พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปิณโฑลภารทวาชเถราปทานที่ ๑๐ (๘) ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกปทุม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  40996
อ่าน  361

[เล่มที่ 70] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 633

พุทธวรรคที่ ๑

๓. เถราปทาน

ปิณโฑลภารทวาชเถราปทานที่ ๑๐ (๘)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกปทุม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 70]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 633

ปิณโฑลภารทวาชเถราปทานที่ ๑๐ (๘)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกปทุม

[๑๐] พระสยัมภูชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เป็นบุคคลผู้เลิศ ประทับอยู่บนยอดเขาจิตตกูฏข้างหน้าหิมวันต์ เราเป็นพญาเนื้อ ผู้ไม่มีความกลัว สามารถจะไปได้ในทิศทั้ง ๔ พำนักอยู่ ณ ที่นั้น.

สัตว์เป็นอันมากได้ฟังเสียงของเราแล้ว ย่อมครั่นคร้าม เราคาบดอกปทุมที่บาน เข้าไปหาพระนราสภ ได้บูชาพระพุทธเจ้าซึ่งเสด็จออกจากสมาธิ.

เวลานั้น เรานมัสการพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสูงสุดกว่า นระใน ๔ ทิศ ยังจิตของตนให้เลื่อมใสแล้วได้บันลือสีหนาท.

พระปทุมุตตรพุทธเจ้าผู้ทรงรู้แจ้งโลก ทรงรับเครื่องบูชา ของเราแล้วประทับนั่งบนอาสนะของพระองค์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ ทวยเทพทั้งปวงได้ทราบพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแล้ว มาประชุมกันแล้งกล่าวว่า พระพุทธเจ้าผู้ ประเสริฐจักเสด็จมา เราทั้งหลายจักฟังธรรมนั้น.

พระมหามุนีผู้ทรงเห็นกาลไกล ผู้เป็นนายกของโลก ทรง ประกาศเสียงบันลือของเรา เบื้องหน้าทวยเทพและมนุษย์ผู้ ประกอบด้วยความร่าเริงเหล่านั้นว่า ผู้ใดได้ถวายปทุมนี้ และ ได้บันลือสีหนาท เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง เรากล่าว.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 634

ในกัปที่ ๘ แต่ภัทรกัปนี้ ผู้นั้นจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ จัก เสวยความเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ๖๔ ชาติ จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิทรงกำลัง มีพระนามชื่อว่าปทุม.

ในแสนกัป พระศาสดาพระนามว่าโคดมโดยพระโคตร ทรงสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก.

เมื่อพระศาสดาพระองค์นั้น ทรงประกาศพระศาสนาแล้ว พญาสีหะนี้จักเป็นเผ่าพันธุ์พราหมณ์ จักออกจากสกุลพราหมณ์แล้วบวชในพระศาสนาของพระศาสดาพระองค์นั้น.

เขามีตนอันส่งไปแล้วเพื่อความเพียร เป็นผู้สงบระงับไม่ มีอุปธิ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะ นิพพาน ณ เสนาสนะอันสงัดปราศจากชน แต่คลาคล่ำด้วยเนื้อร้าย.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนั้นแล.

จบปิณโฑลภารทวารชเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 635

๘. พรรณนาปิณโฑลภารทวาชเถราปทาน

คำว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้เป็นต้น เป็นอปทานของ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชเถระ.

แม้พระเถระนี้ก็ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ก่อสร้างบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่วิวัฏฏะไว้ในภพนั้นๆ ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในกำเนิดราชสีห์อยู่ในถ้ำ ที่เชิงภูเขา. เพื่อจะทรงกระทำความอนุเคราะห์แก่ราชสีห์นั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าจึงเสด็จเข้าไปยังถ้ำเป็นที่อยู่ของราชสีห์นั้น ในเวลาที่ออกไป หาเหยื่อ ทรงนั่งเข้านิโรธสมาบัติอยู่. ราชสีห์จับเหยื่อแล้วกลับมายืนอยู่ที ประตูถ้ำ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทั้งร่าเริงและยินดี จึงบูชาด้วยดอกไม้ ที่เกิดในน้ำและบนบก ทำจิตให้เลื่อมใส. เพื่อต้องการจะอารักขาพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงบันลือสีหนาท ๓ เวลา เพื่อให้เนื้อร้ายอื่นๆ หนีไป ได้ยืนอยู่ด้วยสติอันไปแล้วในพระพุทธเจ้า. บูชาอยู่ตลอด ๗ วัน เหมือน ในวันแรก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า เมื่อล่วง ๗ วันแล้ว ควร ออกจากนิโรธสมาบัติ ส่วนแห่งบุญมีประมาณเท่านี้จักเป็นอุปนิสัยแก่ราชสีห์นี้ ดังนี้ เมื่อราชสีห์นั้นเห็นอยู่นั่นแหล่ะ จึงเหาะขึ้นไปสู่อากาศ เสด็จไปยังพระวิหารทีเดียว.

ราชสีห์ไม่อาจอดกลั้นความทุกข์ เพราะพลัดพรากจากพระพุทธเจ้า จึงกระทำกาละแล้วบังเกิดในตระกูลมีโภคะมากในนครหังสวดี พอเจริญวัย แล้ว ได้ไปยังพระวิหารกับชาวเมือง ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา แล้วเลื่อมใส ยังมหาทานให้เป็นไปแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็น ประธาน ตลอด ๗ วัน ทำบุญทั้งหลายจนชั่วชีวิต ท่องเที่ยวไปๆ มาๆ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 636

อยู่ในเทวดาและมนุษย์ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย จึงบังเกิดเป็นบุตรของปุโรหิตแห่งพระเจ้าอุเทน. เขาได้มีชื่อว่า ภารทวาชะ. ภารทวาชะนั้นเจริญวัยแล้ว เรียนจบไตรเพทสอนมนต์แก่มาณพ ๕๐๐ คน เพราะความที่ตนเป็นผู้มีความประพฤติไม่เหมาะสม โดยความเป็นผู้กินจุ ถูกพวกมาณพเหล่านั้นละทิ้ง จึงไปยังนครราชคฤห์ ได้เห็นลาภสักการะ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ จึงบวชในพระศาสนา เป็นผู้ไม่รู้ ประมาณในการบริโภคอยู่. พระศาสดาทรงให้ตั้งอยู่ในความเป็นผู้รู้จัก ประมาณด้วยอุบาย ท่านจึงเริ่มตั้งวิปัสสนา ไม่นานนัก ก็ได้อภิญญา ๖. ก็ครั้นเป็นผู้ได้อภิญญา ๖ แล้ว จึงบันลือสีหนาทว่า ผู้ใดมีความสงสัย ในมรรคและผล ผู้นั้นจงถามเราดังนี้ ทั้งต่อพระพักตร์ของพระผู้มี พระภาคเจ้าและในหมู่ภิกษุ ด้วยคิดว่า สิ่งใดที่สาวกทั้งหลายพึงบรรลุ สิ่งนั้นเราบรรลุแล้ว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ ในเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปิณโฑลภารทวาชะนี้ เป็นเลิศแห่ง ภิกษุสาวกทั้งหลายของเราผู้บันลือสีหนาท.

พระเถระนั้นครั้นได้ตำแหน่งเอตทัคคะอย่างนี้แล้ว ระลึกถึงบุญสมภารที่ได้กระทำไว้ในชาติก่อน เมื่อจะทำให้แจ้งซึ่งอปทานแห่งบุญกรรมของตนด้วยความโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตโร ดังนี้. เนื้อความแห่งคำนั้น ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล. บทว่า ปุรโต หิมวนฺ- ตสฺส ความว่า ในส่วนแห่งทิศตะวันออกของภูเขาหิมาลัย. บทว่า จิตฺตกูเฏ- วสี ตทา เชื่อมความว่า ในกาลใด เราเป็นราชสีห์ คือเป็นพญาเนื้อ อยู่ ณ ที่ใกล้ภูเขาหิมวันต์ ในกาลนั้น พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 637

ประทับอยู่ที่เขาชื่อว่าจิตตกูฏ คือที่ยอดเขาชื่อว่าจิตตบรรพต เพราะเป็น ภูเขาที่งดงามหลากสีด้วยโอสถ และรัตนะทั้งหลายมิใช่น้อย. บทว่า อภีตรูโป ตตฺถาสึ ความว่า เราได้เป็นพญาเนื้อผู้ไม่กลัว เป็นสภาวะ คือเป็นผู้ไม่มีความกลัวเป็นสภาวะอยู่ในที่นั้น. บทว่า จตุกฺกโม ได้แก่ เป็นผู้ก้าวไป คือสามารถจะไปได้ทั้ง ๔ ทิศ. บทว่า ยสฺส สทฺทํ สุณิตฺวาน ความว่า ชนมาก คือสัตว์เป็นอันมากได้ฟังสีหนาทของ พญาเนื้อใด ย่อมข่ม คือย่อมขัดขวางโดยพิเศษ ได้แก่ย่อมกลัว.

บทว่า สุผุลฺลํ ปทุมํ คยฺห ความว่า มีความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้คาบดอกปทุมที่บานดีแล้ว ได้เข้าไปหาคือได้เข้าไปใกล้ พระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนราสภ คือผู้องอาจ สูงสุด คือประเสริฐสุดแห่ง นระทั้งหลาย. บทว่า วุฏฺิตสฺส สมาธิมฺหิ ความว่า เราปลูก คือบูชา ดอกไม้นั้นแด่พระพุทธเจ้าผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ.

บทว่า จตุทฺทิสํ นมสฺสิตฺวา ความว่า เรานมัสการทั้ง ๔ ทิศ แล้วทำจิตของตนให้เลื่อมใส คือให้ตั้งอยู่ด้วยความเอื้อเฟื้อ ได้บันลือ สีหนาท คือการบันลืออย่างไม่เกรงกลัว ได้แก่ทำสีหนาทให้กึกก้องแล้ว.

ลำดับนั้น เมื่อจะประกาศการพยากรณ์ที่พระพุทธเจ้าประทานแล้ว จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตโร ดังนี้. คำนั้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

บทว่า วทตํ เสฏฺโ เชื่อมความว่า พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ คือสูงสุดแห่งพวกอัญญเดียรถีย์ผู้กล่าวว่า เราทั้งหลายเป็นพระพุทธเจ้าๆ ดังนี้ เสด็จมาแล้ว. อธิบายว่า เราทั้งหลายจักฟังธรรมนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสด็จมาแล้วนั้น.

บทว่า เตสํ หาสปเรตานํ ความว่า ของเทวดาและมนุษย์

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 638

เหล่านั้นผู้ห้อมล้อม คือครอบงำ ได้แก่ ผู้ประกอบความร่าเริง คือ ด้วยความโสมนัส. บทว่า โลกนายโก ความว่า พระมหามุนี คือพระมุนี ผู้ยิ่งใหญ่ในระหว่างมุนีทั้งหลาย ผู้ทรงเห็นกาลไกล คือผู้ทรงเห็นอนาคตกาล ผู้เป็นนายกของโลก คือผู้ทรงยังชาวโลกให้ถึงสวรรค์และนิพพาน ทรงแสดง คือทรงประกาศ ได้แก่ตรัสถึงเสียงของเรา คือเสียงบันลือ อย่างราชสีห์ของเรา. คาถาที่เหลือเข้าใจได้ง่ายทั้งนั้น.

คาถาต่อไปมีความว่า ราชสีห์จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า ปทุม โดยพระนาม จักครองความเป็นใหญ่ คืออิสรภาพ ได้แก่ ราชสมบัติ ๖๔ ชาติ.

บทว่า กปฺปสตสหสฺสมฺหิ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่ง ฉัฏฐีวิภัตติ. อธิบายว่า ในที่สุดแสนกัป.

บทว่า ปกาสิเต ปาวจเน ความว่า ในพระไตรปิฎกที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดมนั้นทรงประกาศแล้ว คือทรงแสดงแล้ว. บทว่า พฺรหมฺพนฺธุ ภวิสฺสติ ความว่า ในกาลนั้น คือในกาลแห่งพระผู้มี พระภาคเจ้าพระนามว่าโคดม ราชสีห์ผู้เป็นพญาเนื้อนี้จักบังเกิดในตระกูล พราหมณ์. บทว่า พฺรหฺมญฺา อภินิกฺขมฺม เชื่อมความว่า จักออก จากตระกูลพราหมณ์บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.

บทว่า ปธานปหิตตฺโต ได้แก่ มีจิตส่งไปเพื่อกระทำความเพียร ชื่อว่าผู้ไม่มีอุปธิ เพราะไม่มีกิเลสทั้งหลายกล่าวคืออุปธิ ชื่อว่าผู้สงบระงับ เพราะไม่มีความกระวนกระวายเพราะกิเลส กำหนดรู้ คือละอาสวะ ทั้งปวง ได้แก่อาสวะทั้งสิ้น เป็นผู้ไม่มีอาสวะ คือไม่มีกิเลส จักนิพพาน อธิบายว่า จักเป็นผู้นิพพานด้วยขันธปรินิพพาน.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 639

บทว่า วิชเน ปนฺตเสยฺยมฺหิ ความว่า ในเสนาสนะป่าไกลเว้น จากความแออัดด้วยหมู่ชน. บทว่า วาฬมิคสมากุเล ความว่า อากูล คือเกลื่อนกล่นด้วยการเกี่ยวข้องกับเนื้อร้ายมีกาฬราชสีห์เป็นต้น. คำที่ เหลือมีเนื้อความดังกล่าวแล้ว ฉะนี้แล.

จบพรรณนาปิณโฑลภารทวาาชเถราปทาน