พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อุปเสนวังคันตปุตตเถราปทานที่ ๗ (๑๗) ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกกรรณิการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  41006
อ่าน  419

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 39

เถราปทาน

สีหาสนิยวรรคที่ ๒

อุปเสนวังคันตปุตตเถราปทานที่ ๗ (๑๗)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกกรรณิการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 39

อุปเสนวังคันตปุตตเถราปทานที่ ๗ (๑๗)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกกรรณิการ์

[๑๙] เราได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าปทุมุตตระ เชษฐบุรุษของโลก เป็นนระผู้ประเสริฐ สูงสุดกว่านระ ประทับนั่งอยู่ที่เงื้อมเขา.

เวลานั้นเราได้เห็นดอกกรรณิการ์กำลังบาน จึงเด็ดขั้วมัน แล้วเอามาประดับที่ฉัตร ยกขึ้นนกั้น ถวายแด่พระพุทธเจ้า.

และเราได้ถวายบิณฑบาตมีข้าวปรุงด้วยน้ำนม ที่จัดว่า เป็นโภชนะอย่างดี ได้นิมนต์พระ ๘ รูป เป็น ๙ รูป ทั้งพระพุทธเจ้าให้ฉันที่บริเวณนั้น.

พระสยัมภู มหาจีวรเจ้าผู้เป็นบุคคลผู้เลิศ ทรงอนุโมทนา เพราะการถวายฉัตร กับการถวายข้าวปรุงด้วยน้ำนมนี้ว่า

เพราะความที่ท่านมีจิตเลื่อมใสนั้น ท่านจักเสวยสมบัติ และจักได้เทวราชสมบัติ คือเป็นพระอินทร์ ๓๐ ครั้ง.

และจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๑ ครั้ง เป็นพระเจ้า ประเทศราช ผู้ไพบูลย์โดยนับไม่ถ้วน.

ชนทั้งหลายจะเรียกนามผู้ใดว่า สุเมธะ เพราะท่านมี ปัญญาดังแผ่นดิน มีปัญญาดี.

ในแสนกัปแต่กัปนี้ ผู้นั้นจักสมภพในวงศ์ของพระเจ้า โอกกากราช จักทรงพระนามว่า โคตมะ ตามพระโคตร พระองค์จักทรงเป็นพระพุทธเจ้า.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 40

ในศาสนาอันรุ่งเรืองของพระองค์นั้น. ท่านจักได้กำเนิด เป็นมนุษย์ มีชื่อว่า อุปเสนะ จักเป็นสาวกของพระศาสดา.

เมื่อชีวิตของเราในภพสุดท้ายเป็นไปอยู่ เราถอนภพขึ้นได้ ทั้งหมด ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ทรงไว้ซึ่งร่างกายอัน ในที่สุดไว้.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้วฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระอุปเสนวังตปุตตเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอุปเสนวังคันตปุตตเถราปทาน

จบภาณวารที่ ๓

๑๗. อรรถกถาอุปเสนวังคันตปุตตเถราปทาน

อปทานของท่านพระอุปเสนวังคันตปุตตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตรํ ภควนฺตํ ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยของพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูล ใน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 41

หังสวดีนคร เจริญวัยแล้ว ไปยังสำนักพระศาสดาฟังธรรม เห็น พระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งอันเลิศกว่าภิกษุผู้น่าเลื่อมใส ทั้งหลาย กระทำกรรมคือการดูแลพระศาสดา ปรารถนาตำแหน่งนั้น บำเพ็ญกุศลจนตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั่งหลาย บังเกิดในครรภ์ของนางรูปสารีพราหมณี ในนาลันทคาม ในพุทธกาลนี้. ท่านได้นามว่าอุปเสนะ. ท่านเจริญวัยแล้ว เรียนจบเวท ๓ ฟังธรรมใน สำนักพระศาสดา กลับได้ศรัทธาบวชแล้ว มีพรรษาเดียวโดยอุปสมบท คิดว่าเราจะยังห้องแห่งพระอริยะให้เจริญ จึงให้กุลบุตรคนหนึ่งบวช ในสำนักของคน แล้วไปเฝ้าพระศาสดากับกุลบุตรนั้น. ก็แลพระศาสดา ทรงสดับว่า ภิกษุนั้นเป็นสัทธิวิหาริกของเธอผู้ไม่มีพรรษานั้น จึงทรง ติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอเป็นผู้เวียนมาเพื่อความมักมากเกินไปแล ท่านคิดว่า บัดนี้ถ้าเราอาศัยบริษัทถูกพระศาสดาทรงติเตียน แต่เราจัก อาศัยบริษัทนั้น แหละทำความเลื่อมใสในพระศาสดา ดังนี้แล้วจึงบำเพ็ญ วิปัสสนา ไม่ช้านักก็บรรลุพระอรหัต. ก็ท่านเป็นพระอรหันต์ สมาทาน ประพฤติธุดงคธรรมทั้งหมดแม้ด้วยตนเอง. ทั้งชวนผู้อื่นให้สมาทานเพื่อ ธุดงคธรรมนั้นด้วย. ด้วยเหตุนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ใน ตำแหน่งอันเลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้น่าเลื่อมใส. ท่านอันภิกษุรูปหนึ่ง ประสงค์จะเว้นการทะเลาะกันถามว่า บัดนี้ความทะเลาะเกิดขึ้นแล้ว ภิกษุ- สงฆ์แตกเป็นสองพวก เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ จึงแสดงข้อปฏิบัติ แก่ท่านจำเดิมแต่การอยู่สงัด. พระเถระแสดงภาวะที่คนปฏิบัติอย่างนั้น ด้วยการแสดงอ้างถึงการให้โอวาทแก่ภิกษุนั้น จึงพยากรณ์พระอรหัตตผล ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 42

ท่านได้ตำแหน่งเอตทัคคะอย่างนี้แล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตน เมื่อจะประกาศอปทานแห่งบุพจริยาด้วยอำนาจโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรํ ภควนตํ ดังนี้. บทว่า ปพฺภารมฺหิ นิสีทนฺตํ ความว่า เข้าไปเฝ้ายังที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประทับนั่งที่เงื้อมเขาอันเกิดเอง ในท่ามกลางป่า ผู้สูงสุดกว่านระ ผู้ปรารถนาเงื้อมเขาที่ชื่อว่าน้อมไป โอนไป สู่ภาระข้างหน้าว่าเป็นสถานวิเวก.

บทว่า กณิการปุปฺผํ ทิสฺวา ความว่า เมื่อเข้าไปใกล้เช่นนั้น เห็นดอกกรรณิการ์บานสะพรั่งอยู่ในประเทศนั้น. บทว่า วณฺเฏ เฉตฺวานหํ ตทา ความว่า เด็ดดอกไม้นั้นที่ขั้วคือที่ก้านให้ขาด ในกาลที่พระตถาคต ประทับอยู่นั้น. คำว่า อลงฺกริตฺวาน ฉตฺตมฺหิ ความว่า ทำฉัตรให้สำเร็จด้วย ดอกไม้นั้น. บทว่า พุทฺธสฺส อภิโรปยึ ความว่า ได้ยกขึ้นกั้นไว้เบื้องบน พระเศียรของพระพุทธเจ้าผู้ประทับอยู่. บทว่า ปิณฺฑปาตญฺจ ปาทาสึ ความว่า ได้ถวายบิณฑบาตแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประทับอยู่ ณที่นั้น นั่นแลให้เสวยโดยประการทั่วถึง. บทว่า ปรมนฺนํ สุโภชนํ ความว่า เป็นข้าวปรุงด้วยน้ำนม คือเป็นอาหารอันสงสุด กล่าวคือโภชนะอย่างดี บทว่า พุทฺธน นวเม ตตฺถ ความว่า เราได้นิมนต์พระสมณะคือผู้ลอยบาป ได้แก่ภิกษุผู้ขีณาสพ ๘ รูป พร้อมด้วยพระพุทธเจ้าเป็นที่ ๙ ให้ฉันในที่ อันสงัดนั้น.

บทว่า ยํ วทนฺติ สุเมโธ ความว่า ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้โคตมะ ผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน (กว้างขวาง) คือผู้มีปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน คือผู้มีปัญญาดีงาม ผู้มีปัญญามีสัพพัญญุตสญาณเป็นต้น. บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวว่า สุเมโธ แปลว่า ผู้มีปัญญาดี สุนฺทรปญฺโ ผู้มีปัญญางาม

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 43

เชื่อมความว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ. ในแสนกัปนับแต่กัปนี้ คำที่เหลือมีเนื้อความรู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอุปเสนวังคันตปุตตเถราปทาน