พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

จุลลปันถกเถราปทานที่ ๔ (๑๔) ว่าด้วยบุพกรรมของพระจุลลปันถกเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  41002
อ่าน  412

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 18

เถราปทาน

สีหาสนิยวรรคที่ ๒

จุลลปันถกเถราปทานที่ ๔ (๑๔)

ว่าด้วยบุพกรรมของพระจุลลปันถกเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 18

จุลลปันถกเถราปทานที่ ๔ (๑๔)

ว่าด้วยบุพกรรมของพระจุลลปันถกเถระ

[๑๖] เวลานั้น พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรับเครื่อง บูชาแล้ว พระองค์เสด็จหลีกออกจากหมู่ ประทับอยู่ ณ ภูเขา หิมวันต์.

แม้เวลานั้นเราก็อยู่ในอาศรมใกล้ภูเขาหิมวันต์ เราได้เข้า ไปเฝ้าพระมหาวีรเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ผู้เสด็จมาไม่นาน. เราถือเอาฉัตรอันประดับด้วยดอกไม้ เข้าไปเฝ้าพระนราสภ เราได้ทำอันตรายแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งกำลังเข้า สมาธิ.

เราประคองฉัตรดอกไม้ด้วยมือทั้งสองถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ามหามุนีพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรับแล้ว.

เทวดาทั้งปวงมีใจชื่นบาน เข้ามาสู่ภูเขาหินวันต์ ยังสาธุ- การให้เป็นไปว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีจักษุทรงอนุโมทนา. ครั้นเทวดาเหล่านี้กล่าวเช่นนี้แล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สูงสุดกว่านระ เมื่อเรากั้นฉัตรดอกบัวอันอุดม อยู่ในอากาศ.

(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า) ดาบสได้ประคองฉัตรดอกบัว ให้แก่เรา เราจักพยากรณ์ดาบสนั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรา กล่าว.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 19

ดาบสนี้จักเสวยเทวรัชสมบัติอยู่ตลอด ๒๕ กัป และจัก เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๕ ครั้ง. จะท่องเที่ยวสู่กำเนิดใดๆ คือความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ในกำเนิดนั้นๆ จักทรงไว้ซึ่ง ดอกปทุมอันตั้งอยู่ในอากาศ.

ในแสนกัป พระศาสดาพระนามว่าโคดมโดยพระโคตร ซึ่งมีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก.

เมื่อพระศาสดาทรงประกาศพระศาสนา ดาบสผู้นี้จักได้ ความเป็นมนุษย์ เขาจักเป็นผู้อุดมในกายอันบังเกิดแล้วด้วย ฤทธิ์อันสำเร็จด้วยใจ.

จักมีพี่น้องชายสองคนมีชื่อว่าปันถก แม้ทั้งสองคนเสวย ประโยชน์อันสูงสุดแล้ว จักยังพระศาสนาให้รุ่งเรือง.

เรานั้นมีอายุ ๑๘ ปี ออกบวชเป็นบรรพชิต เรายังไม่ได้ คุณวิเศษในศาสนาของพระศากยบุตร.

เรามีปัญญาเขลา เพราะเราอบรมอยู่ในบุรี พระพี่ชาย จึงขับไล่เราว่า จงไปสู่เรือนเดี๋ยวนี้.

เราถูกพระพี่ชายขับไล่แล้วน้อยใจ ได้ยืนอยู่ที่ซุ้มประตู สังฆาราม ไม่หวังในความเป็นสมณะ.

ลำดับนั้น พระศาสดาเสด็จมา ณ ที่นั้น ทรงลูบศีรษะเรา ทรงจับเราที่แขน พาเข้ารูปในสังฆาราม.

พระศาสดาคุ้มทรงอนุเคราะห์ ประทานผ้าเช็ดพระบาท ให้แก่เราว่า จงอธิฐานผ้าอันสะอาดอย่างนี้วางไว้ ณ ส่วน ข้างหนึ่ง.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 20

เราจับผ้านั้นด้วยมือทั้งสองแล้วจึงระลึกถึงดอกบัวได้ จิต ของเราปล่อยไปในดอกบัวนั้น เราจึงได้บรรลุพระอรหัต.

เราถึงที่สุดในฌานทั้งปวง ในกายอันบังเกิดแล้วแต่ฤทธิ์ อันสำเร็จด้วยใจ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะอยู่.

คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระจุลลปันถกะได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบจุลลปันถกเถราปทาน

๑๔. อรรถกถาจูฬปันถกเถราปทาน (๑)

อปทานของท่านพระจูฬปันถกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้บำเพ็ญบารมีมาแล้ว ในพระพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ ทุกๆ พระองค์ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้เป็นอันมากในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนาม ว่า ปทุมุตตระ เนื้อความที่ข้าพเจ้าจะพึงกล่าวด้วยอำนาจอัตถุปปัตติเหตุ ในเรื่องนี้ ได้กล่าวไว้แล้วทั้งหมด ในเรื่องของพระมหาปันถก ในอฏัฐกนิบาตนั่นแล. ส่วนเนื้อความที่แปลกกันมีดังนี้ว่า พระมหาปันถกเถระ บรรลุพระอรหัตแล้ว ยังอยู่ด้วยความสุขอัน เกิดแต่ผลสมาบัติ คิดว่า


๑. บาลีเป็นจุลลปันถกเถระ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 21

ทำอย่างไรหนอ เราจึงจะสามารถให้จูฬปันถกะดำรงอยู่ในความสุขอย่างนี้ บ้าง. ท่านจึงเข้าไปหาธนเศรษฐีผู้เป็นตาของตนแล้ว กล่าวว่า โยมมหาเศรษฐี ถ้าโยมอนุญาต อาตมาภาพก็จะให้จูฬปันถกะบวช. โยมมหาเศรษฐี พูดว่า ให้เขาบวชเถอะพระคุณเจ้า. พระเถระจึงได้ให้จูฬปันถกะนั้นบวช แล้ว. จูฬปันถกะนั้น เมื่อดำรงมั่นอยู่ในศีล ๑๐ ได้ดีแล้ว จึงเล่าเรียน คาถาในสำนักของพี่ชายว่า

ดอกบัวโกกนุทะ กลิ่นหอม บานแต่เช้าตรู่ พึงมีกลิ่น ยังไม่สิ้นไป ฉันใด เธอจงทอดทัศนาการดูพระอังคีรสผู้ ไพโรจน์อยู่ ดุจพระอาทิตย์ส่องแสงในกลางหาว ฉันนั้น ดังนี้.

โดยล่วงไป ๔ เดือน ก็ยังไม่สามารถจะเรียนจำคำถามได้. แม้ที่ ได้เล่าเรียนแล้ว ก็ยังไม่คิดอยู่ในใจได้. ลำดับนั้น พระมหาปันถกะจึง กล่าวกะเธอว่า จูฬปันถกะเอ๋ย! เธอช่างอาภัพในพระศาสนานี้เสียจริงๆ เวลาผ่านไปตั้ง ๔ เดือน ก็ยังไม่สามารถจะเรียนจำแม้คาถาสักคาถาหนึ่ง ได้ ก็แล้วเธอจักให้กิจแห่งบรรพชิตถึงที่สุดได้อย่างไร ไป! เธอจง ออกไปเสียจากที่นี้. พระจูฬปันถกะนั้น พอถูกพระเถระพี่ชายประณาม ขับไล่ จึงได้ไปยืนร้องไห้อยู่ใกล้กับซุ้มประตู.

ก็ในสมัยนั้น พระศาสดาประทับอยู่ในชีวกัมพวันวิหาร. ลำดับนั้น หมอชีวกใช้ให้คนไปนิมนต์ว่า เธอจงไปนิมนต์พระศาสดาพร้อมกับพระภิกษุ ๕๐๐ รูปมา. ก็ในสมัยนั้น ท่านพระมหาปันถกะกำลังเป็นภัตตุทเทสก์ อยู่. พระมหาปันถกะนั้น พอได้รับนิมนต์จากหมอชีวกว่า ขอท่านจงรับ ภิกษาเพื่อภิกษุ ๕๐๐ รูป จึงพูดว่า เว้นพระจูฬปันถกะเสีย ภิกษุที่เหลือ อาตมภาพรับได้. พระจูพปันถกะพอได้ฟังคำนั้นแล้ว ได้แต่เสียใจเป็น

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 22

อย่างยิ่ง. พระศาสดาได้ทรงทราบถึงความทุกข์ใจของเธอ จึงทรงดำริว่า เราต้องใช้อุบายแล้ว จูฬปันถกะจึงจักตรัสรู้ได้ ดังนี้ แล้วแสดงพระองค์ ในที่อันไม่ไกลเธอนัก ตรัสถามว่า ปันถกะ เธอร้องไห้ทำไม? พระจูฬปันถกะกราบทูลว่า พระพี่ชายขับไล่ข้าพระองค์พระเจ้าข้า, พระศาสดา ตรัสว่า ปันถกะเอ๋ย! อย่าคิดมากไปเลย. เธอบวชในศาสนาของเรา มานี่ มารับผ้าผืนนี้ไป แล้วจงทำบริกรรมในใจว่า รโชหรณํ รโชหรณํ (ผ้า เช็ดธุลี ผ้าเช็ดธุลี) ดังนี้แล้ว จึงได้ประทานท่อนผ้าสะอาดอันสำเร็จด้วย ฤทธิ์ให้. ท่านนั่งใช้มือลูบคลำบริกรรมท่อนผ้าที่พระศาสดาทรงประทาน ให้มาว่า รโชหรณํ รโชหรณํ ดังนี้. เมื่อท่านบริกรรมลูบคลำผ้าผืนนั้น ไปมา ผ้าสะอาดก็กลายเป็นเศร้าหมอง เมื่อท่านบริกรมลูบคลำไปอีก ผ้า สะอาดก็กลายเป็นเช่นกับผ้าเช็ดหม้อข้าว, เพราะมีญาณอันแก่กล้า ท่าน จึงคิคอย่างนี้ว่า แต่เดิมมาท่อนผ้าผืนนี้ก็บริสุทธิ์สะอาด. เพราะอาศัย สรีระอันมีวิญาณครองนี้ จึงได้กลายเป็นอย่างอื่นเศร้าหมองไป ฉะนั้น ผ้าผืนนี้ เป็นอนิจจังอย่างไร แม้จิตก็คงเป็นอย่างนั้นแน่ จึงเริ่มตั้งความ สิ้นไปเสื่อมไป ยังฌานในนิมิตนั้นนั่นแลให้เกิดขึ้นแล้ว ทำฌานให้เป็น บาท เริ่มเจริญวิปัสสนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมทั้งปฏิสัมภิทา ๔. พอท่านได้บรรลุพระอรหัตแล้วเท่านั้น พระไตรปิฎก และอภิญญา ๕ ก็ติดตามมาแล้ว.

พระศาสดาได้เสด็จไปพร้อมกับภิกษุ ๔๙๙ รูปแล้ว ประทับนั่งบน อาสนะที่เขาปูลาดจัดไว้ในนิเวศน์ของหมอชีวก. แด่พระจูฬปันถกะไม่ได้ ไป เพราะพระพี่ชายของตนไม่ยอมรับนิมนต์เพื่อภิกษาแก่ตน. หมอชีวก เริ่มจะถวายข้าวยาคู. พระศาสดาทรงเอาพระหัตถ์ปิดบาตรเสีย เมื่อหมอ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 23

