อัญญาโกณฑัญญเถราปทานที่ ๙ (๗) ว่าด้วยผลแห่งการถวายปฐมภัตแก่พระพุทธเจ้า
[เล่มที่ 70] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 623
พุทธวรรคที่ ๑
๓. เถราปทาน
อัญญาโกณฑัญญเถราปทานที่ ๙ (๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายปฐมภัตแก่พระพุทธเจ้า
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 70]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 623
อัญญาโกณฑัญญเถราปทานที่ ๙ (๗)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายปฐมภัตแก่พระพุทธเจ้า
[๙] เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เชษฐ- บุตรของโลก เป็นนายกอย่างวิเศษ ทรงบรรลุพุทธภูมิแล้ว เป็นครั้งแรก.
เทวดาประมาณเท่าใด มาประชุมกันที่ควงไม้โพธิ์ทั้งหมด แวดล้อมพระสัมพุทธเจ้า ประนมกรอัญชลีไหว้อยู่.
เทวดาทั้งปวงนั้นมีใจยินดี เที่ยวประกาศไปในอากาศว่า พระพุทธเจ้านี้ทรงบรรเทาความมืดมนอนธการแล้ว ทรงบรรลุ แล้วโดยลำดับ.
เสียงบันลือลั่นของเทวดาผู้ประกอบด้วยความร่าเริงเหล่านั้น ได้เป็นไปว่า เราจักเผากิเลสทั้งหลายในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. เรารู้เสียงอันเทวดาทั้งหลายเปล่งแล้วด้วย วาจา ร่าเริง มีจิตยินดี ได้ถวายภิกษาก่อน.
พระศาสดาผู้สูงสุดในโลก ทรงทราบความดำริของเรา แล้วประทับนั่ง ณ ท่ามกลางหมู่เทวดา ได้ตรัสพระคาถา เหล่านี้ว่า
เราออกบวชได้ ๗ วัน จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ ภัตอัน เป็นปฐมของเรานี้ เป็นเครื่องยังชีวิตให้เป็นไปของผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ เทพบุตรใดจากภพดุสิตมา ณ ที่นี้ ได้ถวายภิกษา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 624
แก่เรา เราจักพยากรณ์เทพบุตรนั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรา กล่าว.
ผู้นั้นจักเสวยเทวราชสมบัติอยู่ประมาณ ๓ หมื่นกัป จัก ครอบครองไตรทิพย์ ครอบงำเทวดาทั้งปวง เคลื่อนจากเทวโลก แล้วจักถึงความเป็นมนุษย์ จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเสวย ราชสมบัติในมนุษยโลกนับพันครั้ง.
ในแสนกัป พระศาสดาพระนามว่าโคดมโดยพระโคตร ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก.
ผู้นั้นเคลื่อนจากไตรทศแล้ว จักถึงความเป็นมนุษย์ จัก ออกบวชเป็นบรรพชิตอยู่ ๖ ปี แต่นั้น ในปีที่ ๗ พระพุทธเจ้าจักตรัสสัจจะ ๔ ภิกษุมีนามชื่อว่า โกณฑัญญะ จักทำให้ แจ้งเป็นครั้งแรก.
เราบวชตามพระโพธิสัตว์ผู้เสด็จออกบวช ความเพียรเรา ทำดีแล้ว เราบวชเป็นบรรพชิต เพื่อต้องการเผากิเลส.
พระสัพพัญญูพุทธเจ้าเสด็จมาแล้ว ตีกลองอมฤตในโลก พร้อมทั้งเทวโลก ในป่าใหญ่กับด้วยเรานี้.
บัดนี้ เราบรรลุอมตบทอันสงบระงับ อันยอดเยี่ยมนั้นแล้ว เรากำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเรา ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 625
ทราบว่า ท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.
จบอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน
๗. พรรณนาอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน
คำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรสมฺพุทฺธํ ดังนี้ เป็นอปทานของท่านพระอัญญาโกณฑัญณะเถระ.
ได้ยินว่า พระเถระนี้ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าปางก่อน ทั้งหลาย ก่อสร้างบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่วิวัฏฏะไว้ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ได้บังเกิดในตระกูล ของคฤหบดีมหาศาล ในหังสวดีนคร ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว. วันหนึ่ง ฟังธรรมอยู่ในสำนักของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งเลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้รัตตัญญูรู้แจ้งธรรมก่อน ในพระศาสนาของพระองค์ แม้ตนเองก็ปรารถนาฐานันดรนั้น จึงยังมหาทาน ให้เป็นไปตลอด ๗ วัน แด่พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุหนึ่งแสนเป็นบริวาร แล้วได้กระทำความปรารถนาไว้. ฝ่ายพระศาสดาทรงเห็นว่าความ ปรารถนาของเขานั้นไม่มีอันตรายจึงทรงพยากรณ์สมบัติอันจะมี. เขาทำบุญ ทั่งหลายตลอดชั่วชีวิต เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว เมื่อมหาชนชวน กันให้ประดิษฐานพระเจดีย์ เขาให้สร้างเรือนแก้วไว้ในภายในพระเจดีย์ และให้สร้างเรือนแก้วอันมีค่าจำนวนหนึ่งพัน รายล้อมพระเจดีย์.
เขาทำบุญทั้งหลายอย่างนี้ จุติจากชาตินั้นท่องเที่ยวไปในเทวดา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 626
และมนุษย์ทั้งหลาย ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เป็นกุฎุมพีชื่อว่า มหากาล ให้ฉีกท้องข้าวสาลีในนามีประมาณ ๘ กรีส แล้วให้จัดปรุงข้าวปายาสน้ำมัน ไม่เจือด้วยข้าวสาลีที่ถือเอาแล้ว ใส่น้ำผึ้ง เนยใส และน้ำตาลกรวดลงในข้าวปายาสนั้น แล้วได้ถวายแก่พระสงฆ์มี พระพุทธเจ้าเป็นประธาน. ที่ที่เขาฉีกท้องข้าวสาลีถือเอาแล้วๆ คงเต็ม บริบูรณ์อยู่ตามเดิม. ในเวลาข้าวสาลีเป็นข้าวเม่า ได้ให้ทานชื่อว่าเลิศด้วย ข้าวเม่า, ในเวลาเกี่ยว ได้ให้ทานเลิศในกาลเกี่ยว, ในคราวทำขะเน็ด ได้ให้ ทานอันเลิศในคราวทำขะเน็ด, ในคราวทำให้เป็นฟ่อนเป็นต้น ได้ให้ทาน อันเลิศในคราวทำเป็นฟ่อน, ได้ให้ทานอันเลิศในคราวขนเข้าลาน, ได้ให้ ทานอันเลิศในคราวทำให้เป็นลอม, ได้ให้ทานอันเลิศในคราวตวง, และ ได้ให้ทานอันเลิศในคราวขนขึ้นฉาง, ได้ให้ทานอันเลิศ ๙ ครั้ง ในหน้า ข้าวกล้าครั้งหนึ่งๆ อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้. ข้าวกล้าแม้นั้นก็ได้สมบูรณ์ ยิ่งๆ ขึ้น.
เขาทำบุญทั้งหลายตลอดชั่วชีวิตด้วยอาการอย่างนี้ จุติจากชาตินั้น บังเกิดในเทวโลก. ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ได้มาบังเกิด ในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในบ้านพราหมณ์ชื่อว่าโทณวัตถุ ในที่ไม่ ไกลจากนครกบิลพัสดุ์ ก่อนหน้าพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายอุบัติ ขึ้น. เขาได้มีนามอันมาตามโคตรว่า โกณฑัญญะ. เขาเจริญวัยแล้ว เรียนจบไตรเพท และได้ถึงความสำเร็จในลักษณมนต์ทั้งหลาย. สมัยนั้น พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายจุติจากดุสิตบุรี บังเกิดในพระราชมณเฑียร ของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ในกบิลพัสดุ์บุรี. ในวันเฉลิมพระนามของ พระราชกุมารนั้น เมื่อเขาเชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คนเข้ามา พราหมณ์ ๘ คน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 627
เหล่าใดอันเขาเชิญเข้าไปยังท้องพระโรง เพื่อพิจารณาพระลักษณะ ใน บรรดาพราหมณ์ ๘ คนนั้น โกณฑัญญพราหมณ์เป็นผู้หนุ่มกว่าพราหมณ์ ทั้งหมด เห็นความสำเร็จแห่งพระลักษณะของพระมหาบุรุษ ตกลงใจว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าโดยแน่แท้ จึงเที่ยวคอยดูการออกเพื่อคุณอัน ยิ่งใหญ่ของพระมหาสัตว์.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์เจริญด้วยบริวารหมู่ใหญ่ ถึงความเจริญโดยลำดับ ถึงความแก่กล้าแห่งพระญาณแล้ว จึงเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ในพรรษา ที่ ๒๙ ทรงผนวชที่ฝั่งแม่น้ำอโนมานที เสด็จไปยังตำบลอุรุเวลาโดย ลำดับ แล้วเริ่มบำเพ็ญเพียร. ในกาลนั้น โกณฑัญญมานพรู้ว่าพระมหาสัตว์ทรงผนวชแล้ว จึงพร้อมกับพวกลูกของพราหมณ์ผู้ท่านายพระลักษณะ มีวัปปมาณพเป็นต้น มีตนเป็นที่ ๕ พากันบวชแล้ว เข้าไปยังสำนักของ พระโพธิสัตว์โดยลำดับ บำรุงพระโพธิสัตว์นั้นอยู่ ๖ พรรษา เกิดเบื่อ ระอาเพราะพระโพธิสัตว์นั้นเสวยพระกระยาหารหยาบ จึงได้หลีกไปยังป่า อิสิปตนมิคทายวัน. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้พระกำลังกายเพราะทรง บริโภคพระอาหารหยาบ จึงประทับนั่งบนอปราชิตบัลลังก์ที่ควงไม้โพธิ์ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ทรงเหยียบย่ำกระหม่อมแห่งมารทั้ง ๓ เป็นพระอภิ- สัมพุทธเจ้าแล้ว ทรงยับยั้งอยู่ที่โพธิมัณฑสถานนั่นแหละ ๗ สัปดาห์ ทรงทราบความแก่กล้าแห่งญาณของพระปัญจวัคคีย์แล้ว จึงเสด็จไปยัง อิสิปตนมิคทายวันในวันเพ็ญเดือน ๘ แล้วตรัสพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่พระปัญจวัคคีย์เหล่านั้น. ในเวลาจบพระธรรมเทศนา พระโกณฑัญญเถระพร้อมกับพรหม ๑๘ โกฏิ ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล. ครั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 628
ในดิถีที่ ๕ แห่งปักษ์ ท่านได้ทำให้แจ้งพระอรหัตด้วยอนัตตลักขณสูตร เทศนา.
พระโกณฑัญญเถระนั้น ครั้นบรรลุพระอรหัตอย่างนี้แล้วคิดว่า เรา ทำกรรมอะไรจึงได้บรรลุโลกุตรสุข เมื่อใคร่ครวญดู ก็ได้รู้บุพกรรมของ ตนโดยประจักษ์ เมื่อจะแสดงอปทานแห่งความประพฤติในกาลก่อนด้วย อำนาจอุทาน ด้วยความโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรสมฺพุทฺธํ ดังนี้. เนื้อความแห่งคำนั้น ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล. บทว่า โลกเชฏฺํ วินายกํ ความว่า ทรงเป็นหัวหน้า คือเป็นประธานแห่ง สัตว์โลกทั้งสิ้น. ชื่อว่าทรงนำไปให้วิเศษ เพราะทรงนำไปโดยวิเศษ คือ ทรงยังเหล่าเวไนยสัตว์ให้ถึงฝั่งอื่นแห่งสงสารสาคร คือพระอมตมหานิพพาน. ซึ่งพระสัมพุทธเจ้านั้นผู้ทรงนำไปโดยวิเศษ. บทว่า พุทฺธภูมิมนุปฺปตฺตํ ความว่า ที่ชื่อว่าพุทธภูมิ เพราะเป็นภูมิ คือเป็นสถานที่ ประดิษฐานแห่งพระพุทธเจ้า, ได้แก่พระสัพพัญญุตญาณ. ที่ชื่อว่า บรรลุถึงพุทธภูมิ เพราะบรรลุถึง คือแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณนั้น. ซึ่งพระสัมพุทธเจ้านั้น ผู้บรรลุถึงพุทธภูมิแล้ว. อธิบายว่า บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ คือเป็นพระพุทธเจ้า. บทว่า ปมํ อทฺทสํ อหํ ความ ว่า ในเวลาใกล้รุ่งแห่งคืนวันเพ็ญเดือน ๖ เราได้เห็นพระปทุมุตตรสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก.
บทว่า ยาวตา โพธิยา มูเล เชื่อมความว่า ยักษ์ทั้งหลายมี ประมาณเท่าใดมาประชุมกันแล้ว คือเป็นหมวดหมู่อยู่ที่ใกล้ต้นโพธิ์ กระทำอัญชลี วางกระพุ่มอัญชลีอันเป็นที่ประชุมนิ้วทั้ง ๑๐ ไว้เหนือเศียร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 629
ไหว้คือนมัสการพระสัมพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ได้เป็น พระพุทธเจ้า.
บทว่า สพฺเพ เทวา ตุฏฺมนา เชื่อมความว่า เทวดาทั้งหมดนั้น มาสู่สถานที่แห่งพระสัมพุทธะผู้เป็นพระพุทธเจ้า ต่างมีจิตยินดีท่องเที่ยว ไปในอากาศ. บทว่า อนฺธการตโมนุโท ความว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นี้ทรงบรรเทา คือทำความมืดตื้อคือโมหะให้สิ้นไป ทรงบรรลุ แล้วโดยลำดับ.
บทว่า เตสํ หาสปเรตานํ เชื่อมความว่า เสียงบันลือลั่น คือเสียง กึกก้องของเทวดาเหล่านั้นผู้ประกอบด้วยความร่าเริง คือปีติโสมนัส ได้ เป็นไปแล้ว คือแพร่ไปว่า พวกเราจักเผากิเลส คือสังกิเลสธรรมใน ศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
บทว่า เทวานํ คิรมญฺาย เชื่อมความว่า เรารู้เสียงของเหล่า เทวดาซึ่งเปล่งพร้อมกับคำชมเชยด้วยวาจาจึงร่าเริง ได้ถวายภิกษาครั้งแรก คืออาหารทีแรกแก่พระผู้เป็นพระพุทธเจ้า ด้วยจิตอันร่าเริงคือด้วยจิตอัน ประกอบด้วยโสมนัส.
บทว่า สตฺตาหํ อภินิกฺขมฺม ความว่า เราออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่ แล้วกระทำความเพียรอยู่ ๗ วัน จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ กล่าวคือ อรหัตตมรรคญาณอันเป็นปทัฏฐานแห่งพระสัพพัญญุตญาณ. บทว่า อิทํ เม ปมํ ภตฺตํ ความว่า ภัตนี้เป็นเครื่องยังสรีระให้เป็นไป เป็นภัตอัน เทวบุตรนี้ให้ครั้งแรกแก่เราผู้เป็นพรหมจารี คือผู้ประพฤติธรรมสูงสุด.
บทว่า ตุสิตา หิ อิธาคนฺตฺวา ความว่า เทวบุตรใดจากภพดุสิต มาในมนุษยโลกนี้ น้อมเข้ามา คือได้ถวายภิกษาแก่เรา เราจักประกาศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 630
คือจักกล่าว ได้แก่จักทำเทวบุตรนั้นให้ปรากฏ. เชื่อมความว่า ท่าน ทั้งหลายจงฟังคำเราผู้จะกล่าวอยู่. เบื้องหน้าแต่นี้ไป ข้าพเจ้าจักพรรณนา เฉพาะบทที่ยากเท่านั้น.
บทว่า ติทสา ได้แก่ จากภพดาวดึงส์. บทว่า อคารา เชื่อม ความว่า จักออกจากเรือนพราหมณ์อันเกิดขึ้นแก่ตนแล้วบวชอยู่กับพระโพธิสัตว์ ผู้กระทำทุกรกิริยาอยู่ ๖ ปี.
บทว่า ตโต สตฺตมเก วสฺเส ได้แก่ ในปีที่ ๗ จำเดิมแต่กาลที่ บวชแล้วนั้น. บทว่า พุทฺโธ สจฺจํ กเถสฺสติ ความว่า ทรงกระทำ ทุกรกิริยาได้ ๖ ปีแล้ว ในปีที่ ๗ จักได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วตรัสสัจจะ ทั้ง ๔ กล่าวคือทุกขสัจ สมุทยสัจ นิโรธสัจ และมรรคสัจ ด้วยพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเทศนา ณ ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี. บทว่า โกณฺฑญฺโ นาม นาเมน ความว่า ชื่อว่าโกณฑัญญะโดยนาม คือโดยอำนาจชื่อของโคตร. บทว่า ปมํ สจฺฉิกาหิติ ความว่า จัก กระทำให้แจ้ง คือจักทำให้ประจักษ์ ซึ่งพระโสดาปัตติมรรคญาณก่อน คือแต่ต้นทีเดียว ในระหว่างพระปัญจวัคคีย์ทั้งหลาย.
บทว่า นิกฺขนฺเตนานุปพฺพชึ ความว่า ออกบวชตามพร้อมกับพระโพธิสัตว์ผู้เสด็จออกแล้ว. อธิบายว่า เราบวชตามอย่างนั้นกระทำปธาน คือความเพียรดีแล้ว คือกระทำด้วยดี ได้แก่กระทำให้มั่นแล้วกระทำ. บทว่า กิเลเส ฌาปนตฺถาย ความว่า เพื่อต้องการทำกิเลสทั้งหลายให้ เหือดแห้ง คือเพื่อต้องการกำจัดกิเลส เราจึงบวชคือปฏิบัติศาสนาเป็นผู้ ไม่มีเรือน คือไม่มีประโยชน์แก่เรือน ได้แก่เว้นจากกรรมมีการทำนาและ การค้าเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 631
บทว่า อภิคนฺตฺวาน สพฺพญฺญู ความว่า พระพุทธเจ้าทรงรู้อดีต อนาคตและปัจจุบัน หรือไญยธรรม๑ที่ควรรู้กล่าวคือสังขาร วิการ ลักษณะ นิพพาน และบัญญัติ เสด็จไปเฉพาะ คือเสด็จเข้าไปยังป่าเป็นที่อยู่ ของมฤค คือวิหารเป็นที่ให้อภัยแก่มฤค ได้ประหารคือตี ได้แก่ทรง แสดงอมตเภรี ได้แก่เภรีคืออมตมหานิพพาน ด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ นี้ ที่เรากระทำให้แจ้งแล้วในสัตว์โลกอันเป็นไปกับด้วยเทวดาทั้งหลาย.
บทว่า โส ทานิ ความว่า เรานั้นเป็นพระโสดาบันองค์แรก บัดนี้ ได้ถึงคือบรรลุอมตนิพพานอันสงบ คือมีสภาวะสงบระงับ เป็นบทคือพึง ถึง ได้แก่พึงบรรลุอันยอดเยี่ยม คือเว้นสิ่งที่ยิ่งกว่า ด้วยอรหัตตมรรคญาณ. บทว่า สพฺพาสเว ปริญฺาย ความว่า เรากำหนดรู้อาสวะทั้งปวงมี กามาสวะเป็นต้น คือละอาสวะทั้งปวงด้วยปหานปริญญา เป็นผู้ไม่มี อาสวะ คือไม่มีกิเลสอยู่ คือสำเร็จการอยู่ด้วยอิริยาบถวิหาร. คาถาทั้งหลาย มีคำว่า ปฏิสมฺภิทา จตสฺโส เป็นต้น มีเนื้อความดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.
ครั้นกาลต่อมา พระศาสดาประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่เขาปูลาด ไว้ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ในพระเชตวันมหาวิหาร เมื่อจะทรงแสดง ความที่พระเถระเป็นผู้รู้แจ้งธรรมก่อนเพื่อน จึงทรงตั้งพระเถระนั้นไว้ใน เอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัญญาโกณฑัญญะนี้ เป็นเลิศแห่งภิกษุ สาวกทั้งหลายของเราผู้เป็นรัตตัญญูรู้ราตรีนาน. พระอัญญาโกณฑัญญเถระนั้น ประสงค์จะหลีกเลี่ยงความพินอบพิเทาที่พระอัครสาวกทั้งสอง กระทำในตน และการอยู่เกลื่อนกล่นในเสนาสนะใกล้บ้าน และมีความ ประสงค์จะอยู่ด้วยความยินดีในวิเวก สำคัญแม้แต่การทำปฏิสันถารแก่
๑. ไญยธรรม ธรรมที่ควรรู้มี ๕ อย่าง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 632
คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย ผู้เข้ามายังสำนักของตน ว่าเป็นเหตุเนิ่นช้า จึงทูลลาพระศาสดาเข้าไปยังหิมวันตประเทศ อันช้างฉัททันต์ทั้งหลาย บำรุงอยู่ ได้อยู่ที่ฝั่งสระฉัททันต์ถึง ๑๒ พรรษา. พระเถระอยู่ที่นั่นด้วย อาการอย่างนี้ วันหนึ่งท้าวสักกเทวราชเสด็จเข้าไปหา ทรงไหว้แล้วยืน อยู่ได้ตรัสอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดังจะขอโอกาส ขอพระผู้เป็นเจ้า จงแสดงธรรมแก่กระผม. พระเถระจึงแสดงธรรมแก่ท้าวสักกะนั้นอันมี ห้องแห่งอริยสัจ ๔ ถูกไตรลักษณ์กระทบประกอบด้วยสุญญตา วิจิตร ด้วยนัยต่างๆ หยั่งลงสู่อมตะ ด้วยพุทธลีลา. ท้าวสักกะทรงสดับธรรม นั้นแล้ว เมื่อจะประกาศความเลื่อมใสของพระองค์ จึงได้ทรงกระทำการ สรรเสริญว่า
เรานี้ได้ฟังธรรมอันมีรสใหญ่ยิ่ง จึงเลื่อมใสยิ่งนัก พระเถระแสดงธรรมอันคลายกำหนัด ไม่ยึดมั่นโดยประการ ทั้งปวง ดังนี้.
พระเถระอยู่ที่ฝั่งสระฉัททันต์ ๑๒ พรรษา เมื่อกาลจะปรินิพพาน ใกล้เข้ามา จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ขอให้ทรงอนุญาตการปรินิพพาน แล้วไป ณ ที่เดิมนั่นแหละ ปรินิพพานแล้วแล.
จบพรรณนาอัญญโกณฑัญญเถราปทาน