พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

นันทเถราปทานที่ ๓ (๑๓) ว่าด้วยผลแห่งการถวายผ้า

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  41001
อ่าน  401

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 11

เถราปทาน

สีหาสนิยวรรคที่ ๒

นันทเถราปทานที่ ๓ (๑๓)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผ้า


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 11

นันทเถราปทานที่ ๓ (๑๓)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผ้า

[๑๕] เราได้ถวายผ้าทอด้วยเปลือกไม้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ เชษฐบุรุษของโลกผู้มั่นคง ตรัสรู้เอง แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง.

พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงพยากรณ์เรานั้นว่า ด้วยการถวายผ้านี้ ท่านจักเป็นผู้มีผิวพรรณดัง ทองคำ.

ได้เสวยสมบัติทั้งสองแล้ว อันกุศลมูลตักเตือน จักได้. เป็นพระอนุชาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าโคดม.

ท่านอันราคะย้อมแล้ว มีปกติสุข ประกอบด้วยความ กำหนัดในกาม เป็นผู้อันพระพุทธเจ้าตักเตือนแล้ว แต่นั้น จักบวช.

ครั้นบวชในพระศาสนาของพระโคดมนั้นแล้ว อันกุศลมูล ตักเตือนแล้ว จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวง ไม่มีอาสวะ นิพพาน.

ในแสนกัปจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง มีพระนามว่า เจละ ใน ๖ ล้านกัปจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง มีพระนาม ว่า อุปเจละ.

ใน ๕,๐๐๐ กัป จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้งพระนาม ว่า เจละเหมือนกัน สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ เป็นใหญ่ ในทวีปทั้ง ๔.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 12

อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระนันทเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบนันทเถราปทาน

๑๓. อรรถานันทเถราปทาน

อปทานของท่านพระนันทเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตรสฺสํ ภควโต ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้บำเพ็ญบารมีมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ ก่อนๆ ทุกๆ พระองค์ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็น อันมาก ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านบังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง ในพระนครหังสาวดี บรรลุ นิติภาวะแล้ว ขณะที่ฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้พบ ภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งพระศาสดาทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งผู้เลิศแห่งพวกภิกษุ ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ตนเองจึงปรารถนาตำแหน่งนั้น บำเพ็ญมหาทานที่มากไปด้วยการบูชาและสักการะ ให้เป็นไปแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์แล้ว ตั้งปณิธานไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในอนาคตกาล ขอให้ข้าพระองค์พึงได้เป็นอย่างพระสาวกรูปนั้น ของ พระพุทธเจ้าผู้เช่นกับพระองค์เถิด.

จำเดิมแต่นั้น ท่านก็ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 13

กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อัตถทัสสี เกิดเป็นเต่าใหญ่ ในแม่น้ำชื่อว่า ธัมมตา วันหนึ่งได้พบพระศาสดาประทับยืนอยู่ใกล้ฝั่ง เพื่อจะข้ามแม่น้ำ ตนเองประสงค์จะให้พระผู้มีพระภาคเจ้าข้ามฝั่ง จึง หมอบลงใกล้พระบาทของพระศาสดา. พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัย ของเธอแล้ว จึงทรงขึ้นบนหลัง. เธอดีใจมาก รีบแหวกว่ายตัดกระแสน้ำ ให้ถึงฝั่งโน้นได้รวดเร็ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสอนุโมทนาแก่เธอ ตรัสชี้แจงถึงสมบัติจนแจ่มแจ้งแล้ว เสด็จหลีกไป.

ด้วยบุญกรรมอันนั้น ท่านจึงได้ท่องเที่ยวไปในสุคติหลายครั้ง หลายหนทีเดียว ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในพระครรภ์ของพระนาง มหาปชาบดีโคตมี พระอัครมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ในกรุง กบิลพัสดุ์ ในวันจะขนานนามท่าน หมู่ญาติบังเกิดความยินดี จึงขนาน พระนามว่า นันทะ. ในเวลาที่นันทกุมารได้เจริญวัยขึ้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐให้เป็นไปแล้ว ทรง กระทำการอนุเคราะห์สัตว์โลก เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์โดยลำดับ ทรง กระทำฝนโบกขรพรรษให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ ในสมาคมแห่งหมู่ญาต ตรัสเวสสันดรชาดก ในวันที่ ๒ เสด็จเข้าไปบิณฑบาต ทรงยังพระชนก ให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลด้วยพระคาถาเป็นต้นว่า อุตฺติฏเ นปฺปมชฺ- เชยฺย ดังนี้ แล้วเสด็จไปยังพระนิเวศน์ ทรงยังพระนางมหาปชาบดีให้ ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล และให้พระราชาดำรงอยู่ในสกทาคามิผล ด้วย พระคาถาเป็นต้นว่า ธมฺมํ. จเร สุจริตํ ดังนี้. ในวันที่ ๓ เสด็จเข้าไป บิณฑบาต ในเมื่อวันอาวาหมงคลเป็นที่เสด็จเข้าไปยังพระราชนิเวศน์ เพื่อการอภิเษกของนันทกุมาร กำลังดำเนินไปอยู่. พระศาสดาทรง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 14

ประทานบาตรในมือของนันทกุมารแล้ว ตรัสมงคลแล้ว ไม่รับบาตรจาก มือของนันทกุมารนั้น เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร ทรงให้นันทกุมารผู้ถือ บาตรตามมายังวิหาร ผู้ไม่มีใจปรารถนาจะบวช ให้บวชแล้ว ทรง ทราบว่า เธอถูกความไม่ยินดีเข้าบีบคั้น เพราะเหตุที่เธอบวชด้วยอาการ อย่างนั้นนั่นแหละ จึงทรงบรรเทาความไม่ยินดียิ่งนั้นของเธอเสียด้วย อุบาย. เธอพิจารณาแล้วโดยแยบคาย เริ่มบำเพ็ญวิปัสสนา มิช้ามินานก็ ได้บรรลุพระอรหัต. พอวันรุ่งขึ้น พระเถระจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระองค์พ้น จากข้อประกันที่จะรับนางอัปสร ๕๐๐ นางผู้มีเท้าที่มีสีแดงคล้ายเท้านกพิราบ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอบอกคืนข้อประกันนั้นกะพระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า ดูก่อนนันทะ ในกาลที่เธอไม่ ยึดมั่น มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายได้ เราก็คุ้มครองรับรองว่า จะ บอกคืนข้อประกันนั้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พระนันทะมีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายได้อย่างวิเศษ เมื่อจะทรง ประกาศคุณข้อนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นันทะเป็นผู้เลิศแห่ง พวกภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา ผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ดังนี้แล้ว ทรงตั้งพระนันทะนั้นไว้ในตำแหน่งนั้น โดยความเป็นผู้มีทวาร อันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย. ก็พระเถระคิดว่า เราอาศัยความไม่ สำรวมอินทรีย์ จึงถึงซึ่งอาการอันแปลกๆ นี้ เราจักข่มอาการอันแปลกๆ นั้นให้ได้เป็นอย่างดี ดังนี้แล้วเกิดความอุสาหะ มีความละอายและความ เกรงกลัวต่อบาปเป็นกำลัง และได้บรรลุถึงบารมีอันสูงสุดในการสำรวม อินทรีย์ เพราะความที่ท่านได้สั่งสมบำเพ็ญมาในการสำรวมอินทรีย์นั้น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 15

ครั้นท่านได้รับตำแหน่งอันเลิศนั้นอย่างนี้แล้ว จึงได้ระลึกถึงบุพกรรมของตน ได้รับความโสมนัส เมื่อจะประกาศอ้างถึงข้อประพฤติของ พระพุทธเจ้า จึงกล่าวคาถาเป็นต้นว่า ปทุมุตฺตรสฺส ภควโต ดังนี้. บทว่า วตฺถํ โขมํ มยา ทินฺนํ ความว่า ผ้าที่เกิดในแคว้นโขนะ คือเรามีจิต เลื่อมใส มีความเคารพนับถือมาก ในพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้น้อมถวาย ผ้าโขนะที่มีเนื้อละเอียดอ่อนยิ่งนัก. บทว่า สยมฺภุสฺส ความว่า พระองค์ นั่นแล เป็นแล้ว เกิดแล้ว คือนิพพานแล้วโดยอริยชาติ. บทว่า มเหสิโน เชื่อมความว่า ชื่อว่า มเหสี เพราะอรรถว่า ค้นหา แสวงหา กองศีล กองสมาธิ กองปัญญา กองวิมุตติ และกองวิมุตติญาณทัสสนะอย่างใหญ่ หลวงได้, เราได้ถวายผ้าโขมะเพื่อประโยชน์แก่การทำเป็นจีวร แด่พระสยัมภูผู้แสวงหากองแห่งสาระคุณอันใหญ่นั้นแล้ว.

บทว่า ตํ ในบทว่า ตํ เม พุทโธ วิยากาสิ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ลงในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ, อธิบายว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงกระทำ คือ ตรัสแล้วโดยพิเศษ ถึงผลทานของเราผู้ถวายผ้านั้น. บทว่า ชลชุตฺตมนามโก ได้แก่ มีพระนามว่า ปทุมุตตระ. ปาฐะว่า ชลรุตฺตมนายโก ดังนี้ก็มี, ความแห่งปาฐะนั้นว่า ผู้นำชั้นยอด คือประธานแห่งหมู่เทวดา และพรหมทั้งหลายผู้รุ่งเรือง. บทว่า อิมินา วตฺถทาเนน ความว่า ด้วย ผลแห่งการถวายผ้า ในอนาคตกาล เธอจักเป็นผู้มีวรรณะเพียงดัง ทองคำ.

บทว่า เทฺว สมฺปตฺตึ อนุโภตฺวา ได้แก่ ได้เสวยสมบัติทั้งสอง คือ ทิพยสมบัติ และมนุษยสมบัติ. บทว่า กุสลมูเลหิ โจทิโต ความว่า เป็นผู้อันส่วนแห่งกุศลตักเตือนแล้ว คือส่งไปแล้ว ได้แก่ คล้ายๆ กับ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 16

ส่งไปว่า ด้วยบุญอันนี้ ขอเธอจงประสบกุศลในสำนักของพระศาสดาเถิด. เชื่อมความว่า ทรงพยากรณ์ว่า เธอจักได้เป็นพระกนิษฐภาดาของพระผู้มีพระภาคเจ้าโคดม.

บทว่า ราครตฺโต สุขสีโล ความว่า มีความกำหนัดเยื่อใยด้วย กิเลสกามทั้งหลาย มีการเสวยความสุขทางกายและความสุขทางจิตเป็น สภาพ. บทว่า กาเมสุ เคธมายุโต ความว่า ถูกตัณหา คือความกำหนัด ในวัตถุกามทั้งหลาย ประกอบผูกพันไว้แล้ว. บทว่า พุทฺเธน โจทิโต สนฺโต ตทา ตฺวํ คือ เพราะกำหนัดแล้วในกามทั้งหลาย. เชื่อมความว่า ฉะนั้น เธอผู้ได้รับการตักเตือนจากพระโคดมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระภาดา ของตนแล้ว คือส่งเธอไปทางการบวช ก็จักได้บวชในสำนักของพระองค์.

บทว่า ปพฺพชิตฺวาน ตวํ ตตฺถ ความว่า ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดมนั้น เธอบวชแล้ว เป็นผู้มีกุศลมูลเป็นต้น เหตุ มีบุญสมภารตักเตือนแล้ว บำเพ็ญภาวนา กำหนดรู้ กำหนดละอาสวะ ทั้งปวงได้เด็ดขาด มีอนามัยดี ไม่มีทุกข์ จักนิพพาน คือจักบรรลุถึง ความที่มารมองไม่เห็น อธิบายว่า จักถึงภาวะที่ไม่มีบัญญัติ.

บทว่า สตกปฺปสหสฺสมฺหิ ความว่า ในกัปที่ ๑๐,๐๐๐ ในกาลก่อน แต่กัปนี้ไป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิถึง ๔ วาระ มีพระนามเดียวคลอด ว่า เจละ. บทว่า สฏฺิกปฺปสตสหสฺสานิ ความว่า ก็ภายหลังล่วงไปได้ ๖ ล้านกัป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง พระนามว่า อุปเจละ ใน กัปหนึ่งๆ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิทุกๆ ๔ ชาติ

บทว่า ปญฺจกปฺปสหสฺสมฺหิ ความว่า ในกัปที่ ๕,๐๐๐ ได้เป็น

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 17

พระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง พระนามว่าเจละเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้สมบูรณ์ เพียบพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ ได้เป็นใหญ่เป็นประธาน ในทวีปทั้ง ๔ ทุกทวีป คือ ชมพูทวีป อปรโคยานทวีป อุตตรกุรุทวีป และปุพพวิเทหทวีป. คำที่เหลือมีเนื้อความดังที่ได้กล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถานันทเถราปทาน