ปิลินทวัจฉเถราปทานที่ ๕ (๑๕) ว่าด้วยผลแห่งการไล้ทาของหอม
[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 28
เถราปทาน
สีหาสนิยวรรคที่ ๒
ปิลินทวัจฉเถราปทานที่ ๕ (๑๕)
ว่าด้วยผลแห่งการไล้ทาของหอม
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 28
ปิลินทวัจฉเถราปทานที่ ๕ (๑๕)
ว่าด้วยผลแห่งการไล้ทาของหอม
[๑๗] เมื่อพระโลกนาถพระนามว่าสุเมธ เป็นบุคคลผู้เลิศ นิพพานแล้ว เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้ทำการบูชา พระสถูป. ในสมาคมนั้น มีพระขีณาสพผู้ได้อภิญญา ๖ มี ฤทธิ์มากเท่าใด เรานิมนต์พระขีณาสพเหล่านั้นมาประชุมกัน ในสมาคมนั้นแล้ว ได้ทำสังฆภัตถวาย.
เราเวลานั้น มีภิกษุอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุเมธ ท่านมีชื่อว่าสุเมธ ได้อนุโมทนาในเวลานั้น.
ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น เราได้เข้าถึงวิมาน นางอัปสร แปดหมื่นหกพันได้มีแก่เรา.
นางอัปสรเหล่านั้น ย่อมอนุวัตรตามความประสงค์ทุก อย่างของเราเสมอ เราย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่น นี้เป็นผล แห่งบุญกรรม.
ในกัปที่ ๒๕ เราเป็นกษัตริย์ พระนามว่าวรุณ ในกาลนั้น เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเสวยโภชนะอันขาวผ่อง.
ชนเหล่านั้นไม่ต้องหว่านพืช และไม่ต้องนำรถไปไถนา มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมบริโภคข้าวสาลีอันเกิดเองสุกเองในที่ ไม่ได้ไถ.
เราเสวยราชสมบัติ ในภพนั้นแล้ว ได้ถึงความเป็นเทวดา อีก ถึงเวลานั้น โภคสมบัติเช่นนี้ก็บังเกิดแก่เรา.
สัตว์ทั้งปวงซึ่งเป็นมิตรหรือมิใช่มิตร ย่อมไม่เบียดเบียน เรา เราเป็นที่รักของสัตว์ทุกจำพวก นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 29
ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ เราได้ให้ทานในกาลนั้น ด้วยการให้ทาน นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการไล้ทาด้วยของหอม.
ในภัทรกัปนี้ เราผ้าเดียวได้เป็นอธิบดี องคน ได้เป็นราชฤๅษีผู้มีอานุภาพนาก ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีพลมาก.
เรานั้นตั้งอยู่ในศีล ๕ ได้ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ถึงสุคติ ได้เป็นที่รักของเทวดาทั้งหลาย.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระปิลินทวัจฉเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการฉะนั้นแล.
จบปิลินทวัจฉเถราปทาน
๑๕. อรรถกถาปิลินทวัจฉเถราปทาน
อปทานของท่านพระปิลินทวัจฉเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต โลกนาถมฺหิ ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้บำเพ็ญบารมีมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ ก่อนๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาล แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูลมีโภคะ มาก ในหังสวดีนคร ฟังธรรมในสำนักพระศาสดา โดยนัยดังกล่าวแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 30
ในหนหลัง เห็นพระศาสดาทรงภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งอันเลิศ โดยภาวะเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของเทวดาทั้งหลาย ปรารถนาตำแหน่งนั้น บำเพ็ญบุญตลอดชีวิต จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวดา และมนุษย์ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า บังเกิดในเรือนมีตระกูล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ท่านบูชาพระสถูปของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น บำเพ็ญทานให้เป็นไปแด่พระสงฆ์ เคลื่อนจากอัตภาพ นั้นแล้ว เสวยสมบัติทั้งสองในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อพระพุทธเจ้าไม่เสด็จอุบัติขึ้น เป็นพระเจ้าจักรพรรดิให้มหาชนพากันตั้งอยู่ในศีล ๕ ได้กระทำให้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของ เราทั้งหลายยังไม่เสด็จอุบัติขึ้นนั้นแล ท่านบังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกรุงสาวัตถี. ญาติทั้งหลายขนานนามท่านว่า ปิลินทะ. บทว่า วจฺโฉ ได้แก่ โคตร. ครั้นต่อมาท่านได้ปรากฏนามว่า ปิลิทวัจฉะก็เพราะท่าน เป็นผู้มากไปด้วยการสังเวช ท่านจึงบวชเป็นปริพาชก ยังวิชชา ๓ ชื่อว่า จูฬคันธาระให้สำเร็จ เป็นผู้เที่ยวไปทางอากาศ และรู้จิตของผู้อื่นด้วย วิชชานั้น ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภและยศ อาศัยอยู่ในกรุงราชคฤห์.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งแล้ว เสด็จเข้าไปกรุงราชคฤห์โดยลำดับ. จำเดิมแต่นั้นมา ด้วยอานุภาพของ พระพุทธเจ้า วิชชานั้นไม่ได้สำเร็จแก่ท่าน. ท่านไม่ยังกิจของคนให้ สำเร็จ. ท่านดำริว่า ข้อที่ท่านได้สดับมาในสำนักอาจารย์และปาจารย์ คือมหาคันธารวิชชา ซึ่งเป็นที่ๆ ท่านทรงจำไว้ได้ แต่จูฬคันธารวิชชา ย่อมไม่สำเร็ว เพราะฉะนั้น ตั้งแต่พระสมโคดมเสด็จมา วิชชาของ เรานี้ย่อมไม่สำเร็จ พระสมณโคดมย่อมทรงทราบมหาคันธารวิชชาอย่าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 31
ไม่ต้องสงสัย กระไรหนอ เราจะเข้าไปหาท่าน พึงเรียนวิชชานั้นใน สำนักของพระสมณโคดม. เพราะเหตุนั้นแล พระองค์จึงตรัสว่า ท่านจงบวชในสำนักของเรา. ท่านสำคัญว่า การบริกรรมวิชชาเป็นการ บรรพชา จึงได้บรรพชาแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม แก่ท่าน ได้ทรงประทานกัมมัฏฐานอันสมควรแก่จริยา. เพราะท่าน สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย ไม่นานนัก ท่านเริ่มตั้งวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต แล้ว.