ชีวกกราบทูลถามว่า เพราะเหตุไร พระองค์จึงได้รับภิกษาพระเจ้าข้า จึง ได้ตรัสตอบว่า หมอชีวก ภิกษุที่วิหารยังมีอยู่อีกหนึ่งรูป. หมอชีวกนั้น จึงได้ใช้คนไปว่า พนาย เจ้าจงไปพาพระคุณเจ้าที่นั่งอยู่ในวิหารมา. แม้ พระจูฬปันถกเถระ ก็นั่งเนรมิตภิกษุขึ้น ๑,๐๐๐ รูป แต่ละรูปไม่เหมือน กัน ด้วยทั้งรูปร่างและกิริยาท่าทาง. พอคนใช้นั้น เห็นว่าภิกษุในวิหาร มีเป็นจำนวนมาก จึงกลับไปบอกหมอชีวกว่า ภิกษุสงฆ์ในวิหาร มีมาก กว่าภิกษุสงฆ์ที่มาในบ้านนี้ ผมไม่รู้จักพระคุณเจ้าที่ใช้ให้ไปนิมนต์มา. หมอชีวกกราบทูลถามพระศาสดาว่า ภิกษุที่นั่งอยู่ในวิหารชื่ออะไร พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ชื่อว่า จูฬปันถกะ ชีวก. หมอชีวกจึงใช้ คนไปใหม่ว่า พนาย เธอจงไปถามว่า พระภิกษุรูปไหน ชื่อว่าจูฬปันถกะ แล้วจงพาภิกษุรูปนั้นมา. คนใช้นั้นไปยังวิหารแล้วถามว่า ท่านขอรับ ภิกษุรูปไหนชื่อว่าจูฬปันถกะ. ภิกษุทั้ง ๑,๐๐๐ รูปจึงตอบพร้อมๆ กัน ว่า เราชื่อจูฬปันถกะ เราชื่อจูฬปันถกะ คนใช้นั้น จึงกลับมาอีกแล้ว บอกให้ หมอชีวกทราบเรื่องนั้น. เพราะค่าที่ตนรู้ตลอดสัจจะ หมอชีวกจึงทราบ โดยนัยว่า พระคุณเจ้า ชะรอยว่าจะมีฤทธิ์แน่ จึงสั่งคนใช้ว่า พนาย เธอ จงไปพูดว่า พระศาสดามีรับสั่งให้ท่านทั้งหลาย เฉพาะพระคุณเจ้ารูปที่ ขานรับก่อนมาหา แล้วเธอจงจับที่ชายจีวร. คนใช้นั้นไปยังวิหารแล้วได้ กระทำตามสั่ง. ในขณะนั้นนั่นเอง ภิกษุที่เนรมิตทั้งหลาย ก็อันตรธาน หายไป. คนใช้จึงได้พาพระเถระไปแล้ว.

ขณะนั้น พระศาสดาจึงทรงรับข้าวยาคู. และของอื่นต่างชนิดมี ของขบเคี้ยวเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงการทำภัตกิจเสร็จแล้ว จึง ทรงรับสั่งให้ท่านพระจูฬปันถกะ กระทำอนุโมทนา. พระจูฬปันถกหะนั้น

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 24

เป็นผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา กระทำอนุโมทนาด้วยการยังพระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎกให้กระเพื่อม จับพระอัธยาศัยของพระศาสดา คล้ายๆ กับ ว่าจับเอาภูเขาสิเนรุมากวนคนลงไปยังมหาสมุทรฉะนั้น. เมื่อพระทศพล กระทำภัตกิจเสร็จแล้ว เสด็จไปยังพระวิหาร จึงมีถ้อยคำพูดเกิดขึ้นในโรง ธรรมสภาว่า ช่างน่าอัศจรรย์เหลือเกิน อานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่ได้ทรงแสดงฤทธิ์มากมายอย่างนี้ ทั้งๆ ที่จูฬปันถกะไม่สามารถจะเรียน จำคาถาหนึ่ง ในระยะเวลา ๔ เดือนได้ ก็บันดาลให้เป็นไปได้โดยขณะ รวดเร็วทีเดียว ดังนี้ ความจริงก็เป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในนิเวศน์ของหมอชีวก ทรงทราบว่า จิตของพระจูฬปันถกะ มั่นคงดีแล้วอย่างนั้น วิปัสสนาดำเนินไปสู่วิถีแล้ว ดังนี้ ทั้งๆ ที่ประทับ นั่งอยู่นั่นแล ทรงแสดงพระองค์ให้ปรากฏ เมื่อจะแสดงว่า ปันถกะ ท่อนผ้าเก่าผืนนี้ ยังไม่เศร้าหมองเกลื่อนกล่นด้วยธุลีเท่าไรนัก แต่ว่าสิ่ง ที่เศร้าหมอง เป็นธุลีในพระธรรมวินัยของพระอริยเจ้า ยิ่งไปกว่านี้ยังมี อยู่อีก ดังนี้แล้ว จึงได้ตรัสพระคาถา ๓ พระคาถาเหล่านั้นว่า

ราคะชื่อว่า ธุลี แต่ละออง ท่านไม่เรียกว่า ธุลี คำว่า ธุลี นั่นเป็นชื่อของราคะ ภิกษุเหล่านั้นละธุลีนั้นได้เด็ดขาด แล้ว อยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ทรงปราศจากธุลี.

โทสะชื่อว่า ธุลี ฯลฯ ในศาสดาของพระพุทธเจ้าผู้ทรง ปราศจากธุลี.

โมหะชื่อว่า ธุลี ฯลฯ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ทรง ปราศจากธุลี.

ในเวลาจบพระคาถา พระจูฬปันถกะได้บรรลุพระอรหัตพร้อมทั้ง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 25

ปฏิสัมภิทา ๔ พระศาสดาได้ทรงสดับถ้อยคำเจรจาของภิกษุเหล่านั้นแล้ว เสด็จมาประทับนั่งบนพุทธอาสน์ ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ กำลังสนทนาเรื่องอะไรกัน เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จูฬปันถกะตั้งอยู่ในโอวาทของเราแล้ว ได้รับสมบัติคือโลกุตระในบัดนี้ ส่วนในกาลก่อนได้เพียงสมบัติคือโลกิยะ เท่านั้น ดังนี้ ภิกษุเหล่านั้นพากันกราบทูลอ้อนวอน จึงได้ตรัสจูฬ- เศรษฐีชาดกไว้แล้ว. ในกาลต่อมา พระศาสดามีหมู่พระอริยเจ้าแวดล้อม ประทับนั่งบนธรรมาสน์แล้ว ทรงแต่งตั้งพระจูฬปันถกะนั้นไว้ในตำแหน่ง ที่เลิศแห่งพวกภิกษุผู้เนรมิตกายที่สำเร็จด้วยใจ และผู้ฉลาดในการเปลี่ยน แปลงใจ.

พระจูฬปันถกะนั้น พอได้รับตำแหน่งแต่งตั้งอย่างนี้แล้ว จึงระลึก บุพกรรมของตนเอง ด้วยอำนาจแห่งปีติและโสมนัส เมื่อจะประกาศ อ้างถึงความประพฤติที่เคยมีมาในกาลก่อน จึงได้กล่าวคาถาเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้. สองบทเบื้องต้นในคาถานั้น ข้าพเจ้าได้ กล่าวไว้แล้วนั่นแล. บทว่า คณมฺหา วูปกฏฺโ โส ความว่า พระศาสดา ทรงพระนามว่าปทุมุตตระพระองค์นั้น เสด็จหลีกออกจากหมู่ภิกษุหมู่มาก พระองค์เดียวโดยลำพัง เสด็จเข้าไปยังที่อันสงัด. ในกาลครั้งเมื่อเรายัง เป็นดาบส ได้อยู่ คือได้สำเร็จการอยู่อาศัย หมายความว่า ได้อยู่ด้วย อิริยาบถทั้ง ๔ ในหิมวันตประเทศ ได้แก่ที่ใกล้กับภูเขาหิมาลัย.

บทว่า อหมฺปิฯ เปฯ ตทา ความว่า ในกาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น เสด็จเข้าไปอยู่อาศัยยังหิมวันตประเทศ. เชื่อมความว่า ใน ครั้งนั้น ถึงตัวเราก็อยู่ในอาศรมที่ได้สร้างไว้ใกล้กับหิมวันตประเทศ คือ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 26

ในอรัญวาสีอันได้นามว่า อาศรม เพราะเป็นที่สงบจากอันตราย คือสิ่ง ที่จะเบียดเบียนทางกายและจิต โดยรอบด้าน. บทว่า อจิราคตํ มหาวีรํ เชื่อมความว่า เราได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระผู้นำ ชาวโลก คือผู้เป็นประธาน ผู้มีความเพียรมาก ผู้มาแล้วไม่นานนัก, อธิบายว่า เพิ่งได้เสด็จมาถึงในขณะนั้นนั่นเอง.

บทว่า ปุปฺผฉตฺตํ คเหตฺวาน ความว่า ก็เมื่อจะเข้าไปหาอย่างนั้น จึงกันร่มทำด้วยดอกไม้ บุบังด้วยดอกไม้มีดอกปทุมและดอกอุบลเป็นต้น เข้าไปกั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประเสริฐแก่นรชนทั้งหลาย คือเข้า ไปใกล้. บทว่า สนาธึ สาปชฺชนฺตํ เชื่อมความว่า เราได้กระทำ อันตรายแก่ผู้นั่งเข้ารูปาวจรสมาธิฌาน.

บทว่า อุโภ หตฺเถหิ ปคฺคยฺห เชื่อมความว่า เราได้ใช้มือทั้งสอง ข้างยกฉัตรดอกไม้ อันตกแต่งจัดแจงดีแล้วนั้นขึ้นถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า บทว่า ปฏิคฺคเหสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ ทรงรับ คือทรงเอื้อเฟื้อรับฉัตรดอกไม้ ที่เราได้ถวายแล้วนั้นเป็นอย่างดี.

บทว่า สตปตฺตฉตฺตํ ปคฺคยฺห ความว่า พระดาบสได้ถือฉัตร ดอกไม้ ที่บุบังด้วยดอกปทุมทั้งหลาย หลายร้อยกลีบ โดยที่ดอกปทุม แต่ละดอกมีกลีบนับเป็นร้อยๆ กลีบ ได้ถวายแก่เราโดยอาการอันเอื้อเฟื้อ. บทว่า ตมหํ กิตฺตยิสฺสสมิ ความว่า เราจักระบุชื่อดาบสนั้น คือจัก กระทำให้ปรากฏ. ท่านทั้งหลาย จึงพึงถ้อยคำ คือจงตั้งใจฟังถ้อยคำ ของเราผู้กำลังพูดอยู่เถิด.

บทว่า ปญฺจวีสติกปฺปานิ เชื่อมความว่า ด้วยการได้ถวายฉัตร ดอกไม้นี้ จักได้เป็นท้าวสักกะ ครอบครองเทวสมบัติ ในภพดาวดึงส์

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 27

ตลอด ๒๕ ครั้ง. บทว่า จตุตฺตึสติกขตฺตุญฺจ ความว่า จักได้เป็น พระเจ้าจักรพรรดิในมนุษย์โลกตลอด ๓๔ ครั้ง.

บทว่า ยํ ยํ โยนึ ความว่า ย่อมระลึกได้ถึงชาติในกำเนิดมนุษย์ เป็นต้น. อธิบายว่า ดอกปทุมจักทรงไว้ กั้นไว้ซึ่งเธอผู้ทั้งอยู่ คือ นั่งอยู่ หรือยืนอยู่ ในอัพโภกาสคือทที่ว่าง-ในกำเนิดนั้นๆ. บทว่า ปกาสิเต ปาวจเน ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงประกาศ คือแสดง พระไตรปิฎกทั้งสิ้น จักได้คือเข้าถึงความเป็นมนุษย์คือชาติแห่งมนุษย์. บทว่า นโนมยมฺหิ กายมฺหิ ความว่า ชื่อว่า มโนมยะ เพราะอรรถว่า เกิดด้วยใจ คือด้วยฌานจิต อธิบายว่า จิตย่อมเป็นไปด้วยประการใด เขา จะให้กายเป็นไป คือกระทำให้มีคติจิตเป็นไปอย่างนั้น. ในเพราะกาย อันสำเร็จด้วยใจนั้น ดาบสนั้น จักมีชื่อว่าจูฬปันถกะผู้สูงสุด คือเป็นผู้เลิศ. คำที่เหลือเป็นคำที่รู้ได้ง่าย เพราะท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลัง และเพราะ มีอรรถตื้นทั้งนั้น.

บทว่า สรึ โกกนทํ อหํ ความว่า เราลูบคลำท่อนผ้าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิรมิต ระลึกถึงดอกบัวชื่อโกกนท. บทว่า ตตฺถ จิตฺตํ วิมุจฺจิ เม ความว่า จิตของเราสดชื่นน้อมไปในดอกบัวชื่อว่าโกกนท. เชื่อมความว่า ลำดับนั้น เราบรรลุพระอรหัตแล้ว.

เชื่อมความว่า บรรลุถึงบารมี คือที่สุดในกายอันสำเร็จด้วยใจ คือ อันมีคติแห่งจิต ในที่ทุกสถานคือที่ทั้งปวง. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าว แล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาจูฬปันถกะเถราปทาน