พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อนุรุทธเถราปทานที่ ๖ (๔) ว่าด้วยผลแห่งการถวายประทีป

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  40992
อ่าน  421

[เล่มที่ 70] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 546

พุทธวรรคที่ ๑

๓. เถราปทาน

อนุรุทธเถราปทานที่ ๖ (๔)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายประทีป


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 70]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 546

อนุรุทธเถราปทานที่ ๖ (๔)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายประทีป

[๖] เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุเมธเชษฐบุรุษ ของโลก เป็นนระผู้องอาจ ผู้นายกของโลก เสด็จออกเร้น อยู่.

จึงได้เข้าไปเฝ้าพระสุเมธสัมพุทธเจ้าผู้นายกของโลก แล้ว ได้ประคองอัญชลีทูลอ้อนวอนพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดว่า

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ผู้เชษฐบุรุษของโลก เป็นนระผู้ องอาจ ขอจงทรงอนุเคราะห์เถิด ข้าพระองค์ขอถวายประทีป แก่พระองค์ผู้เข้าฌานอยู่ที่ควงไม้.

พระสยัมภูผู้เป็นนักปราชญ์ ผู้ประเสริฐพระองค์นั้น ทรง รับคำแล้ว เราจึงห้อยไว้ที่ต้นไม้ประกอบยนต์ ในกาลนั้น.

ได้ถวายไส้ตะเกียงพันหนึ่ง แก่พระพุทธเจ้าผู้เผ่าพันธุ์ ของโลก ประทีปโพลงอยู่ตลอด ๗ วันแล้ว ดับไปเอง.

ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น และด้วยการตั้งเจตนาไว้ เราละ กายมนุษย์แล้วได้เข้าถึงวิมาน.

เมื่อเราเข้าถึงความเป็นเทวดา วิมานอันกุศลบุญนิรมิตไว้ ดีแล้ว ย่อมรุ่งโรจน์โดยรอบ นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป.

เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๘ ครั้ง เวลานั้นเรามอง เห็นได้ตลอดโยชน์หนึ่งโดยรอบ ทั้งกลางวันและกลางคืน.

ในกาลนั้น เราย่อมไพโรจน์ไปทั่วโยชน์หนึ่งโดยรอบ ย่อมครอบงำเทวดาทั้งปวงได้ นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 547

เราได้เป็นจอมเทวดา ครองราชสมบัติอยู่ในเทวโลก ๓๐ กัป ใครๆ ดูหมิ่นเราไม่ได้ นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป.

เราได้บรรลุทิพยจักษุในพระพุทธศาสนา ย่อมมองเห็น ตลอดพันโลกด้วยญาณ นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธ เสด็จอุบัติใน สามหมื่นกัปแต่กัปนี้ เรามีจิตผ่องใส ได้ถวายประทีปแก่ พระองค์.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเรา ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระอนุรุทธเถระ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอนุรุทธเถราปทาน

๔. พรรณนาอนุรุทธเถราปทาน

คำมีอาทิว่า สุเมธํ ภควนฺตาหํ ดังนี้ เป็นอปทานของท่านพระอนุรุทธเถระ.

แม้ ท่านพระอนุรุทธเถระ นี้ ก็ได้กระทำบุญญาธิการไวในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทั้งหลาย ก่อสร้างบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานไว้ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 548

ปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ อันสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ. พอ เจริญวัยแล้ว วันหนึ่ง ไปวิหารฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา เห็น พระภิกษุรูปหนึ่ง พระศาสดาทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเลิศแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้มีจักษุทิพย์ แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น จึงยังมหาทานให้เป็นไป ๗ วัน แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งมีภิกษุบริวารแสนหนึ่ง ในวันที่ ๗ ได้ ถวายผ้าชั้นสูงสุดแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ แล้วได้ทำความ ปรารถนาไว้. ฝ่ายพระศาสดา ก็ได้ทรงเห็นความสำเร็จของเขาโดยไม่มี อันตราย จึงทรงพยากรณ์ว่า จักเป็นผู้เลิศแห่งผู้มีทิพยจักษุทั้งหลาย ใน ศาสนาของพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอนาคตกาล. แม้เขาก็กระทำ บุญทั้งหลายในพระศาสนานั้น เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ได้ทำการ บูชาด้วยประทีปอันโอฬารที่สถูปทองขนาด ๗ โยชน์ ด้วยประทีปต้นและ ประทีปกระเบื้องกับถาดสำริดเป็นอันมาก ด้วยอธิษฐานว่า จงเป็นอุปนิสัยแก่ทิพยจักษุญาณ เขากระทำบุญทั้งหลายอยู่ตลอดชีวิต ด้วยประการ อย่างนี้ ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่ากัสสป บรรลุความเป็นผู้รู้เดียงสาในเรือนของกุฎุมพี ณ นคร พาราณสี เมื่อพระศาสดาปรินิพพาน เมื่อสถูปทองขนาด ๑ โยชน์สำเร็จ แล้ว จึงเอาถาดสำริดจำนวนมากมาบรรจุให้เต็มด้วยเนยใสอันใสแจ๋ว และให้วางก้อนน้ำอ้อยงบก้อนหนึ่งๆ ไว้ตรงกลาง ให้ขอบปากกับขอบ ปากจรดกัน แล้วให้ตั้งล้อมพระเจดีย์. ให้เอาถาดสำริดที่คนถือบรรจุด้วย เนยใสอันใสแจ๋วให้เต็ม จุดไฟพันไส้แล้ววางไว้บนศีรษะ เดินเวียนพระเจดีย์อยู่ตลอดคืน.

ในอัตภาพแม้นั้น ก็กระทำกุศลอย่างนั้นจนตลอดชีวิต แล้วบังเกิด

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 549

ในเทวโลก ดำรงอยู่ในเทวโลกนั้นตลอดชั่วอายุ จุติจากเทวโลกนั้น เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ ได้บั้งเกิดในตระกูลเข็ญใจ ในนครพาราณสีนั่นแหละ. เขาได้มีชื่อว่า อันนภาระ. นายอันนภาระนั้นกระทำ การงานเลี้ยงชีวิตอยู่ในเรือนของเศรษฐีชื่อว่า สุมนะ. วันหนึ่ง เขาเห็น พระปัจเจกพุทธเจ้านานว่า อุปริฏฐะ ออกจากนิโรธสมาบัติ เหาะมาจาก ภูเขาคันธมาทน์ ลงที่ประตูเมืองพาราณสี ห่มจีวรแล้วบิณฑบาตในนคร มีใจเลื่อมใส จึงรับบาตรแล้วใส่ภัตอันเป็นส่วนแบ่งที่เขาเก็บไว้เพื่อประโยชน์แก่ตน เริ่มประสงค์จะถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า. ฝ่ายภรรยาของ เขาก็ใส่ภัตอันเป็นส่วนแบ่งของตนลงในบาตรนั้นเหมือนกัน เขาจึงนำ บาตรนั้นไปวางไว้ในมือของพระปัจเจกพุทธเจ้า. พระปัจเจกพุทธเจ้ารับ บาตรนั้น กระทำอนุโมทนาแล้วหลีกไป.

วันนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ที่ฉัตรของสุมนเศรษฐี อนุโมทนาด้วยเสียง อันดังว่า โอ! ทาน เป็นทานอย่างยิ่ง อันนายอันนภาระประดิษฐานไว้ ดีแล้วในพระอุปริฏฐะ. สุมนเศรษฐีได้ฟังดังนั้นคิดว่า ทานนี้เท่านั้นอัน เทวดาอนุโมทนาอย่างนี้ ย่อมเป็นอุดมทาน จึงขอส่วนบุญในทานนั้น. ฝ่ายนายอันนภาระ ก็ได้ให้ส่วนบุญแก่สุมนเศรษฐีนั้น ด้วยเหตุนั้น สุมนเศรษฐีจึงมีใจเลื่อมใสให้ทรัพย์เขาพันหนึ่ง แล้วกล่าวว่า จำเดิมแต่นี้ไป กิจด้วยการทำการงานด้วยมือของตน ย่อมไม่มีแก่ท่าน ท่านจงกระทำ เรือนให้เหมาะสมแล้วอยู่ประจำเถิด.

เพราะเหตุที่บิณฑบาต อันบุคคลถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ออก จากนิโรธสมาบัติ ย่อมมีวิบากอันโอฬารในวันนั้นนั่นเอง เพราะฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 550

สุมนเศรษฐีเมื่อจะไปเฝ้าพระราชา ได้พาเอานายอันนภาระนั้นไปด้วย. ฝ่ายพระราชา ทอดพระเนตรดูนายอันนภาระนั้นโดยเอื้อเฟื้อ. เศรษฐี กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า นายอันนภาระนี้ เป็นผู้ควรจะทอดพระเนตรดูทีเดียว แล้วกราบทูลกรรมที่นายอันนภาระทำในคราวนั้น และ ความที่แม้ตนก็ได้ให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่เขา. พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น ทรงยินดีแก่เขา ได้ประทานทรัพย์พันหนึ่ง แล้วทรงสั่งสถานที่สร้างเรือน แก่เขาว่า เธอจงสร้างเรือนอยู่ในที่โน้น. เมื่อนายอันนภาระนั้นให้ชำระ สถานที่นั้นอยู่ หม้อขุมทรัพย์ใหญ่ๆ หลายหม้อผุดขึ้นแล้ว. เขาเห็น ดังนั้นจึงกราบทูลแด่พระราชา. พระราชารับสั่งให้ขนทรัพย์ทั้งหมดขึ้นมา ทรงเห็นเขาทำเป็นกองไว้ จึงตรัสถามว่า ทรัพย์มีประมาณเท่านี้ มีใน เรือนของใครในนครนี้บ้าง. ประชาชนพากันกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ในเรือนของใครไม่มี พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น นาย อันนภาระนี้ จงเป็นเศรษฐีชื่อว่า อันนภารเศรษฐี ในนครนี้ แล้วทรง ให้ยกฉัตรเศรษฐีแก่เขาในวันนั้นเอง.

เขาเป็นเศรษฐีแล้วกระทำกรรมอันงามอยู่ชั่วอายุ แล้วบังเกิดใน เทวโลกท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ตลอดกาลนาน ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้น จึงถือปฏิสนธิในวังของพระเจ้าสุกโกทนศากยะในนครกบิลพัสดุ์. พระญาติทั้งหลายได้ขนานนามแก่เขา ผู้เกิดแล้วว่า อนุรุทธะ เจ้าอนุรุทธะนั้นเป็นพระกนิษฐภาดาของพระเจ้า มหานามศากยะ เป็นโอรสของพระเจ้าอาแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ ละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง เป็นผู้มีปัญญามาก. ก็พระกระยาหารของพระองค์ เกิดขึ้นเฉพาะในถาดทองเท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 551

ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง พระมารดาของพระองค์ทรงดำริว่า บุตรของ เราย่อมไม่รู้บทว่า " ไม่มี " เราจักให้เขารู้ จึงเอาถาดทองใบหนึ่งปิด ถาดทองเปล่าๆ ใบหนึ่ง แล้วส่งไปให้แก่เธอ, ในระหว่างทาง เทวดา ทั้งหลายทำถาดทองนั้นให้เต็มด้วยขนมทิพย์. เจ้าอนุรุทธะนั้นมีบุญมาก อย่างนี้ อันเหล่าหญิงฟ้อนรำผู้ประดับประดาแวดล้อม เสวยสมบัติใหญ่ อยู่ในปราสาท ๓ หลังอันเหมาะแก่ฤดูทั้ง ๓ ประดุจเทวดา.

พระโพธิสัตว์แม้ของเราทั้งหลายจุติจากดุสิตบุรีในสมัยนั้น บังเกิด ในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงถึง ความเจริญวัยโดยลำดับ ประทับอยู่ท่ามกลางเรือน ๒๙ พรรษา แล้วเสด็จ ออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณโดยลำดับ ทรง ยับยั้งอยู่ที่โพธิมัณฑสถาน ๗ สัปดาห์ แล้วทรงประกาศพระธรรมจักรที่ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมื่อจะทรงกระทำการอนุเคราะห์ชาวโลก จึงเสด็จ ไปยังนครราชคฤห์ ประทับอยู่ในพระเวฬุวัน. ในกาลนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงส่งอำมาตย์ ๑๐ คน มีบริวารคนละพันไปด้วย พระดำรัสว่า ได้ยินว่า บุตรของเราถึงนครราชคฤห์โดยลำดับแล้ว นี่แน่ะ นาย ท่านทั้งหลายจงไปนำบุตรของเรามา. อำมาตย์เหล่านั้นทั้งหมด พากันบรรพชาด้วยเอหิภิกขุบรรพชา. บรรดาอำมาตย์เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพระอุทายีเถระทูลอาราธนาขอให้เสด็จจาริกไป ทรงแวดล้อมด้วยพระขีณาสพสองหมื่น เสด็จออกจากนครราชคฤห์ถึงกบิลพัสดุ์บุรี แล้วทรงแสดงปาฏิหาริย์มิใช่น้อยในสมาคมพระญาติ แล้วตรัสธรรมเทศนาอันวิจิตรงดงามด้วยปาฏิหาริย์ ยังมหาชนให้ดื่มน้ำอมฤตแล้ว ในวันที่สอง ทรงถือบาตรและจีวรประทับยืนที่ประตูพระนคร ทรงพระ-

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 552

รำพึงว่า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์เสด็จมาถึงนครของตระกูลแล้ว ทรง ประพฤติอย่างไรหนอ ทรงทราบว่า ประพฤติเที่ยวบิณฑบาตไปตาม ลำดับตรอก จึงเสด็จเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอก. พระราชาทรง ทราบว่า พระโอรสของพระองค์เที่ยวบิณฑบาตจึงรีบด่วนเสด็จมา ได้ทรง สดับธรรมในระหว่างถนน จึงนิมนต์ให้เสด็จเข้าในนิเวศน์ของพระองค์ ได้ทรงกระทำสักการะสัมมานะใหญ่หลวง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำ การอนุเคราะห์พระญาติอันจะพึงทรงกระทำในที่นั้น แล้วทรงให้ราหุลกุมารบรรพชา ไม่นานนัก พระองค์เสด็จเที่ยวจาริกจากนครกบิลพัสดุ์ ไปในมัลลรัฐ เสด็จถึงอนุปิยอัมพวัน.

สมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราชรับสั่งให้ประชุมหมู่เจ้าศากยะแล้ว ตรัสว่า ถ้าบุตรของเราจักครองเรือนแล้ว จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ มีหมู่กษัตริย์เป็นบริวาร, ราหุลกุมารแม้เป็นหลาน ของเรา ก็จักได้เที่ยวห้อมล้อมบุตรของเราพร้อมกับหมู่กษัตริย์ แม้ท่าน ทั้งหลายก็ย่อมรู้เรื่องราวอันนี้ ก็บัดนี้ บุตรของเราเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว กษัตริย์ทั้งหลายเท่านั้นจงเป็นบริวารของบุตรของเรา ท่านทั้งหลายจงให้ ทารกคนหนึ่งๆ จากตระกูลหนึ่งๆ. เมื่อพระเจ้าสุทโธทนมหาราชตรัส อย่างนี้แล้ว ขัตติยกุมารแปดหมื่นสองพันองค์ พากันบวชพร้อมกัน.

สมัยนั้น เจ้ามหานามศากยะ ทรงเป็นเจ้าทรัพย์ ท้าวเธอจึงเสด็จ เข้าไปหาเจ้าอนุรุทธศากยะผู้เป็นพระกนิษฐาของพระองค์ แล้วได้ตรัส คำนี้ว่า พ่ออนุรุทธะ บัดนี้ ศากยกุมารผู้มีชื่อเสียงปรากฏพากันบวชตาม พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงผนวชแล้ว ก็ใครๆ จากตระกูลของพวกเรา ผู้ จะออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่มีเหย้าเรือน ย่อมไม่มี ถ้าอย่างนั้น เธอจง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 553

บวช หรือพี่จักบวช. เจ้าอนุรุทธะได้ฟังดังนั้น ไม่ยินดีในการครองเรือน มีตนเป็นที่ ๗ ออกจากเรือนเป็นผู้ไม่มีเหย้าเรือน. ลำดับแห่งการบรรพชา ของเจ้าอนุรุทธะนั้น มาแล้วในสังฆเภทกขันธกะนั่นแล. ก็บรรดาเจ้าศากยะ เหล่านั้นผู้ไปยังอนุปิยอัมพวันแล้วบวชอย่างนั้น พระภัททิยเถระบรรลุ พระอรหัตในภายในพรรษานั้นนั่นเอง. พระอนุรุทธเถระทำทิพยจักษุให้ บังเกิด พระเทวทัตทำสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด พระอานนทเถระตั้งอยู่ใน พระโสดาปัตติผล พระภคุเถระ และพระกิมพิลเถระ บรรลุพระอรหัตใน ภายหลัง. อภินิหารแห่งความปรารถนาในชาติก่อน ของพระเถระแม้ ทั้งหมดนั้น จักมีแจ้งในอาคตสถานของตนๆ. พระอนุรุทธเถระนี้ เรียนพระกรรมฐานในสำนักของพระธรรมเสนาบดี แล้วไปยังปาจีนวังสทายวัน ในเจติยรัฐ บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ ตรึกมหาปุริสวิตกได้ ๗ ข้อ ลำบากในมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘. พระศาสดาทรงทราบว่า พระอนุรุทธะลำบากในมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ จึงทรงดำริว่า เราจักทำความดำริ ของอนุรุทธะให้บริบูรณ์ จึงเสด็จไปในที่นั้น ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่เขาลาดไว้ ตรัสอริยวังสปฏิปทาอันประดับด้วยการอบรมสันโดษใน ปัจจัย ๔ เป็นที่มายินดี ทรงทำมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ ให้บริบูรณ์ แล้ว เหาะขึ้นสู่อากาศเสด็จไปเฉพาะเภสกลาวันนั่นแล.

พระเถระ พอเมื่อพระศาสดาเสด็จไปแล้วเท่านั้น ได้เป็นพระมหา ขีณาสพมีวิชชา ๓ คิดว่า พระศาสดาทรงทราบใจของเรา จึงได้เสด็จมา ประทานมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ ให้บริบูรณ์ ก็มโนรถของเรานั้นถึงที่สุดแล้ว ได้ปรารภพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า และปฏิเวธธรรมของตน จึงได้กล่าวอุทานคาถาเหล่านี้ว่า

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 554

พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรงรู้ความดำริของเรา ได้เสด็จเข้าไปหาด้วยพระฤทธิ์ทางกายอันสำเร็จด้วยใจ เรา ได้มีความดำริในกาลใด ในกาลนั้น ได้ทรงแสดงให้ยิ่งกว่า นั้น. พระพุทธเจ้าผู้ยินดีในธรรมอันไม่มีความเนิ่นช้า ได้ ทรงแสดงธรรมอันไม่มีความเนิ่นช้า เรารู้ทั่วถึงธรรมของ พระองค์ ยินดีในพระศาสนาอยู่ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราทำเสร็จแล้ว.

ครั้นในกาลต่อมา พระศาสดาประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงตั้งพระอนุรุทธเถระนั้นไว้ในตำแหน่งอันเลิศกว่า อนุรุทธะเป็นเลิศ แห่งภิกษุทั้งหลายผู้มีจักษุทิพย์.

พระอนุรุทธเถระนั้น ครั้นได้ตำแหน่งเลิศแห่งภิกษุผู้มีจักษุทิพย์ จากสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้แล้ว ระลึกถึงบุรพกรรมของตน เมื่อจะประกาศอปทานแห่งความประพฤติก่อน ด้วยอำนาจความโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สุเมธํ ภควนฺตาหํ ดังนี้. ในคำนั่น เชื่อมความว่า เมธาดีกล่าวคือปัญญาในการให้เข้าไปคอยปฏิบัติ ปัญญาในมรรคผล ปัญญาในวิปัสสนา และปฏิสัมภิทาเป็นต้น มีอยู่แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าใด พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ชื่อว่าสุเมธะผู้มีปัญญาดี, เราได้เห็นพระสุเมธะ นั้นชื่อว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะทรงถึงพร้อมด้วยภาคยะคือบุญ ผู้ เจริญที่สุด คือประเสริฐสุด ได้แก่เป็นประธานของโลก คือทรงออกจาก สงสารก่อน ผู้องอาจคือไปเบื้องหน้าแห่งนรชนทั้งหลาย ผู้หลีกออก คือเป็นผู้สงัด ได้แก่ผู้ปราศจากความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะอยู่. ความว่า เข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ชื่อว่า สัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรม

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 555

ทั้งปวงด้วยพระองค์เอง. บทว่า อญฺชลึ ปคฺคเหตฺวาน ความว่า ประนม นิ้วทั้ง ๑๐ ไว้เหนือศีรษะ. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

บทว่า ทิวา รตฺติญฺจ ปสฺสามิ ความว่า ในกาลนั้น คือในกาล เกิดขึ้นในเทวโลกและมนุษยโลก เราย่อมมองเห็นได้โยชน์หนึ่งโดยรอบ ด้วยมังสจักษุ.

บทว่า สหสฺสโลกํ าเณน ความว่า เราแลเห็นตลอดพันจักรวาล ด้วยปัญญาจักษุ. บทว่า สตฺถุ สาสเน ได้แก่ ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดม ณ บัดนี้. นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป คือ บูชาด้วยประทีป อธิบายว่า ด้วยผลนี้ เราจึงบรรลุ คือได้ทำทิพยจักษุ ให้เกิดขึ้น.

จบพรรณนาอนุรุทธเถราปทาน