พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สีหาสนทายกเถราปทานที่ ๑ (๑๑) ว่าด้วยผลแห่งการถวายราชอาสน์ทองคํา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  40999
อ่าน  358

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย อปทาน

เล่มที่ ๘ ภาคที่ ๒

ตอนที่ ๒

เถรปทาน

สีหาสนิยวรรคที่ ๒


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย อปทาน

เล่มที่ ๘ ภาคที่ ๒

ตอนที่ ๒

เถรปทาน

สีหาสนิยวรรคที่ ๒

สีหาสนทายกเถรปทานที่ ๑ (๑๑)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายราชอาสน์ทองคำ

[๑๓] เมื่อพระโลกนาถพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ นิพพานแล้ว เมื่อพระศาสนา (แผ่) กว้างขวาง พระศาสนา มีท่านผู้รู้ (พระขีณาสพ) มาก.

เรามีจิตผ่องใส ใจผ่องแผ้ว ได้ทำราชอาสน์ทองคำ ครั้นทำราชอาสน์ทองคำแล้ว ได้ทำตั่งสำหรับรองเท้า.

ได้สร้างเรือนสำหรับเก็บราชอาสน์ทองคำนั้น ในฤดูฝน ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น เราได้บังเกิดในภพดุสิต วิมานยาว ๒๔ โยชน์ กว้าง ๑๔ โยชน์ อันบุญกรรมสร้างอย่างงดงามมี อยู่ในภพดุสิตนั้นเพื่อเรา.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 2

นางเทพกัญญา ๗ หมื่นแวดล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ และ บัลลังก์ทองที่สร้างอย่างวิจิตร มีอยู่ในวิมานของเรา.

ยานช้าง ยานม้า ยาทิพย์ ตั้งไว้คอยรับเรา ปราสาท และย่อมบังเกิดตามความปรารถนา.

บัลลังก์แก้วมณี และบัลลังก์ไม้แก่นอย่างอื่นเป็นอันมาก ย่อมเกิดแก่เราทุกอย่าง นี้เป็นผลแห่ง (การถวาย) ราชอาสน์ ทองคำ.

เราสวมรองเท้าทำด้วยทองคำ ทำด้วยเงิน ทำด้วยแก้ว ผลึก ทำด้วยแก้วไพฑูรย์ นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่งรองเท้า.

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย ผลกรรมนั้น เราไม่รู้ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม.

ในกัปที่ ๗๓ แต่กัปนี้ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ ครั้ง พระนามว่าอินท์ ในกัปที่ ๗๒ แต่กัปนี้ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ ครั้ง พระนามว่าสุมนะ.

ในกัปที่ ๗๐ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ ครั้ง พระนามว่า วรุณ. สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔.

คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระสีหาสนทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบสีหาสนทายกเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 3

วิสุทธชนวิลาสินี

อรรถกถาขุททกนิกาย อปทาน

เถราปทาน

สีหาสนิยวรรคที่ ๒

๑๑. อรรถกถาสีหาสนทายกเถราปทาน (๑)

อปทานของท่านพระสีหาสนทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต โลกนาถมฺหิ ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้บำเพ็ญบารมีมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ ก่อนๆ ทุกๆ พระองค์ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ เป็นอันมากในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิทธัตถะ ท่านบังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่งที่เพียบพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ สมบูรณ์ด้วยศรัทธา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว จึงได้เกิด พอท่าน อยู่ในเทวโลก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ท่านยัง บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้พบเห็นเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงคิดน้อยใจว่า เสียดายจริงหนอที่เราไม่ได้มีโอกาสพบ พระผู้มีพระภาคเจ้าขณะที่พระองค์ยังมีพระชนม์อยู่ดังนี้ มีจิตเลื่อมใสใน องค์พระเจดีย์ เกิดโสมนัสจิต ให้ช่างสร้างอาสนะสีหะบนธรรมาสน์ที่ สำเร็จด้วยแก้วทุกชนิด วิจิตรปานหนึ่งว่าเทพยดาเนรมิต แล้วทำ


๑. เลขข้างหน้าอรรถกถา บอกลำดับอปทานของพระเถระต่อจากเถราปทานวรรคที่ ๑.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 4

การบูชาแด่พระพุทธเจ้า คล้ายกับว่าพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ ให้สร้าง เรือนยอดงดงามปานดังทิพยวิมานไว้บนธรรมาสน์นั้น. ให้สร้างตั่งรองเท้า สำหรับ รองเท้า. เขาการทำเทียนธูปดอกไม้และของหอมเป็นต้นนานาชนิด ให้เป็นเครื่องบูชา จนตลอดชีวิตเห็นปานนี้ จุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว บังเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติกลับไปกลับมาในกามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น เสวยจักรพรรดิสมบัตินับครั้งไม่ถ้วนในมนุษยโลก และได้เสวย สมบัติคือการเป็นพระราชาในประเทศจนนับครั้งไม่ถ้วน ในพระศาสนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ ได้บวชบำเพ็ญ สมณธรรม ในระหว่างนักท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาท. กาลนี้ ได้บังเกิดในตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยสมบัติแห่งหนึ่ง พอบรรลุนิติ. ภาวะแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา มีศรัทธาขอบรรพชา อุปสมบท เรียนกัมมัฏฐาน พากเพียรพยายาม ไม่นานนักก็ได้บรรลุ พระอรหัต.

ท่านพอได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้วอย่างนี้ จึงได้ระลึกถึงบุพกรรม ของตน เกิดโสมนัสขึ้นแล้ว เมื่อจะประกาศอ้างถึงความประพฤติที่มีใน กาลก่อน จึงกล่าวคาถาเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต โลกนาถมหิ ดังนี้. โลกนาถะ ในคาถาหมายถึงที่พึ่ง คือประธานของชาวโลก, อธิบายว่า เจ้าของ แห่งชาวโลกทั้ง ๓. เชื่อมความว่า เมื่อพระโลกนาถเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ปรินิพพานแล้ว. บทว่า วิตฺถาริเต ปาวจเน ความว่า เมื่อปาพจน์คือ พระไตรปิฎก กว้างขวางออกไป แผ่ไปปรากฏชัดแล้ว. บทว่า พาหุ- ชญฺมฺหิ สาสเน ความว่า เมื่อหมู่ชนเป็นอันมาก ได้แก่พระขีณาสพ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 5

หลายแสนโกฏิ ได้รู้ ได้บรรลุถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อันสงเคราะห์ ด้วยไตรสิกขาแล้ว.

บทว่า ปสนฺนจิตโต สุมโน ความว่า ในกาลนั้น เราไม่มีโอกาส ได้เกิดพบพระพุทธเจ้าขณะยังทรงพระชนม์อยู่ เมื่อพระองค์ปรินิพพาน แล้ว จึงได้จุติจากเทวโลกมาบังเกิดในมนุษยโลก ได้พบแต่เจดีย์บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้มีจิตเลื่อมใส มีใจประกอบด้วยศรัทธา มีใจดีงาม เกิดความเลื่อมใสและนับถือเป็น อันมากขึ้นว่า ช่างเป็นบุญเหลือเกิน ที่การมาของเรานับว่าเป็นการมาดี แล้ว ดังนี้จึงจินตนาการว่า เราสมควรที่จะบำเพ็ญบุญสักอย่างหนึ่งเพื่อ บรรลุพระนิพพาน จึงได้ใช้เงินทองและแก้วเป็นต้นมาประดับประดา อาสนะสีหะ อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า ไว้ใกล้พระเจดีย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. และได้ให้คนสร้างตั่งรองเท้าสำหรับรองพระบาท ของ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับนั่งแล้ว บนธรรมาสน์นั้น. และได้ให้คนสร้าง เรือนยอดไว้บนธรรมาสน์นั้น เพื่อไม่ให้อาสนะสีหะเปียกฝน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สีหาสนมกาสหํฯ เปฯ ฆรํ ตตฺถ อกาสหํ ดังนี้. บทว่า เตน จิตฺตปฺปสาเทน ความว่า เรามีจิตเลื่อมใสสร้างอาสนะสีหะ ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าคล้ายกับว่าพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่. บทว่า ตุสิตํ อุปปชฺชหํ ความว่า เราได้บังเกิดในดุสิตภพ.

บทว่า อายาเมน จตุพฺพีส ความว่า วิมานมีส่วนยาวและสูง ๒๔ โยชน์ เกิดปรากฏแก่ข้าพเจ้าผู้เกิดเป็นเทวดาในดุสิตภพนั้น ด้วยบุญ ที่ ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญเป็นอย่างดี และวิมานกว้าง ๑๔ โยชน์ ได้บังเกิดมี ในขณะที่ข้าพเจ้าได้เกิดแล้วทีเดียว. คำที่เหลือพอรู้ได้ง่ายอยู่แล้ว.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 6

บทว่า จตุนฺนวุเต อิโต กปฺเป ความว่า เราได้กระทำ คือได้ บำเพ็ญกรรมมาในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้. ความว่า ตั้งแต่นั้นมา ด้วย พลังแห่งบุญ เราจึงได้ไม่รู้จักทุคติอะไรเลย คือทุคติอะไรๆ ไม่เคย ได้มีเลย.

บทว่า เตสตฺตติมฺหิโต กปฺเป ไก้แก่ ในกัปที่ ๗๓ แต่กัปนี้. บทว่า อินฺทนามา ตโย ชนา ความว่า พระเจ้าจักรพรรดิ ๓ พระองค์ พระนามว่าอินทะ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่าอินทะ ในกัปหนึ่ง ๓ ชาติ. บทว่า เทฺว สตฺตติมหิโต กปฺเป ได้แก่ ในกัปที่ ๗๒ แต่ กัปนี้. คน ๓ คนที่มีชื่อว่าสุมนะ คือได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิถึง ๓ ครั้ง.

บทว่า สมสตฺตติโต กปฺเป ความว่า เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ ครั้ง ผู้มีพระนามอย่างนี้คือ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่าวรุณ ในกัป ที่ ๗๐ ไม่หย่อนไม่ยิ่งแต่กัปนี้ คือได้เป็นผู้ยิ่งใหญ่สมบูรณ์ด้วยจักรรัตนะ ทุกอย่างในทวีปทั้ง ๔. คำที่เหลือพอรู้ได้อยู่แล้ว.

จบอรรถกถาสีหาสนทายกเถราปทาน