พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อุปาลีเถราปทานที่ ๘ (๖) ว่าด้วยผลแห่งการสร้างสังฆาราม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  40994
อ่าน  508

[เล่มที่ 70] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 563

พุทธวรรคที่ ๑

๓. เถราปทาน

อุปาลีเถราปทานที่ ๘ (๖)

ว่าด้วยผลแห่งการสร้างสังฆาราม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 70]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 563

อุปาลีเถราปทานที่ ๘ (๖)

ว่าด้วยผลแห่งการสร้างสังฆาราม

[๘] ในพระนครหังสวดี มีพราหมณ์ชื่อว่า สุชาต สั่งสมทรัพย์ ไว้ประมาณ ๘๐ โกฏิ มีทรัพย์และข้าวเปลือกมากมาย.

เป็นผู้สอน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท ถึงที่สุดในคัมภีร์ ทำนายลักษณะ คัมภีร์อิติหาสะ และคัมภีร์พราหมณ์.

ในกาลนั้นปริพาชกผู้มุ่นผมเป็นชฎา สาวกของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ผู้เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ และดาบส ผู้ท่องเที่ยว พากันท่องเที่ยวไปบนพื้นแผ่นดิน.

แม้พวกเขาก็ห้อมล้อมข้าพระองค์ด้วยคิดว่า เป็นพราหมณ์ มีชื่อเสียง ชนเป็นอันมากบูชาข้าพระองค์ แต่ข้าพระองค์ไม่ บูชาใครๆ.

เพราะข้าพระองค์ไม่เห็นคนที่ควรจะบูชา เวลานั้น ข้าพระองค์มีมานะจัด คำว่า พุทโธ ยังไม่มี ตลอดเวลาที่พระชินเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น.

โดยกาลล่วงวันและคืนไป พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระผู้เป็นนายก ทรงบรรเทาความมืดทั้งปวงแล้ว เสด็จ อุบัติขึ้นในโลก.

ในศาสนาของพระองค์ มีหมู่ชนแพร่หลายมากมาย หนาแน่น เวลานั้น พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปสู่พระนครหังสวดี.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 564

พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์ แก่พระพุทธบิดา ในกาลนั้นบริษัทโดยรอบมีประมาณโยชน์ หนึ่ง.

ในกาลนั้น ดาบสชื่อว่าสุนันทะ อันหมู่มนุษย์สมมติแล้ว ว่าเลิศ ได้เอาดอกไม้ทำร่มบังแดดให้ทั่วพุทธบริษัท.

พระพุทธเจ้าทรงประกาศสัจจะ ๔ ภายใต้มณฑปดอกไม้ อันประเสริฐ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ประมาณแสนโกฏิ.

พระพุทธเจ้าทรงยังฝนคือธรรมให้ตกตลอด ๗ คืน ๗ วัน เมื่อถึงวันที่ ๘ พระชินเจ้าทรงพยากรณ์สุนันทดาบสว่า ท่าน ผู้นี้เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกหรือมนุษยโลก จักเป็นผู้ ประเสริฐกว่าเขาทั้งหมด ท่องเที่ยวไปในภพ.

ในแสนกัป พระศาสดามีพระนามว่าโคดม ผู้สมภพใน วงศ์ของพระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก.

บุตรของนางมันตานีชื่อว่าปุณณะ จักเป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นโอรสผู้รับมรดกในธรรมทั้งหลาย อันธรรมนิรมิตแล้ว.

เวลานั้น พระสัมพุทธเจ้าทรงยังชนทั้งปวงให้ร่าเริง ทรง แสดงพระกำลังของพระองค์ ทรงพยากรณ์สุนันทดาบสด้วย ประการอย่างนี้.

ชนทั้งหลายประนมอัญชลีนมัสการสุนันทดาบสในครั้งนั้น ครั้นสุนันทดาบสกระทำสักการะในพระพุทธเจ้าแล้ว ได้ทำ คติของตนให้หมดจด.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 565

เพราะข้าพระองค์ได้ฟังพระดำรัสของพระมุนี จึงได้มี ความดำริ ณ ที่นั้นว่า เราจักก่อสร้างบุญสมภาร ด้วยประการ ที่จะได้เห็นพระโคดม.

ครั้นข้าพระองค์คิดอย่างนี้แล้ว จึงคิดถึงบุญกิริยาของ ข้าพระองค์ว่า จะประพฤติกรรมอะไร ในบุญเขตอัน ยอดเยี่ยม.

ก็ภิกษุนี้ชำนาญบาลีทั้งปวงในศาสนา พระศาสดาทรงตั้ง ไว้ในตำแหน่งอันเลิศฝ่ายพระวินัย ข้าพระองค์จึงได้ปรารถนา ตำแหน่งนั้น.

โภคสมบัติของข้าพระองค์ประมาณมิได้ เปรียบดังสาคร อันอะไรให้กระเพื่อมไม่ได้.

ข้าพระองค์ได้สร้างอารามถวายแด่พระพุทะเจ้า ด้วย โภคสมบัตินั้น.

ได้ซื้ออารามนามว่าโสภณ ณ เบื้องหน้าพระนคร ด้วย ทรัพย์แสนหนึ่ง ถวายให้เป็นสังฆาราม

ข้าพระองค์ได้สร้างเรือนยอด ปราสาท มณฑป เรือนโล้น และถ้ำอย่างสวยงามไว้ ในที่จงกรมใกล้สังฆาราม.

ได้สร้างเรือนไฟ โรงไฟ และห้องอาบน้ำ แล้วได้ถวาย แก่ภิกษุสงฆ์.

ได้ถวายเก้าอี้นอน ตั่ง ภาชนะเครื่องใช้สอย คนเฝ้า อารามและเภสัชทุกอย่างนั้น.

ได้ตั้งอารักขาไว้ แล้วให้สร้างกำแพงอย่างมั่นคง ด้วย

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 566

หวังว่า ใครๆ อย่าเบียดเบียนสังฆารามของท่านผู้มีจิตสงบ ผู้คงที่.

ได้ให้สร้างกุฎีที่อยู่แสนหลังไว้ในสังฆาราม ครั้นให้สร้าง สำเร็จพร้อมไพบูลย์แล้ว จึงน้อมถวายแด่พระสันพุทธเจ้าว่า

ข้าแต่พระมุนี ข้าพระองค์สร้างอารามสำเร็จแล้ว ขอ พระองค์โปรดทรงรับเถิด ข้าแต่พระธีรเจ้า ข้าพระองค์ขอ มอบถวายแด่พระองค์ ขอได้โปรดรับไว้เถิดพระเจ้าข้า.

พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก เป็น นายกของโลก ผู้ควรแก่การรับเครื่องบูชา ทรงทราบความ ดำริของข้าพระองค์แล้ว ได้ทรงรับสังฆาราม.

ข้าพระองค์ทราบว่า พระสัพพัญญูผู้แสวงหาคุณอันยิ่ง ใหญ่ทรงรับแล้ว จึงให้ตระเตรียมโภชนะเสร็จแล้วกราบทูล เวลาเสวย.

เมื่อข้าพระองค์กราบทูลเวลาเสวยแล้ว พระปทุมุตตระผู้ นายกของโลก เสด็จมาสู่อารามของข้าพระองค์พร้อมด้วย พระขีณาสพพันหนึ่ง.

ข้าพระองค์ทราบเวลาว่า พระองค์ประทับนั่งแล้ว ได้ เลี้ยงดูให้อิ่มหนําด้วยข้าวน้ำ ครั้นได้ทราบเวลาเสวยเสร็จแล้ว ได้กราบทูลดังนี้ว่า ข้าแต่พระมุนี ข้าพระองค์ซื้ออารามชื่อ โสภณ ด้วยทรัพย์แสนหนึ่ง ได้สร้างจนเสร็จด้วยทรัพย์ เท่านั้นเหมือนกัน ขอได้โปรดทรงรับเถิด.

ด้วยการถวายอารามนี้ และด้วยการตั้งเจตนาไว้ เมื่อ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 567

ข้าพระองค์เกิดอยู่ในภพ ย่อมได้สิ่งที่ปรารถนา.

พระสัมพุทธเจ้าทรงรับสังฆาราม ที่ข้าพระองค์สร้างเสร็จ แล้ว ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า

ผู้ใดได้ถวายสังฆารามที่สร้างสำเร็จแล้ว แด่พระพุทธเจ้า เราจะพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว.

จตุรงคเสนา คือพลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้า จะแวดล้อมผู้นี้อยู่เป็นนิจ นี้เป็นผลแห่งการถวายสังฆาราม.

ดนตรีหกหมื่น และกลองอันประดับสวยงาม จะแวดล้อม ผู้นี้เป็นนิจ นี้เป็นผลแห่งการถวายสังฆาราม.

นารีแปดหมื่นหกพันนาง ตกแต่งงดงาม มีผ้าและอาภรณ์ อันวิจิตร สวมสอดแก้วมณีและกุณฑล มีหน้าแฉล้ม ยิ้มแย้ม ตะโพกผึ่งผาย เอวเล็กเอวบาง จะแวดล้อมผู้นี้อยู่ เป็นนิจ นี้เป็นผลแห่งการถวายสังฆาราม.

ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ตลอดสามหมื่นกัป จักเป็น จอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลกพันครั้ง จักได้ของทุก อย่างที่ท้าวเทวราชจะพึงได้ จักเป็นผู้มีโภคสมบัติไม่รู้จักพร่อง เสวยเทวราชสมบัติอยู่.

จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิอยู่ในแว่นแคว้นพันครั้ง จักเป็น พระราชาอันไพบูลย์ในแผ่นดิน โดยคณนานับไม่ถ้วน

ในแสนกัป พระศาสดาพระนามว่าโคดมโดยพระโคตร ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นี้จักเป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 568

เป็นโอรสผู้รับมรดกในธรรม อันธรรมเนรมิต มีนามชื่อว่า อุบาลี.

จักถึงที่สุดในพระวินัย ฉลาดในฐานะและมิใช่ฐานะ ดำรงพระศาสนาของพระชินเจ้า ไม่มีอาสวะอยู่.

พระโคดมศากยะผู้ประเสริฐ ได้ทรงทราบข้อนี้ทั้งสิ้น แล้ว ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์จักทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะ.

ข้าพระองค์อาศัยบุญกุศลอันหาประมาณมิได้ ย่อม ปรารถนาศาสนาของพระองค์ ประโยชน์คือธรรมเครื่องสิ้น แห่งสังโยชน์ทั้งปวงนั้น ข้าพระองค์บรรลุแล้ว.

อุปมาเหมือนคนอันพระราชอาญาคุกคาม ถูกเสียบด้วย หลาว ไม่ได้ความสุขที่หลาว ปรารถนาจะพ้นไปอย่างเดียว ฉันใด.

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้น อันอาญาคือ ภพคุกคาม ถูกเสียบด้วยหลาวคือกรรม ถูกเวทนาคือความ กระหายบีบคน.

ไม่ได้ความสุขในภพ ถูกไฟ ๓ กองแผดเผาอยู่ ย่อม แสวงหาอุบายเครื่องพ้น ดังคนแสวงหาอุบายเพื่อฆ่ายาพิษ. พึงแสวงหายา เมื่อแสวงหาอยู่ พึงพบยาสำหรับฆ่ายาพิษ ดื่มยานั้นแล้วพึงมีความสุข เพราะพ้นจากพิษ ฉันใด.

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ข้าพระองค์ก็เหมือนคนอันถูกยาพิษ บีบคั้น ฉันนั้น ถูกอวิชชาบีบคั้นแล้ว พึงแสวงหายาคือ พระสัทธรรม.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 569

เมื่อแสวงหายาคือพระสัทธรรมอยู่ ได้พบศาสนาของ พระองค์ผู้ศากยบุตร อันเป็นของจริงอย่างเลิศสุดยอดของ โอสถ เป็นเครื่องบรรเทาลูกศรทั้งปวง.

ข้าพระองค์ดื่มยาคือธรรมแล้ว ถอนยาพิษคือสังสารทุกข์ ได้หมดแล้ว ข้าพระองค์ได้พบนิพพานอันไม่แก่ไม่ตาย เป็น ธรรมชาติเย็นสนิท.

อุปมาเหมือนคนถูกผีคุกคาม ได้รับทุกข์เพราะผีสิง พึง แสวงหาหมอผีเพื่อจะพ้นจากผี เมื่อแสวงหาไป ก็พึงพบ หมอผู้ฉลาดในวิชาไล่ผี หมอนั้นพึงขับผีให้แก่คนนั้น และพึง ให้ผีพินาศไปพร้อมทั้งต้นเหตุ ฉันใด.

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้น ได้รับทุกข์ เพราะความมืดเข้าจับ จึงต้องแสวงหาแสงสว่างคือญาณ เพื่อ จะพ้นจากความมืด ทีนั้น ได้พบพระศากยมุนีผู้ชำระความ มืดคือกิเลสให้หมดจด. ได้ทรงบรรเทาความมืดให้ข้าพระองค์ แล้ว ดังหมอผีขับผีไปฉะนั้น.

ข้าพระองค์ตัดกระแสสงสารได้แล้ว ห้ามกระแสตัณหา ได้แล้ว ถอนภพได้สิ้นเชิง เหมือนหมอผีขับผีพร้อมทั้งถอน รากฉะนั้น.

อุปมาเหมือนพญาครุฑ โฉบลงเพื่อจับนาคอันเป็นเหยื่อ ของตน ย่อมทำน้ำในสระใหญ่ให้กระเพื่อมตลอดร้อยโยชน์ โดยรอบ ครั้นจับนาคได้แล้ว ห้อยหัวนาคไว้เบื้องต่ำทำให้ ลำบาก ครุฑนั้นพาเอานาคไปได้ตามปรารถนา ฉันใด.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 570

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้น แสวงหา อสังขตธรรม เหมือนครุฑมีกำลัง บินแสวงหานาคฉะนั้น ข้าพระองค์ได้คายโทษทั้งหลายแล้ว ข้าพระองค์เห็นธรรมอัน ประเสริฐ เป็นสันติบท ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ข้าพระองค์ถือ ธรรมนี้อยู่ เหมือนครุฑจับนาคบินไปฉะนั้น.

เถาวัลย์ชื่ออาสาวดี เกิดในสวนจิตรลดา ต่อเมื่อล่วงไป พันปี จึงเผล็ดผลหนึ่งผล. เหล่าเทวดาเข้าไปนั่งใกล้เถาวัลย์ ชื่ออาสาวดีนั้น ซึ่งมีผลคราวหนึ่งนานเพียงนั้น เถาวัลย์ อาสาวดีนั้น เป็นเลิศแห่งไม้เถา๑ เป็นที่รักของเทวดาทั้งหลาย อย่างนี้.

ข้าพระองค์อาศัยเวลาเป็นแสนปี จึงได้เที่ยวมาใกล้พระองค์ผู้เป็นมุนี ได้นมัสการทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้า เหมือน เทวดาเชยชมผลอาสาวดีฉะนั้น.

การบำเรอพระพุทธเจ้าไม่เป็นหมัน และการนมัสการไม่ เป็นโมฆะ แม้ข้าพระองค์จะมาแต่ที่ไกล ขณะก็ไม่ล่วงเลย ข้าพระองค์ไป ข้าพระองค์ค้นหาปฏิสนธิในภพ ก็ไม่เห็น เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่มีอุปธิ พ้นวิเศษแล้ว สงบ ระงับเที่ยวไป.

ธรรมดาดอกปทุม ย่อมบานเพราะแสงอาทิตย์ แม้ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บานแล้ว เพราะรัศมีของพระพุทธเจ้า.


๑. บาลีเป็น ผลุตฺตมา, ม. ยุ. เป็นลตุตฺตมา.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 571

นกยางตัวผู้ ย่อมไม่มีในกำเนิดนกยางทุกเมื่อ เมื่อเมฆ ร้องกระหึ่ม นกยางย่อมมีครรภ์ทุกเมื่อ พวกมันย่อมทรงครรภ์ อยู่แม้นานตลอดเวลาที่สายฝนยังไม่ตก พวกมันย่อมพ้นจาก การทรงครรภ์ เมื่อเวลาที่สายฝนตก ฉันใด.

ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงประกาศกึกก้องด้วยเมฆฝนคือธรรม ได้ถือเอา ครรภ์คือธรรม ด้วยเสียงแห่งเมฆฝนคือธรรม ข้าพระองค์ อาศัยแสนกัป ทรงครรภ์คือบุญอยู่ ยังไม่พ้นจากภาระคือ สงสารตลอดเวลาที่สายฝนคือธรรมยังไม่ตก.

ข้าแต่พระศากยมุนี เมื่อเวลาที่พระองค์ทรงประกาศ กึกก้องด้วยสายฝนคือธรรม ในนครกบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์ ข้าพระองค์จึงได้พ้นจากภาระคือสงสาร.

ข้าพระองค์สะสาง (ชำระ) ธรรมคือสุญญตวิโมกข์ อนิ- มิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ และผล ๔ ทั้งหมดแม้นั้น ให้สะอาดได้แล้ว.

จบทุติยภาณวาร

ข้าพระองค์ปรารถนาคำสอนของพระองค์ ตั้งต้นแต่กัป อันหาประมาณมิได้ ประโยชน์อันนั้น ข้าพระองค์ได้ถึงแล้ว สันติบทอันยอดเยี่ยม ข้าพระองค์บรรลุแล้ว.

ข้าพระองค์ถึงความยอดเยี่ยมในพระวินัย เหมือนภิกษุ ผู้ชำนาญพระบาลีฉะนั้น ไม่มีใครเสมอเหมือนข้าพระองค์ ข้าพระองค์ทรงคำสอนไว้.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 572

ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัยในวินัย (คืออุภโตวิภังค์) ขันธกะ (คือมหาวรรคและจุลวรรค) ในติกเฉท (คือติกสังฆาทิเสส และติกปาจตตีย์) และในคัมภีร์ที่ ๕ (คือปริวาร) เหล่านี้ ทั้งในอักขระหรือแม้พยัญชนะ.

ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในนิคคหกรรม การลงโทษ ใน ปฏิกรรม การทำคืนอาบัติ ในฐานะและไม่ใช่ฐานะ ในการ ชักเข้าหมู่ และในการให้ออกจากอาบัติ ถึงความยอดเยี่ยม ในวินัยกรรมทั้งปวง.

ข้าพระองค์ตั้งบทไว้ในวินัย ขันธกะ และอุภโตวิภังค์ แล้วพึงชักเข้าหมู่ตามกิจ.

ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในนิรุตติ และเฉียบแหลมใน ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ สิ่งที่ข้าพระองค์ไม่รู้ ย่อมไม่มี ข้าพระองค์ผู้เดียวเป็นเลิศแห่งพระวินัยธรในพระพุทธศาสนา.

วันนี้ข้าพระองค์บรรเทาความเคลือบแคลงได้ทั้งสิ้น ตัด ความสงสัยได้ทั้งหมด ในคราวตัดสินวินัย ในศาสนาของ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศากยบุตร.

ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในฐานะทั้งปวง คือบัญญัติ อนุ- บัญญัติ อักขระ พยัญชนะ นิทาน และปริโยสาน.

เปรียบเหมือนพระราชาผู้ทรงพระกำลัง ทรงกำจัดเสนา ของพระราชาอื่นแล้วพึงทำให้เดือดร้อน ชนะสงครามแล้วจึง ให้สร้างนครไว้ในที่นั้น.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 573

ทรงให้สร้างกำแพง คู เสาระเนียด ซุ้มประตูและป้อม ต่างๆ ไว้ในนครเป็นอันมาก ทรงให้สร้างถนน วงเวียน ร้านตลาด อันจัดไว้เป็นระเบียบ และสภาไว้ในนครนั้น เพื่อ วินิจฉัยคดีและมิใช่คดี.

เพื่อจะป้องกันพวกศัตรู เพื่อจะรู้จักโทษและมิใช่โทษ และเพื่อจะรักษาพลกาย พระองค์จึงโปรดตั้งเสนาบดีไว้.

เพื่อประสงค์จะทรงรักษาสิ่งของ จึงโปรดตั้งขุนคลังไว้ ในหน้าที่รักษาสิ่งของ ด้วยทรงหวังว่า สิ่งของของเราอย่า ฉิบหายเสียเลย.

ผู้ใดเป็นผูสมัครสมานกับพระราชา ปรารถนาความเจริญ แก่พระราชานั้นๆ ย่อมประทานการตัดสินอธิกรณ์แก่ผู้นั้น เพื่อปฏิบัติต่อมิตร.

พระราชานั้นโปรดตั้งคนผู้ฉลาดในลางดีลางร้าย ในนิมิต และในตำราทำนานลักษณะ ผู้สั่งสอนมนต์ ทรงจำมนต์ ไว้ใน ตำแหน่งปุโรหิต.

พระราชานั้นทรงสมบูรณ์ด้วยองค์เหล่านี้ มหาชนย่อม เรียกว่ากษัตริย์.

เสนาบดีเป็นต้นเหล่านี้ ย่อมรักษาพระราชาอยู่ทุกเมื่อ ดังนกจากพรากรักษาญาติของตนผู้มีทุกข์ ฉันใด.

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์ก็ฉันนั้น มหาชนย่อมกล่าว ว่า เป็นพระธรรมราชาของโลกพร้อมทั้งเทวโลก เช่นพระราชาทรงกำจัดศัตรูได้แล้ว มหาชนเรียกว่ากษัตริย์ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 574

พระองค์ทรงปราบพวกเดียรถีย์ ทรงกำจัดมารพร้อมทั้ง เสนามาร และความมืดมนอนธการแล้ว ได้ทรงสร้างนคร ธรรมไว้.

ข้าแต่พระธีรเจ้า ในนครธรรมนั้น มีศีลเป็นดังกำแพง พระญาณของพระองค์เป็นดังซุ้มประตู ศรัทธาของพระองค์ เป็นดังเสาระเนียด และสังวรของพระองค์เป็นดังนายประตู.

ข้าแต่พระมุนี สติปัฏฐานของพระองค์เป็นดังป้อม ปัญญา ของพระองค์เป็นดังทางสี่แพร่ง อิทธิบาทเป็นดังทางสาน แพร่ง.

ธรรมวิถีพระองค์ทรงสร้างไว้สวยงาม พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม และพระพุทธพจน์อันมีองค์ ๙ ทั้งสิ้นนี้ เป็น ดังธรรมสภาในนครธรรมของพระองค์.

วิหารธรรม คือสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ อเนญชสมาบัติ และนิโรธนี้ เป็นดังธรรมกุฎีในนคร ธรรมของพระองค์.

พระธรรมเสนาบดีของพระองค์มีนามว่า สารีบุตร ทรงตั้ง ไว้ว่า เป็นผู้เลิศด้วยปัญญา และว่าเป็นผู้ฉลาดในปฏิภาณ.

ข้าแต่พระมุนี ปุโรหิตของพระองค์มีนามว่า โกลิตะ ผู้ฉลาด ในจุติและอุปบัติ ถึงที่สุดแห่งฤทธิ์.

ข้าแต่พระมุนี พระมหากัสสปเถระผู้ดำรงวงศ์โบราณ มีเดชรุ่งเรือง หาผู้เทียบถึงได้ยาก เลิศในธุดงคคุณ เป็นผู้ พิพากษาของพระองค์.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 575

ข้าแต่พระมุนี พระเถระขุนคลังธรรมของพระองค์ มีนาม ว่าพระอานนท์ เป็นพหูสูต ทรงธรรม และชำนาญพระบาลี ทั้งปวง ในพระศาสนา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่แก่ข้าพระองค์ ทรง ละเว้นพระเถระเหล่านี้ทั้งหมดเสีย แล้วทรงประทานการ วินิจฉัยวินัย อันผู้รู้แจ้งแสดงแล้ว แก่ข้าพระองค์.

ภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้าบางรูป ถามปัญหาในวินัย ในปัญหานั้น ข้าพระองค์ไม่ต้องคิด ย่อมแก้เนื้อความนั้นได้ ทันที.

ในกำหนดพุทธเขต เว้นพระมหามุนีเสีย ไม่มีใครเสมอ กับข้าพระองค์ในเรื่องพระวินัย จักมีใครยิ่งกว่ามาแต่ไหน.

พระโคดมประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ แล้วทรง ประกาศอย่างนี้ว่า ไม่ใครจะเสมอกับพระอุบาลี ในวินัยและ ขันธกะ.

นวังคสัตถุศาสน์ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ มีกำหนดเพียง ใด ทั้งหมดนั้นเรากล่าวไว้แล้วในวินัย แก่บุคคลผู้เห็นว่า มีวินัยเป็นมูลราก.

พระโคดมศากยบุตรผู้ประเสริฐ ทรงระลึกถึงกรรมของ เรา ประทับนั่งในท่ามกลางสงฆ์ ทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่ง เอตทัคคะ.

เราได้ปรารถนาตำแหน่งนี้ไว้ ตั้งต้นแต่แสนกัป ประโยชน์ นั้นเราได้ถึงแล้ว เราถึงที่สุดในพระวินัย.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 576

เมื่อก่อนเราเป็นช่างกัลบก ผู้ยังความยินดีให้เกิดแก่เจ้าศากยะทั้งหลาย เราละชาตินั้นแล้วเกิดเป็นบุตรของพระผู้ แสวงหาคุณใหญ่.

ในกัปที่สองแต่ภัทรกัปนี้ พระมหากษัตริย์เจ้าแผ่นดิน พระนามว่าอัญชสะ มีพระเดชานุภาพสูงสุด มีบริวารประมาณ มิได้ มีทรัพย์มากมาย.

เราเป็นกษัตริย์นามว่าจันทนะ เป็นโอรสของพระราชา องค์นั้น เป็นคนกระด้างเพราะความเมาในชาติ และเพราะ ความเมาในยศและโภคะ.

ช้างแสนหนึ่งประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง เป็นช้าง ตกมันโดยฐานะสาม เกดในตระกูลช้างมาตังคะ ห้อมล้อมเรา อยู่ทุกเมื่อ.

เราห้อมล้อมด้วยพลของตน ประสงค์จะประพาสอุทยาน จึงขึ้นช้างชื่อว่าสิริ แล้วออกจากพระนครในกาลนั้น

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านามว่าเทวละ สมบูรณ์ด้วยจรณะ คุ้มครองทวาร และสำรวมเป็นอันดี เดินมาข้างหน้าเรา.

เวลานั้นเราได้ไสช้างสิรินาคไปให้ทำร้ายพระปัจเจกพุทธเจ้า. เพราะการบังคับไสไปนั้น ช้างเกิดความโกรธ (ในเรา) จึงไม่ยกเท้าขึ้น.

เราเห็นช้างร้องไห้ จึงได้กระทำความโกรธในพระปัจเจกพุทธเจ้า เราเบียดเบียนพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วไปยัง อุทยาน.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 577

ณ ที่นั้น เราไม่ได้ความสุขเสียเลย เหมือนไฟลุกโพลง อยู่บนศีรษะ ย่อมร้อนด้วยความเร่าร้อน เหมือนปลาติดเบ็ด.

แผ่นดินมีสมุทรสาครเป็นที่สุด ปรากฏแก่เราเหมือนไฟ ติดทั่วแล้ว เราเข้าไปเฝ้าพระชนกแล้ว ได้กราบทูลดังนี้ว่า

หม่อมฉันได้ทำพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์ใดผู้เป็นสยัมภู ผู้เดินมา เหมือนอสรพิษโกรธ ดุจกองฟางไหม้โพลง ประหนึ่งช้างกุญชรตัวฝึกแล้วซึ่งตกมันให้ขัดเคือง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์นั้น หม่อมฉันให้ขัดเคืองแล้ว เป็นผู้ พึงกลัวมีเดชกล้า เป็นพระชินเจ้า.

(พระชนกตรัสว่า) พวกเราชาวบุรีทั้งหมดจักพินาศ เรา จักขอขมาพระมุนีนั้น ถ้าเราจะไม่ขอขมาท่านผู้มีตนอันฝึกแล้ว มีจิตตั้งมั่น ภายใน ๗ วัน แว่นแคว้นของเราจักพินาศ.

สุเมขลราชา โกสิยราชา สิคควราชา และสัตตกราชา ได้รุกรานฤๅษีทั้งหลาย ท่านเหล่านั้นพร้อมทั้งเสนาเป็นผู้ตก ยากแล้ว.

ฤๅษีทั้งหลายผู้สำรวมแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ โกรธ เคืองเมื่อใด เมื่อนั้นท่านย่อมยังมนุษยโลกพร้อมด้วยเทวโลก ทั้งสาครและภูเขาให้พินาศ.

เราจึงสั่งให้บุรุษทั้งหลายประชุมกัน ในประเทศประมาณ สามพันโยชน์ เพื่อต้องการแสดงโทษ จึงได้เข้าไปหาพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 578

เราทั้งหมดมีผ้าเปียก มีศีรษะเปียก ประนมอัญชลี พา กันหมอบลงแทบเท้า ของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า แล้วได้ เรียนท่านดังนี้ว่า

ข้าแต่พระมหาวีระ ขอเจ้าประคุณได้อดโทษเถิด มหาชนอ้อนวอนเจ้าประคุณ ขอเจ้าประคุณได้โปรดบรรเทาความ เร่าร้อน และขออย่าให้แว่นแคว้นพินาศเลย มนุษย์พร้อม ทั้งเทวดา อสูรและผีเสื้อน้ำทั้งหมด พึงต่อยศีรษะของกระผม ด้วยค้อนเหล็กทุกเมื่อ.

(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า) ไฟไม่ตั้งอยู่ในน้ำ พืช ไม่งอกบนหินล้วนๆ กิมิชาติไม่ดำรงอยู่ในยาพิษ ฉันใด ความโกรธย่อมไม่เกิดในพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ฉันนั้น.

อนึ่ง พื้นดินไม่หวั่นไหว สมุทรสาครประมาณไม่ได้ และ อากาศไม่มีที่สุด ฉันใด พระพุทธะอันใครๆ ให้กำเริบไม่ได้ ฉันนั้น.

พระมหาวีรเจ้าทั้งหลายมีตนฝึกแล้ว อดทน และมีตบะ เจ้าประคุณทั้งหลายผู้อดทน ประกอบด้วยความอดทน ย่อม ไม่มีการลุแก่อคติ.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ได้บรรเทา ความเร่าร้อนให้หมดไป ในกาลนั้นเราได้เหาะขึ้นสู่อากาศ ข้างหน้ามหาชน กล่าวว่า

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า เพราะกรรมนั้น ข้าพระองค์ได้เข้าถึง ความเลวทราม พ้นจากชาตินั้นแล้ว จึงได้เข้าสู่บุรีอันไม่มีภัย.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 579

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า แม้ในกาลนั้น พระองค์ก็ได้บรรเทา ความเร่าร้อนอันตั้งอยู่ดี ให้แก่ข้าพระองค์ผู้เดือดร้อนอยู่ และ ข้าพระองค์ก็ได้ขอขมาพระสยัมภูเจ้าแล้ว.

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า แม้วันนี้พระองค์ได้ดับไฟ ๓ กอง ให้แก่ข้าพระองค์ ผู้ถูกไฟ ๓ กองเผาอยู่ และข้าพระองค์ ได้ถึงความเย็นแล้ว.

ท่านเหล่าใดมีการเงี่ยโสตลงฟัง ขอท่านเหล่านั้นจงฟัง เรากล่าว เราจักบอกเนื้อความแก่ท่าน ตามบทที่เราเห็นแล้ว.

เราดูหมิ่นพระสยัมภูผู้เป็นเอง ผู้มีจิตสงบ มีใจมั่นคง นั้นแล้ว เพราะกรรมนั้น วันนี้เราจึงเกิดในกำเนิดต่ำทราม.

ขณะอย่าพลาดท่านทั้งหลายไปเสีย เพราะผู้ที่ล่วงขณะ ย่อมเศร้าโศก ท่านทั้งหลายจงพยายามในประโยชน์ของตน ท่านทั้งหลายจงยังขณะให้สำเร็จ.

ยาสำรอกของบุคคลบางพวก เป็นยาถ่ายของบุคคลบาง พวก ยาพิษร้ายของบุคคลบางพวก เป็นยาของบุคคลบาง พวก.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสบอกการเปลื้องสงสารแก่ผู้ ปฏิบัติ ตรัสบอกการออกจากสงสารแก่ผู้ตั้งอยู่ในผล ตรัส บอกโอสถแก่ผู้ได้ผล ตรัสบอกบุญเขตแก่ผู้แสวงหา ตรัสบอก ยาพิษอันร้ายแรงแก่บุคคลผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อพระศาสนา ยาพิษ อันร้ายแรงย่อมเผานระนั้น เหมือนอสรพิษมีพิษร้ายฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 580

ยาพิษอันกล้าแข็งที่บุคคลดื่มแล้ว ย่อมยังชีวิตให้พินาศ ได้ครั้งเดียว แต่คนที่ผิดในพระศาสนาแล้ว ย่อมถูกเผาใน โกฏิกัปป์.

พระศาสนานั้นย่อมข้ามโลกพร้อมทั้งเทวโลกได้ เพราะ ขันติ อวิหิงสา และเพราะมีจิตเมตตา เพราะฉะนั้น พระพุทธะเหล่านั้นอันใครๆ ให้พิโรธไม่ได้.

พระมุนี มีจิตเสมอในสรรพสัตว์ คือในพระเทวทัต นายขมังธนู องคุลิมาลโจร พระราหุล และในช้างธนบาล.

พระพุทธเจ้าเหล่านี้ไม่มีความโกรธ ไม่มีความกำหนัด เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงมีจิตเสมอในชนทั้งปวง คือ ในผู้ฆ่าและพระโอรส.

ใครๆ เห็นผ้ากาสาวะอันเขาทิ้งไว้ที่หนทาง เปื้อนของ ไม่สะอาด เป็นธงชัยของฤาษี พึงยกกรอัญชลีบนเศียรเกล้า ไหว้.

พระพุทธเจ้าเหล่าใดในอดีตก็ดี ปัจจุบันก็ดี อนาคตก็ดี ย่อมบริสุทธิ์ด้วยธงชัยนั้น เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่า นั้น ควรนมัสการ.

เราย่อมทรงพระวินัยอันงาม เช่นกับพระศาสดา ไว้ด้วย หทัย เราจักนมัสการพระวินัยในกาลทุกเมื่อ.

พระวินัยเป็นที่อาศัยของเรา พระวินัยเป็นที่ยืนเดินของ เรา เราจะสำเร็จการอยู่ในพระวินัย พระวินัยเป็นโคจรของ เรา.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 581

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระอุบาลีผู้ถึงที่สุดในพระวินัย และฉลาดในสมถะ ขอถวายบังคมที่พระบาทของพระองค์ ผู้เป็นพระศาสดา.

ข้าพระองค์นั้นจะไปจากบ้านนี้สู่บ้านโน้น จากบุรีนี้สู่บุรี โน้น เที่ยวนมัสการพระสัมพุทธเจ้า และพระธรรม อัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้ว.

ข้าพระองค์เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมด แล้ว อาสวะทั้งปวงสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ข้าพระองค์ ได้ดีแล้วหนอ ในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.

วิชชา ๓ ข้าพระองค์ได้บรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพระองค์กระทำเสร็จแล้ว.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ ข้าพระองค์ได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพระองค์ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระอุบาลีเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบอุปาลีเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 582

๖. พรรณนาอุปาลีเถราปทาน

คำมีอาทิว่า นคเร หํสวติยา ดังนี้ เป็นอปทานของท่าน พระอุบาลีเถระ.

แม้พระเถระนี้ ก็ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปาง ก่อนทั้งหลาย ก่อสร้างบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่วิวัฏฏะคือพระนิพพานไว้ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์อันสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ ใน นครหังสวดี. วันหนึ่ง ฟังธรรมอยู่ในสำนักของพระศาสดา ได้ เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเป็นเลิศแห่งพระวินัยธร ทั้งหลาย จึงกระทำกรรม คือการการทำอันยิ่งแด่พระศาสดา แล้ว ปรารถนาฐานันดรนั้น.

เขาทำกุศลจนตลอดชีวิต แล้วท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย ครั้นในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนของช่างกัลบก ญาติ ทั้งหลายตั้งชื่อเขาว่า อุบาลี. อุบาลีนั้นเจริญวัยแล้วได้เป็นสหายรักแห่ง กษัตริย์ ๖ พระองค์ มีเจ้าอนุรุทธะเป็นต้น เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ ในอนุปิยอัมพวัน ได้ออกบวชพร้อมกับกษัตริย์ทั้ง ๖ องค์ผู้เสด็จออก ทรงผนวช. วิธีการบรรพชาของพระอุบาลีนั้น มาในพระบาลีทีเดียว.

พระอุบาลีนั้น บรรพชาอุปสมบทแล้ว เรียนพระกรรมฐาน ในสำนักของพระศาสดาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ. ขอพระองค์จงทรงอนุญาตการอยู่ป่าแก่ข้าพระองค์. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุ เมื่ออยู่ป่า ธุระอย่างเดียวเท่านั้น จักเจริญงอกงาม แต่เมื่อ อยู่ในสำนักของเรา วิปัสสนาธุระและคันถธุระจักบริบูรณ์.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 583

พระอุบาลีนั้นรับพระดำรัสของพระศาสดาแล้ว กระทำวิปัสสนากรรมอยู่ ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต. แม้พระศาสดาก็ทรงให้ พระอุบาลีนั้นเรียนพระวินัยปิฏกทั้งสิ้น ด้วยพระองค์เอง กาลต่อมา ท่าน ได้วินิจฉัยเรื่อง ๓ เรื่องนี้ คือเรื่องภารุกัจฉะ เรื่องอัชชุกะ และเรื่อง กุมารกัสสปะ. พระศาสดาทรงประทานสาธุการ ในการวินิจฉัยแต่ละเรื่อง ทรงกระทำวินิจฉัยทั่ง ๓ ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ จึงทรงตั้งพระเถระไว้ใน ตำแหน่งเลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้เป็นวินัยธร.

พระเถระนั้นครั้นได้ตำแหน่งเอตทัคคะอย่างนี้แล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตนขึ้นมาก็เกิดความโสมนัส เมื่อจะประกาศอปทานแห่งความ ประพฤติในกาลก่อนนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า นคเร หํสวติยา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หํสวติยา ความว่า รั้ว คือการล้อม กำแพง โดยอาการอย่างหงส์วน มีอยู่ในนครใด นครนั้นชื่อว่า หังสวดี. อีกอย่างหนึ่ง พวกหงส์นับไม่ถ้วนอยู่อาศัยในบึงโบกขรณี สระ และ เปือกตม เป็นต้น บินแล่นอยู่รอบๆ ในนครนั้น เพราะเหตุนั้น นคร นั้นจึงชื่อว่า หังสวดี, ในนครหังสวดีนั้น.

บทว่า สุชาโต นาม พฺราหฺมโณ ความว่า ชื่อว่าสุชาต เพราะ เกิดดี อธิบายว่า เกิดมาเป็นผู้ไม่ถูกติเตียนโดยคำว่า ไม่ถูกดูถูก ไม่ถูก ตำหนิ. บทว่า อสีติโกฏินิจโย เชื่อมความว่า พราหมณ์นามว่าสุชาต มีกองทรัพย์ ๘๐ โกฏิ ชื่อว่ามีทรัพย์และข้าวเปลือกเพียงพอ คือมีทรัพย์ และข้าวเปลือกนับไม่ถ้วน.

เมื่อจะแสดงว่า พราหมณ์สุชาตนั้นนั่นแหละเป็นคนใหญ่โตแม้อีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อชฺฌายโก ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 584

อชฺฌายโก ความว่า เป็นผู้บอกไตรเพทเป็นต้นแก่คนเหล่าอื่น. บทว่า มนฺตธโร ความว่า ปัญญา ท่านเรียกว่า มันตา มีปัญญารู้การพยากรณ์ อถรรพณเวทเป็นต้น. บทว่า ติณฺณํ เวทาน ปารคู ความว่า ถึงที่สุด (คือเรียนจบ) ไตรเพทกล่าวคือ อิรุพเพท ยชุพเพท และสามเพท. บทว่า ลกฺขเณ ได้แก่ คัมภีร์ทายลักษณะ. อธิบายว่า ในคัมภีร์อัน ประกาศลักษณะที่ปรากฏอยู่ในมือและเท้าเป็นต้น ของบุรุษผู้จะเป็น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิทั้งหลาย. บทว่า อิติหาเส ความว่า ในคัมภีร์อันประกาศเรื่องราวครั้งโบราณ ว่าเป็น อย่างนี้ๆ. บทว่า สธมฺเม ความว่า ผู้ถึงบารมี คือถึง ได้แก่ บรรลุ ถึงปริโยสาน คือที่สุดในธรรมของตน คือธรรมของพราหมณ์.

บทว่า ปริพฺพาชก เชื่อมความว่า พวกสาวกของนิครนถ์ทั้งหมด นั้น มีทิฏฐิต่างๆ กัน ในครั้งนั้น พากันเที่ยวไปบนแผ่นดิน คือบน พื้นปฐพี.

อธิบายว่า พระชินเจ้ายังไม่อุบัติขึ้นตราบใด คือตลอดกาลมีประมาณ เท่าใด คำว่า พุทฺโธ ย่อมไม่มีตราบนั้น คือตลอดกาลมีประมาณ เท่านั้น.

บทว่า อจฺจเยน อโหรตฺตํ ความว่า วันและคืน ชื่อว่าอโหรัตตะ, โดยปีล่วงไปมากมาย. คำที่เหลือเข้าใจได้ง่ายทั้งนั้น.

บทว่า มนฺตานิปุตฺโต ความว่า บุตรของธิดาช่างกัลบก ชื่อว่า มันตานี, ได้นามว่า ปุณณะ เพราะครบเดือน ครบวัน. เชื่อมความว่า จักได้เป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 585

บทว่า เอวํ กิตฺตยิ โส พุทฺโธ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าปทุมุตตระนั้นทรงประกาศ คือได้ทรงประทานการพยากรณ์อัน น่ายินดีด้วยดี คืออันให้ความโสมนัสด้วยอาการอันดี ด้วยประการอย่างนี้ คือด้วยประการนี้. เชื่อมความว่า ยังชนทั้งปวง คือหมู่ชนทั้งสิ้นให้ยินดี ด้วยดี คือกระทำให้โสมนัส เมื่อจะแสดงกำลังของตน คือเมื่อจะทำให้ ปรากฏ.

ลำดับต่อจากนั้น เมื่อจะแสดงอานุภาพของตนโดยอ้างผู้อื่น จึง กล่าวคำมีอาทิว่า กตญฺชลี ดังนี้. เชื่อมความว่า ในกาลนั้น คือในกาล ก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัตินั้น ชนทั้งปวงกระทำกระพุ่มอัญชลี นมัสการ สุนันทดาบสอยู่. บทว่า พุทฺเธ การํ กริตฺวาน ความว่า สุนันทดาบส นั้น แม้เป็นผู้อันชนทั้งปวงบูชาแล้วอย่างนี้ ก็ไม่กระทำการถือตัวว่าเป็น ผู้ที่เขาบูชา ได้กระทำกิจอันยิ่งในพระพุทธศาสนา ทำคติคือการเกิดของ ตนให้หมดจด คือได้กระทำให้บริสุทธิ์.

บทว่า สุตฺวาน มุนิโน วจํ ได้แก่ พระวาจาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น, เพื่อสะดวกในการผูกคาถา ท่านกล่าวว่า วจํ โดย รัสสะ อา อักษร. เชื่อมความว่า เราได้มีความดำริ คือได้มีมนสิการด้วย เจตนาว่า เพราะได้ฟังพระดำรัสของพระมุนีดังนี้ว่า ในอนาคตกาลอัน ยาวนาน พระศาสดาพระนามว่าโคดม โดยพระนาม จักเกิดมีในโลก เราจักเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดม โดยประการใด จักกระทำ สักการะคือกิจอันยิ่ง ได้แก่ บุญสมภาร โดยประการนั้น.

บทว่า เอวาหํ จินฺตยิตฺวาน ได้แก่ คิดอย่างนี้ว่า เราจักทำสักการะ. บทว่า กิริยํ จินฺตยึ มม ความว่า เราคิดถึงการกระทำ คือกิจที่จะพึง

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 586

ทำว่า เราจะพึงทำบุญเช่นไรหนอ. บทว่า กฺยาหํ กมฺหํ อาจรามิ ความว่า เราจะประพฤติ คือบำเพ็ญบุญกรรมเช่นไร บทว่า ปุญฺกฺ- เขตฺเต อนุตฺตเร ความว่า ในพระรัตนตรัยอันเว้นสิ่งที่ยิ่งกว่า คือเป็น ภาชนะแห่งบุญทั้งสิ้น.

บทว่า อยญฺจ ปาิโก ภิกฺขุ ความว่า ภิกษุนี้เป็นภิกษุผู้ได้นาม ว่า ปาฐิกะ เพราะสวดพระบาลีในคัมภีร์ คือกล่าวด้วยอำนาจสรภัญญะ. พระศาสดาทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเลิศ คือทรงตั้งว่าเป็นผู้เลิศ ในระหว่าง แห่งภิกษุผู้ชำนาญบาลี คือผู้สวดและกล่าวสอนทั้งหมด และในพระวินัย ในพระศาสนา, เราปรารถนาฐานะนั้น คือฐานันดรที่ภิกษุนั้นได้รับ.

เบื้องหน้าแต่นั้น เมื่อจะแสดงอุบายในการทำบุญของตน จึงกล่าว คำมีอาทิว่า อิทํ เม อมิตํ โภคํ ดังนี้. เชื่อมความในคำนั้นว่า กอง แห่งโภคทรัพย์ของข้าพระองค์นับไม่ได้ คือเว้นจากการนับประมาณ อัน ใครๆ ให้กระเพื่อมไม่ได้ คือไม่อาจให้กระเพื่อมได้ อุปมาดังสาคร คือ เช่นกับสาคร ข้าพระองค์ให้สร้างอารามแก่พระพุทธเจ้าด้วยโภคะนั้น คือด้วยทรัพย์เช่นนั้น คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

เชื่อมความว่า พระสัมพุทธเจ้าประทับนั่งในหมู่ภิกษุ ทรงรับ สังฆารามที่ดาบสนั้นสร้าง คือให้ทำดีแล้ว ได้ตรัสพระดำรัสนี้ อันแสดง อานิสงส์แห่งอารามนั้น.

เพื่อจะเฉลยคำถามว่า ได้ตรัสอานิสงส์ไว้อย่างไร? จึงตรัสว่า โย โส ดังนี้ อธิบายว่า ดาบสใดผู้ถวายสังฆาราม มอบถวายสังฆาราม ที่สร้างไว้ดีแล้ว คือที่จัดแจงไว้เรียบร้อยโดยนัยมีกุฎี ที่เร้น มณฑป ปราสาท เรือนโล้น และกำแพงเป็นต้น แก่พระพุทธเจ้า คือได้ถวาย

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 587

โดยประการ คือโดยจิตอันประกอบด้วยความโสมนัส. บทว่า ตมหํ กิตฺตยิสฺสามิ ความว่า เราจักกระทำดาบสนั้นให้ปรากฏ คือจักกระทำให้ แจ้ง. บทว่า สุณาถ มม ภาสโต ความว่า ท่านทั้งหลายจงฟังคำ ของเรา อธิบายว่า จงเงี่ยโสตลง คือจงมีจิตไม่ฟุ้งซ่าน กระทำไว้ในใจ.

เมื่อจะทรงแสดงผลของอารามที่ดาบสนั้นถวาย จึงตรัสคำมีอาทิว่า หตฺถี อสฺสา รถา ปตฺตี ดังนี้. คำนั้นเข้าใจได้ง่ายทั้งนั้น.

บทว่า สงฺฆารามสฺสิทํ ผลํ ความว่า อิฐผลกล่าวคือสมบัติที่จะ พึงเสวยต่อไปนี้ เป็นผลคือเป็นวิบากของการถวายสังฆาราม.

บทว่า ฉฬาสีติสหสฺสานิ ความว่า เหล่านารี คือสตรีแปดหมื่น หกพันนางตกแต่งงดงาม คือประดับตกแต่งสวยงาม มีผ้าและอาภรณ์ อันวิจิตร อธิบายว่า ประกอบด้วยผ้าและอาภรณ์ทั้งหลายอันวิจิตร คือ มีรูปมิใช่น้อย. บทว่า อามุตฺตมณิกุณฺฑลา ได้แก่ ห้อยต่างหูแก้ว มุกดาหารและแก้วมณี.

เมื่อจะแสดงถึงความประเสริฐ คือความงามแห่งรูปร่างของหญิง เหล่านั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อาฬารปมฺหา ดังนี้. ในคำนั้นมีวินิจฉัยดัง ต่อไปนี้. นัยน์ตาทั้งหลายของหญิงเหล่าใด กว้างคือใหญ่ เหมือนลูกแก้ว มณีกลม หญิงเหล่านั้นชื่อว่ามีตากลม อธิบายว่า มีดวงตาใสเหมือนตา ภมรทั้งหลาย. ผู้มากด้วยความร่าเริง คือมีความร่าเริงเป็นปกติ อธิบายว่า ผู้งดงามด้วยการเยื้องกราย. บทว่า สุสญฺา ได้แก่ ผู้มีอวัยวะแห่ง ร่างกายที่พึงสำคัญว่างาม. บทว่า ตนุมชฺฌิมา ได้แก่ ผู้มีส่วนแห่งท้อง เล็ก คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น.

บทว่า ตสฺส ธมฺเมสุ ทายาโท ได้แก่ เป็นทายาทในธรรม

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 588

ทั้งหลาย คือเป็นผู้มีส่วนแห่งโกฏฐาสในธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า โคตมะนั้น. บทว่า โอรโส แปลว่า เกิดในอก. อธิบายว่า เป็นบุตรเกิดในอก เพราะได้ฟังธรรมที่ทรงแสดงกระทบฐานทั้ง ๕ มี คอ เพดาน และริมฝีปากเป็นต้น อันสมบูรณ์ด้วยความรู้ในพยัญชนะ ๑๐ อย่าง มีสิถิล และธนิตเป็นต้น แล้วทำกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไป โดยลำดับ มรรคมีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น แล้วดำรงอยู่ในพระอรหัต.

บทว่า ธมฺมนิมฺมิโต ความว่า ท่านจักเป็นผู้ถูกเนรมิต คือจักเป็น ผู้ปรากฏโดยธรรม คือโดยสม่ำเสมอ โดยไม่มีอาชญา โดยไม่มีศัสตรา. บทว่า อุปาลิ นาม นาเมน ความว่า ผู้นั้นชื่อว่า มันตานีบุตร ตามชื่อ ของมารดา ก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น จักเป็นสาวกของพระศาสดาโดยชื่อว่า อุบาลี เพราะยึดติด คือประกอบ พรั่งพร้อมด้วยกายและจิต ในที่ใกล้ กษัตริย์ทั้งหลาย เพราะออกไปบวชพร้อมกับเจ้าอนุรุทธะเป็นต้น.

บทว่า วินเย ปารมึ คโต ความว่า บรรลุ คือถึงที่สุด ได้แก่การ จบในพระวินัยปิฎก. บทว่า านาฏฺาเน จ โกวิโท ความว่า เป็นผู้ ฉลาด คือเป็นผู้เฉลียวฉลาดในเหตุและมิใช่เหตุ. บทว่า ชินสาสนํ ธาเรนฺโต ความว่า ทรงอนุสาสนีที่พระชินเจ้าตรัสไว้ ได้แก่พระไตรปิฎกของพระชินเจ้า โดยการสอน การฟัง การคิด และการทรงจำ เป็นต้น อธิบายว่า กำหนดไว้ได้. บทว่า วิหริสฺสตินาสโว ความว่า เป็นผู้ไม่มีกิเลส จักนำอัตภาพไปมิให้ตกหล่น คือจักยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยอิริยาบถทั้ง ๔.

บทว่า อปริเมยฺยุปาทาย ได้แก่ กระทำแสนมิใช่น้อยให้เป็นต้น ไป. บทว่า ปตฺเถมิ ตว สาสนํ ความว่า เราปรารถนา คืออยากได้

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 589

ศาสนาของพระองค์ว่า พึงเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุผู้เป็นวินัยธร ในศาสนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โคดม. บทว่า โส เม อตฺโถ ความ ว่า ประโยชน์กล่าวคือตำแหน่งเอตทัคคะนั้น เราได้บรรลุแล้ว. บทว่า สพฺพสํโยชนกฺขโย เชื่อมความว่า ความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง เราได้บรรลุ แล้ว อธิบายว่า บรรลุพระนิพพานแล้ว.

เชื่อมความว่า ผู้ชาย คือบุรุษ ถูกคุกคาม คือถูกบีบคั้นด้วยราชอาญา ถูกเสียบหลาว คือถูกร้อยไว้ที่หลาว ไม่ได้ประสบ คือไม่ได้ เสวยความยินดี คือความสุขอันอร่อยที่หลาว ย่อมต้องการพ้น คือการ หลุดพ้นไป ฉันใด.

เชื่อมความ (ในตอนต่อมา) ว่า ข้าแต่พระมหาวีระ คือข้าแต่ พระวีระผู้สูงสุดในระหว่างวีรชนทั้งหลาย ข้าพระองค์ถูกคุกคาม คือถูก บีบคั้นด้วยอาญาคือภพ ได้แก่อาญาคือชาติ ถูกเสียบที่หลาวคือกรรม ได้แก่ถูกเสียบที่หลาว คือกุศลกรรมและอกุศลกรรม ถูกเวทนาคือความ ระหาย ได้แก่ความกระสับกระส่าย เพราะความระหายเบียดเบียน คือ ครอบงำทำให้มีทุกข์ ไม่ประสบ คือไม่ได้ความยินดีในภพ ได้แก่ความ สุขอันอร่อยในสงสาร. ข้าพระองค์ถูกเผาด้วยไฟ ๓ กอง กล่าวคือไฟคือ ราคะ ไฟคือโทสะ และไฟคือโมหะ หรือไฟในนรก ไฟอันตั้งขึ้นในกัป และไฟคือทุกข์ จึงหา คือแสวงหาความหลุดพ้น คืออุบายเครื่องหลุดพ้น ฉันนั้น. เชื่อมความว่า บุคคลผู้ถึง คือต้องราชอาญา ย่อมแสวงหาความ หลุดพ้น ฉันใด ข้าพระองค์ผู้ต้องการอาญาคือภพ ย่อมแสวงหาความ หลุดพ้น ฉันนั้น.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 590

เมื่อจะแสดงความหลุดพ้นจากสงสาร โดยอุปมาอุปไมยอีก จึง กล่าวคำมีอาทิว่า ยถา วิสาโท ดังนี้. ในคำนั้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- ที่ชื่อว่า วิสาทะ เพราะถูกพิษคืองูพิษกัด คือขบกัดเข้าแล้ว อธิบายว่า ถูกงูกัด. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิสาทะ เพราะกินคือกลืนกินพิษคือยาพิษ อย่างแรง อธิบายว่า กินยาพิษ. เชื่อมความว่า บุรุษใดถูกงูพิษกัด คือ ถูกงูพิษนั้น คือเช่นนั้นเบียดเบียน พึงหาคือแสวงหายาคือโอสถอันเป็น อุบายเพื่อฆ่าพิษ คือเพื่อขจัดพิษให้พินาศ เมื่อแสวงหายานั้น พึงพบ คือพึงเห็นยา คือโอสถสำหรับฆ่าพิษ คือสำหรับขจัดพิษให้พินาศ บุรุษ นั้นดื่มโอสถที่ตนพบเห็นแล้ว พึงเป็นผู้มีความสุขสบายเพราะพ้น คือ เพราะเหตุที่พ้นจากพิษ ฉันใด.

บทว่า ตเถวาหํ ความว่า นระนั้นถูกพิษเบียดเบียน คือถูกงูมีพิษ กัด หรือผู้กินยาพิษเข้าไป ดื่มโอสถแล้วพึงมีความสุขโดยประการใด เราถูกอวิชชาคือโมหะบีบคั้นหนักโดยประการนั้น. บทว่า สทฺธมฺมาคทเมสหํ ความว่า เราหา คือแสวงหาอยู่ซึ่งโอสถ กล่าวคือพระสัทธรรม.

บทว่า ธมฺมาคทํ คเวสนฺโต ความว่า แสวงหาโอสถ คือธรรม เพื่อกำจัดพิษคือสังสารทุกข์ให้พินาศ. บทว่า อทฺทกฺขึ สกฺยสาสนํ ความว่า เราได้พบเห็นศาสนาของพระโคดม ผู้ทรงเกิดจากศากยตระกูล บทว่า อคฺคํ สพฺโพสธานํ ตํ ความว่า ในระหว่างบรรดาโอสถเหล่านั้น ธัมโมสถ กล่าวคือคำสอนของพระศากยโคดมนั้นเป็นเลิศ คือเป็นชั้นสูง สุด. บทว่า สพฺพสลฺลวิโนทนํ เชื่อมความว่า เราดื่มธรรมโอสถ ได้แก่ โอสถคือธรรม อันเป็นเครื่องบรรเทา คือเป็นเครื่องทำความสงบลูกศร

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 591

ทั้งปวง มีลูกศรคือราคะเป็นต้น ได้ถอนพิษทั้งปวง ได้แก่พิษคือสังสารทุกข์ทั้งสิ้น คือทำให้พินาศไป. บทว่า อชรามรํ เชื่อมความว่า เรา ถอนพิษคือทุกข์นั้นแล้ว ได้ถูกต้อง คือได้ทำให้ประจักษ์ซึ่งพระนิพพาน อันไม่แก่ คือเว้นจากความแก่ อันไม่ตาย คือเว้นจากความตาย เป็น ภาวะเย็น คือเป็นของเย็น เพราะเว้นจากความเร่าร้อน เพราะราคะ เป็นต้น.

เมื่อจะแสดงการเปรียบเทียบความมืดคือกิเลสอีก จึงกล่าวคำมีอาทิ ว่า ยถา ภูตฏฺฏิโต ดังนี้. ในคำนั้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- บุคคลคือบุรุษ ถูกภูตผีเบียดเบียน คือถูกภูตผีได้แก่ยักษ์เบียดเบียนคือบีบคั้น ถึงการ บีบคั้น คือถึงความทุกข์ เพราะภูตผีสิง คือเพราะยักษ์จับ พึงแสวงหา หมอภูตผี เพื่อจะพ้น คือเพื่อต้องการจะพ้นจากภูตผี คือจากยักษ์จับ ฉันใด คือโดยประการใด.

เชื่อมความในคาตอนนี้ว่า ก็เมื่อแสวงหาหมอผีนั้น พึงพบหมอผี ผู้ฉลาดดี คือผู้เฉลียวฉลาดในวิชาไล่ผี หมอผีนั้นพึงกำจัดภูตผีที่สิงบุรุษ ผู้ที่ถูกยักษ์จับนั้น คือพึงทำให้พินาศไป คือพึงกำจัดเสียพร้อมทั้งมูลราก คือพร้อมทั้งมูลเหตุ กระทำไม่ให้สิงอีกต่อไป.

เชื่อมความในคาถานี้ว่า ข้าแต่พระมหาวีรเจ้าผู้เป็นวีรบุรุษสูงสุด ข้าพระองค์ถูกบีบคั้นเพราะความมืดจับ คือเพราะความมืดคือกิเลสจับ จึงแสวงหาแสงสว่างคือญาณ ได้แก่แสงสว่างคือปัญญาเพื่อจะพ้น คือ เพื่อต้องการจะพ้นไปจากความมืด ได้แก่จากความมืดคือกิเลส ฉันนั้น เหมือนกัน คือโดยประการนั้นเหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 592

ในคาถานี้มีความว่า ครั้งนั้น คือในลำดับนั้น เราได้เห็นพระศากยมุนีผู้ทรงทำความมืดคือกิเลสให้หมดจด คือผู้ทรงทำความมืดคือ กิเลสให้พินาศ. เชื่อมความว่า พระศากยมุนีนั้นได้ทรงบรรเทา คือได้ ทรงทำให้ไกลซึ่งความมืด คือความอันธการ ได้แก่ความมืดคือกิเลส ให้แก่เรา เหมือนหมอภูตผีขับไล่ภูตผี คือเหมือนหมอผีบรรเทาคนที่ถูก ยักษ์จับให้คลายฉะนั้น.

ความในคาถามนี้ว่า เรานั้นหลุดพ้นอย่างนี้แล้ว ตัดได้ด้วยดีซึ่ง กระแสตัณหา คือความหลั่งไหลไปในสงสาร เราห้ามกระแสตัณหา ได้แก่ โอฆะใหญ่คือตัณหา คือได้กระทำให้หมดไป คือให้เป็นไปไม่ได้. บทว่า ภวํ อุคฺฆาฏยึ สพฺพํ ความว่า เราถอนภพใหม่ทั้งหมดมีกามภพเป็นต้น คือทำให้พินาศไป. เชื่อมความว่า เราถอนได้ทั้งราก เหมือนหมอผีไล่ผี พร้อมทั้งมูลเหตุ.

แต่นั้น เมื่อจะแสดงการเปรียบเทียบการแสวงหาพระนิพพาน จึง กล่าวคำมีอาทิว่า ยถา ดังนี้. ในคำนั้น เชื่อมความว่า ที่ชื่อว่า ครุฑ เพราะกลืนกินของหนักคือนาค. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ครุฑ เพราะจับ คือถือเอาของหนักคือนาค, ได้แก่พญาครุฑ. ครุฑนั้นโผลง คือโฉบลง เพื่อต้องการจับนาคอันเป็นภักษาของตน คือเป็นเหยื่อของตน ได้นามว่า ปันนคะ เพราะไม่ไปสู่เงื้อมมือของผู้อื่นโดยปการะชนิดไร ทำสระใหญ่ คือมหาสมุทรร้อยโยชน์ คือมีประมาณร้อยโยชน์โดยรอบ คือรอบด้าน ให้กระเพื่อม คือให้กระฉอกด้วยลมปีกของตน ฉันใด.

เชื่อมความในคาถาตอนนี้ว่า ครุฑนั้นบินไปในเวหา คือมีปกติบิน ไปในเวหาส จับนาคได้แล้วทำให้ห้อยหัวลง ทำให้ลำบากอยู่ คือ

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 593

เบียดเบียนอยู่โดยการเบียดเบียนต่างๆ ในที่นั้นๆ จับเอาคือจับอย่าง มั่นคงแล้วหลีกไป คือบินไปตามที่ต้องการ คือในที่ที่ตนต้องการไป.

ในตอนนี้ เชื่อมความว่า ข้าแต่พระมหาวีรเจ้าผู้เจริญ ครุฑผู้มีพละ กำลังจับนาค ได้แล้วย่อมบินไป ฉันใด ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แสวงหาพระนิพพานอันเป็นอสังขตะ คืออันปัจจัยทั้งหลายกระทำไม่ได้ ได้แก่แสวงหาโดยการยังข้อปฏิบัติให้บริบูรณ์ คายโทษทั้งหลายได้แก่ กิเลส ๑,๕๐๐ ทั้งสิ้น คือข้าพระองค์ทำให้หมดจดโดยวิเศษ ด้วยสมุจเฉทปหาน.

เชื่อมความในคาถาว่า ครุฑจับนาคกินอยู่ ฉันใด ข้าพระองค์ ก็ ฉันนั้น เห็นแล้ว คือเห็นอยู่ซึ่งธรรมอันประเสริฐ ได้แก่ธรรมอันสูงสุด ถือเอาสันติบท คือนิพพานบทอันเอก ยอดเยี่ยม คือเว้นสิ่งที่ยิ่งกว่า ด้วยมรรคและผลทั้งหลาย ใช้สอยอยู่.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงความที่พระนิพพานเป็นของได้โดยาก จึงกล่าว คำมีอาทิว่า อาสาวตี นาม ลตา ดังนี้. ในคำนั้น มีอธิบายว่า เครือเถา ชื่อว่า อาสาวดี เพราะเทวดาทั้งปวงมีความหวัง คือความอยากได้ใน เครือเถานี้. เครือเถานั้นเกิด คือบังเกิดขึ้นในจิตรลดาวัน คือในวนะ ได้แก่ในอุทยานอันเป็นดงเครือเถาที่วิจิตรตระการตามิใช่น้อย. ต่อพันปี คือต่อล่วงไปพันปี เครือเถานั้นจึงเกิดผลหนึ่งผล คือเผล็ดผลๆ เดียว.

บทว่า ตํ เทวา เชื่อมความว่า เครือเถาอาสาวดีนั้น มีผลนานถึง เพียงนั้น เมื่อล่วงกาลนานเท่านั้นจึงเผล็ดผลคือจึงจะมีผล เหล่าเทวดา คือเทวดาชั้นดาวดึงส์ย่อมเข้าไปนั่งใกล้คือคบหา, เครือเถาชื่อว่าอาสาวดีนั้น

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 594

เป็นเครือเถาชั้นสูง คือเป็นเครือเถาชั้นสูงในระหว่างเครือเถาทั้งหลาย ได้ เป็นที่รักของเหล่าเทวดาอย่างนี้.

บทว่า สตสหสฺสุปาทาย ความว่า กระทำเวลาแสนปีให้เป็นต้น ไป. บทว่า ตาหํ ปริจเร มุนิ ความว่า ญาณเรียกว่าโมนะ ข้าแต่ พระมุนี คือพระผู้มีญาณ ได้แก่พระสัพพัญญูผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเรอ คือเข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น. บทว่า สายํ ปาตํ นมสฺสามิ ความว่า ข้าพระองค์นมัสการ คือกระทำการนอบน้อม ๒ ครั้ง คือเวลา เย็นและเวลาเช้า. เชื่อมความว่า เหมือนเทวดาทั้งหลาย คือเหมือนเหล่า เทวดาชั้นดาวดึงส์ เข้าไปนั่งใกล้เครือเถาอาสาวดีทั้งเย็นและเช้า.

บทว่า อวญฺฌา ปาริจริยา ความว่า เพราะเหตุที่ได้เห็นพระพุทธเจ้า การบรรลุถึงพระนิพพานจึงได้มี เพราะฉะนั้น การบำเรอ พระพุทธเจ้า คือการกระทำวัตรปฏิบัติจึงไม่เป็นหมัน คือไม่สูญเปล่า และการนมัสการคือกิริยาประณาม จึงไม่เป็นโมฆะ คือไม่สูญเปล่า. จริง อย่างนั้น เรามาแต่ที่ไกล คือแม้มาจากที่ไกล คือจากทางไกลคือสงสาร มีปรากฏอยู่ขณะนี้ คือขณะที่พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นนี้ไม่พลาดไป คือไม่ ล่วงเลยไป อธิบายว่า ยังไม่ล่วงเลยเราไป.

เชื่อมความว่า เราบรรลุถึงพระนิพพาน เหตุได้เห็นพระพุทธเจ้า จึงค้นหา คือพิจารณาปฏิสนธิของเราในภพที่จะเกิดต่อไปก็ไม่เห็น. เชื่อม ความว่า เราไม่มีอุปธิ คือเว้นจากอุปธิคือขันธ์และอุปธิคือกิเลสทั้งหลาย เป็นผู้หลุดพ้น คือเป็นผู้เว้นจากกิเลสทั้งปวง สงบ คือมีใจสงบ เพราะ ไม่มีความเร่าร้อนเพราะกิเลส เที่ยวไปอยู่.

เมื่อจะแสดงการเปรียบเทียบการเห็นพระพุทธเจ้าของตนอีก จึง

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 595

กล่าวคำมีอาทิว่า ยถาปิ ปทุมํ นาม ดังนี้. ในคำนั้น มีอธิบายว่า ธรรมดาปทุมย่อมบาน คือย่อมแย้มบานเพราะแสงอาทิตย์ คือเพราะ สัมผัสแสงอาทิตย์ แม้ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า คือข้าแต่พระผู้สูงสุด กว่าวีรชน ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้บานแล้ว เพราะรัศมี ของพระพุทธเจ้า คือเพราะเกิดรัศมี คือพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงแล้ว.

เมื่อจะแสดงการเห็นพระนิพพาน เพราะการได้เห็นพระพุทธเจ้าอีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ยถา พลากา ดังนี้. ในคำนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ในกาลทุกเมื่อ คือในกาลทั้งปวง นกยางตัวผู้ย่อมไม่มีในกำเนิดนกยาง คือในชาตินกยาง ฉันใด.

หากจะมีคำถามสอดเข้ามาว่า เมื่อไม่มีตัวผู้ พวกนกยางจะตั้งครรภ์ ได้อย่างไร?

ตอบว่า เมื่อเมฆครางกระหึ่ม คือทำเสียง นางนกยางเหล่านั้นได้ ฟังเสียงเมฆร้องย่อมตั้งครรภ์ในกาลทุกเมื่อ คือในกาลทั้งปวง อธิบายว่า ย่อมทรงฟองไข่ไว้. เมฆยังไม่ครางกระหึ่ม คือเมฆยังไม่ทำเสียงเพียงใด คือตลอดกาลมีประมาณเท่าใด นางนกยางทั้งหลายก็ทรงครรภ์คือฟองไข่ ไว้เป็นเวลานาน คือโดยกาลนานเพียงนั้น คือตลอดกาลมีประมาณ เท่านั้น. เมื่อใดคือกาลใด เมฆฝนตกลงมา คือร้องครางโดยปการะชนิด ต่างๆ แล้วตกลงมา คือหลั่งสายฝนตกลงมา เมื่อนั้น คือกาลนั้น นางนกยางทั้งหลายย่อมพ้นจากภาระ คือการทรงครรภ์ อธิบายว่า ตกฟอง (ออกไข่).

เบื้องหน้าแต่นั้น เมื่อจะแสดงข้อความอุปไมยให้ถึงพร้อม จึง

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 596

กล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรพุทฺธสฺส ดังนี้. ในคำนั้น เชื่อมความว่า เมื่อ พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงประกาศกึกก้อง คือทรงแสดงด้วย เมฆ คือพระธรรม คือด้วยเมฆกล่าวคือโวหารปรมัตถเทศนา ในกาลนั้น ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้น ได้ถือเอาครรภ์คือพระธรรม ได้แก่ครรภ์คือ บุญสมภารมีทานและศีลเป็นต้น อันเป็นอุปนิสัยแก่วิวัฏฏะคือพระนิพพาน.

เชื่อมความว่า ข้าพระองค์อาศัยแสนกัป คือทำแสนกัปให้เป็น เบื้องต้น ทำครรภ์คือบุญ ได้แก่ทำบุญสมภารมีทานและศีลเป็นต้น ให้ ทรงอยู่ คือให้เต็มอยู่. ธรรมเมฆ คือพระธรรมเทศนายังไม่ครางกระหึ่ม คือพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงแสดง เพียงใด ข้าพระองค์ก็ยังไม่พ้น คือยังไม่ เปลื้อง ได้แก่ยังไม่เป็นคนละแผนกจากภาระ คือจากครรภ์ภาระ คือ สงสาร เพียงนั้น.

เชื่อมความในคาถานี้ว่า ข้าแต่พระศากยมุนี คือข้าแต่พระองค์ ผู้สมภพในศากยวงศ์ผู้เจริญ ในกาลใด พระองค์ทรงกระหึ่ม คือทรง ประกาศธรรมเมฆในนครกบิลพัสดุ์ คือในนครอันมีนามว่ากบิลพัสดุ์ อัน น่ายินดี คือน่ารื่นรมย์ แห่งพระบิดาของพระองค์ทรงพระนามว่า สุทโธทนมหาราช ในกาลนั้น ข้าพระองค์พ้นแล้ว คือได้พ้นแล้วจาก ภาระ คือจากคัพภภาระคือสงสาร.

เบื้องหน้าแต่นั้น เมื่อจะแสดงมรรคผลที่ตนได้บรรลุ จึงกล่าวคำ มีอาทิว่า สุญฺตํ ดังนี้. ในคำนั้น เชื่อมความว่า ข้าพระองค์บรรลุ คือเจริญอริยมรรค ชื่อว่า สุญญตวิโมกข์ เพราะไม่มีความยึดถือว่าเป็นตน และเป็นของตน ชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์ เพราะไม่มีราคะ โทสะ โมหะ และกิเลสทั้งปวง ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ เพราะไม่มีปณิธิคือตัณหา.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 597

บทว่า จตุโร จ ผเล สพฺเพ ความว่า ได้ทำให้แจ้งสามัญผล ๔ ทั้งหมด. บทว่า ธมฺเมวํ วิชฏยึ อหํ ความว่า ข้าพระองค์สะสาง คือขจัดชัฏ คือ รกชัฏในธรรมทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้.

จบพรรณนาทุติยภาณวาร

เบื้องหน้าแต่นั้น เมื่อจะแสดงเฉพาะคุณวิเศษที่ตนได้บรรลุ จึง กล่าวคำมีอาทิว่า อปริเมยฺยุปาทาย ดังนี้. ในคำนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ที่ชื่อว่าอปริเมยยะ เพราะประมาณไม่ได้ อธิบายว่า ไม่อาจจะประมาณ คือจะนับ โดยนับเป็นปี. ข้าพระองค์อาศัยคือกระทำกัปอันหาประมาณ มิได้นั้นให้เป็นเบื้องต้นมา ปรารถนาศาสนาของพระองค์อย่างนี้ว่า ข้าพระองค์พึงเป็นเลิศแห่งพระวินัยธรทั้งหลาย ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดมในอนาคต. คำว่า ปตฺเถมิ เป็นคำปัจจุบัน ใช้ในอรรถเป็นอดีต. อธิบายว่า ปตฺเถสึ ปรารถนาแล้ว. บทว่า โส เม อตฺโถ ความว่า ประโยชน์คือปรารถนานั้น เราได้บรรลุแล้ว คือทำให้ สำเร็จแล้ว. เชื่อมความว่า ข้าพระองค์ได้ถึง คือได้บรรลุสันติบท คือ พระนิพพานอันยอดเยี่ยม.

ข้าพระองค์นั้นถึงความยอดเยี่ยม คือถึงที่สุดในพระวินัย คือใน พระวินัยปิฎก เพราะเป็นผู้บรรลุแล้ว. บทว่า ยถาปิ ปาิโก อิสิ ความ ว่า ฤาษีคือภิกษุผู้เป็นเลิศแห่งพระวินัยธรทั้งหลาย ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญพระบาลี คือเป็นผู้

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 598

ปรากฏแล้ว ฉันใด ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า น เม สมสโม อตฺถิ ความว่า เพราะความเป็นผู้มีปกติทรงพระวินัย คนอื่นซึ่งจะเป็นผู้ เสมอเหมือนข้าพระองค์จึงไม่มี. อธิบายว่า ข้าพระองค์ยังศาสนาคือคำสอน กล่าวคือโอวาทานุสาสนีให้ดำรงอยู่ คือให้บริบูรณ์อยู่.

เมื่อจะแสดงความวิเศษของตนช้ำอีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า วินเย ขนฺธเก จาปิ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วินเย ได้แก่ ในอุภโตวิภังค์. บทว่า ขนฺธเก ได้แก่ ในมหาวรรคและจูฬวรรค. บทว่า ติกจฺเฉเท ได้แก่ ในติกสังฆาทิเสสและติกปาจิตตีย์เป็นต้น. บทว่า ปญฺจเม ได้แก่ ในบริวาร. ในวินัยเป็นต้นนี้ คือในวินัยปิฎกทั้งสิ้นนี้ ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัย คือไม่มีความลังเลใจ. บทว่า อกฺขเร ได้แก่ ในอักขระมี อ อักษรเป็นต้น อันนับเนื่องในพระวินัยปิฏก. บทว่า พฺยญฺชเน เชื่อมความว่า หรือว่าในพยัญชนะมี อักษรเป็นต้น ข้าพระองค์ก็ไม่มีความเคลือบแคลง คือความสงสัย.

บทว่า นิคฺคเห ปฏิกมฺเม จ ความว่า เป็นผู้ฉลาด คือเป็นผู้ เฉลียวฉลาด ในนิคคหะการลงโทษพวกภิกษุลามก ในการทำคืนอาบัติ มีการให้ปริวาสเป็นต้นแก่ภิกษุผู้มีอาบัติติดตัว ในฐานะและมิใช่ฐานะคือ ในเหตุและมิใช่เหตุ. เชื่อมความว่า เป็นผู้ฉลาดในโอสารณะ คือในการ ให้กลับเข้าหมู่ ได้แก่ในการให้เข้าหมู่ด้วยการระงับกรรมมีตัชชนียกรรม เป็นต้น และในวุฏฐาปนะ คือในการให้ออกจากอาบัติ ได้แก่ในการกระทำ ให้ไม่มีอาบัติ. บทว่า สพฺพตฺถ ปารมึ คโต ความว่า ถึงที่สุดในวินัยกรรมทุกอย่าง. อธิบายว่า เป็นผู้สามารถ เฉลียวฉลาด.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 599

บทว่า วินเย ขนฺธเก จาปิ ความว่า วาง คือตั้งบท ได้แก่สุตบท ในวินัย และขันธกะซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว. บทว่า อุภโต วินิเวเตฺวา ความว่า ปฏิบัติ คือชำระสะสาง นำนัยมาจากทั้งสองอย่าง คือ จากวินัยและจากขันธกะ. บทว่า รสโต คือ โดยกิจ. พึงเรียกเข้าหมู่ อธิบายว่า กระทำการเรียกให้เข้าหมู่.

บทว่า นิรุตฺติยา จ กุสโล ความว่า เป็นผู้เฉลียวฉลาดในโวหาร คือถ้อยคำมีอาทิว่า รุกขะ ต้นไม้, ปฏะ แผ่นผ้า, กุมภะ หม้อ, มาลา ดอกไม้, จิตตะ จิต. บทว่า อตฺถานตฺเถ จ โกวิโท ความว่า เป็นผู้ฉลาด คือเชี่ยวชาญในอัตถะ คือความเจริญ และในอนัตถะ คือความเสื่อม. บทว่า อนญฺาตํ มยา นตฺถิ ความว่า สิ่งไรๆ ที่ข้าพระองค์ไม่รู้ คือ ไม่รู้แจ้ง ไม่ปรากฏชัดในวินัยปิฎกหรือในพระไตรปิฎกทั้งสิ้น ย่อมไม่มี. บทว่า เอกคฺโค สตฺถุ สาสเน ความว่า ข้าพระองค์ผู้เดียวเท่านั้นเป็น ผู้เลิศ คือเป็นผู้ประเสริฐ สูงสุดแห่งพระวินัยธรทั้งหลาย ในพระพุทธศาสนา.

บทว่า รูปทกฺเข อหํ อชฺช เชื่อมความว่า วันนี้ คือในกาลบัดนี้ ข้าพระองค์บรรเทา คือทำให้พินาศ ซึ่งความเคลือบแคลงทั้งปวง คือ ความสงสัยทั้งสิ้น เพราะชำนาญในรูป คือเพราะเห็นรูป ได้แก่การ วินิจฉัยวินัย ในพระศาสนา คือปาพจน์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น ศากยบุตร.

บทว่า ฉินฺทามิ สพฺพสํสยํ ความว่า ข้าพระองค์ตัด คือสงบระงับ ได้แก่ขจัดให้หมดซึ่งความสงสัยทั้งหมด ๑๖ ประการ อันเกิดขึ้นปรารภ กาลทั้งสาม มีอาทิว่า ในอดีตเราได้มีหรือหนอ.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 600

บทว่า ปทํ อนุปทญฺจาปิ ความว่า ได้แก่ บท คือบทหน้า อนุบท คือบทปลาย. อักขระ คืออักขระตัวหนึ่งๆ และพยัญชนะ คือวิธีของ พยัญชนะ ๑๐ อย่าง มีสิถิล ธนิต เป็นต้น. บทว่า นิทาเน ได้แก่ ใน นิทาน มีอาทิว่า เตน สมเยน ดังนี้. บทว่า ปริโยสาเน ได้แก่ ใน บทส่งท้าย. บทว่า สพฺพตฺถ โกวิโท ความว่า เป็นผู้ฉลาดในฐานะ ทั้งหมด ๖ ประการ.

เบื้องหน้าแต่นี้ไป เมื่อจะประกาศพระคุณทั้งหลายเฉพาะของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ยถาปิ ราชา พลวา ดังนี้. ในคำนั้น มีอธิบายว่า พระราชาผู้มีพระกำลัง คือทรงสมบูรณ์ด้วยกำลัง คือเรี่ยวแรง หรือทรงสมบูรณ์ด้วยกำลังเสนา ทรงข่มเสนาของพระราชาอื่น คือ พระราชาฝ่ายตรงข้าม คือจับได้หมดหรือขับไล่ให้หนีไปหมด แล้วพึงทำ ให้เร่าร้อน คือให้เดือดร้อน ให้ลำบาก ฉันใด. บทว่า วิชิตฺวาน สงฺคามํ ความว่า ทรงชนะวิเศษ คือทรงชนะโดยวิเศษซึ่งสงคราม คือการถึง กันเข้า ได้แก่การรบกับเสนาของพระราชาอื่น คือทรงได้ชัยชนะแล้ว. บทว่า นครํ ตตฺถ มาปเย ความว่า จึงให้สร้าง คือให้กระทำนคร คือ สถานที่อยู่อันประดับด้วยปราสาทและเรือนโล้นเป็นต้นลงในที่นั้น คือใน ที่ที่ทรงชนะนั้น.

บทว่า ปาการํ ปริขญฺจาปิ เชื่อมความว่า ให้ทำกำแพง คือ กำแพงอิฐอันขาวด้วยปูนขาว ในนครที่สร้างไว้นั้น. และให้ทำแม้คู คือ แม้คูเปือกตม คูน้ำ คูแห้ง. บทว่า เอสิกํ ทฺวารโกฏฺกํ ได้แก่ ให้ทำ เสาระเนียด ตั้งซุ้มใหญ่ และซุ้มประตู ๔ ชั้น เป็นต้น เพื่อความงดงาม

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 601

ของพระนคร. บทว่า อฏฺฏาลเก จ วิวิเธ เชื่อมความว่า และให้ทำ คือให้สร้างป้อมสูงลิ่วอันต่างด้วยป้อม ๔ ชั้นเป็นต้นต่างๆ คือมีประการ ต่างๆ ไว้เป็นอันมาก.

บทว่า สิงฺฆาฏกํ จจฺจรญฺจ เชื่อมความว่า ให้สร้างกำแพงเป็นต้น อย่างเดียวก็หามิได้ ให้สร้างทางสี่แพร่ง คือทางสี่แยก และทางแยก คือ ถนนในระหว่าง. บทว่า สุวิภตฺตนฺตราปณํ ความว่า ให้สร้างระหว่าง ร้านค้า คือร้านค้าหลายพันอันจัดไว้เป็นระเบียบ คือมีส่วนโดยจัดแบ่ง เป็นส่วนๆ. บทว่า การเยยฺย สภํ ตตฺถ ความว่า ให้สร้างสภา คือ ศาลสำหรับตัดสินคดีโดยธรรม (ศาลสถิตยุติธรรม) ไว้ในนครที่สร้าง นั้น. เชื่อมความว่า ให้สร้างสถานที่วินิจฉัยคดีและมิใช่คดี คือศาลเป็น ที่ตัดสิน เพื่อทำการวินิจฉัยตัดสินความเจริญและความเสื่อม.

บทว่า นิคฺฆาตตฺถํ อมิตฺตานํ ความว่า เพื่อป้องกันพระราชาฝ่าย ตรงข้าม. บทว่า ฉิทฺทาฉิทฺทญฺจ ชานิตุํ ได้แก่ เพื่อจะได้รู้โทษและมิใช่ โทษ. บทว่า พลกายสฺส รกฺขาย ความว่า เพื่อต้องการจะรักษาพลกาย คือหมู่เสนา อันได้แก่พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า พระราชา ผู้เป็นเจ้าของนครนั้น จึงทรงตั้ง คือทรงสถาปนาเสนาบดี คือมหาอำมาตย์ผู้นำกองทัพไว้ในฐานันดร คือลำดับยศและบรรดาศักดิ์.

บทว่า อารกฺขตฺถาย ภณฺฑสฺส เชื่อมความว่า เพื่อจะอารักขา คือเพื่อจะรักษาโดยรอบด้านซึ่งของหลวง มีทอง เงิน แก้วมุกดา และ แก้วมณีเป็นต้น พระราชานั้นจึงทรงตั้งคนคือบุรุษผู้ฉลาดในการเก็บ คือ ผู้เฉลียวฉลาดในการรักษา ให้เป็นภัณฑรักษ์คือผู้รักษาสิ่งของไว้ในเรือน คลัง ด้วยหวังพระทัยว่า สิ่งของของเราอย่าได้ฉิบหายเสียเลย.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 602

บทว่า มมตฺโต โหติ โย รญฺโ ความว่า ผู้ใดเป็นบัณฑิต เป็น ผู้รักใคร่ คือตกอยู่ในฝ่ายของพระราชา. บทว่า วุฑฺฒึ ยสฺส จ อิจฺฉติ เชื่อมความว่า และผู้ใดย่อมปรารถนา คือย่อมต้องการความเจริญงอกงาม แด่พระราชานั้น พระราชาย่อมประทานความเป็นใหญ่ในการวินิจฉัย อธิกรณ์แก่ผู้นั้น ผู้เป็นบัณฑิตเช่นนี้ เพื่อปฏิบัติต่อมิตร คือต่อความ เป็นมิตร.

บทว่า อุปฺปาเตสุ ได้แก่ ในลางทั้งหลายมีอุกกาบาต คือดวงไฟ ตกลงมา และทิสาฑาหะ คือทิศถูกไฟไหม้เป็นต้น. บทว่า นิมิตฺเตสุ ได้แก่ ในศาสตร์อันว่าด้วยการรู้นิมิตอย่างนี้ว่า นี้นิมิตดี นี้นิมิตไม่ดี มี ถูกหนูกัดเป็นต้น. บทว่า ลกฺขเณสุ จ เชื่อมความว่า อนึ่ง พระราชา นั้นทรงตั้งคนผู้ฉลาด คือผู้เฉลียวฉลาดในศาสตร์อันว่าด้วยการรู้นิมิตที่ มือและเท้าของชายหญิง ผู้สั่งสอนคือผู้บอกการพยากรณ์แก่ศิษย์มิใช่น้อย ผู้ทรงจำมนต์ คือทรงจำมนต์กล่าวคือไตรเพท ผู้เป็นบัณฑิต ไว้ใน ความเป็นปุโรหิต คือในฐานันดรที่ปุโรหิต.

บทว่า เอเตหงฺเคหิ สมฺปนโน เชื่อมความว่า พระราชานั้นผู้ถึง พร้อม คือพร้อมพรั่งด้วยองค์ คือองค์ประกอบ ซึ่งมีประการดังกล่าว แล้วนี้ เขาเรียก คือกล่าวว่า กษัตริย์. บทว่า สทา รกฺขนฺติ ราชานํ ความว่า อำมาตย์มีเสนาบดีเป็นต้นเหล่านี้ ย่อมรักษาคือคุ้มครองพระราชา นั้นทุกเมื่อ คือตลอดกาลทั้งปวง.

ถามว่า เหมือนอะไร?

ตอบว่า เหมือนนกจากพราก อธิบายว่า เหมือนนกจากพราก รักษาญาติของตนผู้มีทุกข์ คือผู้ถึงความทุกข์ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 603

บทว่า ตเถว ตวํ มหาวีร เชื่อมความว่า ข้าแต่พระวีรบุรุษผู้สูงสุด พระราชานั้นทรงสมบูรณ์ด้วยองค์มีองค์แห่งเสนาบดีเป็นต้น ปิดกั้นประตู พระนครทรงอาศัยอยู่ ฉันใด พระองค์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นพระธรรมราชา คือเป็นพระราชาโดยธรรม โดยเสมอ ของชาวโลก พร้อมทั้งเทวโลก คือของชาวโลกผู้เป็นไปกับทั้งเทวดาทั้งหลาย ดุจกษัตริย์กำจัดอมิตรได้ คือกำจัดข้าศึกได้แล้ว มหาชนเรียกว่า คือกล่าวว่า พระธรรมราชา เพราะทรงเป็นพระราชาโดยทรงบำเพ็ญธรรมคือบารมี ๑๐ ทัศให้บริบูรณ์.

บทว่า ติตฺถิเย นีหริตฺวาน ความว่า เพราะความเป็นพระธรรมราชา จึงทรงนำออก คือนำไปโดยไม่เหลือซึ่งพวกเดียรถีย์ทั้งสิ้นซึ่งเป็น ปฏิปักษ์ กระทำให้หมดพยศ และแม้มารพร้อมทั้งเสนา คือแม้วสวัตดีมารพร้อมทั้งเสนาก็ทรงนำออกหมด. บทว่า ตมนฺธการํ วิธมิตฺวา ความว่า ขจัด คือกำจัดความมืดคือโมหะ กล่าวคือความมืด. อธิบายว่า ทรงให้ สร้าง คือทรงนิรมิต ได้แก่ทรงประดิษฐานธรรมนคร คือนครกล่าวคือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ หรือกล่าวคือธรรม คือขันธ์ อายตนะ ธาตุ ปฏิจจสมุปบาท พละ โพชฌงค์ และสมันตปัฏฐานอันมีนัยลึกซึ้ง.

บทว่า สีลํ ปาการกํ ตตฺถ ได้แก่ ในธรรมนครที่ให้ประดิษฐาน ไว้นั้น มีปาริสุทธิศีลเป็นกำแพง. บทว่า าณํ เต ทฺวารโกฏฺกํ ความว่า ญาณของพระองค์ มีพระสัพพัญญุตญาณ อาสยานุสยญาณ อนาคตังสญาณ และอตีตังสญาณเป็นต้นนั่นแหละ เป็นซุ้มประตู. บทว่า สทฺธา เต เอสิกา วีร ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงบากบั่นไม่ย่อหย่อน ผู้เจริญ ศรัทธาคือความเชื่อของพระองค์ อันมีพระสัพพัญญุตญาณเป็น

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 604

เหตุ เริ่มแต่บาทมูลของพระพุทธทีปังกร เป็นเสาอันประดับประดาด้วย เครื่องอลังการที่ยกขึ้นตั้งไว้. บทว่า ทฺวารปาโล จ สํวโร ความว่า ความสังวรอันเป็นไปในทวาร ๖ ของพระองค์ คือการรักษา การป้องกัน และคุ้มครอง เป็นนายทวารบาล คือเป็นผู้รักษาประตู.

บทว่า สติปฏฺานมฏฺฏาลํ ความว่า พระองค์มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นป้อมซึ่งมีเครื่องมุงเกลี้ยงๆ. บทว่า ปญฺา เต จจฺจรํ มุเน ความว่า ข้าแต่พระมุนีผู้มีพระญาณผู้เจริญ ปัญญาของพระองค์มีอย่างต่างๆ มี ปาฏิหาริยปัญญาเป็นต้น เป็นทางสี่แพร่ง คือเป็นที่ชุมทาง ได้แก่เป็น ทางไปสู่พระนคร. บทว่า อิทฺธิปาทญฺจ สิงฺฆาฏํ ความว่า อิทธิบาท ๔ กล่าวคือฉันทะ วีริยะ จิตตะ และวีมังสา ของพระองค์เป็นทางสี่แยก คือเป็นที่ต่อของทาง ๔ สาย. บทว่า ธมฺมวีถิ สุมาปิตํ ความว่า ธรรมนครนั้น พระองค์ทรงสร้างคือตกแต่งไว้เรียบร้อย ด้วยถนนกล่าวคือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ.

บทว่า สุตฺตนฺตํ อภิธมฺมญฺจ ความว่า ในธรรมนครนี้ของ พระองค์ มีพระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก และพระวินัยปิฎก คือพระพุทธพจน์มีองค์ ๙ มีสุตตะ เคยยะเป็นต้นทั้งหมด คือทั้งสิ้น เป็นธรรมสภา คือเป็นศาลตัดสินอธิกรณ์โดยธรรม.

บทว่า สุญฺตํ อนิมิตฺตญฺจ ความว่า สุญญตวิหารธรรมที่ได้ด้วย อำนาจอนัตตานุปัสสนา และอนิมิตตวิหารธรรมที่ได้ด้วยอำนาจอนิจจานุปัสสนา. บทว่า วิหารญฺจปฺปณิหิตํ ได้แก่ อัปปณิหิตวิหารธรรมที่ได้ ด้วยอำนาจทุกขานุปัสสนา. บทว่า อาเนญฺชญฺจ ได้แก่ อาเนญชวิหารธรรม กล่าวคือสามัญผล ๔ อันไม่หวั่นไหว ไม่โยกคลอน. บทว่า

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 605

นิโรโธ จ ได้แก่ พระนิพพานอันเป็นที่ดับทุกข์ทั้งมวล. บทว่า เอสา ธมฺมกุฏี ตว ความว่า นี้กล่าวคือโลกุตรธรรม ๙ ทั้งหมด เป็นธรรมกุฎี คือเป็นเรือนที่อยู่ของพระองค์.

บทว่า ปญฺาย อคฺโค นิกฺขิตฺโต ความว่า พระเถระที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแต่งตั้งไว้ คือทรงตั้งไว้ว่า เป็นผู้เลิศ แห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้มีปัญญาด้วยอำนาจปัญญา ผู้ฉลาดคือเฉลียวฉลาดในปฏิภาณ คือในกิจ ที่จะพึงทำด้วยปัญญา หรือว่าในยุตตมุตตปฏิภาณการโต้ตอบ ปรากฏ โดยนามว่าสารีบุตร เป็นธรรมเสนาบดีของพระองค์ คือเป็นใหญ่ เป็นประธาน โดยการทรงจำกองธรรมคือพระไตรปิฎกที่พระองค์ทรง แสดงแล้ว ย่อมกระทำกิจของกองทัพ.

บทว่า จุตูปปาตกุสโล ความว่า ข้าแต่พระมุนีผู้เจริญ พระโมคคัลลานเถระเป็นผู้ฉลาด คือเป็นผู้เฉลียวฉลาดในจุตูปปาตญาณ คือใน จุติและอุบัติ. บทว่า อิทฺธิยา ปารมึ คโต เชื่อมความว่า พระโมคคัลลานเถระชื่อว่าโกลิตะโดยชื่อ ผู้ถึงคือบรรลุบารมี คือที่สุดแห่ง ความแตกฉานด้วยฤทธิ์ที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า แม้คนเดียวก็เป็น หลายคนได้ แม้หลายคนก็เป็นคนเดียวได้ เป็นโปโรหิจจะ คือเป็นปุโรหิต ของพระองค์.

บทว่า โปราณกํสธโร ความว่า ข้าแต่พระมุนีผู้มีพระญาณผู้ เจริญ พระมหากัสสปเถระผู้ทรงไว้ หรือผู้รู้สืบๆ มาซึ่งวงศ์เก่าก่อน เป็นผู้มีเดชกล้า คือมีเดชปรากฏ หาผู้เทียมถึงได้ยาก คือยาก ได้แก่ ไม่อาจทำให้ขัดเคืองคือกระทบกระทั่ง. บทว่า ธุตวาทีคุเณนคฺโค ความว่า พระมหากัสสปเถระเป็นผู้เลิศ คือประเสริฐด้วยธุตวาทีคุณ เพราะกล่าว

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 606

คือกล่าวสอนธุดงค์ ๑๓ มีเตจีวริกังคธุดงค์เป็นต้น และด้วยธุดงคคุณ เป็น ผู้พิพากษาของพระองค์ คือเป็นประธานในการกระทำตามบัญญัติ คือ การตัดสิน.

บทว่า พหุสฺสุโต ธมฺมธโร ความว่า ข้าแต่พระมุนีผู้เจริญ พระอานนท์ ชื่อว่าเป็นพหูสูต เพราะได้ฟังพระธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ เป็น อันมาก คือเพราะได้เรียนมาจากพระผู้มีพระภาคเจ้าและจากภิกษุสงฆ์ ชื่อว่าผู้ทรงธรรม เพราะทรงธรรมคือนิกายนับได้หกแสนมิใช่น้อย และ ปรมัตถธรรมมีสติปัฏฐานเป็นต้น.

บทว่า สพฺพปาลี จ สาสเน ความว่า พระเถระมีนามชื่อว่า อานนท์ ชื่อว่าผู้ชำนาญพระบาลีทั้งปวง เพราะเป็นผู้เลิศคือเป็นผู้ ประเสริฐแห่งภิกษุทั้งปวง ผู้กล่าวคือผู้สาธยายพระบาลีทั้งปวงในพระพุทธศาสนา. บทว่า ธมฺมารกฺโข ตว ความว่า เป็นผู้อารักขา คือ เป็นผู้รักษา ปกครองธรรม ได้แก่ภัณฑะ คือพระไตรปิฎกธรรมของ พระองค์ อธิบายว่า เป็นคลังธรรม.

บทว่า เอเต สพฺเพ อติกฺกมฺม ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีภัคยะคือบุญ ทรงละคือทรงเว้นพระเถระ ทั้งหลายแม้ผู้มีอานุภาพมากมีพระสารีบุตรเป็นต้นเหล่านี้เสีย ทรงประมาณ คือได้ทรงกระทำประมาณ ได้แก่ ได้ทรงใส่พระทัยเฉพาะเราเท่านั้น. บทว่า วินิจฺฉยํ เม ปาทาสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมอบ คือได้ ทรงประทานโดยปการะแก่เรา ซึ่งการวินิจฉัย คือการพิจารณาโทษใน พระวินัย อันบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้วินัยแสดงไว้แล้ว คือประกาศไว้แล้ว.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 607

บทว่า โย โกจิ วินเย ปญฺหํ ความว่า ภิกษุพุทธสาวกรูปใด รูปหนึ่งถามปัญหาอันอิงอาศัยวินัยกะเรา, เราไม่ต้องคิด คือไม่เคลือบ แคลงสงสัยในปัญหาที่ถามนั้น. เชื่อมความว่า เรากล่าวเนื้อความนั้น เท่านั้น คือความที่ถามนั้นเท่านั้น.

บทว่า ยาวตา พุทฺธเขตฺตมฺหิ เชื่อมความว่า ในพุทธอาณาเขต ในที่มีกำหนดเพียงไร คือมีประมาณเท่าไร (ก็ตาม) เว้นพระมหามุนี คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเสีย ไม่มีบุคคลผู้เหมือนเรา คือเช่นกับเรา ในเรื่องวินัยหรือในการกระทำวินิจฉัยพระวินัยในพระวินัยปิฎก เราเท่านั้น เป็นผู้เลิศ, ผู้ยิ่งกว่าคือยิ่งกว่าเรา จักมีมาแต่ไหน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดม ประทับนั่งในหมู่ภิกษุ คือ ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ แล้วทรงประกาศอย่างนี้ คือทรงกระทำ สีหนาท. ทรงประกาศอย่างไร? ทรงประกาศอย่างนี้ว่า ไม่มีผู้เสมอ คือแม้นเหมือนอุบาลี ในเรื่องวินัยคืออุภโตวิภังค์ในขันธกะทั้งหลาย คือ มหาวรรคและจูฬวรรค และในบริวาร ด้วย จ ศัพท์.

บทว่า ยาวตา ความว่า นวังคสัตถุศาสน์ มีสุตตะ เคยยะ เป็นต้น มีประมาณเท่าใดอันพระพุทธเจ้าตรัสไว้ คือทรงแสดงไว้ทั้งหมด พระศาสดาทรงประกาศแก่ผู้มีปกติเห็น คือเห็นอยู่อย่างนี้ว่า นวังคสัตถุ- ศาสน์นั้น หยั่งลงในพระวินัย คือเข้าอยู่ภายในพระวินัย มีพระวินัยเป็น มูลราก.

บทว่า มม กมฺมํ สริตฺวาน เชื่อมความว่า พระโคดมศากยะ ผู้ประเสริฐ คือผู้เป็นประธานในศากยวงศ์ ทรงระลึกคือทรงรู้ประจักษ์ แจ้งกรรมของเรา คือความปรารถนาในกาลก่อนของเรา ด้วยพระอตีตังส-

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 608

ญาณ เสด็จไปในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาลีนี้เป็นเลิศแห่งภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นวินัยธร ดังนี้.

บทว่า สตสหสฺสุปาทาย ความว่า เราได้ปรารถนาตำแหน่งนี้ใด เริ่มมาแสนกัป ประโยชน์ของเรานั้น เราถึงแล้วโดยลำดับ คือบรรลุแล้ว ได้เฉพาะแล้ว ถึงความยอดเยี่ยมคือถึงที่สุดในพระวินัย.

เมื่อก่อน คือในกาลก่อน เราได้เป็นช่างกัลบก ทำความยินดี ให้เกิด คือทำความโสมนัสแก่เจ้าศากยะทั้งหลาย คือแก่พระราชาใน ศากยวงศ์ทั้งหลาย. เราละคือละทิ้งโดยวิเศษซึ่งชาตินั้น คือตระกูลนั้น ได้แก่ กำเนิดนั้น เกิดเป็นบุตรของพระมเหสีเจ้า คือของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อธิบายว่า ถึงการนับว่าเป็นศากยบุตร เพราะทรงคำสอน ไว้ได้.

เบื้องหน้าแต่นั้น เมื่อจะแสดงอปทานแห่งกาลบังเกิดในตระกูล ทาสของตน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อิโต ทุติยเก กปฺเป ดังนี้. ในคำนั้น เชื่อมความว่า ในกัปที่สองภายหลังภัทรกัปนี้ไป มีขัตติยราชพระองค์หนึ่ง พระนามว่าอัญชสะโดยพระนาม มีพระเดชานุภาพหาที่สุดมิได้ คือมี พระเดชานุภาพล่วงพ้นจากการนับ มีพระยศนับไม่ได้ คือมีบริวารพ้นจาก นับประมาณ มีทรัพย์มาก คือมีทรัพย์หลายแสนโกฏิ ทรงเป็นภูมิบาล คือทรงปกครองรักษาปฐพี.

บทว่า ตสฺส รญฺโ เชื่อมความว่า เราเป็นโอรสของพระราชา นั้นคือผู้เช่นนั้น ได้เป็นกษัตริย์ คือเป็นขัตติยกุมารนามว่า จันทนะ.

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 609

อธิบายว่า เรานั้นเป็นคนกระด้าง คือแข็งกร้าว ถือตัว ด้วยความเมา เพราะชาติ ยศ และโภคะ.

บทว่า นาคสตสหสฺสานิ เชื่อมความว่า ช้างแสนเชือกเกิดใน ตระกูลมาตังคะ แตกมันโดยส่วนสาม คือมันแตก ได้แก่มันไหลจากที่ ๓ แห่ง คือ ตา หู และอัณฑะ ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง คือประดับ ด้วยเครื่องประดับสำหรับช้างทุกชนิด ห้อมล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ คือตลอด กาลทั้งปวง.

บทว่า สพเลหิ ปเรโตหํ เชื่อมความว่า ในกาลนั้น เราอันพล ของตน คืออันพลแห่งกองทัพของตนห้อมล้อม ประสงค์จะไปอุทยาน จึงขึ้นขี่ช้างชื่อว่า สิริกะ ออกจากพระนครไป.

บทว่า จรเณน จ สมฺปนฺโน ความว่า พระสัมพุทธเจ้า คือ พระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่าเทวละ ประกอบด้วยจรณธรรม ๑๕ มีศีลสังวร เป็นต้น คุ้มครองทวาร คือปิดทวารทั้ง ๖ มีจักขุทวารเป็นต้น สำรวม เรียบร้อย คือรักษากายและจิตไว้ด้วยดี มาคือถึงเบื้องหน้าคือตรง หน้าเรา.

บทว่า เปเสตฺวา สิริกํ นาคํ ความว่า เราเห็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นมาแล้ว จึงไสช้างชื่อว่าสิริกะไปตรงหน้า ให้ขัดเคือง คั่งแค้น คือให้ทำร้ายพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า. บทว่า ตโต สญฺชาตโกโป โส ความว่า เพราะเหตุนั้น คือเพราะบีบบังคับไสไปนั้น ช้างนั้นได้ เกิดความโกรธในเรา จึงไม่ยอมย่างเท้า อธิบายว่า เป็นช้างหยุดนิ่งอยู่.

บทว่า นาคํ ทุฏฺมนํ ทิสวา ความว่า เราเห็นช้างมีใจประทุษร้าย คือมีจิตโกรธ จึงได้กระทำความโกรธ คือยังโทสะให้เกิดขึ้นในพระ-

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 610

ปัจเจกสัมพุทธเจ้า. บทว่า วิเหสยิตฺวา สมฺพุทฺธํ เชื่อมความว่า เรา ทำร้ายคือเบียดเบียนพระเทวละปัจเจกพุทธะแล้ว ได้ไปยังอุทยาน.

บทว่า สาตํ ตตฺถ น วินฺทามิ ความว่า เราไม่ได้ประสบความ ยินดีในการทำให้ขัดเคืองนั้น. อธิบายว่า เราไม่ได้สุขอันอร่อย ซึ่งมีการ ให้ขัดเคืองเป็นเหตุ. บทว่า สิโร ปชฺชลิโต ยถา ความว่า หัวคือ ศีรษะของเราเป็นเหมือนลุกโพลงแล้ว คือเป็นเหมือนลุกโพลงอยู่. บทว่า ปริฬาเหน ฑยฺหามิ ความว่า เราทำความโกรธในพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ย่อมเร่าร้อน คือมีจิตร้อนด้วยความเร่าร้อนอันตามเผาอยู่ในภายหลัง.

บทว่า สาครนฺตา ความว่า เพราะกำลังของกรรมอันลามกนั้น นั่นเอง มหาปฐพีทั้งสิ้นอันมีสาครเป็นที่สุด คือมีสาครเป็นที่สุดรอบ ย่อมเป็นคือยอมปรากฏแก่เรา เสมือนไฟติดทั่วแล้ว คือเสมือนไฟลุกโพลง แล้ว. บทว่า ปิตุ สนฺติกุปาคมฺม ความว่า เมื่อภัยเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ เราจึงเข้ามา คือเข้าไปยังสำนักแห่งพระราชบิดาของตน แล้วได้กล่าว คือกราบทูลคำนี้.

บทว่า อาสีวิสํว กุปิตํ เชื่อมความว่า หม่อมฉันทำพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์ใดผู้เป็นสยัมภู คือเป็นพุทธะด้วยตนเอง ผู้เดินมาเหมือน อสรพิษทั้งปวงโกรธ ดุจกองไฟไหม้โพลง และประหนึ่งกุญชรคือช้าง ชั้นสูง ที่ฝึกมาแล้วซึ่งตกมัน คือแตกมัน ๓ แห่ง ให้ท่านขัดเคือง คือ ให้ขุ่นเคือง.

บทว่า อาสาทิโต มยา พุทฺโธ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า องค์นั้น ผู้อันหม่อมฉันทำให้ขัดเคืองคือให้ขุ่นเคือง เป็นผู้น่ากลัว คือ ชื่อว่าน่ากลัว เพราะคนอื่นๆ ไม่อาจต่อตีได้ ผู้มีตบะยิ่งใหญ่คือมีตบะ

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 611

ปรากฏ ผู้ชนะคือผู้ชนะมารทั้ง ๕ อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ผู้สมบูรณ์ด้วยคุณอย่างนี้ หม่อมฉันกระทบกระทั่งแล้ว. บทว่า ปุรา สพฺเพ วินสฺสาม ความว่า เพราะกระทำความไม่เอื้อเฟื้อในพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น พวกเราทั้งหมดจักพินาศ คือจักฉิบหายโดยอาการต่างๆ อธิบายว่า จะเป็นเหมือนเถ้าธุลี. บทว่า ขมาเปสฺสาม ตํ มุนึ ความว่า พวกเราจักให้พระปัจเจกสัมพุทธมุนีนั้นอดโทษ ตราบเท่าที่จักไม่ฉิบหาย.

บทว่า โน เจ ตํ นิชฺฌาเปสฺสาม ความว่า หากเราทั้งหลาย จักไม่ยังพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ผู้ฝึกตนแล้ว คือผู้ฝึกจิตแล้ว ผู้มีจิต ตั้งมั่น คือมีจิตแน่วแน่ ให้ยกโทษคือให้อดโทษ. ภายใน ๗ วัน คือ ในส่วนภายใน ๗ วัน ได้แก่ ไม่เกิน ๗ วัน แว่นแคว้นอันสมบูรณ์ ของเรา จักทำลายคือจักฉิบหายหมด.

บทว่า สุเมขโล โกสิโย จ ความว่า พระราชา ๔ พระองค์ มีพระเจ้าสุเมขละเป็นต้นเหล่านี้ รุกรานคือกระทบกระทั่งพระฤๅษีทั้งหลาย ได้แก่ กระทำความไม่เอื้อเฟื้อ พร้อมทั้งชาวรัฐ คือพร้อมกับชาว ชนบทในแว่นแคว้น กลายเป็นคนเข็ญใจ คือพากันถึงความพินาศ.

บทว่า ยทา กุปฺปนฺติ อิสโย เชื่อมความว่า ในกาลใด พระฤๅษีทั้งหลายผู้สำรวม คือผู้สำรวมด้วยการสำรวมทางกายเป็นต้น เป็นผู้ สงบมีปกติประพฤติพรหมจรรย์ คือมีปกติประพฤติสูง ได้แก่มีปกติ ประเสริฐ พากันโกรธคือเป็นผู้โทมนัส ในกาลนั้น จักทำโลกพร้อม ทั้งเทวโลก พร้อมทั้งสาครภูเขา ให้พินาศ.

บทว่า ติโยชนสหสฺสมฺหิ เชื่อมความว่า เรารู้อานุภาพของ ฤๅษีเหล่านั้น จึงให้ประชุมเหล่าบุรุษในประเทศประมาณสามพันโยชน์

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 612

เพื่อขอให้ท่านอดโทษ คือเพื่อต้องการแสดง คือเพื่อต้องการประกาศ โทษในความล่วงเกินคือความผิด. บทว่า สยมฺภุํ อุปสงฺกมึ ความว่า ข้าพเจ้าเข้าไปหา คือเข้าไปใกล้พระสยัมภู คือพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า.

บทว่า อลฺลวตฺถา ความว่า ชนทั้งปวงเป็นหมวดหมู่พร้อมกับเรา มีผ้าเปียก คือมีผ้าอุตราสงค์เปียกน้ำ มีหัวเปียก คือมีผมเปียก กระทำ อัญชลี คือกระทำพุ่มแห่งอัญชลีไว้เหนือศีรษะ หมอบลง คือนอนลงที่เท้า คือใกล้เท้าของพระพุทธะ คือพระปัจเจกมุนี ได้กล่าวคำนี้ อธิบายว่า ได้กล่าวคือกล่าวคำมีอาทิว่า ข้าแต่พระมหาวีระ ขอพระองค์จงอดโทษเถิด.

ข้าแต่พระมหาวีระ คือข้าแต่พระองค์ผู้เป็นวีรบุรุษชั้นสูง ได้แก่ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เจริญ ขอท่านจงอดโทษคือจงบรรเทาโทษผิด ที่ข้าพระองค์กระทำในพระองค์ เพราะความไม่รู้ อธิบายว่า ขออย่าทรง ใส่ใจเลย. ชนคือหมู่ชนวิงวอนพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นว่า ขอพระองค์จง บรรเทาความเร่าร้อน คือความเร่าร้อนเพราะทุกข์ทางจิตที่ทำด้วยโทสะ และโมหะ แก่พวกข้าพระองค์ คือขอจงกระทำให้เบาบาง อธิบายว่า ขอพระองค์อย่าทรงทำแว่นแคว้น คือชาวชนบทในแว่นแคว้นทั้งสิ้นของ พวกข้าพระองค์ ให้พินาศเลย.

บทว่า สเทวมานุสา สพฺเพ ความว่า หมู่มนุษย์ทั้งปวงพร้อม ทั้งเทพทั้งทานพ คือพร้อมทั่งเหล่าอสูรมีปหาราทะอสูรเป็นต้น พร้อม ทั้งรากษส จะเอาค้อนเหล็ก คือค้อนใหญ่ต่อยคือทำลายหัวของเรา คือ กระหม่อมของเราอยู่ทุกเมื่อ คือตลอดกาลทั้งปวง.

เบื้องหน้าแต่นั้น เมื่อจะประกาศความที่พระพุทธะทั้งหลายอดโทษ และไม่โกรธ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ทเก อคฺคิ น สณฺาติ. ในคำนั้น

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 613

มีอธิบายว่า ไฟย่อมไม่ตั้งคือไม่ตั้งอยู่เฉพาะในน้ำ ฉันใด พืชย่อมไม่งอก บนหิน คือบนเขาหิน ฉันใด หนอนคือสัตว์มีชีวิต ย่อมไม่ตั้งอยู่ในยาคือ โอสถ ฉันใด ความโกรธคือจิตโกรธ ได้แก่ ความมีใจประทุษร้าย ย่อมไม่เกิด คือย่อมไม่เกิดขึ้นในพระพุทธะ คือในพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ผู้แทงตลอดสัจจะได้แล้ว ฉันนั้น.

เมื่อจะประกาศอานุภาพของพระพุทธะทั้งหลายซ้ำอีก จึงกล่าวคำมี อาทิว่า ยถา จ ภูมิ ดังนี้. ในคำนั้นมีอธิบายว่า เหมือนอย่างว่า ภาคพื้นคือปฐพีไม่หวั่นไหว คือนิ่ง ฉันใด พระพุทธะเป็นผู้นิ่ง ฉันนั้น. อธิบายว่า สาครคือมหาสมุทรประมาณไม่ได้ คือไม่อาจประมาณ คือถือเอา ประมาณ ฉันใด พระพุทธะก็ประมาณไม่ได้ ฉันนั้น. อธิบายว่า อากาศคืออากาศที่ถูกต้องไม่ได้ ไม่มีที่สุด คือเว้นที่สุดรอบ ฉันใด พระพุทธะ ก็ฉันนั้น อันใครๆ ให้กำเริบไม่ได้ คือใครๆ ไม่อาจให้กำเริบ คือให้วุ่นวาย.

เบื้องหน้าแต่นั้น เมื่อจะแสดงคำขอขมาต่อพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สทา ขนฺตา มหาวีรา ดังนี้. ในคำนั้น มีการเชื่อม ความว่า พระมหาวีรเจ้าทั้งหลาย คือพระพุทธะทั้งหลายผู้มีวิริยะสูงสุด มีตบะ คือประกอบด้วยวิริยะอันได้นามว่า ตบะ เพราะเผาบาปทั่งหลาย ผู้อดทนคือถึงพร้อมด้วยขันติ และเป็นผู้อดโทษ คืออดกลั้นความผิด ของผู้อื่นทุกเมื่อ คือตลอดกาลทั้งปวง. บทว่า ขนฺตานํ ขมิตานญฺจ ความว่า พระพุทธะเหล่านั้นผู้อดทน คือประกอบด้วยขันติและอดโทษ คืออดกลั้นความผิดของผู้อื่น ย่อมไม่มีการถึง คือถึงอคติมีฉันทาคติ เป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 614

อธิบายในตอนนี้ว่า พระสัมพุทธเจ้า คือพระปัจเจกพุทธเจ้า ครั้น กล่าวคำนี้ ด้วยประการดังนี้แล้ว เมื่อจะบรรเทาคือคลายความเร่าร้อน คือความร้อนที่เกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย จึงเหาะขึ้นยังนภากาศในกาลนั้น ต่อหน้ามหาชนคือต่อหน้าชนหมู่ใหญ่พร้อมทั้งพระราชาผู้มาประชุมกันอยู่.

บทว่า เตน กมฺเมนหํ ธีร ความว่า ข้าแต่พระธีรเจ้า คือข้าแต่ พระองค์ผู้สมบูรณ์ด้วยธิติ เพราะกรรมนั้น คือเพราะกรรมคือความไม่ เอื้อเฟื้อที่ได้กระทำไว้ในพระปัจเจกพุทธเจ้า ในอัตภาพสุดท้ายนี้ ข้าพระองค์จึงเข้าถึง คือถึงพร้อมซึ่งความเลวทราม คือความลามก ได้แก่ ความเกิดในการทำการงานเป็นช่างกัลบกของพระราชาทั้งหลาย.

บทว่า สมติกฺกมฺม ตํ ชาตึ ความว่า ล่วง คือล่วงพ้นไปด้วยดี ซึ่งความเกิด อันเนื่องด้วยผู้อื่นนั้น. บทว่า ปาวิสึ อภยํ ปุรํ ความว่า ข้าพระองค์เข้าไปแล้ว คือเป็นผู้เข้าไปสู่นิพพานบุรี คือนิพพานมหานคร อันปลอดภัย.

บทว่า ตทาปิ มํ มหาวีร ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นวีรบุรุษ ผู้สูงสุด แม้ในกาลนั้น คือแม้ในสมัยที่ทำพระปัจเจกพุทธเจ้าให้ขัดเคือง นั้น พระสยัมภู คือพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้ทรงบรรเทาคือทรงทำให้ห่าง ไกล ซึ่งความเร่าร้อน คือความกระวนกระวายทางกายและจิตอันเกิดขึ้น เพราะเหตุแห่งความขัดเคือง. เชื่อมความว่า พระสยัมภูทรงเห็นโทษอัน ตั้งอยู่ดีแล้ว คือตั้งอยู่ด้วยดีในการแสดงความเป็นโทษ จึงอดโทษเรา ผู้เร่าร้อน คือเดือดร้อนอยู่ด้วยความเดือดร้อนในภายหลัง คือด้วยความ รำคาญใจนั้นนั่นแหละ คืออดกลั้นความผิดนั้น.

บทว่า อชฺชาปิ มํ มหาวีร ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดแห่ง

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 615

วีรชน แม้วันนี้ คือแม้ในกาลที่พระองค์มาประชุมกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทำข้าพระองค์ผู้ถูกไฟ ๓ กอง คือถูกไฟ ๓ กอง คือราคะ โทสะ และโมหะ หรือไฟ คือนรก เปรต และสังสาระแผดเผาอยู่ คือได้เสวย ทุกข์อยู่ ให้ถึงคือให้ถึงพร้อมด้วยความเย็น ได้แก่ความเย็น กล่าวคือความ สงบกายและจิต เพราะโทมนัสพินาศไป หรือพระนิพพานนั่นเอง. เชื่อม ความว่า ทรงทำไฟ ๓ กอง คือไฟ ๓ กองนั้น ซึ่งมีประการดังกล่าว แล้วให้ดับ คือให้เข้าไปสงบ.

ครั้นแสดงอปทานอันเลวของตนแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการ อย่างนี้แล้ว เมื่อจะกล่าวชักชวนแม้คนอื่นๆ ให้ฟังอปทานอันเลวนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เยสํ โสตาวธานตฺถิ ดังนี้. ในคำนั้น มีใจความว่า ท่านเหล่าใดมีการเงี่ยโสต คือการตั้งโสตลง ท่านเหล่านั้นจงฟัง คือจง ใส่ใจคำของเราผู้กล่าวอยู่. บทว่า อตฺถํ ตุมฺหํ ปวกฺขามิ เชื่อมความว่า เราเห็นบทคือพระนิพพานโดยประการใด เราจักกล่าวปรมัตถ์กล่าวคือ พระนิพพานแก่ท่านทั้งหลายโดยประการนั้น.

เมื่อจะแสดงข้อนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สยมฺภุํ ตํ วิมาเนตฺวา ดังนี้. พึงทราบวินิจฉัยในคำนั้นดังต่อไปนี้ :- เราดูหมิ่น คือการทำความไม่เอื้อเฟื้อพระสยัมภู คือพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นเอง คือผู้เกิดในอริยชาติ ผู้มี จิตสงบ มีใจมั่น เพราะกรรมนั้น คือเพราะอกุศลที่ทำแล้วนั้น จึงเป็น ผู้เกิด คือเป็นผู้บังเกิดในชาติต่ำ คือในชาติที่เนื่องกับคนอื่น คือใน ชาติเป็นช่างกัลบก ในวันนี้ คือในปัจจุบันนี้.

บทว่า มา โข ขณํ วิราเธถ ความว่า ท่านทั้งหลายอย่าพลาด คือ อย่าทำให้พลาดขณะที่พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น, จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้ล่วง

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 616

พ้นขณะ คือก้าวล่วงขณะที่พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ย่อมเศร้าโศก อธิบายว่า ย่อมเศร้าโศกอย่างนี้ว่า พวกเราเป็นผู้ไม่มีบุญ มีปัญญาทราม ดังนี้. ท่านทั้งหลายจงพยายาม คือจงกระทำความเพียรในประโยชน์ของตน คือ ในความเจริญของตน. อธิบายว่า ท่านทั้งหลายจงทำขณะคือสมัยที่พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นให้ถึงเฉพาะ คือให้สำเร็จ ได้แก่ถึงแล้ว.

เบื้องหน้าแต่นั้น เมื่อจะแสดงโทษของผู้ที่ไปในสงสาร โดยอุปมา อุปไมย จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เอกจฺจานญฺจ วมนํ ดังนี้. ในคำนั้น เชื่อม ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกยาสำรอก คือยาทำให้อาเจียนแก่ บุคคลบางพวก ยารุ คือยาถ่ายแก่บุคคลบางพวก ยาพิษร้าย คือยาพิษ อันทำให้สลบแก่บุคคลบางพวก และยาคืออุบายสำหรับรักษาแก่บุคคลบาง พวกโดยลำดับ ด้วยประการอย่างนี้.

บทว่า วมนํ ปฏิปนฺนานํ เชื่อมความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส บอกการสำรอก คือการทิ้งสงสาร ได้แก่การพ้นสงสารแก่คนผู้ปฏิบัติ คือผู้มีความพร้อมพรั่งด้วยมรรค. เชื่อมความว่า ตรัสบอกการถ่าย คือ การไหลออกจากสงสารแก่ผู้ตั้งอยู่ในผล. ตรัสบอกโอสถคือพระนิพพาน แก่ผู้มีปกติได้ผล คือได้ผลแล้วดำรงชีวิตอยู่. ตรัสบอกพระสงฆ์ผู้เป็น บุญเขต แก่ผู้แสวงหา คือผู้แสวงหามนุษย์สมบัติ เทวสมบัติ และนิพพาน สมบัติ.

บทว่า สาสเนน วิรุทฺธานํ เชื่อมความว่า ตรัสบอกยาพิษอันร้าย แรง คือความแตกตื่น ได้แก่บาปอกุศล แก่คนผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อพระศาสนา. บว่า ยถา อาสีวิโส เชื่อมความว่า ยาพิษอันร้ายแรงย่อมเผา คือเผาลนนระนั้น คือนระผู้ไม่มีศรัทธาทำแต่บาปนั้น ได้แก่ทำให้ซูบซีด

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 617

ในอบายทั้ง ๔ เช่นกับอสรพิษ คือเหมือนอสรพิษ คืองูชื่อว่าทิฏฐวิสะ เพราะกระทำให้เป็นเถ้าธุลีโดยสักแต่ว่าเห็น ย่อมแผดเผานระที่คนเห็นคือ ทำให้ลำบากฉะนั้น.

บทว่า สกึ ปีตํ หลาหลํ ความว่า ยาพิษอันร้ายแรงที่ดื่มเข้าไป ย่อมเข้าไปปิดกั้นชีวิต คือทำชีวิตให้พินาศไปคราวเดียว คือวาระเดียว แต่บุคคลผิดแล้ว คือทำความผิดในพระศาสนา ย่อมถูกเผา คือย่อมถูก แผดเผาในโกฏิกัปป์ คือในกัปนับด้วยโกฏิ.

ครั้นแสดงผลวิบากของบุคคลผู้ไม่มีศรัทธาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อ จะแสดงอานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ขนฺติยา ดังนี้. ในคำนั้น มีอธิบายว่า พระพุทธเจ้าผู้ตรัสบอกการสำรอกเป็นต้น นั้น ย่อมยังโลกพร้อมทั้งเทวโลก คือเป็นไปกับด้วยเทวดาทั้งหลาย ให้ ข้าม คือก้าวพ้น ได้แก่ให้ดับด้วย ขันติ คือความอดทน ด้วยอวิหิงสา คือการไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย และด้วยความมีเมตตาจิต คือมีจิต เมตตา เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย อันพวกท่านไม่ควรผิด พลาด คือไม่อาจผิดพลาด อธิบายว่า พึงปฏิบัติตามพระพุทธศาสนา.

อธิบายในคาถาต่อไปว่า ย่อมไม่ข้อง คือไม่คบ ไม่ติดในลาภ และในการไม่มีลาภ. พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่หวั่นไหว ในการนับถือ คือในการกระทำความเอื้อเฟื้อ และในการดูหมิ่น คือการกระทำความไม่ เอื้อเฟื้อ ย่อมเป็นเช่นกับแผ่นดิน เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ท่านทั้งหลายไม่ควรคิดร้าย คือไม่พึงมุ่งร้าย คือไม่อาจมุ่งร้าย.

เมื่อจะแสดงความที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายพระองค์เป็นกลาง จึง กล่าวคำมีอาทิว่า เทวทตฺเต ดังนี้. ในคำนั้น มีอธิบายว่า พระมุนี คือ

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 618

พระพุทธมุนี เป็นผู้เสมอ คือมีพระมนัสเสมอในสัตว์ทั้งปวงทั้งผู้ฆ่าและ ผู้ไม่ฆ่า.

บทว่า เอเตสํ ปฏิโฆ นตฺถิ เชื่อมความว่า ปฏิฆะ คือความดุร้าย ได้แก่ความเป็นผู้มีจิตประกอบด้วยโทสะ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ราคะย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น อธิบายว่า แม้ราคะคือความกำหนัด ได้แก่การติดใจย่อมไม่มี คือย่อมไม่ได้แก่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงเป็นผู้เสมอ คือมีพระทัยเสมอต่อสัตว์ทั้งปวง คือต่อผู้ฆ่าและพระโอรส.

เมื่อจะแสดงอานุภาพเฉพาะของพระพุทธเจ้าทั้งหลายซ้ำอีก จึง กล่าวคำมีอาทิว่า ปนฺเถ ทิสฺวาน กาสาวํ ดังนี้. ในคำนั้น มีอธิบายว่า ใครๆ เห็นผ้ากาสาวะ คือจีวรย้อมด้วยน้ำฝาดอันเปื้อนคูถ คือระคนด้วย คูถ อันเป็นธงชัยของพระฤๅษี ได้แก่เป็นธงคือบริขารของพระอริยเจ้า ทั้งหลาย ที่เขาทิ้งไว้ในหนทาง จึงกระทำอัญชลี คือกระทำการประชุม นิ้วทั้ง๑๐ ได้แก่กระพุ่มอัญชลีเหนือศีรษะแล้วพึงไหว้ด้วยเศียรเกล้า คือ พึงไหว้ พึงนับถือ พึงบูชา ธงของฤๅษีคือ ธงของพระอรหัต ได้แก่ จีวรอันแสดงความเป็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก.

บทว่า อพฺภตีตา ความว่า พระพุทธเจ้าเหล่าใดอัสดงคตไปยิ่งแล้ว คือดับไปแล้ว พระพุทธเจ้าเหล่าใดกำลังเป็นไปอยู่ คือเกิดแล้วในบัดนี้ และพระพุทธเจ้าเหล่าใดยังไม่มีมา คือยังไม่เกิด ไม่เป็น ไม่บังเกิด คือ ยังไม่ปรากฏ. บทว่า ธเชนาเนน สุชฺฌนฺติ ความว่า พระพุทธเจ้าเหล่านี้ ย่อมหมดจด คือบริสุทธิ์ งดงามด้วยธงของฤๅษี คือด้วยจีวรนี้ เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น จึงควรนอบน้อม นมัสการ กราบไหว้.

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 619

บาลีว่า เอตํ นมสฺสิยํ ดังนี้ก็มี. บาลีนั้นมีใจความว่า พึงนมัสการธง ของฤๅษีนั้น.

เบื้องหน้าแต่นั้นไป เมื่อจะแสดงคุณของตน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สตฺถุกปฺปํ ดังนี้. ในคำนั้นมีอธิบายว่า เราทรงจำไว้ด้วยหทัยคือด้วยจิต ได้แก่เราพิจารณาด้วยการฟังและการทรงจำเป็นต้น ซึ่งพระวินัยอันถูก ต้อง คือพระวินัยอันดีงาม ได้แก่การฝึกไตรทวารด้วยอาการอันงาม เหมือนกับพระศาสดา คือเหมือนกับพระพุทธเจ้า. อธิบายว่า เรานมัสการ คือไหว้พระวินัย ได้แก่พระวินัยปิฎก จักกระทำความเอื้อเฟื้อ ในพระวินัยอยู่ คือสำเร็จการอยู่ทุกกาล ได้แก่ในกาลทั้งปวง.

บทว่า วินโย อาสโย มยฺหํ ความว่า พระวินัยปิฏกเป็นโอกาส คือเป็นเรือนของเรา ด้วยอำนาจการฟัง การทรงจำ การมนสิการ การ เล่าเรียน การสอบถาม และการประกาศ. บทว่า วินโย านจงฺกมํ ความว่า พระวินัยเป็นฐานที่ยืน และเป็นฐานที่จงกรม ด้วยการทำกิจ มีการฟังเป็นต้นของเรา. บทว่า กปฺเปมิ วินเย วาสํ ความว่า เราสำเร็จ คือกระทำการอยู่ คือการนอนในพระวินัยปิฎก คือในแบบแผนแห่ง พระวินัย ด้วยอำนาจการฟัง การทรงจำ และการประกาศ. บทว่า วินโย มม โคจโร ความว่า พระวินัยปิฎกเป็นโคจร คือเป็นอาหาร ได้แก่เป็นโภชนะของเราด้วยอำนาจการทรงจำ และการมนสิการเป็นนิจ.

บทว่า วินเย ปารมิปฺปตฺโต ได้แก่ ถึงความยอดเยี่ยม คือที่สุดใน วินัยปิฎกทั้งสิ้น. บทว่า สมเถ จาปิ โกวิโท ความว่า เป็นผู้ฉลาด คือ เป็นผู้เฉลียวฉลาดในการระงับ คือในการสงบระงับ และการออกจาก

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 620

กองอาบัติทั้ง ๗ มีปาราชิกเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่เป็นผู้ฉลาดยิ่ง คือเป็นผู้เฉลียวฉลาดในอธิกรณสมถะ คือในอธิกรณ์ที่ท่านกล่าวว่า

ท่านรู้กันว่า อธิกรณ์มี ๔ คือวิวาทาวิกรณ์ อนุวาทาวิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์.

และในอธิกรณสมถะ ๗ ที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า

สัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา ตัสสปาปิยสิกา และติณวัตถารกะ.

บทว่า อุปาลิ ตํ มหาวีร ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญผู้มีความ เพียรใหญ่ยิ่ง คือผู้มีความเพียร เพื่อบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ในสี่- อสงไขยแสนกัป พระอุบาลีภิกษุย่อมไหว้ คือย่อมกระทำความนอบน้อม ที่พระบาท คือที่พระบาทยุคลของพระองค์ผู้เป็นศาสดา คือผู้พร่ำสอน เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

เชื่อมความว่า ข้าพระองค์นั้นบวชแล้วนมัสการอยู่ คือกระทำการ นอบน้อมพระสัมพุทธเจ้าอยู่ และรู้ว่าพระธรรมคือโลกุตรธรรม ๙ ที่ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงแสดงแล้ว เป็นธรรมดี คือว่าเป็นธรรมงาม จึงนมัสการพระธรรมอยู่ จักเที่ยวไปจากบ้านสู่บ้าน จากบุรีสู่บุรี คือจาก นครสู่นคร.

บทว่า กิเลสา ฌาปิตา มยฺหํ ความว่า กิเลสทั้งหมดนับได้ ๑,๕๐๐ ซึ่งอยู่ในจิตตสันดานของข้าพระองค์ อันข้าพระองค์เผา คือทำให้ซูบซีด เหือดแห้ง พินาศไปแล้ว ด้วยอรหัตตมรรคญาณที่แทงตลอดแล้ว. บทว่า ภวา สพฺเพ สมูหตา ความว่า ภพทั้งหมด ๙ ภพ มีกามภพเป็นต้น ข้าพระองค์ถอนแล้ว คือถอนหมดแล้ว ได้แก่ทำให้สิ้นแล้ว ขจัดแล้ว.

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 621

บทว่า สพฺพาสวา ปริกฺขีณา ความว่า อาสวะทั้งหมด ๔ อย่าง คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ และอวิชชาสวะ สิ้นไปรอบแล้ว คือถึง ความสิ้นไปโดยรอบ. อธิบายว่า บัดนี้ คือในกาลที่บรรลุพระอรหัตแล้วนี้ ภพใหม่ คือภพกล่าวคือการเกิดอีก ได้แก่การเป็น การเกิด ย่อมไม่มี.

เมื่อจะเปล่งอุทานด้วยความโสมนัสอย่างยิ่ง จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สฺวาคตํ ดังนี้. ในคำนั้น เชื่อมความว่า การที่ข้าพระองค์มาในสำนัก คือในที่ใกล้หรือในนครเดียวกันแห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ คือแห่ง พระพุทธเจ้าผู้สงสุด เป็นการมาดีแล้ว คือเป็นการมาดี เป็นการมาอย่าง งดงามโดยแท้ คือโดยส่วนเดียว. บทว่า ติสฺโส วิชฺชา ความว่า ข้าพระองค์บรรลุ คือถึงพร้อม ได้แก่ทำให้ประจักษ์วิชชา คือบุพเพนิวสญาณ ทิพพจักขุญาณ และอาสวักขยญาณ. บทว่า กตํ พุทฺธสฺส สาสนํ ความว่า คำสั่งสอนคือคือการพร่ำสอนอันพระพุทธเจ้า คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ข้าพระองค์กระทำแล้ว คือให้สำเร็จแล้ว ได้แก่ยัง วัตรปฏิบัติให้บริบูรณ์ มนสิการกรรมฐานแล้วให้สำเร็จด้วยการบรรลุ อรหัตตมรรคญาณ.

บทว่า ปฏิสมฺภิทา จตสฺโส ความว่า ปัญญา ๔ ประการ มี อัตถปฏิสัมภิทาเป็นต้น ข้าพระองค์ทำให้แจ้งแล้ว คือทำให้ประจักษ์แล้ว. บทว่า วิโมกฺขาปิ จ อฏฺิเม เชื่อมความว่า วิโมกข์คืออุบายเครื่องพ้น จากสงสาร ๘ ประการเหล่านี้ คือมรรคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ ข้าพระองค์ ทำให้แจ้งแล้ว.

บทว่า ฉฬภิญฺา สจฺฉิกตา ความว่า อภิญญา ๖ เหล่านี้ คือ

อิทธิวิธะ แสดงฤทธิ์ได้ ทิพพโสตะ หูทิพย์ เจโตปริยะญาณ

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 622

กำหนดใจคนอื่นได้ ปุพเพนิวาสญาณ ระลึกชาติได้ ทิพพจักขุ ตาทิพย์ และอาสวักขยญาณ ความรู้ในการทำอาสวะ ให้สิ้นไป.

ข้าพระองค์ทำให้แจ้งแล้ว คือทำให้ประจักษ์แล้ว, คำสอนของ พระพุทธเจ้าชื่อว่าทำเสร็จแล้ว เพราะการทำให้แจ้งญาณเหล่านี้.

บทว่า อิตฺถํ ได้แก่ ด้วยประการดังกล่าวในหนหลังนี้. ศัพท์ว่า สุทํ เป็นนิบาตใช้ในอรรถสักว่าทำบทให้เต็ม. บทว่า อายสฺมา อุปาลิ เถโร ความว่า สาวกผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลอันมั่นคงเป็นต้น ได้ภาษิต คือกล่าวคาถาเหล่านี้ อันแสดงอปทานแห่งความประพฤติในกาลก่อน.

จบพรรณนาอุบาลีเถราปทาน