พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

รัฐปาลเถราปทานที่ ๘ (๑๘) ว่าด้วยผลแห่งการถวายช้าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  41007
อ่าน  347

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 43

เถราปทาน

สีหาสนิยวรรคที่ ๒

รัฐปาลเถราปทานที่ ๘ (๑๘)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายช้าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 43

รัฐปาลเถราปทานที่ ๘ (๑๘)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายช้าง

[๒๐] เราได้ถวายช้างเชือกประเสริฐ มีงางอนงามควรเป็นราช พาหนะ พร้อมทั้งลูกช้างอันมีงางอนงามมีความแข็งแรง กั้น ฉัตรขาว แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เชษฐ- บุรุษของโลกผู้คงที่ เราซื้อสถานที่นั้นทั้งหมดแล้ว ได้ให้สร้าง อารามถวายแก่สงฆ์ ได้ให้สร้างปราสาทไว้ภายในวิหารนั้น ๕๔,๐๐๐ หลัง ได้ทำทานดังห้วงน้ำใหญ่แล้ว มอบถวายแค่ พระพุทธเจ้า.

พระสยัมภูมหาวีรเจ้า ผู้เป็นอัครบุคคล ทรงอนุโมทนา ทรงยังชนทั้งหมดให้ร่าเริง ทรงแสดงอมตบท พระพุทธเจ้า ผู้เป็นนายกพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงทำผลบุญทำเราทำแล้ว ให้แจ้งชัดแล้ว ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัส พระคาถาเหล่านี้ ว่า ผู้นี้ได้สร้างปราสาท ๕๔,๐๐๐ หลัง เรา จักแสดงวิบากของผู้นี้ ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว.

กูฏาคารหนึ่งหมื่นแปดพันหลังจักมีแก่ผู้นี้ และกูฏาคาร เหล่านั้นสำเร็จด้วยทองล้วน เกิดในวิมานอันอุดม ผู้นี้จักเป็น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 44

จอมเทวดาเสวยเทรัชสมบัติ ๕๐ ครั้งและจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๘ ครั้ง.

ในกัปที่หนึ่งแสน พระศาสดาพระนามว่าโคดมโดยพระโคตรซึ่งมีสภาพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติ ในโลก.

ผู้นี้อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักเคลื่อนจากเทวโลก ไป บังเกิดในสกุลที่เจริญมีโภคสมบัติมาก ภายหลัง เขาอันกุศล มูลตักเตือนแล้ว จักบวช จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา จักมีนามว่ารัฐปาละ เขามีตนส่งไปแล้ว เพื่อความเพียรสูง ระงับ ไม่มีอุปธิ จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะ นิพพาน.

เราลุกขึ้นแล้ว ละโภคสมบัติออกเหมือนละก้อนเขฬะ ฉะนั้น ความรักในโภคสมบัติไม่มีแก่เรา เรามีความเพียรอัน นำธุระไป อันนำมาซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ เรา ทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุด ในศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระรัฐปาลเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบรัฐปาลเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 45

๑๘. อรรถกถารัฐปาลเถราปทาน

อปทาน ของท่านพระรัฐปาลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตรสฺส ภควโต ดังนี้.

ท่านผู้มีอายุแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ก่อนแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระเสด็จอุบัตินั่นเอง บังเกิดในตระกูล คฤหบดีมหาศาล ในหังสวดีนคร เจริญวัยแล้ว โดยกาลล่วงไปแห่ง บิดา ดำรงการครองเรือน ผู้จัดการในเรือนคลังแสดงทรัพย์ที่เป็นมาตาม วงศ์ตระกูลหาประมาณมิได้ คิดว่าปิยชนมีบิดา ปู่ ตา ยาย ทวด เป็นต้น ของเรา ไม่สามารถจะถือเอากองทรัพย์มีประมาณเท่านี้ให้เป็นสิทธิ ของตนไปได้ แต่เราควรจะถือเอาไป ดังนี้แล้วได้ให้มหาทานแก่คน กำพร้าและคนเดินทางเป็นต้น. ท่านเข้าไปหาดาบสรูปหนึ่งผู้ได้อภิญญา ถูกดาบสชักชวนในความเป็นใหญ่ในเทวโลก จึงบำเพ็ญบุญอยู่ตลอดชีวิต จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติดำรงอยู่ใน เทวโลกนั้นตลอดอายุ จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว บังเกิดเป็นบุตรคนเดียว แห่งตระกูลผู้สามารถจะดำรงรัฐที่แตกต่างในมนุษย์โลก. โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระเสด็จอุบัติในโลก ทรงประกาศ ธรรมจักรอันประเสริฐ ยังสรรพสัตว์ให้ถึงภูมิอันเป็นแดนเกษมกล่าว คือนิพพานมหานคร. ลำดับนั้น กุลบุตรนั้น ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา โดยลำดับ วันหนึ่งไปสู่วิหารกับอุบาสกทั้งหลาย เห็นพระศาสดาทรง แสดงธรรมอยู่ มีจิตเลื่อมใสนั่งอยู่ที่ท้ายบริษัท.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 46

ก็โดยสมัยนั้นแล พระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งอัน เลิศแห่งบรรพชิตผู้บวชด้วยศรัทธา. ท่านเห็นดังนั้นแล้วมีจิตเลื่อมใส ถวาย มหาทานแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แวดล้อมไปด้วยภิกษุแสนรูป ตลอด ๗ วัน แล้วปรารถนาตำแหน่งนั้น. พระศาสดาทรงเห็นความสำเร็จโดย หาอันตรายมิได้ จึงทรงพยากรณ์ว่า ภิกษุนี้จักเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุผู้บวช ด้วยศรัทธา ในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า โคดม ในอนาคต. ท่านถวายบังคมพระศาสดา และไหว้ภิกษุสงฆ์แล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป. ท่านบำเพ็ญบุญจนตลอดอายุ จุติจากอัตภาพนั้น แล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ใน กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าผุสสะ ราชบุตรทั้ง ๓ พระองค์ ผู้ต่างมารดากันอุปัฏฐากพระศาสดาอยู่ ได้บำเพ็ญกิจเพื่อสหายในบุญกิริยา แก่ราชบุตรเหล่านั้น. ท่านสั่งสมกุศลเป็นอันมากในภพนั้นๆ ด้วยอาการ อย่างนี้ ท่องเที่ยวไปในสุคติเท่านั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดใน เรือนรัฐปาลเศรษฐี ในถุลลโกฏฐิกนิคมในกุรุรัฐะ. ท่านได้นามตามวงศ์ ตระกูลนั่นแลว่ารัฐปาละ เพราะบังเกิดในตระกูลผ้าสามารถดำรงรัฐที่แตก ไป. ท่านเจริญด้วยบริวารเป็นอันมาก ถึงความเป็นหนุ่มโดยลำดับ ผู้อันมารดาบิดาตบแต่งด้วยภรรยาอันสมควร ให้ตั้งอยู่ในยศใหญ่ เสวย สมบัติเช่นกับทิพยสมบัติ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในชนบทในกุรุรัฐ บรรลุถึงถุลลโกฏฐิกนิคม. รัฐปาลกุลบุตรได้ฟังดังนั้นแล้ว เข้าไป เฝ้าพระศาสดาฟังธรรมในสำนักพระศาสดา ได้ศรัทธาประสงค์จะบวช อดอาหาร ๗ วัน มารดาบิดาจึงจำอนุญาตให้แสนยาก จึงเข้าไปเฝ้า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 47

พระศาสดา ขอบรรพชา บวชในสำนักของภิกษุรูปหนึ่ง ตามพระดำรัส สั่งของพระศาสดา กระทำกรรมโดยโยนิโสมนสิการ เจริญวิปัสสนาแล้ว บรรลุพระอรหัต. ก็แลครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ทูลขออนุญาตพระศาสดา แล้ว ไปยังถุลลโกฏฐิกนิคมเพื่อเยี่ยมมารดา เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับ ตรอกในนิคมนั้น ได้ขนมกุมมาสที่ค้างคืนในนิเวศน์ของบิดา ฉันขนม กุมมาสนั้น เหมือนฉันน้ำอมฤต ถูกบิดานิมนต์ฉันในวันรุ่งขึ้น ได้รับ นิมนต์เพื่อฉันในวันรุ่งขึ้น ในวันที่ ๒ ฉันบิณฑบาตในนิเวศน์ของบิดา เข้าไปหาหญิงผู้เป็นนางสนมผู้ประดับตกแต่ง เมื่อนางกล่าวคำมีอาทิว่า ข้าแด่พระลูกเจ้า นางฟ้าเหล่านั้นชื่อเป็นเช่นไร ท่านประพฤติพรหมจรรย์ เพราะเหตุแห่งนางฟ้าเหล่านั้นหรือดังนี้แล้ว เมื่อนางสนมนั้นเริ่มเพื่อทำ กรรมคือการประเล้าประโลม จึงได้เปลี่ยนแปลงความประสงค์เช่นนั้น แสดงธรรมอันเกี่ยวด้วยอนิจจลักษณะเป็นต้น จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

เชิญดูอัตภาพอันธรรมดาตกแต่งให้วิจิตร มีกายเป็นแผล อันกระดูก ๓๐๐ ท่อนยกขึ้นแล้ว กระสับกระส่าย คนพาล พากันดำริหวังมาก อันไม่มีความยั่งยืนตั้งมั่น

เชิญดูรูปอันปัจจัยกระทำให้วิจิตรด้วยตุ้มหูอันสำเร็จด้วย แก้วมณี หุ้มด้วยหนังมีร่างกระดูกอยู่ภายใน. งามพร้อม ไปด้วยผ้าต่างๆ.

มีเท้าทั้งสองอันฉาบทาด้วยครั่งสด มีหน้าอันไล้ทาด้วย จุณ สามารถทำให้คนพาลลุ่มหลงได้ แต่ไม่สามารถทำให้ ผู้แสวงหาฝั่งโน้นลุ่มหลง.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 48

ผมทั้งหลาย อันบุคคลตบแต่งเป็นลอนคลุมด้วยตาข่าย นัยน์ตาทั้งสองอันหยอดด้วยยาตา สามารถทำให้คนพาล ลุ่มหลงได้ แต่ไม้สามารถทำให้ผู้แสวงหาฝั่งโน้นลุ่มหลง.

กายอันเปื่อยเน่าอันบุคคลตบแต่งแล้ว เหนือนกล่องยาตา ใหม่ๆ วิจิตรด้วยลวดลายต่างๆ สามารถทำให้คนพาล ลุ่มหลงได้ แต่ไม่สามารถทำให้ผู้แสวงหาฝั่งโน้นลุ่มหลง.

นายพรานเนื้อดักบ่วงไว้ แต่เนื้อไม่ติดบ่วง เมื่อนายพราน เนื้อคร่ำครวญอยู่ พวกเนื้อพากันมากินเหยื่อแล้วหนีไป.

บ่วงของนายพรานขาดไปแล้ว เนื้อไม่ติดบ่วง เมื่อ นายพรานเศร้าโศกอยู่ พวกเนื้อพากันมากินเหยื่อแล้วหนีไป.

ท่านกล่าวคาถาเหล่านี้แล้วเหาะขึ้นสู่เวหาส นั่งที่แผ่นศิลาอันเป็น มงคล ในมิคาวนชินอุทยานของพระเจ้าโกรพยะ. ได้ยินว่า พระบิดาของ พระเถระได้ให้ใส่กลอนลูกดาลที่ซุ้มประตู ทั้ง ๗ จึงสั่งบังคับนักมวยปล้ำ ทั้งหลายว่า พวกท่านอย่าให้เพื่อออกไป ให้เปลื้องผ้ากาสยะแล้วให้นุ่ง ผ้าขาว. เพราะเหตุนั้นพระเถระจึงได้ไปทางอากาศ. ลำดับนั้น พระเจ้าโกรพยะทรงทราบว่าพระเถระนั่งในที่นั้น จึงเสด็จเข้าไปหาท่านให้ ระลึกด้วยสัมโมทนียกถาและสารณียกถาแล้วตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านรัฐปาละ ผู้เจริญ ท่านบวชในพระศาสนานี้ ถึงความเสื่อมเพราะพยาธิหรือ หรือ เสื่อมเพราะชราโภคะและญาติ จึงบวช ก็ท่านไม่ถึงความเสื่อมอะไรๆ แล แต่เหตุไฉนจึงบวชเล่า. ลำดับนั้น พระเถระได้แสดงภาวะที่คนทราบ ถึงธรรมเทศ ๔ ข้อเหล่านี้แก่พระราชา คือโลกอันชราน้อมเข้าไปใกล้


๑. ม.ม. ๑๓/ข้อ ๔๓๙

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 49

ไม่ยั่งยืน, โลกไม่มีที่ต้านทานไม่เป็นอิสระ. โลกไม่มีที่พึ่ง จำต้องละ สิ่งทั้งปวงไป โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ไม่อิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา เมื่อ จะกล่าวตามทัศคติเทศนานั้น จึงกล่าวคาถาเหล่านั้นว่า

เราเห็นหมู่มนุษย์ที่มีทรัพย์ในโลกนี้ ได้ทรัพย์แล้วไม่ ให้ทาน เพราะควานลุ่มหลง ได้ทรัพย์แล้วทำการสั่งสมไว้ และปรารถนาอยากได้ยิ่งขึ้นไป.

พระราชากดขี่ช่วงชิงเอาแผ่นดิน ครอบครองแผ่นดินอันมี สาครเป็นที่สุด ตลอดฝั่งสมุทรข้างโน้นแล้ว ไม่รู้จักอิ่ม ยัง ปรารถนาจักครอบครองฝั่งสมุทรข้างโน้นอีกต่อไป.

พระราชาก็ดี มนุษย์เหล่าอื่นเป็นอันมากก็ดี ผู้ยังไม่. ปราศจากตัณหา ย่อมเข้าถึงความตาย ทั้งยังไม่เต็มความ ประสงค์ ก็พากันละทิ้งร่างกายไป ความอิ่มด้วยกามทั้งหลาย ย่อมไม่มีในโลกเลย.

หมู่ญาติพากันสยายผมร้องไห้คร่ำครวญถึงผู้นั้น และ รำพันว่าทำอย่างไรหนอ พวกญาติของเราจึงจะไม่ตาย ครั้น พวกญาติตายแล้ว ก็เอาผ้าห่มนำไปเผาเสียที่เชิงตะกอน ผู้ที่ ตายไปนั้นถูกเขาแทงด้วยหลาว เผาด้วยไฟ ละโภคะทั้งหลาย มีแต่ผ้าผืนเดียวติดตัวไป เมื่อบุคคลจะตาย ย่อมไม่มีญาติ หรือมิตรสหายช่วยต้านทานได้.

พวกที่รับมรดก ก็มาขนเอาทรัพย์ของผู้ตายนั้นไป ส่วน สัตว์ที่ตายย่อมไปตามยถากรรม เมื่อตายไม่มีทรัพย์สมบัติ อะไรๆ คือพวกบุตร ภริยา ทรัพย์ แว่นแคว้น สิ่งใดๆ จะติดตามไปได้เลย.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 50

บุคคลจะอายุยืนเพราะทรัพย์ก็หาไม่. จะละความแก่ไป แม้เพราะทรัพย์ก็หาไม่ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตนั้น แลว่า เป็นของน้อยไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา.

ทั้งคนมั่งมีและคนยากจน ย่อมถูกต้องผัสสะเหมือนกัน ทั้งคนพาลและคนฉลาดก็ตกต้องผัสสะเหมือนกันทั้งนั้น แต่ คนพาลถูกอารมณ์ที่ไม่พอใจเบียดเบียน ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะควานเป็นพาล ส่วนนักปราชญ์ถูกผัสสะถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว.

เพราะฉะนั้นแล ปัญญาจึงจัดว่าประเสริฐกว่าทรัพย์ เพราะ ปัญญาเป็นเหตุให้บรรลุนิพพาน แต่คนพาลไม่ปรารถนาจะ บรรลุ พากันทำความชั่วต่างๆ อยู่ในภพน้อยภพใหญ่เพราะ ความหลง

ผู้ใดทำกรรมชั่วเพราะหลงแล้ว ผู้นั้นจะต้องเวียนตาย เวียนเกิดอยู่ในวัฏสงสารร่ำไป บุคคลผู้มีปัญญาน้อย เมื่อเชื่อ ต่อการทำของบุคคลผู้ที่ทำกรรมนั้น ก็จะต้องเวียนตายเวียน เกิดอยู่ร่ำไปเหมือนกัน.

เปรียบเหมือนโจรผู้มีความผิด ถูกจับเพราะโจรกรรมมา มีตัดช่องเป็นต้น ละไปแล้วย่อมเดือดในปรโลกเพราะ กรรมของตนฉะนั้น.

ฉะนั้น กามทั้งหลายงามวิจิตร มีรสอร่อย น่ารื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิตด้วยรูปแปลกๆ ดูก่อนมหาบพิตร เพราะ อาตมภาพ ได้เห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย จึงออกบวช

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 51

มาณพทั้งหลายทั้งหนุ่มทั้งแก่ ย่อมตกไปเพราะร่างกาย แตกเหมือนผลไม้หล่นฉะนั้น ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพ เห็นความไม่เที่ยงแม้ข้อนี้ ความเป็นสมณะอันไม่ผิดนั้นแล ประเสริฐ

อาตมภาพออกบวชด้วยศรัทธา เข้าถึงการปฏิบัติชอบ ในศาสนาของพระชินเจ้า บรรพชาของอาตมภาพไม่มีโทษ อาตมภาพไม่เป็นหนี้บริโภคโภชนะ อาตมภาพเห็นกาม ทั้งหลายโดยความเป็นของอันไฟติดทั่วแล้ว เห็นทองทั้งหลาย โดยความเป็นดังศัสตรา เห็นทุกข์จำเดิมแต่ก้าวลงสู่ครรภ์ เห็นภัยในนรกจึงออกบวช.

อาตมภาพเห็นโทษอย่างนี้แล้ว ได้ความสังเวชในกาล นั้น ในกาลนั้นอาตมภาพเป็นผู้ถูกลูกศร คือราคะเป็นต้น แทงแล้ว บัดนี้บรรลุถึงความสิ้นอาสวะแล้ว.

พระศาสดาอันอาตมภาพคุ้นเคยแล้ว อาตมาภาพได้ปลง ภาระอันหนักลงแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นแล้ว.

บรรลุถึงประโยชน์ที่กุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตต้องการ นั้นแล้ว บรรลุถึงความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวงแล้ว.

พระเถระแสดงธรรมแก่พระเจ้าโกรพอย่างนี้แล้ว จึงไปยังสำนัก พระศาสดานั้นแล. และครั้นกาลภายหลัง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ท่ามกลางหมู่พระอริยเจ้า จึงทรงตั้งพระเถระไว้ในตำแหน่งอันเลิศ แห่ง ภิกษุผู้บวชด้วยศรัทธา.


๑. ม. ม. ๑๓/ข้อ ๔๕๒.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 52

พระเถระนั้น ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะอย่างนี้แล้ว ระลึกถึงบุพกรรม แล้วเกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรสฺส ภควโต ดังนี้. บทว่า วรนาโค มยา ทินฺโน ความว่า เรา เลื่อมใสในรูปกายของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ได้ถวายช้างเชือกประเสริฐ สูงสุด ประเสริฐสุด มีงางอนงามดังงอนไถ มีงาเช่นกับงอนรถ แข็งแรง ควรเป็นราชพาหนะ หรือควรแก่พระราชา. บทว่า เสตจฺฉตฺโตปโสภิโต ความว่า กั้นด้วยเศวตฉัตรอันงดงามที่ยกขึ้นบนคอช้าง. ช้างเชือกประเสริฐ อย่างไรอีก. พร้อมด้วยเครื่องแต่งตัวช้าง คือพร้อมด้วยเครื่องประดับช้าง เราได้สร้างสังฆาราม ทำวิหารอันน่ารื่นรมย์ เพื่อเป็นที่อยู่ของภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. บทว่า จตุปญฺาสสหสฺสานิ ความว่า เมื่อ สร้างวิหารนั้นเสร็จแล้ว เราได้สร้างปราสาท ๕๔,๐๐๐ ไว้ในระหว่างวิหาร นั้น. บทว่า มโหฆทานํ กริตฺวาน ความว่า เราได้จัดแจงมหาทาน อันประกอบด้วยสรรพบริขาร อันเสมือนกับท้วงน้ำใหญ่ แล้วมอบถวาย แด่พระมุนีผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่.

บทว่า อนุโมทิ มหาวีโร ความว่า ชื่อว่า มหาวีระ เพราะ ความเพียรกล่าวคือความอุตสาหะอันไม่ขาดสายในสี่อสงไขยแสนกัป เป็น พระสยัมภู คือพระผู้เป็นเอง ได้พระสัพพัญญุตญาณ เป็นบุคคลผู้เลิศคือผู้ ประเสริฐ ได้อนุโมทนาคือกระทำอนุโมทนาวิหารทาน. บทว่า สพฺเพ ชเน หาสยนฺโต ความว่า ทรงกระทำเทวดาและมนุษย์ อันนับไม่ถ้วน ในจักรวาลทั้งสิ้นให้ร่าเริงยินดีแล้วทรงแสดงประกาศ เปิด เปิดเผยกระทำ ให้ง่าย พระธรรมเทศนาอริยสัจ ๔ อันประกอบด้วยอมตนิพพาน.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 53

บทว่า ตํ เม วิยากาส ความว่า ได้กระทำความเป็นผู้กตัญญู แก่เรานั้นให้มีกำลัง คือให้ปรากฏเป็นพิเศษ. บทว่า ชลชุตฺตมนามโก ได้แก่ ดอกปทุมที่เกิดในน้ำชื่อว่า ชลชะ อธิบายว่า มีนามว่า ปทุมุตฺตระ. บาลีว่า ชลนุตฺตมนายโก ดังนี้ก็มี. ในบทนั้น ที่ชื่อ ชลนะ เพราะ รุ่งเรืองด้วยรัศมีของตน. ได้แก่พระจันทร์เทวบุตรพระสุริยเทวบุตร เทวดา และพรหม. ชื่อว่า ชลนุตฺตม เพราะเป็นผู้สูงสุดกว่าผู้รุ่งเรืองเหล่านั้น. ชื่อว่า นายโก เพราะเป็นผู้นำอันสูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า นายโก เพราะนำไปคือยังสรรพสัตว์ผู้มีสัมภาระให้ถึงนิพพาน. ผู้นำนั้น ด้วย เป็นผู้สูงสุดแห่งผู้รุ่งเรืองด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ชลนุตฺตมนายโก. บทว่า ภิกฺขุสงฺเฆ นิสีทิตฺวา ความว่า ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางแห่ง ภิกษุสงฆ์แล้วได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ คือทรงแสดงทำให้ปรากฏ. คำที่ เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถารัฐปาลเถราปทาน