรับสั่งให้เรียกพระโอรสองค์ใหญ่มา ทรงมอบราชสมบัติ ให้แก่พระโอรสนั้นแล้ว ทรงผนวชเป็นสมณะด้วยพระองค์เอง. ฝ่าย พระเทวีทรงดำริว่า เมื่อพระราชาทรงผนวชแล้ว เราจักทำอะไร จึง ทรงผนวชในพระอุทยานเหมือนอย่างนั้นแหละ. ทั้งสองพระองค์ทรง ทำฌานให้เกิดแล้ว จุติจากอัตภาพนั้น ไปบังเกิดในพรหมโลก.

เมื่อพระราชาและพระเทวีทั้งสองนั้น อยู่ในพรหมโลกนั้นนั่นแหละ พระศาสดาของเราทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวรแล้ว เสด็จถึงนครราชคฤห์โดยลำดับ. เมื่อพระศาสดาเสด็จ อาศัยอยู่ในนครราชคฤห์นั้น ปิปผลิมาณพนี้บังเกิดในท้องของภรรยา กบิลพราหมณ์ ในพราหมณคามชื่อว่ามหาติตถะ. นางภัททกาปิลานี นี้ บังเกิดในท้องของภรรยาพราหมณ์โกสิยโคตร ในสาคลนคร แคว้น มัททราฐ. เมื่อคนทั้งสองนั้นเติบโตโดยลำดับ เมื่อปิปผลิมาณพบรรลุวัย ที่ ๒๐ นางภัททาบรรลุวันที่ ๑๖ บิดามารดาแลดูบุตรแล้วจึงคาดคั้นว่า นี่แน่ะพ่อ เจ้าก็เจริญวัยแล้ว สมควรดำรงวงศ์สกุล. มาณพกล่าวว่า คุณพ่อคุณแม่ อย่าได้กล่าวถ้อยคำเห็นปานนี้ในคลองแห่งโสตของผมเลย

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 531

กระผมจักปฏิบัติทราบเท่าที่คุณพ่อคุณแม่ยังมีชีวิตอยู่ ต่อเมื่อคุณพ่อคุณแม่ ล่วงลับไปแล้ว กระผมจักออกบวช. ล่วงไปได้ ๒ - ๓ วัน บิดามารดา ก็กล่าวอีก. ฝ่ายมาณพนั้นก็ปฏิเสธอีก. ตั้งแต่นั้น มารดาคงกล่าวอยู่ เนืองๆ ทีเดียว.

มาณพคิดว่า จักให้มารดายินยอม จึงให้ทองคำสีสุกปลั่งพันลิ่ม แล้วให้พวกช่างทองทำรูปหญิง ในเวลาเสร็จกรรมมีการขัดและการบุรูป นั้นเป็นต้น จึงให้รูปนั้นนุ่งผ้าแดง ให้ประดับดอกไม้และเครื่องอลังการ ต่างๆ อัน เพียบพร้อมไปด้วยทอง แล้วกล่าวว่า คุณแม่ ผมได้อารมณ์ เห็นปานนี้จึงจักอยู่ครองเรือน เมื่อไม่ได้ก็จักไม่อยู่. นางพราหมณีผู้มี ปัญญาคิดว่า บุตรของเรามีบุญ ได้ให้ทานสร้างอภินีหารไว้แล้ว เมื่อ ทำบุญทั้งหลายในชาติก่อน คงจะไม่ได้ทำคนเดียว. หญิงผู้ทำบุญร่วมกับ บุตรของเรานี้ จักเป็นหญิงเปรียบปานรูปทองเป็นแน่. นางจึงให้เชิญ พราหมณ์ ๘ คนมา เลี้ยงดูให้อิ่มหนำด้วยโภคะทั้งปวงแล้ว ยกรูปทอง ขึ้นบนรถ แล้วส่งไปด้วยคำว่า พ่อทั้งหลาย พวกท่านจงพากันไป เห็น ทาริกาเห็นปานนี้ ในตระกูลที่มีชาติ โคตร และโภคะ เป็นต้น เสมอกัน กับเราทั้งหลายในที่ใด จงให้รูปทองนี้แหละให้เป็นอาการแสดงความ สัตย์จริงไว้ในที่นั้น.

พราหมณ์เหล่านั้นพากันออกไปด้วยคิดว่า นี่เป็นการงานของพวก เรา แล้วปรึกษากันว่า พวกเราจักได้ที่ไหน ขึ้นชื่อว่ามัททราฐเป็น ตำหนักฝ่ายใน พวกเราจักไปยังมัททราฐ แล้วได้ไปยังสาคลนครใน มัททราฐ. ตั้งรูปทองนั้นไว้ที่ท่าสำหรับอาบน้ำ ในแคว้นมัททราฐนั้น แล้วนั่งอยู่ ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น แม่นมของนางภัททาให้นาง

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 532

ภัตทาอาบน้ำ แต่งตัวแล้ว ตนเองไปท่าน้ำเพื่อจะอาบ เห็นรูปทองจึงคิด ว่า แม่ภัททานี้แนะนำไม่ได้ มายืนอยู่ที่นี้เพื่ออะไร จึงตีที่ข้างหลัง รู้ว่า เป็นรูปทองจึงกล่าวว่า เราทำความสำคัญให้เกิดขึ้นว่า เป็นธิดาแห่งแม่ เจ้าของเรา หญิงนี้ เมื่อธิดาแห่งแม่เจ้าแม้รับเอาผ้านุ่งแล้ว ก็จะไม่ เหมือน. ลำดับนั้น พราหมณ์เหล่านั้นจึงถามแม่นมนั้นว่า ได้ยินว่า ธิดา แห่งนายของท่านเห็นปานนี้. แม่นมนั้นกล่าวว่า ธิดาแห่งแม่เจ้าของเรา เป็นหญิงมีรูปงามกว่ารูปเปรียบทองนี้ ร้อยเท่า พันเท่า จริงอย่างนั้น เธอนั่งอยู่ในห้องประมาณ ๑๒ ศอก แม้จะไม่มีประทีป ก็กำจัดความมืด ได้ด้วยแสงสว่างจากร่างกาย. พวกพราหมณ์กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เรา ทั้งหลายจะไปยังสำนักแห่งบิดามารดาของนาง แล้วยกรูปทองขึ้นรถตาม แม่นมนั้นไป แล้วยืนอยู่ที่ประตูเรือนให้บอกถึงการมา.

พราหมณ์ปฏิสันถารแล้วถามว่า ท่านทั้งหลายมาจากไหน?. พราหมณ์เหล่านั้นกล่าวว่า เราทั้งหลายมาจากเรือนของกบิลพราหมณ์ ณ บ้านมหาติตถคามในแคว้นมคธ ด้วยเหตุชื่อนี้. พราหมณ์กล่าวว่า ดีละ พ่อ พราหมณ์นั้นมีชาติ โคตร และทรัพย์สมบัติเสมอกับเรา เราจักให้ ทาริกา แล้วรับเครื่องบรรณาการไว้. พราหมณ์เหล่านั้นจึงส่งข่าวแก่ กบิลพราหมณ์ว่า ทาริกาชื่อว่าภัททา พวกเราได้แล้ว ท่านจงรู้กิจที่ควร กระทำต่อไป. บิดามารดาได้ฟังข่าวนั้นแล้ว จึงบอกแก่ปิปผลิมาณพว่า ได้นางทาริกาแล้ว. ปิปผลิมาณพคิดว่า เราคิดว่าจักไม่ได้ พราหมณ์ เหล่านี้ส่งข่าวมาว่าได้แล้ว, เราไม่มีความต้องการ จักส่งหนังสือไป แล้ว ไปในที่ลับเขียนหนังสือว่า แม่ภัททาจงได้สามีผู้สมควรแก่ชาติโคตรและ โภคทรัพย์ของตนเถิด เราจักออกบวช ท่านอย่าได้ร้อนใจในภายหลัง.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 533

ฝ่ายนางภัททาได้ฟังว่า นัยว่า บิดามารดาประสงค์จะให้เราแก่ผู้โน้น จึง ไปในที่ลับเขียนหนังสือว่า ลูกเจ้าจงได้ทาริกาผู้เหมาะสมแก่ชาติโคตร และโภคทรัพย์ของตน เราจักบวช ท่านจงอย่าได้ร้อนใจภายหลัง. หนังสือ ทั้งสองฉบับมาประจวบกันระหว่างทาง. พวกนางภัททาถามว่า นี้หนังสือ ของใคร. พวกปิปผลิมาณพตอบว่า หนังสือนี้ปิปผลิมาณพส่งไปให้ นางภัททา. เมื่อพวกปิปผลิมาณพกล่าวว่า นี้หนังสือของใคร และเมื่อ พวกนางภัตทากล่าวว่า หนังสือนี้นางภัททาส่งไปให้ปิปผลิมาณพ คน เหล่านั้นจงอ่านหนังสือทั้งสองฉบับแล้วกล่าวกันว่า ท่านทั้งหลายจงดูการ การทำของพวกเด็กๆ ดังนี้ แล้วฉีกทิ้งไปในป่า แล้วเขียนหนังสือฉบับ อื่นซึ่งเสมอเหมือนกับหนังสือนั้น แล้วส่งไปทั้งข้างนี้และข้างนี้. ดังนั้น หนังสือของกุมารและกุมาริกาจึงเหมือนกัน เป็นหนังสือเอื้อเฟื้อและ เกื้อกูลแก่ทางโลกเท่านั้น เพราะเหตุนั้น คนทั้งสองนั้นแม้จะไม่ต้องการ ก็ได้มาร่วมกัน.

ในวันนั้นเอง ฝ่ายปิปผลินาณพก็ให้นางภัททาถือดอกไม้พวงหนึ่ง. ฝ่ายนางภัททาก็วางดอกไม้เหล่านั้นไว้ท่ามกลางที่นอน. คนทั้งสองบริโภค อาหารเย็นแล้วเริ่มเข้านอน. ในสองคนนั้น มาณพขึ้นที่นอนทางด้านขวา นางภัททาขึ้นทางด้านซ้าย แล้วกล่าวว่า พวกเราจักรู้ชัดแจ้งว่า ดอกไม้ ในด้านของผู้ใดเหี่ยว ราคะจิตเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้นั้น ใครๆ ไม่พึงติด พวงดอกไม้นี้. ก็คนทั้งสองนั้นไม่หลับเลยตลอดราตรีทั้งสิ้น เพราะกลัว จะถูกต้องร่างกายของกันและกัน ให้เวลาล่วงไปแล้ว. ก็ในเวลากลางวัน แม้แต่ความยิ้มแย้มก็ไม่ได้กระทำ. คนทั้งสองไม่เกี่ยวข้องกันด้วยอามิส ทางโลก ไม่จัดแจงการงานตราบเท่าที่บิดามารดายังมีชีวิตอยู่ เมื่อบิดา

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 534

มารดากระทำกาละแล้ว จึงจัดแจง. สมบัติของมาณพมีมากมาย. ผงทองคำ ที่เขาเพิกออกจากร่างกายแล้วทิ้งไปในวันหนึ่งเท่านั้น ควรได้ประมาณ ๑๒ ทะนาน โดยทะนานมคธ. มาณพมีบึงใหญ่ติดเครื่องยนต์ ๖๐ แห่ง มีเนื้อที่ทำงาน ๒ โยชน์ มีบ้าน ๔ บ้าน ขนาดเมืองอนุราธปุระ มี พลช้าง ๑๔ กอง พลม้า ๑๔ กอง และพลรถ ๑๔ กอง.

วันหนึ่ง เขาขี่ม้าตัวที่ประดับแล้วอันมหาชนแวดล้อม ไปยังสถาน ที่ทำการงานยืนอยู่ปลายนา เห็นพวกนกมีกาเป็นต้น ดึงสัตว์ทั้งหลาย มีไส้เดือนเป็นต้น ขึ้นมาจากที่แบะออกด้วยไถแล้วกินอยู่ จึงถามว่า พ่อ ทั้งหลาย นกเหล่านี้กินอะไร. บริวารชนบอกว่า ข้าแต่เจ้า มันกินไส้เดือน. มาณพกล่าวว่า บาปที่พวกนกทำจะมีแก่ใคร. บริวารชนตอบว่า ข้าแต่เจ้า จะมีแก่ท่าน. เขาจึงคิดว่า ถ้าบาปที่นกเหล่านี้ทำมีแก่เราละก็ ทรัพย์ ๘๗ โกฏิจักทำอะไรแก่เรา การงาน ๑๒ โยชน์ จักทำอะไร บึงติด เครื่องยนต์จักทำอะไร และบ้าน ๑๔ บ้าน จักทำอะไร, เราจักมอบสมบัติ ทั้งหมดนี้แก่นางภัตทาถาปิลานี แล้วจักออกบวช.

ขณะนั้น นางภัททากาปิลานีหว่านเมล็ดงา ๓ หม้อในระหว่างไร่ พวกแม่นมแวดล้อมนั่งอยู่ เห็นพวกกากินสัตว์ในเมล็ดงา จึงถามว่า แม่ทั้งหลาย กาเหล่านี้กินอะไร? พวกแม่นมกล่าวว่า กินสัตว์จ้ะ แม่เจ้า. นางภัททาถามว่า อกุศลจะมีแก่ใคร? พวกแม่นมตอบว่า มีแก่ท่านจะ แม่เจ้า. นางจึงคิดว่า เราได้ผ้า ๔ ศอกและภัตสักว่าข้าวสุกทะนานหนึ่ง ย่อมควร ก็ถ้าอกุศลที่สัตว์เหล่านี้ทำจะเป็นของเรา แม้พันภพ เราก็ไม่ อาจยกหัวขึ้นจากวัฏฏะได้ เมื่อลูกเจ้าพอมาถึงเท่านั้น เราจักมอบสมบัติ ทั้งหมดแก่ลูกเจ้าแล้วจักออกบวช.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 535

มาณพมาแล้วอาบน้ำขึ้นสู่ปราสาท นั่งบนบัลลังก์อันควรค่ามาก. ลำดับนั้น บริวารชนน้อมนำโภชนะอันสมควรแก่พระเจ้าจักรพรรดิเข้า ไปให้แก่มาณพ. คนทั้งสองบริโภคแล้ว เมื่อบริวารชนออกไปแล้ว จึง ไปในที่ลับนั่งในที่ผาสุก.

ลำดับนั้น มาณพจึงกล่าวกะนางภัททาว่า นี่แน่ะภัททา เธอเมื่อมา ยังเรือนนี้ นำทรัพย์มีประมาณเท่าไรมา. นางภัททากล่าวว่า ข้าแต่เจ้า นำมา ห้าหมื่นห้าพันเล่มเกวียน. มาณพกล่าวว่า ทรัพย์ทั้งหมดนั้น และสมบัติ อันมีประเภทอาทิอย่างนี้ คือทรัพย์ ๘๗ โกฏิในเรือนนี้ และบึงติดเครื่อง ยนต์ ๖๐ บึง ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดนั้น ฉันขอมอบแก่เธอเท่านั้น. นางภัททา กล่าวว่า ข้าแต่เจ้า ก็ท่านเล่าจะไปไหน. มาณพกล่าวว่า ฉันจักบวช. นางภัททากล่าวว่า ข้าแต่เจ้า แม้ฉันก็นั่งคอยการมาของท่าน แม้ฉัน ก็จักบวช. ภพทั้งสามปรากฏแก่คนทั้งสองนั้น เหมือนกุฎีใบไม้ถูกไฟติด ทั่วแล้วฉะนั้น. คนทั้งสองนั้นกล่าวว่า เราทั้งสองจักบวช จึงให้คนไป นำจีวรที่ย้อมด้วยรสน้ำฝาด และบาตรดินมาจากร้านตลาด แล้วให้กัน และกันปลงผมแล้วกล่าวว่า พระอรหันต์เหล่าใดมีอยู่ในโลก เราทั้งหลาย บวชอุทิศพระอรหันต์เหล่านั้นดังนี้ แล้วบวช ใส่บาตรในถุงคล้องที่ไหล่ แล้วลงจากปราสาท. บรรดาทาสและกรรมกรในเรือน ใครๆ จำไม่ได้.

ครั้งนั้น คนทั้งสองนั้นออกจากบ้านพราหมณ์ไปทางประตูบ้านทาส พวกชาวบ้านทาสจำได้ ด้วยอำนาจอาการและท่าทาง. ทาสเหล่านั้นร้องไห้ หมอบลงที่เท้าแล้วกล่าวว่า ข้าแต่เจ้า เหตุไรท่านทั้งหลายจึงกระทำพวก ข้าพเจ้าให้เป็นคนอนาถาหาที่พึ่งมิได้. คนทั้งสองกล่าวว่า นี่แน่ะพนาย

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 536

เราทั้งสองบวชด้วยเห็นว่า ภพทั้งสามเป็นประดุจบรรณศาลาอันไฟติด ทั่วแล้ว ถ้าเราทั้งสองจะทำท่านทั้งหลาย แต่ละคนให้เป็นไทไซร้ แม้ ร้อยปีก็ไม่พอ ท่านทั้งหลายจงชำระศีรษะของพวกท่าน แล้วจงเป็นไทเลี้ยง ชีวิตอยู่เถิด เมื่อทาสเหล่านั้นร้องไห้อยู่นั่นแหละได้พากันหลีกไปแล้ว.

พระเถระเดินไปข้างหน้าหันกลับมามองดู พลางคิดว่า นางภัททากาปิลานีนี้ เป็นหญิงมีค่าควรแก่ชมพูทวีปทั้งสิ้น เดินมาข้างหลังเรา. ก็ข้อที่ใครๆ จะพึงคิดอย่างนี้ว่า คนเหล่านั้นแม้บวชแล้ว ก็ไม่อาจเว้น จากกัน การทำกรรมอันไม่สมควร เป็นฐานะที่จะมีได้. จึงยังความคิด ให้เกิดขึ้นว่า ใครๆ พึงประทุษร้ายด้วยใจอันลามกอย่างนี้แล้ว พึงทำ อบายให้เต็ม ดังนี้ พลางเดินไปข้างหน้า เห็นทางสองแพร่ง จึงได้ หยุดอยู่ที่ต้นทางนั้น. ฝ่ายนางภัททามาถึงจึงไหว้แล้วได้ยืนอยู่.

ลำดับนั้น พระเถระกล่าวกะนางภัททาว่า นี่แน่ะภัททา มหาชน เห็นหญิงผู้เช่นท่านเดินมาข้างหลังเรา มีจิตคิดประทุษร้ายในพวกเราว่า คนเหล่านี้ แม้บวชแล้วก็ไม่อาจเว้นจากกัน จะพึงเป็นผู้ยังอบายให้เต็ม. ในทางสองแพร่งนี้ ท่านจงถือเอาทางหนึ่ง เราจักไปโดยทางหนึ่ง. นางภัททากล่าวว่า เจ้าข้า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า มาตุคามเป็นปลิโพธ กังวลของบรรพชิตทั้งหลาย, คนทั้งหลายจะพึงแสดงโทษแก่พวกเราว่า คนเหล่านี้แม้บวชแล้วก็ไม่เว้นจากกัน ดังนี้แล้ว ทำประทักษิณ ๓ ครั้ง ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ในที่ทั้ง ๔ แห่ง แล้วประคองอัญชลีอันรุ่งเรือง ด้วยการประชุมนิ้วทั้ง ๑๐ แล้วกล่าวว่า ความสนิทสนมโดยความเป็น มิตรที่ทำไว้ในกาลนานประมาณแสนกัป แตกในวันนี้ ท่านนั่นแหละ

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 537

ชื่อว่าเป็นเบื้องขวา ทางขวาย่อมควรแก่ท่าน ดิฉันชื่อว่ามาตุคาม เป็น ผู้มีชาติเบื้องซ้าย ทางซ้ายย่อมควรแก่ดิฉัน ดังนี้ จึงไหว้แล้วเดินทางไป. ในเวลาที่ชนทั้งสองนั้นเป็นสองฝ่าย มหาปฐพีนี้ได้ไหวครวญครางประหนึ่งจะกล่าวว่า เราแม้สามารถรองรับเขาจักรวาลและเขาสิเนรุเป็นต้น ก็ไม่สามารถรองรับคุณทั้งหลายของท่านทั้งสองได้. เหมือนเสียงสายฟ้า ดังอยู่ในอากาศ เขาจักรวาลบันลือลั่น.

ฝ่ายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ในพระคันธกุฎี ในพระเวฬุวันมหาวิหาร ทรงสดับเสียงแผ่นดินไหว ทรงรำพึงว่า ปฐพีไหวเพื่อ อะไรหนอ ทรงทราบว่า ปิปผลิมาณพและนางภัททากาปิลานี ละสมบัติ ประมาณไม่ได้ บวชอุทิศเรา, เพราะกำลังแห่งคุณความดีของตนทั้งสอง การไหวแห่งปฐพีนี้จึงเกิดในที่ที่คนทั้งสองนั้นพรากจากกัน, แม้เราก็ควร ทำการสงเคราะห์คนทั้งสองนี้ จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี ทรงถือบาตร และจีวรเอง ไม่บอกใครๆ ในบรรดาพระมหาเถระ ๘๐ องค์ ทรงทำ การต้อนรับสิ้นหนทาง ๓ คาวุต ทรงนั่งขัดสมาธิอยู่ที่ควงไม้พหุปุตตนิโครธ ในระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองนาลันทา. ก็พระองค์ประทับนั่ง มิได้ทรงนั่งอย่างภิกษุผู้ถือบังสุกุลเป็นวัตรรูปใดรูปหนึ่ง ทรงถือเอาเพศ ของพระพุทธเจ้า แล้วประทับนั่งเปล่งพระพุทธรัศมีประมาณ ๘๐ ศอก. ขณะนั้น พระพุทธรัศมีมีขนาดเท่าร่มใบไม้ ล้อเกวียน และเรือนยอดเป็น ต้น แผ่ฉวัดเฉวียนไปรอบๆ กระทำให้เหมือนเวลาที่พระจันทร์พันดวง และพระอาทิตย์พันดวงขึ้นอยู่ฉะนั้น ได้ทำระหว่างป่านั้นให้มีแสงสว่าง เป็นอันเดียวกัน. ระหว่างป่าไพโรจน์ด้วยสิริแห่งพระมหาปุริสลักษณะ

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 538

๓๒ ประการ เหมือนท้องฟ้าไพโรจน์ด้วยหมู่ดาวอันโชติช่วง และเหมือน น่าไพโรจน์ด้วยกอบัวอันบานสะพรั่งฉะนั้น. ตามปกติลำต้นนิโครธขาว ใบเขียว ผลสุกแดง. แต่วันนั้น ต้นนิโครธทั้งต้น ได้มีสีเหมือนสีทองไป หมดทั้งต้น.

พระมหากัสสปเถระเห็นดังนั้นจึงคิดว่า ผู้นี้จักเป็นพระศาสดาของ เราทั้งหลาย เราบวชอุทิศพระศาสดาพระองค์นี้ จึงน้อมตัวลงเดินไป จำเดิมแต่ที่ที่ตนเห็นแล้ว ไหว้ในที่ ๓ แห่งแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ เป็นสาวก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของ ข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ดังนี้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะพระมหากัสสปเถระนั้นว่า ดูก่อนกัสสป ถ้าเธอพึงทำความเคารพ นับถือนี้แก่แผ่นดิน แผ่นดินแม้นั้นก็ไม่พึงอาจรองรับไว้ได้ ความเคารพ นับถืออันเธอผู้รู้ความที่พระตถาคตเป็นผู้มีคุณมากอย่างนี้กระทำแล้ว ย่อม ไม่อาจทำแม้ขนของเราให้ไหว ดูก่อนกัสสป เธอจงนั่ง เราจะให้ทรัพย์ มรดกแก่เธอ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานอุปสมบทแก่พระมหากัสสปเถระนั้น ด้วยโอวาท ๓ ข้อ. ก็ครั้นให้แล้วจึงเสด็จออกจากควงไม้ พหุปุตตนิโครธ ทรงทำพระเถระให้เป็นปัจฉาสมณะแล้วทรงเดินทางไป. พระสรีระของพระองค์งดงามด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ของ พระมหากัสสปปะดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๗ ประการ, พระเถระนั้น ติดตามรอยพระบาทของพระศาสดา เหมือนเอาเรือทองพ่วงไปฉะนั้น. พระศาสดาเสด็จไปตามทางได้หน่อยหนึ่ง แล้วทรงแวะลงจากทาง ทรง

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 539

แสดงพระอาการจะประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง พระเถระรู้ว่า พระศาสดา ประสงค์จะประทับนั่ง จึงลาดสังฆาฏิอันเป็นแผ่นผ้าเก่าของคน ทำให้เป็น ๔ ชั้น.

พระศาสดาประทับนั่งบนสังฆาฏินั้น เอาพระหัตถ์ลูบคลำผ้าพลาง ตรัสว่า กัสสป สังฆาฏิอันเป็นแผ่นผ้าเก่าผืนนี้ของเธอ อ่อนนุ่ม. พระเถระนั้นรู้ว่า พระศาสดาตรัสความที่สังฆาฏิของเราอ่อนนุ่ม จักประสงค์ จะทรงห่ม จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงห่มผ้าสังฆาฏิเถิด พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า กัสสป เธอจักห่ม อะไร. พระเถระกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เมื่อได้ ผ้าสำหรับห่มของพระองค์จึงจักห่ม พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า กัสสป ก็เธอจักอาจครองผ้าบังสุกุลอันเก่าเพราะการใช้สอยผืนนี้ได้หรือ เพราะว่า ในวันที่เราถือเอาผ้าบังสุกุลผืนนี้ มหาปฐพีกระทำน้ำเป็นที่สุดรอบหวั่นไหวแล้ว ธรรมดาว่าจีวรเก่า อันเป็นเครื่องใช้สอยของพระพุทธเจ้าผืนนี้ บุคคลผู้มีคุณนิดหน่อยไม่อาจครองได้ จีวรนี้อันภิกษุผู้ถือบังสุกุลเป็นวัตร มาแต่กำเนิด ผู้ฉลาดสามารถในการบำเพ็ญปฏิบัติเท่านั้นครอง จึงจะควร ดังนี้ แล้วทรงเปลี่ยนจีวรกับพระเถระ.

ครั้นทรงเปลี่ยนจีวรกันอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห่มจีวร ของพระเถระ พระเถระห่มจีวรของพระศาสดา. ขณะนั้น มหาปฐพีนี้ แม้จะไม่มีจิตใจ ก็หวั่นไหวจนถึงน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุด ประหนึ่งจะ พูดว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงทำสิ่งที่ทำได้ยาก, ชื่อว่าจีวร ที่ห่มของพระองค์เคยแลกเปลี่ยนกับสาวก ไม่ได้มีแล้ว ข้าพระองค์ไม่

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 540

อาจรองรับพระคุณของพระองค์ไว้ได้. ฝ่ายพระเถระมิได้ทำความถือตัวว่า เราได้จีวรเครื่องบริโภคใช้สอยของพระพุทธเจ้า บัดนี้ เราจะทำอะไรให้ ยิ่งขึ้น ได้สมาทานธุดงค์คุณ ๑๓ ในสำนักของพระศาสดาเท่านั้น ได้เป็น ปุถุชนอยู่ประมาณ ๗ วัน. ในวันที่ ๘ ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย ปฏิสัมภิทา.

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงสรรเสริญพระเถระนั้น โดยนัยมีอาทิ อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัสสปเปรียบเสมอด้วยพระจันทร์ เข้าไป ยังตระกูลทั้งหลาย ไม่คะนองกาย ไม่คะนองจิต เป็นผู้ใหม่อยู่เป็นนิตย์ ไม่เย่อหยิ่งในตระกูลทั้งหลาย ดังนี้, ในกาลต่อมา เมื่อประทับนั่งใน ท่ามกลางหมู่พระอริยเจ้า ทรงตั้งพระเถระไว้ในตำแหน่งผู้เลิศแห่งภิกษุ ทั้งหลายผู้ทรงธุดงค์ และกล่าวสอนธุดงค์ว่า ภิกษุทั้งหลาย กัสสปนี้เป็นผู้ เลิศแห่งภิกษุสาวกทั้งหลายของเราผู้ทรงธุดงค์ และกล่าวสอนธุดงค์ ดังนี้.

ท่านพระมหากัสสป อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ในตำแหน่ง เอตทัคคะอย่างนี้แล้ว ได้รับความเป็นพระมหาสาวกแล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตน เมื่อจะประกาศอปทานแห่งความประพฤติในชาติก่อน ด้วย ความโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรสฺส ภควโต ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปทุมุตฺตรสฺส ภควโต ความว่า ได้ยิน ว่า จำเดิมแต่กาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเสด็จออกจากพระครรภ์ของ พระมารดา ในสมัยที่ย่างพระบาท ปทุมแสนกลีบทำลายแผ่นดินผุดขึ้น ณ พระบาทที่ทรงเหยียบแล้วๆ เพราะฉะนั้น คำว่า ปทุมุตฺตรสฺส นั้น จึงได้เป็นพระนามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น. ชื่อว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 541

เพราะสัตว์หนึ่งๆ ในบรรดาสัตตนิกายทั้งสิ้น กระทำบุญคนละร้อย (พระองค์) ทรงกระทำบุญได้ร้อยเท่าของบุญนั้น.

บทว่า โลกเชฏฺสฺส ตาทิโน ความว่า ผู้เป็นประธานของสัตว์- โลก ชื่อว่าผู้คงที่ เพราะทรงถึงความเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอิฏฐารมณ์และ อนิฏฐารมณ์.

บทว่า นิพฺพุเต โลกนาถมฺหิ ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลก ปรินิพพานแล้วด้วยขันธปรินิพพาน อธิบายว่า เสด็จไปสู่ที่แลไม่เห็น.

ด้วยบทว่า ปูชํ กุพฺพนฺติ สตฺถุโน นี้ เชื่อมความว่า เล่นสาธุกีฬา กระทำการบูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ใดพระนามว่า พระศาสดา เพราะ ทรงสั่งสอนชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก.

ด้วยบทว่า อคฺคึ จินนฺตี ชนตา นี้ เชื่อมความว่า หมู่ชนก่อไฟ ทำให้เป็นกองเพื่อต้องการจะเผา ร่าเริง ยินดี โดยทั่วกัน คือโดยรอบๆ ร่าเริง ยินดี โดยปการะคือแต่ละอย่างๆ กระทำบูชาอยู่.

บทว่า เตสุ สํเวคชาเตสุ ความว่า เมื่อหมู่ชนเหล่านั้นถึงความ สังเวช ได้ความสะดุ้ง ความปีติ คือความร่าเริงเกิดขึ้น คือปรากฏแก่เรา.

บทว่า าติมิตฺเต สมาเนตฺวา ความว่า ประชุมเผ่าพันธุ์และสหาย ของเรา คือทำให้เป็นกลุ่ม. เชื่อมความว่า เราได้กล่าว คือพูดคำนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีความเพียรใหญ่หลวงปรินิพพานแล้ว คือได้เสด็จ ไปสู่ที่ที่ไม่เห็นแล้ว.

ศัพท์ว่า หนฺท ในคำว่า หนฺท ปูชํ กโรม เส นี้ เป็นนิบาตบอก

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 542

อรรถ คือการสละ. อธิบายว่า เพราะเหตุนั้น พวกเราทุกคนผู้มาประชุม กัน จงทำการบูชา. ศัพท์ว่า เส เป็นนิบาต.

บทว่า สาธูติ เต ปฏิสฺสุตฺวา ความว่า ญาติและมิตรของเรา เหล่านั้น ฟังตอบแล้ว คือรับคำเราว่า สาธุ คือดี ได้แก่ เจริญ ทำ ความร่าเริง คือปีติ อย่างยิ่ง คืออย่างเหลือล้นให้เกิดแล้ว คือให้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา.

แต่นั้น เมื่อจะแสดงการก่อสร้างบุญที่ตนได้ทำไว้ จึงกล่าวคำมี อาทิว่า พุทฺธสฺมึ โลกนาถมฺหิ ดังนี้. ในคำนั้น เชื่อมความว่า เรา สร้างเอง และให้คนอื่นสร้างเจดีย์อันพุ่งขึ้น คือสูงขึ้น ๑๐๐ ศอก กว้าง ๑๕๐ ศอก สูงขึ้นในท้องฟ้าคือในอากาศดุจวิมาน ให้เป็นการสร้างอย่างดี คือให้เป็นการสร้างด้วยอาการอันดี มีค่า แล้วกระทำ คือได้กระทำการ สะสมบุญ ได้แก่บุญราศีคือกองบุญ.

บทว่า กตฺวาน อคฺฆิยํ ตตฺถ ความว่า ทำเองและให้คนอื่นทำให้ มีค่าวิจิตร คืองดงาม ด้วยถ่องแถวแห่งตาล คือด้วยแนวแห่งต้นตาล ยังจิตของตนให้เลื่อมใส บูชาพระเจดีย์ชั้นสูงสุด ด้วยบทว่า เจติยํ ปูชยุตฺตมํ เชื่อมความว่า เราบูชาพระเจดีย์อันสูงสุด คือที่เขาบรรจุพระธาตุของพระพุทธเจ้าไว้.

เมื่อจะแสดงความใหญ่มหึมาของพระเจดีย์นั้น จึงกล่าวคำว่า อคฺคิกฺขนฺโธว ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคิกฺขนฺโธว เชื่อมความว่า พระเจดีย์นั้นย่อมส่องแสงด้วยรัตนะ ๗ ประการ เหมือน

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 543

กองไฟโพลงอยู่ในอากาศ สว่างไสว คือโชติช่วงตลอดจตุรทิศ คือทิศ ทั้งสี่ เหมือนต้นพญารังบาน คือมีดอกบาน และเหมือนสายรุ้งในอากาศ.

บทว่า ตตฺถ จิตฺตํ ปสาเทตฺวา เชื่อมความว่า เรายังจิตคือใจให้ เลื่อมใส คือทำความโสมนัสในห้องบรรจุพระธาตุอันโชติช่วงอยู่นั้น แล้ว ทำกุศลคือบุญเป็นอันมาก คือมีประการต่างๆ ด้วยความเลื่อมใสแห่งจิต นั้น ได้ระลึกถึงบุญกรรมอย่างนี้ว่า เราได้ทำบุญมีประมาณเท่านี้ ในห้อง บรรจุพระธาตุ และในพระศาสนา ตายแล้วจึงเข้าถึง คือเกิดยังไตรทศ คือภพดาวดึงส์เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้นฉะนั้น.

เมื่อจะประกาศสมบัติของคนที่ได้ในเทวโลกที่เกิดขึ้น จึงกล่าวคำ มีอาทิว่า สหสฺสยุตฺตํ ดังนี้. ในคำนั้นมีอธิบายว่า เราอยู่ยังยานอันเทียม ด้วยม้า คือรถทิพย์อันเทียมด้วยม้าสินธพพันตัว. เรามีภพ คือมีวิมาน สูงตระหง่าน ๗ ชั้น.

อธิบายว่า ในวิมานนั้น ได้มีกูฏาคารพันหลังสำเร็จด้วยทองคำ ทั้งสิ้น. เชื่อมความว่า ด้วยเดชของตน คือด้วยอานุภาพของตน เรา ย่อมรุ่งเรือง คือโชติช่วง ทำทิศทั้งปวง คือทั้งสิบทิศให้สว่างไสวอยู่.

ในวิมานที่ปรากฏแก่เรานั้น มีหอคอย คือศาลาหน้ามุขแม้หลังอื่น อยู่. ศาลาหน้ามุขเป็นอย่างไร? เชื่อมความว่า ในกาลนั้น หอคอยแม้ เหล่านั้นสำเร็จด้วยทับทิม คือสำเร็จด้วยแก้วมณีแดง โชติช่วงไปตลอด ๔ ทิศ ด้วยแสงสว่าง คือรัศมี.

อธิบายว่า เราครอบงำเทวดาทั้งปวง คือเทวดาในเทวโลก ๖ ชั้น ทั้งสิ้น. หากจะมีผู้ถามว่า เป็นผลของอะไร? ขอตอบว่า นี้เป็นผล แห่งบุญกรรมที่เราทำไว้แล้ว.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 544

แต่นั้น เมื่อจะแสดงมนุษย์สมบัติ จึงกล่าวคำว่า สฏฺิกปฺปสหสฺสมฺหิ ดังนี้เป็นต้น. ในคำนั้น เชื่อมความว่า ในที่สุดหกหมื่นกัป ภายหลังกัปนี้ไป เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดินามว่า อุพพิทธะ มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต คือมีมหาทวีป เป็นที่สุด เป็นผู้ชนะ คือชนะข้าศึกทั้งปวง ครอบครองแผ่นดิน คือครองราชสมบัติ.

บทว่า ตเถว ภทฺทเก กปฺเป คือในกัปชื่อว่า ภัททกะ เพราะเป็น กัปที่ประดับด้วยพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์. เชื่อมความในตอนนี้ว่า เราได้ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นใหญ่ เป็นประธานในทวีปทั้งสี่ ๓๐ ครั้ง คือ ๓๐ ชาติ สมบูรณ์ คือพรั่งพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีจักรรัตนะ เป็นต้น ยินดีในกรรมของตน คือยินดี ได้แก่ ยึดแน่นอยู่ในกรรมของ ตน ได้แก่ ทศพิธราชธรรม.

เมื่อจะแสดงสมบัติที่เสวยในคราวที่ตนเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ จึง กล่าวคำว่า ตตฺถาปิ ภวนํ มยฺหํ ดังนี้เป็นต้น. ในคำนั้น เชื่อมความว่า ในความเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้น ภพของเรา คือปราสาทของเรา สูง ขึ้นเหมือนสายรุ้งกินน้ำ คือสูงขึ้นไปโดยชนิดเป็นชั้น ๗ ชั้นเป็นต้น เหมือนสายฟ้า ตั้งสว่างจ้าอยู่ในอากาศ ว่าโดยส่วนยาว และส่วนสูง ๒๔ โยชน์ ว่าโดยส่วนกว้าง ๑๒ โยชน์.

อธิบายว่า ได้มีนครชื่อว่ารัมมณะ เพราะเป็นที่ติดใจของชน ทั้งปวง. ท่านแสดงว่า นครที่สมบูรณ์ด้วยกำแพงและเสาระเนียดมั่นคง สูงประมาณ ๑๒ หรือ ๓๐ ศอก.

ตทฑฺฒกํ ตัดบทเป็น ตโต อฑฺฒกํ อธิบายว่า ประมาณ ๒๕๐

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 545

โยชน์. บทว่า ปกฺขิตตา ปณฺณวีสตี ความว่า จัดร้านขายของ ๒๐ ร้าน คือเขตกำหนดถนนคิดๆ กัน. บทว่า พฺรหมญฺกุลสมฺถูฌต แปลว่า เกิดในตระกูลพราหมณ์. คำที่เหลือ เข้าใจได้ง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดัง กล่าวแล้ว ฉะนี้แล.

จบพรรณนามหากัสสปเถราปทาน