ก็เทวดาเหล่านั้นใด ผู้ตั้งอยู่ในโอวาทของท่านในชาติก่อน เกิดใน สวรรค์ เทวดาเหล่านั้น อาศัยความเป็นผู้กตัญญู เกิดความนับถือใน ท่านมาก เข้าไปนั่งใกล้พระเถระทั้งเย็นและเช้า. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงตั้งท่านไว้ในความเป็นผู้เลิศ โดยความเป็นที่รักเป็นที่ พอใจของเทวดาทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้สาวกของ เรา ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาทั้งหลาย ปิลินทวัจฉะเป็นเลิศ ท่านถึง ตำแหน่งอันเลิศอย่างนี้แล้ว หวนระลึกถึงบุพกรรมของตน เมื่อจะประกาศ ปุพพจริยาปทาน ด้วยสามารถปีติและโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า นิพฺพุเต โลกนาถมฺหิ.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้น ดังต่อไปนี้ ชื่อว่า โลกนาโถ เพราะเป็น ที่พึ่งคือเป็นประธานของกามโลก รูปโลกและอรูปโลก. ชื่อว่า อคฺคปุคฺคโล เพราะเป็นผู้มีเมธาดีคือประเสริฐล้ำเลิศ. เชื่อมความว่า เมื่อพระโลกนาถผู้มีเมธาดีคือบุคคลผู้ล้ำเลิศนั้นปรินิพพาน ด้วยขันธ์ปรินิพพาน. บทว่า ปสนฺนจิตฺโต สุมโน ความว่า เราเป็นผู้มีจิตเลื่อมใสด้วยศรัทธา มีใจดี ด้วยโสมนัส ให้กระทำการบูชาพระสถูป คือพระเจดีย์ของพระผู้มี-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 32
พระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สุเมธะนั้น. บทว่า เย จ ขีณาสวา ตตฺถ ความว่า ก็พระขีณาสพ คือผู้ละกิเลสได้แล้ว ผู้ชื่อว่าฉฬภิญญา คือผู้ ประกอบด้วยอภิญญา ๖ ชื่อว่า มหิทฺธิกา คือ ผู้ประกอบด้วยฤทธิ์มาก. อธิบายว่า เรานิมนต์พระขีณาสพทั้งหมดนั้น ให้มาประชุมกันในที่นั้น นำมาด้วยความเอื้อเฟื้อ ได้กระทำสังฆภัตที่จะพึงถวายแก่สงฆ์ทั้งสิ้น อธิบายว่า ให้พระขีณาสพนั้นฉัน. บทว่า อุปฏฺาโก ตทา อหุ ความว่า ในกาลเป็นที่ให้สังฆภัตแก่เราในครั้งนั้น ท่านได้เป็นอุปัฏฐากสาวก ชื่อว่า สุเมธะ ตามพระนามของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สุเมธะ. อธิบายว่า สาวกนั้นได้อนุโมทนาชื่นชมยินดีบูชาสักการะแก่เรา แล้วได้แสดงอานิสงส์.
บทว่า เตน จิตฺตปฺปสาเทน เราได้เข้าถึงวิมานในเทวโลก ด้วยความเลื่อมใสแห่งจิตอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจการกระทำการบูชาพระสถูป นั้น, อธิบายว่า เราบังเกิดในทิพยวิมานนั้น. บทว่า ฉฬาสีติสหสฺสานิ ความว่า นางเทพอัปสรหมื่นหกพันนาง ได้ชื่นชมยินดี ยังจิตของเรา ให้ยินดีในวิมานนั้น.
บทว่า มเมว อนุวตฺตนฺติ ความว่า เทพอัปสรเหล่านั้น อุปัฏฐาก ด้วยกามทั้งปวงคือด้วยวัตถุกามมีรูปเป็นต้นอันเป็นทิพย์ อนุวัตรตามเรา เท่านั้น คือกระทำตามคำของเรา ในกาลนั้น ตลอดกาลเป็นนิตย์. คำที่ เหลือรู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปิลินทวัจฉเถราปทาน